สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงการ 10 ม.ค. 2567 10 ม.ค. 2567

 

ประชุมวางแผนงานติดตามโครงการกลไกกองทุนจังหวัดภูเก็ต

 

ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข 1. จัดเวทีเพื่อมีการพูดคุยถึงทิศทางในการบริหารจัดการ “กลไก” โดยมีผู้บริหารระดับสูง นายเรวัติ อารีรอบ เป็นผู้นำทางความคิดเพื่อทำให้ทีมมีพลังมากพอที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวันที่ 22 มกราคม 2567 โดยใช้ชื่อว่า Restart HFL Phuket II โดยเปิดโอกาสให้ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ได้รวบรวมข้อมูล และแสดงแนวนโยบายการมองหาวิธีการที่จะปรับเปลี่ยนหรือสนับสนุนการทำงานร่วมกันให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ 2. การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงอย่างรอบคอบ 3. ผลจากการพูดคุยจะเกิดการเปลี่ยนแปลง 4. การวางแผนการทำงาน 5. ติดตามประเมินผลเป็นระยะ ๆ

ไม่มี

ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการและเตรียมการถอดบทเรียนกลไกปี พ.ศ.2567 15 ม.ค. 2567 15 ม.ค. 2567

 

จัดทำข้อมูลและปรับแก้รายละเอียดโครงการขอรับการสนับสนุนจากกลไกจังหวัด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

 

มีโครงการที่พัฒนาเกิดขึ้น 22 โครงการ รายละเอียดตามเอกสารแนบ

 

ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการและการเตรียมการพัฒนาโครงการ 23 ม.ค. 2567 23 ม.ค. 2567

 

ประชุมคณะทำงานปรับกิจกรรมในโครงการปี 2567

 

ได้ปรับรายละเอียดแผนกิจกรรมและงบประมาณ

ไม่มี

ประชุมติดตามการสรุปการเงินและติดตามความก้าวหน้าโครงการ 28 ม.ค. 2567 28 ม.ค. 2567

 

ประชุมคณะทำงานวางกรอบงบประมาณในการทำโครงการปี 2567

 

จัดทำรายละเอียดประมาณการค่าใช้จ่ายตามเอกสารแนบ

ไม่มี

ประชุมจัดทำแผนกองทุนเสมือนจริงภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต Phuket Health for Future of life 27 ก.พ. 2567 27 ก.พ. 2567

 

ประชุมคณะอนุกรรมการกลไกกองทุนจังหวัดภูเก็ต

 

แผนการดำเนินงาน

ไม่มี

ประชุมคณะทำงานกลไกบูรณาการกองทุนจังหวัดภูเก็ต 5 พ.ค. 2567 5 พ.ค. 2567

 

ประชุมหารือแนวทางการการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการ

 

ได้รับทราบปัญหาการเบิกจ่ายงบประมาณจาก อบจ.ที่ให้งบการทำโครงการลงไปที่ มอ.ภูเก็ต บริหารจัดการ

ไม่มี

ประชุมหารือการดำเนินการกลไกบูรณาการกองทุนจังหวัดภูเก็ต 6 พ.ค. 2567 6 พ.ค. 2567

 

  • ประชุมร่วมกับทีมคณะกรรมการกองทุนสุขภาพจังหวัดภูเก็ต โดยมีนายก อบจ.เป็นประธาน ร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อแก้ปัญหางบที่เบิกไม่ได้ของโครงการกลไกกองทุนจังหวัดภูเก็ต

 

แนวทางการแก้ไขปัญหา 1.งบประมาณบริหารจัดการที่เบิกไม่ได้ให้ใช้งบของโครงการ สสส. 2.เงิน 2 ล้านที่โอนเข้ามหาลัยยังขาดอีก 6 แสนบาท ให้เขียนกิจกรรมเพิ่มให้ครบ เพื่อให้ อบจ.สามารถเบิกจ่ายได้

ไม่มี

ประชุมติดตามการดำเนินงาน กลไกจังหวัดภูเก็ต 26 มิ.ย. 2567 26 มิ.ย. 2567

 

หารือความคืบหน้าของโครงการ "กลไกจังหวัดภูเก็ต" การบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด “ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต“ Phuket: Health for Future of Life

 

โครงการปีนี้เน้นตอบโจทย์ความต้องการคนภูเก็ตอย่างแท้จริง

 

ประชุมวางแผนการดำเนินงานบูรณาการกลไกความร่วมมือเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภูเก็ต 26 มิ.ย. 2567 26 มิ.ย. 2567

 

ภาคีเครือข่ายประชุมพัฒนาโครงการเตรียมยื่นขอรับทุนสนับสนุนการขับเคลื่อนสุขภาวะ สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กว่า 20 โครงการ

 

  • ทางคณะอนุกรรมการโครงการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด“ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต - Phuket: Health for Future of Life ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการโดยเปิดโอกาสให้ทางกลุ่มภาคี การขับเคลื่อนสุขภาวะในจังหวัดภูเก็ต ยื่นแสดงความจำนงค์ที่จะจัดทำโครงการฯ กว่า 20 โครงการ มานำเสนอ  ซึ่งทางคณะอนุกรรมการกองทุนได้แนะนำภาคีที่ส่งโครงการมาขอทุนสนับสนุนให้ทบทวนถึงเป้าหมาย วัตถุประสงค์ ของแต่โครงการให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน

ไม่มี

ประชุมงานกลไกบูรณาการความร่วมมือกองทุนจังหวัดภูเก็ต 6 ส.ค. 2567 6 ส.ค. 2567

 

*

 

*

 

ประชุมทำแผนและพัฒนาโครงการกองทุนกลไกจังหวัดภูเก็ต 18 ส.ค. 2567 18 ส.ค. 2567

 

การประชุมกองทุนฟื้นฟูจังหวัดภูเก็ต - ข้อมูลสถานการณ์คนพิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มปราะบาง
- ข้อมูลกายอุปกรณ์ของหน่วยพยาบาลในจังหวัดภูเก็ต การเตรียมกระบวนการจัดทำแผนงานกองทุนฯ การฝึกปฏิบัติ ดำเนินการเขียนร่างโครงการเพื่อเข้าแผนปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 การนำเสนอร่างโครงการฯ สรุปแผนดำเนินงานกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัดภูเก็ต

 

ได้โครงการเข้าสู่แผนกองทุนฟื้นฟูจำนวน 3 โครงการ

ไม่มี

ประชุมคณะทำงาน กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน 21 ส.ค. 2567 21 ส.ค. 2567

 

ประชุมจัดทำโครงการกิจกรรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน

 

  • กิจกรรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน มีเป้าหมาย เพื่อ
  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำสุขภาพให้มีทักษะในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ และเป็นจิตอาสาที่ดูแลสุขภาพในระดับชุมชนได้
  2. เพื่อให้นักเรียนแกนนำสุขภาพสามารถเข้าถึง เข้าใจข้อมูลบริการสุขภาพ สามารถโต้ตอบ ซักถาม แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อความเข้าใจ สามารถตัดสินใจได้
  3. เพื่อให้นักเรียนแกนนำสุขภาพสร้างเครือข่ายสุขภาพ ในการบอกต่อ นำเสนอข้อมูลด้านสุขภาพที่ถูกต้อง และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

ไม่มี

สรุปการประชุมคณะทำงาน โครงการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพ ในระดับจังหวัดภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต สาระสำคัญ กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดภูเก็ต ด้วยหลัก 4 อ. 2 ส. 28 ส.ค. 2567

 

 

 

 

 

สรุปการประชุมคณะทำงาน โครงการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพ ในระดับจังหวัดภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต สาระสำคัญ กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการผู้สูงอายุ 29 ส.ค. 2567

 

 

 

 

 

สรุปการประชุมคณะทำงาน โครงการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพ ในระดับจังหวัดภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต สาระสำคัญ กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดภูเก็ต ด้วยหลัก 4 อ. 2 ส. 31 ส.ค. 2567

 

 

 

 

 

ประชุมคณะทำงาน กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน 3 ก.ย. 2567 3 ก.ย. 2567

 

ประชุมคณะอนุกรรมการวางแผนการทำกิจกรรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน

 

กิจกรรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน แบ่งออกเป็น 2 รุ่น ในวันที่ 11-12 กันยายน 2567

ไม่มี

ประชุมเกิจกรรมผู้สูงอายุสุขภาวะดีแห่งอนาคต จังหวัดภูเก็ต ในโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด “ ภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “ Phuket : Health for Future of Life ” 4 ก.ย. 2567

 

 

 

 

 

ประชุมคณะอนุกรรมการโครงการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัดภูเก็ต (กิจกรรมผู้สูงอายุสุขภาวะดีแห่งอนาคต จ.ภูเก็ต) 8 ก.ย. 2567 8 ก.ย. 2567

 

  • ผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ตกว่า 140 คน ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม “ผู้สูงอายุสุขภาวะดีแห่งอนาคต”
  • ผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ตกว่า 140 คน ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมผู้สูงอายุสุขภาวะดีแห่งอนาคต เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการเข้าถึงประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยความปลอดภัยทางไซเบอร์
  • วันที่ 8 กันยายน 2567 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต  องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต สถาบันนโยบายสาธารณะ มอ. และสมัชชาสุขภาพจังหวัดภูเก็ต จัดกิจกรรมผู้สูงอายุสุขภาวะดีแห่งอนาคต จังหวัดภูเก็ตขึ้น เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ทักษะการเข้าถึง และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล สื่อสังคมออนไลน์ให้แก่ผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยทางไซเบอร์ พร้อมทั้งสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสื่อสังคมออนไลน์ในการส่งเสริมสุขภาพทางกายและใจก่อให้เกิดสุขภาวะที่ดีแก่ผู้สูงอายุ โดยมีนายเรวัติ อารีรอบ  นายกองค์การบริการส่วนจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานในพิธีเปิด ณ โรงแรมเพิร์ล อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต

 

  • กิจกรรมผู้สูงอายุสุขภาวะดีแห่งอนาคตจังหวัดภูเก็ต เป็น 1 ใน 3 กิจกรรมของโครงการบูรณาการความร่วมร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัดภูเก็ต สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต "Phuket:Health for future of life" ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริการส่วนจังหวัดภูเก็ต จำนวนเงิน 619,490 บาท
  • ในขณะที่อีก 2 กิจกรรม เป็นการมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อสุขภาพ คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดภูเก็ต ด้วยหลัก 4 อ. 2 ส. 3. ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 9 กันยายน 2567 และกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน ในวันที่ 11-12 กันยายน 2567
  • สำหรับกิจกรรมในวันนี้ มีผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ตจากทั้ง 3 อำเภอ เข้าร่วมกว่า 140 คน ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้  โดยผู้เข้าร่วมการอบรมได้รับฟังการสัมมนาในหัวข้อ "การรู้เท่าทันการใช้เทศโนโลยีติจิทัลสังคมออนไลน์ (Social Media) เป็นไปด้วยความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security)" ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้สูงอายุได้ใช้สื่อออนไลน์ซึ่งอาจแฝงมาด้วยการหลอกลวงหลายหลายรูปแบบ ทั้งการหลอกขายสินค้า ข้อมูลข่าวสารปลอม หรือการหลอกให้โอนเงิน ส่งผลตั้งแต่การสูญเสียทรัพย์สิน จนไปถึงกระทบต่อสุขภาพ นอกจากนี้  ยังได้ทำกิจกรรมกลุ่มในฐานต่าง ๆ 4 ฐาน ได้แก่ ขยับการสบายชีวี จังหวะหัวใจ เจ็บไข้ได้อยู่ และอยากรู้อยากเป็น โดยมีวิทยากรประจำกลุ่มให้ความรู้ คำแนะนำ และการดูแลอย่างใกล้ชิด

*

ประชุมคณะอนุกรรมการโครงการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัดภูเก็ต (กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยแกนนำ อสม.ภูเก็ต ด้วยหลัก 40 อ. 2 ส.) 9 ก.ย. 2567 9 ก.ย. 2567

 

  • อสม.จังหวัดภูเก็ตกว่า 200 คน  ร่วมยกระดับคุณภาพชีวิตชาวภูเก็ต ด้วยหลัก 4อ. 2ส.
  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย สร้างความรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 4 อ 2 ส.ให้แก่ อสม.ในจังหวัดภูเก็ตกว่า 200 คน ที่โรงแรมรามาด้า พลาซ่า บาย วินด์แฮม เจ้าฟ้า ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต นายเรวัต  อารีรอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิด กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดภูเก็ต ด้วยหลัก 4 อ. 2 ส. ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต  องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต สถาบันนโยบายสาธารณะ มอ.และสมัชชาสุขภาพจังหวัดภูเก็ตจัดขึ้นตามโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัดภูเก็ต สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “Phuket: Health for future of life” โดยมีแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขในจังหวัดภูเก็ต หรือ อสม.ทั้ง 3 อำเภอในจังหวัดภูเก็ตเข้าร่วมจำนวน 200 คน

 

  • กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้แกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดภูเก็ต มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพด้วยหลัก 4 อ 2ส.อยู่ในระดับดี รวมทั้งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดภูเก็ต ด้วยหลัก 4 อ 2 ส. ในกลุ่มผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เนื่องจากจากสถานการณ์พบผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในจังหวัดภูเก็ต มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยบริบทของจังหวัดภูเก็ตระบบการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ทำให้จังหวัดภูเก็ตมีแนวโน้มจะมีความเป็นสังคมแบบชุมชนเมืองอย่างสมบูรณ์มากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพทั้งกายและใจในระยะยาว เพื่อการมีสุขภาพดีโดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน

ไม่มี

ประชุมคณะอนุกรรมการโครงการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัดภูเก็ต (กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน) 11 ก.ย. 2567 11 ก.ย. 2567

 

  • ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ดึงนักเรียนทุกสังกัด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่จิตอาสาแกนนำสุขภาพเด็กภูเก็ต
  • ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ดึงตัวแทนเด็กนักเรียนจากทุกสังกัดในจังหวัดภูเก็ต เข้าร่วมการเสริมสร้างความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่จิตอาสาแกนนำสุขภาพเด็กภูเก็ต หลัง สสจ.ภูเก็ต พบเด็กในวัยเรียนส่วนใหญ่มีปัญหา ภาวะอ้วน เตี้ย ผอม ซีด สุขภาพจิต ฟันผุ สายตาสั้น ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ที่โรงแรมเดอะพาโก้ ดีไซด์ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต นายอนุภาพ เวชวานิชสนอง รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน ตามโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด "ภูเก็ต สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต Phuket Health for future of life" ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สถาบันนโยบายสาธารณะ มอ. องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และภาคีเครือข่ายสุขภาพในจังหวัดภูเก็ตจัดขึ้น  เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำสุขภาพให้มีทักษะในการสร้างความรอบรู้และพฤติกรรมที่เสริมสร้างสุขภาวะกายและใจ สร้างทักษะการเป็นจิตอาสาให้นักเรียนให้ข้อมูลและการดูแลสุขภาพในระดับชุมชน สามารถตอบข้อซักถาม บอกต่อและนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง

 

  • การอบรมครั้งนี้ แบ่งอบรมออกเป็น 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 1 ในวันที่ 11 กันยายน 2567 และรุ่นที่ 2 ในวันที่ 12 กันยายน 2567 ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคือตัวแทนนักเรียนกว่า 200 คน จากสังกัด สพฐ. อปท. และเอกชน จำนวน 7 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านทุ่งคา "บุญยขจรประชาอาสา", โรงเรียนเทศบาลบ้านสามกอง(ขุนวิเศษนุกูลกิจอุทิศ), โรงเรียนเทศบาลปลูกปัญญา ในพระอุปถัมภ์ฯ, โรงเรียนเทศบาลเมืองภูเก็ต, โรงเรียนเทศบาลวัดขจรรังสรรค์, โรงเรียนดาราสมุทรภูเก็ต และ โรงเรียนมุสลิมวิทยาภูเก็ต ซึ่งตลอดการอบรมมีบุคลากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตเป็นทีมวิทยากร ถ่ายทอดข้อมูลความรู้ทั้งเรื่องสุขบัญญัติ 10 ประการอย่างสนุกสนาน สุขภาพจิตในวัยเรียน  การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการรู้จักเลือกรับประทานอาหารจากอ่านฉลากให้มีประโยชน์ นอกจากนี้ นักเรียนผู้เข้าร่วมการอบรมยังได้ทำกิจกรรมในฐานต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายด้านสุขภาพระหว่างสถานศึกษาอีกด้วย
  • ทั้งนี้ จากข้อมูลด้านสุขภาพนักเรียนปี พ.ศ.2566 ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต พบว่า เด็กในวัยเรียนส่วนใหญ่มีปัญหา ภาวะอ้วน เตี้ย ผอม ซีด สุขภาพจิต ฟันผุ สายตาสั้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพฤติกรรมที่ซ้ำ ๆ เดิม ๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ  ดังนั้น การเสริมสร้างความรู้ในเรื่องสุขภาพให้แก่นักเรียนแกนนำอย่างรอบด้าน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะเป็นเกราะป้องกันให้แก่ตัวนักเรียนเอง เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งยังสามารถส่งต่อความช่วยเหลือเกื้อกูลในฐานะจิตอาสาแกนนำสุขภาพให้แก่ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดได้อย่างยั่งยืน

ไม่มี

ประชุมคณะอนุกรรมการโครงการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัดภูเก็ต (กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน) 12 ก.ย. 2567 12 ก.ย. 2567

 

  • ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่จิตอาสาแกนนำสุขภาพเด็กภูเก็ต อย่างต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 2
  • ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ ดึงตัวแทนเด็กนักเรียนจากทุกสังกัดในจังหวัดภูเก็ต เข้าร่วมการเสริมสร้างความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่จิตอาสาแกนนำสุขภาพเด็กภูเก็ต หลัง สสจ.ภูเก็ต พบเด็กในวัยเรียนส่วนใหญ่มีปัญหา ภาวะอ้วน เตี้ย ผอม ซีด สุขภาพจิต ฟันผุ สายตาสั้น ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ณ โรงแรมตูร์ เดอ ภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต  นายเรวัต อารีรอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต  เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน รุ่นที่ 2 ตามโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด "ภูเก็ต สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต Phuket Health for future of life" ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สถาบันนโยบายสาธารณะ มอ. องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และภาคีเครือข่ายสุขภาพในจังหวัดภูเก็ตจัดขึ้น  เพื่อพัฒนาศักยภาพนักเรียนแกนนำสุขภาพให้มีทักษะในการสร้างความรอบรู้และพฤติกรรมที่เสริมสร้างสุขภาวะกายและใจ สร้างทักษะการเป็นจิตอาสาให้นักเรียนให้ข้อมูลและการดูแลสุขภาพในระดับชุมชน สามารถตอบข้อซักถาม บอกต่อและนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง

 

  • การอบรมเชิงปฏิบัติการการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน รุ่นที่ 2 ในวันนี้ มีนักเรียนเข้าร่วม จำนวน 80 คน จากสถานศึกษาสังกัด สพป.ภูเก็ต สพม.พังงา ภูเก็ต ระนอง และสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รวมทั้งหมดจำนวน 5 โรงเรียน คือ
  1. โรงเรียนวัดศรีสุนทร(มิตรภาพ 15)
  2. โรงเรียนถลางพระนางสร้าง
  3. โรงเรียนเมืองถลาง
  4. โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล
  5. โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 36 จังหวัดภูเก็ต
  • ขณะที่รุ่นที่ 1 มีนักเรียนได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2567 ณ โรงแรมเดอะพาโก้ ดีไซด์ จำนวน 7 โรงเรียน รวมทั้ง 2 รุ่นมีนักเรียนเข้าร่วมกว่า 200 คน  ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งนี้ ตลอดการอบรมมีบุคลากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตเป็นทีมวิทยากร ถ่ายทอดข้อมูลความรู้ทั้งเรื่องสุขบัญญัติ 10 ประการอย่างสนุกสนาน สุขภาพจิตในวัยเรียน  การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการรู้จักเลือกรับประทานอาหารจากอ่านฉลากให้มีประโยชน์ นอกจากนี้ นักเรียนผู้เข้าร่วมการอบรมยังได้ทำกิจกรรมในฐานต่าง ๆ ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายด้านสุขภาพระหว่างสถานศึกษาอีกด้วย บรรยากาศจึงเป็นไปอย่างสนุกสนาน
  • ทั้งนี้ จากข้อมูลด้านสุขภาพนักเรียนปี พ.ศ.2566 ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต พบว่า เด็กในวัยเรียนส่วนใหญ่มีปัญหา ภาวะอ้วน เตี้ย ผอม ซีด สุขภาพจิต ฟันผุ สายตาสั้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพฤติกรรมที่ซ้ำ ๆ เดิม ๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ  ดังนั้น การเสริมสร้างความรู้ในเรื่องสุขภาพให้แก่นักเรียนแกนนำอย่างรอบด้าน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะเป็นเกราะป้องกันให้แก่ตัวนักเรียนเอง เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งยังสามารถส่งต่อความช่วยเหลือเกื้อกูลในฐานะจิตอาสาแกนนำสุขภาพให้แก่ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดได้อย่างยั่งยืน

ไม่มี

ประชุมคณะอนุกรรมการครั้งที่ 2/2567 17 ก.ย. 2567

 

 

 

 

 

ประชุมทีมสื่อสารกิจกรรมภายใต้โครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์ในจังหวัดภูเก็ต 24 ก.ย. 2567 24 ก.ย. 2567

 

ทีมสื่อจังหวัดภูเก็ตจัดทำงานสื่อสารการทำกิจกรรมในโครงการกลไกกองทุนจังหวัดภูเก็ต ตามช่องทางเฟสบุ๊ค และการสื่อสารด้วยการทำข่าวทางทีวีช่อง NBT จังหวัดภูเก็ต

 

มีผลงานการสื่อสาร ดังนี้ https://www.facebook.com/reel/842543558017290 https://www.facebook.com/reel/839194851742725 https://www.facebook.com/reel/432409203187439 https://www.facebook.com/reel/1037798950982798 https://fb.watch/wuIY9JkFZM/ https://fb.watch/wuJ2gJnXZh/

*

ประชุมเตรียมข้อมูลการนำเสนองานสรุปบทเรียนกิจกรรมกลไกขับเคลื่อนความมั่นคงทางมนุษย์จังหวัดภูเก็ต 30 ก.ย. 2567 30 ก.ย. 2567

 

ประชุมทีมประเมินภายในสรุปผลการทำกิจกรรม

 

ข้อมูลการติดตามประเมินผลกิจกรรม จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 1) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดภูเก็ต ด้วยหลัก 4อ. 2ส. 2) กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยน 3) กิจกรรมผู้สูงอายุสุขภาวะดีแห่งอนาคต จังหวัดภูเก็ตพฤติกรรมของนักเรียน

ไม่มี

ประชุมสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการบูรณาการกลไกกองทุนจังหวัดภูเก็ต "ภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต-Phuket : Health for Future of Life" 3 ต.ค. 2567 3 ต.ค. 2567

 

  • นำเสนอผลการดำเนินโครงการ นำเสนอผลประเมินการจัดกิจกรรมภายใต้โครงการ โดย ทีมประเมินภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต
  1. กิจกรรมผู้สูงอายุสุขภาวะดีแห่งอนาคต จังหวัดภูเก็ต
  2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน
  3. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

- จัดทำแผนขับเคลื่อนโครงการในงบปี 2568

 

  1. สถานการณ์ปัญหาสุขภาวะ 5 อันดับ ปี 2562 – 2566 ข้อมูลจาก HDC วันที่ 30 กันยายน 2566 อัตราการป่วย/แสนประชากร อันดับ 1 โรคหลอดเลือดสมอง HT ในปี 2565 จำนวน 694,404 รายอันดับ 2 โรคหัวใจขาดเลือด DM จำนวน 359,662 ราย อัตราการตาย/แสนประชากร อันดับ 1 โรคหลอดเลือดสมอง HT ในปี 2565 ร้อยละ 72.48 อันดับ 2 โรคหัวใจขาดเลือด DM ร้อยละ 127.33 และยังพบโรคมะเร็ง ปอดปวม ติดเชื้อในกระแสเลือด
  2. แผนการดำเนินงานทุนเสมือนจริง จังหวัดภูเก็ต วันที่ 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568
  • ประชุมคณะอนุฯ
  • ประชุมเชิงปฎิบัติการจัดทำแผนงานและยุทธศาตร์ (คณะอนุและคณะทำงาน)
  • ประชุมทำความเข้าใจและประสานงานเครือข่าย (Mapping)
  • การพัฒนาโครงการ
  • การบริหารจัดการโครงการ/ดำเนินกิจกรรม
  • สรุปผลการดำเนินการ
  1. Mapping แหล่งทุน ได้แก่ โรงแรม/ห้างสรรพสินค้า หอการค้า สโมสรโรตารี่ ไลน์ออน/PKCD ชมรมสมาคมโรงแรม กรอ.จว.

ไม่มี

ประชุมทีมวิชาการจัดทำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะ จังหวัดภูเก็ต 12 ต.ค. 2567 12 ต.ค. 2567

 

จัดทำรายงานข้อมูลสถานการณ์ และรายงานผลการจัดกิจกรรมในงบกลไกกองทุนจังหวัดภูเก็ต

 

  • จากสถานการณ์ความเจ็บป่วยของจังหวัดภูเก็ตในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งโรคที่เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ ได้แก่ โรคมะเร็ง ปอดบวม โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และติดเชื้อในกระแสเลือด ตามลำดับ รวมถึงปัญหาจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases: NCDs) เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วนลงพุง และโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง เป็นต้น ในขณะที่อัตราการเกิดอุบัติเหตุและเจ็บป่วย/เสียชีวิตจากอุบัติก็ยังอยู่ในระดับสูง ในขณะเดียวกันจากสถานการณ์ล่าสุดในช่วงปี พ.ศ. 2563-2567 ประชาชนในจังหวัดภูเก็ตยังต้องเผชิญสถานการณ์ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ทั้งน้ำท่วมและดินถล่ม ตลอดจนปัญหาเรื้อรังเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ และปัญหาขยะ จึงนับว่าคนภูเก็ตกำลังอยู่ในสภาวะที่ “หันไปทางไหนก็มีแต่ความเสี่ยง ขยับไปทางไหนก็เจอแต่ปัญหา” ซึ่งในที่สุดก็ทำให้ประชาชนในจังหวัดภูเก็ตมีปัญหาทางสุขภาพจิตเพิ่มไปด้วย
  • จากข้อมูลและปัญหาข้างต้น ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้พยายามเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากข้อเสนอนโยบายขององค์กรเครือข่ายที่ขับเคลื่อนสุขภาพทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชน จาการจัดงานสมัชชาชาสร้างสุข และงานสร้างสุขภาคใต้ ที่มีข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญที่จะทำให้คนใต้มีความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพ โดยมีข้อเสนอไปยังที่ประชุมของคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและมีมติที่สำคัญ คือ การผลักดันให้เกิด “คณะกรรมการสุขภาวะระดับจังหวัด” และ ผลักดันให้เกิด “กองทุนส่งเสริมสุขภาวะระดับจังหวัด” ที่เป็นการกลไกความร่วมมือระหว่างภาคีต่างๆที่เกี่ยวข้อง ในกรณีของจังหวัดภูเก็ตภาคีที่เกี่ยวข้องต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต และสมัชชาสุขภาพภูเก็ต ได้ผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะระดับจังหวัดภูเก็ต ในการผลักดันกลไก บูรณาการกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ โดยใช้ชื่อ “กองทุนเสมือนจริงเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ “ภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต (Phuket : Health for Future of Life) ” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดการและขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็น บุหรี่ เหล้า ยาเสพติด อาหาร กิจกรรมทางกาย ความปลอดภัยทางถนน สุขภาพจิต โรคอุบัติใหม่ และมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

ไม่มี

ประชุมคณะอนุกรรมการโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพระดับจังหวัดภูเก็ต 17 ส.ค. 2567 17 ส.ค. 2567

 

รายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานปี 2567

 

กำหนดทำกิจกรรมให้แล้วเสร็จ 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมผู้สูงอายุสุขภาวะดีแห่งอนาคต กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน และ กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ด้วยหลัก 4 อ.2ส.

ไม่มี

สรุปการประชุมคณะทำงาน โครงการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพ ในระดับจังหวัดภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต สาระสำคัญ กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดภูเก็ต ด้วยหลัก 4 อ. 2 ส. 28 ส.ค. 2567 28 ส.ค. 2567

 

ประชุมคณะทำงานและทีมประเมิน สรุปผลการทำกิจกรรมในโครงการ

 

ได้เครื่องมือผลการประเมินกิจกรรม 3 กิจกรรม

ไม่มี

สรุปการประชุมคณะทำงาน โครงการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพ ในระดับจังหวัดภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต สาระสำคัญ กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการผู้สูงอายุ 29 ส.ค. 2567 29 ส.ค. 2567

 

จัดทำเครื่องมือการประเมินผลกิจกรรมย่อยโครงการ

 

เครื่องมือการประเมิน 3 กิจกรรมย่อย

ไม่มี

ห้องประชุม 1669 รพ.อบจ.ภูเก็ต 31 ส.ค. 2567 31 ส.ค. 2567

 

ร่วมกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

 

ข้อมูลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ไม่มี

ประชุมเกิจกรรมผู้สูงอายุสุขภาวะดีแห่งอนาคต จังหวัดภูเก็ต ในโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด “ ภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “ Phuket : Health for Future of Life ” 4 ก.ย. 2567 4 ก.ย. 2567

 

ประชุมคณะอนุกรรมการวางแผนการทำกิจกรรมผู้สูงอายุสุขภาวะดีแห่งอนาคต

 

กำหนดจัดกิจกรรมผู้สูงอายุสุขภาวะดีแห่งอนาคตในวันที่ 8 กันยายน 2567

ไม่มี

ประชุมอนุกรรมการ ครั้งที่ 2/2567 17 ก.ย. 2567 17 ก.ย. 2567

 

  • ในการดำเนินโครงการปีงบประมาณ 2567 ได้มีโครงการ 3 กิจกรรมภายใต้โครงการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด "ภูเก็ต สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต คือ
  1. กิจกรรมผู้สูงอายุสุขภาวะดีแห่งอนาคต จังหวัดภูเก็ต งบประมาณ 187,500 บาท
  2. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียน งบประมาณ 196,400 บาท
  3. กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยแกนนำอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่เป้าหมาย คือ ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองจังหวัดภูเก็ต ด้วยหลัก 4 อ.2ส. งบประมาณ 233,500 บาท

 

  • ทั้ง 3 โครงการ อยู่ในขั้นตอนขออนุมัติเบิกเงินและขอส่งฎีกาเพื่อเบิกจ่ายเช็ค ความก้าวหน้าทั้ง 3 กิจกรรมเพื่อระยะเวลาดำเนินการอีก 1 เดือน เพื่อดำเนินกิจกรรมและเบิกจ่ายงบประมาณให้แล้วเสร็จภายในปีงบปี 2567 และขอแจ้งเรื่องเพื่อทราบให้คณะอนุกรรมการทุกท่านทราบ
  • การเตรียมตัวดำเนินโครงการที่ได้รับงบอุดหนุนในปีงบ 2567 ตามกิจกรรมทั้ง 3 กิจกรรม ต้องมีการวางแผนความพร้อมในการดำเนินการให้สำเร็จ และขอมอบ ดร.จตุรงค์ คงแก้ว ชี้แนะ

ไม่มี