การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อโครงการ | การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ภายใต้โครงการ | ระบบสนับสนุนกระบวนการ HIA |
ภายใต้องค์กร | ศวสต |
รหัสโครงการ | 61-ข-054 |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2561 - 30 เมษายน 2562 |
งบประมาณ | 40,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ดร.ปวิตร ชัยวิสิทธิ์ |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | ดร.เพ็ญ สุขมาก |
พื้นที่ดำเนินการ | จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มิ.ย. 2561 | 31 มี.ค. 2562 | 1 มิ.ย. 2561 | 31 มี.ค. 2562 | 35,000.00 | |
2 | 1 เม.ย. 2562 | 30 เม.ย. 2562 | 5,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 40,000.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันประชากรโลกก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ จากข้อมูลของสหประชาชาติพบว่า ในปี ค.ศ.2017 มีผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 962 ล้านคน มากกว่า ค.ศ. 1980 เป็นสองเท่า (382 ล้านคน) และคาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ. 2050 จะมีผู้สูงอายุสูงถึง 2.1 พันล้านคน (UN, 2017) สำหรับสถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย เพิ่มขึ้นประมาณ 7 เท่า จาก ค.ศ. 1960 จาก 1.5 ล้านคน เป็น 10.7 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2015 ประมาณร้อยละ 16 ของประชากรทั้งหมด และคาดการว่าในปี ค.ศ. 2035 จะมีผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้นมากกว่า 20 ล้าน ร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด (Knodel at al., 2015)
ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงของระบบร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง การเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อปัญหาสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น ระบบภูมิคุ้มกันลดลง การยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดลง และ โรคเรื้อรัง (Eliopoulos, 2005) จากการศึกษาสถานะสุขภาพของผู้สูงอายุในประเทศ เกาหลี และสหรัฐอเมริกา พบผู้สูงอายุประมาณ ร้อยละ 37.7- 43.8 เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง ข้ออักเสบ โรคหัวใจ มะเร็ง และโรคปอด (Park, 2014: Marchi et al., 2008) สำหรับการศึกษาในประเทศไทย พบผู้สูงอายุมีการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ประมาณ ร้อยละ18.8 – 54.10 (Knodel at al., 2015: จิณณ์ณิชา และ ปิยธิดา, 2558) ส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 53.2 ข้อเข่าเสื่อม ร้อยละ 37.5 และ เบาหวาน ร้อยละ 22.2 นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังมีปัญหาด้านจิตใจ เกิดการเปลี่ยนแปลงบทบาททางสังคม การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคม และปัญหาสุขภาพทางกาย ส่งผลต่อสภาวะอารมณ์และจิตใจของผู้สูงอายุทำให้ผู้สูงอายุ มีความรู้สึกโดดเดี่ยว วิตกกังวล ซึมเศร้า และการนอนหลับผิดปกติ (Roy, 2003; Stanley and Beck, 2000; พีรสันต์, 2560) จากที่ผู้สูงอายุมีการเลิกจ้างการทำงานหรือเกษียณอายุราชการ ทำให้ขาดรายได้ ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจได้อีกด้วย (Davis and Grant, 1990)
จากการที่ประเทศไทยเข้าสู่ระยะ ภาวะประชากรผู้สูงอายุ (Population ageing) รัฐบาลได้กำหนดแผนนโยบายผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545 - 2564) โดยต้องการผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ ผู้สูงอายุที่ทุกข์ยากและต้องการเกื้อกุลได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสม ครอบครัวและชุมชนเป็นสถาบันหลักในการเกื้อกุลผู้สูงอายุ และต้องส่งเสริมและสนับสนุนการเข้าถึงการบริการภาครัฐ ด้วยเหตุนี้ อำเภอคีรีรัฐนิคมและอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงได้ใช้หลักการของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของอำเภอโดยประชาชนเป็นศูนย์กลาง และทำงานอย่างมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ กำหนดปัญหาของร่วมกัน ซึ่งประเด็นผู้สูงอายุเป็นประเด็นที่พื้นที่ให้ความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ในพื้นที่อำเภอคีรีรัฐนิคมและอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพกลไกระบบสุขภาพ ส่งเสริมบทบาทกองทุนหลักประกันสุขภาพ และจัดทำข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ แต่อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการต่างๆ ล้วนมีผลกระทบต่อสุขภาพ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้นำกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพมาเป็นแนวทางในการประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจะมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อให้ทราบผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับปัจจัยกำหนดสุขภาพอันจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงสุขภาพทั้ง 4 มิติ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อกลั่นกรองนโยบาย แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมโดยสาธารณะ (Public screening) 1.มีข้อมูลรายละเอียดโครงการ/แผนการดำเนินงาน และโครงการอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ 2. ทราบผลกระทบต่อสุขภาพเบื้องต้นที่เกี่ยวกับโครงการ |
||
2 | เพื่อการกำหนดขอบเขตการศึกษาโดยสาธารณะ (Public scoping)
|
||
3 | เพื่อประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (Assessing)
|
||
4 | เพื่อทบทวนร่างรายงานผลการศึกษาโดยสาธารณะ (Public review) 1.นำเสนอข้อมูลดังกล่าวต่อสาธารณชนและผู้ที่สนใจให้ข้อคิดเห็นต่อร่างรายงาน 2. จัดทำข้อเสนอแนะร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2561 09:26 น.