สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

การพัฒนาศักยภาพและหนุนเสริมการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ใน 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การพัฒนาศักยภาพและหนุนเสริมการทำงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ใน 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้
ภายใต้องค์กร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
รหัสโครงการ 66-00835
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2566 - 28 กุมภาพันธ์ 2568
แหล่งทุน
ไม่ระบุ
งบประมาณ 5,000,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.ซอฟียะห์ นิมะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ sophienima@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ สามจังหวัดชายแดนใต้
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. พื้นที่เป้าหมาย
จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
ภาคใต้ place directions
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัยรุ่นถือเป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมแวดล้อม (bio-psycho-social-development) การตั้งครรภ์วัยรุ่นและการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นอาจนำไปสู่การทำแท้งที่อันตรายได้ ซึ่งจากการเปรียบเทียบรายจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 12 พบว่า จังหวัดปัตตานี มีอัตราการคลอดซ้ำของวัยรุ่นสูงสุด ร้อยละ 19.83 รองลงมา จังหวัดสงขลา ร้อยละ 17.91 จังหวัดยะลา ร้อยละ 17.02 และจังหวัดนราธิวาส ร้อยละ 13.15 โดยปรากฏการณ์ของการตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้นั้น เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น ด้านปัจเจกบุคคล (ตัวเด็กและวัยรุ่น) ค่านิยมหรือความต้องการของพ่อแม่หรือผู้ปกครองที่มีความเชื่อส่วนบุคคล หรือ วัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม (social norms) ที่อ้างการเชื่อมโยงไปยังหลักความเชื่อทางศาสนา รวมทั้ง การถูกล่วงละเมิดทางเพศจากบุคคลภายในและภายนอกครอบครัวที่เป็นคดีความและหลีกเลี่ยงการเป็นคดีความต่าง ๆ เป็นต้น ด้านกลไกการดำเนินงานด้านป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทยมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับชาติ ระดับเขต และระดับจังหวัด ที่มีการดำเนินงาน การส่งเสริมการเข้าถึงบริการด้าน อนามัยการเจริญพันธ์ุ การประเมินรับรองมาตรฐานสถานบริการสุขภาพที่เป็นมิตรสำหรับวัยรุ่นและเยาวชน การรับรองตามเกณฑ์อำเภออนามัยการเจริญพันธุ์ งานวางแผนครอบครัวโดยเฉพาะ

จากการดำเนินงานของสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต่อประเด็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นในสามจังหวัดชายแดนใต้โดยอาศัยกลไก พชอ. ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานจาก สสส. ในระยะที่ 1 (ตุลาคม 2562-มีนาคม 2564) จำนวน 4 อำเภอ พบว่า สมรรถนะของ พชอ. ยังต้องการหนุนเสริมการพัฒนาในหลาย ๆ ด้าน ในระยะที่ 2 (ตุลาคม 2564 - พฤษภาคม 2566) พบว่า เกิดผลผลิตด้านองค์ความรู้และการพัฒนาคู่มือที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของ พชอ. ทั้ง 19 อำเภอ ผ่านกระบวนการระดมสมอง สนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักคือ นายอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ ปลัดอำเภออาวุโส พี่เลี้ยงระดับอำเภอ ผู้รับผิดชอบงานวัยรุ่นระดับอำเภอ และ ภาคีเครือข่ายในระดับตำบล จำนวน 195 คน ที่ได้แสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่น

ดังนั้น ในระยะที่ 3 ของการดำเนินงาน ทางสถาบันนโยบายสาธารณะ จึงได้ออกแบบโครงการร่วมกับผู้ว่าราชการประจำจังหวัดและตัวแทนผู้รับผิดชอบงานระดับจังหวัดอีกครั้งโดยใช้อำเภอเป็นฐาน (District-based design) เพื่อกำหนดยุทธวิธีการดำเนินงานผ่านทุนของพื้นที่เป็นรายอำเภอ ตั้งแต่ทุนทางสังคม (วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของพื้นที่) ทุนการดำเนินงาน (งบประมาณและบุคลากรของพื้นที่) ทุนข้อมูลสถานการณ์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์วัยรุ่น และทุนนโยบายโดยเฉพาะนโยบายสาธารณะต่อการขับเคลื่อนป้องกันและแก้ไขปัญหาตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้ โดยมีจุดมุ่งหมายหลัก คือ พชอ. สามารถปฏิบัติการขับเคลื่อนพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และการนํายุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560-2570 อย่างเป็นรูปธรรมโดยสามารถวัดได้และประเมินผลลัพธ์ การดำเนินงานได้

stars
6. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

4.1. กรอบการดําเนินงานภายใต้กรอบการบริหารงานที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Based Management: RBM) เป็นการนําแนวคิดทฤษฎีระบบ (Systems Theory) มาขยายภายใต้การวางแผนโครงการแบบ Log Frame คือ 1) ปัจจัยนำเข้า (Input) 2) กระบวนการ (Process) 3) ผลผลิต (Output) และ 4) ผลลัพธ์ (Outcome)
4.2 กรอบดำเนินงานตามห่วงโซ่คุณค่า เพื่อยกระดับการจัดการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้ โดยแสดงปัจจัยสู่ความสำเร็จภายใต้โครงการ ที่มีแนวทางการดำเนินงานสำคัญรองรับ ช่องว่างการดำเนินงานที่ผ่านมา และการขยายผลการดำเนินงานเพิ่มเติม โดยสามารถแสดงผลตามกรอบของห่วงโซ่มูลค่าตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

stars
7. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของพชอ. 19 อำเภอ (เดิม) ต่อกระบวนการในการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา พัฒนา และค้นหาศักยภาพให้กับอำเภออื่น ๆ ในด้านการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้
  1. มีแผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์ 5 ด้านทั้ง 33 อำเภอ
  2. มีกลไกความร่วมมือระหว่างภาคีจาก 6 กระทรวงหลักตาม พรบ. พ.ศ. 2559
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพพชอ. ในพื้นที่ขยายผล 14 อำเภอ (ใหม่) ให้มีแนวทางในการขับเคลื่อนจากการนำพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560-2569 สู่การปฏิบัติ ในจังหวัดชายแดนใต้
  1. มีแผนปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์ 5 ด้านทั้ง 33 อำเภอ
  2. มีกลไกความร่วมมือระหว่างภาคีจาก 6 กระทรวงหลักตาม พรบ. พ.ศ. 2559
3 เพื่อประเมินผลลัพธ์ ในการนำพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560-2569 สู่การปฏิบัติโดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ: กรณีศึกษา 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้
  1. มีฐานข้อมูลการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายครรภ์วัยรุ่นโดยกลไก พชอ. และ ภาคีเครือข่าย
4 เพื่อรณรงค์สื่อสารทางสังคม (Media Advocacy) ต่อการดำเนินงานประเด็นครรภ์วัยรุ่นของ พชอ. 33 อำเภอในจังหวัดชายแดนใต้
  1. มีการรณรงค์ขับเคลื่อนและสื่อสารสังคมประเด็นครรภ์วัยรุ่น
5 เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ ต่อการผลักดันนโยบาย (Policy advocacy) ในการขับเคลื่อนประเด็นครรภ์วัยรุ่นต่อองค์กรที่เกี่ยวข้อง
  1. มีนวัตกรรมการบูรณาการทรัพยากรเพื่อการดูแลและให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายครรภ์วัยรุ่น
stars
8. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
9. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67ต.ค. 67พ.ย. 67ธ.ค. 67ม.ค. 68ก.พ. 68
1 ประชุมทีมงานหลัก (Core Team)(1 ก.ย. 2566-31 ม.ค. 2568) 0.00                                    
2 ประชุมติดตามผล MoU และ Policy Advocacy(1 ต.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 0.00                                    
3 การรณรงค์สื่อสารทางสังคม(1 ต.ค. 2566-28 ก.พ. 2568) 0.00                                    
4 ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศภายใน(1 พ.ย. 2566-30 พ.ย. 2567) 0.00                                    
5 ประชุมเชิงปฏิบัติการ(1 ธ.ค. 2566-31 ธ.ค. 2566) 0.00                                    
6 เวทีนำเสนอแผน พชอ.(1 ม.ค. 2567-31 ม.ค. 2567) 0.00                                    
7 District Policy Advocacy(1 ก.พ. 2567-31 พ.ค. 2567) 0.00                                    
8 การติดตามเสริมพลัง(1 ก.ค. 2567-31 ส.ค. 2567) 0.00                                    
9 การประเมินผลลัพธ์รวบยอด(1 ก.ย. 2567-30 ก.ย. 2567) 0.00                                    
10 เวทีถอดบทเรียนการดำเนินงานของ พชอ. 33 อำเภอ(1 ต.ค. 2567-31 ต.ค. 2567) 0.00                                    
11 เวทีข้อเสนอเชิงนโยบายในจังหวัดชายแดนใต้(1 ธ.ค. 2567-31 ธ.ค. 2567) 0.00                                    
12 เวทีนำเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการอิสระระดับชาติ(1 ก.พ. 2568-28 ก.พ. 2568) 0.00                                    
รวม 0.00
1 ประชุมทีมงานหลัก (Core Team) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 0.00 1 0.00
12 ก.ย. 66 ประชุมทีมงานหลัก (Core Team) ครั้งที่ 1 10 0.00 0.00
2 ประชุมติดตามผล MoU และ Policy Advocacy กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
3 การรณรงค์สื่อสารทางสังคม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
4 ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศภายใน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 0 0.00
1 - 30 พ.ย. 66 ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศภายใน ครั้งที่ 1 0 0.00 -
1 - 30 มิ.ย. 67 ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศภายใน ครั้งที่ 2 0 0.00 -
1 - 30 พ.ย. 67 ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศภายใน ครั้งที่ 3 0 0.00 -
5 ประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
6 เวทีนำเสนอแผน พชอ. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
7 District Policy Advocacy กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
8 การติดตามเสริมพลัง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
9 การประเมินผลลัพธ์รวบยอด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
10 เวทีถอดบทเรียนการดำเนินงานของ พชอ. 33 อำเภอ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
11 เวทีข้อเสนอเชิงนโยบายในจังหวัดชายแดนใต้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
12 เวทีนำเสนอข้อมูลต่อคณะกรรมการอิสระระดับชาติ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ใน 33 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ มีศักยภาพในการนำพระราชบัญญัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560-2569 สู่การปฏิบัติตามห่วงโซ่คุณค่า (Value chain)

stars
11. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.ย. 2566 10:55 น.