สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมวางแผนการจัดกระบวนการประเมินงานบูรณาการกลไกความร่วมมือเพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภูเก็ต 3 พ.ย. 2565 3 พ.ย. 2565

 

ประชุม

 

แนวทางและเครืองมือการประเมิน

ทีมประเมินมีข้อมูลไม่ชัดเจนทำให้การสื่อสารไม่ตรงกัน  แนวทางแก้ไข ขอข้อมูเพิ่มเติมจาก ศนวส.

สรุปข้อมูลกิจกรรมแถลงข่าวและ Kick off “ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต "Phuket: Health for Future of Life" 12 พ.ย. 2565 12 พ.ย. 2565

 

เข้าร่วมสังเกตการณ์ และประเมินการจัดงานแถลงข่าวและซักถามรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะ

 

  1. กิจกรรมแถลงข่าวเป็นสร้างการรับรู้และ Kick Off โครงการ ซึ่งมีผู้ข้าร่วมงานจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคประชาสังคมและภาควิชาการ รวมทั้งสื่อมวลชนจากภายในและภายนอกจังหวัด จำนวน 400 คน ซึ่งนับว่าเป็นความสำเร็จในการสร้างการรับรู้ที่มาของโครงการที่เป็นความร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตรวมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ และคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ตและค้นหาภาคีเครือข่ายที่สนใจในเรื่องที่ขับเคลื่อนโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด“ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต "Phuket: Health for Future of Life"
    1. ผู้ประเมินได้รับฟังและเสวนาเกี่ยวกับโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด ภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “Phuket : Health for Future of Life” ซึ่งพอสรุปรายละเอียดวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อสานพลัง สร้างความร่วมมือไปสู่การสร้างสุขภาวะของ จ.ภูเก็ต ในอนาคต โดยบูรณาการทุกภาคส่วนในการส่งเสริมสุขภาพ สร้างเป้าหมายการเป็นภาคใต้แห่งความสุขเป็นต้นแบบการร่วมกันระหว่างภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาชน ภาคเอกชน วิชาการ ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับตำบล อำเภอ จังหวัด เขตสุขภาพ ส่งเสริมออกกำลังกาย การกินอาหารที่ดี สร้างอนามัยสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสร้างสุขภาวะในกลุ่มเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส และกลุ่มเปราะบาง เพื่อสร้างสุขภาวะแห่งอนาคตของคนภูเก็ต ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ มุ่งสู่การเป็น Medical & Wellness Hub วางรากฐานระบบสุขภาพอย่างทั่วถึง และมีประสิทธิภาพควบคู่กันไปด้วย ภายใต้แนวคิด “เมืองแห่งความผูกพันผู้คนสู่สุขภาพโลก” สร้างสุขภาพดีอย่างยั่งยืน ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียม เป็นต้นแบบระบบสุขภาพชุมชนเมือง และยกระดับสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
        3. รูปแบบการจัดงานน่าสนใจ มีการเชิญภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน และภาคีเครือข่ายสนใจงานกองทุนและอยกร่วมงานแต่ยังไม่ทราบลายละเอียดขั้นตอนการขอเข้าร่วมโครงการและเงื่อนไขต่าง ๆ จำนวนข่าวและภาพข่าวที่สื่อมวลชนนำไปเผยแพร่มีทั้งในท้องถิ่น ภูมิภาคและสื่อส่วนกลางทั้ง Online และ offline
    2. ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจัดแถลงข่าว พบว่า การประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สมบูรณ์ เช่น การเก็บข้อมูลหรือสร้างฐานข้อมูลผู้ที่ลงทะเบียนเพื่อเข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายในระบบออนไลน์ เช่น Line หรือการให้ผู้เข้าร่วมกดไลค์เพจของโครงการ เป็นต้น แนะนำทบทวนการดำเนินงาน / สรุปปัญหาและอุปสรรคในการแถลงข่าวเป็นรายงาน เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานในครั้งต่อไป

ใปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการจัดแถลงข่าว พบว่า
1.การประสานข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่สมบูรณ์ เช่น กลุ่มภาคีเครื่อข่ายยังไม่ครบทุกกลุ่ม 2.การเก็บข้อมูลหรือสร้างฐานข้อมูลผู้ที่ลงทะเบียนเพื่อเข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายในระบบออนไลน์ เช่น Line หรือการให้ผู้เข้าร่วมกดไลค์เพจของโครงการ เป็นต้น
3.แนะนำทบทวนการดำเนินงาน / สรุปปัญหาและอุปสรรคในการแถลงข่าวเป็นรายงาน เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานในครั้งต่อไป

ประชุมติดตามความก้าวหน้า 7 ธ.ค. 2565 7 ธ.ค. 2565

 

สังเกตการณ์ สอบถามพูดคุยกับคณะอนุกรรการฯ รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์รายงานการประชุม

 

มีการคัดเลือก เสนอรายชื่อคณะทำงาน แนวทางการกำหนดโครงสร้างคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด

  1. ไม่มีการรวบรวมข้อมูลที่จะขับเคลื่อนทั้ง 8 ประเด็น ทางโครงการควรเก็บรวบรวมทำเป็นฐานข้อมูลเก็บไว้บนคราวน์เพื่อสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลทุกภาคีเครือข่าย.
    2 เพิ่มบทบาทของภาคเอกชน
สังเกตการณ์ประชุมติดตามการดำเนินงานโครงการบูรณากลไกความร่วมมือ 17 ธ.ค. 2565 17 ธ.ค. 2565

 

สอบถามพูดคุยและศึกษาเอกสารรายงานการประชุม

 

มีการแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานร่วมกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำให้ได้แนวทางในการบริหารจัดการเครือข่ายและการจัดทำแผนโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด “ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “Phuket: Health for Future of Life”

การติดต่อสื่อสารในทีมขับเคลื่อน ทีมประเมิน ทีมสื่อ แนะนำให้แจ้งทำงานหรือแจ้งเปลี่ยนแปลงล่วงหน้า

สรุปรายงานประเมินความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ งวดที่ 1 30 ธ.ค. 2565 30 ธ.ค. 2565

 

สังเกต สอบถามพูดคุยและศึกษารายกงานการประชุม

 

1 เกิดกลไกการดำเนินงานร่วมทุนในการดำเนินงานสร้างสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต 2. มีแผนการดำเนินโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด “ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “Phuket: Health for Future of Life” 3.มีหน่วยงานและภาคีเครือข่ายในการสร้างสุขภาวะและคุณภาพชีวิตของคนภูเก็ตในระดับพื้นที่ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล สถาบันการศึกษา ภาคเอกชน สมาคม ชมรม และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาและอุปสรรคได้ดังนี้ 1.ยังไม่มีรายละเอียดข้อมูลและความชัดเจนในประเด็นการขับเคลื่อน ประกอบด้วย อาหาร สุขภาพจิต  บุหรี่ เหล้า ยาเสพติด โรคอุบัติใหม่ กิจกรรมทางกาย ความปลอดภัยทางถนน มลพิษทางสิ่งแวดล้อม การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาสกลุ่มเปราะบาง การตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น ฯลฯ
2.การกำหนดบทบาทหน้าที่ของกลุ่มต่าง ๆ ในระบบสุขภาพชุมชน 3.การประสานงานระหว่างทีมประเมินและทีมขับเคลื่อนยังขาดช่องทางการติดต่อ

ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคข้างต้น 1.เพิ่มเติมรายละเอียดและทำรายงานข้อมูลพื้นฐานของประเด็นการขับเคลื่อน เพื่อทำตัวชี้วัดประเมินโครงการ 2.เพิ่มเติมการกำหนดบทบาทหน้าที่ และจัดตั้งอนุกรรมการให้ครอบคลุมทุกกลุ่มในระยะต่อไป

สังเกตการณ์ประชุมเตรียมการขับเคลื่อนงาน 4 ม.ค. 2566 4 ม.ค. 2566

 

สังเกตการณ์และศึกษาเอกสารการประชุม

 

-ประชุมเตรียมการจัดงานในวันที่ 13-14 มกราคม  โดยทีมขับเคลื่อนได้วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา ปัจจัย และการขับเคลื่อนในการพัฒนากองทุนเสมือนจริงจากภาคีเครือข่ายร่วม วิเคราะห์สถานการณ์ทางด้านสุขภาวะของคนภูเก็ต พร้อมทั้งทิศทางและแนวโน้มในการสอดรับของการการพัฒนาเมืองสู่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะ ทำให้ทราบสภาพปัญหา ศักยภาพและขีดความสามารถของภาคีเครือข่าย

 

สังเกตการณ์การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 13 ม.ค. 2566 13 ม.ค. 2566

 

ร่วมสังเกตุการณ์

 

ได้แนวทางในการดำเนินงานขับเคลื่อนกิจกรรมย่อย คณะทำงานมีความเข้าใจในกลไกการทำงาน

 

ประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด "ภูเก็ต : สุขภาวะแห่งอนาคต" 21 ม.ค. 2566 21 ม.ค. 2566

 

เข้าร่วมสังเกตการณ์ ซักถามและศึกษาจากเอกสารรายงาน

 

-ทีมขับเคลื่อนและทีมสนับสนุนมีการทบทวนประเด็นการขับเคลื่อน และรายงานแนวทางการขับเคลื่อนรวมทั้งการปรับปรุง Time line ให้เหมาะสม
-จากการสังเกตุพบว่าทีมภาคีเครือข่ายภาควิชาการมีอุปสรรคเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณจากโครงสร้างขององค์กร -คณะอนุกรรมการฯ มี นพ.บัญชา ค้าของ ที่ปรึกษาพิเศษนายก อบจ.ภูเก็ต เป็นบุคคลที่คอยเป็นคลังสมอง ได้เสนอแนวคิดใหม่ ๆ ในการบริหารจัดการกองทุน

  • ระบบการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรมีความแตกต่างกันในการจัดการงบประมาณ ภาควิชาการได้หารือเพื่อดำเนินการแก้ไข
สังเกตุการณ์และให้ข้อเสนอแนะประชุมคณะอนุกรรมการ 3 ก.พ. 2566 3 ก.พ. 2566

 

สังเกตการณ์ พูดคุยซักถามให้ข้อเสนอแนะ

 

-โครงการมีการดำเนินงานตามแผนงานที่วางไว้

 

ประชุมติดตามความก้าวหน้า 4 ก.พ. 2566 4 ก.พ. 2566

 

ทบทวนเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกผู้รับผิดชอบโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

 

จากการติดตามและร่วมเข้าสังเกตการณ์กับทีมขับเคลื่อนในการดำเนินงาน ระยะที่ 2 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม  โครงการนี้มีความก้าวหน้าดำเนินการตามแผนงานที่กำหนดไว้ แต่ก็ยังสามารดำเนินการได้เพียง 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกลั่นกรอง แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมโดยสาธารณะ (Public screening)และ 2) การกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ (Public scoping) ซึ่งทีมประเมินเข้าสังเกตการณ์และทบทวนจากเอกสารรายละเอียดโครงการร่วมกับผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงานโครงการและผู้รับผิดชอบในพื้นที่ของจังหวัดภูเก็ต พบว่า คณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ยังขาดข้อมูลและความชัดเจนในประเด็นต่าง ๆ ต่อไปนี้ เช่น
- โครงสร้างองค์กร กฎระเบียบ ภาระหน้าที่ของหน่วยงานหรือกลไกที่เกี่ยวข้องมีความแตกต่างกัน จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายให้ทีมขับเคลื่อนต้องกลับมาทบทวนและประชุมปรึกษาหารือเพื่อหาแนวทางในการขับเคลื่อนกลไกและได้เข้าร่วมสังเกตการณ์เวทีอบรมการพัฒนาพี่เลี้ยงและเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทีมสุราฏร์ธานี เพื่อเติมข้อมูล แล้วมีการนำมาวางแผนปรับแนวทางการทำงาน
- ยังขาดข้อมูลรายละเอียดสถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงต่อประเด็นการขับเคลื่อน NCD อันประกอบด้วย เหล้าและยาเสพติด บุหรี่ อาหาร กิจกรรมการออกกำลังกาย โรคอุบัติใหม่ ความปลอดภัยทางถนน สุขภาพจิต มลพิษทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งควรรวบรวมไว้เป็น Data base ซึ่งเปิดให้เครื่อข่ายและคณะทำงานเข้าถึงได้ง่าย - ทีมประเมินได้ทำการวิเคราะห์ภาคีที่เกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการ (Stakeholder analysis) พบว่า ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับเด็ก คนพิการ หรือภาคสื่อสารมวลชนยังไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนหรือขับเคลื่อน

 

สังเกตการณ์การประชุมคณะอนุกรรมการ 8 มี.ค. 2566 8 มี.ค. 2566

 

สังเกตการณ์

 

มีแผนงานและการทำงานตามแผนงาน

 

สรุปการประชุมคณะอนุกรรมการฯ 15 มี.ค. 2566 15 มี.ค. 2566

 

สังเกตการณ์และศึกษาจากรายงานเอกสาร

 

แผนงานต่าง ๆ ได้ดำเนินตามแผนงาน การสื่อสารในองค์กรยังไม่ชัดเจน ไม่มีแผนงานการสื่อสารภายนอกองค์กรทำให้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายต่าง ๆไม่ค่อยมีความก้าวหน้า

 

รายงานสรุปกิจกรรมพัฒนาศักยภาพของผู้นำ 3 ชุมชน 15 มี.ค. 2566 15 มี.ค. 2566

 

สังเกตการณ์และสัมภาษณ์ วิเคราะห์

 

มีการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพของผู้นำชุมชนทั้ง 3 อำเภอ ทำให้ผู้นำชุมชนมีความเข้าใจนโยบายสาธารณะและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนโครงการเสนอขอรับงบประมาณที่สอดค่ล้องกับ”สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต” อีกทั้งมีการบูรณาการการใช้งบประมาณในการฝึกอบรมจากศูนย์พัฒนาการเมืองสถาบันการเมืองพระปกเกล้าจังหวัดภูเก็ต  โดยใช้ความสามารถของอนุกรรมการในการประสานเครือข่าย ซึ่งนับว่าเป็นจุดแข็งของคณะอนุกรรมการชุดนี้

 

สรปรายงานความก้าวหน้าประเมินผลการดำเนินโครงการ ครั้งที่ 2 30 มี.ค. 2566 30 มี.ค. 2566

 

ศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารและมีการสัมภาษณ์

 

ตามรายงานการประเมินที่แนบ

 

ร่วมสังเกตการณ์และวิเคราะห์บทบาทของคณะทำงานโครงการฯ ในงาน NODE 25 เม.ย. 2566 25 เม.ย. 2566

 

สังเกตการณ์และวิเคราะห์

 

จากการไปร่วมกิจกรรมกับ NODE คณะทำงานได้ทำกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการโดยการไปออกบูธเพื่่อหาเครือข่ายและให้ข้อมูลโครงการ ฯ แก่ผู้ที่สนใจ จากผลของการทำกิจกรรมดั่งกล่าวผู้ประเมินวิเคราะห์ว่าคณะทำงานได้ใช้ศักยภาพจาการที่มีบทบาทในหลายภาคีในการประสานงานและแสวงหาโอกาสเชื่อมเครือข่ายที่มีเป้าหมายใกล้เคียงกันให้มาบูรณางานร่วมกัน ซึ่งจากการวิเคราะห์ทีมขับเคลื่อนพบว่า ผู้นำทีม ซึ่งมีอยู่ 3 ส่วน คือภาครัฐ โดยนางปิยะพร โยธี ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ภาควิชาการ โดย ดร.จตุรงค์ คงแก้ว และนายเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว ซึ่งสวมบทบาท 3 สถานะ เป็นตัวแทนภาคประชาชน ประชาสังคมและภาคเอกชน ทั้ง 3 คน เป็นผู้นำทีมที่มีความเข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการขับเคลื่อนตรงกัน และมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ทำให้มีการดำเนินงานหรือปรับเปลี่ยนแผนงาน แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างดี ทำให้การดำเนินงานของโครงการฯ ยังคงอยู่ในกรอืบแผนระยะเวลา จากกิจกรรมที่ไปร่วมกับ NODE ก็มิได้อยู่ในแผนปฏิบัติงาน แต่เพราะผู้นำมองเห็นโอกาสและการเชื่อมเครื่อข่าย จึงสามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมเข้าร่วมงานกับ NODE ซึ่งทำให้ทีมขับเคลื่อนได้ค้นพบเครื่อข่ายที่มีศักยภาพและต้องการเข้ามาร่วมทำโครงการ

 

สรุปผลการติดตามการดำเนินงานกลไกจังหวัดภูเก็ต 2 พ.ค. 2566 2 พ.ค. 2566

 

1.สังเกตการณ์ รับฟังรายงานความก้าวหน้าและปัญหาที่เกิดขึ้น 2.สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นและความต้องการของพื้นที่ในการเข้ามาเสริมพลัง

 

1.คณะทำงานรายงานการดำเนินงานของกลไกจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ ภูเก็ต
2.เกิดการเรียนรู้ในการปรับแผนงานให้เหมาะสมตามเงื่อนไขของแหล่งทุน 3.เกิดการปรับตัวเรื่องการสื่อสาร การสื่อสารที่ดีจะทำให้การทำงานระบบทีมราบรื่น และทำให้องค์กรก้าวหน้าได้ไว การสื่อสารกับคนในทีมที่ดีนั้นย่อมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจได้ดีด้วย ขณะเดียวกันผู้นำก็ต้องรู้จักการเป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังความคิดเห็นของแหล่งทุนอื่น เพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกจุด

 

ถอดบทเรียนการดำเนินงานประเด็นสื่อสารสาธารณะ ประเด็นกลไกระดับจังหวัดภูเก็ต 8 พ.ค. 2566 8 พ.ค. 2566

 

วิเคราะห์การดำเนินงานประเด็นสื่อสารสาธารณะ ประเด็นกลไกระดับจังหวัดภูเก็ตและผู้รับผิดชอบดูแล

 

1.เกิดการเรียนรู้ในการจัดตั้งเพจที่ใช้ประชาสัมพันธ์ ควรเกิดจากทาง สนส.มอ. เพื่อสะดวกในการโอนถ่ายข้อมูลเวลาเปลี่ยนทีมทำงาน 2.มีการปรับแผนการทำงานสื่อสารและวางแผนของปี 2567 3.มีทีมรับผิดชอบในพื้นที่ ชัดเจน

เพจเดิมเกิดจากการใช้ข้อมูลส่วนตัวของบุคคล เมื่อมีการหยุดปฏิบัติหน้าที่ไม่สามารถติดต่อได้ จึงเปลี่ยนวิธีการจัดตั้งเพจ ควรเกิดจากทาง สนส.มอ. เพื่อสะดวกในการโอนถ่ายข้อมูลเวลาเปลี่ยนทีมทำงาน

ประชุมสรุปผลการจัดงาน ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “Phuket: Health for Future of Life” และวางแผนการดำเนินงานในระยะถัดไป 18 พ.ค. 2566 18 พ.ย. 2565

 

เข้าร่วมรับฟังการประชุมผ่านระบบ Zoom เพื่อวางแผนการดำเนินงานในระยะถัดไป โดยมีการหยิบยกสถานการณ์ของจังหวัดภูเก็ตและยุทธศาสตร์ของจังหวัดภูเก็ต รวมทั้งเป้าหมายของการทำโครงการ

 

ได้แนวทางการขับเคลื่อนกองทุนโดยเตรียมจัดทำข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลสำคัญต่างๆ และต้นทุนการดำเนินงานในประเด็นปัญหา สุขภาวะ มีการกำหนดทิศทางการดำเนินงาน

การประสานงานทีมประเมินและทีมขับเคลื่อนยังเป็นเรื่องที่ติดขัดเนื่องจากเวลาว่างไม่ตรงกันและไม่มีการวางแผนล่วงหน้าในระยะยาว แนะนำให้แก้ไขโดยเชิญทีมประเมินเข้าร่วมไลน์กรุฟทีมขับเคลื่อน

สังเกตการณ์ประชุมคณะอนุกรรมการครั้งที่ 6 18 พ.ค. 2566 18 พ.ค. 2566

 

ประชุม ทบทวนและติดตามการดำเนินงานกองทุนของจังหวัดภูเก็ต

 

ได้ข้อสรุปในการเข้าร่วมโครงการของเครือข่ายโดยการขอทุนสนับสนุนตรงกับ อบจ. ในปีแรก และเตรียมจัดกิจกรรมกลไกพี่เลี้ยงในการเขียนเสนอโครงการในวันที่ 21 พค.2566 ซึ่งนับว่าเป็นการแก้ปัญหาของทีมขับเคลื่อนที่เจอความท้าทายจากการปรับโครงสร้างทีมงาน

ความแตกต่างกันของกฏระเบียบการเบิกจ่ายเงินขององค์กร ปีนี้เลยพิจาราณาให้เบิกเงินอุดหนุนตรงจาก อบจ. แต่ข้อจำกัดของ อบจ.หน่วยงานที่ขอรับทุนต้องเป็นองค์กรที่มีกฏมายรองรับ

ถอดบทเรียนการประชุมเชิงปฏิบัติการการเขียนโครงการเพื่อขอรับเงินอุดหนุน จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต 21 พ.ค. 2566 21 พ.ค. 2566

 

ประชุมปฏิบัติการการเขียนโครงการสำหรับภาคีเครือข่ายที่สนใจ

 

1.โครงการที่ส่งขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 5 โครงการ ดังนี้   1.1 คก.ยกระดับมาตรฐานการจัดการอนามัยสิ่งแวเล้อมความปลอดภัยทางอากาศภายในอาคารของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย-สสจ.ภก.   1.2 คก.พัฒนาเครือข่ายการป้องกันโรคลีเจียนแนร์-สสจ.ภก.   1.3 คก.พัฒนาต้นแบบ ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี-สสจ.ภก.   1.4 คก.ครอบครัวสัมพันธ์ ร่วมสร้างสุขภาวะจังหวัดภูเก็ต-สาขาสมาคมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯประจำจังหวัดภูเก็ต   1.5 คก.สูงวัยสุขภาพดี บนวิถีออนไลน์ -สมัชชาสุขภาพจ.ภูเก็ต
2. เกิดกลไกพี่เลี้ยงสนับสนุน โดยคณะอนุกรรมการ+ทีมประเมิน เข้ามาร่วมพัฒนาภาคีในการจัดทำข้อเสนอโครงการ 3. เกิดการทำงานแบบมีส่วนร่วม

ภาคีเครือข่ายยังขาดความรู้เรื่องการเขียนโครงการ ควรมีการ 1.พัฒนาศักยภาพเรื่องการเขียนโครงการ 2.พัฒนาแพลตฟอร์มการเขียนรายงาน เพื่อให้ภาคีเครือข่ายได้นำไปใช้ได้สะดวก 3.เพิ่มจำนวนพี่เลี้ยงที่มีศักยภาพเพื่อช่วยเครือข่าย

ประชุมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการเขียนรายงานผลการดำเนินงาน” 11 มิ.ย. 2566 11 มิ.ย. 2566

 

1.ให้ความรู้ความหมายความสำคัญ หลักการและรูปแบบการเขียนรายงานผลการดำเนินงาน 2.การฝึกปฏิบัติ (Workshop) หัวข้อ “เทคนิคการเขียนรายงานผลดำเนินการผลการดำเนินงาน” 3.เวทีแห่งการนำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

จากการประชุมปฏิบัติการ “เทคนิคการเขียนรายงานผลการดำเนินงาน” ผู้เข้าร่วมอบรมมีความเข้าใจในการเขียนรายงานและสามารถเขียนรายงานได้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตรงตามเป้าประสงค์ที่ต้องการ อีกทั้งทำให้มีการปรับความเข้าใจในทิศทางการทำงานรวมทั้งเสริมกำลังใจในทีมคณะทำงาน เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานในปีต่อไป

จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมรับการประชุมเชิงปฏิบัติการพบว่า มีความพึงพอใจในระดับดีและอยากให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อต่อไปนี้เพิ่มเติม
1.การอบรมพัฒนาพี่เลี้ยง 2.เทคนิคการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค 3.การเขียนรายงาน 4.การเบิกจ่ายงบประมาณ ทีมประเมินจะนำส่งข้อมุลเหล่านี้ให้ทีมขับเคลื่อนเพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์กร

สังเกตการณ์ประชุมภาคีเครือข่ายโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด “ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “Phuket: Health for Future of Life” 15 มิ.ย. 2566 15 มิ.ย. 2566

 

สังเกตการณ์ สอบถาม พูดคุยกับเครือข่าย

 

  • เกิดกระบวนการทำงานที่เกิดจากการวางแผนล่วงหน้าของทีมได้ตรงตามวัตถุประสงค์ มีผู้เข้าร่วมงานเกินจากเป้าที่กำหนด
  • การลำดับขั้นตอนในการชี้แจ้งรายละเอียดให้กับภาคีเครือข่ายมีรายละเอียดชัดเจนทำให้ได้รับความสนใจ

 

เข้าร่วมสังเกตุการณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่่อดำเนินกิจกรรมในโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด “ ภูเก็ต : สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “ Phuket : Health for Future of Life 22 มิ.ย. 2566 22 มิ.ย. 2566

 

1.ทีมงานชี้แจงรายละเอียดการเขียนเสนอกิจกรรมเพื่อร่วมดำเนินการขับเคลื่อนโครงการบูรณาการความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์และสุขภาพในระดับจังหวัด “ ภูเก็ต :  สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต “ Phuket : Health for Future of Life ” ประจำปีงบประมาณ2567
2. ให้หน่วยงานต่างๆ สอบถามและนำเสนอกิจกรรม  ประกอบด้วย แนวคิด ความเป็นมา เนื้อหา รายละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ 2567 (1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567)

  1. ทีมขับเคลื่อนเป็นพี่เลี้ยงในการเขียนโครงการ

  2. สรุปและรวบรวมกิจกรรมทั้งหมดที่ได้รับการเสนอจากภาคีเครือข่ายทั่วจังหวัดภูเก็ตเพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการพิจารณาโครงการฯต่อไป

 

1.เกิดกลไกพี่เลี้ยง/กลไกคณะทำงาน คณะทำงานมีความรู้ที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้กับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในเรื่องของการเขียนเสนอโครงการและสามารถบริหารจัดการการทำงานภายใต้ข้อจำกัดของบุคคลากร 2.กลไกการสื่อสารมีประสิทธิภาพ เนื่องจากมีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมประชุมและยื่นเสนอโครงการไม่น้อยกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ 3.มีการเสนอโครงการ 20 โครงการ

ภาคีเครือข่ายยังไม่ครอบคลุม เช่น ผู้พิการ ควรมีการเพิ่มการประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มพันธมิตรในการทำงาน สื่อยังเข้ามามีบทบาทน้อยเกินไป สื่อต้องทำงานคู่กับทีมขับเคลื่อน

จัดทำรายงานประเมินความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ งวดที่ 3 30 มิ.ย. 2566 5 มิ.ย. 2544

 

การทบทวนวรรณกรรม การไปสังกตุการณ์รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศ

 

รายงานความก้าวหน้าของโครงการ ฯ ตามรายงานที่แนบ

ตามรายงาน

ร่วมสังเกตการณ์กิจกรรมพิจารณาโครงการ 10 ก.ค. 2566 10 ก.ค. 2566

 

เข้าร่วมสังเกตการณ์การพิจารณาคัดเลือกโครงการที่ภาคเครือข่ายส่งมาร่วมโครงการ

 

มีเครือข่ายเสนอโครงการ มา 21 โครงการ คณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณารับเลือกโครงการ 16 โครงการ และนำเสนอต่อจังหวัด 1 โครงการเพราะเป็นปัญหาที่พื้นที่ควรมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน และมีการควบรวมโครงการโดยไปขยายจำนวน เพราะกิจกรรมคล้ายกัน โครงการที่ไม่ผ่านการเห็นชอบ เป็นโครงการที่เป็นงานตามฟีงชั่นของหน่วยงานตนเอง

บุคคลากรทีมขับเคลื่อนมีจำนวนน้อย ควรเพิ่มจำนวนบุคคลากร

ประชุมทีมสื่อ 11 ก.ค. 2566 11 ก.ค. 2566

 

ประชุม แลกเปลี่ยนความคิด ตามรายงาน

 

ตามรายงาน

ตามรายงาน

ประชุมติดตามความก้าวหน้าทีมสื่อ 16 ก.ค. 2566 16 ก.ค. 2566

 

พูดคุยแลกเปลี่ยนการปรับแผนการทำงาน ปี 2567

 

  1. ทีมสื่อมีความเข้าใจวัตถุประสงค์การทำงาน
  2. ทีมสื่อมีแผนการดำเนินงานและทามไลน์การทำงานปี 2567

ยังขาดการประสานงานกับเครือข่ายสื่อที่เกี่ยวข้องในภูเก็ต แนะนำให้มีการพูดคุยและนำตัวเองกะสื่อและหน่วยงานต่าง ๆ และเพิ่มช่องทางการสื่อสารให้สะดวกไม่กระทบกับหน้าที่งานหลัก

ประชุมเตรียมงานถอดบทเรียนกลไกภูเก็ต 30 ส.ค. 2566 30 ส.ค. 2566

 

การเตรียมงานเพื่อการถอดบทเรียน โดยการทบทวนวัตถุประสงค์เพื่อความชัดเจนในเรื่องที่ต้องการเรียนรู้จากกลไกกองทุนภูเก็ต การจัดเตรียมพื้นที่ การรวบรวมข้อมูลที่ช่วยในกระบวนการเรียนรู้ การทบทวนเรื่องการจัดเวลาสำหรับการถอดบทเรียน รวมถึงรายละเอียดโครงสร้างการเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อ

 

1.มีการปรับเปลี่ยนเรื่องการจัดเวลา เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น 2.เตรียมข้อมูลเป็นเอกสารนำเข้าและข้อมูลเพิ่มเติม เช่น รายละเอียดการรับทุน แผนการดำเนินงาน เป็นต้น 3.กำหนดประเด็นคำถามที่มีความชัดเจน กระชับ
4.ทบทวนการกำหนดบทบาทหน้าที่ของทีมงาน

 

ถอดบทเรียน 31 ส.ค. 2566 31 ส.ค. 2566

 

การถอดบทเรียนและวางแผนการดำเนินงานบูรณาการกลไกความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางมนุษย์ และสุขภาพในระดับจังหวัด “ภูเก็ต: สุขภาวะเพื่อชีวิตแห่งอนาคต - Phuket: Health for Future of Life” ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 1 กันยายน 2566 ณ ห้องประชุมบูกิตอันดา โรงแรมบูกิตตา บูทีค โฮเทล
08.40 – 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 – 09.15 น. กรอบการดำเนินงานบูรณาการกลไกฯ โดย นางสาวซูวารี มอซู
09.15 – 10.00 น. ผลการดำเนินงานบูรณาการกลไกฯ โดย ดร.ขวัญณภัสสร ชาญทะเล
10.00 – 15.00 น. แบ่งกลุ่ม 2 กลุ่ม ทีมขับเคลื่อน ทีมขอรับทุน เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน
15.00 – 15.30 น. สะท้อนผลการถอดบทเรียน (รายกลุ่ม) วันศุกร์ที่ 1 กันยายน 2566 09.00 – 09.30 น. ทิศทางบูรณาการกลไกฯ โดย นายเจริญ ถิ่นเกาะแก้ว 09.30 – 12.00 น. แนวทางการดำเนินงานบูรณาการกลไกฯ โดย ดร.ขวัญณภัสสร ชาญทะเล สรุปเติมเต็มข้อมูลรวมทั้งให้ข้อเสนอแนะ

 

1.การก่อตัวของกลไก:เริ่มต้นด้วยความตระหนักต่อปัญหาในพื้นที่ เริ่มการวางแผนและกำหนดเป้าหมายที่ต้องการ การชักชวนบุคคล ชุมชน หน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กับประเด็นที่กำลังขับเคลื่อน ประกอบด้วยคนที่ได้ประโยชน์ เสียประโยชน์ บุคคลหรือหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่โดยตรงกับประเด็น นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปหรือผู้ที่สนใจ โดยอาศัยหลักคิดของสามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา เข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการ โดยมีโครงสร้างกองทุนฯ คณะกรรมการฯ คณะอนุกรรมการฯ **ทีมประเมิน ทีมสื่อ ทำหน้าที่เพื่อสนับสนุน กำกับดูแล ประเมินผล 2.การบริหารจัดการกองทุน
    2.1 การสื่อสาร กองทุนมีการจัดตั้ง Line ชื่อว่า Phuket HFS เพื่อเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารกับคณะอนุกรรมการ และ Line ชื่อว่า งานกลไกจังหวัดภูเก็ตร่วมกับ อบจ.ภูเก็ต เพื่อความรวดเร็วและความคล่องตัวใน การติดต่อสื่อสาร แจ้งข้อมูลข่าวสารแก่เครือข่าย และยึดหลักการบริหารกองทุนฯ ด้วย POSDCROB PDCA และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 2.2 แผนการทำงาน : กำหนดการกำหนดการประชุม คณะอนุกรรมการ 2 ครั้งต่อ 1 เดือนเพื่อขับเคลื่อนโครงการฯ กำหนดการประชุมคณะกรรมการนโยบาย 2 เดือนต่อครั้ง มีกลไกพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือเครือข่ายในการเขีบยโครงการ มีทีมติดตามงานเข้าร่วมติดตามความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนกิจกรรมของเครือข่าย 3 คน/โครงการ 2.3 การพิจารณางบประมาณ : ประเด็นเชื่อมโยงกับ NCDs ภาคีเครือข่ายสุขภาวะภูเก็ต วงเกินไม่เกิน 100,000 บาท ระยะเวลาดำเนินงานไม่เกิน 1 ปี ผู้รับทุนต้องร่วมสมทบโครงการ ต้องมีภาคีร่วมดำเนินโครงการ อนุมัติโครงการเดือนละ 2 ครั้ง ทีมติดตามประเมินผลทีมละ 3 คน/โครงการ 3.ผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการ 3.1 จำนวนโครงการ ซึ่งแบ่งเป็น มีโครงการยื่นเสนอ 5 โครงการได้รับงบประมาณ 3 โครงการและถูกเสนอไประดับจังหวัด 1 โครงการ รวมทั้งมีโครงการรออณุมัติ 14 โครงการ ในปีงบประมาณ 2567 3.2 ขยายเครือข่าย การขยายขอบเขตของโครงการ ฯ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย เช่น เด็กและเยาวชน และกลุ่มเปราะบาง ทำให้โครงการมีผลกระทบที่มากกว่าและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายมากขึ้น 3.3 เกิดกลไกการทำงานที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพทำให้โครงการ ฯ มีความสำเร็จและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของพื้นที่ 3.4 การบูรณาการงบประมาณร่วมกัน: โครงการนี้ได้สร้างกลไกการบูรณาการงบประมาณร่วมกัน ที่ช่วยให้หลายหน่วยงานและเครือข่ายที่เข้มแข็งร่วมทำงานร่วมกัน แบ่งปันทรัพยากร และสร้างผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 4.ปัจจัยความสำเร็จ/ไม่สำเร็จในการดำเนินงานโครงการ ปัจจัยความสำเร็จ:     1. เครือข่ายที่เข้มแข็ง     2. การบูรณาการงบประมาณ     3. คณะกรรมการและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในการตัดสินใจและควบคุมการดำเนินงาน เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ     4. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ปัจจัยความไม่สำเร็จ:     1. การวางแผนและการบริหารเวลาที่ไม่เหมาะสม     2. ครือข่ายที่เข้มแข็งอาจมีสมาชิกที่มีความเหมือนซ้ำกันในเรื่องความรู้และความเชี่ยวชาญ ทำให้เกิดความขาดความหลากหลายในการดำเนินงาน     3. การเปลี่ยนแปลงในนโยบายหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องอาจส่งผลให้โครงการต้องปรับปรุงแผนการดำเนินงานและทรัพยากรในขณะที่การประยุกต์ใช้นโยบายหรือกฎหมายใหม่อาจเพิ่มความซับซ้อนในการดำเนินงาน     4. สภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เสถียรหรือการเปลี่ยนแปลงในตลาดอาจส่งผลให้โครงการไม่สามารถใช้ทรัพยากร

 

เข้าร่วมสังเกตการณ์ติดตามและประเมินผลโครงการพัฒนาจังหวัดต้นแบบ "ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี " จังหวัดภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ 2566 11 ก.ย. 2566 11 ก.ย. 2566

 

สัเกตุการณ์ สอบถาม

 

มีการบูรณาการหลายหน่วยงานเข้าไปวางแผน ช่วยเหลือครอบครัวกลุ่มเป้าหมาย 20 ครอบครัว

 

ประชุมถอดบทเรียน​กิจกรรมที่ขอรับทุนสนับสนุน 22 ก.ย. 2566 22 ก.ย. 2566

 

*

 

*

 

ประชุมเตรียมงานการเพิ่มเครื่อข่ายเอกชน 23 ก.ย. 2566 23 ก.ย. 2566

 

วางแผน เลือกกลุ่มเป้าหมาย ติดต่อและทำหนังสือเชิญประชุมรวมทั้งทำหมายกำหนดการในการประชุมชี้แจ้ง

 

ได้รายชื่อกลุ่มเอกชนที่มีกิจกรรมคล้ายคลึงกับเป้าหมายของโครงการ มีรายชื่อดั่งต่อไปนี้ 1. สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต 2. สมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ 3. มูลนิธิพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืนภูเก็ต
4. สมาคมอสังหาริมทรัพย์ 5 สภาอุตสาหกรรมอันดามัน 6. หอการค้าภูเก็ต 7. ชมรมบริหารงานบุคคลภูเก็ต 8.สโมสร​ไลออนไลน์​ภูเก็ต​เพิร์ล​ ภาค​310​B 9.ผู้อำนวยการฝ่ายรับผิดต่อสังคมขององค์กร 10.Director of CSR สโมสรไลออนส์ภูเก็ต

ติดต่อประสานงานด้วยวาจาเพื่อเชิญประชุมในวันที่ 30 กันยายน ร่างกำหนดการประชุม