มาตรฐานหน่วยบริการปฐมภูมิ
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งในที่ประชุมทราบ
1.1 ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดประชุม
1.2 การจัดทำแนวปฏิบัติระบบบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรม และการนำไปใช้
ในโรงพยาบาลที่ผ่านมา
โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและนโยบาย
สาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ดร.เพ็ญ สุขมาก อาจารย์สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ระเบียบวาระที่ 2 รับรองรายงานการประชุม
เนื่องจากเป็นประชุมครั้งแรก ยังไม่มี
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเสนอเพื่อทราบ
3.1 นำเสนอ Guideline แนวปฏิบัติระบบบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรมในหน่วยบริการ สุขภาพและชุมชนท้องถิ่น และข้อมูลการประเมินการนำ Guideline ไปปรับใช้
โดย ดร.ซอฟียะห์ นิมะ อาจารย์สถาบันนโยบายสาธารณะ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเพื่อพิจารณา
4.1 การผลักดันแนวปฏิบัติระบบบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรมฯ สู่มาตรฐานหน่วย บริการปฐมภูมิ หรือมาตรฐานโรงพยาบาล
4.2 การจัดตั้งคณะทำงานผลักดันสู่มาตรฐานหน่วยบริการ
ระเบียบวาระที่ 5 วาระอื่น ๆ ถ้ามี
5.1 นัดหมายการประชุมครั้งถัดไป
- ได้แนวทางการขับเคลื่อน Guideline ไปสู่มาตรฐานบริการปฐมภูมิ ดังนี้
- ปรับ Guideline รายละเอียดบางเรื่องให้ชัดขึ้น
- การผลักดันมี 2 แนวทาง คือ นำร่องปฏิบัติการ และเสนอในเชิงนโยบายเข้าสู่มาตรฐาน HA
- ส่วนแนวทาง Guideline ทีจะปรับตรงนี้จะทำให้ส่วนงานมีความยืดหยุ่นเพื่อ Apply เข้าสู่สถานบริการเอกชน - การนำ Guideline ไปใช้กับ รพ.สต.ต้องไม่ยุางยากและเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน จับต้องได้ ที่ผ่านมาจะเป็นหลักการวิชาการ แต่หน่วยปฏิบัติการต้องการความชัดเจนในเรื่องที่จะทำ - Guideline ต้องเพิ่ม case study หรือ โมเดล และเริ่มต้นทำในบางเรื่องที่สำคัญ เช่น อาหารฮาลาล เชื่อมโยงกับอาหารปลอดภัย มองไปที่วัฒนธรรมอาหารฮาลาลและปลอดภัย - เอา Guideline ไปขายให้กับ อปท.72 แห่ง จัดเวทีวิชาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหานวัตกรรม มีใบประกาศ น่าจะทำให้เกิดการนำไปปรับใช้ ทำควบคู่กับการประสานกับ สรพ.ในการนำประเด็นนี้ไปปรับใช้ - ขับเคลื่อนระบบสุขภาพชุมชนพหุวัฒนธรรมในชุมชนท้องถิ่นร่วมกับ ศบ.สต. - แต่งตั้งคณะทำงานชุดขับเคลื่อน
()