สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดยะลา

assignment
บันทึกกิจกรรม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้แปลงต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืน อำเภอเบตง จังหวัดยะลา11 สิงหาคม 2567
11
สิงหาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Yadaporn Yimkaew
  • 1723437682281.jpg
  • 1723437732402.jpg
  • IMG_20240811_130220.jpg
  • IMG_20240811_121129.jpg
  • IMG_20240811_130139.jpg
  • 1723437287551.jpg
  • IMG_20240811_130255.jpg
  • 1723437212734.jpg
  • 1723437218776.jpg
  • 1723437237268.jpg
  • 1723437242490.jpg
  • 1723437257986.jpg
  • 1723437323621.jpg
  • 1723437347219.jpg
  • 1723437306987.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่ สวนมังคุดในสายหมอก นายสุขสรรค์ วุฒิพิทักษ์ศักดิ์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่ สวนมังคุดในสายหมอก นายสุขสรรค์ วุฒิพิทักษ์ศักดิ์ บทสัมภาษณ์คุณสุขสรรค์ วุฒิพิทักษ์ศักดิ์ เลขานุการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดทุเรียนอินทรีย์ อ.เบตง เริ่มทำเกษตรตั้งแต่ปี 2554 หลังจากที่เขาทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ ประมาณปีครึ่ง และต้องกลับมาดูแลพ่อที่ป่วยเป็นโรคความดัน ไม่มีใครดูแล เขาจึงตัดสินใจผันตัวกลับมาทำเกษตรในช่วงเวลานั้น ทำเกษตรเกี่ยวกับผลไม้หลักๆ ได้แก่: มังคุด ทุเรียน ลองกอง ในช่วงเริ่มต้นทำเกษตร คุณสุขสันต์เผชิญกับปัญหาหลายอย่าง ทั้งผลผลิตไม่สวยและไม่ตรงตามมาตรฐาน ทำให้ขายได้ในราคาต่ำ การดูแลผลไม้ไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ราคาผลไม้ในตลาดต่ำ ทำให้ขาดรายได้ จึงแก้ปัญหาโดยรวมกลุ่มมังคุดแปลงใหญ่น้ำทิพย์ กับเกษตรกรคนอื่นๆ เพื่อศึกษาและพัฒนาคุณภาพของมังคุด เรียนรู้วิธีการปลูกและดูแลที่มีประสิทธิภาพ และปรับปรุงวิธีการดูแลผลไม้ให้ดีขึ้น เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูงขึ้น การรวมกลุ่มนี้ช่วยให้เขาได้รับความรู้และเทคนิคใหม่ๆ ผลผลิตจึงมีคุณภาพดีขึ้น อีกทั้งศึกษาและเรียนรู้จากการไปเยี่ยมชมแปลงเกษตรที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่อื่นๆ เช่น ชุมพร การเรียนรู้จากแหล่งเหล่านี้ช่วยให้สามารถปรับปรุงวิธีการทำเกษตรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันคุณสุขสรรค์มีพื้นที่ปลูกมังคุดอินทรีย์ จำนวนทั้งหมด 8 ไร่ รวมจำนวนต้นทั้งหมด 155 ต้น อ.เบตง มีการใช้สารเคมีน้อยมากจึงทำให้เกิดแนวความคิดการรวมกลุ่มทำมังคุดอินทรีย์ขึ้นเพื่อที่จะยกระดับคุณภาพ และราคาของมังคุดในพื้นที่ อ.เบตง ให้มีราคาสูงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งลักษณะเด่นของมังคุดอินทรีย์เบตง คือ ลูกใหญ่ ผิวมันวาว รสชาติหวานติดเปรี้ยวนิดๆ เทคนิคการปลูก ปัจจุบันในวิสาหกิจชุมชนกลุ่มมังคุดทุเรียนอินทรีย์ ได้มีการให้ความรู้แก่สมาชิกเกี่ยวกับเรื่องของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี โดยจะเน้นใช้สารชีวภัณฑ์แทนปุ๋ยเคมีตั้งแต่เริ่มปลูก คือ มีการใช้ปุ๋ยคอกใส่รองก้นหลุมก่อนปลูก มีการใช้สารชีวภัณฑ์แทนปุ๋ยเคมี เพื่อให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้นเป็นที่มีคุณภาพมากที่สุด ซึ่งประกอบด้วย 1.จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตร (สูตรหัวเชื้อ) 2. ฮอร์โมนไข่ 1 ลิตร (เป็นฮอร์โมนไข่ที่หมักแล้ว) 3.นมหมัก 1 ลิตร (เป็นนมที่หมักแล้ว) และ 4.แคลเซี่ยมโบรอน 1 ลิตร (แคลเซียมโบรอนที่ทำเรียบร้อยแล้ว) บวกกับจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง
การดูแลรักษา เทคนิคการ Top ใบ ช่วยให้พืชสามารถเจริญเติบโตได้ดีขึ้น โดยการตัดใบที่ไม่จำเป็นออก ทำให้พืชสามารถใช้พลังงานในการสร้างผลผลิตได้มากขึ้น ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคและแมลงศัตรูพืช เนื่องจากการตัดใบที่มีปัญหาจะช่วยลดแหล่งที่อยู่อาศัยของศัตรูพืช
การฉีดยาต้นทุเรียน จะต้องฉีดรอบต้น เพื่อให้แน่ใจว่าสารเคมีหรือปุ๋ยสามารถเข้าถึงทุกส่วนของต้นได้อย่างทั่วถึง ซึ่งมีข้อดีหลาย
กลยุทธ์ทางการตลาด สินค้าจากกลุ่มได้รับรองมาตรฐาน GIP แล้วจำนวน 20 ราย และก็ยังรอให้ทางกรมวิชาการเกษตรมาตรวจแปลงปลูกเพื่อเข้าสู่มาตรฐาน GIP เพิ่มเติมอีก 19 ราย ทำให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการบริโภค สำหรับการทำการตลาดนั้นอีกประการหนึ่ง การให้ข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์ของผลไม้ เช่น การเน้นเรื่องสุขภาพและคุณค่าทางโภชนาการ กลยุทธ์เหล่านี้ช่วยให้เขาสามารถสร้างความน่าสนใจและดึงดูดลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยส่วนมาก สมาชิกจะส่งให้พ่อค้ากลาง และทางพ่อค้ากลางจะส่งต่อไปยังผู้บริโภคที่มาเลเซีย สิงคโปร์อีกทอดหนึ่ง ทางกลุ่มยังมีการทำมังคุดลูกดำบรรจุกล่องเพื่อจำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 50 บาท ผ่านช่องทางการจำหน่ายทางโครงการประชารัฐของรัฐบาล รวมทั้งผ่านทางธนาคาร ธกส. เป็นผู้ที่จัดหาช่องทางการตลาดให้ รวมทั้งการเตรียมทำการตลาดในรูปแบบออนไลน์ในฤดูการเก็บเกี่ยวเดือนตุลาคม
การคาดการณ์ราคา: การเก็บเกี่ยวในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ราคาผลผลิตตกต่ำ เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตมากเกินไปในตลาดในช่วงเวลาเดียวกัน คุณสุขสรรค์จึงจัดทำบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวและการผลิต เช่น วันที่เก็บเกี่ยวและปริมาณผลผลิต ออกดอกบานวันไหนเก็บเกี่ยวได้วันไหนบวกลบไม่เกิน 10วัน ต้องใช้แรงงานกี่คน ในช่วงใด และสร้างตารางคาดการณ์การเก็บเกี่ยวที่ระบุวันและช่วงเวลาที่ผลผลิตจะออก เพื่อช่วยในการวางแผนการตลาด ศึกษาความต้องการของตลาดในช่วงเวลาต่าง ๆ เพื่อคาดการณ์ว่าราคาในอนาคตจะเป็นอย่างไร เมื่อเราสามารถคาดการณ์ได้ ก็สามารถใช้กลยุทธ์ต่างๆ เช่น กลยุทธ์การเก็บเกี่ยว คือ การเลื่อนเวลาการเก็บเกี่ยวเพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพสูงขึ้นและราคาดีขึ้น มุมมองการเป็นเกษตรกรของคุณสุขสรรค์ เกษตรกรต้องเปลี่ยนบทบาท ต้องเป็นผู้บริหาร ไม่ใช้แรงงานของตนอย่างเดียว ต้องสามารถการบริหารจัดการต้นทุนได้ เช่น การจ้างแรงงาน และการวางแผนเพื่อให้สามารถควบคุมต้นทุนได้ เกษตรกรจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนจากการทำงานด้วยตนเองมาเป็นการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยีในการทำงานมากขึ้น ซึ่งการใช้เทคโนโลยีที่มีคุณภาพอาจต้องมีการลงทุนสูง แต่สามารถช่วยให้เกษตรกรประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว เช่น การใช้ปั๊มแรงดันสูงช่วยลดเวลาที่ใช้ในการฉีดพ่น ทำให้เกษตรกรสามารถทำงานได้มากขึ้นในเวลาที่น้อยลง

การลงพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้แปลงเกษตรต้นแบบ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา11 สิงหาคม 2567
11
สิงหาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Yadaporn Yimkaew
  • 1723436824307.jpg
  • 1723436832209.jpg
  • 1723436837530.jpg
  • 1723436839927.jpg
  • 1723436852150.jpg
  • 1723435770556.jpg
  • IMG_20240811_104751.jpg
  • 1723435867249.jpg
  • 1723435888245.jpg
  • 1723435907594.jpg
  • 1723435911330.jpg
  • 1723435923209.jpg
  • 1723435917755.jpg
  • IMG_20240811_104726.jpg
  • IMG_20240811_104125.jpg
  • IMG_20240811_104041.jpg
  • IMG_20240811_103514.jpg
  • IMG_20240811_103233.jpg
  • IMG_20240811_103141.jpg
  • IMG_20240811_102941.jpg
  • IMG_20240811_101523.jpg
  • 1723435781496.jpg
  • IMG_20240811_101300.jpg
  • IMG_20240811_101002.jpg
  • IMG_20240811_101111.jpg
  • IMG_20240811_101149.jpg
  • IMG_20240811_101206.jpg
  • 1723435785693.jpg
  • 1723435857631.jpg
  • 1723435853305.jpg
  • 1723435846444.jpg
  • 1723435834496.jpg
  • IMG_20240811_084431.jpg
  • IMG_20240811_102237.jpg
  • IMG_20240811_101330.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่ สวนคุณทศพล รุ่งเรืองใบหยก บทสัมภาษณ์ คุณทศพล รุ่งเรืองใบหยก เกษตรกรรุ่นใหม่ผู้เปลี่ยนผ่านจากรุ่นพ่อมาสู่รุ่นลูก เป็นต้นแบบเกษตรกรชาวสวนยางเกษตรกรที่ทำการเกษตรแบบยั่งยืน อายุ 39 ปี เป็นเลขานุการของสหกรณ์ ต.ตาเนาะแมเราะ เลขานุการของเครือข่ายเบตง และเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาชุมชนและการเกษตรในพื้นที่

จุดเด่นหลักของการเกษตรในพื้นที่เบตง คือ การปลูกยางและการเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งถือเป็นจุดขายที่สำคัญที่ทำให้พื้นที่นี้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์ เหมาะสม เช่น น้ำ ลำธารและภูมิอากาศที่เอื้อต่อการเกษตร นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนผ่านความรู้จากรุ่นพ่อสู่รุ่นลูก ทำให้เกษตรกรรุ่นใหม่มีทักษะและความรู้ในการผลิตที่สูงขึ้น
โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่ ที่สวนคุณทศพล มีเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพอาหารและการผลิตที่ยั่งยืน โดยเน้นการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นและการสร้างความรู้ใหม่ในด้านการเกษตร เช่น การปลูกยางและการทำปศุสัตว์ นอกจากนี้ยังมีการส่งเสริมการทำฟาร์มที่หลากหลาย เช่น การเลี้ยงปลาและการปลูกพืชเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดความหลากหลายและลดความเสี่ยงในการผลิต การทำฟาร์มของทศพล มีความเป็นมาที่น่าสนใจ โดยทศพลเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่รับไม้ต่อจากรุ่นพ่อ ซึ่งมีการเปลี่ยนผ่านความรู้และทรัพยากรอย่างครบถ้วน ฟาร์มนี้มีพื้นที่ทั้งหมด 50 ไร่ แบ่งเป็นสวนยาง 20 ไร่ และยังมีการปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ เช่น ทุเรียนและมังคุด รวมถึงการเลี้ยงปลาและปศุสัตว์เพื่อสร้างความหลากหลายในการผลิต
บ่อปลาเลี้ยงปลา มีการเลี้ยงปลาหลายชนิด เช่น ปลาดุก ปลาจีนและปลาพวงชมพู ปลาคู่เมืองยะลาแต่เป็นปลาขี้ตกใจ โดยปลาพวงชมพูเป็นที่นิยมเนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีคอลลาเจนมาก ซึ่งทำให้สามารถนำไปทำอาหารได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ทอดหรือนึ่ง ปัจจุบันตลาดรับซื้อปลาพวงชมพูอยู่ที่ประมาณ 3,000-3,500 บาทต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับคุณภาพและขนาดของปลา ส่วนราคารับซื้อปลาจีนในตลาดปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 260 บาทต่อกิโลกรัม บ่อปลามีการจัดการน้ำที่เหมาะสมเพื่อให้ปลามีการเจริญเติบโตที่ดี นอกจากนี้คุณทศพลยังมีการเลี้ยงไก่ในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับฟาร์มของเขา โดยการเลี้ยงไก่ไข่เป็นส่วนหนึ่งของการทำเกษตรกรรมที่มีความยั่งยืนและสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว การขึ้นทะเบียน GI (Geographical Indication) ของเกษตรผสมผสาน เป็นกระบวนการที่ช่วยรับรองผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเฉพาะจากพื้นที่หนึ่ง ๆ โดยเฉพาะในกรณีของผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ปลาพวงชมพู การขึ้นทะเบียน GI จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค โดยนายกรัฐมนตรีได้มีการรณรงค์เพื่อส่งเสริมการขึ้นทะเบียน GI สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพในพื้นที่ ค่าอาหารไก่และอาหารปลาที่สูงขึ้น เป็นปัญหาที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญในปัจจุบัน เมื่อค่าอาหารไก่มีราคาแพงขึ้น ค่าอาหารปลาก็มีราคาสูง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการผลิตและต้นทุนของเกษตรกรทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวและขอเพิ่มราคาเพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนที่สูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของค่าอาหารนี้ทำให้ผู้ประกอบการต้องใช้ความอดทนและการบริหารจัดการที่ดีขึ้นเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาด สรุปจุดเด่นของเกษตรกรรุ่นใหม่ ฐานทรัพยากรที่ดี: เกษตรกรรุ่นใหม่มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่ดี เช่น สภาพความชื้นและคุณภาพของดินที่เหมาะสมสำหรับการเกษตร การบริหารจัดการที่ดี: เกษตรกรรุ่นใหม่มีความสามารถในการบริหารจัดการที่ดี ทำให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้เทคโนโลยี: มีแนวโน้มที่จะใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ในการพัฒนาการเกษตรและการตลาด โดยรวมแล้ว เกษตรกรรุ่นใหม่มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองและการเกษตรให้มีความยั่งยืนและตอบโจทย์ตลาดได้

แลกเปลี่ยนเรียนรู้แปลงต้นแบบเกษตรกรรมยั่งยืน อำเภอเบตง จังหวัดยะลา10 สิงหาคม 2567
10
สิงหาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Yadaporn Yimkaew
  • 1723435079005.jpg
  • 1723435074475.jpg
  • 1723435063682.jpg
  • 1723435057049.jpg
  • 1723435045600.jpg
  • 1723435041969.jpg
  • 1723435029702.jpg
  • 1723434995119.jpg
  • 1723434988243.jpg
  • 1723434984356.jpg
  • 1723434979616.jpg
  • 1723434972868.jpg
  • 1723434967195.jpg
  • 1723434963855.jpg
  • 1723434937349.jpg
  • 1723434928255.jpg
  • 1723434945029.jpg
  • 1723434909773.jpg
  • 1723434899470.jpg
  • 1723434892367.jpg
  • 1723434883911.jpg
  • 1723434859346.jpg
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาพตลอดห่วงโซ่ สวนคุณเจริญ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แลกเปลี่ยนความรู้ในการปลูกพืชสวนผสม

สวนคุณเจริญ บทสัมภาษณ์คุณเจริญ เวชวัฒนาเศรษฐ “ครูถั่ว” คนกล้าคืนถิ่น และ ผู้แทนคนกรีดยาง ตัวแทนใน คกก.นโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ประสานความร่วมมือร่วมสร้างเปิดโอกาสให้คนไทยได้ร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงพัฒนาคนรุ่นใหม่ สร้าง SME ที่พึ่งตนเองได้ด้วยวิถีเกษตรเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

การปลูกยาง เบตง เทคนิค วิธีการ
การปลูกยางในเบตงมีความสำคัญและมีลักษณะเฉพาะที่ควรพิจารณา ดังนี้: การเลือกพันธุ์: พันธุ์ยางที่ใช้ในเบตงมักจะเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพอากาศและดินในพื้นที่ เช่น พันธุ์ไทยแท้และพันธุ์จากมาเลเซีย เทคนิคการปลูก: การปลูกยางต้องใช้เทคนิคที่เหมาะสม เช่น การเตรียมดิน การปลูกในระยะที่เหมาะสม และการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง การปลูกยางแถวเดียวควบคู่ไปกับการปูลไม้ป่า เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิต โดยมีข้อแนะนำดังนี้:
1. การปลูกแถวเดียวสามารถทำให้ได้ประมาณ 20 ต้นต่อพื้นที่ที่กำหนด 2. ควรปลูกให้ห่างกันประมาณ 2 เมตร เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโต 3. การจัดการพื้นที่ปลูกให้มีการแบ่งช่องจะช่วยเพิ่มพื้นที่ปลูกไม้ได้มากขึ้น 4. การปลูกในระยะห่างที่เหมาะสมจะช่วยลดปัญหาการแข่งขันระหว่างต้นไม้ 5. การปลูกยางแถวเดียวเสริมไม้ป่าจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการเพิ่มผลผลิตและการจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ การปลูกยางแซมไม้ป่าเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและประสิทธิภาพในการใช้พื้นที่ โดยมีข้อแนะนำ: 1. การปลูกยางควรทำในระยะห่างที่เหมาะสมกับไม้ป่า เพื่อไม่ให้เกิดการแข่งขันในเรื่องของแสงและสารอาหาร 2. การปลูกแถวเดียวระหว่างต้นยางและไม้ป่าสามารถช่วยให้พื้นที่มีการใช้ประโยชน์สูงสุด 3. การจัดการพื้นที่ปลูกให้มีการแบ่งช่องจะช่วยเพิ่มพื้นที่ปลูกไม้ได้มากขึ้น 4. การปลูกไม้ป่าร่วมกับยางสามารถช่วยในการรักษาความชุ่มชื้นของดินและลดการกัดเซาะ 5. การปลูกยางแซมไม้ป่าจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมอย่างยั่งยืน การปลูกยาง 40 ต้นต่อไร่เป็นวิธีที่สามารถเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีข้อแนะนำดังนี้: 1. ควรปลูกให้ห่างกันประมาณ 2 เมตร เพื่อให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโต 2. การจัดการพื้นที่ปลูกให้มีการแบ่งช่องจะช่วยเพิ่มพื้นที่ปลูกไม้ได้มากขึ้น 3. การปลูกในระยะห่างที่เหมาะสมจะช่วยลดปัญหาการแข่งขันระหว่างต้นไม้ 4. การปลูกในรูปแบบนี้สามารถทำให้ได้ประมาณ 40 ต้นต่อไร่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้น 5. การปลูกยางในจำนวนที่เหมาะสมจึงเป็นทางเลือกที่ดีในการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ


เทคนิคการกรีด: ใช้มีดกรีดที่มีความคมและกรีดในมุมที่เหมาะสม โดยควรกรีดให้ลึกพอสมควรเพื่อให้ยางไหลออกมาได้ดี การดูแลรักษาต้นยาง: หลังการกรีดควรดูแลรักษาต้นยางให้ดี เช่น การให้ปุ๋ยและน้ำ เพื่อให้ต้นยางมีสุขภาพดีและสามารถผลิตยางได้ต่อเนื่อง การใช้เทคนิคเหล่านี้จะช่วยเพิ่มผลผลิตยางและคุณภาพของยางพาราได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล้ายางพันธุ์ไทยแท้: มีคุณสมบัติความเหมาะสมกับสภาพอากาศ มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศและดินในประเทศไทยได้ดี ให้ผลผลิตยางที่มีคุณภาพสูงและมีปริมาณมากเมื่อได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม มีความต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชได้ดีกว่าพันธุ์อื่นๆ ข้อเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ที่เจริญกับพื้นที่ที่ไม่เจริญมีความสำคัญอย่างไร: โอการในการพัฒนาเศรษฐกิจ: พื้นที่ที่เจริญมักมีโอกาสทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า เช่น การเข้าถึงตลาด การลงทุน และการสร้างงาน การศึกษาและการเข้าถึงบริการ: พื้นที่ที่เจริญมักมีการศึกษาและบริการสาธารณะที่ดีกว่า เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล และบริการสาธารณะอื่นๆ คุณภาพชีวิต: การเปรียบเทียบช่วยให้เห็นความแตกต่างในคุณภาพชีวิตของประชาชน เช่น การเข้าถึงที่อยู่อาศัยที่ดี สาธารณูปโภค และสิ่งแวดล้อมที่ดี การวางแผนและนโยบาย: ข้อมูลจากการเปรียบเทียบสามารถใช้ในการวางแผนพัฒนาพื้นที่ที่ไม่เจริญให้มีการเติบโตและพัฒนาอย่างยั่งยืน การวิเคราะห์ความแตกต่างนี้ช่วยให้เข้าใจถึงปัญหาและโอกาสในการพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น คุณเจริญได้มีโอกาสศึกษาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชการที่ 9 เป็นแนวทางที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีหลักการสำคัญดังนี้: 1. การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและไม่ฟุ่มเฟือย 2. การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและการพึ่งพาตนเอง 3. การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม 4. การส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะในชุมชน 5. เศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นแนวทางที่ช่วยให้ผู้คนสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน