โครงการผู้เรียนสุขภาพดีโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดโรง (ขาวประชาสรรค์)(โรงเรียนวัดโรง ขาวประชาสรรค์)
1.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - ุ6 ช่วยกันเก็บผลผลิตจากแปลง เช่น ผักบุ้ง ผักกาด แตงกวา เพื่อนำไปใช้ในโครงการอาหารกลางวัน และส่งให้กับสหกรณ์โรงเรียนเพื่อจำหน่ายให้กับผู้ปกครอง
2.แม่ครัวนำผลผลิตจากแปลง มาปรุงเป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียน 5-10 กิโลกรัม/สัปดาห์
1.ได้ผลผลิตเป็นพืชผักกินใบ และผักสวนครัว ได้แก่ ผักบุ้ง กวางตุ้ง คะน้า ผักกาด บวบ แตงกวา และข้าวโพด
2.นักเรียนได้กินอาหารที่มีความปลอดภัย จากการใช้วัตถุดิบที่ไม่ใช้สารเคมี
3.โรงเรียนมีวัตถุดิบที่ปลูกเอง ส่งต่อโครงการอาหารกลางวัน อย่างน้อย 5-10 กิโลกรัม/สัปดาห์
4.ชนิดผักที่ปลูกมีความหลากหลาย ทำให้นักเรียนได้กินผักเพิ่มขึ้น จากเมนูอาหารกลางวัน
5.เกิดการต่อยอดโครงการเกษตรฯ
1.นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 และครูช่วยกันซ่อมแซม กำจัดสิ่งปฏิกูลรวมถึงผักตบชวาในพื้นที่บ่อปลา ขนาด 6 x 6 เมตร จำนวน 1บ่อ
2.จัดซื้อกระชัง ลูกพันธุ์ปลาดุกสำหรับการเลี้ยงในบ่อ
3.ครูประจำชั้น ,นักกาภารโรง ให้ความรู้การดูแลปลาดุก การให้อาหารปลา และการเลี้ยงปลาดุกกับนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ
4.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ผลัดเปลี่ยนกันมาให้อาหารปลา ดูแลรักษาปลา โดยมีนักการคอยดูแลความปลอดภัยให้นักเรียน
1.มีปลาดุกจำนวน 1บ่อ ประมาณ 1,000 ตัว
2.นักเรียนได้เรียนรู้การเลี้ยงปลาดุก
3.ปลาดุกที่เลี้ยงไว้ สามารถจัดเป็นอาหารกลางวันให้กับนักเรียนในโรงเรียน ใช้ระยะเวลาอย่าง 3-5 เดือน เพื่อให้ปลาดุกมีการเจริญเติบโต
4.โรงเรียนมีพื้นที่ แหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัย
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ช่วยกัน รดน้ำ ใส่ปู่ย กำจัดวัชพืช ดูแลพืชผักที่ปลูก ผักบุ้ง ผักกาด แตงกวา และข้าวโพด
1.พืชผักที่ปลูกในแปลง ประมาณ 1ไร่ เจริญเติบโตดี
2.นักเรียนมีความภูมิใจในตนเอง
3.นักเรียนมีความรู้ในการปลูกผัก
1.แบ่งนักเรียนตามระดับชั้นในการปลูกผักชนิดต่างๆ
-นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปลูกผักคะน้า
-นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปลูกบวบ
-นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปลูกแตงกวา
2.ครูประจำชั้นช่วยแนะนำ ให้ความรู้การปลูกผัก การดูแล การใส่ปุ๋ยคอก (โดยเตรียมปุ๋ยคอกไว้สำหรับปลูกผักในโครงเหล็กนี้ 8 กระสอบ ใช้ได้ทั้งปี)
มีแปลงผักที่นักเรียนได้ช่วยกันปลูก ผักคะน้า ข้าวโพด และปลูกบวบ แตงกวา ซึ่งเป็นผักเลื้อยในโรงเรือนโครงเหล็กที่สร้างไว้
แบ่งนักเรียนช่วยทำแปลงเกษตรชนิดต่างๆ
-นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปลูกผักบุ้ง
-นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปลูกผักกวางตุ้ง
-นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปลูกผักกาด
1.ได้แปลงผัก ผักบุ้ง กวางตุ้ง และผักกาด
2.นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 มีส่วนร่วมในการปลูกผักชนิดต่างๆ
3.มีผักชนิดต่างๆ สามารถส่งต่อโครงการอาหารกลางวันให้กับนักเรียน
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ช่วยกันทำแปลงเกษตร โดยใช้เวลาทำ 2 วัน ในช่วงกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ รวมถึงเตรียมดินใส่ปุ๋ยคอกไว้สำหรับการปลูกผักของตนเองและน้อง ๆ
โดยมีคุณครูประจำชั้นและนักการภารโรงคอยแนะนำช่วยเหลือ (ปุ๋ยคอกสำหรับปลูกพืชบนแปลงเกษตร เตรียมไว้ 12 กระสอบ ใช้ได้ตลอดปี)
ได้แปลงเกษตรเตรียมไว้ให้น้องๆ ประถมศึกษาปีที่ 1-4 ได้ปลูกผัก รวมถึงทำแปลงไว้สำหรับตนเองปลูกผักด้วย
นำเมล็ดข้าวโพดมาแช่น้ำ แล้วหยอดลงในกระบะปลูก หลุมละ 1 เม็ด เพื่อให้ได้ต้นกล้าข้าวโพด ก่อนนำไปลงปลูกในแปลงเพาะปลูก
ได้ต้นกล้าข้าวโพดที่สมบูรณ์ พร้อมปลูก
การใช้บริการผู้นำชุมชนมาช่วยไถแปร ปรับพื้นที่ โดยให้นักการภารโรงช่วยตัดหญ้าก่อน
ได้พื้นที่ที่เหมาะกับการปลูกพืชผักสวนครัว เป็นการปรับพื้นที่และเตรียมพร้อมก่อนทำแปงเกษตร
จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์สำหรับทำโครงเหล็กสำหรับไว้ปลูกไม้เลื้อย และเป็นโรงเรือนในตัว โดยใช้เวลาทำ 5 วัน คือ วันที่ 3 - 7 มิถุนายน 2562
ได้โครงเหล็กที่สามารถ ใช้สำหรับปลูกไม้เลื้อย รวมถึงพืชผักอื่นๆ ได้ นักเรียนได้ปลูก บวบ และ แตงกวา ที่ข้างๆ โครงเหล็ก ส่วนภายในโครงเหล็ก ก็ปลูกพืชสวนครัว เช่น ผักกาด ผักคะน้า เพื่อให้นักเรียน ครู และบุคลากรได้มีผักปลอดสารพิษไว้ทานตลอดปี