ชื่อโครงการ | การจัดทำแผนงาน โครงการเพื่อการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชน (Mass sport) |
ภายใต้โครงการ | แผนงาน สนส. |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 20 มกราคม 2565 - 20 กรกฎาคม 2565 |
งบประมาณ | 1,820,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย ดร.ธนเทพ วณิชยากร ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันการวิ่งออกกำลังกายที่เป็นหนึ่งในกีฬามวลชนได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก ข้อมูลสถิติของจำนวนนักวิ่งที่เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า จากพ.ศ. 2549 เป็น 15 ล้านคน ใน พ.ศ. 2560 ขณะที่ปี 2561 การจัดกิจกรรมวิ่งประเภทถนนมีจำนวนทั้งหมด 1,419 รายการ เฉลี่ยสัปดาห์ละ 27 รายการ ทั่วประเทศ คิดเป็นมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี [1] สอดคล้องกับเป้าหมายแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ.2561 - 2573 ที่ต้องการให้จำนวนประชาชนไทยมีกิจกรรมทางกายเพียงพอไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 [2] นอกจากนี้การวิ่งออกกำลังยังเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรต่างๆ และกระตุ้นให้เกิดการระดมทุนเพื่อใช้ในกิจกรรมที่ก่อประโยชน์แก่สังคม [3]
อย่างไรก็ตามการวิ่งที่ร่างกายไม่พร้อมอาจส่งผลให้ผู้วิ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการกำเริบจากสภาวะโรคที่เป็นอยู่ การศึกษาที่ผ่านมาของประเทศไทย ที่มีผู้เข้าร่วมงานวิ่งจำนวน 1,331 คน พบร้อยละ 31.2 เกิดการบาดเจ็บทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ เข่าและข้อพับ ข้อเท้า น่อง ต้นขา หลังส่วนล่าง สะโพก และ บ่าและแขน [4] นอกจากนี้การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะอันตรายถึงชีวิตหรืออาการผิดปกติในการทำงานของหัวใจจากงานแข่งขันมาราธอนประเภทต่างๆ ในประเทศฝรั่งเศสในช่วงปี 2006-2016 พบการเกิดภาวะอันตราย ได้แก่ ภาวะอันตรายถึงชีวิต (3.35 ราย ต่อ 100,000 ราย) ภาวะการทำงานของหัวใจผิดปกติ (2.33 ราย ต่อ 100,000 ราย) และภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (1.67 ราย ต่อ 100,000 ราย) โดยมีอัตราเสียชีวิตคิดเป็น 0.19 ราย ต่อ 100,000 ราย เมื่อทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมานเพิ่มเติมในงานดังกล่าวสามารถสรุปอัตราการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน และอัตราการเสียชีวิตได้เท่ากับ 0.82 ราย ต่อ 100,000 ราย และ 0.39 ราย ต่อ 100,000 ราย ตามลำดับ [5] ขณะที่การศึกษาอื่นรายงานอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันอยู่ที่ 0.6 – 1.9 ราย ต่อ 100,000 ราย [6] หรือ 0.79 ราย ต่อ 100,000 รายในสหรัฐอเมริกา [7] ส่วนในประเทศไทยยังไม่พบการศึกษาหรือรายงานอัตราการเสียชีวิตจากการแข่งวิ่ง มีเพียงการเสนอข่าวความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับนักวิ่งถึง 3 รายในวันเดียวกัน [8]
การทบทวนการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชนในประเทศไทยเบื้องต้น พบองค์ความรู้เรื่องมาตรฐานการจัดงานกีฬามวลชน กลไกการดำเนินการด้านความปลอดภัยกีฬามวลชน และต้นแบบการจัดงานวิ่ง โดยในเรื่ององค์ความรู้ พบว่ามีองค์ความรู้สำหรับประชาชนในการป้องกันภาวะฉุกเฉินในการออกกำลังกาย และองค์ความรู้ด้านมาตรฐานการจัดงานกีฬา ประกอบด้วย คู่มือการจัดกิจกรรมวิ่งประเภทถนนจำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1) ข้อปฏิบัติที่ดีในการจัดกิจกรรมวิ่งประเภทถนน (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย และภาคีเครือข่าย) 2) คู่มือการจัดกิจกรรมวิ่งประเภทถนนของประเทศไทย (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สสส. สมาคมกีฬากรีฑาแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิสมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย) 3) คู่มือจัดการแข่งขันวิ่งบนถนนและมาตรการจัดการแข่งขันภายใต้การแพร่ระบาด COVID-19 (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สมาพันธ์ชมรมเดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพไทย และภาคีเครือข่าย รวมถึง สมาคมกีฬากรีฑาแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมวิ่งเทรลแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของการกีฬาแห่งประเทศไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) รูปแบบการบริหารจัดการด้านการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับการแข่งขันกีฬาระดับชาติ [1,9,10] และคู่มือข้อแนะนำมาตรฐานสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกาย
สำหรับกลไกที่ดำเนินการด้านมาตรฐานการจัดงานกีฬา มาจากหลากหลายองค์กร ประกอบด้วย กรมอนามัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง มีองค์กรและหน่วยงานที่จัดงานวิ่ง ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ได้แก่ TMPSA องค์กรหรือผู้จัดงานในระดับพื้นที่ทั้งที่เป็นเอกชน ชมรมต่างๆ ซึ่งการจัดการความปลอดภัยระหว่างการจัดงานแต่ละครั้งอยู่ภายใต้ส่วนราชการในพื้นที่ เช่น จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และดึงส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาร่วมดำเนินการร่วมสร้างความปลอดภัย ความปลอดภัยของการจัดงานจึงขึ้นกับผู้จัด ทั้งในแง่ความรู้ การให้ความสำคัญในการสร้างความปลอดภัยตามมาตรฐาน ผู้มีอำนาจในการรักษาความปลอดภัยของการจัดงาน รวมทั้งการพัฒนาองค์ความรู้ที่มาจากการบูรณาการการทำงานร่วมกันในเรื่องนี้เพื่อนำไปสู่นโยบายการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยของกีฬามวลชน ส่วนต้นแบบการจัดงานวิ่งที่ได้รับคำยกย่อง ได้แก่ งาน “บางแสน21” ที่ถูกยกให้เป็น “ฮาล์ฟมาราธอนยอดเยี่ยมของไทย” ถึง 4 ปีซ้อน และเป็นงานแรกของอาเซียนและงานเดียวของไทยที่ผ่านการรับรอง “IAAF Road Race Silver Label”จากสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ
ผลการทบทวนวรรณกรรมและวิเคราะห์ระบบกลไกการทำงานด้านความปลอดภัยกีฬามวลชนในประเทศไทย พบข้อจำกัดตั้งแต่ความแตกต่างของคู่มือการจัดการงานกีฬาที่ไม่ได้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันทำให้สับสนต่อมาตรฐานที่ผู้จัดงานวิ่งจะนำไปใช้ ขาดการกำหนดมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางการแพทย์ที่ครอบคลุมและเป็นไปได้ในการนำไปใช้ รวมถึงการเรียนรู้จากตัวอย่างของงานวิ่งที่ได้มาตรฐาน ยังไม่มีการรวบรวมข้อมูลการบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากงานวิ่ง และยังไม่มีการกำหนดรูปแบบของการคัดกรองความเสี่ยงก่อนวิ่ง การติดตามขณะวิ่ง และหลังเสร็จสิ้นการวิ่งที่ชัดเจน นอกจากนี้ยังขาดความชัดเจนในความเชื่อมโยงและความรับผิดชอบของหน่วยงานภาครัฐและท้องถิ่นในการจัดงานและควบคุมดูแลอย่างเป็นระบบ
การจัดทำแผนการจัดการความปลอดภัยด้านกีฬามวลชนของประเทศไทย โดยบูรณาการการทำงานขององค์กรและหน่วยงานจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการร่วมกันกำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบให้เป็นรูปธรรม เพื่อร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้สำคัญ ๆ ทั้งในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยในการจัดงานกีฬามวลชน โดยเฉพาะเรื่องการวิ่งซึ่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในประเทศไทย การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อยกระดับการทำงานด้านความปลอดภัย และการพัฒนาระบบติดตามประเมินผล รวมทั้งการนำองค์ความรู้เหล่านี้สู่การนำไปใช้ในการขับเคลื่อนเพื่อสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นกับการจัดการกีฬามวลชนทั้งในระดับนานาชาติ ชาติ และระดับพื้นที่
สถาบันนโยบายสาธารณะร่วมกับแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส. จึงเสนอโครงการการจัดทำแผนงานโครงการเพื่อการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชน (Mass sport) ที่มีเป้าหมายเพื่อบูรณาการทำงานร่วมกันของภาคีที่เกี่ยวข้องในการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชนของประเทศไทย ผลลัพธ์ของโครงการจะได้แผนงานการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชน (Mass sport) สำหรับทุกหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการกำหนดทิศทาง บทบาท ความรับผิดชอบในการทำงานจัดการความปลอดภัยให้เกิดขึ้นกับประชาชนไทยที่สนใจและเข้าร่วมกิจกรรมกีฬามวลชน ได้องค์ความรู้ที่เป็นผลการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเรื่องการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชน และได้โครงการมาตรฐานความปลอดภัยงานวิ่งบนถนน และงานวิ่งในสวน ที่มาจากความร่วมมือขององค์กรหน่วยงานต่าง ๆ ที่ดำเนินการครอบคลุมทั้งในระยะก่อนเริ่มจัดงาน ระหว่างจัดงาน และหลังเสร็จสิ้นการจัดงาน ส่งผลต่อการจัดงานกีฬามวลชนที่ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย ดึงดูดและกระตุ้นให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้นต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อศึกษาองค์ความรู้ด้านการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชน
|
0.00 | |
2 | เพื่อวางแผนการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชนของประเทศไทย
|
0.00 | |
3 | เพื่อพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยในการจัดการวิ่ง (วิ่งบนถนน วิ่งในสวน)
|
0.00 |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
1 1.3) ร่วมสังเกตการณ์การจัดประชุม สัมมนาของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยกีฬามวลชน | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0.00 | 1 | 0.00 | |
21 - 22 มี.ค. 65 | ร่วมสังเกตการณ์การจัดการความปลอดภัย งานบางแสน 42 | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
2 1.4) สังเคราะห์ข้อมูล | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0.00 | 1 | 0.00 | |
24 มี.ค. 65 | ประชุมวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล PA | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | |
22 มี.ค. 65 | 1.1) ทบทวนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการด้านความปลอดภัยงานวิ่ง จัดประชุมกลุ่มเล็ก | 0 | 0.00 | - | ||
22 มี.ค. 65 | 1.2) สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่มกับกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิ่ง ประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ | 0 | 0.00 | - | ||
22 มี.ค. 65 | 2.1) นำร่างแนวทางปฏิบัติที่ได้จากในช่วงที่ 1 สนทนากลุ่มกับผู้ที่เกี่ยวข้องฯ ประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ | 0 | 0.00 | - | ||
22 มี.ค. 65 | 2.2) นำแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยฉบับปรับปรุง เสนอกับกลุ่มที่เคยให้ข้อมูลในช่วงที่ 1 และกลุ่มตัวแทนท้องถิ่น | 0 | 0.00 | - | ||
22 มี.ค. 65 | 2.3) สรุปข้อมูล และจัดส่งผลการศึกษา | 0 | 0.00 | - | ||
22 มี.ค. 65 | 3.1) ประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำ (ร่าง) แผนการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชนและโครงการ | 0 | 0.00 | - | ||
22 มี.ค. 65 | 3.2) สรุปแผนการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชนและโครงการ | 0 | 0.00 | - | ||
22 มี.ค. 65 | 4.1) จัดประชุมสรุปแผนความปลอดภัยการจัดกีฬามวลชนและโครงการ ประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ | 0 | 0.00 | - | ||
22 มี.ค. 65 | 4.2) จัดประชุมปฏิบัติการกำหนดแผนและโครงการที่นำไปสู่การมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายของแต่ละองค์กร | 0 | 0.00 | - |
แผนการดําเนินงาน (ระเบียบวิธีการวิจัย) ประยุกต์ใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research) ใน 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย
การวางแผน (Plan) เพื่อทบทวนองค์ความรู้ด้านการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชนจากเอกสาร และผู้รู้จากองค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชน เพื่อใช้เป็นร่างในการจัดทำแผนงานการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชนของประเทศไทย 1.1. การทบทวนเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1.2. การจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) สนทนากลุ่ม (focus group discussion) สัมภาษณ์กลุ่ม (group interview) หน่วยงานและองค์กรทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชน สังเกตการณ์การสัมมนา ประชุมกลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชน
การปฏิบัติการ (Action) จัดทำแผนงาน และมาตรฐานความปลอดภัย
2.1. การจัดทำแผนงานการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชนของประเทศไทยที่บูรณาการความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้อง 2.2. การพัฒนาโครงการด้านมาตรฐานความปลอดภัยในการจัดงานวิ่ง (วิ่งบนถนน วิ่งในสวน)- การสะท้อนคิด (Reflection) และการสนทนากลุ่ม เพื่อการติดตามประเมินผล (Evaluation) การดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ - ความร่วมมือในการทำงานร่วมกันด้านกีฬามวลชน เพื่อสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นกับประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมกีฬามวลชน - อัตราการเสียชีวิตจากกีฬามวลชนลดลง
ผลลัพธ์
1. รายงานการทบทวนองค์ความรู้ และข้อมูล mapping เครือข่ายและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชน
2. แผนการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชนของประเทศไทย
3. โครงการการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชนของประเทศไทย
4. มาตรฐานและแนวทางการจัดการความปลอดภัยในการจัดการวิ่ง (วิ่งบนถนน วิ่งในสวน)
5. ภาคีเครือข่ายบูรณาการความร่วมมือด้านการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชน
ตัวชี้วัด 1. มีรายงานการวิจัยการทบทวนองค์ความรู้ (Systematic review) ด้านการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชนอย่างเป็นระบบ จำนวน 1 ฉบับ 2. เกิดแผนงานการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชนของประเทศไทยที่บูรณาการความร่วมมือของผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 แผน 3. เกิดโครงการการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชนของประเทศไทย ด้านการวิ่งบนถนน วิ่งในสวน หรืออื่น ๆ อย่างน้อย 2 โครงการ 4. เกิดมาตรฐานความปลอดภัยในการจัดการวิ่ง 2 เรื่อง (วิ่งบนถนน วิ่งในสวน) 5. เกิดเครือข่าย และข้อมูล mapping เครือข่ายการจัดการความปลอดภัยกีฬามวลชน 2 เครือข่าย (ผู้จัดกีฬามวลชนที่ใช้มาตรฐานความปลอดภัย เครือข่ายท้องถิ่นที่ใช้มาตรฐานการวิ่ง)
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2565 08:48 น.