โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงฯและสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการมีกิจกรรมทางกาย เขต 10 ที่ จ.อุบลราชธานี21 ธันวาคม 2564
21
ธันวาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงฯ และสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการมีกิจกรรมทางกาย วันอังคารที่ 21 ธันวาคม 2564 เวลา 08.30-17.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 10 จ.อุบลราชธานี

เป้าหมายการประชุม
1. พัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2. พัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงให้มีทักษะการทำแผน การเขียนข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ และติดตามประเมินผลโครงการ

กำหนดการ 08.30 – 09.00 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุม โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 09.00 – 10.30 น. - ฝึกปฏิบัติการออกแบบกิจกรรมเพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ
โดย ผศ.ดร.ลัดดา แสนสีหา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และ ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 10.30 – 12.00 น. - การแปลงรูปแบบและกิจกรรมเพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ เป็นโครงการที่มีคุณภาพ โดย ผศ.ดร.ลัดดา แสนสีหา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และ ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหาร

13.00 – 16.00 น. - ฝึกปฏิบัติการเรื่องการติดตามประเมินผล
โดย ผศ.ดร.ลัดดา แสนสีหา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และ ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 16.00 – 17.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้/สรุปผล และชี้แจงแนวทางการดำเนินงานในระยะถัดไป
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การพัฒนากลไกระดับตำบล
1. ต้องทำให้ทุกภาคส่วนทำแผนได้ ทำโครงการ ติดตามประเมินผล
2. พบว่าโรคเรื้อรัง และปัจจัยเสี่ยง อัตราป่วย อัตราตาย ดีลี่อัตราความสุขของคนไทย
3. ผู้ชาย ปัจจัยที่ทำให้ความสุขลดลง คือ เหล้า บุหรี่ สารเสพติด
4. ปัจจุบันมีโรคอุบัติใหม่เข้ามา / เรื่อง PM2.5 เข้ามา / สุขภาพจิตสังคมตามมา

จากสถานการณ์ ไปวางการเพิ่มเป้าหมาย PA เพียงพอ
- กลุ่มวัยทำงาน 1,000 คน
- มี PA เพียงพอ 300 คน
- เดิมเรามี PA เพียงพอ 30 % - เป้าหมาย วางไว้ 50 % - กลุ่มเป้าหมาย: คนที่มี PA ไม่เพียงพอ 200 คน

เวลาดู PA เพียงพอ 1. ระดับ : เบา กลาง หนัก 2. เวลา : 30-60 นาที
PA เพียงพอต้องระดับกลางและหนัก
เพราะฉะนั้นต้องการออกแรงปานกลางถึงหนัก ถึงจะเพียงพอ - โครงการต่างๆ เดินมากขึ้นวิ่งมากขึ้น แต่ยังไม่พอ - กิจกรรมลงแขกปีละ 3 8รั้งยังไม่เพียงพอ

  • อาชีพเกษตรกร
  • บางคนหน้าฝนขึ้นเขาไปเก็บเห็ดมาขาย
  • นันทนาการในสวน/สนามกีฬา

แลกเปลี่ยน กลุ่มเต้นแอโรบิค กลุ่มเต้นแอโรบิก : การทำการเต้นแอโรบิค 1. กลุ่ม 20 คน จะไปอยุกลุ่มไหน เช่น ชมรมลีลาส
2. การทำงานให้อยู่แบบวิถี จะยั่งยืน ภ้าแบบฉาบฉวยไม่มีกลุ่มคีย์แมนจะหายไป / สิ่งที่ยั่งยืนในกลุ่มจักรยาน เราไปหากลุ่ม ไม่ใช่ให้กลุ่มมาหาเรา เกิดจากแรงจูงใจ ไม่มีใครบังคับ คนที่ทำไม่ต้องถูกบังคับสมัตรใจ / กลุ่มวิ่งจักรยานจะทักกัน เป็นวัฒนธรรมที่มีความสุข
3. อำเภอจะปั่นจักรยาน / ต้องมีแกนนำ ทำให้เห็นภาพเปนต้นแบบทำสม่ำเสมอ 4. สิ่งที่ทำให้คนเดินตาม คนที่เป็นแกนนำทำให้เป็นตัวอย่างสม่ำเสมอ เหมือนคนบ้าทำทำอยุ่ตลอด / หาแกนนำ / คนเข้ามากิจกรรมต้องสนุก / 5. การทำกิจกรรมต่อเนื่อง ต้องทำให้สนุกสมัครใจ การวัดผลกิจกรรมวัดผลคือ สายสัมพันธ์
6. การทำ PA ในชุมชนต้องหาแกนนำ / ไม่คิดถึงตังค์ไปสนับสนุนเขาหนอย
7. ปี 61 อ.อารีย์ รับจาก อ.เกษม / การทำให้ยั่งยืนมี 3 องค์ประกอบ มี สิ่งแวดล้อม policy
การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมี PA สำคัญมาก / มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มีการปั่นจักรยาน ทำเลนจักรยาน / ถ้าไปญี่ปุ่นจะมีเลนจักรยาน / การจัดร้านอุปกรณ์กีฬาที่เอื้อต่อการมี PA
การแยกกลุ่มวัยทำงาน เล่นสันทนาการ  /  การทำลานกีฬา /

แลกเปลี่ยน โจทย์ ชมรมแอโรบิคมาขอเงินกองทุนฯ เต้น 30 คนทุกวัน จันทร์ถึงศุกร์ ถ้าเราเป็นพี่เลี้ยง เราอยากให้เขาปรับโครงการให้ดีขึ้น ทำอย่างไร เป็นรูปธรรม 1. ค้นหากลุ่มเสี่ยง พี่เลี้ยงมีเวทีการประเมินผลลัพธ์ เช่น คนนี้มีนำหนักเกินต้องการลด / คนนี้เป็นเบาหวาน เอาคนกลุ่มเสี่ยงมาตรวจสุขภาพ สมัครใจ มีการวัดผลลัพธ์
2. คัดกรองเบื้องต้น ออกแบบการมีกิจกรรมทางกายที่เหมาะสม
- อ้วน - โรคเรื้อรัง
- สุขภาพ สมบูรณ์ เป็นตัวอย่าง
3. สร้างแกนนำ / พัฒนาแกนนำ / สร้างอาชีพให้ผู้เต้นนำ
- สร้างหลักสูตร ขยายไปสู่โรงเรียน-ชุมชน
- ขยายความรู้ อสม.การเคลื่อนไหวแต่ละคน จะมีการเคลื่อนไหวขยับเขยื้อน ให้ทุกคนที่รับทราบข้อมูลเช้าใจเรื่อง PA
4. สร้างเครือข่าย / ชมรม
5. สอดแทรกความรู้ด้านสุขภาพระหว่างการมีกิจกรรม เช่น วันนี้จะมีคนวัดมวลกระดูก
6. สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อ ขยาย/กระจายให้ครบกลุ่มพื้นที่
ให้อยู่ใกล้ผู้ออกกำลังกาย
7. ประกวด /แข่งขัน / ต้นแบบระดับพื้นที่
8. เสริมกิจกรรมทางกายอื่นของชมรม เช่น โครงการสาธารณะประโยชน์

แลกเปลี่ยน
1. โปรเจีก ทำให้เขาเห็นอยากแก้ไข / การคัดกรองทำให้เห็นภาพถ้าปล่อยไป เบหวานความดันมาแน่ / คนที่พาดึงทำ เราต้องตรวจด้วย / แล้วก็สร้างแกนนำให้คนในชุมชนทำต่อได้ / อันนี้ใช้เงินกองทุนคัดกรองได้ / ใส่ความรู้ การแก้ปัญหา / โครงการต่อมาคือ การสร้างหลักสูตรแกนนำ / พัฒนาคนมีแกนนำ / การประเมินผลลัพธ์

โจทย์ ให้พี่เลี้ยงแบ่งกลุ่มออกแบบโครงการ 3 ช่วงวัย
กลุ่มเด็ก

เด็กเล็ก/อนุบาล
1. เด้กว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำได้ 2. ส่งเสริมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อเสริมสร้างพัฒนการสมวัย เด็กประถมศึกษา/ขยายโอกาส 1. โรงเรียนเกษตรพอเพียง ปลุกผักอินทรีย์ตามฤดูกาล 2. กิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ (หนูน้อยรักษ์สะอาด จัดตั้งธนาคารขยะเพื่อทุนการศึกษา) เด็กมัธยมศึกษา 1. To be number one (เต้น cover เต้นเชียร์ลีดเดอร์ / กลุ่มงานหัตกรรม/เล่นกีฬา/เล่นดนตรี/บำเพ็ญประโยชน์) 2. กีฬาต้านยาเสพติด (ส่งเสริมการฝึกซ้อมการเล่นด้วยกีฬา) 3. กีฬาพัฒนาชุมชน (ส่งเสริมการฝึกซ้อมการเล่นกีฬาเชื่อมสัมพันธ์ และบำเพ็ญประโยชน์)

แลกเปลี่ยนเพิ่มเติม - PA เด็กให้ไปเชื่อมวัฒนธรรม
- เราเพิ่ม PA เด็กแล้ว เด็กจะไปเพิ่ม PA ในครอบครัวได้อย่างไร เช่น เด็กลงไปช่วยพ่อแม่ทำการเกษตร พ่อแม่ขายอาหารเด็กเข้าไปช่วยการประกอบอาชีพของผู้ปกครอง
- ยุทธศาสตร์ชาติ Active play

กลุ่มวัยทำงาน
1.1 PA เพียงพอ
- ให้ความรู้การยึดเหยียดร่างกายที่ถูกสุขลักษณะกับทุกกลุ่มอาชีพ เช่น กรีดยาง ยกของเก่า ทอผ้า ทำเกษตรกรรม นักกีฬาทั่วไป
1.2 มี PA ไม่เพียงพอ
- ใช้วิถีชีวิตให้เป็น PA ไปเสริมให้เป็นตัวเขาเองอยู่แล้ว - ส่งเสริมการทำปุ๋ยชีวภาพเพื่อใช้ในสวนผลไม้ / ใช้แรงงานคน-นำขี้วัว-ขี้ควายมาเอง
1.3 ไม่มี PA เนือยนิ่ง
- การดูแลพื้นที่สาธารณะ เช่น ใช้แรงงานคนตัดหญ้า ริมถนน เก็บขยะ / น่าบ้าน น่ามอง
- สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการมีกิจกรรม PA

แลกเปลี่ยนเพิ่มเติม
- การวัดก้าวเดิน
- การเดินให้เดินเร็ว อย่าเดินทอดน่อง
- ถ้าจะทำกับกลุ่มออฟฟิต การแข่งขัน การเป็นทีม / สังคมช่วยกันกระตุ้น / การใช้ตัวไลน์ให้ออกกำลังกายร่วมกัน ทำพร้อมกันแล้วจับเวลา
- การตรวจสุขภาพประจำปี ปีละ 2 ครั้ง
- ตั้งแต่เราตื่นนอน การเดิมน้ำอุ่น ทำให้มีความอุ่น เดินไปมาก่อน ต้องมีสื่อ การทำบนโซเชียลมีเดีย การตั้งกลุ่มไลน์
- PA เพิ่มโครงการ คนกรีดยางมีการเกร็งของกล้ามเนื้อ ช่างตัดผม ก็เป็นออฟฟิศ ซินโดรม ทำโครงการรำไม้พลอง / การบริหารต้นขาแก้โรคข้อเข่าเสื่อม อ.พงค์เทพ แนะนำกลุ่มเพิ่ม
- กลุ่มสาธารณะประโยชน์
- กลุ่มวัฒนธรรม กลุ่มรำซิง
- กลุ่มครอบครัวสัมพันธ์
กลุ่มผู้สูงอายุ

แลกเปลี่ยนเพิ่มเติม 1. ที่พิบูลมังสาหาร เจอผู้สูงอายุครั้งละ 1 วัน / การออกกำลังกายเพื่อแก้ปัญหา / เมื่อกลับไปอยู่บ้านได้ออกกำลังกายต่อ / การเล่นดนตรี
2. โรงเรียนผู้สูงอายุ: มีกิจกรรมกิจวัตรประจำวัน จะช่วยเสริมแรง PA
3. อ.กุลทัต WHO แนะนำการออกกำลังกายโดยไทเก็ก ป้องกันการหกล้มของวัยผู้สูงอายุ / จะได้เรื่องการทรงตัว ได้เรื่องสมาธิ / การทำให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมจิตอาสาเข้าไปสอนการจักรสานไม้ไผ่ให้ศูนย์เด็กเล็ก ทำให้เกิดความผูกพันเห็นคุณค่าของผู้สูงอายุ เข้าไปช่วยมีกิจกรรมจิตอาสา การคัดกรอง
4. โรงเรียนผู้สูงอายุ พิบูลมังสาหาร สอนทำศิลปะ ตุ๊กตากาบมะพร้าวศูนย์เด็กเล็ก
5. ทางปัญญา/ความรู้  คนละอันกัน จิตวิญญาณความเอื้ออาทรมีปัญญาเสียสละ มีจิตสำนึกจริยธรรม มีนำใจนักกีฬารู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย/ ปัญญารู้อะไรควรอะไรไม่ควร
6. ทางคณิตศาสตร์ มีเหตุ มีผล แต่ความดีกับความเก่ง

แลกเปลี่ยนการพัฒนาโครงการในกองทุนสุขภาพตำบล

แลกเปลี่ยนโครงการ 1. การทำโครงการให้เห็นเป้าหมาย เพิ่ม PA ที่เพียงพอให้กับชุมชน
2. แต่ละกลุ่มวันทำงานที่มี PA พอเพียง เราจะเริ่มจากกลุ่มไหนก่อน / ถ้ายากเราจะไปสตาทร์จากกลุ่มที่มี PA พอเพียงก่อนไหม
3. ถ้าเราเริ่มด้วยแอโรบิก เราควรสร้างแกนนำเครือข่าย เช็คแสกนกลุ่มไหนควรมีอะไรขึ้นบ้าง เดินวิ่ง ชมรมกีฬา / หลักจากที่มการออกแบบแล้ว ทำอย่างไรให้มีกิจกรรมที่ต่อเรื่อง
4. เช่น 3 เดือนจะมีเวลาแลกเปลี่ยนมหกรรมสิ้นปี เดิมน้ำหนัก 100 กิโล > ลดลง
5. การเพิ่ม record