สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564 เขต 10

เวทีพัฒนาศักยภาพกลไกกองทุนฯ ด้านการติดตามประเมินผลผ่านระบบบริหารกองทุนตำบล (ผ่านหน้าเว็บไซต์) พื้นที่ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี9 กุมภาพันธ์ 2565
9
กุมภาพันธ์ 2565รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
1. เพื่อสรุปผลการจัดทำแผนงานกิจกรรมทางกาย การพัฒนาโครงการ PA ในระบบเว็บไซค์ และทบทวนวิธีการจัดทำแผนงานกิจกรรมทางกาย การพัฒนาโครงการ PA เพื่อให้ผู้รับผิดชอบกองทุนและพี่เลี้ยงกองทุนเป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำแผนงานกิจกรรมทางกาย การพัฒนาโครงการให้ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์
2. เพื่อให้กองทุนฯ เป้าหมายได้จัดทำแผนงานกิจกรรมทางกาย การพัฒนาโครงการ PA ที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ และจัดทำแผนงานกิจกรรมทางกายรอบด้าน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.ชี้แจงวัตถุประสงค์ เป้าหมายการดำเนินงาน โดย นพ.เรืองศิลป์ และทีมพี่เลี้ยงอำเภอ
2.นำเสนอสรุปผลการดำเนินงานจัดทำแผนงานกิจกรรมทางกาย การพัฒนาโครงการ PA ในระบบเว็บไซค์
3.สรุปข้อมูลการจัดทำแผนงานกิจกรรมทางกาย การพัฒนาโครงการ PA เพื่อให้ผู้รับผิดชอบกองทุนได้เพิ่มเติม แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องครบถ้วน
4.ปฏิบัติการจัดทำแผนงานกิจกรรมทางกาย การพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซค์ให้ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อจัดทำเป็นโครงการติดตามและจัดทำแผนงานกิจกรรมทางกายให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
5.สรุปผลการดำเนินงานและนัดหมายแผนกิจกรรมต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สรุปผลการจัดทำแผนงานกิจกรรมทางกายและการพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซค์ ดังนี้
    1.1 การจัดทำแผนงานกิจกรรมทากายในระบบเว็บไซค์ พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลที่เข้ารับการพัฒนาศักยภาพการจัดทำแผนงานกิจกรรมทางกายและการพัฒนาโครงการในระบบเว็บไซค์ไปแล้ว สามารถบันทึกข้อมูลแผนงานในระบบเว็บไซค์ทั้งหมด 12 แผนงาน (12 กองทุน) ขาดอีก 7 กองทุนที่ยังไม่ได้ดำเนินการจัดทำแผนงานกิจกรรมทางกายในระบบเว็บไซค์ สำหรับระดับความถูกต้องครบถ้วนของแผนงานในระบบนั้น ได้แบ่งออกเป็นกองทุนที่กรอกข้อมูลแผนงานได้ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ 7 กองทุน อีก 5 กองทุน ยังกรอกข้อมูลไม่ถูกต้อง ไม่สมบูรณ์ เช่น กรอกจำนวนสถานการณ์ปัญหาไม่ครบทุกข้อ กำหนดค่าสถานการณ์ปัญหาไม่สอดคล้อง กำหนดค่าเป้าหมายไม่ถูกต้อง และจัดทำโครงการที่ควรจะทำจำนวนน้อยไม่ครอบคลุมการแก้สถานการณ์ปัญหาทุกข้อ 1.2 มีการพัฒนาโครงการจำนวน 30 โครงการ พบว่า ทุกโครงการยังไม่ถือว่าเป็นโครงการที่สมบูรณ์และมีคุณภาพ เช่น การกรอกข้อมูลยังไม่ครบโดยเฉพาะในรายละเอียดกิจกรรมบ้าง ไม่ใส่ระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมบ้าง กำหนดกลุ่มเป้าหมายไม่สอดคล้องกับกิจกรรมบ้าง กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายไม่สอดคล้องกับกิจกรรมและกลุ่มเปา้หมาย เป็นต้น ซึ่งต้องมีการปรับแก้ไขและเพิ่มเติมเนื้อหาให้ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์
    ทำให้พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลทั้ง 19 กองทุน รับรู้แนวทางการปรับแก้ไข เพิ่มเติมข้อมูลในการจัดทำแผนงานกิจกรรมทางกาย และการพัฒนาโครงการเพื่อให้มีความสมบูรณ์ ครบถ้วนและมีคุณภาพ
  2. เกิดการปรับแก้ไขข้อมูลและจัดทำแผนงานกิจกรรมทางกายและพัฒนาโครงการให้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ได้แก่ 1) ได้ทบทวนการจัดทำข้อมูลทำแผนงานกิจกรรมทางกายเพื่อให้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ และได้มีการเพิ่มเติมข้อมูลโครงการที่ควรจะดำเนินงานเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายมากขึ้น 2) ได้ทบทวนและเพิ่มเติมปรับแก้ไขรายละเอียดโครงการที่พัฒนาทั้ง 31 โครงการ และได้มีการพัฒนาโครงการเพิ่มเติม ให้เป็นโครงการที่มีคุณภาพ