1.ครูและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 -6 ร่วมกันจัดเตรียมพื้นที่ในการเพาะปลูก 2.ผสมดินโดยใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และมูลชี้ไก่เพื่อจะได้ดินที่มีคุณภาพ 3.นำเมล็ดพันธุ์ไปปลูก และแบ่งหน้าที่ให้นักเรียนรับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมาย
ผลที่เกิดขึ้นจริง - ได้แปลงฟักทองเพื่อที่จะได้นำผลิตไปประกอบอาหาร ( อยู่ในระหว่างการเจริญเติบโต ยังไม่สามารถให้ผลผลิตได้ )
1.ครูและนักเรียนร่วมกันเตรียมพื้นที่ปลูก และขุดหลุมเพื่อใส่เสาคอนกรีตในการทำค้างเสาวรส
2.ผสมดินปลูกเพื่อให้ได้ดินที่มีคุณภาพ
3.ปลูกต้นพันธุ์เสาวรสที่จัดซื้อ
4.แบ่งนักเรียนให้ดูแลรับผิดชอบต้นเสาวรส
1 นักเรียนได้เรียนรู้การเตรียมพื้นที่ในการเพาะปลูก
2 มีต้นเสาวรสให้นักเรียนได้รับประทาน
3 นักเรียนและครู มีส่วนร่วมในการดูแลรักษา
1.นักเรียนตั้งแต่ชั้นป.1-ป.6 เตรียมดินในแปลงซีเมนต์ โดยจะแบ่งนักเรียนให้รับผิดชอบตามแปลงที่ตนเองได้รับมอบหมาย 5 คน ต่อ 1 แปลง โดยมีหน้าที่ในการแล้วรดน้ำ ใส่ปุ๋ย และกำจัดวัชพืช
2.เมื่อผลผลิตสามารถเก็บเกี่ยวได้ให้ส่งไปประกอบอาหารกลางวันแก่นักเรียนต่อไป
ผลผลิตที่ได้
ปลูกผักบุ้ง 6 แปลง เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตป้อนสู่โรงครัวเพื่อทำอาหารให้เด็กรับประทานสัปดาห์ละ 5 กิโลกรัม ตลอดระยะเวลาทำโครงการสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 30 กิโลกรัม
ปลูกข้าวโพด 6 แปลง เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตป้อนสู่โรงครัวเพื่อทำอาหารให้เด็กรับประทานสัปดาห์ละ 15 กิโลกรัม ตลอดระยะเวลาทำโครงการสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 30 กิโลกรัม
ปลูกบวบ 3 แปลง เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตป้อนสู่โรงครัวเพื่อทำอาหารให้เด็กรับประทานสัปดาห์ละ 5 กิโลกรัม ตลอดระยะเวลาทำโครงการสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 40 กิโลกรัม
1.ครูและนักเรียนระดับชั้น 1 - 6 ร่วมกันจัดเตรียมพื้นที่ปลูกต้นขจร
2.เตรียมดินปลูกโดยการผสมของปุ๋ยชีวภาพและขี้วัวเพื่อให้ดินมีประสิทธิภาพ
3.ปลูกต้นพันธุ์ขจรที่ได้จัดซื้อ 4.แบ่งนักเรียนและรับผิดชอบในการดูแลต้นขจรต่อไป
ผลผลิตที่ได้
ปลูกต้นดอกขจร 30 หลุม ( อยู่ในระยะของการเจริญเติบโต ยังไม่สามารถให้ผลผลิตได้ )