โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ขับเคลื่อนมติ 3 การออกแบบการใช้พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายฯ31 พฤษภาคม 2565
31
พฤษภาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการ การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 10 พ.ศ. 2560 การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.00 – 16.00 น.
ห้องประชุมสานใจ 1/2 ชั้น 6 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ภายในกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี

วัตถุประสงค์ : ผู้เข้าร่วมประชุมฯ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะในประเด็น 1. การออกแบบพื้นที่สาธารณะขนาดเล็กสำหรับหน่วยงานท้องถิ่น 2. ข้อเสนอแนะและแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ มติ 3 การวางหลักเกณฑ์การออกแบบพื้นที่สาธารณะขนาดเล็กสำหรับหน่วยงานท้องถิ่น และให้มีมาตรการหรือข้อตกลงในการใช้พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย

13.00 – 13.15 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ 13.15 – 13.30 น. ทบทวนการดำเนินงาน การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 13.30 – 14.00 น. นำเสนอ (ร่าง) คู่มือการออกแบบพื้นที่สาธารณะขนาดเล็กสำหรับหน่วยงานท้องถิ่น โดย ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยบูรณการภาพพื้นที่และสังคม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 14.00 -16.00 น. ให้ความเห็นต่อ (ร่าง) คู่มือการออกแบบพื้นที่สาธารณะขนาดเล็กสำหรับหน่วยงานท้องถิ่น และกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ มติ 3 การวางหลักเกณฑ์การออกแบบพื้นที่สาธารณะขนาดเล็กสำหรับหน่วยงานท้องถิ่น และให้มีมาตรการหรือข้อตกลงในการใช้พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปประเด็น มติ PA
1. เป็นแนวทางจุดประกายให้ท้องถิ่นเห็นคุณค่า ความจำเป็นการมี PA ในท้องถิ่น แต่ถ้าให้แบบนี้ เขาจะคิดว่าจะนำงบประมาณไหนมาสร้าง ต้องสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนความต้องการตรงกัน ปัญหาตรงกันเชิงกายภาพ จะทำให้มีประสิทธิภาพและต้องการใช้งานจริงๆ ทุก อปท จะมีกองช่าง คนที่มีความรอบรู้ในการประยุกต์ใช้
2. กระบวนการมีส่วนร่วม การออกแบบโดยใช้ทุนในชุมชน ทุนพื้นที่ ทุนวัฒนธรรม มีแต่บทเรียนแต่ไม่มีข้อสรุปหรือแนวทาง อาจต้องมีแนวทางสรุปมาจะทำอย่างไรให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมให้มาทำงานกับท้องถิ่น และฝ่ายวิชาการมาเติมเต็มให้
3. ทำอย่างไรให้คนมีกิจกรรมทางกายมีความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ให้มีเบอร์ฉุกเฉิน ให้มีสวนสาธารณะให้มีจุดขอความช่วยเหลือเพื่อไปจุดอนามัย ถ้ามีจุดทำให้คนปลอดภัยมากขึ้น และอำนวยความสะดวกในการเดินทาง ให้มีที่จอดรถเพื่อให้อำนวยความสะดวก
4. กลุ่มเป้าหมายที่จะใช้จริงๆคือใคร คู่มือการออกแบบให้กองช่างนำไปดำเนินการ รายละเอียด องค์ประกอบถือว่าดี คู่มือนี้มีองค์ประกอบที่ตั้งข้อสังเกตคือ กลุ่มผู้ใช้และกิจกรรมมันจะมีความสัมพันธ์กัน ควรออกแบบเป็น diagram จะเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น จะทำให้เห็นไอเดียว่าจะใช้คู่มืออย่างไร 5. ควรจัด WS กับสันนิบาต กับฝ่ายวิชาการ อาจจะใช้มุมมองหลากหลาย
6. อาจจะให้ สช สสส เป็นเจ้าภาพจัด WS ในคู่มือนี้และ implement ที่พิจิตร และปรับกันใหม่ 7. วัตถุประสงค์ของคู่มือนี้คือ ลองมาทำ sandbox เรื่องออกแบบ วิธีการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและทำ Visualization และมีวิชาชีพไปช่วยเหลือ ถ้าวางทัมเฟรมดีๆ จะเป็นช่องทางวางแผนล่วงหน้า และดู gap เวลา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่หลากหลาย บ้านเราอยู่ในโซนร้อน ใน guildlind มัน………. 8. แรงจูงใจของการใช้พื้นที่สาธารณะ คือ ฟรี หลบร้อน โปร่ง เย็น ต้องใส่สิ่งเหล่านี้เข้าไป
9. การพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้เห็นองค์ประกอบ การออกแบบที่ดี หัวข้อการเลือกพื้นที่ อาจจะมีไอเท็มว่าเป็นพื้นที่รัฐและเอกชนได้ และพื้นที่รกร้างหรือพื้นที่ที่มีการปรับการใช้ประโยชน์ เปิดวิธีการมองพื้นที่มากขึ้น เราจะเห็นขั้นตอนการออกแบบอาจจะให้เห็น diagram อาจจะเขียนสักบรรทัดว่าพื้นที่นี้เป็นอย่างไร ใน 4 เคสนั้นเป็นพื้นที่คนละแบบกัน กระบวนการขึ้นรูปอาจจะสรุปใน 4 เคสคร่าวๆ การหนุนเสริมผู้มีส่วนได้เสีย ส่วนท้ายพาร์ทที่ 2 ถ้ามีสรุปคีย์เวิดสั้นๆน่าจะโอเคหรือ diagram ในส่วนที่ 3
10. ถ้าเราทำ WS เพื่อให้คนมีส่วนร่วมพัฒนาคู่มือ นอกจากฝ่ายวิชาการพัฒนา อาจารย์น่าจะมี process ทำเรื่องนี้อยู่แล้ว เชิญกองช่าง อปท มาทำด้วย คู่มือนั้นอาจจะไม่ได้ใช้ประโยชน์จริงมากนัก วิธีการใช้คู่มือนี้ทำให้ตอบโจทย์ มีสรุปบทเรียน ถอดบทเรียน การสร้างแรงบันดาลใจ ยังไม่ถึงการนำไปใช้ เราคุยกันแต่คนทำงาน แต่ยังไม่ได้ทดลองทำ แต่ถ้าเราได้ทดลองเมืองที่จะทำแบบฝึกหัดด้วย ถ้าเราทำกระบวนนั้นไปด้วย ทำให้มีชีวิตมากขึ้น ถ้าคู่มือเล่มนี้เพื่อให้เกิดกิจกรรมทางกาย เราจะทำเพื่อให้พื้นที่ตรงนี้มีกิจกรรมทางกายมากขึ้น อะไรคือตัวบ่งชี้
11. จุดร่วมของการเกิดพื้นที่สาธารณะที่มีคุณภาพ มันจะมีจุดร่วม 5 จุดที่มีประสิทธิภาพคือ นโยบายที่เกิดพื้นที่สาธารณะ เกิดพื้นที่ การการเลือกพื้นที่ ตัวโปรแกรมที่ใส่เข้าไป ตัวข้อมูล และการมีส่วนร่วม มันเหมือนจะมีองค์ประกอบที่ครบ แต่บางจุดของการใส่ข้อมูล ข้อมูลบางอย่างตัวการขึ้นรุป มันซ่อนอยู่ ต้องเพิ่มการออกแบบการขึ้นรูป ตัวพื้นที่มีความแตกต่างกัน สิ่งหนึ่งที่พึงระวังคือ safety ทางลาด ทางชัน ประเด็นสำคัญคือ ภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉิน ทางริมถนนอาจจะไม่ต้องวางมาก อาจจะเข้าถึงง่าย แต่ถ้าพื้นที่กระเปาะ เราจะใส่ในคู่มืออย่างไร ให้คนนำคู่มือนี้ไปใช้ให้พึงระวังความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น 12. เพิ่มเติมในคู่มือการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และทำให้เป็นสาขาที่เข้าใจง่าย กระบวนการขึ้นรูปเกิดจากผู้มีส่วนร่วมมีการพูดคุยกันแล้ว กระบวนการให้ทุกคนที่เกี่ยวข้องพร้อมที่จะ subsidies งบประมาณ จากคนในพื้นที่อย่างแท้จริง เพื่อช่วยคิด ช่วยสร้าง ช่วยใช้ 13. นายกเทศบาลพิจิตร ให้จัด WS เรื่องนี้ ให้ใช้ประโยชน์จะปรับปรุงอย่างไร เรื่องการเดินทางไม่ค่อยมีปัญหาการเดินทางจะค่อนข้างสะดวก รวมถึงจักรยาน โดยเฉพาะใน อปท ก็จะเดินทางสะดวก ปัญหาคือการออกแบบให้ถูกสุขลักษณะ อยากเห็นว่าข้อดีข้อเสียในการทำงานทั้ง 4 กรณีเป็นอย่างไร ท้องถิ่นมีการดำเนินการอยู่แล้ว แต่อยากได้ข้อมูลเพิ่มคือทางลาดคนพิการ ผู้สูงอายุมีขนาดเท่าไหร่ เพื่ออ้างอิงออกแบบให้ชัดเจน จะต้องใช้พื้นที่สาธารณะเท่าไหร่ มีไกด์ไลน์เพื่อให้เกิดการใช้งาน เรื่องพื้นบอกได้ไหมว่าพื้นคอนกรีตต่างอย่างไรกับพื้น….. บอกความแตกต่างของพื้นต่างๆ แต่ละพื้นที่มีความเฉพาะตัวไม่เหมือนกัน พื้นหญ้า พื้นคอนกรีต พื้นยางเหมาะกับเรื่องอะไร เพื่อให้ความรู้กับกองช่าง เทศบาล ในพื้นที่ขาดวิศวกร สถาปนิกในพื้นที่ การรับฟังความเห็นต้องผ่านแผนประชาชน เขาตื่นตัวเรื่องนี้จะทำพื้นที่สาธารณะใกล้บ้านใกล้ใจ และยังไม่เห็นเรื่องความปลอดภัยในการออกแบบพื้นที่สาธารณะเช่นติดกล้องวงจรปิด เสียงตามสายต้องเป็น co working space ให้ได้ เป็นข้อจำกัดการทำงานของท้องถิ่น มี wifi มีหอกระจายข่าว เราทำการเช่ากับองค์การโทรศัพท์ ระเบียบไม่ค่อยเปิดโอกาสเท่าไหร่ 14. ถ้าจะมี ws มาคุยว่าการพัฒนาพื้นที่สาธารณะในท้องถิ่นเพื่อเอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีต่อชุมชน จะเป็นไปได้ไหม WS เป็นแบบไหนก็ได้ การดำเนินการเจ้าภาพ 3 หน่วยงาน ทาง สสส และ สช อาจจะลงขันกัน ทางสันนิบาติเทศบาลมีหนังสือออกไปขอความร่วมมือ จัดกันประมาณ 1 วันครึ่ง ทางสันนิบาติจะเชิญนาบกเมืองต่างๆมารับฟังความเห็น ในคุยในเบื้องต้นกับสมาชิกเครือข่าย ประมาณ 100 ที่ ถ้า สสส เองจะทำเรื่องนี้ จะขายแล้วจะมีพื้นที่ไหนสนใจบ้าง กลุ่มเป้าหมายเฉพาะจะเกิดผลมากกว่าหว่านไปทั่ว 15. จะเริ่มจับมือกับสันนิบาตเทศบาลก่อนในระบบสุขภาพ และจะเคลื่อนกันต่ออย่างไร และถ้าจัด WS แล้วจะทำอย่างไรต่อไป
16. เดือนหน้าจะมีประชุมกรรมมาธิการสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ให้ทาง สสส สช มาขายของก่อนจะเป็นไปได้ไหม ให้ทาง สช สสส ช่วง 15-16มิย ในวันประชุม ให้ทาง สช มาคุยก่อน
17. เรื่องคู่มือนี้เป็นไปเพื่อการสร้างพื้นที่สาธารณะที่ดี ไม่อยากเน้นเรื่องการสร้างในเชิงช่างเป็นแค่หนึ่งองค์ประกอบ ถ้าจะบอกว่าพื้นที่มี 3 ส่วนใหญ่คือ การขึ้นรุป การอิมพรีเม้น การเมนเทน ไม่อยากเกิดเหตุการณ์ที่ส่งเสริมการสร้างเพียงอย่างเดียว การแก้ปัญหาคือ การบอกว่าเทรนด์พื้นที่สาะรณะที่ดีคืออะไร พื้นที่สุขภาวะที่ดีคืออะไร ต้องตั้งเกณฑ์นี้ให้ชัด กระบวนการขึ้นรูปตอนที่เป็น how to มันมีหลายแทร็ค เช่น แทร็คภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน การออกแบบคือประเมินศักยภาพพื้นที่ หรือประเมินผู้มีส่วนได้เสีย ประเมินผู้ใช้สำคัญมาก ก่อนจะสรุปว่าจะทำพื้นที่สาธารณะเพื่ออะไร ถ้ามีการสรุปแบบไม่ดีไม่ได้มาจากประชาชน จะได้ผลออกมาไม่ดี
18. น่าจะทำการสำรวจตัวอย่างสวนสาธารณะที่ดีจำนวนหนึ่ง ทั้งประเทศมีการออกแบบลานกีฬา ลานวัด เป็นที่คนมาชุมนุมกัน นำข้อมูลตั้งต้นวันนี้ไปพบกับสันนิบาตเทศบาล อาจพบว่าพื้นที่บางที่มีคุณค่าโดยไม่ต้องใช้เงินเลย แต่ละท้องถิ่นต้องมีการสำรวจพื้นที่สาธารณะ ท้องถิ่นน่าจะศึกษาสำรวจพื้นที่ไปทำให้เกิดความปลอดภัย ให้เป็นที่รู้จัก และมีการเฝ้าระวัง 19. อาศรมศิลทำคู่มือไว้แล้ว เป็นองค์ประกอบกัน อาจจะเริ่มคุยกับเทศบาล คิดว่าหลายเทศบาลสนใจ 20. ใน กทม มี pain point เรื่องภาษีที่ดิน ว่าจะทำอย่างไรต่อ อยากให้จัดฝึกอบรมและจัดฝึกอบรมคู่มือกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
21. ในคู่มือ ผู้เล่นจะไม่ชัดมาก ในคลองผดุงทำมา 7 ปีมีกระบวนการต่อรองกับภาครัฐ น่าจะมี toolkit สำหรับภาคประชาชน น่าจะมีวิธีเขียนคำร้อง ทำแบบฝึกหัดขึ้นมาและไป convince ภาครัฐ ในกระบวนการนี้ต้องมีการทำผ่านภาคประชาชน ใส่กระบวนการอะไรลงไป ถ้ามีพื้นที่รกร้าง น่าจะช่วยภาครัฐได้ในการทำงานพื้นที่ย่อยๆ ภาคประชาสังคมช่วยได้เยอะถ้าทำแผนดีๆ
22. ให้เพิ่มกระบวนการมีส่วนร่วม เพราะส่วนนี้มีน้อยไป เห็นกระบวนการตัดสินใจ เพื่อช่วยเทศบาลว่าความต้องการตรงนั้นมีอะไรบ้าง จะตอบสนองแต่ละกลุ่มอย่างไร