ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล
แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1
ชื่อโครงการ ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ชุมชน บ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง 61-ข-058
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 มิถุนายน 2561 ถึง 15 มีนาคม 2562
รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กรกฎาคม 2561 ถึงเดือน พฤษภาคม 2562
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์** กิจกรรมของโครงการ | ผลผลิต* | |
---|---|---|
ผลผลิตที่ตั้งไว้ | ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง | |
1. ร่วมประชุมรับฟังคำชี้แจงรายละเอียดการดำเนินโครงการ |
||
วันที่ 13 กรกฎาคม 2561 เวลา 08:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทบทวนสถานการณ์ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงปัจจัยที่ 1 คน ด้านพฤติกรรม พฤติกรรมคนในชุมชนและผู้มาเยือน
• คนในชุมชน
o มีการปรับพฤติกรรมในการต้อนรับเพื่อสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวภายใต้วิถีชีวิตดีขึ้น
o เกิดความเห็นแก่ตัวและมองเรื่องผลประโยชน์มากกว่าความสัมพันธ์ที่ดีภายในชุมชน
• นักท่องเที่ยว
o กลุ่มเฉพาะ (Need market) ให้ความสนใจและลึกซึ้งกับกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชน
o กลุ่มทั่วไป (Mass Tourist) ต้องการความสะดวกสบายในด้านบริการ เช่น ห้องพัก ยานพาหนะ เป็นต้น ซึ่งไม่ได้อยู่ภายใต้วิถีชีวิตของชุมชน ด้านความเชื่อ ด้านกลุ่มวัย การดำเนินงานมีหลายกลุ่มและหลากหลายวัย ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกัน
• คนในชุมชน
o กลุ่มผู้สูงอายุ ทำหน้าที่เป็นวิทยากรภูมิปัญญา
o กลุ่มผู้ใหญ่ทำหน้าที่เป็นผู้นำและให้คำปรึกษา ปัจจัยที่ 2 สภาพแวดล้อม ปัจจัยที่ 3 ด้านสังคม ปัจจัยที่ 4 ด้านเศรษฐกิจ 1.รายได้เสริม มีรายได้เสริมมากว่ารายได้หลัก กระจายรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม 2.ของฝากของที่ระลึก ไม่มีของฝากภายใต้อัตลักษณ์ชุมชน กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนประชุมกลุ่มย่อยเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล กิจกรรมที่ทำจริงประชุมกลุ่มย่อยเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม ปัญหาอุปสรรค ในการดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล
|
2 | 10 |
2. จัดประชุมเพื่อชี้แจงการดำเนินโครงการกับแกนนำของชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก |
||
วันที่ 16 กรกฎาคม 2561 เวลา 08:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อจัดทำรายละเอียดความเชื่อมโยงของ ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนระดับชาติ/ระดับภาคใต้/ระดับโซนอันดามัน/ระดับจังหวัด/ระดับชุมชน ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงแผนพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจชาติ ฉบับ 12 มุ่งเน้นการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางด้านสังคม โดยการเสริมศักยภาพด้านเศรษฐกิจชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางการเงินฐานราก ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ชุมชนพึงพาตนเองได้ มีสิทธิ์ในการจัดการทุนที่ดินและทรัพยากรภายในชุมชน อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการเสริมความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ในยุทธศาสตร์ที่ 3 โดยการเสริมสร้างและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันภาคการผลิตและบริการ รวมถึงการท่องเที่ยวและพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงบูรณาการ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนายุทศาสตร์ CBT 59-63 อพท. และแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (2560-2564) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แผนการพัฒนาระบดับชาติเป็นแนวทางให้กับแผนยุทธศาสตร์ CBT อันดามัน และแผนท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูกที่แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ที่ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในชุมชน /สิ่งอำนวยความสะดวก ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านการให้บริการและความปลอดภัย ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาการตลาดและประชาสัมพันธ์ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน และยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ของชุมชน กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนจัดทำรายละเอียดความเชื่อมโยงของ โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ความสัมพันธ์ของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนระดับชาติ ระดับภาคใต้ ระดับโซนอันดามัน ระดับจังหวัด ระดับชุมชน กิจกรรมที่ทำจริงรายละเอียดความเชื่อมโยงของ ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนระดับชาติ/ระดับภาคใต้/ระดับโซนอันดามัน/ระดับจังหวัด/ระดับชุมชน
|
10 | 10 |
3. จัดประชุมเพื่อเก็บข้อมูลการจัดการท่องเที่ยวของชุมชนเพื่อกลั่นกรอง |
||
วันที่ 28 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อวิเคระห์ผลกระทบเบื้องต้นจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชน ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงผลกระทบเบื้องต้นจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนทั้งระดับชาติ ระดับภาค ระดับโซนอันดามัน ระดับจังหวัด และระดับชุมชน กระทบด้านวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของชุมชน กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน• ร่วมวิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนทั้งระดับชาติ ระดับภาค ระดับโซนอันดามัน ระดับจังหวัด และระดับชุมชน กิจกรรมที่ทำจริง• ร่วมวิเคราะห์และคาดการณ์ผลกระทบเบื้องต้นจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนทั้งระดับชาติ ระดับภาค ระดับโซนอันดามัน ระดับจังหวัด และระดับชุมชน
|
15 | 15 |
4. จัดประชุมเพื่อนำเสนอร่างเครื่องมือการประเมิน |
||
วันที่ 21 กันยายน 2561 เวลา 08:30 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อกำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา พื้นที่ ระยะเวลา และจัดทำตัวชี้วัด เครื่องมือในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงกำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา พื้นที่ ระยะเวลา และจัดทำตัวชี้วัด เครื่องมือในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน1.ทีมประเมินวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder analysis) ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล
2.ทีมประเมิน ร่วมกับตัวแทนกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ ของการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล เพื่อพิจารณาถึงผลกระทบของกิจกรรมต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยกำหนดสุขภาพ (ปัจจัยด้านคน สภาพแวดล้อม และระบบกลไก) และผลกระทบทางสุขภาพ สรุปประเด็นปัจจัยกำหนดสุขภาพที่เกิดจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล กิจกรรมที่ทำจริง1.ทีมประเมินวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder analysis) ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล
2.ทีมประเมิน ร่วมกับตัวแทนกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ ของการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล เพื่อพิจารณาถึงผลกระทบของกิจกรรมต่อการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยกำหนดสุขภาพ (ปัจจัยด้านคน สภาพแวดล้อม และระบบกลไก) และผลกระทบทางสุขภาพ สรุปประเด็นปัจจัยกำหนดสุขภาพที่เกิดจากยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล
|
20 | 20 |
5. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ |
||
วันที่ 5 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อรายงานความก้าวหน้าโครงการ ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงนำเสนอผลการวิจัยของพื้นที่จังหวัดสตูล ผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก สามารถสรุปข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถามและข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบสัมภาษณ์ ตามเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และเชิงธรณีวิทยา โดยมีแหล่งท่องเที่ยวประกอบด้วย สถานที่บ่อเจ็ดลูก อ่าวโต๊ะบะ และเกาะเขาใหญ่ โดยการเก็บรวมรวมข้อมูลจากตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งแกนนำชุมชนด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก รวมถึงนักท่องเที่ยว สามารถสรุปผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูกได้ว่าการดำเนินงานการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในทุกระดับภาคมีผลกระทบทางสุขภาพมิติด้านสังคม มิติด้านสิ่งแวดล้อม และมิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน ในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ โดยผลกระทบเชิงบวกด้านสังคม มากที่สุด รองลงมาคือผลกระทบด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในชุมชน และสามารถสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้กับชุมชนมีความมั่นคง กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการฯ กิจกรรมที่ทำจริงร่วมประชุมหารือกับทีมวิจัยในพื้นที่ อันดามันและรับงฟังการนำเสนอก้าวหน้าของแต่ละพื้นที่
|
2 | 2 |
6. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ |
||
วันที่ 17 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อรายงานความก้าวหน้าโครงการ ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้• ความถูกต้อง และความครบถ้วนของข้อมูลและข้อสรุปในรายงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก • รายงานรายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลุก และข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูกและโซนอันดามัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงแบบสอบถามประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน
บ้านบ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล
แบบแบบสอบถามประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชน คำชี้แจง แบบสอบถามประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้าน บ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล 2 ตอนคือแบบสอบถามและข้อเสนอแนะ โดยการออกแบบสอบถามเกิดการการสังเคราะห์การดำเนินงานการท่องเที่ยวโดยชุมชนกรอปกับแนวคิดทฤษฎีการประเมินผลกระทบเชิงสุขภาพ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ จากการดำเนินการวิเคราะห์ยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ ของการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล เพื่อพิจารณาถึงผลกระทบเชิงสุขภาพจากการดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา ของชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล ซึ่งสามารถจำแนกประเด็นการประเมินผลต่อการเปลี่ยนแปลงสุขภาพของคนในชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล โดยเก็บในพื้นที่เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา เนื่องจากเป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมของนักท่องเที่ยว โดยแบ่งตัวชี้วัดออกเป็น 3 มิติที่มีความสำคัญและซึ่งได้รับการยืนยันจากผู้ดำเนินงานการท่องเที่ยวในพื้นที่บ่อเจ็ดลูก มีรายละเอียดแต่ละมิติดังต่อไปนี้ 1. มิติทางสังคม เป็นการประเมินผลกระทบความเข้มแข็งของชุมชนซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อในหลักคำสอนศาสนาอิสลามของชาวบ้าน และนักท่องเที่ยวในชุมชนบ่อเจ็ดลูก อีกทั้งยังเป็นการประเมินการดำเนินการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในทุกกลุ่มวัย รวมถึงการเคารพในกฎ กติกา ข้อตกลงร่วมกันของคนในชุมชน และนักท่องเที่ยว 2. มิติทางสิ่งแวดล้อม เป็นการประเมินการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งที่เป็นทางธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้นในประเด็นระบบการจัดการขยะบนแหล่งท่องเที่ยว ความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน และการอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยาให้คงสภาพเดิมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 3. มิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน เป็นการประเมินผลภาวการณ์จ้างงานและการสร้างรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวโดยชุมชน จากตัวชี้วัดในมิติข้างต้นสามารถแยกประเด็นในการประเมินผลกระทบสุขภาพจากการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก จังหวัดสตูล โดยมีเกณฑ์การวัดออกเป็น 6 ระดับโดยมีแนวคิดตามวิธีของลิเคร์ท (Likert) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 6 ระดับ (Rating Scale) ดังต่อไปนี้ ระดับ 6 หมายถึง ผลกระทบมากที่สุด ระดับ 5 หมายถึง ผลกระทบมาก ระดับ 4 หมายถึง ผลกระทบค่อนข้างมาก ระดับ 3 หมายถึง ผลกระทบน้อย ระดับ 2 หมายถึง ผลกระทบน้อยมาก ระดับ 1 หมายถึง ผลกระทบน้อยมากที่สุด รายละเอียดตัวชี้วัด และเครื่องมือ ในการประเมินทั้งเครื่องมือเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ และแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล
ตัวชี้วัดประกอบด้วยมิติทางสังคม จำนวน 16 ข้อ มิติทางสิ่งแวดล้อม จำนวน 15 ข้อ และ
มิติทางเศรษฐกิจพื้นฐาน จำนวน 12 ข้อ
ปัจจัยกำหนดสุขภาพ ระดับผลกระทบ
ปัจจัยย่อย ปัจจัยย่อย 6 5 4 3 2 1
2. มิติทางสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวโดยชุมชนส่งผลให้เกิดปัญหาขยะบนแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา (ปราสาทหินพันยอด อ่าวโต๊ะบ๊ะ) กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนนำเสนอรายงานความก้าวหน้าผลการกลั่นกรอง กิจกรรมที่ทำจริงร่วมรับฟังผลการศึกษาของพื้นที่อื่นๆและนำเสนอผลการศึกษาของจังหวัดสตูล
|
2 | 2 |
7. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก |
||
วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 09:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้• เพื่อกำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา พื้นที่ ระยะเวลา และจัดทำตัวชี้วัด เครื่องมือในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนชุมชนบ่อเจ็ดลูก • เพื่อให้ได้รายละเอียดตัวชี้วัด และเครื่องมือ ในการประเมินทั้งเครื่องมือเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ และแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกในมิติทางสังคม พบว่า การดำเนินงานการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในทุกระดับภาคมีผลกระทบทางสุขภาพด้านสังคมเชิงบวก อยู่ในระดับ มาก (X=4.98) โดย ผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ มากที่สุด คือ การท่องเที่ยวสามารถสร้างงานให้เยาวชนส่งผลให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ (X=5.53)
รองลงมาคือผลกระทบเชิงบวกที่มีระดับ มาก ประกอบด้วยผลกระทบในประเด็น นักท่องเที่ยวมีทัศนคติที่ดีต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ (X=5.47) ชาวบ้านในชุมชนมีเครือข่ายภายนอกเพิ่มมากขึ้น (X=5.37) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา (X=5.33) ชาวบ้านมีความรักและหวงแหนทรัพยากรชุมชนมากยิ่งขึ้น (X=5.33) การท่องเที่ยวชุมชนทำให้เกิดการฟื้นฟูวัฒนธรรมชุมชน (X=5.23) เยาวชนในชุมชนมีจิตสำนึกรักษ์บ้านเกิด มีการทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวมมากขึ้น (X=5.23) เปิดโอกาสในเข้าร่วมดำเนินงานให้ผู้สูงวัยหรือคนพิการ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี (X=5.13) เปิดโอกาสในเข้าร่วมดำเนินงานให้ผู้สูงวัยหรือคนพิการ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี (X=5.13) การดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนใช้หลักคำสอนศาสนาอิสลามเป็นแนวทางในการจัดการ (X=5.10) ชาวบ้านในชุมชนมีสวนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว (X=5.03) ชาวบ้านในชุมชนเคารพในกฎ กติกา และข้อตกลงร่วมกันของคนในชุมชน (X=4.97) การดำเนินการท่องเที่ยวทำให้ชุมชนเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น (X=4.83) เยาวชนมีแนวความคิดในการพัฒนาตนเองดีขึ้น เช่น ศึกษาต่อมากขึ้น กลับมาเรียนนอกระบบมากขึ้น (X=4.73) และการท่องเที่ยวทำให้คนในชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเพราะได้รับอิทธิพลจากสังคมภายนอก (X=4.67) ตามลำดับ กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนลงพื้นที่นำแบบสอบถามทำความเขาใจกับแกนนำและให้แกนนำเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยว / ทีมวิจัยลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวพร้อมสัมภาษณ์ กิจกรรมที่ทำจริงลงพื้นที่นำแบบสอบถามทำความเขาใจกับแกนนำและให้แกนนำเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยว / ทีมวิจัยลงพื้นที่เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวพร้อมสัมภาษณ์
|
20 | 20 |
8. จัดประชุมเพื่อนำเสนอร่างผลการศึกษาให้ผู้เกี่ยวข้องหาข้อเสนอแนะเพิ่มเติม |
||
วันที่ 13 มีนาคม 2562 เวลา 09:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทบทวนร่างรายงานผลการศึกษาให้ผุ้เกี่ยวข้องร่วมกันในข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้• ความถูกต้อง และความครบถ้วนของข้อมูลและข้อสรุปในรายงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก • รายงานรายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลุก และข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูกและโซนอันดามัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง
กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนนำเสนอรา่งผลการศึกษา/ให้ผู้เกี่ยวร่วมกันในข้อเสนอแนะเพิ่มเติม กิจกรรมที่ทำจริงร่างรายงานผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูก
|
28 | 28 |
9. รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ |
||
วันที่ 4 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00 น.วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้• ความถูกต้อง และความครบถ้วนของข้อมูลและข้อสรุปในรายงานการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก • รายงานรายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลุก และข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูกและโซนอันดามัน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงผลการประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูก และข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามัน การประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวชุมชนบ่อเจ็ดลูก และข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามันมีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติ ระดับภาค ระดับจังหวัด และระดับชุมชน โดยประเด็นหลักจากการประเมินในครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาต้องคำนึงถึงประเด็น สร้างความรู้ความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อให้ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในระดับเดียวกัน สร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้สามารถพึงพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัว สร้างการเรียนรู้ภูมิสังคมให้แก่เยาวชนตั้งแต่ระดับการเรียนขึ้นพื้นฐานโดยการบูรณาการกับหลักสูตรของโรงเรียนในพื้นที่ บูรณาการการทำงานร่วมกันขององค์กรเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและฟื้นฟูวัฒนธรรม ยกระดับการอนุรักษ์เพื่อความยั่งยืนโดยการบริหารจัดการโดยชาวบ้านในชุมชน สร้างความรู้ด้าน SME สร้างเครือข่ายด้านธุรกิจ ส่งเสริมอาชีพ และลดความเลื่อมล้ำในชุมชนโดยการกระจายรายได้ ดังนั้น การปรับปรุงยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวชุมชนโซนอันดามัน จึงควรส่งเสริมการพัฒนาคน พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ ยกระดับและสร้างมูลค่าเพิ่มในการบริการการท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้มีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ชุมชนด้านธรรมชาติและวัฒนธรรม ภายใต้ความสมดุลของมิติสังคม มิติวัฒนธรรม และมิติเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วย ยุทธศาสตร์การพัฒนาคน ยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งภายใต้การอนุรักษ์ ยุทธศาสตร์การพัฒนากลไกการบริหารจัดการ ยุทธศาสตร์การสร้างระบบการตลาดและเครือข่าย ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งชุมชนให้สามารถพึงพาตนเองได้ และยุทธศาสตร์การลดความเหลื่อมล้ำของคนในชุมช กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนนำเสนอผลการดำเนินโครงการ กิจกรรมที่ทำจริงนำเสนอผลการดำเนินโครงการ
|
2 | 2 |
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ
ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการ | ทั้งหมด | ทำแล้ว | 10% | 20% | 30% | 40% | 50% | 60% | 70% | 80% | 90% | 100% |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การทำกิจกรรม | 9 | 9 | ✔ | |||||||||
การใช้จ่ายงบประมาณ | 100,000.00 | 100,500.00 | ||||||||||
คุณภาพกิจกรรม | 36 | 30 | ✔ |
ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)
ประเด็นปัญหา/อุปสรรค | สาเหตุเพราะ | แนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน |
---|---|---|
|
|
|
แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป
- ลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชนบ้านบ่อเจ็ดลูก ( 16 ก.พ. 2562 )
(................................)
นางสาวภัชกุล ตรีพันธ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ