สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

assignment
บันทึกกิจกรรม
1. ทีม u2t ตำบลท่ากำชำ ได้มีการประชุมและวางแผนเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการกระจายอาหาร1 ตุลาคม 2565
1
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย muminah malee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีม u2t ตำบลท่ากำชำ ได้มีการประชุมและวางแผนเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการกระจายอาหาร  ในชุมชนตำบลท่ากำชำ ร่วมกับปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ วันที่ 4 กรกฎาคม 2565 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 7 คน ประกอบไปด้วย นายอาลี อีซอ ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ จำนวน 1 คน นางสาวอลิชา หวังยี เจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน จำนวน 1 คน และทีม u2t ตำบลท่ากำชำจำนวน 5 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการประชุม ทีม u2t ตำบลท่ากำชำ ได้จัดประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการพัฒนารูปแบบการกระจายอาหารในชุมชนตำบลท่ากำชำ ทีม u2t มีการนำเสนอรูปแบบตลาด on-site ให้กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำรับทราบโครงการฯที่กำลังจะดำเนินการ ซึ่งมีการแบ่งโซนอาหารสด โซนผักปลอดสารพิษ  โซนผลไม้ โซนอาหารแปรรูป โซนไข่ไก๋และไข่นกกระทา มีการเปิดให้บริการในทุกๆวันจันทร์ เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ลานองค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ
มติที่ประชุม ทีม u2t ได้มีการจัดโครงการตลาดสีเขียวในทุกๆวันจันทร์ เวลา 08.30 – 12.00 น. ณ ลานองค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ มีรูปแบบเป็นตลาด on-site โดยมีการแบ่งโซนเป็นอาหารสด โซนผักปลอดสารพิษ โซนผลไม้ โซนอาหารแปรรูป โซนไข่ไก๋และไข่นกกระทา เพื่ออำนวยความสะดวกในจำหน่ายสินค้าให้กับพ่อค้าแม่ค้า และผู้บริโภค

การประชุมชี้แจงการดำเนินกิจกรรมการอบรมเกษตรกรเกี่ยวกับการเก็บผลผลิตเพื่อจำหน่ายในตลาด ณ ศูนย์เรียนรู้การเกษตรตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี วันที่ 16 สิงหาคม 25651 ตุลาคม 2565
1
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย muminah malee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมชี้แจงการดำเนินกิจกรรมการอบรมเกษตรกรเกี่ยวกับการเก็บผลผลิตเพื่อจำหน่ายในตลาด ณ ศูนย์เรียนรู้การเกษตรตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี วันที่ 16 สิงหาคม 2565 จำนวนผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 9 คน ประกอบไปด้วยเกษตรกรในพื้นที่จำนวน 5 คน และเกษตรกรพื้นที่ใกล้เคียงจำนวน 4 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการประชุม ได้มีการชี้แจงการดำเนินกิจกรรมการอบรมเกษตรกรเกี่ยวกับการเก็บผลผลิตเพื่อจำหน่ายในตลาด ในเรื่องของการเก็บเกี่ยวผลผลิต ราคา ปริมาณ เวลา เพื่อส่งให้กับทีม u2t ว่างจำหน่ายในตลาดนัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ ทุกๆเช้าของวันจันทร์ 08.30 – 12.00 น.

  มติที่ประชุม ทีม u2t ได้มีการเก็บผลผลิตจากกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อว่างจำหน่ายในตลาดนัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ และจำหน่ายให้กับหน่วยงานรัฐพร้อมจำหน่วยให้กับร้านอาหารในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง

ทีม u2t ตำบลท่ากำชำ อบรมกลุ่มจำหน่ายอาหารเกี่ยวกับสุขาภิบาลในตลาด วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ 25651 ตุลาคม 2565
1
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย muminah malee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทีม u2t ตำบลท่ากำชำ อบรมกลุ่มจำหน่ายอาหารเกี่ยวกับสุขาภิบาลในตลาด วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ 2565
เวลา 9:00-12:00 น ณ สถานที่ องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม 14 คน ประกอบไปด้วยผู้จำหน่ายอาหารในตลาดนัดอบต จำนวน 14 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการประชุม ทีม u2t ตำบลท่ากำชำ ได้มีการอบรมชี้แจงเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหารในตลาด โดยมีการแบ่งโซนการขายเป็นสัดส่วน เช่นอาหารสด อาหารแห้ง มีการปกปิดอาหารเพื่อป้องกันแมลงและฝุ่นไม่พึงประสงค์ มีการทิ้งขยะและแยกขยะตามประเภทที่ถูกต้อง และการใช้สีผสมอาหารในการปรุงอาหารที่ไม่เกินมาตรฐานอาหาร

กิจกรรมอบรมเกี่ยวกับกฎระเบียบการเปิดตลาดใหม่ วันที่ 29 สิงหาคมพ.ศ 25651 ตุลาคม 2565
1
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย muminah malee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

กิจกรรมอบรมเกี่ยวกับกฎระเบียบการเปิดตลาดใหม่ วันที่ 29 สิงหาคมพ.ศ 2565 ณ ศูนย์การเรียนรู้การเกษตรองค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 44 คน ประกอบไปด้วยทีม u2t จำนวน 5 คน กลุ่มจำหน่ายอาหารในตลาด 28 คน และทีมองค์การบริหารส่วนตำบลท่ากำชำ จำนวน 11 คน ได้มีการประชุมเกี่ยวกับกฎระเบียบที่จะใช้ร่วมกันในตลาดนัด อบต.ท่ากำชำ ให้กับกลุ่มพ่อค้าแม่ค้าที่มาจำหน่ายอาหารในตลาดนัด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการประชุม ทีม u2t ตำบลท่ากำชำ ได้มีการอบรมชี้แจงเกี่ยวกับเกี่ยวกับกฎระเบียบการเปิดตลาดใหม่ โดยมีการแบ่งโซนการขายเป็นสัดส่วน เช่นอาหารสด อาหารแห้ง มีการปกปิดอาหารเพื่อป้องกันแมลงและฝุ่นไม่พึงประสงค์ มีการทิ้งขยะและแยกขยะตามประเภทที่ถูกต้อง และมีการรักษาความสะอาดในตลาดสีเขียว