โครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่ออาหารกลางวัน โรงเรียนบ้านพอบิด (โรงเรียนบ้านพอบิด)
รายละเอียดกิจกรรมการปลูกผักบุ้ง 1. สำรวจพื้นที่ในการปลูกผักบุ้ง 2. เตรียมพื้นที่ในการปลูกผักบุ้งโดยใช้ล้อยางรถยนต์ 3. ใส่ดินและปุ๋ยคอกในล้อยาง 4. ปลูกผักบุ้งในล้อยางจำนวน 20 ล้อ
ได้ผักบุ้งสำหรับโครงการอาหารกลางวันจำนวน 20 ล้อและจำหน่ายให้ผู้ปกครองในชุมชน
รายละเอียดการจัดทำแปลงเกษตรสำหรับปลูกผักปลอดสารพิษ
- สำรวจพื้นที่สำหรับการจัดทำแปลงผัก
- ปรับพื้นที่สำหรับการจัดทำแปลงผัก
- จัดซื้ออุปกรณ์สำหรับการจัดทำแปลงผัก - อิฐบล็อค - ทราย - ปูนซีเมนต์ - ตะปู
- ดำเนินการจัดทำแปลงผักโดยนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีและผู้ปกครอง
กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ
- ปลูกผักบุ้ง 20 ล้อ
- บวบ 10 ล้อ
- ผักกวางตุ้ง 10 ล้อ
- ถั่วฝักยาว 10 ล้อ
ผลผลิตที่ได้
- ปลูกผักบุ้ง 20 ล้อ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตป้อนสู่โรงครัวเพื่อทำอาหารให้เด็กรับประทานสัปดาห์ละ 3 กิโลกรัม ตลอดระยะเวลาทำโครงการสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 20 กิโลกรัม
- บวบ 10 ล้อ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตป้อนสู่โรงครัวเพื่อทำอาหารให้เด็กรับประทานสัปดาห์ละ 2 กิโลกรัม ตลอดระยะเวลาทำโครงการสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 10 กิโลกรัม
- ผักกวางตุ้ง 10 ล้อ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตป้อนสู่โรงครัวเพื่อทำอาหารให้เด็กรับประทานสัปดาห์ละ 3 กิโลกรัม ตลอดระยะเวลาทำโครงการสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 20 กิโลกรัม
- ถั่วฝักยาว 10 ล้อ เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตป้อนสู่โรงครัวเพื่อทำอาหารให้เด็กรับประทานสัปดาห์ละ 2 กิโลกรัม ตลอดระยะเวลาทำโครงการสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 9 กิโลกรัม
ขั้นตอนกิจกรรมการเพาะเห็ด
- สำรวจพื้นที่ในการทำโรงเพาะเห็ด
- จัดทำโรงเพาะเห็ด
- สั่งซื้อก้อนเห็ดสำเร็จรูปจำนวน 430 ก้อน
- ครูและนักเรียนร่วมกันจัดก้อนเห็ดในโรงเพาะเห็ด
ได้เห็ดสำหรับโครงการอาหารกลางวัน สัปดาห์ละ 2 กิโลกรัม ตลอดการทำโครงการได้ 8 กิโลกรัม และสามารถจำหน่ายให้ผู้ปกครองในชุมชน
อุปกรณ์การทำปุ๋ย
1.ปุ๋ยคอก(จากมูลสัตว์) จำนวน 100 กิโลกรัม 4 ถุงปุ๋ย
2.แกลบดำ จำนวน 100 กิโลกรัม 4 ถุงปุ๋ย
3.รำละเอียด 5-10 กิโลกรัม
4.ปุ๋ยชีวภาพน้ำ (น้ำหมักชีวภาพ) จำนวน 2 ลิตร
5.กากน้ำตาล จำนวน 2 ลิตร
6.น้ำ (ถ้าเป็นน้ำประปาควรตั้งทิ้งไว้ 2 วัน เพื่อให้กลิ่นคลอรีนระเหย) ใช้ จำนวน 25-30 ลิตร
7.บัวรดน้ำ ขนาด 20 ลิตร
8.ถังพลาสติกขนาด 50 ลิตร 1 ใบ
วิธีการทำ
1.เตรียมสถานที่ ใช้ลานที่มีพื้นเสมอกันเป็นที่ผสม
2.เทวัสดุ ในข้อ 1,2,3 กองรวมกัน บนลานที่ผสมปุ๋ย
3.ผสมวัสดุ 4,5,6 ผสมลงในถัง คนให้เข้ากัน
4.ใช้บัวรดน้ำ ตักน้ำที่ผสมแล้ว รดลงกองปุ๋ย แล้วคลุกเคล้าผสมให้เข้ากันกลับไปมา จนหมดน้ำที่ผสมไว้ ใช้มือบีบดู ถ้าเป็นก้อน ไม่มีน้ำไหลออกมาตามง่ามมือ ก็เป็นอันใช้ได้
5.ทำกองปุ๋ยเป็น สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความสูงไม่เกิน 1 ฟุต (ถ้าสูงมากจะเกิดความร้อนจะทำให้จุลินทรีย์ตาย) คลุมด้วยกระสอบป่าน หรือกระสอบปุ๋ยทิ้งไว้ในที่ร่ม 48 ชั่วโมง สามารถนำไปใช้ได้
การนำไปใช้
1.ในนาข้าว ควรหว่านก่อนทำการไถกลับ หรือหว่านขณะมีน้ำขัง ในอัตราส่วน 400 กิโลกรัม ต่อไร่ ประโยชน์ จะช่วยให้ข้าวเจริญเติบโต ผลผลิตดี ลดต้นทุนการซื้อปุ๋ย
2..ไม้ผล ควรใส่ โดยขุดรอบทรงพุ่ม 1 หน้าจอบ และใช้ดินเก่ากลบ ในอัตราส่วนพอประมาณ
ประโยชน์ ใช้แทนปุ๋ย รองก้นหลุมก่อนปลูกไม้ผล ช่วยเร่งการเจริญเติบโต ลดต้นทุน
ได้ปุ๋ยหมักชีวภาพในการใส่ต้นไม้
นำดินและขุยมะพร้าวมาผสมกัน และนำดินที่ได้จากการผสมมาใส่ถุงเพาะชำขนาดเล็ก ถุงเพาะชำขนาดกลาง กระถางเพาะชำ
ผลผลิตที่ได้ คือได้ทำการผสมดินและเตรียมดินใส่ถุงเพาะชำและกระถางเพาะชำ
รายละเอียดกิจกรรมการเลี้ยงปลา (การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน)
- สำรวจพื้นที่ในการทำบ่อเลี้ยงปลา
- เตรียมพื้นที่ในการทำบ่อเลี้ยงปลา
- ครูและนักเรียนร่วมขุดบ่อปลา
- เติมน้ำลงไปในบ่อดินที่ขุดไว้
- ครูและนักเรียนร่วมกันปล่อยพันธุ์ปลาดุกลงไปในบ่อปลา
ได้ปลาดุกสำหรับส่งเข้าโรงครัวใช้ทำอาหารกลางวันสัปดาห์ละ 5 กิโลกรัม ตลอดการทำโครงการ 150 กิโลกรัม