แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์
รายงานฉบับสมบูรณ์
สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
“ โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติในพื้นที่ 5 จังหวัดชาดแดนใต้ ”
จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.ปรียา แก้วพิมล
ชื่อโครงการ โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติในพื้นที่ 5 จังหวัดชาดแดนใต้
ที่อยู่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล จังหวัด
รหัสโครงการ - เลขที่ข้อตกลง 61-ข-043
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2561 ถึง 31 มกราคม 2562
กิตติกรรมประกาศ
"โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติในพื้นที่ 5 จังหวัดชาดแดนใต้ จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติในพื้นที่ 5 จังหวัดชาดแดนใต้
บทคัดย่อ
โครงการ " โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติในพื้นที่ 5 จังหวัดชาดแดนใต้ " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล รหัสโครงการ - ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2561 - 31 มกราคม 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 150,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 100 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้
โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ
บทคัดย่อ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
วัตถุประสงค์โครงการ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์ที่ได้
การประเมินผล
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
เอกสารประกอบอื่นๆ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- ถอดบทเรียนรู้การใช้รูปแบบการแพทย์พหุวัฒนธรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ ผลผลิต* ผลผลิตที่ตั้งไว้ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง
1. ประชุมคณะทำงาน
วันที่ 18 มิถุนายน 2561 เวลา 17:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ประชุมคณะทำงาน ทบทวนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการสุขภาพในสังคมพหุวัฒนะรรม
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1.ปรับแผนการทำงาน การดำเนินกิจกรรมในโครงการ
2.ออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูล
3.เอกสารการทบทวนวรรณกรรม
5
5
2. ประชุมคณะทำงาน
วันที่ 3 กรกฎาคม 2561 เวลา 13:00 น.กิจกรรมที่ทำ
1.ชี้แจงโครงการ
2.ประชุมแผนงานโครงการ
3.นำเสนอข้อมูล, สกัดเนื้อหาจากการทบทวนวรรณกรรมการบริการพหุวัฒนธรรมเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาเครื่องมือประเมินบริการการแพทย์พหุวัฒนธรรม
4.จัดทำร่างเครื่องมือประเมินการแพทย์พหุวัฒนธรรม
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1.ร่างเครื่องมือประเมินการแพทย์พหุวัฒนธรรมที่จะนำไปใช้นำร่องในพื้นที่เป้าหมาย
5
0
3. ลงพื้นที่โรงพยาบาลเทพา ครั้งที่1
วันที่ 10 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
เก็บข้อมูลการจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลเทพา โดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
เกิดข้อมูลการจัดบริการสุขภาพของโรงพยาบาลเทพา
30
10
4. พัฒนาเครื่องมือ
วันที่ 20 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
พัฒนาเครื่องมือในการเก็บข้อมูล
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
เกิดเครื่องมือ จำนวน 6ชุด เพื่อใช้การการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล
100
5
5. ลงพื้นที่โรงพยาบาลยะหริ่ง
วันที่ 21 สิงหาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
1.เก็บข้อมูลการจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลเทพาโดยใช้แบบสอบถาม
2.สัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
3.สังเกตการจัดกิจกรรม
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
พื้นที่อำเภอยะหริ่งมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ความเป็นพหุวัฒนธรรมของพื้นที่ยะหริ่งมีลักษณะของความแตกต่างในศาสนา (อิสลาม-พุทธ) ความแตกต่างในศาสนาเดียวกันที่มีแนวคิดการตีความแตกต่างกัน เป็นพื้นที่ที่มีความเห็นต่างในเชิงสังคมการเมืองการปกครอง (เป็นพื้นที่ที่มีสถานการณ์ความรุนแรงอย่างต่อเนื่องการลอบยิง วางระเบิด จนปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2562) อาณาเขตที่เป็นพื้นที่ชายทะเลเป็นแนวยาวและอาณาบริเวณที่กว้างทำให้เกิดความแตกต่างของสถานะทางเศรษฐกิจ สังคม ชีวิตผู้คน (ชุมชนชายประมง ชุมชนชาวบ้าน ชุมชนเขตอำเภอตามวิถีคนเมือง) ช่องว่างทางการศึกษา รายได้ ประชากรส่วนหนึ่งในพื้นที่มักนิยมเดินทางไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน และเนื่องจากเป็นพื้นที่ติดทะเลมักพบชาวต่างชาติมาอาศัยในพื้นที่ เช่น พม่า ชาวกัมพูชา ชาวโรฮิงยา เป็นต้น จากสภาพความเป็นพหุวัฒนธรรมเหล่านี้ทำให้ต้นทุนชีวิต ภาวะสุขภาพผู้คนมีความแตกต่างกัน
โรงพยาบาลยะหริ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชนมีต้นทุนการทำงานที่บูรณการความเป็นพหุวัฒนธรรมในทุกหน่วยงานย่อยและพยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการเพื่อตอบโจทย์ปัญหาสุภาพของพื้นที่ ประเด็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยและสัมพันธ์กับบริบทความเชื่อ ศาสนาและวิถีชีวิตคือ อนามัยแม่และเด็ก รายงานในพื้นที่มีการเสียชีวิตของมารดา การตั้งครรภ์เสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่องทุกปี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในปัญหาสุขภาพได้แก่ การไม่นิยมคุมกำเนิดตามหลักการศาสนา ความยากจนและการไม่สามารถเข้าถึงระบบสุขภาพ (ในชนบทหากสามีไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านภรรยามักเลี้ยงลูกตามลำพัง) ความไม่สะดวกในการเข้าถึงบริการปฐมภูมิ นอกจากประเด็นการตั้งครรภ์แล้ว การเข้าถึงบริการวัคซีนขั้นพื้นฐานก็เป็นปัญหาสำคัญ
การขับเคลื่อนโดยนำรูปแบบการบริการสุขภาพในสังคมพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้มาสู่การปฏิบัติมีจุดเน้นเกี่ยวกับการปรับระบบบริการของโรงพยาบาลและการขับเคลื่อนระดับชุมชนเกี่ยวกับ smart kid ของชาวยะหริ่ง
ปัจจัยนำเข้า
บุคลากรโรงพยาบาลยะหริ่งมีต้นทุนการทำงานเชิงพหุวัฒนธรรม มีทักษะการใช้ความเป็นพหุวัฒนธรมในการแก้ปัญหามาอย่างต่อเนื่อง ทีมงานมีการเตรียมด้านบุคลากรสำหรับการขับเคลื่อนการนำแนวทางการให้บริการในสังคมพหุวัฒนธรรมโดยการจัดอบรมเตรียมความพร้อม มีการเชิญเครือข่ายผู้รู้ในหลักการศาสนาทั้งอิสลามและวิถีพุทธมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วางแผน และขับเคลื่อนกิจกรรม
กระบวนการ
การขับเคลื่อนระบบบริการที่คำนึงถึงมิติทางวัฒนธรรมของโรงพยาบาลยะหริ่งมีการทำงานที่คู่ขนานระหว่างการพัฒนาระบบการดูแลในโรงพยาบาลและการทำงานขับเคลื่อนส่งเสริมสุขภาพในชุมชน รายละเอียดมีดังนี้
การพัฒนาระบบการดูแลในโรงพยาบาล
การดูแลเพื่อตอบสนองความต้องการด้านวัฒนธรรมในผู้มารับบริการเป็นกิจกรรมที่มีมาก่อน แต่ทีมผู้ดำเนินงานมีการสร้างความพร้อมของกิจกรรมปกติของโรงพยาบาลโดยมีการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างแนวปฏิบัติในแต่ละหน่อยย่อยภายในโรงพยาบาลให้ครอบคลุมทุกหน่วย เช่น แผนกผู้ป่วยนอก แผนกทันตกรรม แผนกฉุกเฉิน แผนกเภสัชกรรม แผนกแพทย์แผนไทย แผนกผู้ป่วยใน แผนกฝากครรภ์ หน่วยห้องคลอด แผนกหลังคลอด เป็นต้น การร่วมกันทบทวนและออกแบบการบริการทำให้เกิดแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ได้แนวทางในการทำงานที่มีความชัดเจนสำหรับผู้ปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง
ด้านองค์ประกอบสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการปฏิบัติศาสนากิจของญาติและผู้ป่วย พบว่ามีศาลาละหมาดและห้องพระครบ แต่ศาลาละหมาดน่าจะมีการใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่องและทั่วถึงทั้งส่วนของบุคลากรและผู้ป่วย/ญาติ ส่วนกิจกรรมในห้องพระยังไม่ชัดเจนอาจเนื่องจากลักษณะการปฏิบัติศาสนกิจของบุคลากรหรือผู้ป่วยช่วยพุทธที่มีความแตกต่างหลากหลาย ยังจำเป็นต้องมีการพูดคุยทบทวนหาแนวปฏิบัติกลางร่วมกันเพื่อสามารถให้สถานที่และทรัพยากรที่กำหนดให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะการส่งเสริมให้ปฏิบัติศาสนกิจในแต่ละศาสนาจะก่อให้เกิดผลดีต่อบุคลากร เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ภายหลังจากการขับเคลื่อนระบบบริการมีกิจกรรมติดตามเพื่อประเมินผลคือ การทำกิจกรรมพบปะยามเช้า จัดกิจกรรมเดือนละ 1 ครั้ง พูดคุยปัญหาต่าง ๆ ในการทำงานนำหลักศาสนามาเป็นแนวทางในการจัดการ
การทำงานขับเคลื่อนส่งเสริมสุขภาพในชุมชน
ทีมงานโรงพยาบาลยะหริ่งเลือกกิจกรรมการดูแลเด็กยะหริ่ง smart kid ด้วยวิธีชุมชน เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการการจัดบริการสุขภาพ มีแนวทางในการดำเนินการดังนี้
1. การจัดเวทีประชาพิจารณ์ชุมชนรับฟังความคิดเห็นเรียนรู้วิถีชุมชนสู่งานบริการสาธารณสุขบนพื้นฐานพหุวัฒนธรรมและจัดรูปแบบบริการให้สอดคล้องกับวิถีมุสลิมและพุทธ
2. การอบรมหลักธรรมทางศาสนากับการบริการที่มีคุณภาพตามวิถีชุมชนและทบทวนแนวทางการดูแลผู้รับบริการ กระบวนการทำงาน จัดทำคู่มือ/แนวทาง/วิธีปฏิบัติตามหลักศาสนาเทียบเคียงให้สอดคล้องกับวิถีชุมชน
3. การดูแลเด็กยะหริ่ง smart kid ด้วยวิถีชุมชน
4. การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อจัดบริการภายในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ศูนย์สุขภาพชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ
5. การพัฒนาคุณภาพการบริการตามวิถีชุมชนโดยกระบวนการ CQI, R2R และนวตกรรมการดูแล
6. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดบริการพหุวัฒนธรรมร่วมกับเครือข่าย
ผลผลิต
1. ได้ข้อเสนอแนะแนวทางการจัดทำคู่มือ/แนวทางตามวิถีชีวิตชุมชน
2. ความพึงพอใจร้อยละ 90
3. อื่น ๆ วิจัย CQI
ผลลัพธ์และผลกระทบ
ไม่ชัดเจน
สิ่งที่ต้องพัฒนาและความท้าทายที่ต้องทำต่อ
1. การสื่อสารองค์กร จากการพบปะพูดคุยกับทีมแกนนำพบว่า การรับรู้ของบุคลากรในโรงพยาบาลยังไม่ตรงกัน รวมถึงการสื่อสารชุมชนเกี่ยวกับนโยบายการให้บริการที่คำนึงถึงมิติเชิงวัฒนธรรมอย่างทั่งถึง หากมีการสื่อสารที่ชัดเจนน่าจะทำให้งานสามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม
2. กระบวนการขับเคลื่อนมีแผนงานที่ชัดเจน เน้นย้ำให้เป็นนโยบายองค์กรมากกว่าให้บุคลากรทำตามความสนใจส่วนบุคคลจะช่วยให้เห็นผลลัพธ์การดำเนินงานได้อย่างชัดเจน เกิดผลกระทบต่อการแก้ปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่
3. การมองภาพความเป็นพหุวัฒนธรรมที่มากกว่าความแตกต่างในศาสนาน่าจะเป็นทางออกในการแก้ปัญหาสาธารณสุขหน้างานได้มากขึ้น เช่น
ก. การเข้าถึงระบบบริการสุขภาพของผู้รับบริการที่เกิดจากความจำกัดของสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม
ข. การมีความไวต่อประเด็นพหุวัฒนธรรมของบุคลากรทุกระดับทั้งในระบบบริการของโรงพยาบาลยะหริ่งและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลในพื้นที่
4. การขับเคลื่อนการบริการพหุวัฒนธรรมเพื่อตอบโจทย์ตัวชี้วัดด้านสุขภาพควบคู่กับการได้ทำตามความเชื่อเชิงศาสนาทำให้เห็นภาพความเป็นพหุวัฒนธรรมที่มีส่วนช่วยให้เกิดผลลัพธ์ด้านสุขภาพและส่งเสริมมาตรฐานการบริการ
15
20
6. ลงพื้นที่โรงพยาบาลเทพา ครั้งที่2
วันที่ 2 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
เก็บข้อมูลการจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลเทพา โดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
เกิดข้อมูลการจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลเทพา โดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
12
12
7. ลงพื้นที่โรงพยาบาล.รือเสาะ ครั้งที่1
วันที่ 4 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
เก็บข้อมูลการจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลรือเสาะ โดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง เยี่ยมชนชุมชนไทยพุทธบ้านไทยสุข
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ปัจจัยนำเข้า
ด้านคน โรงพยาบาลรือเสาะมีต้นทุนด้านคนที่สำคัญคือ 1) ผู้บริหารโรงพยาบาลที่มีความเป็นนักวิชาการและนักพัฒนาที่เข้าใจการทำงานขับเคลื่อนสังคม จากการรับฟังข้อมูลพบว่า เมื่อเข้ามารับราชการโรงพยาบาลรือเสาะใหม่ๆ และเห็นความซับซ้อนของปัญหาทั้งระบบจึงเริ่มจากพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลเป็นอันดับแรกเพื่อเรียกความเชื่อมั่นของประชาชนต่อโรงพยาบาลและสร้างขวัญกำลังใจแก่สมาชิกทีมงานของโรงพยาบาลและต่อมาเริ่มขยับงานสู่การขับเคลื่อนชุมชนและสังคม 2) ทีมงานบุคลากรโรงพยาบาลที่มีประสบการณ์ทำงานก้าวข้ามความยากลำบากมาด้วยกันในช่วงวิกฤตพื้นที่และวิกฤตศรัทธา มีความภาคภูมิใจ มีความมุ่งมั่น มีจิตอาสาที่จะขยับงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ นอกจากนี้ทีมบุคลากรส่วนใหญ่ของโรงพยาบาลเป็นคนพื้นถิ่นที่เข้าใจวัฒนธรรม 3) ต้นทุนเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ ชุมชนบ้านไทยสุขซึ่งมีผลการทำงานเชิงพัฒนาต้นแบบวิถีพุทธ เป็นชุมชนตัวอย่างที่พร้อมเป็นแกนนำในการทำงานเพื่อขยายบทเรียนรู้สู่ชุมชนชาวไทยมุสลิมโดยใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน 4) ผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชน มัสยิดต้นแบบขับเคลื่อนสุขภาพ การพบปะผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ทำธรรมนูญสุขภาวะมัสยิดพบว่า โต๊ะอิหม่ามและทีมงานมีความสนใจเรื่องสุขภาพและประพฤติตนเป็นแบบอย่างด้านสุขภาพ สนใจนำบทเรียนรู้จากบ้านไทยสุขมาสู่การปฏิบัติในพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง
ด้านทรัพยากร การรับฟังการถอดบทเรียนการทำงานของทีมงานโรงพยาบาลรือเสาะ มีประเด็นการใช้ทรัพยากรที่น่าสนใจดังนี้ 1) ทีมคณะผู้บริหารโรงพยาบาลรือเสาะมีศักยภาพในการหาทุนสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย มีบางอาคารที่ได้รับงบประมาณการปรับปรุงจากเทศบาล มีการวางแผนแสวงหาแหล่งทุนอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง 2) การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เน้นการตกแต่ง ปรับเปลี่ยนภายในอาคารแทนการสร้างอาคารใหม่ที่ใช้งบประมาณสูง สถานบริการออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเอื้ออำนวยต่อการเยียวยา 3) มีการงบเชิงบูรณาการงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่า 1 ด้าน จากการรับฟังการขับเคลื่อนงานพัฒนาเชิงพหุวัฒนธรรมมาอย่างต่อเนื่องพบว่าผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลไม่ติดลบ สะท้อนความเป็นมืออาชีพในการบริหารทรัพยากร
ทุนองค์กร เมื่อพิจารณาทุนของโรงพยาบาลรือเสาะก็จะพบว่า โรงพยาบาลรือเสาะมีทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นจุดเด่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเองก็ได้นำวัฒนธรรมที่เป็นจุดเด่นมาสร้างการเรียนรู้ในองค์กรโดยเน้นการบริการทางการแพทย์เชิงรุก แก้ปัญหาที่ต้นเหตุของสุขภาพ ให้คนในชุมชนมีความตระหนัก ซึ่งได้วางวัตถุประสงค์ความสำเร็จไว้เพียง 2 ประเด็นคือ 1)ให้ชุมชนเปิดใจคุยกับทางโรงพยาบาล 2)คนในชุมชนเริ่มที่จะเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อปรับเปลี่ยนการบริการของโรงพยาบาลให้มีความเป็น “บารอกัต” เหล่านี้จะแก้ปัญหาข้อร้องเรียนต่างๆจากผู้มารับบริการได้ การดำเนินการให้มีความเป็นบารอกัต จะต้องเข้าใจ เข้าถึง วัฒนธรรม ภูมิปัญญาวิธีคิด เศรษฐกิจ และทรัพยากร ของชุมชนที่ส่งผลต่อการอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมนั้นๆ
แม้พื้นที่อำเภอรือเสาะจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในพื้นที่แต่ยังเป็นพื้นที่มีจุดขายและสร้างมูลค่าเพราะมีประสบการณ์แก้ปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อน สามารถยกระดับเป็นแม่ข่ายการพัฒนาพื้นที่อื่นที่มีบริบทใกล้เคียงทั้งในและต่างประเทศ
กระบวนการ
การขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมชายแดนใต้บูรณาการอยู่ในประเด็นยุทธศาสตร์และแผนงานของโรงพยาบาลดังนี้คือ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาคุณภาพการบริหาร บริการ และวิชาการขององค์กร อยู่ภายใต้แผนงานสร้างทักษะบุคลากรสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมและแผนงานพัฒนาบริการโดยใช้เครื่องมือ happynomitor และแผนงานเสริมสร้างสุขภาพวิถีธรรม งบประมาณจากเงินบำรุงโรงพยาบาล
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมสุขภาพให้คนรือเสาะมีสุขภาวะตามบริบททางสังคม ประเด็นท้าทายเกี่ยวกับการทำงานเชิงรุกภายใต้สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่โดยการพัฒนาระบบการเข้าถึงและการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพตามกลุ่มวัยและบริบททางสังคม ภายใต้การดำเนินงาน 3 แผนคือ 1) แผนงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง NCD 2) แผนงานระบบ EMS/pre hospital care โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่าย และ3) แผนงานการพัฒนาสื่อสุขภาวะ งบประมาณจากเงินกองทุนตำบล/หลักประกันสุขภาพ
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบบริหาร จัดการระบบสุขภาพให้มีประสิทธิภาพและเอื้อต่อการจัดบริการทางสุขภาพ แผนงานพัฒนาศักยภาพหมู่บ้านจัดการสุขภาพ (ศาสนสถานต้นแบบการจัดการสุขภาพและชมรมสุขภาพต้นแบบ)
จากบริบทโรงพยาบาลและแผนยุทธศาสตร์ที่กล่าวมาข้างต้นแสดงให้เห็นการขับเคลื่อนระบบสุขภาพที่คำนึงถึงมิติทางวัฒนธรรมที่มีมาก่อนการสนับสนุนโครงการการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในสังคมพหุวัฒนธรรมไปลงมือปฏิบัติ จากการเยี่ยมพื้นที่ระบบบริการที่โรงพยาบาลดำเนินการอยู่มีการปรับเปลี่ยน ได้รับการยกระดับในเชิงโครงสร้างพื้นฐานและระบบบริการที่ถูกปรับเปลี่ยนเพื่อเอื้ออำนวยให้ตอบโจทย์ความต้องการตามวิถีชีวิต และความเชื่อของประชาชน ผลการดำเนินงานที่กล่าวมาข้างต้นถอดบทเรียนได้สาระสำคัญ 2 ประเด็น
1. การคงไว้ซึ่งการบริการที่ตอบสนองความต้องการผู้รับบริการในบริบทพหุวัฒนธรรม จากที่เกริ่นนำต้นว่าโรงพยาบาลรือเสาะได้พยายามปรับเปลี่ยนการจัดบริการที่คำนึงถึงความเป็นพหุวัฒนธรรมมาก่อนช่วงรอยต่อการเกิดสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ทำให้องค์ประกอบจำเป็นจากรูปแบบการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมชายแดนใต้มีอยู่ในระบบบริการสุขภาพปกติของโรงพยาบาลแล้วส่วนหนึ่ง เช่น การจัดบริการสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเรื้อรังช่วงถือศีลอด การดูแลหญิงตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด การบริการแพทย์ทางเลือกที่สอดคล้องกับหลักศาสนา การส่งเสริมการปฏิบัติศาสนกิจของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลมีโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข อย่างไรก็ตามหากมองตามแนวทางที่โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมชายแดนใต้การจัดองค์ประกอบการให้บริการที่เอื้ออำนวยสำหรับผู้รับบริการชาวพุทธต้องดำเนินการเพิ่มเติม สถานที่อาจไม่สะดวกต่อผู้มาใช้บริการ เป็นสิ่งที่ผู้บริหารโรงพยาบาลมีความตระหนักและให้ความสำคัญ มีแนวทางที่จะดำเนินการต่อในอนาคต
2. การขยายระบบบริการที่ใช้ฐานคิดความเป็นพหุวัฒนธรรมขับเคลื่อนสู่ชุมชน อยู่ในระหว่างริเริ่มดำเนินการ กลยุทธ์การทำงานผู้อำนวยโรงพยาบาลเริ่มขยับงานจากหมู่บ้านไทยสุขซึ่งเป็นชุมชนไทยพุทธมีศูนย์กลางกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่วัดชนาราม เป็นชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมสุขภาพโดยเฉพาะการขับเคลื่อนการแพทย์วิถีธรรม จากการเยี่ยมชมกิจกรรมของชุมชนพบว่ามีความโดดเด่นได้รับรางวัลจากการเข้าประกวดนวตกรรมด้านสุขภาพ เริ่มจากต้นทุนชุมชนที่ประสบความสำเร็จขับเคลื่อนผ่านกิจกรรมประชาพิจารณ์เป็นธรรมนูญสุขภาวะวัดชนารามทีมีสาระสำคัญการนำหลักคำสอนพุทธศาสนามาใช้ในการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ จากนั้นได้นำต้นแบบงานสุขภาพจากวัดชนารามมาขับเคลื่อนสู่ต้นแบบมัสยิดเป็นต้นแบบการส่งเสริมสุขภาพ ทีมงานได้เลือกใช้พื้นที่ชุมชนมุสลิมที่ผู้นำศาสนามีความสนใจเข้ามาเป็นภาคีเครือข่าย และพื้นที่นำร่องมีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับโรคเรื้อรังที่พบบ่อย ได้แก่ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองและตีบตัน และสมาชิกชุมชนยังมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ
แผนในการดำเนินการทางผู้อำนวยการเกี่ยวกับการจัดการสุขภาวะทางการแพทย์พหุ
วัฒนธรรมในโรงพยาบาลและชุมชน จะเน้นสุขภาวะผ่านกรอบกิจกรรมคุณภาพชีวิต 5 ด้าน ได้แก่
1) ด้านปกป้องจิตวิญญาณ เป็นกิจกรรม 3ส. (สวดมนต์/ดุอา, สมาธิ/อีหม่าน, สนทนาธรรม/นาศีฮัต) มีการจัดมุมธรรมะ เพื่อสุขภาพ อ่านหนังสือ จัดทำสื่อ รวมถึงมีนักสื่อสารด้านจิตวิญญาณ ซึ่งจะพัฒนาทักษะบุคลากรด้านการดูแลผู้ป่วยมิติจิตวิญญาณ
2) ด้านปกป้องชีวิต เป็นกิจกรรม 3อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) โดยใช้นาฬิกาชีวิต นั่นคือแบบแผนการจัดการชีวิตตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งมีลานสุขภาวะ เมนูอาหารเพื่อสุขภาพ ทั้งยังมีการจัดอุปกรณ์เพื่อการออกกำลังกาย
3) ด้านปกป้องสติปัญญา เป็นกิจกรรมแนวทางการจัดการความรู้ให้รู้เท่าทันโรค มีการสื่อสารข่าวทางด้านสุขภาพผ่านช่องทางการกระจายข่าวสาร
4) ด้านปกป้องครอบครัว เป็นกิจกรรมดูแลสมาชิกในบ้านตามกลุ่มวัย (เด็ก วัยรุ่น ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ) เพื่อนบ้าน ศาลาสุขภาพใกล้บ้าน รวมถึงมีเวทีเด็กและเยาวชน
5) ด้านปกป้องทรัพยากร เป็นกิจกรรมสัจจะหมู่บ้าน ป้องกันการกู้ยืมนอกระบบ และกองทุนขยะชุมชน
ดังนั้นโรงพยาบาลรือเสาะมีการสร้างเสริมสุขภาพให้ประชาชนมีสุขภาพดีตามบริบททางสังคมและสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้สุขภาพ ผ่านกิจกรรม 3ส. (สวดมนต์/ดุอา, สมาธิ/อีหม่าน, สนทนาธรรม/นาศีฮัต) 3อ. (อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย) และ 1น. (นาฬิกาชีวิต วิถีสุนนะห์ 24 ชั่วโมง) พร้อมกันนั้นนี้ ชุมชนเองก็ได้ร่วมมือกับโรงพยาบาลในการสร้าง “ธรรมนูญสุขภาวะมัสยิด และธรรมนูญสุขภาวะวัดชนาราม” จะเห็นได้ว่าการนำแนวคิดการแพทย์พหุวัฒนธรรมมาใช้จำเป็นต้องมีการขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับชุมชนเพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม กำหนดเป็นวิธีการดำเนินงานร่วมกันผลักดันให้เกิดนโยบายที่เป็นรูปธรรมสู่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพวิถีการแพทย์พหุวัฒนธรรม
กิจกรรมการขับเคลื่อนงานระดับชุมชนโดยโรงพยาบาลรือเสาะและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอยู่ในช่วงเริ่มต้นโดยการกำหนดให้ทีมงานจากหมู่บ้านไทยสุขเป็นต้นแบบการขับเคลื่อน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทีมงานวัดต้นแบบด้านสุขภาพและทีมงานมัสยิดต้นแบบ มีการทำประชาพิจารณ์เกิดธรรมนูญสุขภาวะมัสยิดและธรรมนูญสุขภาวะวัดชนาราม สาระสำคัญของธรรมนูญสุขภาวะมัสยิดและวัดชนารามมีทั้งหมด 6 หมวด คือ ด้านความมั่งคงปลอดภัยในชีวิต ด้านสุขภาพ ด้านการศึกษา ด้านการครอบครัวและสังคม ด้านทรัพย์สิน เศรษฐกิจ และทรัพยากรชุมชน ด้านการขับเคลื่อนธรรมนูญสู่การปฏิบัติ รายละเอียดภายใต้ธรรมนูญนี้สะท้อนภาพการทำงานที่อาศัยความร่วมมือของสมาชิกในชุมชน มีการนำหลักการศาสนาของสมาชิกในชุมชนมาประยุกต์ใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาวะองค์รวม ส่งเสริมการทำนุบำรุงศาสนาที่สมาชิกชุมชนศรัทธา และสร้างเครือข่ายชุมชนที่มีความแตกต่างในหลักการปฏิบัติทางศาสนาให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สมาชิกจากชุมชนมุสลิมเกิดประเด็นว่าส่วนใหญ่แต่ละฝ่ายต่างก็ใช้ชีวิตในพื้นที่ ไม่ค่อยได้มีโอกาสไปมาหาสู่ เมื่อเริ่มกิจกรรมประชาพิจารณ์และวงคุยได้เห็นชุมชนชาวพุทธมีการใช้หลักศาสนาในการส่งเสริมสุขภาพ
การสังเกตการณ์ปรับภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมพบว่า โรงพยาบาลรือเสาะไม่ได้ใช้ป้ายประชาสัมพันธ์ (ภาษาไทยกลาง-ภาษามาลายู) เหมือนโรงพยาบาลอื่น ๆ ซักถามเบื้องต้นพบว่าประชาชนเองไม่ได้แสดงออกถึงความต้องการสิ่งเหล่านี้ แต่สิ่งที่ประชาชนต้องการเป็นเรื่องของคุณภาพการบริการที่ตอบโจทย์ด้านความเจ็บป่วยและมิติจิตใจและจิตวิญาณผ่านการส่งเสริมการประกอบศาสนกิจในระหว่างการดูแลที่ตามมารฐานการแพทย์และพยาบาล ทำให้เห็นภาพการขับเคลื่อนพหุวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นการตอบสนองความต้องการด้านคุณภาพชีวิตในเชิงลึก คุณค่าของการบริการที่เป็นลักษณะความเป็นสากล
70
10
8. ลงพื้นที่โรงพยาบาลธารโต
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำ
เก็บข้อมูลการจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลธารโต โดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
- การนำรูปแบบแนวปฏิบัติการดูแลเชิงพหุวัฒนธรรมนำไปใช้จริงในโรงพยาบาล มีแนวปฏิบัติการมารับบริการเพิ่มเติมจากเดิมที่มีมาก่อน
ก.ระบบบริการสำหรับพระภิกษุสงฆ์ที่มารับบริการ การมีห้องพระสำหรับสนทนาธรรมที่เป็นสัดส่วน มีบริการหนังสือหลักธรรมะสองศาสนาสำหรับผู้ป่วยในที่นอนรับการดูแล กรณีพระภิกษุต้องพักนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลพยายามจัดสรรห้องแยกให้กับพระภิกษุ มีอุปกรณ์จัดตั้งหิ้งพระพร้อมเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติศาสนกิจของภิกษุ
ข.การมีตู้หนังสือธรรมะ พระคัมภีร์ สำหรับผู้ป่วยในและญาติได้ศึกษาในช่วงนอนรักษาที่โรงพยาบาล
- การขยายของเขตพหุวัฒนธรรมสู่ชุมชน เป็นการทำงานที่มองพหุวัฒนธรรมเป็นการทำงานแบบภาคีเครือข่าย โดยโรงพยาบาลธารโตดำเนินโครงการ การจัดระบบบริการสุขภาพด้านพัฒนาเด็กแรกเกิดจนถึงวัยเรียนในพื้นที่พหุวัฒนธรรมเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอธารโต มีวัตถุประสงค์ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพสอดคล้องกับวิถีชีวิตประชาชน นำหลักศาสนาควบคู่หลักบริการสุขภาพ 2) เพื่อนำหลักการเข้าใจ เข้าถึง พัฒนานำมาปฏิบัติในระบบบริการสุขภาพสถานบริการสาธารณสุข และ 3) เพื่อส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์ เด็กแรกเกิดจนถึงวัยเรียนมีคุณภาพ พัฒนาการสมวัย (ลดเตี้ย)เด็กฉลาด ภาคีการทำงานประกอบด้วย สภาพหุวัฒนธรรมของโรงพยาบาล บุคลากรโรงพยาบาล อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน ครู ผู้นำศาสนา ครูสอนตาดีกา ครูสอนอ่านอัลกุรอาน/กีรออาตี พระภิกษุ เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาเด็ก ผู้ปกครอง กิจกรรมหลักได้แก่ การให้ความรู้/การจัดค่ายจริยธรรมแกนนำผู้ปกครอง/ ผู้ดูแลเด็ก/ครูสอนศาสนา นักเรียนประถม อบรมเตรียมความพร้อมก่อนแต่งงานตามหลักศาสนาสำหรับนักเรียนมัธยมปลาย หญิงตั้งครรภ์
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
เกิดข้อมูลของการให้บริการสุขภาพในโรงพยาบาล
ผลผลิต
1. มีระบบเอื้ออำนวยให้สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้การนำรูปแบบแนวปฏิบัติการดูแลเชิงพหุวัฒนธรรมนำไปใช้จริงในโรงพยาบาล
2. กลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้รับการอบรมความรู้ เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 0-5 ปี
ผลลัพธ์
1. ตัวแทนพยาบาลที่ดูแลในคลินิกผู้ป่วยนอก/หอผู้ป่วยในรู้สึกสบายใจที่มีแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจนก่อนหน้านี้พยายามทำแต่มีความกังวลภายในใจว่าถูกผิด ได้หรือไม่ได้ โดยเฉพาะการปฏิบัติต่อพระภิกษุ เมื่อมีการปรับปรุงระบบบริการทำให้เห็นแนวทางที่ชัดเจนที่จะปฏิบัติต่อบุคคลต่างศาสนิก หรือกรณีมีประเด็นที่เกิดความไม่แน่ใจสามารถปรึกษาคณะกรรมการที่มีหน้าที่ดูแลได้
2. เกิดบรรยากาศองค์กรสะท้อนความมีสุขภาวะองค์กร เน้นคุณธรรมจริยธรรมองค์กรตามหลักการศาสนา บุคลากรเกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน
3. พระภิกษุผู้มารับบริการจากโรคเรื้อรังได้รับการดูแลมีมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน มีความสะดวก
4. ตัวชี้วัดสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด พัฒนาการและสุขภาพของเด็กแรกเกิดถึงอายุ 5 ปี
ผลกระทบ
การแก้ปัญหาของระบบบริการที่อาศัยการทำงานของทุกภาคส่วน บรรลุผล (กรณีการรณรงค์วัคซีนโรคหัด)
บทเรียนรู้จากพื้นที่
จุดเด่น
1. ผู้นำมีความใส่ใจ ถ้ามองจากพหุวัฒนธรรมในเชิงศาสนา ผู้อำนวยการเหมือนเป็นตัวแทนผู้รู้ด้านอิสลามศึกษา ในขณะที่รองผู้อำนวยการเป็นตัวแทนของผู้รู้ด้านพุทธศาสนา ด้วยความเป็นผู้รู้
2. การมีนโยบายที่เอื้อให้บุคลากรมีอิสระในการออกแบบระบบบริการเชิงพหุวัฒนธรรม เช่นกรณีของหน่วยเอ็กซเรย์ของโรงพยาบาลที่บุคลากรออกแบบระบบการบริการช่วยให้เห็นว่าความใส่ใจเชิงพหุวัฒนธรรมทำให้สามารถตอบโจทย์การบริการและตอบโจทย์ศรัทธาที่
3. บุคลากรเข้าใจนโยบายพร้อมที่จะนำแนวทางไปสู่การปฏิบัติ จากการพบปะในส่วนห้องคลอด แผนกผู้ป่วยนอก ห้องยา สะท้อนภาพการดูแลที่มีความเป็นธรรมชาติ มีความกลมกลืนกับเนื้องาน
4. การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารสังคม
25
25
9. ประชุมคณะทำงาน
วันที่ 1 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ปรึกษาสรุปข้อคิดเห็นการถอดบทเรียน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ด้านผลผลิต/ด้านผลลัพธ์/ด้านผลกระทบ
การทดลองใช้รูปแบบการบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติงานเป็นรูปแบบกว้าง ๆ ไม่ได้กำหนดเป้าหมายร่วมกัน เมื่อสอบถามทีมงานแต่ละฝ่ายยังไม่มั่นใจที่จะนำเสนอว่าหากใช้รูปแบบการจัดระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้อย่างไร ทำให้ยังไม่เห็นตัวชี้วัดร่วมของรูปแบบการปฏิบัติครั้งนี้ จากการลงพื้นที่รับฟังพบข้อมูลที่เป็นประโยชน์น่าจะช่วยให้เห็นผลของการนำแนวคิดเชิงพหุวัฒนธรรมไปใช้และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคลากร ผู้ป่วย ญาติ และสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ดังนี้
ด้านผลผลิต: จากการตรวจเยี่ยมพบตัวชี้วัดเชิงผลผลิตที่ควรนำมาใช้ในการขับเคลื่อนระยะต่อไปดังต่อไปนี้
1. การจัดกิจกรรมได้ตามองค์ประกอบที่ปรากฏในรูปแบบระบบบริการสุขภาพ (ครอบคลุม/ไม่คลุม)
2. ความพึงพอใจต่อกิจกรรมบริการ/การอบรม
3. ความรู้ ทัศนคติ ความมั่นใจ และทักษะของบุคลากรในโรงพยาบาล/กลุ่มจิตอาสาต่อบริการที่จัดหรือกิจกรรมที่เข้าร่วม
4. ต้นแบบการดูแลผู้ป่วยกรณีเลือกสรร ie. การดูแลแบบประคับประคอง. การป้องการภาวะติดเชื้อ การป้องกันภาวะตกเลือดโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน/การประยุกต์หลักศาสนา การรณรงค์ฉีดวัคซีน
5. ต้นแบบการดูแลสุขภาพ ie.ธรรมนูญมัสยิดสุขภาวะ ธรรมนูญวัดสุขภาวะ
6. คู่มือ/สื่อสุขศึกษา คู่มือการจัดระบบบริการที่เอื้อต่อการปฏิบัติศาสนากิจกิจตามความเชื่อ
ด้านผลลัพธ์
ตารางที่ 17 แสดงตัวชี้วัดผลลัพธ์การนำแนวคิดระบบบริการสุขภาพมาทดลองปฏิบัติการในพื้นที่
ด้านผู้รับบริการ ด้านผู้ให้บริการ ด้านสังคม
1. จำนวนผู้ป่วยได้รับการดูแลตามมาตรฐาน
2. จำนวนผู้ป่วยที่มีการควบคุมระดับน้ำตาลเป็นไปตามเกณฑ์ช่วงถือศีลอด
3. อัตราการติดเชื้อภายหลังทำสุหนัต
4. จำนวนมารดาหลังคลอดที่ตกเลือด
5. ความเป็นพันธมิตร
6. อัตราการรับวัคซีนของเด็ก
7. โต๊ะบีดาพอใจบทบาทตนเองที่ถูกปรับเปลี่ยน 1. ระดับความสุขของบุคลากร
2. ความภาคภูมิ
3. เกิดแรงบันดาลใจ
4. เกิดความคิดริเริ่มในการพัฒนางานต่อไป
5. รู้สึกสบายใจไม่อึดอัดใจ 1.เครือข่ายพหุวัฒนธรรม
2.สายใยสังคม/ความผูกพัน
3.ความไว้วางใจ
4.ความเป็นภาคีด้านสุขภาพ
ด้านผลกระทบ
ภาพผลกระทบที่พบได้ในโรงพยาบาลนำร่องที่พบได้แก่
1. จำนวนข้อร้องเรียนจากผู้มาใช้บริการลดลง
2. เห็นบรรยากาศของความร่วมมือระหว่างนักปฏิบัติการสุขภาพและตัวแทนจากชุมชน มีความรู้สึกเป็นหุ้นส่วนในการทำงาน บางพื้นที่โรงพยาบาลได้รับงบประมาณสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนงานการจัดระบบสุขภาพของโรงพยาบาล
3. ผลกระทบเชิงสันติภาพในบางพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวทางอุดมการณ์ทางการเมืองเห็นภาพชุมชนพุทธและชุมชนอิสลามหันมาสร้างความร่วมมือ เรียนรู้ร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพ มีการยอมรับซึ่งกันและกันมากขึ้น
4. พระเยี่ยมผู้ป่วยมุสลิมได้ ในฐานะเพื่อนมนุษย์ที่ไม่เกี่ยวกับหลักการเชิงศาสนา (โรงพยาบาลธารโต)
ปัญหาอุปสรรคการจัดบริการสุขภาพจากการปฏิบัติการนำร่อง
จากการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดการระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้โดยรวมไม่ได้มีปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ไม่พบความขัดแย้งเห็นต่างในการนำรูปแบบระบบบริการสุขภาพไปทดลองใช้ โดยสรุปมีเพียง 2 ประเด็น คือ
1. ความไม่ชัดเจนในการสั่งการเชิงนโยบายของศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการนำแนวทางไปใช้ว่าให้ฝ่ายรับทุนของโรงพยาบาลนำร่องดำเนินการทั้งหมดตามแนวปฏิบัติ หรือเลือกสรรเฉพาะประเด็นที่ต้องการขับเคลื่อนในแต่ละโรงพยาบาล เมื่อติดตามถอดบทเรียนและรับฟังการนำเสนอผลการดำเนินงานทำให้เห็นบรรยากาศที่มีการนำเสนอผลงานไม่ตรงตามความคาดหวัง การติดตามเยี่ยมโรงพยาบาลเพื่อถอดบทเรียนบางพื้นที่นำเสนอเฉพาะกิจกรรมชุมชนที่เลือกสรร ในขณะที่บางโรงพยาบาลจะนำเสนอทั้งส่วนการปรับระบบบริการสุขภาพทั้งในโรงพยาบาลและในชุมชน
2. การเตรียมความพร้อมทีมงานมีน้อย มีการขับเคลื่อนงานไปตามความเข้าใจ ความถนัด ควรมีการหนุนเสริมความรู้ กลยุทธ์การทำงานใหม่ๆ เพราะการขับเคลื่อนประเด็นพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ซึ่งมีความขัดแย้งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน องค์ความรู้ ตัวแบบใหม่ ๆ น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนักปฏิบัติการ
ข้อเสนอแนะเชิงพัฒนา
1. การทบทวนเป้าหมายร่วมของการขับเคลื่อนเพื่อจัดระบบบริการสุขภาพในสังคมพหุวัฒนธรรมให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นเพื่อสามารถติดตามตัวชี้วัดในแต่ละระดับ และหนุนเสริมการทำงานเชิงนโยบายได้อย่างถูกต้อง สืบเนื่องจากจุดเริ่มต้นของรูปแบบมาจากการพยายามนำหลักการทางศาสนามาประยุกต์ใช้เพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหาในระบบสุขภาพ ทำให้รูปแบบมักมุ่งเน้นไปในแนวทางที่จะดูแลผู้ป่วย/ญาติขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รวมถึงการวางแผนการดูแลเพื่อส่งต่อเมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล เป็นลักษณะรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากการแพทย์กระแสหลัก แต่แนวคิดเชิงศาสนาเป็นแนวคิดแบบองค์รวมเมื่อการขับเคลื่อนจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่หลากหลาย ครอบคลุมความเป็นองค์รวมของบุคคล เมื่อทดลองใช้รูปแบบปรากฏผลสะเทือนระดับบุคคล กลุ่มคน องค์กร ชุมชน ดังนั้นเพื่อให้การขับเคลื่อนในระยะต่อไปมีทิศทางไปแนวเดียวกันในการขับเคลื่อนสังคมเวทีค้นหาเป้าหมายร่วมเพื่อการขับเคลื่อนงานควรนำไปสู่การสร้างพลังกลุ่ม ขยายขอบเขตการทำงานท้ายสุดน่าจะนำไปสู่การจัดระบบบริการสุขภาพในสังคมพหุวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้
2. การใช้วิจัยเป็นเครื่องมือเพื่อตรวจสอบติดตามตัวชี้วัด ยกระดับกระบวนการทำงาน จากการติดตามถอดบทเรียนทีมงานนักปฏิบัติการสุขภาพรวมถึงคณะทำงานโดยรวมมีทัศนคติเชิงบวกต่อการนำรูปแบบการจัดบริการสุขภาพในสังคมพหุวัฒนธรรมมาทดลองปฏิบัติงาน แต่เมื่อถามถึงผลลัพธ์หรือผลกระทบทีมงานยังไม่แน่ใจที่นำเสนอ อาจเกิดจากระยะเวลาในการทดลองปฏิบัติสั้นเพียงหกเดือน หรือกระบวนการในแต่ขั้นตอนยังไม่ได้ออกแบบให้สามารถวัดประเมินได้อย่างเป็นระบบ การส่งเสริมให้มีการพัฒนางาน ทำวิจัยจากหน้างานเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดมาตรฐานการทำงานน่าจะทำให้เห็นผลลัพธ์หรือผลกระทบที่มีความชัดเจน กระบวนการวิจัยจะช่วยให้นักปฏิบัติการได้ตรวจสอบองค์ความรู้ พัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นเชิงวัฒนธรรม
3. ในการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพระยะต่อไปควรการเติมเต็มความรู้และทักษะของบุคลากร การสร้างความเข้าใจเกี่ยวมนุษยวิทยาของผู้คน การขยายกรอบพหุวัฒนธรรมให้ก้าวพ้นเชิงศาสนาจะช่วยยกระดับระบบบริการสุขภาพได้ดีกว่า (ตัวอย่างโรงพยาบาลธารโตแก้ปัญหาวัคซีนได้มากกว่า ร้อย 90 และมีความยั่งยืน หรือ โรงพยาบาลสตูลที่สามารถแก้ปัญหาอนามัยแม่และเด็กได้ รวมทั้งการแก้ปัญหาการติดเชื้อหลังทำพิธีสุหนัตโดยหน่วยงานเอกชน)
4. การสื่อสารเชิงวัฒนธรรมยังเป็นงานที่ต้องศึกษาและวางแผนการทำงานต่อ ตัวอย่างประเด็น สื่อที่เหมาะสมกับพหุวัฒนธรรมคืออะไร คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่/แล้วคู่มือนี้ผู้ใช้บริการอ่านจริงไหม ต้องเป็นภาษามาลายูไหม ในความเป็นจริงพหุวัฒนธรรม การสื่อสารผ่านบุคคล นักปฏิบัติการได้ไปถึงจุดนั้นแค่ไหน แม้แต่ป้ายก็อาจไม่จำเป็น บางพื้นที่ประชาชนบอกไม่ได้สนใจว่าต้องเป็นภาษามาลายู แต่จะทำอย่างไรเมื่อเขามาในระบบความต้องการสุขภาพได้รับการตอบสนอง
5. การขยายงานในระยะต่อไปควรมีทิศทางแบบจุดร่วมและจุดเด่น กล่าวคือ 1.จุดร่วมน่าจะเป็นมาตรฐานกลางของแนวปฏิบัติในการจัดบริการสุขภาพที่ทดลองใช้ในระยะที่ผ่านมา ซึ่งโดยรวมทั้ง5 โรงพยาบาลนำร่องถือว่าสามารถดำเนินการได้และไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งเพราะสะท้อนภาพศาสนาคือความผาสุก สันติภาพ ทุกฝ่ายที่พยายามปฏิบัติในรอบการดำเนินงานที่ผ่านค่อนข้างได้ผล คลี่คลายความไม่รู้จักซึ่งกันและกัน เกิดการปรับตัวที่ยึดศาสนาเป็นกรอบแนวทางเพื่อแข็งขันทำสิ่งที่ดีงาม อย่างไรก็ตามมีบางโรงพยาบาลนำร่องที่ยังมีความไม่มั่นใจที่จะนำสู่การปฏิบัติ เช่น การแสดงระบบบริการเชิงสัญลักษณ์ที่เอื้ออำนวยทุกฝ่ายให้สามารถเข้าสู่ระบบอย่างเท่าเทียม (รพ.รือเสาะไม่ได้พยายามนำเสนอการมีพื้นที่สำหรับผู้รับบริการเชิงพุทธที่สามารถเข้าถึงและสะดวกกรณีการมีห้องพระ ต่างจากโรงพยาบาลธารโตที่นำเสนอภาพสองศาสนาและการสื่อสารเชิงสัญลักษณ์เช่น ป้าย ที่นั่ง บริการต่างๆ สำหรับพระภิกษุอย่างชัดเจน ผลจากการดำเนินงานกลับทำให้แต่ละฝ่ายรู้จักกันเพิ่มขึ้น ผู้ให้บริการสบายใจเพราะมีระบบเส้นทางชัดเจน) การเลี่ยงการขับเคลื่อนประเด็นนี้ไม่แน่ใจว่าเกิดจากความไม่มั่นใจการสะท้อนกลับจากพื้นที่ขัดแย้งเชิงอุดมการณ์หรือการพยายามมองพหุวัฒนธรรมเป็นโรงพยาบาลที่มุ่งเน้นเชิงศาสนา) แต่ถ้าต้องการลดความแปลกของสังคมการทำให้คุ้นชินต่อความแตกต่างน่าจะช่วยส่งผลในระยะยาว และ2. จุดเน้นน่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกพื้นที่ขยายศักยภาพความชำนาญ การแก้ปัญหาในหน้างานที่มีความเฉพาะเจาะจง เพราะหากใช้เพียงกรอบหลักคิดเชิงศาสนาที่นำเสนอระยะแรกทำให้การแก้ปัญหาสุขภาพไม่สามารถเกิดได้ตามบริบทความต้องการ และต้นทุนแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน การส่งเสริมจุดเน้นทำให้กระบวนการขับเคลื่อนมีความยั่งยืน ตอบโจทย์ที่ท้าทายแต่ละพื้นที่
5
5
10. ลงพื้นที่โรงพยาบาลสตูล
วันที่ 10 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
1.ประชุมรับฟังการรายงานสอบถามรูปแบบระบบบริการพหุวัฒนธรรมและสอบถามผลการปฏิบัติงานข้อสงสัย ผู้รับผิดชอบงานได้นำเสนอบริบทและผลการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรมที่มีกิจกรรมทั้งในโรงพยาบาลและการทำงานร่วมกับเครือข่าย
1.1 การจัดะบบบริการในโรงพยาบาลมีความครอบคลุมตามต้นแบบกิจกรรมที่ทางสจรส.ได้กำหนด ตัวอย่าง 1) แผนกผู้ป่วยนอกมีที่นั่งสำหรับพระภิกษุขณะรอตรวจ มีเส้นทางพิเศษสำหรับชาวเลที่ต้องกลับขึ้นเกาะ มีช่องทางแรงงานต่างด้าว มุมนมแม่สำหรับสตรีมาตรวจแต่ยังเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา 2)ห้องคลอด มีการบริการมีมุมอาซาน อนุญาตให้สามีหรือมารดาเฝ้าคลอด การให้ความรู้ในการปฏิบัติที่สอดคล้องกับหลักศาสนาและแนวทางการแพทย์เพ่ือลดการตกเลือดและติดเชื้อหลังคลอด 3) หอผู้ป่วยในมีมุมละหมาด และห้องพระเพ่ือให้ผู้ป่วยสามารถประกอบศาสนกิจในระหว่างที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มีบริเวณที่พักสำหรับญาติที่ต้องเฝ้าผู้ป่วยและค้างคืนทำให้ลดความแออัดการรอตามจุดต่าง ๆ และญาติได้มีสถานที่สำหรับพักและผ่อนคลายอารมณ์ มีกิจกรรมทำบุญตักบาตรสำหรับผู้ป่วยชาวพุทธ ขณะนอนรพ.มีอาหารฮาลาล อาหารตามโรค และอาหารเจ/มังสะวิรัติ มีศาลาละหมาดสำหรับเจ้าหน้าที่ ผู้ป่วย ผู้มาเยี่ยม และ 4) รพ.สตูลมีการปรับภูมิทัศน์ในโรงพยาบาลให้มีความสะอาด ต้นไม้ร่มรื่น สงบเหมาะกับฟื้นฟูความเจ็บป่วย
1.2 กิจกรรมในชุมชน มีการสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายผู้นำศาสนาและภาคประชาสังคมจัดกิจกรรมพิธีสุหนัตที่สอดคล้องกับหลักศาสนาและได้มาตรฐานเชิงการแพทย์เพ่ือลดการติดเชื้อ
1.3 ระบบการดูแลศพไร้ญาติในกรณีชาวมุสลิมมาเลเซียมาเสียชีวิตในเมืองไทย บริจาคผ้าห่อศพการจัดกิจกรรมพิธีฝังศพเป็นต้น
2.ประเมินสมรรถนะการให้บริการทางพหุวัฒนธรรม เป็นการสุ่มเก็บข้อมูลตามความสะดวกจากผู้ปฏิบัติงาน
3.ประเมินการใช้รูปแบบการแพทย์พหุวัฒนธรรม สำรวจแนวปฏิบัติที่สามารถทำได้จริงสอดคล้องกับต้นแบบที่ทางสจรสกำหนด
4.ตรวจเยี่ยมระบบริการที่คำนึงถึงมมิติทางวัฒนธรรม
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต
วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อพัฒนาระบบบริการให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมชายแดนใต้ มีผลผลิตการดำเนินโครงการสอดคล้องกับแนวปฏิบัติต้นแบบที่แหล่งทุนมอบหมายให้ศึกษานำร่อง 1). มีระบบบริการสำหรับพระภิกษุสามเณร 2) โรงพยาบาลมีบริการอาหารฮาลาล/เจ/มังสวิรัติ 3) จุดให้นมแม่สำหรับมารดาที่มาตรวจตามนัด 4) มีสถานที่สำหรับการประกอบศาสนากิจสำหรับบุคลากร ผู้ป่วย และญาติอย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการให้บริการด้านสาธารณสุข มีผลผลิต 1)บุคลากร ได้รับการอบรม เรื่อง การให้บริการสุขภาพที่สอดคล้องกับสังคมพหุวัฒนธรรม 2) แกนนำชุมชนมีความรู้ในเรื่อง “การดูแลมารดาและทารกหลังคลอดตามวิถีธรรม” 3) ผู้ดูแลได้รับการอบรมดูแลผู้ป่วยในช่วงรอมฎอน
วัตถุประสงค์ที่ 3 เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ถูกต้องตามแนวทางศาสนา ได้แก่ เกิดกิจกรรมการสวดมนต์ใส่บาตรตามเตียง มีห้องพระบริการผู้ป่วยและญาติ เมื่อผู้ป่วยหนักมีพระมาบริการอ่านพระสูตร มีอาสาสมัครอ่านยาซีนสำหรับผู้ป่วยหนัก รณรงค์รับบริจาคและมีผ้าขาวแจกห่อศพแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตชาวมุสลิม การรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพเด็กผู้ชายมุสลิมระหว่างปิดภาคเรียนตามวิถีมุสลิมเด็กชายมุสลิมเข้าร่วมเกินเป้า
ผลลัพธ์
1. ไม่มีการตกเลือดของมารดาหลังคลอดที่อยู่ไฟ โรงพยาบาลสตูลเลือกประเด็นสุขภาพที่พบและเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญคืองานอนามัยแม่และเด็กมาขับเคลื่อนพบว่าการจัดบริการเชิงสุขภาพที่คำนึงถึงพหุวัฒนธรรมทำให้เกิดการดูแลมารดาหลังคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในช่วงที่ดำเนินการไม่มีมารดาตกเลือดจากการอยู่ไฟหลังคลอด
2. ไม่มีการติดเชื้อจากการทำสุหนัต .จากสถิติของโรงพยาบาลย้อนหลัง พบว่า มักพบผู้มารับบริการในพื้นที่มีการติดเชื้อภายหลังการเข้าสุหนัตเป็นประจำทุกปี แต่สถิติล่าสุดไม่พบผู้ติดเชื้อจากการเข้าสุหนัต
3. การจัดบริการสุขภาพในบริบทสังคมพหุวัฒนธรรมทำให้เกิดบรรยากาศองค์กรแห่งความสุข เพราะบุคลากรได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาเกิดความสุข ใช้หลักศาสนาในชีวิตประจำวัน รู้สึกมีคุณค่า เกิดทัศนเชิงบวกต่อการทำงานที่สามารถตอบโจทย์ทั้งการพัฒนางานประจำและขัดเกลาภายในตนเอง บ่มเพาะทัศนคติการดูแลผู้อื่นด้วยความเข้าใจ ความเมตตา
4. จำนวนประเด็นร้องเรียนที่ลดลง หรือหากมีการร้องเรียนสามารถจัดการปัญหาได้อย่างรวดเร็ว มีทีมงานผู้นำศาสนาคอยช่วยเหลือทำให้สถานการณ์สามารถควบคุมได้
ผลกระทบ
1. เชิงบวก เกิดความตื่นตัว เกิดกำลังใจจากทีมงานและภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนงานต่อไปในอนาคต เป็นบรรยากาศที่เอื้ออำนวยเพื่อมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาต่อไป
2. เชิงลบ การจัดบริการสุขภาพในบริบทพหุวัฒนาธรรมยังมีประเด็นที่ยังต้องออกแบบระบบที่แผนกฉุกเฉินในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่ผู้ป่วยมีความซับซ้อน กล่าวคือ ในภาวะเร่งด่วนแพทย์จำเป็นต้องให้การดูแลในภาวะวิกฤต แต่ญาติหรือผู้ใกล้ชิดอยากเข้ามาเยี่ยม การเข้าเยี่ยมที่จำนวนมากในพื้นที่จำกัด และภาวะเร่งด่วนในการทำงานเป็นประเด็นที่อ่อนไหวต่อความพึงพอใจของญาติ และการไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่อาจทำให้บุคลากรเกิดทัศนคติเชิงลบต่อความพยายามที่จะตอบสนองตามความเชื่อเชิงศาสนา หรือหลักศาสนาที่เชื่อว่าการเยี่ยมผู้ป่วยเป็นการปฏิบัติที่เป็นบุญ หากมาเยี่ยมในหอผู้ป่วยและรอเฝ้าไข้ทำให้ได้บุญ แต่จำนวนที่มาเฝ้าไข้ที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดความแออัด บรรยากาศโรงพยาบาลไม่เหมาะสำหรับการพักผ่อนของผู้ป่วยเพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูสุขภาพกายและจิตของผู้ป่วย สิ่งเหล่านี้ทางโรงพยาบาลสตูลได้ปรับปรุงระบบบริการโดยจัดให้มีพื้นที่สำรับญาติที่มาเฝ้าไข้ สามารถพักค้างคืน ทำให้ญาติมีบริเวณที่พักและได้พบปะแลกเปลี่ยนเกิดความพึงพอใจต่อบริการ ในส่วนของแผนกฉุกเฉินการแก้ปัญหาอาจต้องเพิ่มช่องทางการสื่อสารระหว่างการรักษาในภาวะวิกฤต เพื่อให้ญาติหรือผู้มารอเยี่ยมทราบข้อมูลความเป็นไปเป็นระยะเพื่อลดความกังวล และกรณีไม่สามารถยื้อชีวิตได้ ต้องมีจุดที่เปิดโอกาสให้สามารถพบปะทำพิธีในวาระสุดท้ายตามความเชื่อและความต้องการตามที่เหมาะสม
20
23
11. ลงพื้นที่โรงพยาบาลรือเสาะ ครั้งที่2
วันที่ 24 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
การทำกิจกรรมทั้ง 2 ครั้ง ทีมงานดำเนินการคือ
1. เก็บข้อมูลการจัดบริการสุขภาพเชิงพหุวัฒนธรรมในโรงพยาบาลรือเสาะ มีเก็บข้อมูลการจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาล โดยใช้แบบสอบถาม และสนทนากลุ่มย่อยผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการสังเกตบรรยากาศการปฏิบัติงานจริง
2. ติดตามผลการดำเนินงานระบบบริการสุขภาพใเชิงพหุวัฒนธรรมโรงพยาบาลรือเสาะที่แตกต่างครั้งที่ 1 และ 2 เพ่ือความครอบคลุม โดยในครั้งแรกผู้อำนวยการโรงพยาบาลเน้นการเยี่ยมกิจกรรมของชุมชนไทยพุทธบ้านไทยสุข ต.ลาโล๊ะ และสนทนาในกลุ่มผู้ปฏิบัติด้านสุขภาพในพื้นที่ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร พยาบาลประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ทีมติดตามยังไม่เห็นภาพรวมการดำเนินการทั้งหมดของโรงพยาบาลจึงขอเข้าตรวจเยี่ยมติดตามครั้งที่ 2 ซึ่งในครั้งที่ 2 ได้เข้ารับฟังผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลและการขับเคลื่อนงานในชุมชนมุสลิม การประชุมและลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมทำให้เห็นภาพสะท้อนภาพระบบงานนที่ทำจริง และทิศทางการขับเคลื่ือนที่จะดำเนินการ่อในอนาคต
3. สำรวจความต้องการขับเคลื่ือนงานในระดับชุมชนและระดับโรงพยาบาล ดำเนินการโดยการสนทนากับผู้อำนวยการโรงพยาบาล พยาบาลวิชาชีพประจำโรงพยาบาลส่งเสริสุขภาพระดับตำบล ผู้นำศาสนา แกนนำพื้นที่ ผู้รับบริการเป้าหมาย (กลุ่มต้องการเลิกบุหรี่ในชุมชนมุสลิม)
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
พื้นที่นำร่องจัดกิจกรรมถอดบทเรียนจำนวน 2 ครั้ง พบการนำรูปแบบการจัดบริการสุขภาพดำเนินงานจริง ทั้งในระดับโรงพยาบาลและระดับชุมชน ระบบบริการและการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลค่อนข้างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามผลการจัดกิจกรรมมีความเป็นรูปธรรมเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดจากการขับเคลื่ือนในช่วงกิจกรรมที่ได้รับงบประมาณจากสสส.ผ่านสจรส.เท่านั้น แต่น่าจะเกิดจากความพยายามของโรงพยาบาลที่พัฒนาระบบบริการมาอย่างต่อเนื่ือง งบสนับสนุนครั้งนี้น่าจะมาช่วยหนุนเสริมกิจกรรมให้มีความชัดเจนมากขึ้น ภายหลังจากการขับเคลื่ือนระบบบริการในโรงพยาบาลมีผลที่น่าพอใจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจึงเริ่มขับเคลื่ือนการบริการที่คำนึงถึงมิติพหุวัฒนธรรมในชุมชน การดำเนินการเริ่มจากชุมชนบ้านไทสุขซึ่งเป็นชุมชนชาวพุทธก่อนเพราะเป็นชุมชนเข้มแข็ง มีความพร้อมกว่าชุมชนมุสลิม ต่อมาจึงเริ่มสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนพุทธและมิสลิม ทำให้ชุมชนมุสลิมที่มีตัวชี้วัดสุขภาพไม่ผ่านเกณฑ์เริ่มตื่นตัว เกิดการเปรียบเทียบและหันมาริเริ่มทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภพาตามวิถีอิสลาม ภาพในมิติใหญ่ที่พบในโรงพยาบาลคือการจัดระบบสุขภาพเพ่ือสันติภาพ เพราะชุมชนพุทธมุสลิมเกิดการปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น การกลับมาร่วมมือเพ่ือพัฒนาได้เริ่มอีกครั้ง อย่างไรก็ตามโรงพยาบาลรือเสาะยังต้องพยายามผลักดันการดูแลกลุ่มผู้ป่วยไทยพุทธในพื้นที่ซึ่งเป็นประชากร 5%.ให้มีพื้นที่องค์ประกอบเชิงกายภาพที่เอื้ออำนวยเช่นห้องพระ หรือกิจกรรมเชิงศาสนาภายในโรงพยาบาลเพ่ือความรู้สึกมีตัวตนในสังคมที่มีมุสลิมเป็นประชากรส่วนใหญ่ การคุยนอกรอบวงประชุมทำให้พบว่ายังมีบุคลากรที่มีความคิดแบ่งแยก มีความขัดแย้ง การสร้างกระบวนการเพ่ือให้เกิดการยอมรับความเป็นพหุวัฒนธรรมยังมีความจำเป็นในบุคลากรโรงพยาบาล
100
20
12. ประชุมถอดบทเรียน
วันที่ 15 มกราคม 2562 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
1.รับฟังการนำเสนอผลการดำเนินงานแต่ละโรงพยาบาล ในประเด็นกระบวนการกิจกรรม ผลการจัดกิจกรรม
2.รับฟังการวิพากษ์จากผู้รับผิดชอบของศวสต.เพื่อปรับแก้งานก่อนนำเสนอแก่คณะทำงานสจรส.
3.ปรับแก้เนื้อหารายงานสฉบับสมบูรณ์ (ดังเอกสารแนบ)
4.ให้ข้อเสนอเพ่ือการทำงานต่อยอดโดยสรุปดังนี้ 1) โรงพยาบาลสตูลเน้นการนำระบบวิจัยมาวิเคราะห์ผลเชิงบวกที่เกิดจากการขับเคลื่อนระบบบริการ 2) รพ.เทพา ขับเคลื่อนเป็นพื้นที่ต้นแบบและการสร้างความยั่งยืนและขยายไปสู่หน้างานในส่วนอื่น ๆ 3) รพ.ธารโตสร้างคนธารโตรุ่นใหม่ 4.รพ.รือเสาะเน้นการขับเคลื่ือนพหุวัฒนธรรมเพ่ือสันติภาพ และ5) รพ.ยะหริ่ง เน้นการนำพหุวัฒนธรรมมาใช้เพ่ือแก้ปัญหาแม่และเด็ก
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต การจัดประชุม 2 วันเกิดข้อมูลบทเรียนจากการทำงานภายใต้โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมในพื้นที่5จังหวัดชายแดนใต้ มีการพบปะแลกเปลี่ยนเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการทำงาน
10
15
13. พัฒนาแนวทางการแพทย์พหุวัฒนธรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะในผู้รับบริการ
วันที่ 8 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
แลกเปลี่ยนผลการถอดบทเรียนกับนักปฏิบัติการพื้นที่ที่สนใจ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
เครือข่ายโรงพยาบาลเห้นความสำคัญของการนำระบบบริการที่คำนึงถึงพหุวัฒนธรรม และอยากให้มีการพัฒนาสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมเพ่ือลดความขัดแย้งในองค์กร
100
0
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ สถานการณ์ เป้าหมาย ผลผลิต อธิบาย
1
ถอดบทเรียนรู้การใช้รูปแบบการแพทย์พหุวัฒนธรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะ
ตัวชี้วัด : แนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะ และเครื่องมือในการประเมินการแพทย์พหุวัฒนธรรม
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค สาเหตุ ข้อเสนอแนะ
โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติในพื้นที่ 5 จังหวัดชาดแดนใต้ จังหวัด
รหัสโครงการ -
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
................................
( ผศ.ดร.ปรียา แก้วพิมล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......
สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
“ โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติในพื้นที่ 5 จังหวัดชาดแดนใต้ ”
จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูลหัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.ปรียา แก้วพิมล
ชื่อโครงการ โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติในพื้นที่ 5 จังหวัดชาดแดนใต้
ที่อยู่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล จังหวัด
รหัสโครงการ - เลขที่ข้อตกลง 61-ข-043
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2561 ถึง 31 มกราคม 2562
กิตติกรรมประกาศ
"โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติในพื้นที่ 5 จังหวัดชาดแดนใต้ จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติในพื้นที่ 5 จังหวัดชาดแดนใต้
บทคัดย่อ
โครงการ " โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติในพื้นที่ 5 จังหวัดชาดแดนใต้ " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส จังหวัดสตูล รหัสโครงการ - ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2561 - 31 มกราคม 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 150,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 100 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้
โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ | |
บทคัดย่อ | |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล | |
วัตถุประสงค์โครงการ | |
กิจกรรม/การดำเนินงาน | |
กลุ่มเป้าหมาย | |
ผลลัพธ์ที่ได้ | |
การประเมินผล | |
ปัญหาและอุปสรรค | |
ข้อเสนอแนะ | |
เอกสารประกอบอื่นๆ |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- ถอดบทเรียนรู้การใช้รูปแบบการแพทย์พหุวัฒนธรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้ |
---|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์** กิจกรรมของโครงการ | ผลผลิต* | |
---|---|---|
ผลผลิตที่ตั้งไว้ | ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง | |
1. ประชุมคณะทำงาน |
||
วันที่ 18 มิถุนายน 2561 เวลา 17:00 น.กิจกรรมที่ทำประชุมคณะทำงาน ทบทวนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบบริการสุขภาพในสังคมพหุวัฒนะรรม ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น1.ปรับแผนการทำงาน การดำเนินกิจกรรมในโครงการ 2.ออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูล 3.เอกสารการทบทวนวรรณกรรม
|
5 | 5 |
2. ประชุมคณะทำงาน |
||
วันที่ 3 กรกฎาคม 2561 เวลา 13:00 น.กิจกรรมที่ทำ1.ชี้แจงโครงการ 2.ประชุมแผนงานโครงการ 3.นำเสนอข้อมูล, สกัดเนื้อหาจากการทบทวนวรรณกรรมการบริการพหุวัฒนธรรมเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาเครื่องมือประเมินบริการการแพทย์พหุวัฒนธรรม 4.จัดทำร่างเครื่องมือประเมินการแพทย์พหุวัฒนธรรม ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น1.ร่างเครื่องมือประเมินการแพทย์พหุวัฒนธรรมที่จะนำไปใช้นำร่องในพื้นที่เป้าหมาย
|
5 | 0 |
3. ลงพื้นที่โรงพยาบาลเทพา ครั้งที่1 |
||
วันที่ 10 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำเก็บข้อมูลการจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลเทพา โดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเกิดข้อมูลการจัดบริการสุขภาพของโรงพยาบาลเทพา
|
30 | 10 |
4. พัฒนาเครื่องมือ |
||
วันที่ 20 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำพัฒนาเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเกิดเครื่องมือ จำนวน 6ชุด เพื่อใช้การการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล
|
100 | 5 |
5. ลงพื้นที่โรงพยาบาลยะหริ่ง |
||
วันที่ 21 สิงหาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ1.เก็บข้อมูลการจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลเทพาโดยใช้แบบสอบถาม ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นพื้นที่อำเภอยะหริ่งมีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ความเป็นพหุวัฒนธรรมของพื้นที่ยะหริ่งมีลักษณะของความแตกต่างในศาสนา (อิสลาม-พุทธ) ความแตกต่างในศาสนาเดียวกันที่มีแนวคิดการตีความแตกต่างกัน เป็นพื้นที่ที่มีความเห็นต่างในเชิงสังคมการเมืองการปกครอง (เป็นพื้นที่ที่มีสถานการณ์ความรุนแรงอย่างต่อเนื่องการลอบยิง วางระเบิด จนปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2562) อาณาเขตที่เป็นพื้นที่ชายทะเลเป็นแนวยาวและอาณาบริเวณที่กว้างทำให้เกิดความแตกต่างของสถานะทางเศรษฐกิจ สังคม ชีวิตผู้คน (ชุมชนชายประมง ชุมชนชาวบ้าน ชุมชนเขตอำเภอตามวิถีคนเมือง) ช่องว่างทางการศึกษา รายได้ ประชากรส่วนหนึ่งในพื้นที่มักนิยมเดินทางไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน และเนื่องจากเป็นพื้นที่ติดทะเลมักพบชาวต่างชาติมาอาศัยในพื้นที่ เช่น พม่า ชาวกัมพูชา ชาวโรฮิงยา เป็นต้น จากสภาพความเป็นพหุวัฒนธรรมเหล่านี้ทำให้ต้นทุนชีวิต ภาวะสุขภาพผู้คนมีความแตกต่างกัน
|
15 | 20 |
6. ลงพื้นที่โรงพยาบาลเทพา ครั้งที่2 |
||
วันที่ 2 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำเก็บข้อมูลการจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลเทพา โดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเกิดข้อมูลการจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลเทพา โดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
|
12 | 12 |
7. ลงพื้นที่โรงพยาบาล.รือเสาะ ครั้งที่1 |
||
วันที่ 4 ตุลาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำเก็บข้อมูลการจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลรือเสาะ โดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง เยี่ยมชนชุมชนไทยพุทธบ้านไทยสุข ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นปัจจัยนำเข้า
ด้านคน โรงพยาบาลรือเสาะมีต้นทุนด้านคนที่สำคัญคือ 1) ผู้บริหารโรงพยาบาลที่มีความเป็นนักวิชาการและนักพัฒนาที่เข้าใจการทำงานขับเคลื่อนสังคม จากการรับฟังข้อมูลพบว่า เมื่อเข้ามารับราชการโรงพยาบาลรือเสาะใหม่ๆ และเห็นความซับซ้อนของปัญหาทั้งระบบจึงเริ่มจากพัฒนาระบบบริการในโรงพยาบาลเป็นอันดับแรกเพื่อเรียกความเชื่อมั่นของประชาชนต่อโรงพยาบาลและสร้างขวัญกำลังใจแก่สมาชิกทีมงานของโรงพยาบาลและต่อมาเริ่มขยับงานสู่การขับเคลื่อนชุมชนและสังคม 2) ทีมงานบุคลากรโรงพยาบาลที่มีประสบการณ์ทำงานก้าวข้ามความยากลำบากมาด้วยกันในช่วงวิกฤตพื้นที่และวิกฤตศรัทธา มีความภาคภูมิใจ มีความมุ่งมั่น มีจิตอาสาที่จะขยับงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพ นอกจากนี้ทีมบุคลากรส่วนใหญ่ของโรงพยาบาลเป็นคนพื้นถิ่นที่เข้าใจวัฒนธรรม 3) ต้นทุนเครือข่ายภาคประชาสังคมในพื้นที่ ชุมชนบ้านไทยสุขซึ่งมีผลการทำงานเชิงพัฒนาต้นแบบวิถีพุทธ เป็นชุมชนตัวอย่างที่พร้อมเป็นแกนนำในการทำงานเพื่อขยายบทเรียนรู้สู่ชุมชนชาวไทยมุสลิมโดยใช้ศาสนาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน 4) ผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชน มัสยิดต้นแบบขับเคลื่อนสุขภาพ การพบปะผู้เข้าร่วมประชาพิจารณ์ทำธรรมนูญสุขภาวะมัสยิดพบว่า โต๊ะอิหม่ามและทีมงานมีความสนใจเรื่องสุขภาพและประพฤติตนเป็นแบบอย่างด้านสุขภาพ สนใจนำบทเรียนรู้จากบ้านไทยสุขมาสู่การปฏิบัติในพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง ด้านทรัพยากร การรับฟังการถอดบทเรียนการทำงานของทีมงานโรงพยาบาลรือเสาะ มีประเด็นการใช้ทรัพยากรที่น่าสนใจดังนี้ 1) ทีมคณะผู้บริหารโรงพยาบาลรือเสาะมีศักยภาพในการหาทุนสนับสนุนจากภาคีเครือข่าย มีบางอาคารที่ได้รับงบประมาณการปรับปรุงจากเทศบาล มีการวางแผนแสวงหาแหล่งทุนอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง 2) การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เน้นการตกแต่ง ปรับเปลี่ยนภายในอาคารแทนการสร้างอาคารใหม่ที่ใช้งบประมาณสูง สถานบริการออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเอื้ออำนวยต่อการเยียวยา 3) มีการงบเชิงบูรณาการงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่า 1 ด้าน จากการรับฟังการขับเคลื่อนงานพัฒนาเชิงพหุวัฒนธรรมมาอย่างต่อเนื่องพบว่าผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลไม่ติดลบ สะท้อนความเป็นมืออาชีพในการบริหารทรัพยากร
ทุนองค์กร เมื่อพิจารณาทุนของโรงพยาบาลรือเสาะก็จะพบว่า โรงพยาบาลรือเสาะมีทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นจุดเด่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเองก็ได้นำวัฒนธรรมที่เป็นจุดเด่นมาสร้างการเรียนรู้ในองค์กรโดยเน้นการบริการทางการแพทย์เชิงรุก แก้ปัญหาที่ต้นเหตุของสุขภาพ ให้คนในชุมชนมีความตระหนัก ซึ่งได้วางวัตถุประสงค์ความสำเร็จไว้เพียง 2 ประเด็นคือ 1)ให้ชุมชนเปิดใจคุยกับทางโรงพยาบาล 2)คนในชุมชนเริ่มที่จะเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อปรับเปลี่ยนการบริการของโรงพยาบาลให้มีความเป็น “บารอกัต” เหล่านี้จะแก้ปัญหาข้อร้องเรียนต่างๆจากผู้มารับบริการได้ การดำเนินการให้มีความเป็นบารอกัต จะต้องเข้าใจ เข้าถึง วัฒนธรรม ภูมิปัญญาวิธีคิด เศรษฐกิจ และทรัพยากร ของชุมชนที่ส่งผลต่อการอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมนั้นๆ
|
70 | 10 |
8. ลงพื้นที่โรงพยาบาลธารโต |
||
วันที่ 27 พฤศจิกายน 2561 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำเก็บข้อมูลการจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาลธารโต โดยใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเกิดข้อมูลของการให้บริการสุขภาพในโรงพยาบาล
ผลผลิต
1. มีระบบเอื้ออำนวยให้สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้การนำรูปแบบแนวปฏิบัติการดูแลเชิงพหุวัฒนธรรมนำไปใช้จริงในโรงพยาบาล
2. กลุ่มเป้าหมายในชุมชนได้รับการอบรมความรู้ เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุ 0-5 ปี
ผลลัพธ์
1. ตัวแทนพยาบาลที่ดูแลในคลินิกผู้ป่วยนอก/หอผู้ป่วยในรู้สึกสบายใจที่มีแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจนก่อนหน้านี้พยายามทำแต่มีความกังวลภายในใจว่าถูกผิด ได้หรือไม่ได้ โดยเฉพาะการปฏิบัติต่อพระภิกษุ เมื่อมีการปรับปรุงระบบบริการทำให้เห็นแนวทางที่ชัดเจนที่จะปฏิบัติต่อบุคคลต่างศาสนิก หรือกรณีมีประเด็นที่เกิดความไม่แน่ใจสามารถปรึกษาคณะกรรมการที่มีหน้าที่ดูแลได้ ผลกระทบ
การแก้ปัญหาของระบบบริการที่อาศัยการทำงานของทุกภาคส่วน บรรลุผล (กรณีการรณรงค์วัคซีนโรคหัด)
บทเรียนรู้จากพื้นที่
จุดเด่น
1. ผู้นำมีความใส่ใจ ถ้ามองจากพหุวัฒนธรรมในเชิงศาสนา ผู้อำนวยการเหมือนเป็นตัวแทนผู้รู้ด้านอิสลามศึกษา ในขณะที่รองผู้อำนวยการเป็นตัวแทนของผู้รู้ด้านพุทธศาสนา ด้วยความเป็นผู้รู้
2. การมีนโยบายที่เอื้อให้บุคลากรมีอิสระในการออกแบบระบบบริการเชิงพหุวัฒนธรรม เช่นกรณีของหน่วยเอ็กซเรย์ของโรงพยาบาลที่บุคลากรออกแบบระบบการบริการช่วยให้เห็นว่าความใส่ใจเชิงพหุวัฒนธรรมทำให้สามารถตอบโจทย์การบริการและตอบโจทย์ศรัทธาที่
3. บุคลากรเข้าใจนโยบายพร้อมที่จะนำแนวทางไปสู่การปฏิบัติ จากการพบปะในส่วนห้องคลอด แผนกผู้ป่วยนอก ห้องยา สะท้อนภาพการดูแลที่มีความเป็นธรรมชาติ มีความกลมกลืนกับเนื้องาน
|
25 | 25 |
9. ประชุมคณะทำงาน |
||
วันที่ 1 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำปรึกษาสรุปข้อคิดเห็นการถอดบทเรียน ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นด้านผลผลิต/ด้านผลลัพธ์/ด้านผลกระทบ
การทดลองใช้รูปแบบการบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติงานเป็นรูปแบบกว้าง ๆ ไม่ได้กำหนดเป้าหมายร่วมกัน เมื่อสอบถามทีมงานแต่ละฝ่ายยังไม่มั่นใจที่จะนำเสนอว่าหากใช้รูปแบบการจัดระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นได้อย่างไร ทำให้ยังไม่เห็นตัวชี้วัดร่วมของรูปแบบการปฏิบัติครั้งนี้ จากการลงพื้นที่รับฟังพบข้อมูลที่เป็นประโยชน์น่าจะช่วยให้เห็นผลของการนำแนวคิดเชิงพหุวัฒนธรรมไปใช้และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบุคลากร ผู้ป่วย ญาติ และสังคมพหุวัฒนธรรมในพื้นที่ดังนี้
ด้านผลผลิต: จากการตรวจเยี่ยมพบตัวชี้วัดเชิงผลผลิตที่ควรนำมาใช้ในการขับเคลื่อนระยะต่อไปดังต่อไปนี้
1. การจัดกิจกรรมได้ตามองค์ประกอบที่ปรากฏในรูปแบบระบบบริการสุขภาพ (ครอบคลุม/ไม่คลุม) ข้อเสนอแนะเชิงพัฒนา
1. การทบทวนเป้าหมายร่วมของการขับเคลื่อนเพื่อจัดระบบบริการสุขภาพในสังคมพหุวัฒนธรรมให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นเพื่อสามารถติดตามตัวชี้วัดในแต่ละระดับ และหนุนเสริมการทำงานเชิงนโยบายได้อย่างถูกต้อง สืบเนื่องจากจุดเริ่มต้นของรูปแบบมาจากการพยายามนำหลักการทางศาสนามาประยุกต์ใช้เพื่อตอบโจทย์การแก้ปัญหาในระบบสุขภาพ ทำให้รูปแบบมักมุ่งเน้นไปในแนวทางที่จะดูแลผู้ป่วย/ญาติขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล รวมถึงการวางแผนการดูแลเพื่อส่งต่อเมื่อจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล เป็นลักษณะรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากการแพทย์กระแสหลัก แต่แนวคิดเชิงศาสนาเป็นแนวคิดแบบองค์รวมเมื่อการขับเคลื่อนจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่หลากหลาย ครอบคลุมความเป็นองค์รวมของบุคคล เมื่อทดลองใช้รูปแบบปรากฏผลสะเทือนระดับบุคคล กลุ่มคน องค์กร ชุมชน ดังนั้นเพื่อให้การขับเคลื่อนในระยะต่อไปมีทิศทางไปแนวเดียวกันในการขับเคลื่อนสังคมเวทีค้นหาเป้าหมายร่วมเพื่อการขับเคลื่อนงานควรนำไปสู่การสร้างพลังกลุ่ม ขยายขอบเขตการทำงานท้ายสุดน่าจะนำไปสู่การจัดระบบบริการสุขภาพในสังคมพหุวัฒนธรรมเพื่อสันติภาพชายแดนใต้
2. การใช้วิจัยเป็นเครื่องมือเพื่อตรวจสอบติดตามตัวชี้วัด ยกระดับกระบวนการทำงาน จากการติดตามถอดบทเรียนทีมงานนักปฏิบัติการสุขภาพรวมถึงคณะทำงานโดยรวมมีทัศนคติเชิงบวกต่อการนำรูปแบบการจัดบริการสุขภาพในสังคมพหุวัฒนธรรมมาทดลองปฏิบัติงาน แต่เมื่อถามถึงผลลัพธ์หรือผลกระทบทีมงานยังไม่แน่ใจที่นำเสนอ อาจเกิดจากระยะเวลาในการทดลองปฏิบัติสั้นเพียงหกเดือน หรือกระบวนการในแต่ขั้นตอนยังไม่ได้ออกแบบให้สามารถวัดประเมินได้อย่างเป็นระบบ การส่งเสริมให้มีการพัฒนางาน ทำวิจัยจากหน้างานเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดมาตรฐานการทำงานน่าจะทำให้เห็นผลลัพธ์หรือผลกระทบที่มีความชัดเจน กระบวนการวิจัยจะช่วยให้นักปฏิบัติการได้ตรวจสอบองค์ความรู้ พัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นเชิงวัฒนธรรม
3. ในการพัฒนาการจัดระบบบริการสุขภาพระยะต่อไปควรการเติมเต็มความรู้และทักษะของบุคลากร การสร้างความเข้าใจเกี่ยวมนุษยวิทยาของผู้คน การขยายกรอบพหุวัฒนธรรมให้ก้าวพ้นเชิงศาสนาจะช่วยยกระดับระบบบริการสุขภาพได้ดีกว่า (ตัวอย่างโรงพยาบาลธารโตแก้ปัญหาวัคซีนได้มากกว่า ร้อย 90 และมีความยั่งยืน หรือ โรงพยาบาลสตูลที่สามารถแก้ปัญหาอนามัยแม่และเด็กได้ รวมทั้งการแก้ปัญหาการติดเชื้อหลังทำพิธีสุหนัตโดยหน่วยงานเอกชน)
|
5 | 5 |
10. ลงพื้นที่โรงพยาบาลสตูล |
||
วันที่ 10 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ1.ประชุมรับฟังการรายงานสอบถามรูปแบบระบบบริการพหุวัฒนธรรมและสอบถามผลการปฏิบัติงานข้อสงสัย ผู้รับผิดชอบงานได้นำเสนอบริบทและผลการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการจัดบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรมที่มีกิจกรรมทั้งในโรงพยาบาลและการทำงานร่วมกับเครือข่าย ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต
วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อพัฒนาระบบบริการให้สอดคล้องกับพื้นที่พหุวัฒนธรรมชายแดนใต้ มีผลผลิตการดำเนินโครงการสอดคล้องกับแนวปฏิบัติต้นแบบที่แหล่งทุนมอบหมายให้ศึกษานำร่อง 1). มีระบบบริการสำหรับพระภิกษุสามเณร 2) โรงพยาบาลมีบริการอาหารฮาลาล/เจ/มังสวิรัติ 3) จุดให้นมแม่สำหรับมารดาที่มาตรวจตามนัด 4) มีสถานที่สำหรับการประกอบศาสนากิจสำหรับบุคลากร ผู้ป่วย และญาติอย่างเหมาะสม
วัตถุประสงค์ที่ 2 เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการให้บริการด้านสาธารณสุข มีผลผลิต 1)บุคลากร ได้รับการอบรม เรื่อง การให้บริการสุขภาพที่สอดคล้องกับสังคมพหุวัฒนธรรม 2) แกนนำชุมชนมีความรู้ในเรื่อง “การดูแลมารดาและทารกหลังคลอดตามวิถีธรรม” 3) ผู้ดูแลได้รับการอบรมดูแลผู้ป่วยในช่วงรอมฎอน
|
20 | 23 |
11. ลงพื้นที่โรงพยาบาลรือเสาะ ครั้งที่2 |
||
วันที่ 24 ธันวาคม 2561 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำการทำกิจกรรมทั้ง 2 ครั้ง ทีมงานดำเนินการคือ 1. เก็บข้อมูลการจัดบริการสุขภาพเชิงพหุวัฒนธรรมในโรงพยาบาลรือเสาะ มีเก็บข้อมูลการจัดรูปแบบระบบบริการสุขภาพในโรงพยาบาล โดยใช้แบบสอบถาม และสนทนากลุ่มย่อยผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการสังเกตบรรยากาศการปฏิบัติงานจริง 2. ติดตามผลการดำเนินงานระบบบริการสุขภาพใเชิงพหุวัฒนธรรมโรงพยาบาลรือเสาะที่แตกต่างครั้งที่ 1 และ 2 เพ่ือความครอบคลุม โดยในครั้งแรกผู้อำนวยการโรงพยาบาลเน้นการเยี่ยมกิจกรรมของชุมชนไทยพุทธบ้านไทยสุข ต.ลาโล๊ะ และสนทนาในกลุ่มผู้ปฏิบัติด้านสุขภาพในพื้นที่ได้แก่ แพทย์ เภสัชกร พยาบาลประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ทีมติดตามยังไม่เห็นภาพรวมการดำเนินการทั้งหมดของโรงพยาบาลจึงขอเข้าตรวจเยี่ยมติดตามครั้งที่ 2 ซึ่งในครั้งที่ 2 ได้เข้ารับฟังผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลและการขับเคลื่อนงานในชุมชนมุสลิม การประชุมและลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมทำให้เห็นภาพสะท้อนภาพระบบงานนที่ทำจริง และทิศทางการขับเคลื่ือนที่จะดำเนินการ่อในอนาคต 3. สำรวจความต้องการขับเคลื่ือนงานในระดับชุมชนและระดับโรงพยาบาล ดำเนินการโดยการสนทนากับผู้อำนวยการโรงพยาบาล พยาบาลวิชาชีพประจำโรงพยาบาลส่งเสริสุขภาพระดับตำบล ผู้นำศาสนา แกนนำพื้นที่ ผู้รับบริการเป้าหมาย (กลุ่มต้องการเลิกบุหรี่ในชุมชนมุสลิม) ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นพื้นที่นำร่องจัดกิจกรรมถอดบทเรียนจำนวน 2 ครั้ง พบการนำรูปแบบการจัดบริการสุขภาพดำเนินงานจริง ทั้งในระดับโรงพยาบาลและระดับชุมชน ระบบบริการและการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลค่อนข้างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามผลการจัดกิจกรรมมีความเป็นรูปธรรมเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดจากการขับเคลื่ือนในช่วงกิจกรรมที่ได้รับงบประมาณจากสสส.ผ่านสจรส.เท่านั้น แต่น่าจะเกิดจากความพยายามของโรงพยาบาลที่พัฒนาระบบบริการมาอย่างต่อเนื่ือง งบสนับสนุนครั้งนี้น่าจะมาช่วยหนุนเสริมกิจกรรมให้มีความชัดเจนมากขึ้น ภายหลังจากการขับเคลื่ือนระบบบริการในโรงพยาบาลมีผลที่น่าพอใจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจึงเริ่มขับเคลื่ือนการบริการที่คำนึงถึงมิติพหุวัฒนธรรมในชุมชน การดำเนินการเริ่มจากชุมชนบ้านไทสุขซึ่งเป็นชุมชนชาวพุทธก่อนเพราะเป็นชุมชนเข้มแข็ง มีความพร้อมกว่าชุมชนมุสลิม ต่อมาจึงเริ่มสร้างเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างชุมชนพุทธและมิสลิม ทำให้ชุมชนมุสลิมที่มีตัวชี้วัดสุขภาพไม่ผ่านเกณฑ์เริ่มตื่นตัว เกิดการเปรียบเทียบและหันมาริเริ่มทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภพาตามวิถีอิสลาม ภาพในมิติใหญ่ที่พบในโรงพยาบาลคือการจัดระบบสุขภาพเพ่ือสันติภาพ เพราะชุมชนพุทธมุสลิมเกิดการปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น การกลับมาร่วมมือเพ่ือพัฒนาได้เริ่มอีกครั้ง อย่างไรก็ตามโรงพยาบาลรือเสาะยังต้องพยายามผลักดันการดูแลกลุ่มผู้ป่วยไทยพุทธในพื้นที่ซึ่งเป็นประชากร 5%.ให้มีพื้นที่องค์ประกอบเชิงกายภาพที่เอื้ออำนวยเช่นห้องพระ หรือกิจกรรมเชิงศาสนาภายในโรงพยาบาลเพ่ือความรู้สึกมีตัวตนในสังคมที่มีมุสลิมเป็นประชากรส่วนใหญ่ การคุยนอกรอบวงประชุมทำให้พบว่ายังมีบุคลากรที่มีความคิดแบ่งแยก มีความขัดแย้ง การสร้างกระบวนการเพ่ือให้เกิดการยอมรับความเป็นพหุวัฒนธรรมยังมีความจำเป็นในบุคลากรโรงพยาบาล
|
100 | 20 |
12. ประชุมถอดบทเรียน |
||
วันที่ 15 มกราคม 2562 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ1.รับฟังการนำเสนอผลการดำเนินงานแต่ละโรงพยาบาล ในประเด็นกระบวนการกิจกรรม ผลการจัดกิจกรรม 2.รับฟังการวิพากษ์จากผู้รับผิดชอบของศวสต.เพื่อปรับแก้งานก่อนนำเสนอแก่คณะทำงานสจรส. 3.ปรับแก้เนื้อหารายงานสฉบับสมบูรณ์ (ดังเอกสารแนบ) 4.ให้ข้อเสนอเพ่ือการทำงานต่อยอดโดยสรุปดังนี้ 1) โรงพยาบาลสตูลเน้นการนำระบบวิจัยมาวิเคราะห์ผลเชิงบวกที่เกิดจากการขับเคลื่อนระบบบริการ 2) รพ.เทพา ขับเคลื่อนเป็นพื้นที่ต้นแบบและการสร้างความยั่งยืนและขยายไปสู่หน้างานในส่วนอื่น ๆ 3) รพ.ธารโตสร้างคนธารโตรุ่นใหม่ 4.รพ.รือเสาะเน้นการขับเคลื่ือนพหุวัฒนธรรมเพ่ือสันติภาพ และ5) รพ.ยะหริ่ง เน้นการนำพหุวัฒนธรรมมาใช้เพ่ือแก้ปัญหาแม่และเด็ก ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต การจัดประชุม 2 วันเกิดข้อมูลบทเรียนจากการทำงานภายใต้โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมในพื้นที่5จังหวัดชายแดนใต้ มีการพบปะแลกเปลี่ยนเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการทำงาน
|
10 | 15 |
13. พัฒนาแนวทางการแพทย์พหุวัฒนธรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะในผู้รับบริการ |
||
วันที่ 8 พฤษภาคม 2562 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำแลกเปลี่ยนผลการถอดบทเรียนกับนักปฏิบัติการพื้นที่ที่สนใจ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเครือข่ายโรงพยาบาลเห้นความสำคัญของการนำระบบบริการที่คำนึงถึงพหุวัฒนธรรม และอยากให้มีการพัฒนาสมรรถนะเชิงวัฒนธรรมเพ่ือลดความขัดแย้งในองค์กร
|
100 | 0 |
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ | สถานการณ์ | เป้าหมาย | ผลผลิต | อธิบาย | |
---|---|---|---|---|---|
1 | ถอดบทเรียนรู้การใช้รูปแบบการแพทย์พหุวัฒนธรรมเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะ ตัวชี้วัด : แนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะ และเครื่องมือในการประเมินการแพทย์พหุวัฒนธรรม |
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | ||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค | สาเหตุ | ข้อเสนอแนะ |
---|---|---|
โครงการถอดบทเรียนการนำแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมไปปฏิบัติในพื้นที่ 5 จังหวัดชาดแดนใต้ จังหวัด
รหัสโครงการ -
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
( ผศ.ดร.ปรียา แก้วพิมล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......