สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

task_alt

โครงการกิจกรรมการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการกิจกรรมการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

ชุมชน ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง 61-ข-066

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2561 ถึง 14 มิถุนายน 2562

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน มิถุนายน 2561 ถึงเดือน มิถุนายน 2562

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1

วันที่ 26 สิงหาคม 2561 เวลา 10:00-15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

สร้างความเข้าใจคณะทำงานศึกษาความมั่นคงทางอาหารฯ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีแผนการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานเข้าประชุม 7 คน
คณะทำงานเข้าใจภาระกิจร่วมกัน  เข้าบทบาทหน้าที่ที่มีต่อโครงการ รับรู้การมอบหมายงานในกิจกรรมต่อไป 13 กันยายน 2561 1. นางปิยนารถ  หนูพลับ ประสานงานด้านสถานที่ อาหารว่าง อาหารกลางวัน 2. นายมนูญ และนายสมมิตร คัดเลือกแกนนำ หมู่ที่ 11 เข้าร่วมประชุม 3. นายวิโรจน์ และนางสาวสายพิณ  คัดเลือกแกนนำ หมู่ที่ 15 เข้าร่วมประชุม 4. นายสมนึก  ประสานงานเชิญภาคีที่เกี่ยวข้อง และวิทยากรดำเนินการ 5. นางสาวไพลินจัดเตรียมเอกสารลงทะเบียน เอการการเงิน และรับผิดชอบการต้อนรับ การลงทะเบียน 6. นายถาวร บันทึกรายงานการประชุม สรุปประเด็นงานด้านต่างๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงาน 4 ครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

รายางานการประชุมคณะทำงาน วันที่ 26 สิงหาคม 2561
ณ ศูนย์เรียนรู้หมู่ที่ 11 ตำบลโคกม่วง ผู้มาประชุม 1. นายมนูญ สุขรัตน์ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านทุ่งยาว คณะทำงาน 2. นายวิโรจน์ เหตุทอง ผู้ใหญ่บ้าน บ้านเกาะทองสมใหม่ คณะทำงาน 3. นางปิยนารถ หนูพลับ นักพัฒนาชุมชน ทต.โคกม่วง  คณะทำงาน 4. นางสาวไพลิน ทิพย์สังข์ เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยงาน คณะทำงาน 5. นายถาวร คงศรี  นักวิชาการพัฒนาติดตามประเมินผลโครงการ คณะทำงาน 6. นายสมมิตร ปานเพชร แกนนำจิตอาสา  ผช.เลขานุการ/คณะทำงาน 7. นายสมนึก นุ่นด้วง นักวิชาการฯ            เลขานุการ/ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ไม่มาประชุม
1. นายเจริญศักดิ์ ชูสง (ป่วย) 2. นางอารีย์ เกื้อคลัง
คณะทำงานมาพร้อมกัน ครบองค์ประชุม ที่ประชุมเลือกนายสมนึก นุ่นด้วงเป็นประธานเปิดประชุมเวลา 10.00 น ตามวาระดังนี้ วาระที่ 1  ชี้แจงสร้างความเข้าใจแผนงานโครงการกิจกรรมการศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุมทั้งตำบลโคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง ซึ่งมี 1. วัตถุประสงค์ 1.1 เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารในหมู่บ้านต้นแบบ (บ้านทุ่งยาวและบ้านเกาะทองสมใหม่) ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง  มีข้อมูลสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่บ้านโคกม่วงและบ้านเกาะทองสมใหม่ ใน 4 มิติ (พอเพียง ปลอดภัย เข้าถึงได้ และการมีส่วนร่วม) 1.2 เพื่อพัฒนาและขยายผลจากหมู่บ้านต้นแบบให้ครอบคลุม 15 หมู่บ้านในตำบลโคกม่วง  อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง 2.ตัวชี้วัดความสำเร็จคือ 2.1 ข้อมูลรูปแบบ Model การจัดการด้านความมั่นคงทางอาหารในตำบลโคกม่วง 2.2 ข้อมูลการประเมินผลจากการดำเนินงานขยายผลพื้นที่ต้นแบบให้ครอบคลุม 15 หมู่บ้าน 2.3 ข้อมูลการถอดบทเรียนการดำเนินงานด้านความมั่นคงทางอาหาร 3. แผนงานกิจกรรมที่จะตอบตัวชี้วัดทั้ง 11 กิจกรรมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสามารถ เพิ่มลด ได้ตามความเหมาะสม
3.1 ที่ประชุมเสนอให้เชิญผู้เกี่ยวข้องที่สนับสนุนการสร้างความมั่นคงทางอาหารเข้าร่วมรับรู้และออกแบบ วางแผนดำเนินงานความมั่นคงด้านอาหารในทุกหมู่บ้านตั้งแต่ต้นกระบวนการ ทั้งนี้เพื่อให้ภาคีเหล่านี้ได้สนับสนุน พื้นที่ขยายผลในโอกาสต่อไป ซึ่งผู้ใหญ่บ้านมนูญ และผู้ใหญ่วิโรจน์ ได้เสนอภาคี เข้าร่วมกิจกรรมตั้งแต่กระบวนการศึกษาพื้นที่ต้นแบบ
4. ระยะเวลาดำเนินงาน ที่คณะทำงานจะต้องผลักดันจัดให้มีกิจกรรมเพื่อตอบตัวชี้วัดนั้นๆ ตามลำดับ 5. งบประมาณที่สนับสนุนกิจกรรมตามโครงการ ซึ่งมีรายละเอียดแล้วตามรายละเอียดกิจกรรมและรายจ่าย

สรุป ที่ประชุมสอบถาม แลกเปลี่ยนจนเป็นที่เข้าใจตรงกันในเรื่องเป้าหมาย กิจกรรม ค่าใช่จ่าย และผลลัพธ์ ที่จะต้องมี Model ของหมู่บ้านต้นแบบ 2 หมู่ แลทำแผนขยายผลสู่ ทุกหมู่บ้านในตำบล

วาระที่ 2 ออกแบบกิจกรรมประชุมแกนนำชุมชนเพื่อเก็บข้อมูลศึกษาพื้นที่ต้นแบบ 2 หมู่บ้าน ๆละ 20 คน ในวันที่ 12และ 13 สิงหาคม 2561 พร้อมด้วยภาคีที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1. พัฒนาชุมชนตำบล
2. เกษตรตำบล 3. การศึกษานอกระบบ (กศน.) 4. ปศุสัตว์อำเภอ 5. ปลัดเทศบาลตำบลโคกม่วง 6. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) 7. สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (สปก.)
ที่ประชุมมอบหมาย
1. นางปิยนารถ หนูพลับ ประสานงานด้านสถานที่ อาหารว่าง อาหารกลางวัน 2. นายมนูญ และนายสมมิตร คัดเลือกแกนนำ หมู่ที่ 11 เข้าร่วมประชุม 3. นายวิโรจน์ และนางสาวสายพิณ คัดเลือกแกนนำ หมู่ที่ 15 เข้าร่วมประชุม 4. นายสมนึก ประสานงานเชิญภาคีที่เกี่ยวข้อง และวิทยากรดำเนินการ 5. นางสาวไพลินจัดเตรียมเอกสารลงทะเบียน เอการการเงิน และรับผิดชอบการต้อนรับ การลงทะเบียน 6. นายถาวร บันทึกรายงานการประชุม สรุปประเด็นงานด้านต่างๆ

ปิดประชุมเวลา 15.30 น

 

9 9

2. เก็บข้อมูลบ้านทุ่งยาว และ บ้านเกาะทองสม ให้ครอบคลุม 4 มิติ

วันที่ 13 กันยายน 2561 เวลา 09:00-15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อศึกษาข้อมูลสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในหมู่บ้านทุ่งยาว และบ้านเกาะทองสมใหม่ ใน 4 มิติ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ข้อมูลสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่บ้านโคกม่วงและบ้านเกาะทองสมใหม่ ใน 4 มิติ 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้ Mapping ครอบครัวที่ผลิดอาหารปลอดภัยในชุมชน จำแนกรายพื้นที่ดังนี้

หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งยาว
ครอบครัวที่ปลูกพืชผักปลอดภัย ระดับปลอดสารเคมี จำนวน 29 ครอบครัว ระดับพืชผักอินทรย์มาตรฐาน Organic Thailand Certificate 2 ครอบครัว

ครอบครัวที่ปลูกไม้ผล ผลิตผลไม้ปลอดภัย ระดับปลอดสารเคมี จำนวน 4 ครอบครัว

ครอบครัวที่เลี้ยงสัตว์เป้นอาหารปลอดภัย ระดับปลอดสารเคมี จำนวน 24 ครอบครัว

หมู่ที่ 15 บ้านเกาะทองสมใหม่

ครอบครัวที่ปลูกพืชผักปลอดภัย ระดับปลอดสารเคมี จำนวน 33 ครอบครัว

ครอบครัวที่ปลูกไม้ผล ผลิตผลไม้ปลอดภัย ระดับปลอดสารเคมี จำนวน 6 ครอบครัว

ครอบครัวที่ทำนาปลอดภัย ระดับปลอดสารเคมี จำนวน 18 ครอบครัว

ครอบครัวที่เลี้ยงสัตว์เป้นอาหารปลอดภัย ระดับปลอดสารเคมี จำนวน 16 ครอบครัว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมแกนนำหมู่บ้านเพื่อเก็บข้อมูลทั้ง 4มิติ (เพียงพอ ปลอดภัย เข้าถึงได้ และการมีส่วนร่วม)
บ้านทุ่งยาว และ บ้านเกาะทองสมใหม่

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงสรา้งความเข้าใจกระบวนการกับแกนนำชุมนที่เข้าร่วมให้ข้อมูล โดยแบ่งกระบวนการเก็บข้อมูลออกเป็น 2 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 แกนนำแต่ละหมู่บ้านร่วมทำ Mapping ครอบครัวที่มีการผลิตอาหารปลูกพืชผัก ผลไม้ เลี้ยงสัตว์ในชุมชน ใช้เวลา 90 นาที เบรค 15 นาที แล้วต่อด้วยการนำเสนอให้โอกาสกลุ่มได้ช่วยเสริมเติมเต็มรายละเอียด รายละเอียด (ตามเอกสารแนบไฟล์)

ขั้นตอนที่ 2 แกนนำแต่ละหมู่บ้านร่วมทำ Mapping หน่วยงานองค์กรที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุนความมั่นคงทางอาหาร และชุมชนสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการความมั่นคงทางอาหารอย่างไร มีช่องทางใดที่ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ (ตามเอกสารแนบไฟล์)

 

40 36

3. ประชุประชุมคณะทำงาน สร้าางความเข้าใจกับภาคีที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างความเเข้าใจ และสร้างความร่วมมือ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีแผนการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้นำท้องที่ทั้ง 15 หมู่บ้านได้รับทราบรายละเอียดการดำเนินการแผนงาน วัตถุประสงค์ กิจกรรม
ผู้นำท้องที่ตำบลอื่นๆ  หัวหน้าส่วนราชการ ได้รับทราบด้วย นายอำเภอได้ฝากให้ผู้เกี่ยวข้องทุกส่วนให้ความร่วมมือการการศึกษาเพื่อพัฒนาของแผนงานนี้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประสานงานขอความร่วมมือจากนายอำเภอเขาชัยสน เพื่ออนุญาตให้เข้าร่วมประชุม ใช้เวลาประมาณ 20 นาที เพื่อชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานตามแผนงาน และขอความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง โดยใช้โอกาสการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำเดือนพฤศจิกายน 2561  มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย แพทย์ สารวัตร และหัวหน้าส่วนราชการเข้าร่วมการประชุม ประมาณ 200 คน (ตามรูป) 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประสานงานขอความร่วมมือจากนายอำเภอเขาชัยสน เพื่ออนุญาตให้เข้าร่วมประชุม ใช้เวลาประมาณ 20 นาที เพื่อชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานตามแผนงาน และขอความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง โดยใช้โอกาสการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำเดือนพฤศจิกายน 2561  มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย แพทย์ สารวัตร และหัวหน้าส่วนราชการเข้าร่วมการประชุม ประมาณ 200 คน (ตามรูป) 

 

60 60

4. บริหารจัดการ นำเสนอความก้าวหน้าและตรวจเอกสารการเงิน

วันที่ 17 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรายงานความก้าวหน้าโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

งานบริหารจัดการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้รับคำแนะนำในการสร้างเครื่องมือเก็บข้อมูลจาก อ.เพ็ญ สุขมาก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมรายงานความก้าวหน้าโครงการครั้งที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

รายงานความก้าวหน้าโครงการครั้งที่ 1

 

1 1

5. เวทีประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจระดับตำบล

วันที่ 27 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างเครือข่ายและขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่นๆ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผู้เข้าร่วมแกนนำได้เรียนรู้กระบวนการจัดการอาหารปลอดภัย แกนนำได้เรียนรู้รูปแบบการจัดการอาหารปลอดภัย

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม.42..คน

แกนนำได้เรียนรู้กระบวนการจัดการอาหารปลอดภัย

แกนนำได้เรียนรุ้รูปแบบการจัดการอาหารปลอดภัย

รายละเอียดตามไฟล์เอกสารแนบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมแกนนำหมู่บ้าน และบุคคลที่มีการปฏิบัติการด้านความมั่นคงทางอาหารของในแต่ละหมู่บ้าน คัดเลือกมาหมู่บ้านละ 3 คน ร่วมกับภาคีเทศบาลตำบล โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อค้นหาบุคคล ครัวเรือนที่ดำเนินการด้านความมั่นคงทางอาหาร

กิจกรรมที่ทำจริง

แกนนำหมู่บ้าน และบุคคลที่มีการปฏิบัติการด้านความมั่นคงทางอาหารของในแต่ละหมู่บ้าน คัดเลือกมาหมู่บ้านละ 3 คน ร่วมกับภาคีเทศบาลตำบล โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อค้นหาบุคคล ครัวเรือนที่ดำเนินการด้านความมั่นคงทางอาหาร

 

50 0

6. เก็บ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลความมั่นคงทางอาหารของหมู่บ้านต้นแบบ (ม.11,15)

วันที่ 10 มีนาคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างความั่นคงทางอาหารของบ้านทุ่งยาวและบ้านเกาะทองสมใหม่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

โมเดลบ้านทุ่งยาวและเกาะทองสม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. บ้านทุ่งยาว 1.1 ข้อมูลการปลูก การบริโภคอาหารประเภทผัก ปลูกผักกินเองร้อยละ 45 พื้นที่ปลูกผักปลอดสารเคมีร้อยละ 87.34    เนื้อสัตว์ ครัวเรือนที่เลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหารในครัวเรือนร้อยละ 45  ข้าว การบริโภคข้าวของประชาชนบ้านทุ่งยาวเฉลี่ย 25.12 กิโลกรัม/ครัวเรือน/เดือน

  2. บ้านเกาะทองสมใหม่ 2.1 ข้อมูลการปลูก การบริโภคอาหารประเภทผัก ปลูกผักกินเองร้อยละ 59 พื้นที่ปลูกผักปลอดสารเคมีร้อยละ 99.77    เนื้อสัตว์ ครัวเรือนที่เลี้ยงสัตว์ไว้เป็นอาหารในครัวเรือนร้อยละ 43  ข้าว การบริโภคข้าวของประชาชนบ้านเกาะทองสมใหม่เฉลี่ย 22.98 กิโลกรัม/ครัวเรือน/เดือน

  3. แหล่งผลิตปลอดภัย แหล่งจำหน่าย
  4. รายละเอียดตามไฟล์ที่แนบด้วยแล้ว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จ้างเก็บข้อมูล 220 ชุด รวบรวมข้อมูลมือสอง จาก รพสต. 3 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูล นักวิชาการ 3 คน ร่วมวิเคราะห์ข้อมูล

กิจกรรมที่ทำจริง

จ้างเก็บข้อมูล 220 ชุด รวบรวมข้อมูลมือสอง จาก รพสต. 3 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูล นักวิชาการ 3 คน ร่วมวิเคราะห์ข้อมูล

 

3 3

7. บริหารจัดการ นำเสนอความก้าวหน้าโครงการ

วันที่ 4 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างความั่นคงทางอาหารของบ้านทุ่งยาวและบ้านเกาะทองสมใหม่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

งานบริหารจัดการ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นำเสนอความก้าวหน้าโครงการ สรุป กระบวนการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน  ปัจจัยเอื้อ ปัญหาอุปสรรค
เสนอรูปแบบการดำเนินงานความมั่นคงทางอาหาร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

นำเสนอความก้าวหน้าโครงการ สรุป กระบวนการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน  ปัจจัยเอื้อ ปัญหาอุปสรรค 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ลงทะเบียน
  2. ร่วมเรียนรู้การนำเสนอผลการดำเนินงานกับพื้นที่อื่นๆ
  3. นำเสนอผลการดำเนินงานของตำบลโคกม่วง
  4. รับการตรวจเอกสารการจ่ายเงิน
  5. ส่งมอบเอกสารการเงินที่ตรวจแล้วให้ สจรส.มอ.

 

1 1

8. เเวทีสร้างความเข้าใจและทำ Mapping ระดับตำบล

วันที่ 8 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อศึกษาแนวทางการสร้างความั่นคงทางอาหารของบ้านทุ่งยาวและบ้านเกาะทองสมใหม่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

Mapping โมเดลความมั่นคงทางอาหารบ้านทุ่งยาว และบ้านเกาะทองสม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากเวทีประชาสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจ และทำ Mapping ระดับตำบล (15หมู่บ้าน+ท้องถิ่น+ภาคี) ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกม่วง ซึ่งเป็นการประชุมผู้นำหมู่บ้านแกนนำชุมชน เพื่อเก็บรวมข้อมูลบุคคล ครัวเรือนปฏิบัติการอาหารปลอดภัย การเกษตรปลอดสารเคมี โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจาก 15 หมู่บ้าน 45 คน ครูโรงเรียน 1 คน หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 คน เจ้าหน้าที่เทศบาล 3 คน ผลการประชุมได้ข้อมูลบุคคล ครัวเรือนปฏิบัติการด้านความมั่นคงทางอาหารของ 15 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 จำนวน 10 ครัวเรือน

หมู่ที่ 2 จำนวน 4 ครัวเรือน

หมู่ที่ 3 จำนวน 8 ครัวเรือน

หมู่ที่ 4 จำนวน 6 ครัวเรือน

หมู่ที่ 5 จำนวน 3 ครัวเรือน

หมู่ที่ 6 จำนวน 12 ครัวเรือน

หมู่ที่ 7 จำนวน 5 ครัวเรือน

หมู่ที่ 8 จำนวน 13 ครัวเรือน

หมู่ที่ 9 จำนวน 17 ครัวเรือน

หมู่ที่ 10 จำนวน 4 ครัวเรือน

หมู่ที่ 11 จำนวน 45 ครัวเรือน

หมู่ที่ 12 จำนวน 14 ครัวเรือน

หมู่ที่ 13 จำนวน 5 ครัวเรือน

หมู่ที่ 14 จำนวน 6 ครัวเรือน

หมู่ที่ 15 จำนวน 49 ครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คืนข้อมุลบทเรียน 2 พื้นที่ต้นแบบ

กิจกรรมที่ทำจริง

ชุมเวลา 09.00 น ลงทะเบียน

เวลา 09.30 น ปลัดเทศบาลตำบลโคกม่วงกล่าวต้อนรับ แนะนำสถานที่

เวลา 10.00 น นายสมนึก นุ่นด้วง สร้างความเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมายโครงการ และให้แต่ละหมู่บ้านระดมความเห็นเพื่อให้ได้ข้อมุูลบุคคล ครอบครัวที่ดำเนินการปลูกผัก เสี้ยงสัตว์ เพื่อความมั่นคงทางอาหารของครอบครัว และชุมชน (เสริฟอาหารว่างในที่ประชุม)

เวลา 12.00 น พักรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 น แต่ละหมู่บ้านนำเสนอรูปแบบที่แต่ละบุคคล ครัวเรือนการดำเนินการ (เสริฟอาหารว่างในที่ประชุม)

เวลา 15.30 น เลิกประชุม

 

50 15,000

9. ติดตามประเมินผลพื้นที่การขยายผล 13 หมู่ไบ้าน 1ครั้ง

วันที่ 18 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างเครือข่ายและขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่นๆ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คณะทำงานเยี่ยมติดตามครอบครัวต้นแบบทุกหมู่บ้าน  / ครัวครัวต้นแบบได้ร่วมผลักดันแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานและภาคีร่วมพร้อมกันที่เทศบาลตำบลโคกม่วง ผู้รับผิดชอบโครงการได้รสร้างความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของทีมติดตามประเมินผล โดยให้ใช้กลยุทธ์การเสริมพลังการสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับตำบล ให้เสนอแนะและสร้างความเข้าใจแผนงานโครงการ ตามแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง สอบถามปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการจัดการความมั่นคงทางอาหารในทั้งในระดับครัวเรือน ชุมชน และระดับตำบล รายละเอียดดังนี้

  • สิ่งที่พบเห็น : โดยรวมครอบครัวต้นแบบ มีการปลูกผักสวนครัว ผักพื้นบ้าน เลี้ยงสัตว์เพื่อขาย เลี้ยวสัตว์เป็นอาหาร เลี้ยงปลา ทำน้ำหมัก ทำปุ๋ยหมัก เป็นคนขยัน ทำงานประณีต เป็นที่ยอมรับของชุมชน และมีครอบครัวเครือข่ายที่มีความสัมพันธ์แบบแปรผันตาม ซึ่งจะเป็นโอกาสของกายขยายผลตามแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารในโอกาสต่อไป
  • ปัญหาอุปสรรค : พื้นที่ส่วนใหญ่ขาดการจัดการน้ำ จะมีเพียงแต่บ้านต้นแบบที่มีการจัดการน้ำในครอบครัว แต่โดยรวมของชุมชนยังไม่มีการจัดการน้ำที่ดีพอ เพื่อให้สามารถมีน้ำเพื่อการเกษตร เช่นเดียวกับหมู่ที่ 11 มีความขัดแย้งที่เกิดจากการไม่จัดการนี้ที่ดีเช่นการเจาะท้ายฝายเก็บน้ำเพื่อนำน้ำไปใช้คนเดียว การสูบน้ำออกจากอ่าง/บ่อ เพื่อจับปลาในหน้าแล้ง เป็นเหตุให้น้ำขุ่นข้นใช้ไม่ได้ และหรือน้ำแห้ง
  • ข้อเสนอแนะ : 1. การจัดการแหล่งน้ำชุมชนโดยใช้กติกา และใช้มาตรการทางสังคมกับผู้ละเมิดกติกา เช่นการจัดการแนวป้องกันน้ำบ่าท่วมพื้นที่การเกษตร การขุดบ่อ ขุดสระสาธารณะ ให้ชุมชนใช้ร่วมกัน
        : 2. การมีแหล่งน้ำเฉพาะครัวเรือน ด้วยการแบ่งพื้นที่การเกษตรส่วนหนึ่งขุดเป็นแหล่งน้ำเป็นการลงทุนครั้งเดียวที่ช่วยให้ครอบครัวมีน้ำใช้ตลอดไป
          : 3. ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการกักเก็บน้ำในพื้นที่สวนยาง เช่นการสร้างฝายชะลอน้ำตามแบบอย่างของบ้านทุ่งยาว ซึ่งชุมชนสามารถเรียนรู้ได้จากในตำบล และสร้างได้ด้วยต้นทุนในชุมชน แรงงานในชุมชน ฝายชะลอน้ำจะช่วยให้ผืนดินดูดซึมซับน้ำไว้ในหน้าฝน และค่อยๆ ปลอดปล่อยน้ำออกมาในหน้าแล้ง จากความสำเร็จของหมู่ที่ 11 บ้านทุ่งยาว
        : 4 ตำบลโคกม่วงต้องสร้างเมนูอาหารจากภูมิปัญญาชมชน และสร้างชื่อเสียง สร้างค่านิยม เพื่อส่งเสริมกระแสความมั่นคงทางอาหารของตำบล ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยเทศบาลร่วมกับชุมชน /ศูนย์เรียนรู้/วิสาหกิจ /กลุ่ม /หรือครัวเรือนต้นแบบ เช่น หมู่ที่ 4 บ้านไร่ลุ่มประกาศเมนูแกงแพะเป็นเมนูเด็ดของชุมชน และเปิดบริการเชือดชำแหละแพะ “คิดถึงแพะ คิดถึงบ้านไร่ลุ่ม”     : 5. การกำหนดนโยบายความมั่นคงทางอาหาร และผลักดันแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วงไปสู่หน่วยงาน องค์กร ชุมชน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างพื้นที่ปฏิบัติการให้เห็นรูปธรรมความสำเร็จ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

การติดตามประเมินพื้นที่ขยายผลความมั่นคงทางอาหาร ครั้งที่ 1 โดยคณะทำงานและภาคีดังนี้
คณะทำงานและภาคีที่เกี่ยวข้อง 10 คน

กิจกรรมที่ทำจริง

การติดตามประเมินพื้นที่ขยายผลความมั่นคงทางอาหาร โดยคณะทำงานและภาคีดังนี้ 10 คน
1. นายมนูญ สุขรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11 คณะทำงาน 2. นางสาวอุบลรัตน์ เมืองสง นักวิชาการสาธารณสุข เทศบาลตำบลโคกม่วง คณะทำงาน /ภาคท้องถิ่น 3. นางสาวสายพิณ โปชะดา นักวิชาการสาธารณสุข รพ.สต.บ้านเกาะทองสม คณะทำงาน /ภาครัฐ 4. นายถาวร คงศรี คณะทำงาน
5. นายณัฐพงค์ คงสง คณะทำงาน 6. นางสาวไพลิน ทิพย์สังข์ คณะทำงาน 7. นายวิโรจน์ เกตุทอง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 15 คณะทำงาน 8. นายสมมิตร ปานเพชร  คณะทำงาน 9. นายชำนาญ สงชู ผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์ สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ SDGs PGS พัทลุง/ภาคประชาสังคม 10. นายสมนึก นุ่นด้วง คณะทำงาน /ผู้รับผิดชอบโครงการ

คณะทำงาน

 

39 10

10. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3

วันที่ 10 มิถุนายน 2562 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างเครือข่ายและขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่นๆ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

มีแผนการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • แผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง
  • การมีส่วนร่วมจากภาคีที่เกี่ยวข้องในการทำแผนฯ (ศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสาน/ รพสต/ท้องถิ่นงานเกษตร/งานสาธารณสุข / งานพัฒนาชุมชน ) รายละเอียดตามเอกสารแนบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3

กิจกรรมที่ทำจริง

  • 9.30น ลงทะเบียน
  • 10.00 น รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามโครงการ รายงานผลการวิเคราะห์ขอ้มูลตำบลโคกม่วง ข้อมุลพื้นที่ต้นแบบ 2 หมู่บ้าน (รับประทานอาหารว่าง)
  • 12.00 รับประทานอาหารกลางวัน
  • 13.00 ร่วมกันยกร่างแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง จากข้อมุลที่มี (รับประทานอาหารว่าง)
  • 15.30 เลิกประชุมรับเงินค่าเดินทาง

 

10 10

11. แกนนำปฏิบัติการดูงานหมู่บ้านต้นแบบ

วันที่ 16 มิถุนายน 2562 เวลา 09:00-16.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างเครือข่ายและขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่นๆ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

คนปฏิบัติการต้นแบบได้เรียนรู้และสามารถนำไปทำแผนได้

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. กลุ่มเป้าหมายร่วมดูงานครบ 15 หมุ่บ้าน
  2. แกนนำได้เรียนรู้จากผู้ปฏิบัติการจริง และมีความสำเร็จ
  3. แกนนำได้เรียนรู้ทั้งวิธีคิด และวิธีปฏิบัติ เพื่อนำไปจัดทำแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วงต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ดูงานหมู่บ้านต้นแบบ

กิจกรรมที่ทำจริง

  • 10.00 น แกนนำของแต่ละหมู่บ้านมาถึงพร้อมกันที่ศูนย์เรียนรู้หมู่ที่ 11 บ้านทุ่งยาว ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ดูงาน รับประทานแอาหารว่าง
  • 10.30 น ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงค์
  • 10.45 น ประธานศูนย์เรียนรู และคณะ แนะนำการจัดการเพื่อความมั่นคงทางอาหารของบ้านทุ่งยาว ด้วยการสร้างศูนย์เรียนรู้ การสร้างต้นแบบ การรวมกลุ่ม การแลกเปลี่ยนเรียนรุ้ร่วมกันของสมาชิก
  1. คุณณรงค์ ปิ่นมณี แนะนำการปลูกพืชผักสวนครัว และการเลี้ยงปลาไว้กินในครัวเรือน ที่ฐานเรียนรู้ของตนเอง มีการปลูกพืชผัก ผลไม้หลากหลายชนิด ร่วมกับการเลี้ยงปลาดุก 1 บ่อ และปลากินพืชอีก 1 บ่อ ในครอบครัวไม่ต้องซื้อผัก ปลา ตลอดมา (แกนนำเยี่ยมชมแปลง)
  2. คุณทวี จันทร์ขาว แกนนำการปลูกผักอินทรีย์เสริมพลังด้านการทำปุ๋ยอินทรีย์ด้วยเชื้อราท้องถิ่น เพื่อการปลูกผักอินทรีย์ ตนเองได้รับความรู้ทางวิชาการ และได้รับการสนีับสนุนจาก ICOFIS มหาวิทยาลัยทักษิณ จนสามารถทำปุ๋ย ปลูกผักอินทรีย์เป็นมีรายได้เป็นอาชีพหลัก และเปลี่ยนรการทำสวนยางเป็นอาชีพเสริม ลูกสาว อัญญมณี จันทร์ขาว ได้ลาออกจากพนักงานบริษัท CP ALL มาทำงานกับครอบครัวปลูกผักอินทรีย์ มีรายได้เฉลี่ย 26,000 บาท/เดือน ทำได้ตลอดปี ทั้งมีความอบอุ่นในครอบครัวเพิ่มขึ้น (แกนนำเยี่ยมชมแปลง)

- 12.00 น พักรับประทานอาหารกลางวัน - 13.00 น  คุณสมมิตร ปานเพชร ประธานวิสาหกิจชุมชนบ้านทุุ่งยาวพัฒนา ได้เสริมพลังแกนนำให้เห็นว่าการทำเกษตรจะต้องคำนึงถึง สภาพแวดล้อมที่เอื้อเป็นสำคัญ ที่นี่เคยขาดแคลนน้ำ เราจึงจัดการเรื่องน้ำก่อนเมื่อปี 2557 มีน้ำแล้วจึงได้สร้างอาชีพเสริม ทำการเกษตรอินทรีย์เพื่อสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน เบื้องต้นตันทุนการเกษตรอินทรีย์จะสูง กำไรน้อย แต่ตนทำมี 4 ปี ตอนนี้รายได้จากแปลงเกษตรอินทรีย์ 46000บาท ที่ตันทุน 7500 บาท ค่าแรงไม่คิดเพราะทำหลังการกรีตยางเสร็จ การทำการเกษตรอินทรีย์ ต้องใช้เวลากว่าจะได้การรับรองมาตรฐาน ตนทำมา 4 ปี ปัจจุบันได้รับมาตรฐาน Organic Thailand การร่วมกลุ่มกำทำจึงมีความจำเป็น เพราะการเรียนรู้รร่วมกันนั้นสำคัญต่อการพัฒนา จนที่สุดกลุ่มของตนจึงตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน - 14.30 น รับประทานอาหารว่าง ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียงบ้านเกาะทองสมใหม่ 1. คุณวิโรจน์ เหตุทอง ประธานศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียงบ้านเกาะทองสมใหม่ แนะนำเรื่องการประสานงบประมาณ และประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ โดยใช้แผนพัฒนาหมู่บ้านเป้นเครื่องมือ ปัจจัยสำคัญในทำแผนพัฒนาให้ได้รับการสนับสนุนงบประมาณคือ

1.1 ข้อมูลถูกต้อง วิเคราะห์ชัดเจน กำหนดทิศทางร่วมกับหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ 1.2 ต้องเชิญส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการทำแผนตั้งแต่ต้นทาง
1.3 ประชาชนกลุ่มเป้าหมายต้องมีการร่วมกลุ่ม 1.4 โครงการที่เสนอต้องมีหลักฐาน หรือข้อมุลการทำงานของกลุ่มชัดเจน ต้องเข้าหลักเกฯฑ์ท่ีหน่วยงานจะสนับสนุน ต้องมีความเป้นไปได้ว่าจะทำได้จริงบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ทำโครงการแล้วจะต้องเป็นตัวคูณให้ประชาชนทั่วไปได้รับประโยชน์ด้วยอย่างเสมอภาค

  • 16.00 น เสร็จสิ้นการดูงาน แกนนำรับค่าเดินทางแยกย้ายกลับบ้าน

 

45 0

12. เวทีพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง

วันที่ 19 มิถุนายน 2562 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างเครือข่ายและขยายผลไปยังหมู่บ้านอื่นๆ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

การเชื่อมร้อยเครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. แกนนำที่ปฏิบัติการปลูกพืช/เลี้ยงสัตวปลอดสารเคมีเป็นต้นแบบครัวเรือนเข้าร่วมประชุมทั้ง 15 หมู่บ้าน ร่วมกับ 3 ภาคี รพสต. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกตร นักพัฒนาชุมชน
  2. การพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง ที่ประกอบด้วย   2.1 ทิศทางการพัฒนาของแผนยุทธศาสตร์   2.2 การวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง   2.3    วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายสูงสุดของแผนยุทธศาสตร์ ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์   2.4    กลยุทธ์และโครงการ   2.5    การเชื่อมโยงการแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ(โครงการ...)

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

แกนนำหมู่คณะทำงานจำนวน 20 คน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ดูงานเชื่อยร้อยเครือข่าย ความมั่นคงทางอาหาร

กิจกรรมที่ทำจริง

• เวลา 09.30 น แกนนำหมู่บ้านละ 3 คนมาพร้อมกันที่ห้องประชุมเทศบาลตำบลโคกม่วง ลงทะเบียน • เวลา 10.00 น นายกเทศมนตรีกล่าวต้อนรับ แจ้งวัตถุประสงค์การพัฒนาแผนยุทศาสตร์อาหารตำบลโคกม่วง • เวลา 10.20 น พักรับประทานอาหารว่าง • เวลา 10.30 น ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงวิธี และกระบวนการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง ตามด้วยการนำเสนอข้อมูลระดับตำบล และรูปแบบการดำเนินการของหมู่บ้านต้นแบบ • เวลา 12.00 น พักรับประทานอาหารกลางวัน • เวลา 13.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงทางอาหารตำบลโคกม่วง ตามด้วยผู้ใหญ่วิโรจน์ เหตุทอง เน้นย้ำวิธีการทำแผนงาน/โครงการ แล้วให้ทุกคนช่วยกันเสนอความเห็น เสนอโครงการ • เวลา 14.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง • เวลา 14.45 น ดำเนินการเสนอความเห็นเสนอโครงการต่อจนครอบคลุมทุกประเด็นยุทธศาสตร์ • เวลา 16.00 น ผู้เข้าร่วมประชุมรับเงินค่าเดินทางแยกย้ายกลับบ้าน

 

20 20

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 20 12                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 150,000.00 93,680.00                  
คุณภาพกิจกรรม 48 36                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. เก็บ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลความมั่นคงทางอาหารของหมู่บ้านต้นแบบ (ม.11,15) ( 10 มี.ค. 2562 )

(................................)
นายสมนึก นุ่นด้วง
ผู้รับผิดชอบโครงการ