ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ชื่อโครงการ | ประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล |
ภายใต้โครงการ | แผนงานโซนใต้อันดามัน |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 มิถุนายน 2561 - 15 มีนาคม 2562 |
งบประมาณ | 100,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวภัชกุล ตรีพันธ์ |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | บ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มิ.ย. 2561 | 31 ธ.ค. 2561 | 1 ก.ค. 2561 | 31 พ.ค. 2562 | 70,000.00 | |
2 | 1 ม.ค. 2562 | 28 ก.พ. 2562 | 20,000.00 | |||
3 | 1 มี.ค. 2562 | 31 พ.ค. 2562 | 10,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 100,000.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโลกและเป็นที่ยอมรับกันเกือบทุกประเทศว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้หลักเข้าสู่ประเทศอันดับต้น ๆ อีกทั้งยังมีแนวโน้มในการขยายตัวและเจริญเติบโตเพิ่มขึ้นอีกในอนาคตตามที่องค์การท่องเที่ยวแห่งประชาชาติ (United World Tourism Organization: UNWTO) ได้พยากรณ์ ในปี พ.ศ.2563 จะมีนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศจำนวน 1,600 ล้านคน ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวอย่างมหาศาล ประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก จากการคาดการณ์ในปี พ.ศ.2563 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยว 71 ล้านคน เท่ากับจำนวนประชากรของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2563 (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2558) จากการข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวสูง มีบทบาทความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทยเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังสอดคล้องกับรายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยวฉบับแรกของปี พ.ศ. 2560 ซึ่งคาดการณ์ว่าสถานการณ์การท่องเที่ยวโลกในปี พ.ศ. 2560 จะเติบโตร้อยละ 3-4 ใกล้เคียงกับการเติบโตของปี พ.ศ. 2559 สำหรับประเทศไทย เริ่มต้นปีด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจำนวน 9.07 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 0.41 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา สร้างรายได้ 4.72 แสนล้านบาท ในขณะที่ จำนวนนักท่องเที่ยวภายในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.43 ก่อให้เกิดรายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศ 2.31 แสนล้านบาท และเป็นที่คาดการณ์ว่า ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2560 จะมีรายได้ จากการท่องเที่ยวรวม 2.75 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2559 ร้อยละ 9.84 โดยเป็นรายได้ที่มาจากนักท่องเที่ยว ต่างชาติจำนวน 1.82 ล้านล้านบาท และมาจากนักท่องเที่ยวชาวไทย 0.93 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17-18 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ใกล้เคียงกับของปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2559) ดังนั้นการบริหารจัดการท่องเที่ยวประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคตจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการอนุรักษณ์ทรัพากรธรรมชาติและวัฒนธรรมให้มีความสมบูรณ์และคงความเป็นอัตลักษณ์ เพื่อสร้างความยั่งยืนในการจัดการการท่องเที่ยวสืบไป
ปัจจุบันการท่องเที่ยวจึงเกิดแนวคิดในการอนุรักษ์วิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงสิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกกันว่าการท่องเที่ยวทางเลือก (alternative tourism) ซึ่งได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมากในปัจจุบันและมีแนวโน้มจะได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง (การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย,2555) โดยเฉพาะแนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism) ซึ่งมุ่งหวังให้การจัดการท่องเที่ยวคำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม กำหนดทิศทางโดยชุมชน จัดการโดยชุมชนเพื่อชุมชน และชุมชนมีบทบาทเป็นเจ้าของมีสิทธิในการจัดการดูแลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้มาเยือน โดยมองว่าการท่องเที่ยวต้องทำงานครอบคลุม 5 ด้าน พร้อมกัน ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม โดยมีชุมชนเป็นเจ้าของและมีส่วนในการจัดการ การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นแนวคิดการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ซึ่งเป็นทุนทางสังคมของแต่ละในชุม โดยเปลี่ยนจากภาคการผลิตเป็นภาคบริการ หลายชุมชนในประเทศไทยให้ความสำคัญและพัฒนาชุมชนภายใต้แนวคิดดังกล่าว โดยสะท้อนได้จากการสำรวจตัวเลขชุมชนที่ทำเรื่องการท่องเที่ยวโดยใช้แนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชนทั่วประเทศเมื่อต้นปี 2560 พบว่ามีชุมชนจำนวน 264 ชุมชนทั่วประเทศ แยกออกเป็นภาคเหนือ 82 ชุมชน ภาคอีสาน 57 ชุมชน ภาคกลาง 62 ชุมชน และภาคใต้ 63 ชุมชน โดยส่วนใหญ่มีรูปแบบการให้บริการทั้งแบบไปกลับในวันเดียวและพักค้างคืน คิดเป็น 73 % สัดส่วนของนักท่องเที่ยวในภาคอีสาน ภาคกลางและภาคใต้ จะมีนักท่องเที่ยวชาวไทยมากกว่านักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ส่วนภาคเหนือมีสัดส่วนของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศมากกว่านักท่องเที่ยวชาวไทย (กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา,2560) จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการตื่นตัวของชุมชนเจ้าของทรัพยากรการท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาการท่องเที่ยวท่องเที่ยวโดนชุมชนเพื่ออนุรักษณ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวของตนเกิดความยั่งยืนและได้ประโยชน์สูงสุด โดยจังหวัดที่มีการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมากกที่สุด คือ เชียงใหม่ 32 แห่ง รองลงมาคือ สตูล 24 แห่ง และอันดับ 3 เชียงรางรายและชุมพรจำนวนเท่ากัน คือ 12 แห่ง (กรมการท่องเที่ยว,2560)
การนำแนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเข้ามาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมอีกทั้งยังเป็นเครื่องมือและแนวทางหลักในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรของชุมชนโดยเฉพาะในภาคใต้โซนอันดามันที่เห็ได้ชัดเจนถึงความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของทรัพยากรโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดสตูล ซึ่งมีการดำเนินงานการท่องเที่ยวโดยชุมชนมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ และเป็นที่รู้จักของกลุ่มนักท่องเที่ยวเฉพาะที่ต้องการสร้างประสบการณ์ ซึ่งการดำเนินการท่องเที่ยวโดยชุมชนของจัดหวัดสตูลมีการจัดตังกลุ่มเครือข่ายโดยมีชุมชนบ่อเจ้ดลูกที่ดำเนินงานเป็นกลุ่มแรกของจังหวัด และยังมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันจน การดำเนินงานของชุมชนบ่อเจ้ดลูกมีแนวโน้มและการเจริญเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีเนื่องจาก มีทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมที่โดนเด่น และตั้งแต่ได้รับการประกาศเป้นอุทยานธรณีโลก ส่งผลให้ชุมชนเป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ชุมชนสามารถสร้างการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับเจ้าของพื้นที่ ดังนั้นการกำหนดนโยบายภาครัฐจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงลกระทบทางสุขภาพของคนในชุมชนซึ่งเป็นผู้รับนโยบายโดยตรง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำการประเมินผลกระทบทางสุขภาพเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูก อำเภอละงู จังหวัดสตูล เพื่อให้ผู้ดำเนินการและคนในชุมชนได้รับผลประโยชน์และมีความสุขมากที่สุด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อประเมินผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกจังหวัดสตูล ข้อมูลผลกระทบทางสุขภาพของยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกจังหวัดสตูล ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม |
||
2 | เพื่อเสนอแนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกจังหวัดสตูลที่เหมาะสมกับสุขภาพ แนวทางการกำหนดยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ่อเจ็ดลูกจังหวัดสตูลที่เหมาะสมกับสุขภาพของชุมชนโดยคำนึงถึงมิติ ด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ก.ค. 2561 09:02 น.