โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงฯและสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการมีกิจกรรมทางกาย เขต 1 ที่ จ.แพร่6 ธันวาคม 2564
6
ธันวาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงฯ และสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงการมีกิจกรรมทางกาย วันจันทร์ที่ 6 ธันวาคม 2564 เวลา 08.30-16.30 น. ณ โรงแรมแพร่นครา อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป้าหมายการประชุม
1. พัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2. พัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงให้มีทักษะการทำแผน การเขียนข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ และติดตามประเมินผลโครงการ

กำหนดการ 09.00 – 09.30 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุม โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 09.30 – 10.30 น. - พี่เลี้ยงฝึกปฏิบัตินำเสนอแนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยสื่อต่างๆ
เช่น PowerPoint
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวคิดการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดย พี่เลี้ยง
10.30 – 12.00 น. - พี่เลี้ยงฝึกปฏิบัตินำเสนอการทำแผนกิจกรรมทางกายผ่านเว็บไซต์ https://localfund.happynetwork.org และสื่ออื่นๆ (เช่น PowerPoint) - แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำแผนกิจกรรมทางกาย
โดย พี่เลี้ยง
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
13.00 – 14.30 น. - พี่เลี้ยงฝึกปฏิบัตินำเสนอการเขียนข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายผ่านเว็บไซต์ https://localfund.happynetwork.org และสื่ออื่นๆ (เช่น PowerPoint) - แลกเปลี่ยนเรียนรู้การเขียนข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดย พี่เลี้ยง 14.30 – 16.00 น. - พี่เลี้ยงฝึกปฏิบัตินำเสนอการติดตามประเมินผลผ่านเว็บไซต์ https://localfund.happynetwork.org และสื่ออื่นๆ (เช่น PowerPoint) - แลกเปลี่ยนเรียนรู้การติดตามประเมินผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดย พี่เลี้ยง

16.00 – 16.30 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้/สรุปผล และชี้แจงแนวทางการดำเนินงานในระยะถัดไป
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง PA สำคัญอย่างไร
1. สมัยนี้เด็กเรียนออนไลน์ ทำให้ใช้สายตาต่อหน้าจอมาก มีข่าวว่าเด็กเลือดออกในตา
2. ถ้า PA ลดลงจะส่งผลกระทบต่อเด็ก ความสนใจเด็กจะสนใจไปเรื่องมือถือเกม / วัยทำงาน NCD / ผู้สุงอายุ ลดไขมัน /
3. การเรียนออนไลน์ที่บ้าน เด็กอ้วนขึ้น นั่งกิน กินผักน้อยมาก / เด็กจะพวงออกไปไหนไม่ได้พาไปว่ายน้ำ / เด็กอ้วน
4. ผู้สูงอายุ PA มีบทบาทมากในการเสริมสร้าง / พชอ.สูงเม่น เห็นความสำคัญมากนำกิจกรรมออกกำลังกายมาใช้ในพื้นที่อำเภอสูงเม่น / อย่างน้อยในหนึ่งหมู่บ้านต้องมีชมรมออกกำลังกาย ทำกิจกรรม โดย อ.สูงเม่น ได้มีโอกาสมาเชิญชวนอำเภอสูงเม่น ทำกิจกรรมทุกวันพุธที่สนามที่ว่าการอำเภอสูงเม่น / โรงเรียนผู้สูงอายุ นำกิจกรรมออกกำลังกายไปใช้

สรุป
- การมี PA ที่เพียงพอต้องกลางกับหนัก ระยะเวลาอย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป
ยกตัวอย่าง
ปั่นจักรยาน 10 KM ไปวิ่ง เจาะน้ำตาลลดลงมานิดเดียว / เปลี่ยนวิ่ง 5 km ลด / ถ้ามี PA เบาไม่ช่วย ต้องมี PA ปานกลางถึงหนัก
1. กิจกรรมทางกาย มี 3 ด้าน
1) สัญจร : เดินประมาณ 10,000 ก้าวต่อวัน ถึงจะมีเพียงพอ แต่ยังเป็น PA ระดับเบา / เดินปั่นจักรยาน / โรงเรียนเด็กเรียน 45 นาทีแล้วย้ายห้อง
2) นันทนาการ: การละเล่นการออกกำลังกาย /กีฬา 3) ที่ทำงาน:
- แลกเปลี่ยนคนที่ทำงาน อยากเต้นแอโรบิก /การแข่งขันกีฬา - การส่งเสริมให้มีการแข่งขันกีฬาในสำนักงาน / ที่บ้านปั่นจักรยานมาทำงาน / ที่ทำงานมีทางลาดชัน /และมีแอโรบิคในสถานที่ทำงาน
- การเสนอแฟ้ม เป็นการถือแฟ้มขึ้นลง / การปลูกต้นไม้ การปลูกต้องดูแล / การใช้

แลกเปลี่ยนตัวอย่างโครงการ
- สัญจร เวลาเขียนโครงการจะทำอย่างไรเวลาเขียนโครงการให้คนมีเดินปั่นจักรยาน ยกตัวอย่างบ้านเหล่า ทำอย่างไรให้เพิ่มไอเดีย อาหารที่ไปที่วัดเป็นอาหารสุขภาพ
- สมัยก่อนเด็กๆถือธงไปโรงเรียน
- สถานที่ทำงาน
- ชุมชน ; การพัฒนา / ทุกเสาร์อาทิตย์ เกณฑ์กันมาช่วยกันพัฒนาพื้นที่ / จิตอาสาพัฒนาสภาพแวดล้อม กิจกรรมปลูกป่า / เวลาทำแบบนี้จะเพิ่มทั้ง PA เพิ่มสภาพแวดล้อม / เด็กเยาวชนทำแปลงผลผลิตทางการเกษตร เป็นการใช้แรง ใช้ความคิดด้วย
- PA กับอาชีพ ภาคเกษตร จะมี PA ที่มากกว่า - แอโรบิค ยกตัวอย่าง บ้านบางม่วง จะเพิ่ม PA 10 เปอร์เซ็นต์ คนหมื่นคนจะเพิ่มแอโรบิค 10 เปอรเซ็น เป็น 1,000 คน

พัฒนาแกนนำ 30 คน กิจกรรมออกแบบควร (การคิดแบบดาวกระจาย) 1. สร้างครูนำเต้น ทำให้ครูที่เต้นเป็นมีงานมีเงินมีรายได้จากการเต้น
2. สร้างสภาพแวดล้อม ขยายพื้นที่ ให้คนสามารถเข้าถึง
3. กลไกสนับสนุนอย่างไร เช่น พี่เลี้ยง งบประมาณ
แลกเปลี่ยน
- ประยุกต์การเต้นกับรำวงย้อนยุค
- ในงานกองทุนฯ การออกกำลังกายต้องวัดผลได้ / แบบวัดผลควรวัดผลแบบอื่นออกกำลังกายอย่างอื่น
- การวัดกิจกรรม เจ้าของงบอยากให้ / ถ้าไปวัดที่ผลลัพธ์จะวัดยาก /
- บางทีงบประมาณ ขึ้นจ้างจะผิดวัตถุประสงค์ / ถ้าเป็นชุมชนเมืองทำได้ / ถ้าเป็นชุมชน ชาวบ้าน ถ้านานไปมีปัญหาทางบ้าน - ต้องลบความเชื่อเดิมๆ การประเมินผลเบาหวานความดันลดลง / ภาคประชาชนมาช่วยเติมองค์ความรู้ /จริงๆไม่ได้ยาก
- ใน รพสต. นัดกันมาทำกิจกรรมทางกาย
- ความยั่งยืนออกกำลังกายไม่ควรมี ให้ลองเปลี่ยนกิจกรรมออกกำลังกายในแต่ละกลุ่มวัย ในวัยของ 60 / ให้เราเปลี่ยน /
- ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายให้ดูตามความเหมาะสม / ออกกำลังกายในน้ำ การว่ายน้ำส่งเสริมป้องกันอุบัติเหตุ / ผู้พิการ

ภูเก็ตเมืองสุขภาพ
จัดกิจกรรมทางกายกับผู้พิการ

สิ่งหนึ่งที่น่าทำแล้ว ต้องเชื่อมกับเรื่องอื่น เช่น ทำแผล้วสร้างคนสร้างอาชีพ
- การเต้นแอโรบิค เต้นแล้ว เศรษฐกิจจะดีตามไปอย่างไร
- คนเต้นเยอะ การหาชุดออกกำลังกาย
- การละเล่น เกิดการอนุรักษ์เดิมๆของพื้นที่
- PA ในเด็กเพิ่มขึ้นมาเรียนนวดแพทไทยเรียนโยคะ / นวดแผนไทยไปตั้งชมรม รับนวดให้ชาวบ้าน สร้างรายได้ให้กับเด็กครอบครัว
- การเรียนรู้เรื่องป่าไม้เกษตร / มีเรื่องจิตสำนึกของเขา
- การเดินมากขึ้น ปั่นจักรยานมากขึ้น เล่นกีฬามากขึ้น / ช่วยจัดการปัญหาครอบครัว / เพิ่มการท่องเที่ยวได้

ตัวเลขสถานการณ์
1. ตัวเลขสามารถเปรียบเทียบได้

การทำแผน ช่วงบ่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ ผู้สูงอายุ / วัยทำงาน / วัยเด็ก
ตัวอย่างโครงการที่บ้านเหล่า

  1. การพัฒนาโครงการคุณภาพชีวิต แนวทางการดำเนินการ กาย สภาพแวดล้อม กลไก
  2. ตัวอย่าง ถ้าอบรมปลูกผัก เขาจะกลับไปปลุกไหมในความเป็นจริง
  3. โครงการที่ดี

- สร้างให้รู้ /เข้าใจ ศึกษา / ทำเป็น - สร้างสภาพแวดล้อมที่ให้เอื้อต้องการเพิ่ม PA (เพียงพอ) - ต้องมีกลไก การนำสู่เป้าหมาย / ท้องถิ่น สนับสนุน / พี่เลี้ยง
- อย่าลืม PA เพียงพอระดับกลางขึ้นไป สะสม 30 นาทีต่อวัน
- ออกแบบผู้สูงอายุพิการ การผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีชาวบ้านในการทำเครื่องกายภาพบำบัดของตนเอง / โครงการสนับสนุนการทำกายอุปกรณ์ โดยการมีส่วนร่วมระบบเพื่อนช่วยเพื่อน และมีกลไกสนับสนุน เช่น กลไกพี่เลี้ยงแนะนำติดตามประเมินผล เช่น พวกยางยืด ราวเดิน

โครงการวัยทำงาน
- หมู่บ้านสงกาน ชุมชนประกอบอาชีพเกษตร และมีกลุ่มจักรสาน จำนวน 60 ครัวเรือน กลุ่มนี้เวลามา รพสต. เปนโรคอ้วน โรคข้อ โรคกล้ามเนื้อ โรคกระเพาะอาหาร การใช้ยาไม่สมเหตสมผล และมีปัญหาเรื่องความดัน
- มีครูโยคะในพื้นที่ - กิจกรรม เริ่มจากการอบรมให้เขาเข้าใจ ว่าเป้นโรคที่เกิดจากประกอบอาชีพ - ทำโครงการส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยโยคะ และจะขยายผลไปกลุ่มอื่นด้วย
- อบรมโยคะ 2 วัน - สร้างกระแสเย็นมาสัปดาห์ละ 3-4 วัน
- มีเครือข่าย อสม.ช่วยบันทึกติดตาม สร้างกระแสในชุมชน - กิจกรรมมีการถอดบทเรียน ทำจริงกี่หลัง ได้ผล อย่างไร
- วัดผลระดับ BMI /การลดการใช้ยาใน รพสต / ลดไขข้อ
- คน 60 คน / มี PA เพียงพอ 50 คน


แลกเปลี่ยนโครงการวัยทำงาน 1. การยืดเหยียด
2. การสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อ มีการประกวด จัดกิจกรรมรณรงค์ออกกำลังกายผ่านโยคะ เป็นโยคะศิลปวัฒนธรรมในชุมชน / กลไก สร้างกลุ่มออกกำลังกายในโยคะ
3. กิจกรรมเป็นคน ถ้าเราสามารถรวมกลุ่มเป็นละแวก / ถ้าจักรสานเป็นบุคคล สามารถนำมารวมกลุ่ม ได้ทำกิจกรรมไปพร้อมๆกัน โดย อสม.เป็นพี่เลี้ยง ให้ อสม.ทำโยคะเป็น และเพิ่มเรื่องความหนัก/ เพิ่มเรื่องอื่นที่มากกว่าการโยคะ / โรคทางข้อหรือกล้ามเนื้อ ให้เขาเห็นประโยชน์จากเรื่องนี้ ทำให้เขาสนใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
4. จักรสาน ชาย ตัดไม้ไผ่ / หญิง ถักสาน
5. มีกลุ่มไลน์ส่งไปทุกวันๆ
6. ดูข้อมุลจาก รพสต.ว่าโรคกลุ่มนี้ลดลงไหม
7. ต้องการครูสอนโยคะ
7.1) ต้องการพัฒนาครูโยคะ 7.2) ธรรมชาติที่ต่อเนื่อง นอกจากโยคะ จะมีกิจกรรมอื่นอะไรบ้าง
7.3) การสร้างแรงจูงใจ หรือการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อ / รพสต. /กระบวนการกลุ่ม ถ้าให้ทำเองไม่ทำ


โครงการเด็ก
PA ใน 8 โรงเรียน ; ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง : เกษตรอาหารในโรงเรียน
- ทักษะชีวิต
- การปลุกผัก -การเตรียมแปลงผัก - การรดน้ำ - การทำปุ๋ยในโรงเรียน
- การปรับสภาพสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
- การนำทักษะไปปรับใช้ในชุมชน

ผล: การเพิ่มรายได้ ลดราจ่าย แก้ปัญหา ปัจจัยเสี่ยง

แลกเปลี่ยน
1. เป็นโครงการทีดี การออกแบบกิจกรรมที่สามารถตอบเรื่องอื่นๆได้ 2. เอาผุ้ใหญ่มาเล่ากิจกรรม ว่าการปลุกผักช่วยอะไรบ้าง 3. แรงจูงใจ ที่โรงเรียนเปนแปลงทดลอง และให้ไปทำระดับครัวเรือน ขยับไปสุ่กลไกของชุมชน ให้คนในชุมชนมาช่วย
4. การปรับสภาพแวดล้อมที่โรงเรียน ปรับพื้นที่รกร้างเสื่อมโทรม ลดปัญหาไข้เลือดออกยุงลาย
5. สภาพแวดล้อมดีขึ้น
6. เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย
7. ให้โรงเรียนเพิ่มเรื่องคะแนน

พะเยา 5-17 ปี บ้านต่อม

  1. เป็นโรงเรียนสีขาว มีสิ่งแวดล้อม สนามกีฬา เกษตร
  2. กิจกรรมมองภาพรวมทั้งไปเสริมกลไกเดิมครูผุ้ปกครอง / ชมรมออกกำลังกายในโรงเรียน
  3. กิจกรรม; ก่อนทำโครงการมีครูพละศึกษา
  4. โรงเรียนปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่
  5. เด็ก 30 คนเป็นเด็กอ้วนไม่กินผัก ติดมือถือออนไลน์
    170 คน เดิน 15 คน ปั่นจักรยาน 20 คน ที่เหลือโดยสารรถ
  6. ใน 170 คนมีการออกกำลังกายปานกลางถึงหนัก
  7. กิจกรรมโครงการ จะประชุมชี้แจ้งผุ้ปกครอง / จัดกิจกรรม บัดดี้แกนนำ 30 คน มาจับคุ่ดูแลเพื่อนพี่น้องอีก 30 คนนั้น
  8. เนื้อหาความชอบที่ถูกจริต ทั้งแอปพิเคชั่น
  9. ฝึกทักษะดูสุขภาพทางกาย ดูแลเรื่องอาหาร ให้เข้าใจเด็กอ้วน เนือยนิ่ง / ให้เด็กแกนนำ
  10. มีคู่มือ 30 คน บันทึกกิจกรรมทางกาย และติดตามปะรเมินผล
  11. บุรณาการหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน / ทั้งอาหารแป้ง
  12. มีการติดตามประมินโดยครูประจำชั้น
  13. การจัดตั้งชมชรมออกกำลังกาย / กิจกรรมยกย่องให้เด็กภาคภูมิใจ แลกเปลี่ยน
  14. อาจจะมีกิจกรรมมอบหมายครูให้เด็ก ทำกิจกรรมที่บ้าน ทำสวนครัว
  15. โยคะ การเพิ่มแกนนำ ให้ครุสอนโยคะเพิ่มขึ้น ทำสื่อโยคะ ทำเองที่บ้านได้ / มีแบบบันทึกให้เพียงพอ 45 นาทีต่อวัน / ถูบ้าน ล้างจานซักผ้า / ชีพจร
  16. ประกาศนโยบายทางโรงเรียน
  17. การเข้าค่ายผู้ปกครอง ออกกำลังกาย หาแรงจูลใจในตรงจริต

- การอบรม เปลี่ยนเป็น การพัฒนาทักษะ ประกอบด้วย ความรู้เข้าใจและปฏิบัติ