สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564 เขต 10

ประชุมทีมคณะทำงานระดับเขตเพื่อออกแบบและวางแผนแนวทางการยกระดับโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และการพัฒนาศักยภาพกลไกกองทุนสุขภาพตำบล ครั้งที่ 220 ธันวาคม 2564
20
ธันวาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. สรุปผลการดำเนินงานและการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน ปัจจัยที่ส่งผลให้การดำเนินงานไม่บรรลุตามเป้าหมาย
  2. กำหนด Time line แผนการดำเนินงานการจัดทำแผนงาน การพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพ การติดตามโครงการในระบบเว็บไซต์ และการถอดบทเรียนศูนย์การเรียนรู้กิจกรรมทางกาย
  3. การติดตามหนุนเสริมการบันทึกข้อมูลการจัดทำแผนงาน การพัฒนาโครงการกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพ และการติดตามโครงการในระบบเว็บไซต์
  4. สรุปผลการดำเนินงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จากการจัดกิจกรรมจัดทำแผนงาน พัฒนาโครงการกิจกรรมทางกาย (PA) ผ่านระบบเว็บไซต์ ปรากฎผลข้อมูล ดังนี้ มีการจัดทำแผนงานกิจกรรมทางกาย จำนวน 42 กองทุน (เป้าหมาย 54 กอนทุน)  การจัดทำและพัฒนาโครงการกิจกรรมทางกาย จำนวน 61 โครงการ (เป้าหมาย 108 โครงการ กองทุนละ 2 โครงการ) และบันทึกข้อมูลเป็นโครงการติดตามได้ 10 โครงการ
  2. แผนการติดตามสนับสนุนการจัดทำแผนงาน พัฒนาโครงการกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพในระบบเว็บไซต์ และการติดตามการดำเนินงานโครงการกองทุน จึงกำหนด Time line จำนวน 6 แผนงาน ได้แก่ แผนการติดตามการจัดเวทีประชาคมจัดทำข้อมูลกิจกรรมทางกายของกองทุน แผนงานการติดตามการบันทึกข้อมูลแผนงาน โครงการในระบบเว็บไซต์ของกองทุน แผนงานติดตามการเสนอโครงการและการดำเนินงานโครงการ แผนงานการถอดบทเรียนศูนย์ต้นแบบกิจกรรมทางกาย และการสรุปบทเรียนการดำเนินงาน
  3. มอบหมายให้พี่เลี้ยงแต่ละจังหวัดมีหน้าที่ติดตามการบันทึกข้อมูลแผนงาน โครงการกิจกรรมทางกายให้มีคุณภาพและครบถ้วนสมบูรณ์ และกองทุนสามารถนำโครงการที่จัดทำบันทึกเป็นโครงการติดตามเสนอของบประมาณจากกองทุนได้ โดยพี่เลี้ยงเป็นที่ปรึกษา กระตุ้นผู้รับผิดชอบการบันทึกข้อมูลให้สมบูรณ์