สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดยะลา

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดยะลา ”

จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
อ.ดร.เพ็ญ สุขมาก

ชื่อโครงการ การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดยะลา

ที่อยู่ จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 66-00459 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 31 ตุลาคม 2567


กิตติกรรมประกาศ

"การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดยะลา จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดยะลา



บทคัดย่อ

โครงการ " การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดยะลา " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 66-00459 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤศจิกายน 2566 - 31 ตุลาคม 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 0.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

  1. พื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ของภาคใต้ เน้นการทำเกษตรเชิงเดี่ยวได้แก่ ยางพาราและปาล์มนํ้ามัน จำนวนถึง 18,691,482 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 85.94 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด ในขณะที่การปลูกพืชอาหาร เช่น ข้าวนาปี และนาปรังมีเพียง 883,326 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.06 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด ส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์คิดเป็นร้อยละ 3.07 สำหรับผลผลิตต่อไร่ของพืชหลักเกือบทุกชนิดตํ่ากว่าค่าเฉลี่ยของภาคใต้และประเทศ ปี 2563 จำนวนปศุสัตว์ในภาพรวมมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย ส่วนปริมาณสัตว์นํ้า ณ ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี มีจำนวน 84,762 ล้านตัน หดตัวจากปีก่อนร้อยละ 15.5 ด้านการปรับใช้ระบบเกษตรผสมผสานหรือพืชร่วมยางอยู่ในระดับการปรับใช้ไม่เกินระดับ 4 นั้นคือ เกษตรกรเพิ่งเริ่มต้นมีความสนใจ ทดลอง และกำลังปรับใช้ระบบเกษตรผสมผสานหรือพืชร่วมยาง แต่ข้อจำกัดที่สำคัญของการปรับใช้ระบบเกษตร คือ ความเพียงพอของแหล่งนํ้า การระบาดของโรคและศัตรูพืช/สัตว์ และขาดความรู้ทักษะทางการเกษตร และข้อจำกัดอื่น ๆ เช่น ที่ตั้งไม่เหมาะสม ดินเสื่อมโทรม ขาดพันธุ์พืช/พันธุ์สัตว์ที่เหมาะสม ที่ดินขนาดเล็ก ขาดแคลนเงินทุน ขาดตลาดรองรับ ขาดแคลนแรงงาน และนโยบายสนับสนุนไม่แน่นอน
    1. ภาคใต้ประสบปัญหาความยากจนรุนแรงที่สุด โดยมีสัดส่วนคนจนสูงสุดที่ร้อยละ 10.94 ซึ่งจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสยังเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุด 10 อันดับแรกของประเทศไทย ในปี 2564 จังหวัดปัตตานีมีสัดส่วนคนจนติดในอันดับสูงสุด 10 อันดับแรกมาตั้งแต่ปี 2549 และต่อเนื่องมาจนถึงปี 2564 รวมระยะเวลา 16 ปีติดต่อกัน โดยพบว่าภาคเกษตรกรรมเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีปัญหาความยากจนสูงที่สุด โดยสัดส่วนแรงงานยากจนในภาคเกษตรกรรมปี 2564 สูงถึงร้อยละ 11.43 สำหรับการว่างงานโดยปี 2558-2562 อัตราการว่างงานกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานการณ์ความยากจนของประชากรยังอยู่ในระดับสูงมาก เนื่องมาจากผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกตํ่า โดยเฉพาะยางพาราและปาล์มนํ้ามัน โดยพบว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนรวมมูลค่า 139,173 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.82 ของประเทศและร้อยละ 9.44 ของภาคใต้ โดยในปี 2562 มูลค่าผลิตภัณฑ์รวมมวลภาคการเกษตรมีสัดส่วนร้อยละ 29.00
    2. สถานการณ์เชิงลบด้านโภชนาการของเด็กในชายแดนภาคใต้ยังมีหลายด้านที่ควรเร่งแก้ปัญหา คือ พื้นที่ชายแดนใต้นับเป็นกลุ่มที่มีปัญหาทุพโภชนาการมากที่สุดในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กในระยะยาว ผลสำรวจพบว่า ประมาณร้อยละ 23 ของเด็กที่มีอายุตํ่ากว่า 5 ปีในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส กำลังเผชิญกับภาวะเตี้ยแคระแกร็น (มีส่วนสูงตํ่ากว่าเกณฑ์อายุ) ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่ร้อยละ 13 เกือบสองเท่า โดยจังหวัดนราธิวาสมีเด็กอายุตํ่ากว่า 5 ปีที่มีภาวะผอมแห้งสูงสุดใน 17 จังหวัดที่ทำการสำรวจแบบเจาะลึก โดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยประเทศที่ไม่ถึงร้อยละ 8 ขณะเดียวกัน ภาวะผอมแห้งของเด็กอายุตํ่ากว่า 5 ปีในจังหวัดปัตตานีก็เป็นที่น่ากังวลเช่นกัน โดยอยู่ที่ร้อยละ 10
      ต้นทุน องค์ความรู้ ผลงานที่ผ่านมาของสถาบันนโยบายสาธารณะ ระยะที่ 1 ตัวอย่างเกษตรผสมผสานในสวนยางพาราของอำเภอควนเนียง 12 ราย และแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์บ้านเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ ในรูปแบบเกษตร 1 ไร่ 1 แสน การยกระดับตลาดเกษตร ม.อ. เป็นอุทยานอาหารปลอดภัย โดยพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค เกิดข้อมูลสุขภาวะเด็ก 6-14 ปี นำไปสู่แผนบูรณาการความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยตำบลชะแล้ และตำบลควนรู และเกิดยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา ระยะที่ 2 รูปแบบเกษตรผสมผสานในสวนยาง 10 แบบ องค์ความรู้การทำ 1 ไร่ 1 แสนในพื้นที่ทำนา เกิดรูปแบบการเชื่อมโยงผลผลิตระหว่างเกษตรกรตลาดเกษตร ม.อ.ไปสู่ร้านอาหาร และผู้บริโภค การขยายผลและตำบลบูรณาการความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยไปสู่ตำบลรัตภูมิ เชิงแส และเทศบาลสิงหนคร การผลักดันยุทธศาสตร์ระบบอาหารสู่แผนปฏิบัติราชการจังหวัดสงขลา ได้แก่ โครงการแก้ปัญหาโภชนาการ โดย วพบ.สงขลา และสถาบันนโยบายสาธารณะ
      ระยะที่ 3 รูปแบบเกษตรผสมผสานไปส่งเสริมเกษตรกรใน 5 อำเภอของจังหวัดสงขลา จำนวน 44 แปลง และประเมินมูลค่าด้านเศรษฐศาสตร์จำนวน 20 แปลงคัดเลือกเป็นแหล่งเรียนรู้จำนวน 8 แปลง จัดทำคู่มือ หลักสูตรการทำสวนยางยั่งยืน ยกระดับชุมชนบ้านคูวาเป็นรูปแบบ 1 ไร่หลายแสน โดยมีแหล่งเรียนรู้ย่อยของชุมชนจำนวน 10 แห่ง การขยายผลรูปแบบตลาดอาหารปลอดภัยไปสู่ห้างสรรพสินค้า ตลาดเอกชน และตลาดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนอาหารและโภชนาการจำนวน 79 แห่งเพื่อใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล การบูรณาการแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลาเข้าสู่แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา ระยะที่ 4 แหล่งเรียนรู้จำนวน 8 แปลงของจังหวัดสงขลา ขยายผลรูปแบบเกษตรผสมผสาน 4 รูปแบบ คือ 1) ระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลง 2) ระบบเกษตรหลากหลายแบบร่วมยาง 3) ระบบเกษตรผสมผสาน 4) ระบบวนเกษตร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลาขยายผล 1 ไร่หลายแสนอย่างต่อเนื่องโดยใช้รูปแบบบ้านคูวา ส่วนสามจังหวัดภาคใต้ชายแดนไม่สามารถขยายผลได้เพราะเป็นนาร้าง โรงพยาบาลจำนวน 8 แห่งของจังหวัดสงขลาเกิดการเชื่อมโยงผลผลิตอาหารชุมชน การเกิดพื้นที่ตลาดอาหารปลอดภัยในตลาดจะบังติกอ เทศบาลเมืองปัตตานี เกิดแผนงานระบบอาหารและโภชนาการรวมทั้งโครงการส่งเสริมโภชนาการ จำนวน 11โครงการโดยใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลนครยะลา เกิดแผนระบบอาหารจังหวัดนราธิวาส ระยะที่ 5 ได้รูปแบบเกษตรกรรมในสวนยางพาราจำนวน 3 รูปแบบที่เหมาะสมกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1) ระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลง (ยางพารา ทุเรียน ปาล์มนํ้ามัน สละ กล้วย เป็นต้น) 2) ระบบการปลูกพืชร่วมยาง (ยางพาราร่วมกับผักกูด ผักเหรียง ไม้เศรษฐกิจ กาแฟ) 3) ระบบเกษตรผสมผสาน (ยางพารา ไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ ผักกินใบแพะ วัว หมู เป็ด ไก่ ปลา) ถอดบทเรียนและประเมินมูลค่าด้านเศรษฐศาสตร์จำนวน 16 ราย ได้ Best practice จำนวน 5 ราย ซึ่งมีศักยภาพพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ เกิดการเชื่อมโยงผลผลิต (Matching Model) อาหารชุมชนไปยัง รพ. 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลบางกลํ่า และโรงพยาบาลควนเนียง ในจังหวัดสงขลา และโรงเรียน 3 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านดอนรัก โรงเรียนบ้านปะกาจินอ ในจังหวัดปัตตานี โรงเรียนบ้านแขยง จังหวัดนราธิวาส และร้านอาหาร 1 แห่ง คือ โรงแรม CS ปัตตานี จ.ปัตตานี และการสื่อสารเรื่องอาหารปลอดภัยจังหวัดปัตตานี โดยแนวคิดเรื่อง ความสะอาดเป็นส่วนนึงของความศรัทธา แนวคิดอาหารฮาลาล ตอยยีบัน(การนำสิ่งดีๆสู่ชีวิต ความบารอกัตในชีวิต) เผยแพร่สู่สาธารณะ 10 ช่องทาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 17 แห่งของจังหวัดยะลา มีโครงการระบบอาหารและโภชนาการปีงบประมาณ 2565 จำนวน 14 โครงการ ปีงบประมาณ 2566 จำนวน 16 โครงการโครงการเกี่ยวกับฟัน ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 2 โครงการ และปีงบประมาณ 2566 จำนวน 2 โครงการ เกิดตำบลต้นแบบการจัดการระบบอาหารอย่างครบวงจรให้กับกลุ่มเปราะบาง ในระดับ อปท. (COVID-19) จังหวัดปัตตานี 5 แห่ง จังหวัดยะลา 1 แห่ง และระดับ รพ.สต.ในจังหวัดนราธิวาส 6 แห่ง แผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ ปีงบประมาณ 2566- 2567 มีการดำเนินงานเรื่องระบบอาหารและโภชนาการที่ครบวงจร ปีพ.ศ. 2566 มีโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารในครัวเรื่อนยากจน 3 จังหวัด จำนวน 1 โครงการ ปีพ.ศ. 2567 จำนวน 5 โครงการ คือ 1) โครงการยกระดับไม้ผลที่มีประสิทธิภาพในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน งบ 20 ล้าน กิจกรรมสำคัญ ขยายผลทักษะการผลิตไม้ผลตามมาตรฐาน GAP การผลิตไม้ผลตามอัตลักษณ์ 2) พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูป งบ 2.4 ล้านบาท 3) ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์นํ้าเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร งบ 10 ล้านบาท 4) ยกระดับการเลี้ยงปศุสัตว์เพื่อสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้เศรษฐกิจฐานราก เพื่อความมั่นคง มั่นคั่ง งบ 49 ล้านบาท 5) โครงการยกระดับการแก้ไขปัญหาความยากจนและเสริมสร้างสุขภาวะครัวเรือนชายแดนใต้อย่างยั่งยืน ระยะที่ 2 งบ 10.2 ล้านบาท

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.พัฒนายกระดับต้นแบบการทําเกษตรกรรมยั่งยืนใน พื้นที่เป้าหมายและขับเคลื่อนให้เกิดการขยายผล (Model for Scaling up)
  2. 2.ขับเคลื่อนและยกระดับ โมเดล (good practice) ใน การกระจาย เชื่อมโยง ผลผลิต อาหารเพื่อสุข ภาวะให้กับ ประชาชนใน ชุมชน ผ่าน กลไกต่างๆ ไปสู่การขยาย ผล (Model for Scaling up)
  3. 3.พัฒนา ต้นแบบการ ส่งเสริมความ รอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุข ภาวะ (ความ มั่นคงอาหาร/ อาหาร ปลอดภัย/ โภชนาการ) ให้กับ ประชาชนใน พื้นที่เพื่อปรับ พฤติกรรม การบริโภค และร่วมพลัง เป็นพลเมือง อาหาร
  4. 4.พัฒนา ระบบ/กลไก เฝhาระวัง ผลผลิต ปลอดภัย เทศบาลนคร ยะลา จ.ยะลา
  5. 5.พัฒนา ต้นแบบ ระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ ตลอดห่วงโซ่ ที่แก้ปัญหา ภาวะ โภชนาการใน กลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และกลุ่ม เปราะบาง
  6. 6.พัฒนาและ ขับเคลื่อน นโยบาย สาธารณะ เพื่อส่งเสริม บริโภค อาหารเพื่อสุข ภาวะ/ระบบ อาหารที่ ยั่งยืน
  7. 7.พัฒนาฐาน ข้อมูลและ แผนภาพ เพื่อใช้ขับ เคลื่อนและ บูรณาการทํา งานระบบ อาหารตลอด ห่วงโซ่

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 1. ขับเคลื่อนรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนให้เกิด การขยายผลในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ชายแดนเพื่อนําไปสู้การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ
  2. 2. พัฒนาฐานข้อมูลและแผนภาพอาหารทั้ง 4 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เพื่อใช้บูรณาการทํางานระบบอาหารและโภชนาการ และสื่อสารสู่สาธารณะ
  3. 1.2 ทีมนักวิชาการออกแบบหลักสูตรเกษตรกรรมยั่งยืนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ จากเกษตรกร 10 แห่ง และออกแบบเครื่องมือประเมินความมั่นคงทางอาหาร ระดับครัวเรือน (นำไปใช้ประเมินกลุ่มเป้าหมาย 200 คน)
  4. 2.1 ทีมนักวิชาการออกแบบเครื่องมือ จัดทำชุดแผนภาพอาหาร ใน 4 จังหวัด สงขลา ปัตตานี ยะลาและ นราธิวาส
  5. 3. พัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมบริโภคอาหารเพื่อสุข ภาวะ/ระบบอาหารที่ยั่งยืน โดยกลไกกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (จังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) กลไกผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กลไกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
  6. 4. กิจกรรมการสื่อสารสาธารณะและการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย
  7. 5. การติดตามประเมินผลภายนอก
  8. 1.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความร่วมมือการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
  9. 1.3 สนส. และทีมวิชาการสร้างปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่งให้มีความพร้อมเป็นจุดถ่ายทอดการทำเกษตรกรรมยั่งยืน การเป็นทีมวิทยากร
  10. 2.2 เก็บข้อมูลตามแบบเครื่องมือ
  11. 3.1 ประชุมทีมคณะเศรษฐศาสตร์มอ. เพื่อวางแผนประเมินโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนากลุ่มจังหวักภาคใต้ชายแดน และแผนของอบจ. แผนปี 65และ66 เพื่อประเมินถึงความคุ้มค่าในมิติทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
  12. 3.4 การประชุมกำหนดวาระนโยบายเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร นโยบายการแก้ปัญหาโภชนาการเด็ก ให้อยู่ในแผนของกลุ่มจังหวัดและอบจ. ปัตตานี
  13. 4.1 ประสานกับวิทยุมอ.88 หาดใหญ่ มอ.ปัตตานี เอามาออกแบบการพัฒนาประเด็นสื่อสาร ข้อเสนอเชิงนโยบายความมั่นคงทางอาหาร การทำเกษตรกรรมยั่งยืน ตลาดสีเขียวในชุมชน อาหารปลอดภัย นโยบายแก้ปัญหาด้านโภชนาการ เช่นเด็กเตี้ย เด็กผอม
  14. 5.1. ติดตามประเมินผลภายในโครงการ เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามตัวชี้วัดและให้ข้อเสนอแนะต่อผู้รับผิดชอบโครงการรวมทั้งช่วยประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เช่นค่าใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลประโยชน์
  15. 6. นําเสนอระบบ/กลไกเฝ้าระวังอาหารปลอดภัย ให้กับผู้บริหารหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากําหนดเป็นนโยบาย
  16. 1.4 จัด workshop ให้เกษตรกร 200 คน ในพื้นที่แปลงเรียนรู้ของเกษตรกรต้นแบบ พร้อมกับประเมินความมั่นคงทางอาหาร ของกลุ่มเป้าหมาย 200 คน
  17. 3.2 ทีมนักวิชาการลงพื้นที่ประเมินโครงการ
  18. 6.1 การจัดประชุมนำเสนอรูปแบบของกลไกคณะทำงานอาหารปลอดภัยยะลา และนำเสนอรูปแบบให้กับผู้บริหารนครยะลา เพื่อให้เทศบาลนครยะลาดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
  19. 2.3 ออกแบบโปรแกรมระบบฐานข้อมูลแผนภาพอาหาร และบันทึกข้อมูล
  20. 3.3 นักวิชาการนำผลการประเมินคืนให้กับส่วนราชการที่ดำเนินโครงการ พร้อมกับworkshop การยกระดับการทำแผนงานโครงการที่ตอบความคุ้มค่าในมิติเศรษฐกิจและสังคม
  21. 1.6 เดือน ก.ค.ประเมินความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน เกษตรกร 200 คน (ประเมินหลังการเข้าร่วมกิจกรรม)
  22. 2.4 มีการประชุมเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้ง 4 จังหวัดให้เกิดการนำโปรแกรมระบบฐานข้อมูลแผนภาพอาหารไปใช่ออกแบบโครงการที่เกี่ยวกับความมั่นคงอาหาร หรือตลาด หรือการเชื่อมเครือข่าย หรือการจัดการความรู้
  23. 4.2 จัดเวทีนโยบายในพื้นที่(คลายๆ Thai pbs)
  24. 7. การพัฒนาชุดความรู้ แนวทางปฏิบัติ และคู่มือ Model เกษตรกรรมยั่งยืนใน สวนยางพารา ขยายผลกับการยางแห่งประเทศไทยสามจังหวัดภาคใต้ชายแดน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  25. 7.1 นักวิชาการลงพื้นที่ ประเมินแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่ง ถอดบทเรียนการเป็นแหล่งเรียนรู้ และจัดทำ model แหล่งเรียนรู้ฯ จัดทำเป็นแนวทางปฏิบัติการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางพารา
  26. 7.2 จัดประชุมแลกเปลี่ยนการทำเกษตรกรรมยั่งยืน ในรูปแบบการจัดประชุมวิชาการ หรือการจัดสมัชชาเรื่องสวนยางยั่งยืน ทั้ง onsite และ online
  27. 1.5 ระบบติดตามสนับสนุนให้คำปรึกษาการทำเกษตรกรรมยั่งยืน (กลุ่มไลน์) ให้กับแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่ง และแกนนำเกษตรกร 200 คน
  28. จัดทำสารคดี รูปแบบเกษตรผสมผสาน กรณีศึกษา ทศพล รุ่งเรืองใบหยก
  29. โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
  30. โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่
  31. โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่
  32. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการทำงานเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลงสวนคุณมานพจี๋ คีรี
  33. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการทำงานเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลงสวนคุณทศพล รุ่งเรืองใบหยก

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. แลกเปลี่ยนเรียนรู้แปลงต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืน อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วันที่ 10 สิงหาคม 2567 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่ สวนคุณเจริญ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แลกเปลี่ยนความรู้ในการปลูกพืชสวนผสม

สวนคุณเจริญ บทสัมภาษณ์คุณเจริญ เวชวัฒนาเศรษฐ “ครูถั่ว” คนกล้าคืนถิ่น และ ผู้แทนคนกรีดยาง ตัวแทนใน คกก.นโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ประสานความร่วมมือร่วมสร้างเปิดโอกาสให้คนไทยได้ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงพัฒนาคนรุ่นใหม่ สร้าง SME ที่พึ่งตนเองได้ด้วยวิถีเกษตรเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

การปลูกยาง เบตง เทคนิค วิธีการ
การปลูกยางในเบตงมีความสำคัญและมีลักษณะเฉพาะที่ควรพิจารณา ดังนี้: การเลือกพันธุ์: พันธุ์ยางที่ใช้ในเบตงมักจะเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพอากาศและดินในพื้นที่ เช่น พันธุ์ไทยแท้และพันธุ์จากมาเลเซีย เทคนิคการปลูก: การปลูกยางต้องใช้เทคนิคที่เหมาะสม เช่น การเตรียมดิน การปลูกในระยะที่เหมาะสม และการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง การปลูกยางแถวเดียวควบคู่ไปกับการปูลไม้ป่า เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิต โดยมีข้อแนะนำดังนี้:
1. การปลูกแถวเดียวสามารถทำให้ได้ประมาณ 20 ต้นต่อพื้นที่ที่กำหนด 2. ควรปลูกให้ห่างกันประมาณ 2 เมตร เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโต 3. การจัดการพื้นที่ปลูกให้มีการแบ่งช่องจะช่วยเพิ่มพื้นที่ปลูกไม้ได้มากขึ้น 4. การปลูกในระยะห่างที่เหมาะสมจะช่วยลดปัญหาการแข่งขันระหว่างต้นไม้ 5. การปลูกยางแถวเดียวเสริมไม้ป่าจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการเพิ่มผลผลิตและการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ การปลูกยางแซมไม้ป่าเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ โดยมีข้อแนะนำ: 1. การปลูกยางควรทำในระยะห่างที่เหมาะสมกับไม้ป่า เพื่อไม่ให้เกิดการแข่งขันในเรื่องของแสงและสารอาหาร 2. การปลูกแถวเดียวระหว่างต้นยางและไม้ป่าสามารถช่วยให้พื้นที่มีการใช้ประโยชน์สูงสุด 3. การจัดการพื้นที่ปลูกให้มีการแบ่งช่องจะช่วยเพิ่มพื้นที่ปลูกไม้ได้มากขึ้น 4. การปลูกไม้ป่าร่วมกับยางสามารถช่วยในการรักษาความชุ่มชื้นของดินและลดการกัดเซาะ 5. การปลูกยางแซมไม้ป่าจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมอย่างยั่งยืน การปลูกยาง 40 ต้นต่อไร่เป็นวิธีที่สามารถเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีข้อแนะนำดังนี้: 1. ควรปลูกให้ห่างกันประมาณ 2 เมตร เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโต 2. การจัดการพื้นที่ปลูกให้มีการแบ่งช่องจะช่วยเพิ่มพื้นที่ปลูกไม้ได้มากขึ้น 3. การปลูกในระยะห่างที่เหมาะสมจะช่วยลดปัญหาการแข่งขันระหว่างต้นไม้ 4. การปลูกในรูปแบบนี้สามารถทำให้ได้ประมาณ 40 ต้นต่อไร่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น 5. การปลูกยางในจำนวนที่เหมาะสมจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ


เทคนิคการกรีด: ใช้มีดกรีดที่มีความคมและกรีดในมุมที่เหมาะสม โดยควรกรีดให้ลึกพอสมควรเพื่อให้ยางไหลออกมาได้ดี การดูแลรักษาต้นยาง: หลังการกรีดควรดูแลรักษาต้นยางให้ดี เช่น การให้ปุ๋ยและน้ำ เพื่อให้ต้นยางมีสุขภาพดีและสามารถผลิตยางได้ต่อเนื่อง การใช้เทคนิคเหล่านี้จะช่วยเพิ่มผลผลิตยางและคุณภาพของยางพาราได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล้ายางพันธุ์ไทยแท้: มีคุณสมบัติความเหมาะสมกับสภาพอากาศ มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศและดินในประเทศไทยได้ดี ให้ผลผลิตยางที่มีคุณภาพสูงและมีปริมาณมากเมื่อได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม มีความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชได้ดีกว่าพันธุ์อื่นๆ ข้อเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ที่เจริญกับพื้นที่ที่ไม่เจริญมีความสำคัญอย่างไร: โอการในการพัฒนาเศรษฐกิจ: พื้นที่ที่เจริญมักมีโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า เช่น การเข้าถึงตลาด การลงทุน และการสร้างงาน การศึกษาและการเข้าถึงบริการ: พื้นที่ที่เจริญมักมีการศึกษาและบริการสาธารณะที่ดีกว่า เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล และบริการสาธารณะอื่นๆ คุณภาพชีวิต: การเปรียบเทียบช่วยให้เห็นความแตกต่างในคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น การเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ดี สาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อมที่ดี การวางแผนและนโยบาย: ข้อมูลจากการเปรียบเทียบสามารถใช้ในการวางแผนพัฒนาพื้นที่ที่ไม่เจริญให้มีการเติบโตและพัฒนาอย่างยั่งยืน การวิเคราะห์ความแตกต่างนี้ช่วยให้เข้าใจถึงปัญหาและโอกาสในการพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น คุณเจริญได้มีโอกาสศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชการที่ 9 เป็นแนวทางที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีหลักการสำคัญดังนี้: 1. การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ฟุ่มเฟือย 2. การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและการพึ่งพาตนเอง 3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม 4. การส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะในชุมชน 5. เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นแนวทางที่ช่วยให้ผู้คนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน

  • photo 1723435079005.jpg1723435079005.jpg
  • photo 1723435074475.jpg1723435074475.jpg
  • photo 1723435063682.jpg1723435063682.jpg
  • photo 1723435057049.jpg1723435057049.jpg
  • photo 1723435045600.jpg1723435045600.jpg
  • photo 1723435041969.jpg1723435041969.jpg
  • photo 1723435029702.jpg1723435029702.jpg
  • photo 1723434995119.jpg1723434995119.jpg
  • photo 1723434988243.jpg1723434988243.jpg
  • photo 1723434984356.jpg1723434984356.jpg
  • photo 1723434979616.jpg1723434979616.jpg
  • photo 1723434972868.jpg1723434972868.jpg
  • photo 1723434967195.jpg1723434967195.jpg
  • photo 1723434963855.jpg1723434963855.jpg
  • photo 1723434937349.jpg1723434937349.jpg
  • photo 1723434928255.jpg1723434928255.jpg
  • photo 1723434945029.jpg1723434945029.jpg
  • photo 1723434909773.jpg1723434909773.jpg
  • photo 1723434899470.jpg1723434899470.jpg
  • photo 1723434892367.jpg1723434892367.jpg
  • photo 1723434883911.jpg1723434883911.jpg
  • photo 1723434859346.jpg1723434859346.jpg

 

0 0

2. การลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้แปลงเกษตรต้นแบบ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วันที่ 11 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่ สวนคุณทศพล รุ่งเรืองใบหยก บทสัมภาษณ์ คุณทศพล รุ่งเรืองใบหยก เกษตรกรรุ่นใหม่ผู้เปลี่ยนผ่านจากรุ่นพ่อมาสู่รุ่นลูก เป็นต้นแบบเกษตรกรชาวสวนยางเกษตรกรที่ทำการเกษตรแบบยั่งยืน อายุ 39 ปี เป็นเลขานุการของสหกรณ์ ต.ตาเนาะแมเราะ เลขานุการของเครือข่ายเบตง และเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาชุมชนและการเกษตรในพื้นที่

จุดเด่นหลักของการเกษตรในพื้นที่เบตง คือ การปลูกยางและการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งถือเป็นจุดขายที่สำคัญที่ทำให้พื้นที่นี้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ เหมาะสม เช่น น้ำ ลำธารและภูมิอากาศที่เอื้อต่อการเกษตร นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนผ่านความรู้จากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก ทำให้เกษตรกรรุ่นใหม่มีทักษะและความรู้ในการผลิตที่สูงขึ้น
โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่ ที่สวนคุณทศพล มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพอาหารและการผลิตที่ยั่งยืน โดยเน้นการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นและการสร้างความรู้ใหม่ในด้านการเกษตร เช่น การปลูกยางและการทำปศุสัตว์ นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการทำฟาร์มที่หลากหลาย เช่น การเลี้ยงปลาและการปลูกพืชเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดความหลากหลายและลดความเสี่ยงในการผลิต การทำฟาร์มของทศพล มีความเป็นมาที่น่าสนใจ โดยทศพลเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่รับไม้ต่อจากรุ่นพ่อ ซึ่งมีการเปลี่ยนผ่านความรู้และทรัพยากรอย่างครบถ้วน ฟาร์มนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 50 ไร่ แบ่งเป็นสวนยาง 20 ไร่ และยังมีการปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น ทุเรียนและมังคุด รวมถึงการเลี้ยงปลาและปศุสัตว์เพื่อสร้างความหลากหลายในการผลิต
บ่อปลาเลี้ยงปลา มีการเลี้ยงปลาหลายชนิด เช่น ปลาดุก ปลาจีนและปลาพวงชมพู ปลาคู่เมืองยะลาแต่เป็นปลาขี้ตกใจ โดยปลาพวงชมพูเป็นที่นิยมเนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีคอลลาเจนมาก ซึ่งทำให้สามารถนำไปทำอาหารได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ทอดหรือนึ่ง ปัจจุบันตลาดรับซื้อปลาพวงชมพูอยู่ที่ประมาณ 3,000-3,500 บาทต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับคุณภาพและขนาดของปลา ส่วนราคารับซื้อปลาจีนในตลาดปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 260 บาทต่อกิโลกรัม บ่อปลามีการจัดการน้ำที่เหมาะสมเพื่อให้ปลามีการเจริญเติบโตที่ดี นอกจากนี้คุณทศพลยังมีการเลี้ยงไก่ในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับฟาร์มของเขา โดยการเลี้ยงไก่ไข่เป็นส่วนหนึ่งของการทำเกษตรกรรมที่มีความยั่งยืนและสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว การขึ้นทะเบียน GI (Geographical Indication) ของเกษตรผสมผสาน เป็นกระบวนการที่ช่วยรับรองผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเฉพาะจากพื้นที่หนึ่ง ๆ โดยเฉพาะในกรณีของผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ปลาพวงชมพู การขึ้นทะเบียน GI จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค โดยนายกรัฐมนตรีได้มีการรณรงค์เพื่อส่งเสริมการขึ้นทะเบียน GI สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพในพื้นที่ ค่าอาหารไก่และอาหารปลาที่สูงขึ้น เป็นปัญหาที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญในปัจจุบัน เมื่อค่าอาหารไก่มีราคาแพงขึ้น ค่าอาหารปลาก็มีราคาสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตและต้นทุนของเกษตรกรทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวและขอเพิ่มราคาเพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนที่สูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของค่าอาหารนี้ทำให้ผู้ประกอบการต้องใช้ความอดทนและการบริหารจัดการที่ดีขึ้นเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาด สรุปจุดเด่นของเกษตรกรรุ่นใหม่ ฐานทรัพยากรที่ดี: เกษตรกรรุ่นใหม่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ดี เช่น สภาพความชื้นและคุณภาพของดินที่เหมาะสมสำหรับการเกษตร การบริหารจัดการที่ดี: เกษตรกรรุ่นใหม่มีความสามารถในการบริหารจัดการที่ดี ทำให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยี: มีแนวโน้มที่จะใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ในการพัฒนาการเกษตรและการตลาด โดยรวมแล้ว เกษตรกรรุ่นใหม่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองและการเกษตรให้มีความยั่งยืนและตอบโจทย์ตลาดได้

  • photo 1723436824307.jpg1723436824307.jpg
  • photo 1723436832209.jpg1723436832209.jpg
  • photo 1723436837530.jpg1723436837530.jpg
  • photo 1723436839927.jpg1723436839927.jpg
  • photo 1723436852150.jpg1723436852150.jpg
  • photo 1723435770556.jpg1723435770556.jpg
  • photo IMG_20240811_104751.jpgIMG_20240811_104751.jpg
  • photo 1723435867249.jpg1723435867249.jpg
  • photo 1723435888245.jpg1723435888245.jpg
  • photo 1723435907594.jpg1723435907594.jpg
  • photo 1723435911330.jpg1723435911330.jpg
  • photo 1723435923209.jpg1723435923209.jpg
  • photo 1723435917755.jpg1723435917755.jpg
  • photo IMG_20240811_104726.jpgIMG_20240811_104726.jpg
  • photo IMG_20240811_104125.jpgIMG_20240811_104125.jpg
  • photo IMG_20240811_104041.jpgIMG_20240811_104041.jpg
  • photo IMG_20240811_103514.jpgIMG_20240811_103514.jpg
  • photo IMG_20240811_103233.jpgIMG_20240811_103233.jpg
  • photo IMG_20240811_103141.jpgIMG_20240811_103141.jpg
  • photo IMG_20240811_102941.jpgIMG_20240811_102941.jpg
  • photo IMG_20240811_101523.jpgIMG_20240811_101523.jpg
  • photo 1723435781496.jpg1723435781496.jpg
  • photo IMG_20240811_101300.jpgIMG_20240811_101300.jpg
  • photo IMG_20240811_101002.jpgIMG_20240811_101002.jpg
  • photo IMG_20240811_101111.jpgIMG_20240811_101111.jpg
  • photo IMG_20240811_101149.jpgIMG_20240811_101149.jpg
  • photo IMG_20240811_101206.jpgIMG_20240811_101206.jpg
  • photo 1723435785693.jpg1723435785693.jpg
  • photo 1723435857631.jpg1723435857631.jpg
  • photo 1723435853305.jpg1723435853305.jpg
  • photo 1723435846444.jpg1723435846444.jpg
  • photo 1723435834496.jpg1723435834496.jpg
  • photo IMG_20240811_084431.jpgIMG_20240811_084431.jpg
  • photo IMG_20240811_102237.jpgIMG_20240811_102237.jpg
  • photo IMG_20240811_101330.jpgIMG_20240811_101330.jpg

 

0 0

3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้แปลงต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืน อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วันที่ 11 สิงหาคม 2567 เวลา 11:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่ สวนมังคุดในสายหมอก นายสุขสรรค์ วุฒิพิทักษ์ศักดิ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่ สวนมังคุดในสายหมอก นายสุขสรรค์ วุฒิพิทักษ์ศักดิ์ บทสัมภาษณ์คุณสุขสรรค์ วุฒิพิทักษ์ศักดิ์ เลขานุการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดทุเรียนอินทรีย์ อ.เบตง เริ่มทำเกษตรตั้งแต่ปี 2554 หลังจากที่เขาทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ ประมาณปีครึ่ง และต้องกลับมาดูแลพ่อที่ป่วยเป็นโรคความดัน ไม่มีใครดูแล เขาจึงตัดสินใจผันตัวกลับมาทำเกษตรในช่วงเวลานั้น ทำเกษตรเกี่ยวกับผลไม้หลักๆ ได้แก่: มังคุด ทุเรียน ลองกอง ในช่วงเริ่มต้นทำเกษตร คุณสุขสันต์เผชิญกับปัญหาหลายอย่าง ทั้งผลผลิตไม่สวยและไม่ตรงตามมาตรฐาน ทำให้ขายได้ในราคาต่ำ การดูแลผลไม้ไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ราคาผลไม้ในตลาดต่ำ ทำให้ขาดรายได้ จึงแก้ปัญหาโดยรวมกลุ่มมังคุดแปลงใหญ่น้ำทิพย์ กับเกษตรกรคนอื่นๆ เพื่อศึกษาและพัฒนาคุณภาพของมังคุด เรียนรู้วิธีการปลูกและดูแลที่มีประสิทธิภาพ และปรับปรุงวิธีการดูแลผลไม้ให้ดีขึ้น เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงขึ้น การรวมกลุ่มนี้ช่วยให้เขาได้รับความรู้และเทคนิคใหม่ๆ ผลผลิตจึงมีคุณภาพดีขึ้น อีกทั้งศึกษาและเรียนรู้จากการไปเยี่ยมชมแปลงเกษตรที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่อื่นๆ เช่น ชุมพร การเรียนรู้จากแหล่งเหล่านี้ช่วยให้สามารถปรับปรุงวิธีการทำเกษตรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันคุณสุขสรรค์มีพื้นที่ปลูกมังคุดอินทรีย์ จำนวนทั้งหมด 8 ไร่ รวมจำนวนต้นทั้งหมด 155 ต้น อ.เบตง มีการใช้สารเคมีน้อยมากจึงทำให้เกิดแนวความคิดการรวมกลุ่มทำมังคุดอินทรีย์ขึ้นเพื่อที่จะยกระดับคุณภาพ และราคาของมังคุดในพื้นที่ อ.เบตง ให้มีราคาสูงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งลักษณะเด่นของมังคุดอินทรีย์เบตง คือ ลูกใหญ่ ผิวมันวาว รสชาติหวานติดเปรี้ยวนิดๆ เทคนิคการปลูก ปัจจุบันในวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดทุเรียนอินทรีย์ ได้มีการให้ความรู้แก่สมาชิกเกี่ยวกับเรื่องของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี โดยจะเน้นใช้สารชีวภัณฑ์แทนปุ๋ยเคมีตั้งแต่เริ่มปลูก คือ มีการใช้ปุ๋ยคอกใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก มีการใช้สารชีวภัณฑ์แทนปุ๋ยเคมี เพื่อให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้นเป็นที่มีคุณภาพมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วย 1.จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตร (สูตรหัวเชื้อ) 2. ฮอร์โมนไข่ 1 ลิตร (เป็นฮอร์โมนไข่ที่หมักแล้ว) 3.นมหมัก 1 ลิตร (เป็นนมที่หมักแล้ว) และ 4.แคลเซี่ยมโบรอน 1 ลิตร (แคลเซียมโบรอนที่ทำเรียบร้อยแล้ว) บวกกับจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
การดูแลรักษา เทคนิคการ Top ใบ ช่วยให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีขึ้น โดยการตัดใบที่ไม่จำเป็นออก ทำให้พืชสามารถใช้พลังงานในการสร้างผลผลิตได้มากขึ้น ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและแมลงศัตรูพืช เนื่องจากการตัดใบที่มีปัญหาจะช่วยลดแหล่งที่อยู่อาศัยของศัตรูพืช
การฉีดยาต้นทุเรียน จะต้องฉีดรอบต้น เพื่อให้แน่ใจว่าสารเคมีหรือปุ๋ยสามารถเข้าถึงทุกส่วนของต้นได้อย่างทั่วถึง ซึ่งมีข้อดีหลาย
กลยุทธ์ทางการตลาด สินค้าจากกลุ่มได้รับรองมาตรฐาน GIP แล้วจำนวน 20 ราย และก็ยังรอให้ทางกรมวิชาการเกษตรมาตรวจแปลงปลูกเพื่อเข้าสู่มาตรฐาน GIP เพิ่มเติมอีก 19 ราย ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการบริโภค สำหรับการทำการตลาดนั้นอีกประการหนึ่ง การให้ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของผลไม้ เช่น การเน้นเรื่องสุขภาพและคุณค่าทางโภชนาการ กลยุทธ์เหล่านี้ช่วยให้เขาสามารถสร้างความน่าสนใจและดึงดูดลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยส่วนมาก สมาชิกจะส่งให้พ่อค้ากลาง และทางพ่อค้ากลางจะส่งต่อไปยังผู้บริโภคที่มาเลเซีย สิงคโปร์อีกทอดหนึ่ง ทางกลุ่มยังมีการทำมังคุดลูกดำบรรจุกล่องเพื่อจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 50 บาท ผ่านช่องทางการจำหน่ายทางโครงการประชารัฐของรัฐบาล รวมทั้งผ่านทางธนาคาร ธกส. เป็นผู้ที่จัดหาช่องทางการตลาดให้ รวมทั้งการเตรียมทำการตลาดในรูปแบบออนไลน์ในฤดูการเก็บเกี่ยวเดือนตุลาคม
การคาดการณ์ราคา: การเก็บเกี่ยวในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตมากเกินไปในตลาดในช่วงเวลาเดียวกัน คุณสุขสรรค์จึงจัดทำบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวและการผลิต เช่น วันที่เก็บเกี่ยวและปริมาณผลผลิต ออกดอกบานวันไหนเก็บเกี่ยวได้วันไหนบวกลบไม่เกิน 10วัน ต้องใช้แรงงานกี่คน ในช่วงใด และสร้างตารางคาดการณ์การเก็บเกี่ยวที่ระบุวันและช่วงเวลาที่ผลผลิตจะออก เพื่อช่วยในการวางแผนการตลาด ศึกษาความต้องการของตลาดในช่วงเวลาต่าง ๆ เพื่อคาดการณ์ว่าราคาในอนาคตจะเป็นอย่างไร เมื่อเราสามารถคาดการณ์ได้ ก็สามารถใช้กลยุทธ์ต่างๆ เช่น กลยุทธ์การเก็บเกี่ยว คือ การเลื่อนเวลาการเก็บเกี่ยวเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพสูงขึ้นและราคาดีขึ้น มุมมองการเป็นเกษตรกรของคุณสุขสรรค์ เกษตรกรต้องเปลี่ยนบทบาท ต้องเป็นผู้บริหาร ไม่ใช้แรงงานของตนอย่างเดียว ต้องสามารถการบริหารจัดการต้นทุนได้ เช่น การจ้างแรงงาน และการวางแผนเพื่อให้สามารถควบคุมต้นทุนได้ เกษตรกรจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนจากการทำงานด้วยตนเองมาเป็นการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีในการทำงานมากขึ้น ซึ่งการใช้เทคโนโลยีที่มีคุณภาพอาจต้องมีการลงทุนสูง แต่สามารถช่วยให้เกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว เช่น การใช้ปั๊มแรงดันสูงช่วยลดเวลาที่ใช้ในการฉีดพ่น ทำให้เกษตรกรสามารถทำงานได้มากขึ้นในเวลาที่น้อยลง

  • photo 1723437682281.jpg1723437682281.jpg
  • photo 1723437732402.jpg1723437732402.jpg
  • photo IMG_20240811_130220.jpgIMG_20240811_130220.jpg
  • photo IMG_20240811_121129.jpgIMG_20240811_121129.jpg
  • photo IMG_20240811_130139.jpgIMG_20240811_130139.jpg
  • photo 1723437287551.jpg1723437287551.jpg
  • photo IMG_20240811_130255.jpgIMG_20240811_130255.jpg
  • photo 1723437212734.jpg1723437212734.jpg
  • photo 1723437218776.jpg1723437218776.jpg
  • photo 1723437237268.jpg1723437237268.jpg
  • photo 1723437242490.jpg1723437242490.jpg
  • photo 1723437257986.jpg1723437257986.jpg
  • photo 1723437323621.jpg1723437323621.jpg
  • photo 1723437347219.jpg1723437347219.jpg
  • photo 1723437306987.jpg1723437306987.jpg

 

0 0

4. จัดทำสารคดี รูปแบบเกษตรผสมผสาน กรณีศึกษา ทศพล รุ่งเรืองใบหยก

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 เวลา 14:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ถ่ายทำสารคดี....สัมภาษณ์ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยสาขาเบตงนายสะอุเซ็ง สาแม ประเด็นการให้การสนับสนุนเกษตรกรในพื้นที่และเกษตรกรต้นแบบ ถ่ายทำสารคดี ...สัมภาษณ์เกษตรกรต้นแบบคุณทศพล รุ่งเรืองใบหยก ถ่ายทำสารคดี... สัมภาษณ์ร้านต้าเหยินซึ่งใช้วัตถุดิบบางส่วนจากเกษตรกรต้นแบบและเกษตรกรในพื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ถ่ายทำสารคดี... การยางแห่งประเทศไทยสาขาเบตง ผู้อำนวยการการยางแห่งประเทศไทยสาขาเบตง นายสะอุเซ็ง สาแมง

ถ่ายทำสารคดี... ร้านต้าเหยิน (กิตติ) เป็นร้านอาหารจีนเก่าแก่ของเบตง สืบทอดรสชาติอาหารจากรุ่นสู่รุ่น โดยยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ไม่ว่าใครที่มาเยือนเมืองเบตงจะต้องเข้ามาลิ้มชิมรสอาหารจีนขึ้นชื่อของเบตงที่ร้านนี้ อาทิเช่น ไก่สับเบตง เคาหยก ปลาจีนนึ่งบ๊วย แกงจืดลูกชิ้นแคะ และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งร้านสาขาดั้งเดิมตั้งอยู่ที่ 253 ถ.สุขยางค์ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ย่านการค้า บริเวณใกล้กับหอนาฬิกาเบตง ร้านต้าเหยินใช้วัดวัตถุดิบส่วนใหญ่จากเกษตรกรในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นไก่เบตงไก่ 9 ชั่งปลาทับทิม ถั่วงู หรือแม้กระทั่งน้ำผลไม้เสาวรสใบบัวบกน้ำลูกเดือยน้ำตะไคร้ก็ล้วนใช้ผลผลิตจากเกษตรกรในพื้นที่เพื่อการส่งเสริมเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น โดยไก่เบตง ปลาส่วนหนึ่งจะนำมาจากสวนของคุณทศพลที่เป็นเกษตรกรต้นแบบ เพราะเชื่อเชื่อถือได้ว่าปลอดสารแน่นอนการนำอาหารมาผลิตให้กับผู้บริโภคทางร้านต้าเหยินมองถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญเพราะฉะนั้นเกษตรกรที่ร้านต้าเหยินเลือกนำวัตถุดิบมาใช้นั้นก็จะต้องเป็นเกษตรกรที่ไม่ใช้สารเคมีในผลผลิต

ถ่ายทำสารคดี....เกษตรกรต้นแบบคุณทศพล รุ่งเรืองใบหยก

  • photo 1731636587683.jpg1731636587683.jpg
  • photo 1731657137312.jpg1731657137312.jpg
  • photo 1731657137684.jpg1731657137684.jpg
  • photo 1731636743620.jpg1731636743620.jpg
  • photo 1731636749958.jpg1731636749958.jpg
  • photo 1731636710295.jpg1731636710295.jpg
  • photo 1731636688676.jpg1731636688676.jpg
  • photo 1731636757788.jpg1731636757788.jpg
  • photo 1731636605084.jpg1731636605084.jpg
  • photo 1731636647450.jpg1731636647450.jpg
  • photo 1731636619008.jpg1731636619008.jpg

 

0 0

5. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการทำงานเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลงสวนคุณมานพจี๋ คีรี

วันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการทำงานเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลงสวนคุณมานพจี๋ คีรี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายการทำงานเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลงสวนคุณมานพ จี๋คีรี ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จำนวน60ท่าน โดย ดร.ไชยยะ คงมณี รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

หัวข้อหลัก: การเพิ่มผลผลิตและการจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน ประเด็นสำคัญที่กล่าวถึง: ความหลากหลายของการทำเกษตร: ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน แต่ยังมีผู้ที่ทำอาชีพอื่นๆ เช่น เลี้ยงวัว เลี้ยงแพะ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายในการทำมาหากินของชุมชน ปัญหาและอุปสรรค: เกษตรกรหลายรายเผชิญกับปัญหาเรื่องภัยแล้ง ดินเสื่อมโทรม น้ำท่วม และการเลือกพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่
การเพิ่มผลผลิต: มีการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเพิ่มผลผลิต เช่น การเลือกพันธุ์ปาล์มที่เหมาะสม การใส่ปุ๋ย การจัดการน้ำ และการป้องกันกำจัดศัตรูพืช การทำเกษตรยั่งยืน: ผู้เข้าร่วมให้ความสนใจในการทำเกษตรแบบยั่งยืน โดยเฉพาะการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การลดการใช้สารเคมี และการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ควรเน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้ความรู้และเทคโนโลยีในการจัดการสวนปาล์ม รวมถึงการใส่ปุ๋ยและการจัดการน้ำอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงการทำบัญชีฟาร์มและการสร้างรายได้เสริมจากกิจกรรมอื่นๆ เช่น การเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืชร่วม เพื่อสร้างความยั่งยืนทางการเงิน ผู้อำนวยการยังกล่าวถึงความสำคัญของการเป็น Smart Farmer ที่ใช้ความรู้และเทคโนโลยีในการทำเกษตร และการเข้าร่วมโครงการรับรองมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน การสร้างรายได้เสริม: มีการแนะนำวิธีการสร้างรายได้เสริมจากการทำเกษตร เช่น การเลี้ยงสัตว์ การแปรรูปผลผลิต และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร คุณมานพ จี๋คีรี เกษตรกรดีเด่นตัวแทนจังหวัดนราธิวาส เรื่องของการจัดการสวนปาล์มที่สำคัญมี 3 ประเด็นหลัก ก็คือ เรื่องปุ๋ย เรื่องของการจัดการผลผลิต และการจัดการแรงงานในส่วนปาล์ม ความสำคัญของปุ๋ย: ปุ๋ยเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิตของปาล์มน้ำมัน การเลือกใช้ปุ๋ยที่เหมาะสมและการใส่ปุ๋ยอย่างถูกวิธีจะช่วยให้ต้นปาล์มแข็งแรง ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดี ชนิดของปุ๋ย: ปุ๋ยเคมี: ให้ธาตุอาหารหลักแก่พืช ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ปุ๋ยอินทรีย์: ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน เพิ่มจุลินทรีย์ในดิน และค่อยๆ ปล่อยธาตุอาหารให้พืชใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างปุ๋ยอินทรีย์ที่ใช้กับต้นปาล์ม ปุ๋ยหมัก: ผลิตจากวัสดุอินทรีย์ เช่น ขี้ไก่ ขี้วัว ใบไม้ หญ้าแห้ง ผสมกันหมักให้สลายตัวจนได้ปุ๋ยที่มีคุณภาพ ปุ๋ยคอก: ได้จากมูลสัตว์ เช่น ขี้วัว ขี้ควาย มูลไก่ มีธาตุอาหารค่อนข้างครบ ปุ๋ยพืชสด: ใช้พืชปุ๋ย เช่น ปอเทือง โสน ฝังกลบลงดินเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุและไนโตรเจนให้กับดิน ปุ๋ยชีวภาพ: ผลิตจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยและป้องกันโรคพืช การใส่ปุ๋ย: ปริมาณ: ขึ้นอยู่กับอายุของต้นปาล์ม สภาพดิน และผลผลิตที่ต้องการ ช่วงเวลา: ควรใส่ปุ๋ยในช่วงที่ต้นปาล์มต้องการธาตุอาหารมากที่สุด เช่น ช่วงก่อนออกดอกและช่วงติดผล การวิเคราะห์ดิน: การวิเคราะห์ดินก่อนการใส่ปุ๋ยจะช่วยให้ทราบถึงความต้องการธาตุอาหารของดินและสามารถปรับปรุงสูตรปุ๋ยให้เหมาะสมได้ การจัดการผลผลิตในสวนปาล์ม การเก็บเกี่ยว: ควรเก็บเกี่ยวผลปาล์มในระยะที่สุกแก่พอดี เพื่อให้ได้น้ำมันปาล์มที่มีคุณภาพสูง การขนส่ง: หลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว ควรขนส่งผลปาล์มไปยังโรงงานสกัดน้ำมันโดยเร็ว เพื่อป้องกันการเสื่อมเสียของผลผลิต การแปรรูป: ผลปาล์มจะถูกนำไปสกัดน้ำมัน และส่วนที่เหลือจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น อาหารสัตว์ ปุ๋ยหมัก การจัดการแรงงานในสวนปาล์ม การจ้างแรงงาน: อาจจ้างแรงงานประจำ หรือแรงงานตามฤดูกาล ขึ้นอยู่กับขนาดของสวนปาล์มและปริมาณงาน การฝึกอบรม: ควรมีการฝึกอบรมให้ความรู้แก่แรงงานเกี่ยวกับเทคนิคการทำงานที่ถูกต้อง เช่น การเก็บเกี่ยว การตัดแต่งกิ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดความเสียหายต่อต้นปาล์ม ความปลอดภัย: ควรมีมาตรการเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน เช่น การสวมใส่เครื่องป้องกันอันตราย การตรวจสอบเครื่องจักรและอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการสวนปาล์ม: สภาพดิน: ประเภทของดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาพอากาศ: ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ ข้อเสนอแนะ: 1. การปูใบในสวนปาล์มเป็นวิธีการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้จากการตัดแต่งทางใบปาล์มให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการนำมาปูคลุมพื้นดินในสวนปาล์ม ซึ่งวิธีการนี้มีข้อดีหลายประการและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ประโยชน์ของการปูใบในสวนปาล์ม เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน: ใบปาล์มที่ย่อยสลายจะกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ช่วยปรับปรุงโครงสร้างดิน ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และมีปริมาณธาตุอาหารเพิ่มขึ้น ลดการชะล้างหน้าดิน: ใบปาล์มที่ปูคลุมดินจะช่วยลดแรงกระแทกของฝน ช่วยลดการชะล้างหน้าดินและการสูญเสียธาตุอาหาร รักษาความชื้นในดิน: ใบปาล์มจะช่วยลดการระเหยของน้ำจากดิน ทำให้ดินมีความชื้นคงที่ เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของรากพืช ลดการเกิดวัชพืช: ใบปาล์มที่ปูคลุมดินจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืช ลดต้นทุนในการกำจัดวัชพืช ปรับปรุงสภาพแวดล้อม: การปูใบปาล์มจะช่วยลดความร้อนของดิน ช่วยปรับอุณหภูมิในสวนให้เหมาะสม และยังช่วยปรับปรุงสภาพแวดล้อมโดยรวมของสวนปาล์ม วิธีการปูใบในสวนปาล์ม เตรียมใบปาล์ม: ตัดแต่งทางใบปาล์มที่ไม่ต้องการแล้วนำมาตัดเป็นชิ้นเล็กๆ หรือท่อนสั้นๆ เพื่อให้ย่อยสลายได้เร็วขึ้น ปูใบปาล์ม: นำใบปาล์มที่เตรียมไว้มาปูคลุมพื้นดินในสวนปาล์มให้ทั่วถึง โดยความหนาของใบปาล์มที่ปูควรประมาณ 5-10 เซนติเมตร บำรุงรักษา: หลังจากปูใบปาล์มแล้ว ควรมีการเติมใบปาล์มลงไปเป็นระยะๆ เพื่อรักษาความหนาของชั้นใบปาล์มให้คงที่ ข้อควรระวัง ความสะอาด: ควรเลือกใบปาล์มที่สะอาด ไม่ปนเปื้อนสารเคมีหรือโรคแมลง ความหนา: การปูใบปาล์มหนาเกินไปอาจทำให้เกิดสภาวะขาดอากาศในดินได้ ความถี่: ควรมีการเติมใบปาล์มลงไปเป็นระยะๆ เพื่อรักษาความหนาของชั้นใบปาล์มให้คงที่ 2. การใช้เทคโนโลยี: การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการสวนปาล์ม เช่น ระบบการให้น้ำแบบอัตโนมัติ เครื่องจักรกลการเกษตร จะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต 3. การรวมกลุ่มของเกษตรกร: การรวมกลุ่มของเกษตรกรจะช่วยให้เกษตรกรมีอำนาจในการต่อรอง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น 4. การพัฒนาสายพันธุ์: การพัฒนาสายพันธุ์ปาล์มน้ำมันให้มีผลผลิตสูง ทนทานต่อโรคและแมลง จะช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ความสำคัญของความรู้และเทคโนโลยี: เกษตรกรควรตระหนักถึงความสำคัญของการนำความรู้และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการทำเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิต

เป้าหมายของการประชุม: 1. ส่งเสริมให้เกษตรกรมีองค์ความรู้และทักษะในการจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ 2. สนับสนุนให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรแบบยั่งยืน 3. ให้ข้อมูล รายละเอียดที่เป็นประโยชน์ในการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร 4. พัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน ข้อเสนอแนะ: การจัดอบรม: ควรจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ได้จริง การสนับสนุนด้านเงินทุน: ควรมีมาตรการสนับสนุนด้านเงินทุนให้แก่เกษตรกรที่ต้องการปรับเปลี่ยนระบบการผลิต การสร้างเครือข่าย: ควรสร้างเครือข่ายระหว่างเกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สรุปโดยรวม: การประชุมครั้งนี้เป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการทำสวนปาล์มน้ำมัน โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและพัฒนาภาคการเกษตรให้มีความยั่งยืน

  • photo 1732071764191.jpg1732071764191.jpg
  • photo 1732071666043.jpg1732071666043.jpg
  • photo 1732071665957.jpg1732071665957.jpg
  • photo 1732071662783.jpg1732071662783.jpg
  • photo 1732070477928.jpg1732070477928.jpg
  • photo 1732070477120.jpg1732070477120.jpg
  • photo 1732070480358.jpg1732070480358.jpg
  • photo 1732070481849.jpg1732070481849.jpg
  • photo 1732070481114.jpg1732070481114.jpg
  • photo 1732070482663.jpg1732070482663.jpg
  • photo 1732070483404.jpg1732070483404.jpg
  • photo 1732070484511.jpg1732070484511.jpg
  • photo 1732070485178.jpg1732070485178.jpg
  • photo 1732070486875.jpg1732070486875.jpg
  • photo 1732070486103.jpg1732070486103.jpg
  • photo 1732070487870.jpg1732070487870.jpg
  • photo 1732070488559.jpg1732070488559.jpg
  • photo 1732070489252.jpg1732070489252.jpg
  • photo 1732070490816.jpg1732070490816.jpg
  • photo 1732070490068.jpg1732070490068.jpg
  • photo 1732070491873.jpg1732070491873.jpg
  • photo 1732070492510.jpg1732070492510.jpg
  • photo 1732070493819.jpg1732070493819.jpg
  • photo 1732070493232.jpg1732070493232.jpg
  • photo 1732070494434.jpg1732070494434.jpg
  • photo 1732070495784.jpg1732070495784.jpg
  • photo 1732070495159.jpg1732070495159.jpg
  • photo 1732070496513.jpg1732070496513.jpg
  • photo 1732070497831.jpg1732070497831.jpg
  • photo 1732070497229.jpg1732070497229.jpg
  • photo 1732070498587.jpg1732070498587.jpg
  • photo 1732070499919.jpg1732070499919.jpg
  • photo 1732070499278.jpg1732070499278.jpg
  • photo 1732070475884.jpg1732070475884.jpg

 

0 0

6. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการทำงานเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลงสวนคุณทศพล รุ่งเรืองใบหยก

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการทำงานเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลงสวนคุณทศพล รุ่งเรืองใบหยก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการทำงานเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลงสวนคุณทศพล รุ่งเรืองใบหยก โดย ดร.ไชยยะ คงมณี รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ บทสัมภาษณ์ คุณทศพล รุ่งเรืองใบหยก เกษตรกรรุ่นใหม่ผู้เปลี่ยนผ่านจากรุ่นพ่อมาสู่รุ่นลูก เป็นต้นแบบเกษตรกรชาวสวนยางเกษตรกรที่ทำการเกษตรแบบยั่งยืน อายุ 39 ปี เป็นเลขานุการของสหกรณ์ ต.ตาเนาะแมเราะ เลขานุการของเครือข่ายเบตง และเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เกษตรผสมผสานเบตง ยะลา เกษตรผสมผสานในเบตง กำลังเป็นที่สนใจและได้รับการส่งเสริมอย่างมาก เนื่องจากเป็นรูปแบบการทำเกษตรที่สอดคล้องกับธรรมชาติและมีความยั่งยืน สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร และยังส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรอีกด้วย จุดเด่นของเกษตรผสมผสานในเบตง: 1. ความหลากหลายของพืชผล: มีการปลูกพืชผัก ผลไม้หลากหลายชนิด เช่น ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง รวมถึงพืชผักสวนครัวต่างๆ 2. การเลี้ยงสัตว์: นอกจากการปลูกพืชแล้ว ยังมีการเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ เป็ด ปลา เพื่อเพิ่มความหลากหลายของรายได้ 3. การใช้ประโยชน์จากพื้นที่อย่างคุ้มค่า: การปลูกพืชหลายชนิดในพื้นที่เดียวกัน ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ และลดการใช้สารเคมี 4. การสร้างระบบนิเวศ: เกษตรผสมผสานช่วยสร้างระบบนิเวศที่สมดุล ทำให้มีแมลงผสมเกสรและสัตว์มีประโยชน์อื่นๆ ช่วยในการควบคุมศัตรูพืช 5. การสร้างรายได้: สามารถสร้างรายได้จากการขายผลผลิตทางการเกษตรทั้งในรูปแบบสดและแปรรูป 6. การส่งเสริมการท่องเที่ยว: สวนเกษตรผสมผสานสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชมและเรียนรู้วิถีชีวิตของเกษตรกร ปัจจัยที่สนับสนุนความสำเร็จ สภาพภูมิอากาศและดิน:
เบตงมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการปลูกพืชหลายชนิด และดินมีความอุดมสมบูรณ์ ความรู้และประสบการณ์ของเกษตรกร:
เกษตรกรในเบตงมีความรู้และประสบการณ์ในการทำเกษตรผสมผสานมานาน การสนับสนุนจากภาครัฐและองค์กรต่างๆ:
มีการสนับสนุนด้านการวิจัย การพัฒนา และการตลาด กลุ่มสหกรณ์ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถพัฒนาศักยภาพของตนเองได้ ความร่วมมือของชุมชน: ชุมชนมีความร่วมมือกันในการพัฒนาเกษตรผสมผสาน ทำให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน ผลสำเร็จของโครงการเกษตรผสมผสานในเบตง: การพัฒนาชุมชน: ช่วยให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ: ช่วยรักษาสภาพแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ การสร้างแบรนด์สินค้า: ผลิตภัณฑ์จากเกษตรผสมผสานได้รับการยอมรับและมีมูลค่าเพิ่ม ตัวอย่างโครงการที่น่าสนใจ: 1. โครงการพัฒนาต้นแบบเกษตรผสมผสานตามหลักทฤษฎีใหม่: โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามวิถีชุมชนของบ้านปิยะมิตร 3 อำเภอเบตง 2. กลุ่มเกษตรกร ต.ตาเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา มีระบบการเลี้ยงที่แตกต่างจากฟาร์มปลานิลในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะการเลี้ยงด้วยระบบสายน้ำไหลธรรมชาติ ทำให้ปลานิลที่นี่ ไม่มีกลิ่นดิน กลิ่นโคลนในเนื้อปลาแม้ระบบน้ำจึงเป็นความได้เปรียบ ด้วยความที่เป็นน้ำจากแหล่ง น้ำธรรมชาติจากภูเขาน้ำใสไหล และมีความเย็น บ่อที่ใช้เลี้ยงไม่ลึกมาก เนื่องจากถ้าน้ำลึกปลาจะโตช้า ระบบน้ำหมุนเวียนจะใช้ท่อขนาดใหญ่ต่อด้วยท่อเล็กลงสองระดับ เพิ่มให้น้ำที่ไหลออกมามีความแรง เพิ่มออกซิเจนในน้ำและเป็นการกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้มากขึ้น และวิธีการจัดการการเลี้ยงปลาที่มี นวัตกรรมการเลี้ยงปลาแบบระบบหนาแน่น พื้นที่ประมาณ 100 ตารางเมตร เลี้ยงปลา 6,500 ตัว มากกว่า การเลี้ยงในแบบของกรมประมงหลายเท่าตัว ถ้าเป็นการเลี้ยงในรูปแบบของกรมประมง ในพื้นที่ 1 ไร่จะเลี้ยง ปลาประมาณ 2,500 ตัว โดยจัดทำระบบน้ำจะใช้ท่อขนาดใหญ่ต่อน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีความสะอาดเย็นอุณหภูมิ ประมาณ 19-20 องศาเซลเซียส ต่อท่อที่ขนาดเล็กลงก่อนจะไหลลงกระทบผืนน้ำในบ่อเลี้ยงปลา ทำให้เกิด การเติมออกซิเจนลงไป และมีการระบายน้าออกจากบ่อสม่ำเสมอ โดยหมุนเวียนไปในบ่อเลี้ยงปลาบ่ออื่นๆ ที่จัดเรียงตัวลดหลั่นกันไปเป็นขั้นบันได ก่อนจะลงในบ่อบําบัดเป็นบ่อสุดท้ายก่อนจะปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ซึ่งจากการตรวจวัดค่าไนโตรเจนในน้ำพบว่าน้ำปลายทางคุณภาพแทบไม่ต่างจากต้นทาง เมื่อน้ำสะอาดปลาก็ สามารถเติบโตได้ดี ปริมาณปลาที่เลี้ยงมากเท่าใดก็ไม่ส่งผลกระทบ สามารถเลี้ยงในระบบหนาแน่นได้ แต่อยู่ใน อัตราที่ไม่มากเกินไป โดยบ่อขนาด 40 ตารางเมตร ปล่อยปลา 13,000 ตัว ปลาเติบโตดี มีเนื้อเยอะ ไม่มีกลิ่น คาว ในขณะที่บ่อเลี้ยงปลาทั่วไปที่น้ำไม่มีการไหลเวียนและมีอุณหภูมิสูงทให้เกิดสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินซึ่ง เมื่อปลากินสาหร่ายนี้เข้าไปทำให้เนื้อปลามีกลิ่น
การใช้ประโยชน์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเลี้ยงปลาระบบน้ำไหล 1. ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ของกรมประมง 2. หมู่บ้านปลาในสายน้ำไหล (Fillage) เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับเกษตรกรและผู้สนใจ 3. ปลาที่ไม่ได้น้ำหนักหรือตกไซส์ มีการนํามาแปรรูปเป็นปลานิลแดดเดียวและขลุ่ยปลานิล ออกจําหน่ายเป็นสินค้า OTOP 4. เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้เลี้ยงปลา 5. มีตลาดการส่งออก โดยการแล่เนื้อปลา ผ่านกระบวนการแช่แข็งที่ทันสมัยและส่งออกไปยังตะวันออก กลางและฝรั่งเศส 6. อยู่ในขั้นตอนการยื่นขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เพื่อให้ปลานิลในพื้นที่เชิงเขาสันกาลา คีรี เป็นที่รู้จักในระดับโลกต่อไป


อาชีพเสริมรายได้
การปลูกไม้เนื้ออ่อน การปลูกไม้เนื้ออ่อนเป็นอาชีพเสริมที่เบตง ยะลา: โอกาสและสิ่งที่ต้องพิจารณา การปลูกไม้เนื้ออ่อนเป็นอาชีพเสริมในพื้นที่เบตง ยะลา นับเป็นแนวคิดที่ดีค่ะ เนื่องจากสภาพภูมิอากาศและดินที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของไม้หลายชนิด ซึ่งอาจนำมาต่อยอดเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้เป็นอย่างดี ข้อดีของการปลูกไม้เนื้ออ่อนในพื้นที่เบตง ยะลา สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย: สภาพภูมิอากาศและดินในพื้นที่เบตง ยะลา เหมาะสมต่อการปลูกไม้เนื้ออ่อนหลายชนิด ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดี ความต้องการของตลาด: ไม้เนื้ออ่อนมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง และมีความต้องการในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นการลงทุนระยะยาว: การปลูกไม้เนื้ออ่อนเป็นการลงทุนระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนในอนาคต ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม: การปลูกป่าช่วยลดปัญหาการกัดเซาะดิน ป้องกันน้ำท่วม และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ปัจจัยที่ต้องพิจารณาก่อนเริ่มต้น ชนิดของไม้: เลือกชนิดของไม้เนื้ออ่อนที่เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศและตลาด เช่น ไม้สัก ไม้แดง ไม้ประดู่ พื้นที่ปลูก: พิจารณาพื้นที่ที่มีอยู่ว่าเหมาะสมกับการปลูกไม้หรือไม่ ควรมีการเตรียมดินและระบบน้ำที่ดี การดูแลรักษา: การปลูกไม้ต้องใช้เวลาและความอดทนในการดูแลรักษา ตรวจสอบโรคแมลง และการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ตลาด: ศึกษาตลาดและช่องทางการจำหน่ายผลผลิตก่อนลงทุน เพื่อให้มั่นใจว่ามีตลาดรองรับ กฎหมายและระเบียบ: ศึกษากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปลูกป่าและการตัดไม้ เพื่อป้องกันปัญหาทางกฎหมาย ขั้นตอนการเริ่มต้นปลูกไม้เนื้ออ่อน ศึกษาข้อมูล: ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับชนิดของไม้ วิธีการปลูก การดูแล และตลาด เตรียมพื้นที่: เตรียมพื้นที่ปลูก กำจัดวัชพืช และปรับปรุงดิน เลือกซื้อกล้าไม้: เลือกซื้อกล้าไม้พันธุ์ดีจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ปลูกกล้าไม้: ปลูกกล้าไม้ตามระยะที่เหมาะสม ดูแลรักษา: ดูแลรักษาต้นไม้ให้อยู่รอดและเจริญเติบโต การตลาด: หาช่องทางการจำหน่ายผลผลิต





การปลูกยางพารา สถานการณ์ปัจจุบัน 1. ปัญหาของเกษตรชาวสวนยางที่พบส่วนมากในพื้นที่ คือ การไม่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรตั้งแต่แรก ไม่มีรายชื่อ รายชื่อตกหล่นเนื่องจากขึ้นทะเบียนไว้อยู่ในตำบล เทศบาล โดยไม่แจ้งหมู่ นอกจากนี้ ยังพบว่า ชาวสวนยางในพื้นที่นิคมสร้างตนเอง ไม่มีเอกสารสิทธิ์ หรือหนังสือการรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน ไม่มีใบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) ขณะที่พื้นที่สวนยาง ในเขตเทศบาลเมืองเบตง พบว่า เป็นที่ดิน สทก. ซึ่งเป็นหนังสืออนุญาตแก่ผู้ที่เข้าไปบุกรุกทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เป็นผู้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินเท่านั้น 2. ปัญหาราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ถือเป็นปัญหาสำคัญของเกษตรกรไทยที่ต้องพึ่งพากลไกของรัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือ โดยเฉพาะเรื่องยางพารา ที่ผันผวนอย่างต่อเนื่องตามปริมาณการผลิตและปริมาณความต้องการของตลาด ราคาต่ำลงจนเกือบน้อยกว่าต้นทุนการผลิต
การเตรียมพื้นที่ปลูก 1. เลือกพื้นที่: เลือกพื้นที่ที่มีดินร่วนปนทราย ระบายน้ำดี ไม่เป็นแอ่งน้ำ และได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ 2. เตรียมดิน: ไถพรวนดินให้ละเอียด กำจัดวัชพืช และปรับระดับพื้นที่ให้เรียบเสมอกัน 3. ทำหลุมปลูก: ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาว และลึกประมาณ 50 เซนติเมตร 4. ใส่ปุ๋ยรองพื้น: ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงในหลุมปลูก เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน 5. การเลือกพันธุ์และการปลูก 6. เลือกพันธุ์: เลือกพันธุ์ยางพาราที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และตลาด เช่น พันธุ์ RRIM 600, PB 260 เป็นต้น 7. ปลูกกล้า: นำกล้ายางพาราที่แข็งแรงลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ กลบดินให้แน่นและรดน้ำให้ชุ่ม 8. ระยะปลูก: ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 7-8 เมตรต่อแถว และ 4-5 เมตรต่อต้น การดูแลรักษา การให้น้ำ: รดน้ำให้ยางพาราอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง การใส่ปุ๋ย: ใส่ปุ๋ยตามระยะเวลาที่กำหนด โดยพิจารณาจากอายุของยางพาราและสภาพดิน การตัดแต่งกิ่ง: ตัดแต่งกิ่งที่แห้งตายหรือเป็นโรค และตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ทรงพุ่มสวยงาม การป้องกันกำจัดศัตรูพืช: หมั่นตรวจสอบสวนยางพารา เพื่อป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เช่น มดแดง หนอนเจาะลำต้น โรครากเน่า เป็นต้น การกรีดยาง อายุการกรีด: ยางพาราสามารถเริ่มกรีดได้เมื่ออายุประมาณ 6 ปีขึ้นไป วิธีการกรีด: มีหลายวิธีการกรีด เช่น ระบบกรีดเอียง ระบบกรีดสี่เหลี่ยม ซึ่งขึ้นอยู่กับความถนัดของเกษตรกร ฤดูกาลกรีด: ควรกรีดยางพาราในช่วงฤดูฝน เพื่อให้ได้น้ำยางที่มีปริมาณมากและมีคุณภาพดี ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลผลิตยางพารา พันธุ์ยางพารา: พันธุ์ยางพาราแต่ละพันธุ์จะมีลักษณะและผลผลิตที่แตกต่างกัน สภาพดิน: ดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง จะทำให้ยางพาราเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูง สภาพอากาศ: อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนที่เหมาะสม จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของยางพารา

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.พัฒนายกระดับต้นแบบการทําเกษตรกรรมยั่งยืนใน พื้นที่เป้าหมายและขับเคลื่อนให้เกิดการขยายผล (Model for Scaling up)
ตัวชี้วัด : 1. มีต้นแบบที่ยกระดับการทําเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่จํานวน 10 แห่งพร้อมถอดบทเรียนกระบวนการทํางานเป็นเอกสาร สําหรับนําไปใช้เสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการขยายผล (Modelfor Scaling up) ในพื้นที่เป้าหมาย 2. มีชุดความรู้/แนวทางปฏิบัติ/คู่มือ ในการยกระดับการทําเกษตรกรรมยั่งยืนอย่างน้อย 1 เรื่องคือ Model เกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางพารากรณีสามจังหวัดภาคใต้ชายแดน พร้อมทั้งนําไปใช้ขับเคลื่อนการดําเนินงาน และเผยแพร่สู่สาธารณะ

 

2 2.ขับเคลื่อนและยกระดับ โมเดล (good practice) ใน การกระจาย เชื่อมโยง ผลผลิต อาหารเพื่อสุข ภาวะให้กับ ประชาชนใน ชุมชน ผ่าน กลไกต่างๆ ไปสู่การขยาย ผล (Model for Scaling up)
ตัวชี้วัด : 1. เกิดรูปแบบการกระจายเชื่อมโยงผลผลิตอาหารที่เพิ่มการเข้าถึงอาหารเพื่อสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ Model forScaling up (โมเดลที่พร้อมขยายผล) อย่างน้อย 1 กรณีเช่น กลไกหน่วยงาน สหกรณ์การเกษตร ตลาดสีเขียวในชุมชนทั้งในรูปแบบออนไลน์และ onsiteพร้อมทั้งถอดบทเรียนกระบวนการทํางานเป็นเอกสาร และนําบทเรียนกระบวนการทํางานไปใช้ เสนอต่อผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากําหนดเป็นนโยบาย 2. มีชุดความรู้/แนวทางปฏิบัติ/คู่มือ ในการกระจาย เชื่อมโยงผลผลิตอาหารที่เพิ่มการเข้าถึงอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างน้อย 1 เรื่อง คือ Modelตลาดอาหารปลอดภัยในระดับโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา พร้อมทั้งนําไปขับเคลื่อนการดําเนินงานและใช้เผยแพร่สู่สาธารณะ

 

3 3.พัฒนา ต้นแบบการ ส่งเสริมความ รอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุข ภาวะ (ความ มั่นคงอาหาร/ อาหาร ปลอดภัย/ โภชนาการ) ให้กับ ประชาชนใน พื้นที่เพื่อปรับ พฤติกรรม การบริโภค และร่วมพลัง เป็นพลเมือง อาหาร
ตัวชี้วัด : มีต้นแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุขภาวะ (ความมั่นคงอาหาร/อาหารปลอดภัย/โภชนาการ) ในพื้นที่ตําบลสุคิริน จังหวัดนราธิวาส และมีรายงานติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนในพื้นที่เป้าหมายที่เกิดขึ้นจากการสร้างความรอบรู้ด่านอาหารเพื่อสุขภาวะ โดยนําผลไปปรับปรุงการดําเนินงานและจัดทําแผนยุทธศาสตร์ท้องถิ่น พร้อม ทั้งเผยแพร่ความรู้ด้านอาหารเพื่อสุขภาวะสู่สาธารณะ

 

4 4.พัฒนา ระบบ/กลไก เฝhาระวัง ผลผลิต ปลอดภัย เทศบาลนคร ยะลา จ.ยะลา
ตัวชี้วัด : ร่วมกับเครือข่ายพัฒนาระบบ/กลไกเฝ้าระวังการจัดการผลผลิตปลอดภัยอย่างน้อย 1 กรณี คือระบบเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยเทศบาลนครยะลา จ. ยะลา พร้อมทั้งติดตามประเมินผลระบบ/กลไกเฝ้าระวังฯ โดยระบบ/กลไกเฝ้าระวังฯถูกนําไปใช้เสนอต่อผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณากําหนดเป็นนโยบาย

 

5 5.พัฒนา ต้นแบบ ระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ ตลอดห่วงโซ่ ที่แก้ปัญหา ภาวะ โภชนาการใน กลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และกลุ่ม เปราะบาง
ตัวชี้วัด : มีต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในชุมชนอย่างน้อย 6 แห่ง (ใหม่) ได้แก่ ตําบลยะหริ่ง ตําบลปานาแระตําบลสะดาแวะ ตําบลนํ้าดํา ตําบลนาเกตุ ตําบลดอนรัก ที่่แก้ปัญหาภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กเล็กนักเรียน และกลุ่มเปราะบาง โดยมีรายงานการติดตามผลการเชื่อมโยงระบบอาหารตั้งแต่การผลิต (ต้นทาง) การกระจาย/การจําหน่าย(กลางทาง) และการบริโภค (ปลายทาง) พร้อมนําไปใช้สื่อสารสู่สาธารณะ เพื่อให้เกิดการขยายผล

 

6 6.พัฒนาและ ขับเคลื่อน นโยบาย สาธารณะ เพื่อส่งเสริม บริโภค อาหารเพื่อสุข ภาวะ/ระบบ อาหารที่ ยั่งยืน
ตัวชี้วัด : 1. มีข้อเสนอนโยบายสาธารณะที่ส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ โดยผ่านกลไกงบประมาณกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส)อย่างน้อย 1 เรื่อง คือประเด็นความมั่นคงทางอาหาร พร้อมทั้งนํามาใช้สื่อสารสู่สาธารณะเพื่อให้เกิดกระแสสังคมในการขับเคลื่อนนโยบาย และผลักดันต่อผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากําหนดเป็นนโยบาย 2. มีข้อเสนอนโยบายสาธารณะด้านอาหารปลอดภัยในระดับจังหวัดปัตตานี พร้อมทั้งนํามาใช้สื่อสารสู่สาธารณะเพื่อให้เกิดกระแสสังคมในการขับเคลื่อนนโยบาย และผลักดันต่อผู้บริหารหน่วยงานเพื่อพิจารณาการกําหนดเป็นนโยบาย 3. มีข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียนอย่างน้อย 1 เรื่อง คือนโยบายแก้ปัญหาเด็กเตี้ยเด็กผอมจังหวัดปัตตานีพร้อมทั้งนํามาใช้สื่อสารสูสาธารณะเพื่อให้เกิดกระแสสังคมในการขับเคลื่อนนโยบาย และผลักดันต่อผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาการกําหนดเป็นนโยบาย

 

7 7.พัฒนาฐาน ข้อมูลและ แผนภาพ เพื่อใช้ขับ เคลื่อนและ บูรณาการทํา งานระบบ อาหารตลอด ห่วงโซ่
ตัวชี้วัด : เกิด Mapping ที่แสดงให้เห็นต้นทุนการทํางานและการเชื่อมโยงระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ จํานวน 4จังหวัด ได้แก่ สงขลาปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ความรู้ พื้นที่ดําเนินงาน ภาคีเครือข่าการขับเคลื่อนนโยบายการเชื่อมโยงระหว่างการผลิต การกระจาย/ตลาดการบริโภค) เพื่อใช้บูรณาการทํางานและสื่อสารสู่สาธารณะ

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.พัฒนายกระดับต้นแบบการทําเกษตรกรรมยั่งยืนใน พื้นที่เป้าหมายและขับเคลื่อนให้เกิดการขยายผล (Model for Scaling up) (2) 2.ขับเคลื่อนและยกระดับ โมเดล (good practice) ใน การกระจาย เชื่อมโยง ผลผลิต อาหารเพื่อสุข ภาวะให้กับ ประชาชนใน ชุมชน ผ่าน กลไกต่างๆ ไปสู่การขยาย ผล (Model for Scaling up) (3) 3.พัฒนา ต้นแบบการ ส่งเสริมความ รอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุข ภาวะ (ความ มั่นคงอาหาร/ อาหาร ปลอดภัย/ โภชนาการ) ให้กับ ประชาชนใน พื้นที่เพื่อปรับ พฤติกรรม การบริโภค และร่วมพลัง เป็นพลเมือง อาหาร (4) 4.พัฒนา ระบบ/กลไก เฝhาระวัง ผลผลิต ปลอดภัย เทศบาลนคร ยะลา จ.ยะลา (5) 5.พัฒนา ต้นแบบ ระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ ตลอดห่วงโซ่ ที่แก้ปัญหา ภาวะ โภชนาการใน กลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และกลุ่ม เปราะบาง (6) 6.พัฒนาและ ขับเคลื่อน นโยบาย สาธารณะ เพื่อส่งเสริม บริโภค อาหารเพื่อสุข ภาวะ/ระบบ อาหารที่ ยั่งยืน (7) 7.พัฒนาฐาน ข้อมูลและ แผนภาพ เพื่อใช้ขับ เคลื่อนและ บูรณาการทํา งานระบบ อาหารตลอด ห่วงโซ่

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1. ขับเคลื่อนรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนให้เกิด การขยายผลในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ชายแดนเพื่อนําไปสู้การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ (2) 2. พัฒนาฐานข้อมูลและแผนภาพอาหารทั้ง 4 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส เพื่อใช้บูรณาการทํางานระบบอาหารและโภชนาการ และสื่อสารสู่สาธารณะ (3) 1.2 ทีมนักวิชาการออกแบบหลักสูตรเกษตรกรรมยั่งยืนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ จากเกษตรกร 10 แห่ง และออกแบบเครื่องมือประเมินความมั่นคงทางอาหาร ระดับครัวเรือน (นำไปใช้ประเมินกลุ่มเป้าหมาย 200 คน) (4) 2.1 ทีมนักวิชาการออกแบบเครื่องมือ จัดทำชุดแผนภาพอาหาร ใน 4 จังหวัด สงขลา ปัตตานี ยะลาและ นราธิวาส (5) 3. พัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมบริโภคอาหารเพื่อสุข ภาวะ/ระบบอาหารที่ยั่งยืน โดยกลไกกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (จังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) กลไกผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กลไกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี (6) 4. กิจกรรมการสื่อสารสาธารณะและการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย (7) 5. การติดตามประเมินผลภายนอก (8) 1.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความร่วมมือการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (9) 1.3 สนส. และทีมวิชาการสร้างปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่งให้มีความพร้อมเป็นจุดถ่ายทอดการทำเกษตรกรรมยั่งยืน การเป็นทีมวิทยากร (10) 2.2 เก็บข้อมูลตามแบบเครื่องมือ (11) 3.1 ประชุมทีมคณะเศรษฐศาสตร์มอ. เพื่อวางแผนประเมินโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนากลุ่มจังหวักภาคใต้ชายแดน และแผนของอบจ. แผนปี 65และ66 เพื่อประเมินถึงความคุ้มค่าในมิติทางด้านเศรษฐกิจและสังคม (12) 3.4 การประชุมกำหนดวาระนโยบายเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร นโยบายการแก้ปัญหาโภชนาการเด็ก ให้อยู่ในแผนของกลุ่มจังหวัดและอบจ. ปัตตานี (13) 4.1 ประสานกับวิทยุมอ.88 หาดใหญ่ มอ.ปัตตานี เอามาออกแบบการพัฒนาประเด็นสื่อสาร ข้อเสนอเชิงนโยบายความมั่นคงทางอาหาร การทำเกษตรกรรมยั่งยืน ตลาดสีเขียวในชุมชน อาหารปลอดภัย นโยบายแก้ปัญหาด้านโภชนาการ เช่นเด็กเตี้ย เด็กผอม (14) 5.1. ติดตามประเมินผลภายในโครงการ เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามตัวชี้วัดและให้ข้อเสนอแนะต่อผู้รับผิดชอบโครงการรวมทั้งช่วยประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เช่นค่าใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลประโยชน์ (15) 6. นําเสนอระบบ/กลไกเฝ้าระวังอาหารปลอดภัย ให้กับผู้บริหารหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากําหนดเป็นนโยบาย (16) 1.4 จัด workshop ให้เกษตรกร 200 คน ในพื้นที่แปลงเรียนรู้ของเกษตรกรต้นแบบ พร้อมกับประเมินความมั่นคงทางอาหาร ของกลุ่มเป้าหมาย 200 คน (17) 3.2 ทีมนักวิชาการลงพื้นที่ประเมินโครงการ (18) 6.1 การจัดประชุมนำเสนอรูปแบบของกลไกคณะทำงานอาหารปลอดภัยยะลา และนำเสนอรูปแบบให้กับผู้บริหารนครยะลา เพื่อให้เทศบาลนครยะลาดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (19) 2.3 ออกแบบโปรแกรมระบบฐานข้อมูลแผนภาพอาหาร และบันทึกข้อมูล (20) 3.3 นักวิชาการนำผลการประเมินคืนให้กับส่วนราชการที่ดำเนินโครงการ พร้อมกับworkshop การยกระดับการทำแผนงานโครงการที่ตอบความคุ้มค่าในมิติเศรษฐกิจและสังคม (21) 1.6 เดือน ก.ค.ประเมินความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน เกษตรกร 200 คน (ประเมินหลังการเข้าร่วมกิจกรรม) (22) 2.4 มีการประชุมเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้ง 4 จังหวัดให้เกิดการนำโปรแกรมระบบฐานข้อมูลแผนภาพอาหารไปใช่ออกแบบโครงการที่เกี่ยวกับความมั่นคงอาหาร หรือตลาด หรือการเชื่อมเครือข่าย หรือการจัดการความรู้ (23) 4.2 จัดเวทีนโยบายในพื้นที่(คลายๆ Thai pbs) (24) 7. การพัฒนาชุดความรู้ แนวทางปฏิบัติ และคู่มือ Model เกษตรกรรมยั่งยืนใน สวนยางพารา ขยายผลกับการยางแห่งประเทศไทยสามจังหวัดภาคใต้ชายแดน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (25) 7.1 นักวิชาการลงพื้นที่ ประเมินแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่ง ถอดบทเรียนการเป็นแหล่งเรียนรู้ และจัดทำ model แหล่งเรียนรู้ฯ จัดทำเป็นแนวทางปฏิบัติการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางพารา (26) 7.2 จัดประชุมแลกเปลี่ยนการทำเกษตรกรรมยั่งยืน ในรูปแบบการจัดประชุมวิชาการ หรือการจัดสมัชชาเรื่องสวนยางยั่งยืน ทั้ง onsite และ online (27) 1.5 ระบบติดตามสนับสนุนให้คำปรึกษาการทำเกษตรกรรมยั่งยืน (กลุ่มไลน์) ให้กับแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่ง และแกนนำเกษตรกร 200 คน (28) จัดทำสารคดี รูปแบบเกษตรผสมผสาน กรณีศึกษา ทศพล รุ่งเรืองใบหยก (29) โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส (30) โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่ (31) โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่ (32) กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการทำงานเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลงสวนคุณมานพจี๋ คีรี (33) กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการทำงานเกษตรกรรมยั่งยืนในรูปแบบระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลงสวนคุณทศพล รุ่งเรืองใบหยก

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 66-00459

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( อ.ดร.เพ็ญ สุขมาก )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด