เกษตรกรรมยั่งยืน
เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนงาน
ประชุมปรึกษาหารือเพื่อจัดทำยุทธศาสตร์หรือแผนที่ผลลัพธ์ขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน สู่โมเดล BCG ระดับพื้นที่เพื่อสร้างทางเลือกทางนโยบายและให้มีแผนยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน สู่โมเดล BCG ระดับพื้นที่
เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และวิเคราะห์ทุนของแต่ละกลุ่มองค์กรที่สามารถขับเคลื่อนตามบริบทพื้นที่ คือ ทะเลสาบสงขลาตอนกลางเป็นพื้นที่หนึ่งของทะเลสาบสงขลา อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่โดยรวม 1,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดพัทลุง 4 อำเภอได้แก่ อำเภอปากพะยุน อำเภอบางแก้ว อำเภอเขาชัยสนและอำเภอเมืองพัทลุง โดยมีประชากรที่ใช้ฐานทรัพยากรในทะเลสาบสงขลาเป็นอาชีพและรายได้หลักจากการทำประมงในพื้นที่ดังกล่าวจำนวน 2,800- 3,000 ครัวเรือน มีเรือที่ใช้ในการทำประมง จำนวน 2,310 ลำ ชาวประมงจับสัตว์น้ำมีรายได้เฉลี่ยวันละ 300- 500 บาท (ฐานข้อมูลชาวประมงที่พื้นที่ทะเลสาบสงขลา, สมาคมรักษ์ทะเลไทย สิงหาคม 2562) จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า จากจำนวนประชากรที่ใช้ทะเลสาบเป็นแหล่งรายได้หลักในการประกอบอาชีพ ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรที่ขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบ มีการใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย เช่นไซหนอน โพงพาง อวนล้อม การวางยาเบื่อ ตลอดถึงการใช้อวนตาถี่จับสัตว์น้ำต่ำกว่า 2.5 เซนติเมตร ฯลฯ อีกทั้งสาเหตุที่มาจากระบบนิเวศที่ทีมีความเปลี่ยนแปลง เกิดมลพิษน้ำเสีย นอกจากนั้นมาตรการในการบังคับใช้กฎหมายที่ขาดความเข้มข้นไม่จริงจังรวมถึงการบูรณาการจากภาคีความร่วมมือจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไม่เป็นระบบขาดความต่อเนื่องในเชิงยุทธศาตร์ของหน่วยงานที่รับผิดชอบและระดับนโยบายของจังหวัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลาลดจำนวนลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามในช่วงปี 2558 – 2564 ได้มีการรวมตัวของชุมชนประมงได้ร่วมคิดหารูปแบบสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเกี่ยวข้องในการฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของทะเลสาบในพื้นที่เขตอำเภอปากพะยูน เช่น ชุมชนบ้านช่องฟืน ชุมชนบ้านบางขวน ชุมชนบ้านแหลมไก่ผู้ ฯลฯ ในอำเภอบางแก้วในรูปแบบการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนที่ร่วมออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับพื้นที่ ทั้งการทำเขตอนุรักษ์ การสร้างบ้านปลา การร่วมกำหนดระเบียบกติกาข้อตกลง การมีอาสาสมัครในการออกตรวจตราดูแลเขต การจัดทำข้อมูลองค์ความรู้ตลอดถึงการรวมกลุ่มจัดการผลผลิตสัตว์น้ำแปรรูปพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสร้างรายได้กับสมาชิกในชุมชน ภายใต้มาตรฐานอาหารทะเลปลอดภัย ‘บลูแบลนด์” ซึ่งเป็นชุมนประมงต้นแบบที่มีการขับเคลื่อนกิจกรรมในการฟื้นฟูทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นทั้งชนิดและปริมาณ รวมถึงรายได้จากการทำประมง เฉลี่ยวันละ 800 -1,500 บาท จนเป็นพื้นที่รูปธรรมและเป็นต้นแบบที่ชุมชนประมงในพื้นที่เครือข่ายยอมรับและมีความต้องการนำมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนของชุมชนตัวเองเพื่อฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำตลอดถึงการเกิดหลักประกันความมั่นคงทางด้านอาหารทะเลที่ปลอดภัย อาชีพประมงที่ยั่งยืนและชุมชนเข้มแข็ง
ชุมชนบ้านสะทัง หมู่ที่ 12 ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เป็นชุมชนที่อู่ติดชายฝั่งในพื้นที่ทะเลสาบตอนกลาง มีพื้นที่ 3,672 ไร่ และมีอาณาเขตติดต่อของหมูบ้านดังนี้
-ทิศเหนือติดต่อกับคลองสะทังหมู่ที่ 7 ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
-ทิศใต้ติดต่อกับคลองปากเพนียดหมู่ที่ 2 บ้านโคกขาม ตำบลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
-ทิศตะวันตกติดต่อกับหมู่ที่ 4 บ้านพลู ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
-ทิศตะวันออกติดต่อกับทะเลสาบสงขลา
ชุมชนบ้านสะทัง มีครัวเรือน 203 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 561 คน อาชีพหลักคือ การทำสวนมีผู้ทำประมง 44 ครัวเรือน มีเรือที่ใช้ทำการประมง 66 ลำ มีรายได้เฉลี่ยจากการทำประมงแต่ละวัน 300 – 500 บาท สัตว์น้ำที่จับได้โดยส่วนใหญ่ ปลาชะโด ปลาหัวโหม้ง ปลาตะเพียน ปลานิล กุ้งก้ามกราม ปลาบุตรี กุ้งนาฯลฯ ซึ่งเป็นการทำประมงตามฤดูลกาลเท่านั้น ในขณะเดียวกันชุมชนยังมีปัญหาการทำประมงที่ใช้เครี่องมือผิดกฎหมายในการจับสัตว์น้ำ เช่น อวนตาถี่ต่ำกว่า 2.5 เซนติเมตร การใช้ใซหนอน การวางยาเบื่อ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ชนิดสัตว์น้ำลดลง
เนื่องจากปัจจุบันชาวประมงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด 2019 ทำให้ชาวบ้านไม่มีงานทำ
จึงหันมาทำประมงเพิ่มขึ้น มีเรือและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกันสัตว์น้ำมีปริมาณลดลง สังเกตได้จากปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ในปัจจุบัน มีขนาดเล็กลง และขายได้ราคาต่ำ
จากปัญหาดังกล่าว ทางชุมชนได้ร่วมคิดหาทางออกแก้ปัญหาโดยใช้เวทีประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านเพื่อหารือในการฟื้นฟูชายฝั่งเลหน้าบ้านโดยร่วมกันกำหนดเขตอนุรักษ์ขึ้นในอ่าวสะทัง เนื้อที่ 5 ไร่ เนื่องจากมีระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์ มีพืชพรรณต่างๆ เช่นต้นลำพู ต้นราโพ สายบัว สาหร่ายหางกระรอก ซึ่งเป็นพืชที่ช่วยกำบังลม เหมาะแก่เพาะฟักเจริญเติบโตของสัตว์น้ำวัยอ่อน และชุมชนได้มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำร่วมกับท้องถิ่นและสำงานประมงจังหวัดมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการตกลงกำหนดเป็นพื้นที่ในการทำธนาคารสัตว์น้ำของชุมน จากการประชุมได้มีมติราวมกันที่จะกำหนดพื้นที่อ่าวสะทังเป็นพื้นที่เขตอนรักษ์สัตว์น้ำชุมชน มีการจัดตั้งคณะทำงานและมีทีมรับผิดชอบที่ชัดเจนเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนหาทางออกในการฟื้นฟูทะเลสาบให้สมบูรณ์และยั่งยืนตลอดไป โดยการจัดทำกิจกรรมการฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ ใช้กระบวนการต่าง (รายละเอียดในแผนกิจกรรม) แต่ละกิจกรรมต้องร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ท้องถิ่น ท้องที่ตลอดถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันฟื้นฟูทะเลสาบให้เกิดความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอาชีพ แหล่งรายได้ และแหล่งอาหารทะเลที่มีคุณภาพและปลอดภัยภายใต้ความร่วมมือก่อให้เกิดพลังเครือข่ายที่เข้มแข็ง คาดว่าผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการจะทำให้ทะเลหน้าบ้านเกิดความอุดมสมบูรณ์มีพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับ เป้าหมาย ทิศทาง ยุทศาตร์การดำเนินงาน 10 ปีของ สสส. ที่ให้เกิดการกระจายโอกาสการทำงานร่วมของชุมชนและภาคีต่างๆ อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งและเกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะและเป็นประเด็นคานงัดนำไปสู่การขับเคลื่อนยุทธศาตร์ของจังหวัดพัทลุง ว่าด้วย “พัทลุงสีเขียว คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี” (Phatthalung Green City) ซึ่งเป็นเป้าหมายภาพรวมของจังหวัด
2)รายชื่อคณะทำงานพื้นที่และพี่เลี้ยง
นาย พิสิทธ์ รักเล่ง ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 5 บ้านทุ่งแซะ ตำบลจองถนน คณะทำงาน
นาย สุธรรม หมื่นพล ผู้ใหญ่ หมู่ 12 บ้านสะทัง ตำบลหานโพธิ์ คณะทำงาน
นาย ดิเรก หัสนันท์ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 6 บ้านแหลมดิน ตำบลหานโพธิ์ คณะทำงาน
นาย สมนึก ชุมประยูร ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 8 บ้านคลองขุด ตำบลหานโพธิ์ คณะทำงาน
นายไพฑูรย์ ทองสม ผู้จัดการ node flagship พี่เลี้ยง
นายเสณี จ่าวิสูตร นายกสมาคมสร้างสุขชุมชนคนเมืองลุง พี่เลี้ยง
นางสาวเบญจวรรณ เพ็งหนู สมาคมรักษ์ทะเลไทย พี่เลี้ยง
นายอรุณ ศรีสุวรรณ สมาคมสร้างสุขชุมชนคนเมืองลุง พี่เลี้ยง
บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)
ประกอบด้วย
แกนนำ/ผู้นำและกลุ่มเกษตรกรรมยั่งยืน/ประมงพื้นบ้าน