มะรุ่ยแห่งความสุข จ.พังงา
-
messageImage_1723521140024.jpg
-
messageImage_1723518683113.jpg
-
messageImage_1723518306262.jpg
-
messageImage_1723518019749.jpg
ทำข้อมูลปัญหาปลาตายในคลองมะรุ่ย
- เปิดเวที รับฟังปัญหา ข้อมูลการตายของปลาในกระชัง
- บังกวี กลุ่มประมงพื้นบ้าน บ้านโคกไคร นำเสนอข้อมูล เกิดการตายของปลาเก๋าดอกแดง เริ่มประมาณวันที่ 5 สิงหาคม และทยอยตายมาเรื่อยๆ จนจำนวนปลารอดตายเหลือน้อยกว่า 30%
- สมาชิก กลุ่มบ้านท่าสนุก นำเสนอข้อมูล สรุปได้ว่าเกิดปลาตายเริ่มตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกรกฏาคม จนถึงปัจจุบัน กระชังในพื้นที่จำนวน 8 ราย ไม่มีปลารอดชีวิต และหยุดการเลี้ยงปลาในกระชัง จนถึงปัจจุบัน
- สมาชิก กลุ่มบ้านท่าแกรง นำเสนอข้อมูล สรุปได้ว่าในพื้นที่ ก็มีปลาตาย ทั้งปลากะพง และปลาเก๋า เริ่มทยอยตาย ประมาณ 30% ของกระชังที่เลี้ยงปลา
- คุณโกสิน นำเสนอว่า ในพื้นที่มีการลอบขุดเหยื่อแดง และสังเกตสีของน้ำมีความขุ่นเหมือนมี 2 สี มีความเมือกของน้ำในลำคลอง
- นายสมโภชน์ ซักถามคำถามเพิ่มเติม และให้ชาวบ้านในพื้นที่ทำข้อมูลทางสถิติ ประเด็นคำถาม 2.1 ตำแหน่งที่เลี้ยงปลา 2.2 ขนาดของกระชัง ชนิดปลา อายุ และปริมาณของปลาที่เลี้ยง 2.3 อาหารที่เลี้ยงปลา 2.4 จำนวนการตาย สังเกตพฤติกรรมของปลา และลักษณะของปลาที่ตาย
- ดร. อภิชาติ ซักถามคำถามเพิ่มเติม ประเด็นคำถาม 3.1 สภาพแวดล้อมในพื้นที่ มีการเปลี่ยนแปลงกะทันหันหรือไหม เกิดฝนตกไหม หรือ อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดไหม 3.2 กิจกรรมของชาวบ้านในพื้นที่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ กิจกรรมการจัดการทางการเกษตร และการกำจัดของเสีย 3.3 สอบถามเพิ่มเติมไปประเด็น สปาโคลน คิดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับพื้นที่ไหม มีชาวบ้านตั้งประเด็น กำมะถัน อาจเพิ่มขึ้นจากแนวรอยเลื่อน
- ดร.ศิริภัธร ซักถามคำถามเพิ่มเติม ประเด็นคำถาม 4.1 ได้มีการแจ้งหน่วยงานไหนแล้วบ้าง และหน่วยงานมีการดำเนินการอะไรบ้าง 4.2 ต้องการความช่วยเหลือ หรือ อยากให้ทาง สนส ช่วยเป็นตัวกลางในการประสานเรื่องไหนเพิ่มเติมไหม
- นายสมโภชน์ ให้คำตอบเบื้องต้น สาเหตุของการเกิดปลาตาย 5.1 เกิดฝนตก ทำให้ปริมาณน้ำจืดไหลลงสู่คลอง พื้นที่ต้นน้ำ ท่าสนุก จะเกิดการตายก่อน และไหลไปยัง กลางน้ำ และปลายน้ำ (ปลาเก๋าเป็นปลาน้ำเค็มจะเป็นปลาที่ทนน้ำจืดได้น้อยกว่าปลากะพงซึ่งเป็นปลา 2 น้ำ ทำให้เกิดการตายสูงกว่า) 5.2 ตั้งข้อสังเกต ความหนาแน่นของจำนวนกระชัง และปริมาณปลาที่เลี้ยงในแต่ละกระชัง 5.3 ตั้งข้อสังเกต เรื่องปลิงใส โรคของปลา การรุกล้ำของแมงกะพรุน 5.4 ตั้งข้อสังเกตการตื้นเขินของตะกอน จากของเสียที่เกิดขึ้นจากการเลี้ยงสัตว์น้ำในกระชัง ทำให้เกิดพยาธิ
- จากการรับฟังปัญหา และให้ชาวบ้านในพื้นที่เก็บข้อมูลเชิงสถิติเพิ่มเติมสรุปได้ว่า
- ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการตายของปลาในกระชัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลาเก๋าดอกแดง ซึ่งเป็นปลาน้ำเค็มในบริเวณนั้นจะมีปลากระพงขาวซึ่งเป็นปลา 2 น้ำปลากะพงขาวไม่ตาย หรือ ตายน้อยกว่า เพราะปลากะพงขาวจะทนน้ำจืดได้มากกว่า น้ำจืดไหลลง ตอนบน กระชังตอนบนจะตายก่อน น้ำเค็มตอนล่างยังมีจึงทำให้ปลากระชังในตอนล่างตายช้ากว่า
- ปลิงใสเกิดจากตะกอน และการหมักของตะกอนใต้กระชัง บวกกับการเลี้ยงปลาที่หนาแน่น เชื้อโรค และของเสีย เมื่อปลาอ่อนแอ พยาธิจะเกาะได้ง่าย
- เมือกที่ตัวปลา เกิดจากเวลาปลาอ่อนแอ ปลาจะขับเมือกออกมาเพื่อรักษาตัวเอง ส่วนสายเมือก ส่วนใหญ่เกิดจากแมงกะพรุน
- ล้อยาง ขัดขวางการไหลของกระแสน้ำ เกิดการสะสมตัวของตะกอน
- ต้องมีการตรวจสอบเรื่องดิน เรื่องน้ำ
- ปลาตายเกิน 50% แล้ว วิธีเดียวที่ช่วยได้ตอนนี้ คือเอาปลาขึ้นจากกระชัง แต่ไม่คุ้มกับต้นทุน ตอนนี้ปลาในคลองติดเชื้อแล้วเกือบทั้งหมด ปลิงใสจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น เนื่องจากจะทำให้ปลาตาย แล้วปลิงจะไปดูดตัวอื่นต่อ กระจายพันธุ์ไปเรื่อยๆ
บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)
ประกอบด้วย
เจ้าหน้าที่สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส.ม.อ.) คณะทำงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและท้องถิ่น
ไม่มี