โครงการส่งเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารตามศาสตร์พระราชา โรงเรียนวัดโพธาราม (โรงเรียนวัดโพธาราม)
- ครูผู้รับผิดชอบโครงการให้ความรู้แก่นักเรียนชั้น ม.1 จำนวน 20 คน เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์
- นักเรียนเตรียมบ่อซีเมนต์ ทำความสะอาดจำนวน 2 บ่อ
- นำปลาดุกพันธ์บิ๊กอุยจำนวน 700 ตัว ลงสู่บ่อเลี้ยง แบ่งหน้าที่ให้นักเรียน 20 คน ในการดูแลเลี้ยงปลา การให้อาหารปลาดุกขนาดเล็ก กลาง และใหญ่
- ปลาดุกอายุครบ 4 เดือน สามารถนำปลาดุกเป็นอาหารกลางวันนักเรียน
ผลผลิต:
1.มีปลาดุกพันธ์บิ๊กอุยจำนวน 700 ตัว ในบ่อเลี้ยง 2บ่อ
2.ได้ปลาดุกจำนวน 620 กก./สัปดาห์ ส่งโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน
3.แม่ครัวสามารถจัดเมนูอาหารกลางวันที่มีปลาดุกเป็นส่วนประกอบให้กับนักเรียน
ผลลัพธ์: นักเรียนได้รับประทานโปรตีนจากปลาดุกที่มีคุณภาพ
- ให้ความรู้นักเรียนชั้น ม.1 จำนวน 20 คน ในกระบวนการ ขั้นตอนเลี้ยงไก่ไข่
- เตรียมโรงเรือน จำนวน 1โรงเรือน และวัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่ 700 ตัว
- แบ่งหน้าที่นักเรียน ม.1 จำนวน 20 คน ลงมือปฏิบัติการเลี้ยงไก่ไข่ โดยนำไก่สาวอายุ 18 สัปดาห์ ลงสู่โรงเรือน และให้อาหาร 2 เวลา เช้า เย็น
- นักเรียนเก็บเกี่ยวผลผลิตในสัปดาห์ที่ 23 และนำผลผลิตส่งเป็นอาหารกลางวันของโรงเรียน
ผลผลิต: มีไก่ไข่จำนวน 700 ตัว และได้ไข่ไก่จำนวน 650 ฟอง/วัน
ผลลัพธ์:
1.นักเรียนได้รับประทานโปรตีนจากไข่ไก่ที่มีคุณภาพโดยไข่ไก่เป็นไข่ไก่สดไม่มีการรมควัน ไม่มีการเคลือบสารเคมี
2.นักเรียนมีความรู้ในการเลี้ยงไก่ไข่
3.โรงเรียนเป็นแหล่งผลิตไก่ไข่ที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย
- ให้ความรู้นักเรียนชั้นม. 2-3 จำนวน 50 คน เรื่องการเพาะถั่วงอกระบบน้ำหมุนเวียนอัตโนมัติแบบควบคุมอุณหภูมิ
- นักเรียนเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเพาะถั่วงอกระบบน้ำหมุนเวียนอัตโนมัติแบบควบคุมอุณหภูมิ
- นักเรียนลงมือปฏิบัติการเพาะถั่วงอกระบบน้ำหมุนเวียนอัตโนมัติแบบควบคุมอุณหภูมิ
- นักเรียนเก็บเกี่ยวผลผลิตภายใน 48 ชั่วโมง
ผลผลิต:
1.นักเรียนชั้นม. 2-3 จำนวน 50 คน ร่วมกันเพาะถั่วงอกระบบน้ำหมุนเวียนอัตโนมัติแบบควบคุมอุณหภูมิ
2.ได้ถั่วงอกจำนวน 101 กิโลกรัม เป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียนวันละ 10กิโลกรัมแม่ครัวทำเป็นอาหารมื้อกลางวันให้กับนักเรียน 177 คน ส่วนที่เหลือจากโครงการอาหารกลางวันได้นำส่งโรงพยาบาลนาหม่อม และร้านค้าทั่วไปในพื้นที่จังหวัดสงขลา
ผลลัพธ์:
1.นักเรียนโรงเรียนวัดโพธารามทุกคน มีเมนูอาหารกลางวันที่มีถั่วงอกเป็นส่วนประกอบ
2.โรงเรียนมีแหล่งผลิตถั่วงอกที่มีความปลอดภัย ไม่มีสารเคมี
- ครูที่รับผิดชอบโครงการ ให้ความรู้นักเรียนชั้น ม.2-3 เรื่องการปลูกมะนาวในท่อบ่อ
- นักเรียนเตรียมดินและท่อบ่อเพื่อปลูกมะนาว จำนวน 10ต้น
- แบ่งบทบาทหน้าที่นักเรียน ม.2-3 จำนวน 50 คน ในการปลูกและดูแลรักษา
ผลผลิต: นักเรียนชั้น ม.2-3 ปลูกมะนาวในท่อบ่อ จำนวน 10 ต้น
ผลลัพธ์:
1.นักเรียนมีความรู้ในการปลูกมะนาว
2.โรงเรียนมีแหล่งผลิตมะนาวที่ปลอดภัย เพื่อใช่ในโครงการอาหารกลางวัน
1.นักเรียนชั้น ม.1-3 จำนวน 20 คน เตรียมแปลงปลูกผักในแปลงเพื่อผักสวนครัว จำนวน 22 แปลง และเตรียมแปลงแบบยกแคร่ จำนวน 4แปลง
2.ครูผู้รับผิดชอบโครงการให้ความรู้นักเรียนเรื่องกระบวนการขั้นตอนการปลูก การดูแลและเก็บเกี่ยวผลผลิต
3.นักเรียนชั้น ม.1-3 จำนวน 20 คน ร่วมกันปลูกผักบนแปลง (ผักสวนครัว ) และบนแคร่ผัก (ผักกาด คะน้า ฯลฯ ) ซึ่งนักเรียนจะมีหน้าที่ในการรับผิดชอบดูแลแปลงผัก
4.นักเรียนเก็บเกี่ยวผลผลิตบนแปลงผักและบนแคร่ผักส่งโรงอาหาร เพื่อจัดเป็นเมนูอาหารให้กับนักเรียนในโรงเรียน และจัดส่งสหกรณ์โรงเรียนจำหน่ายให้ผู้ปกครอง นักเรียนและชุมชนในกรณีที่ผักเหลือจากโครงการอาหารกลางวัน
ผลผลิต:
1.โรงเรียนมีพื้นที่แปลงผักจำนวน 22 แปลง และผักยกแคร่จำนวน 4 แคร่
2.ผักที่เก็บเกี่ยวได้จำนวน 50 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ และส่งต่อให้โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน
ผลลัพธ์:
1.นักเรียนได้รับประทานผักปลอดสารเคมีที่มีคุณภาพ จำนวน 50 กิโลกรัม/สัปดาห์
2.นักเรียนมีความรู้ในการปลูกผัก