นักเรียนที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลแปลงเกษตรแต่ละส่วน จะนำผลผลิตมาขายให้แก่อาหารกลางวันของโรงเรียน ขายโดยยึดจากราคาในท้องตลาด เพื่อนำเงินที่ได้ไปซื้อพันธุ์ผักมาปลูกในรอบต่อไป
ผลผลิต
นักเรียนทุกคนรวมทั้งบุคคลากรในโรงเรียนได้รับประทานผักปลอดสารพิษ
นักเรียนได้เรียนรู้ในการประกอบอาชีพทางการเกษตร
โรงเรียนมีผักปลอดสารพิษเพียงพอต่อความต้องการในการประกอบอาหารกลางวัน
ผลลัพธ์
1.นักเรียนเกิดทักษะในการทำงาน
2.นักเรียนชื่นชอบในการรับประทานผักมากขึ้น
3.ภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนลดลง
แบ่งเขตรับผิดชอบโดยแบ่งตามระดับชั้น
ป.1 ปลูกผักในแปลงก่ออิฐ บริเวณ หน้าโรงอาหาร โดบปลูกผักกาดขาว
ป.2 ปลูกบวม ในท่อซีเมนต์ กิจกรรมรอบรั้วครัวกินได้
ป.3 ดูแลโรงเห็ดนางฟ้าของโรงเรียน
ป.4 ดูแลสวนมะนาว ผักเหลียง และสวนกล้วย
ป.5-6 ปลูกผักในแปลงเรขาคณิต ผักไฮโดรโปนิกส์
ทุกกิจกรรมดำเนินการโดยนักเรียน และมีครูประจำชั้นคอยช่วยเหลือเป็นที่ปรึกษา และอำนวยความสะดวก
ผลผลิต 1. ปลูกผักกาดขาวในแปลงก่ออิฐ จำนวน 4 แปลง 2.ปลูกบวมในท่อซีเมนต์ จำนวน 30 ท่อ 3.ปลูกผักไอโดรโปนิกส์ 1 แปลง 4.ปลูกผักกาดสายซิ่ม ในแปลงเรขาคณิต จำนวน 10 แปลง
ผลลัพธ์ 1. นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการปลูกผักปลอดสารพิษ 2. นักเรียนเกิดความรู้ในการปลูกผักปลอดสารพิษ และตระหนักในเรื่องการรักษาสุขภาพโดยการเลือกอาหารรับประทาน
1.ขั้นเตรียมแปลงเกษตร
1.1 กิจกรรมรอบรั้วครัวกินได้
ปรับพื้นที่ในการวางท่อซีเมนต์ โดยนักเรียนชั้นป.5-6 ร่วมกับนักการโรงเรียน
ผสมดินเพื่อใส่ลงท่อซีเมนต์ และพักดินไว้ เพื่อเตรียมปลูกผัก
1.2 กิจกรรมปลูกผักเรขาคณิต
- เตรียมแปลงปลูกผักโดยก่ออิฐเป็นร่องผัก (งบจากเขตพื้นที่) หลังจากนั้นผสมดินและนำดินที่จัดซื้อมาจากงบ สจรส. ลงแปลงเพื่อเตรียมพักดินและปลูกผัก โดยนักเรียนชั้นป.4-6 และครูผู้เรียนผิดชอบ
ผลผลิต(Output)
มีแปลงปลูกผักจากท่อซีเมนต์ จำนวน 30 ท่อ
มีแปลงปลูกผักโดยการก่ออิฐทำแปลงเกษตร จำนวน 4 แปลง
มีอุปกรณ์ในการปลูกผักพร้อมและเพียงพอต้องความต้องการของนักเรียน
ผลลัพธ์
โรงเรียนมีพื้นที่ในการปลูกผักเป็นสัดส่วน และสามารถปลูกผักได้ในปริมาณที่มากขึ้น