สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันโรงเรียนวัดพรหมประดิษฐ์ (โรงเรียนวัดพรหมประดิษฐ์)

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมชี้แจง วางแผนการดำเนินงาน 1 ต.ค. 2561 17 ธ.ค. 2561

 

  1. ประชุมชี้แจงคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา และบุคลากรในโรงเรียน เพื่อให้รับทราบนโยบายและการดำเนินการโครงการ
  2. มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ
  3. ชี้แจงทำความเข้าใจกับนักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรม จัดแบ่งหน้าที่นักเรียนที่มีจิตอาสา ให้เป็นนักเรียนแกนนำด้านเกษตร

 

  1. คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา และบุคลากร รับทราบและจัดเตรียมดำเนินการหน้าที่ของตนเอง
  2. มีนักเรียนแกนนำ จำนวน 10 คน ที่มีจิตอาสา และพร้อมจะมาเป็นแกนนำในการดำเนินการกิจกรรมครั้งนี้

 

ปรับสภาพพื้นที่เพื่อเตรียมจัดแปลงเกษตร และปรับปรุงโรงเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า 1 ต.ค. 2561 15 พ.ค. 2562

 

  1. นักเรียนจำนวน 62 คน และคณะครู 6 คน ช่วยกัน ปรับสภาพพื้นที่รกร้าง ซึ่งเป็นหญ้ารก ให้พร้อมจะดำเนินการเพาะปลูกผัก โดยยกแปลงด้วยอิฐบล้อก ได้จำนวน 5 แปลง
  2. ทาสีล้อยาง เพื่อเป็นแปลงผักขนาดย่อม ให้ครูและนักเรียนชั้น ป.1 -3 ช่วยกันดูแลผักในล้อยาง
  3. ปรับสภาพโรงเก็บของเดิมให้เป็นโรงเพาะเห็ด โดยจัดหาชั้นวางเห็ด ปรับสภาพพื้นดิน ใช้แสลนบังแดดสีดำ เพื่อปรับแสงและอุณหภูมิ
  4. จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร และอุปกรณ์เครื่องมือช่างเพื่อใช้ในการปรับปรุงและจัดเตรียมสถานที่

 

ผลผลิต :

  1. โรงเรียนมีพื้นที่สำหรับเพาะปลูกพืชผักทางการเกษตร มีแปลงผัก จำนวน 5 แปลง / มีล้อยางสำหรับเพาะปลูกผักของนักเรียนชั้น ป.1-3 จำนวน 10 ล้อยาง

  2. มีโรงสำหรับเพาะเห็ดนางฟ้า จำนวน 1 โรงเพาะ

ผลลัพธ์ :
1. นักเรียนได้ร่วมแรงร่วมใจจัดเตรียมพื้นที่ และแปลงผักล้อยางของตนเอง เพื่อเตรียมพร้อมในการดูแลผัก

 

ปลูกผักปลอดสารพิษ 1 ต.ค. 2561 20 พ.ค. 2562

 

  1. นักเรียนและคณะครู จำนวน 62 คน ช่วยกันจัดเตรียมดินให้พร้อมทำการเพาะปลูก  เพาะพันธ์ผักเช่น คะน้า กวางตุ้งในแปลงเพาะ เพื่อเตรียมนำลงดิน
  2. เพาะปลูกพืชผักที่นักเรียนชอบรับประทาน เช่น ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ผักกาด
  3. นักเรียนชั้นป. 1 -3 รับผิดชอบผักในล้อยาง (ผักกวางตุ้ง) นักเรียนชั้น ป.1 เพาะถั่วงอกอย่างง่าย นักเรียนชั้นป.2 เพาะต้นทานตะวันอ่อน
  4. เก็บเกี่ยวผลผลิต ส่วนหนึ่งนำไปใช้เป็นวัตถุดิบผักปลอดสารพิษ ให้แก่อาหารกลางวัน บางส่วนนำไปจำหน่ายผู้ปกครอง หรือแจกให้นักเรียนไปรับประทานที่บ้าน

 

ผลผลิต

  1. โรงเรียนได้ผักปลอดสารพิษ ที่ปลูกเอง ได้แก่ ผักบุ้ง ผักกวางตุ้ง ใช้ประกอบอาหารกลางวัน ต่อเนื่องในแต่ละรอบ

ผลลัพธ์

  1. นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการปลูกผักที่ทำได้ง่ายๆ
  2. นักเรียนได้รับผิดชอบดูแลแปลงผักของตนเอง
  3. นักเรียนมีภาวะโภชนาการที่ดี เนื่องจากได้รับประทานผักปลอดสารพิษ
  4. นักเรียนได้ฝึกฝนทักษะทางการเกษตร เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้ในการประกอบอาชีพหารายได้เสริมได้

 

เพาะเห็ดนางฟ้า 20 ก.พ. 2562 3 มิ.ย. 2562

 

  1. นำนักเรียนและคณะครู จำนวน 62 คน ศึกษาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ในการเพาะเห็ดนางฟ้า เพื่อเป็นข้อมูลในการเพาะเห็ดของโรงเรียน
  2. สั่งซื้อเชื้อก้อนเพาะเห็ดจำนวน  350 ก้อน เพื่อนำมาจัดเรียงในเรือนเพาะเห็ดนางฟ้า ที่เตรียมไว้
  3. จัดนักเรียนผู้รับผิดชอบในการรดน้ำเห็ด เช้า เย็น และจัดเก็บผลผลิตเห็ดนางฟ้า
  4. นำส่งให้โรงอาหารเพื่อนำมาผลิตเป็นวัตถุดิบอาหารกลางวัน บางส่วนจำหน่ายผู้ปกครอง

 

ผลผลิต

  1. โรงเรีียนได้ผลผลิต เฉลี่ย วันละ 1-2 กิโลกรัม เพื่อนำมาประกอบอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน

  2. ในระยะแรกที่เห็ดออกจำนวนมาก เกินความต้องการ นำไปจำหน่ายให้ผู้ปกครอง และชุมชน ที่สนใจ

ผลลัพธ์

  1. นักเรียนได้เรียนรู้ที่มาของก้อนเชื้อเห็ด กระบวนการดูแล และการจัดเก็บผลผลิตจากแหล่งเรียนรู้โรงเพาะเห็ดจากชุมชนใกล้เคียง

  2. นักเรียนได้รับประทานเห็ดสดๆ จากโรงเพาะเห็ดในโรงเรียน

 

เก็บเกี่ยวผลผลิต ส่งต่อโครงการอาหารกลางวันโรงเรียน 3 มิ.ย. 2562 1 ก.ค. 2562

 

  1. หลังจากได้ผลผลิตทางการเกษตรแล้ว  ได้นำส่งเป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบอาหารกลางวันให้แก่นักเรียน
  2. โรงเรียนจัดกิจกรรมตลาดนัดสีเขียว เพื่อให้นักเรียนได้ร่วมจำหน่ายสินค้า และสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่คนในชุมชน

 

ผลผลิต

  1. มีวัตถุดิบประกอบอาหารกลางวันด้วยผักปลอดสารพิษ เห็ดนางฟ้า ทำให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่สดและสะอาดปลอดสารพิษ

  2. มีกิจกรรมตลาดนัดสีเขียว จำนวน 1 ครั้ง

ผลลัพธ์

  1. มีเมนูอาหารกลางวันที่สดสะอาด ปลอดภัย

  2. นักเรียนได้รับโภชนาการที่สมบูรณ์

  3. นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะชีวิต จากการร่วมกันนำผลผลิตมาจำหน่ายในตลาดนัดสีเขียว

  4. สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง โรงเรียนและ ชุมชน จากกิจกรรม ตลาดนัดสีเขียว