สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

โครงการเกษตรในโรงเรียนชุมชนบ้านนากันเพื่ออาหารเช้า (โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรในโรงเรียนชุมชนบ้านนากันเพื่ออาหารเช้า (โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน)
ภายใต้โครงการ แผนงานการบูรณาการระบบอาหารในสถานศึกษาของจังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนชุมชนบ้านนากัน ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพิทักษ์ แก้ววิชิต
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ วรรณา สุวรรณชาตรี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.6469521122906,101.05633256874place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2561 30 ก.ย. 2562 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
3. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กไม่รับประทานอาหารเช้า
25.00
2 ร้อยละของเด็กขาดสารอาหาร
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ที่กำลังเริ่มแพร่กระจายเข้าคุกคามชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนในหลายจังหวัดของประเทศไทยอยู่ในขณะนี้ ถือเป็นภัยที่เกิดขึ้นและส่งสัญญาณเตือนภัยว่า ภาวะภัยแล้งปีนี้จะแล้งหนักกว่า ทุกปี แน่นอน ปัญหาภัยแล้งย่อมส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะต่อพื้นที่การเกษตร ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือ การเกิดวิกฤติขาดแคลนอาหาร และรวมถึงอาหารที่จะมีราคาพุ่งสูงขึ้นในอนาคต และนั่นคือสิ่ง ที่นำมาสู่ปัญหาต่อผู้เรียน เพราะเมื่อเกิดปัญหาภาวะภัยแล้งแล้ว พ่อแม่หรือผู้ปกครองไม่สามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้จึงต้องไปหางานทำไกลบ้าน เพื่อให้มีรายได้มาจุนเจือเลี้ยงดูครอบครัว นักเรียนส่วนใหญ่จึงต้องดำเนินชีวิตอยู่กับญาติ หรือบุคคลอื่น อาจเกิดปัญหาเด็กขาดความอบอุ่น ถูกทอดทิ้ง หรือละเลย โดยเฉพาะเรื่องปากท้อง นั้นคือการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะมื้อเช้า จากการสำรวจและสัมภาษณ์โดยการไปเยี่ยมบ้านของครูที่ปรึกษานั้น ได้ข้อมูลส่วนใหญ่คือนักเรียนได้รับประทานอาหารไม่ครบสามมื้อ โดยเฉพาะมื้อเช้าจะเป็นมื้อที่ถูกละเลย ซึ่งเป็นมื้อที่สำคัญ ซึ่งมีหลากหลายสาเหตุ เช่น ผู้ปกครองทำไม่ทันเพราะต้องรีบไปทำงานซึ่งที่ทำงานอยู่ไกลบ้าน, ขาดแคลน ยากจน ได้รับประทานเป็นบางวัน เพียงพอบ้างไม่เพียงพอบ้าง, นักเรียนตื่นสาย รับประทานไม่ทัน, นักเรียนชอบไปโรงเรียนแต่เช้าและเป็นเวลาที่เช้าเกินจึงยังไม่หิว ฯลฯ

    จากสาเหตุดังกล่าว สถานศึกษาซึ่งเป็นสถานที่ที่มีหน้าที่ในการจัดการศึกษาโดยให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะ เก่ง ดี มีสุข นั้น จึงเห็นความสำคัญและต้องการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพทั้งร่างกายและสมอง จึงได้จัดตั้งโครงการ มื้อเช้าอิ่มท้องสมองแจ่มใส ขึ้นเพราะการรับประทานอาหารมื้อเช้านั้นเป็นมื้อสำคัญในการพัฒนาสมอง ของนักเรียน ถ้านักเรียนต้องมโรงเรียนพร้อมกับความหิวโหย ต้องทนหิวมารอทานข้าวกลางวันที่โรงเรียน อาจเนื่องมาจากความขัดสน หรือจากตัวนักเรียนเองก็ตาม จะทำให้นักเรียนมีปัญหาภาวะโภชนาการมีภูมิคุ้มกันโรคต่ำ เมื่อเด็กรู้สึกหิวสมองก็จะไม่มีสมาธิ คิดอะไรไม่ออก ไม่ตั้งใจเรียน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและประสิทธิภาพในการเรียน

    ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนให้นักเรียนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ ได้รับสารอาหารทีมีประโยชน์และเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายมีความพร้อมที่จะเรียนรู้ แบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง และเพื่อเสริมสร้างความตระหนักให้นักเรียนปฏิบัติตามกฎระเบียบของโรงเรียน สร้างเสริมระเบียบวินัย และทันเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน

stars
4. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางดำรงชีวิต และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนา และการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ซึ่งเปรียบเสมือนแสงเทียนที่ส่องสว่างให้เห็นทางที่ก้าวเดินต่อไป ที่เน้นการเจริญเติมโตที่ค่อยๆ เกิดขึ้นตามศักยภาพที่มีอยู่อย่างมีเหตุมีผลเป็นขั้นเป็นตอนด้วยความมั่นคง และเตรียมพร้อมด้วยความไม่ประมาทในการรับมือกับวิกฤตต่าง ๆ

stars
5. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนเด็กขาดสารอาหารให้น้อยลง

ร้อยละของเด็กที่ขาดสารอาหารลดลงเหลือ

20.00 5.00
2 เพื่อลดจำนวนเด็กที่ไม่รับประทานอาหารเช้าให้ลดลง

ร้อยละของเด็กที่ไม่รับประทานอาหารเช้าลดลงเหลือ

25.00 5.00
stars
6. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 175
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครู 18 -
นักเรียน 157 -
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,000.00 1 20,000.00
1 ต.ค. 61 - 30 ก.ย. 62 กิจกรรมเลี้ยงปลา 0 20,000.00 20,000.00

เลี้ยงปลาดุกในบ่อดินบริเวณหลังโรงเรียน เมื่่อ วันที่ 28 เดือน กุมภาพันธ์ 2562 ประมาณสามเดือนครึ่งสามารถนำมาประกอบอาหารรับประทานได้ จำนวนนักเรียนที่รับประทาน 157 คน และบุคลากรจำนวน 18 คน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กที่ไม่รับประทานอาหารเช้าลดลงเหลือ ร้อยละ 5
  2. เด็กที่ขาดสารอาหารลดลงเหลือ ร้อยละ 5
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2561 14:54 น.