ชื่อโครงการ | โครงการปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียนบ้านสม็อง (โรงเรียนบ้านสม็อง) |
ภายใต้โครงการ | แผนงานการบูรณาการระบบอาหารในสถานศึกษาของจังหวัดสงขลา |
รหัสโครงการ | |
วันที่อนุมัติ | 1 ตุลาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562 |
แหล่งทุน |
ไม่ระบุ
|
งบประมาณ | 20,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนบ้านสม็อง ตำบลปลักหนู อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงเรียนบ้านสม็อง (0845815809) |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | วรรณา สุวรรณชาตรี |
พื้นที่ดำเนินการ | ม.7 ต.ปลักหนู อ.นาทวี จ.สงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.9075053259446,100.4833984375place |
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|
place directions |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ต.ค. 2561 | 30 ก.ย. 2562 | 20,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 20,000.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคตแต่ในปัจจุบันเด็กในวัยก่อนเรียนและในวัยเรียนอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง ทั้งนี้เนื่องจากเด็กต้องบริโภคอาหาร พืช ผัก และผลไม้ที่ไม่ปลอดภัย ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายเป็นระยะเวลานานอาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆได้ ปัญหาภาวะทุพโภชนาการและการเจ็บป่วยโดยไม่จำเป็นและปัญหาอื่นๆในบริบทของสังคมไทยที่ส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมซึ่งเป็นการบั่นทอนทรัพยากรมนุษย์ระยะยาว แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพต้องให้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย ที่กระตุ้นให้เด็กเยาวชน และประชาชนเห็นคุณค่าและความสำคัญของการดูแลรักษาสุขภาพสามารถปฎิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน นอกจากการสร้างมาตรการป้องกันและการบังคับใช้กฎหมาย การส่งเสริมกิจกรรมทางสุขภาพที่มีความหลากหลายวิธีควบคู่กันไปจะช่วยสร้างโอกาสให้สุขภาพเด็กไทยได้รับการคุ้มครองอย่างปลอดภัย โรงเรียนบ้านสม็องเห็นความสำคัญของสุขภาพนักเรียน ได้จัดกระบวนการเรียนรู้ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช2542และนโยบายของรัฐบาล โดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนชั้น ป1-6 ทำกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษภายในโรงเรียนเพื่อนำผลผลิตที่ได้มาประกอบอาหารกลางวัน ส่วนผลผลิตที่เหลือนำมาขายให้กับผู้ปกครองในชุมชน ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับความรู้และฝึกทักษะในการทำงานด้านอาชีพเบื้องต้นและสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตของตนเองและพัฒนาอาชีพต่อไป
1นักเรียนในวัยเรียนที่เข้าเรียนทุกคน ได้รับการปลูกฝังด้านคุณธรรม แลจริยธรรม
2.นักเรียนที่เข้าเรียนทุกคน ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรมที่พึงประสงค์อยู่ร่วมในสบุคลากรได้ปฏิรูปการจัดการเรียนรู้และให้นักเรียนมีโอกาสเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพ
3.โรงเรียนมีกระบวนการบริหารที่มีคุณภาพ โดยทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและชุมชน
4.เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
5.นักเรียนได้รับการพัฒนาทุกๆด้านเพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
6.เด็กในวัยเรียนในเขตบริการของโรงเรียนทุกคนได้เข้าเรียนและรับบริการจากโรงเรียนอย่างต่อเนื่องเท่าเทียมกัน
7.บุคลากรได้รับการพัฒนาและมีความก้าวหน้าในอาชีพ
8.สภาพแวดล้อมในโรงเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนและชุมชน
9.ชุมชนมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการศึกษาร่วมกับการพัฒนาคุณภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปลูกพืชผักและสามารถปฎิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน 1.นักเรียนร้อยละ80มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ |
30.00 | |
2 | นักเรียนร้อยละ 80 มีทัศนคติที่ดีขึ้นเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม 2.นักเรียนร้อยละ 80 มีทัศนคติที่ดีขึ้นเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม |
40.00 | |
3 | เพื่อให้นักเรียนรู้จักเลือกบริโภคอาหารและวิธีการประกอบการที่ปลอดภัย 3.นักเรียนร้อยละ 80 รู้จักเลือกบริโภคอาหารและวิธีการประกอบอาหารที่ปลอดภัย |
30.00 |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | 200 | ||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
นักเรียนระดับชั้น ป.1-6 | 200 | - |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 20.00 | 3 | 20,000.00 | |
1 พ.ค. 62 - 1 ก.ย. 62 | ปลูกผักปลอดสารพิษ | 0 | 20.00 | ✔ | 1,200.00 | |
16 พ.ค. 62 | กิจกรรมตลาดนัดเถ้าแก่น้อย | 0 | 0.00 | ✔ | 18,800.00 | |
1 ก.ค. 62 - 1 ก.ย. 62 | กิจกรรมตลาดนัดเถ้าแก่น้อย | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 |
1.ประชุมชี้แจงและวางแผนการดำเนินงาน
2.จัดหา/จัดซื้อวัสดุและอุปกรณ์ในการปลูกผัก
3.แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็นฐานการเรียนรู้จำนวน 3 ฐาน
- ฐานการเรียนรู้การอนุรักษ์ผักพื้นบ้านและสมุนไพร
- ฐานการเรียนรู้พืชผักอายุสั้น
- ฐานการเรียนรู้การเพาะเห็ดนางฟ้า /ครูผู้รับผิดชอบในการปลูกและดูแลผักปลอดสารพิษในแต่ละฐาน
4.ดำเนินงานตามแผน/โครงการ
5.สรุป/วัดและประเมินผล/รายงานผลการดำเนินงานโครงการ
นักเรียนได้นำหลักการนี้ไปใช้ในการคำรงชีวิตโรงเรียนจึงได้นำหลักการปรับใช้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้กับนักเรียนด้านทักษะอาชีพทางเกษตรพื้นฐานที่มีคุณภาพชีวิตที่ดี โรงเรียนจึงได้วางโครงการเพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพและความปลอดภัยรู้จักเลือกการบริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษและส่งเสริมนักเรียนปลูกผักและผลิตปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2561 13:43 น.