สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.สงขลา ”

จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
คุณนิพนธ์ รัตนาคม

ชื่อโครงการ เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.สงขลา

ที่อยู่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง สชต.นศ.006

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ตุลาคม 2561


กิตติกรรมประกาศ

"เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.สงขลา จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.สงขลา



บทคัดย่อ

โครงการ " เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.สงขลา " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2561 - 31 ตุลาคม 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. สนับสนุนการผลิตสื่อและจัดรายการเพื่อการสื่อสารสาธารณะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย 2. ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพและรูปแบบการสื่อสารกับประเด็นขับเคลื่อนสุขภาวะทางสังคม 3.กำหนดแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการสื่อสาร กับการขับเคลื่อนสังคม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. พบเครือข่ายสื่อมวลชนและนักสื่อสารสุขภาวะ

    วันที่ 19 มกราคม 2561 เวลา 09:00-18:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เวทีประชุมนำเสนอสถานการณ์การดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชน โซนอันดามัน ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปัญหาอุปสรรคและแนวทางในอนาคต
    • รับชมการถ่ายทอดสดเวทีสาธารณะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นที่พูดคุย
    2. เกิดข้อตกลงเพื่อร่วมขับเคลื่อนเชิงนโยบาย

     

    3 3

    2. ประชุมสร้างความเข้าใจคณะทำงานโครงการครั้งที่ 1

    วันที่ 27 มกราคม 2561 เวลา 18:00-20:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมกลุ่มย่อย ระดมสมอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1) เกิดคณะทำงานโครงการ 5 คน เครือข่าย 10 คน 2) เกิดประเด็นการสื่อสารในพื้นที่ 4 ประเด็น รวมทั้งพื้นที่ ภาคี และเครือข่าย จำนวน 50 แห่ง

    สรุปประชุม         ศูนย์อาสาสร้างสุขได้รับการสนับสนุนจากกอง บก. สื่อฯ ภาคใต้ จำนวน 100,000 บาท เพื่อสื่อสารสู่สาธารณะในพื้นที่จังหวัดสงขลา และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสร้างเสริมสุขภาพ โดยมีประเด็นหลักที่ควรได้รับการสื่อสาร ได้แก่         -  การท่องเที่ยวโดยชุมชน         -  ปัจจัยเสี่ยงหลัก เช่น ลดละเลิกการบริโภคเหล้า/บุหรี่ จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 10 เดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สื่อสารสาธารณะด้านการสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่จังหวัดสงขลา 2. สนับสนุนการผลิตสื่อและจัดรายการเพื่อการสื่อสารสาธารณะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย สำหรับคณะทำงานของโครงการนี้ ได้แก่ นายนิพนธ์ รัตนาคม หัวหน้าโครงการ นายอุบัยดิลละห์ หาแว คณะทำงาน นางสาวจิราพร อาวะภาค คณะทำงาน นางสาวมารียา เจ๊ม๊ะ คณะทำงาน นายอติชาติ จิรขจรกุล คณะทำงาน จากการหารือประเด็นที่ต้องการสื่อสารในช่วงสามเดือนแรกนี้ มีประเด็นที่น่าสนใจ ได้แก่   -  ประเด็นท่องเที่ยวชุมชน : หัวเขาแดง / การอนุรักษ์โลมาและกุ้งก้ามกรามกระแสสินธุ์   -  ประเด็นลดละเลิกเหล้า : คนหัวใจเหล็กในเครือข่ายองค์กรงดเหล้าจังหวัดสงขลา / 7 วันอันตราย ในช่วงสงกรานต์


     

    15 7

    3. สนับสนุนการลงพื้นที่เพื่อสื่อสารงานสร้างเสริมสุขภาวะ ประเด็นการจัดการภัยพิบัติ

    วันที่ 31 มกราคม 2561 เวลา 09:00-18:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ถอดบทเรียนโครงการรับมือภัยพิบัติ “กระแสสินธุ์กับการรับมือภัยพิบัติ”

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • บทความ 1 เรื่อง
      ถอดบทเรียนโครงการรับมือภัยพิบัติ “กระแสสินธุ์กับการรับมือภัยพิบัติ”

    ‘ตำบลเชิงแส’ กับการรับมือ ‘ภัยพิบัติ’
    “พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก” คงเป็นหัวอกอันชอกช้ำของชุมชน  เช่นเดียวกับอำเภอกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา ด้วยสภาพภูมิอากาศหลักเสี่ยงต่อการเกิดฝนตกหนักถึงหนักมาก เนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำ พายุหมุนเขตร้อน มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่งผลให้มีฝนตกชุก มีฤดูฝนยาวนาน เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัยสูง  โดยเฉพาะตำบลเชิงแสที่ประสบปัญหาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน โดยความเสียหายล่าสุดเกิดขึ้นช่วงเดือนธันวาคม 2559 ถึง เดือนมกราคม 2560 ผลกระทบค่อนข้างรุนแรงและเกิดขึ้นถึง 2 ระลอก รอบแรกระหว่างวันที่ 4-12 ธ.ค. 2559 สาเหตุเกิดจากฝนตกหนักในพื้นที่ทำให้น้ำระบายไม่ทันและเกิดน้ำท่วมขัง ระดับน้ำสูง 20 ซม. ถึง 1 เมตร รอบที่สอง ระหว่างวันที่ 2-12 ม.ค. 2560 สาเหตุมาจากฝนตกหนักในพื้นที่และน้ำทะเลสาบสงขลาหนุนเข้าท่วมขังในพื้นที่ระดับน้ำสูง 50 ซม. ถึง 2 เมตร มีผู้ได้รับความเดือดร้อนจำนวน 2,868 คน บ้านเรือนเสียหาย 1,036 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรเสียหาย 9,010 ไร่ ถนนเสียหาย 19 สาย โรงเรียนได้รับผลกระทบ 3 โรงเรียน นอกจากนี้ เมื่อย้อนกลับไปก็พบว่าพื้นที่มีน้ำท่วมหลายครั้ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2518, 2538, 2543, 2548, 2553  จากสภาพปัญหา ความเสียหายและความต้องการช่วยเหลือดังกล่าว ภาคีเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ ได้แก่ โครงการบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กองกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ศูนย์ประสานงานวิชาการเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสงขลา มูลนิธิเครือข่ายเมืองภาคใต้เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ธนาคารเมล็ดพันธุ์ เครือข่ายผ้าสร้างสุข ร่วมดำเนินโครงการ “เสริมสร้างศักยภาพและเตรียมความพร้อมของชุมชนหลังประสบอุทกภัยพื้นที่ตำบลเชิงแสฯ”
                โดยเบื้องต้นได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับผลกระทบ 40 ครัวเรือน พบว่า ผู้ประสบภัยมีความเครียด วิตกกังวล เนื่องจากไม่สามารถประกอบอาชีพ ขาดรายได้ รวมทั้ง ต้องแบกรับภาระหนี้สิน พ่วงมาด้วยปัญหาสุขภาพทั้งโรคทั่วไป เช่น โรคไข้หวัด ปวดหัว โรคจากน้ำท่วมขัง เช่น ผดผื่นคัน น้ำกัดเท้า และโรคประจำตัวเรื้อรังต่างๆ ตลอดจน ความเสียหายด้านทรัพย์สิน บ้านเรือน เครื่องเรือนของใช้ ยานพาหนะ เครื่องมือทางการเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม อีกทั้ง ความเสียหายทางด้านอาชีพ พบว่า มีไร่นาสวนผลไม้เสียหายจำนวนมาก สัตว์เลี้ยงก็ได้รับผลกระทบอย่างถ้วนหน้า
              จากการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดนำมาวิเคราะห์ พบว่า ผู้ประสบภัยในพื้นที่ต้องการการหนุนเสริม 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะเยียวยา ชุมชนต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน คือ ข้าวสารจำนวนมาก เนื่องจาก นาข้าวแปลงผักประมงปศุสัตว์เสียหายหนัก จึงต้องการข้าวสารสำรองไว้จนกว่าจะได้ทำนาและได้ผลผลิตในรอบต่อไป  2) ระยะฟื้นฟู ชุมชนต้องการการสนับสนุนด้านอาชีพ ประกอบด้วย พันธุ์ข้าวสำหรับเริ่มทำนารอบใหม่ พันธุ์ปลา เมล็ดพันธุ์ผักเพื่อการบริโภคและสร้างรายได้เสริม 3) ระยะเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติครั้งต่อไป ชุมชนต้องการการพัฒนาระบบการแจ้งภัย การเตรียมความพร้อมระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน รวมทั้ง การจัดการระบบอาสาสมัคร
              โครงการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่โดยความร่วมมือของอาสาสมัครของชุมชนและเครือข่ายอาสาสมัครจากภายนอกชุมชน ได้แก่ 1) การฟื้นฟูอาชีพ โดยเน้นการทำงานโดยใช้ข้อมูลเป็นฐานผ่านกระบวนการจัดเก็บข้อมูลทั้ง 4 ชุมชน หลังจากนั้น จึงสนับสนุนงบประมาณฟื้นฟูอาชีพและเตรียมรับมือภัยพิบัติ 4 ชุมชนๆ ละ 30,000 บาท และ 2) การเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ โดยมีการอบรมศักยภาพอาสาสมัครของชุมชน 2 เวที ได้แก่ เวทีลักษณะภูมิประเทศ ระบบน้ำ และอุตุนิยมวิทยาเบื้องต้น และเวทีการสื่อสารเบื้องต้นและกู้ชีพกู้ภัยในสถานการณ์ฉุกเฉิน
              ตลอดระยะเวลา 6 เดือนที่ดำเนินการในพื้นที่ตั้งแต่ 1 มิถุนายน ถึง 30 พฤศจิกายน 2560 เกิดผลผลิตต่างๆ นำมาสู่เวทีถอดบทเรียน “เหลียวหลังแลหน้า” เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561 โดยชุมชนทั้ง 4 ชุมชนของตำบลเชิงแสเข้าร่วมสะท้อนผลการดำเนินกิจกรรมร่วมกับโครงการ และให้ข้อเสนอต่อการดำเนินงานในอนาคต

     

    10 10

    4. ประชุมสร้างความเข้าใจคณะทำงานโครงการและเครือข่ายครั้งที่ 2

    วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 17:00-19:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมกลุ่มย่อย ระดมสมอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดแผนการสื่อสารงาน สรุปประชุม - การประชุมครั้งนี้ ได้เชิญตัวแทนจากองค์กรงดเหล้าจังหวัดสงขลาเข้าร่วมประชุมด้วยเพื่อหารือแนวทางการเผยแพร่ในประเด็นลดละเลิกการดื่มเหล้า มีประเด็นที่น่าสนใจคือ การขับเคลื่อนโครงการคนหัวใจเหล็กและคนหัวใจเพชร ซึ่งถือเป็นการสร้างคนต้นแบบที่สามารถงดดื่มเหล้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยในจังหวัดสงขลามีคนต้นแบบทั้งสองระดับ ซึ่งทางโครงการควรเข้าไปนำเสนอ/สื่อสารเพื่อเป็นแนวทางตัวอย่าง/ แรงบันดาลใจแก่ผู้อื่นได้ โดยกำหนดนัดสัมภาษณ์และ Live ในช่วงเดือนมีนาคมหรือเมษายนนี้ - สำหรับแผนการสื่อสารงานในช่วงเดือนมีนาคมนี้ ได้แก่ o การเสวนารับมือภัยพิบัติ ภายในมหกรรมจิตอาสาภาคใต้ ครั้งที่ 1 o การสนับสนุนทีมกอง บก. สร้างสุข ภายในงานสร้างสุขภาคใต้ เพื่อถ่ายทอดสดการเสวนาในประเด็นอนาคตชาวสวนยางพารา และการเกษตรปลอดภัย o เยี่ยมพื้นที่ ต.เชิงแส อ.กระแสสินธุ์ เพื่อนำเสนอประเด็นการอนุรักษ์ปลาโลมาโดยพลังของชุมชน และธนาคารกุ้งก้ามกราม o ลงพื้นที่ ต.หัวเขา อ.สิงหนคร เพื่อนำเสนอการท่องเที่ยวในชุมชน

     

    10 7

    5. สนับสนุนการลงพื้นที่เพื่อสื่อสารงานสร้างเสริมสุขภาวะ : ประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน

    วันที่ 18 มีนาคม 2561 เวลา 09:00-18:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สัมภาษณ์เชิงลึก ถ่ายภาพนิ่ง และวิดีโอ เพื่อเก็บข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ ทะเลสาบสงขลาแหล่งอาศัยโลมาอิระวดี ธนาคารกุ้งเพื่อการอนุรักษ์  รวมทั้งสัมภาษณ์บุคคลสำคัญที่เป็นแกนนำการอนุรักษ์        อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • Facebook Live ผ่านเพจ “สงขลาสร้างสุข” บทความ 3 เรื่อง
    1. ฟังเสียงชุมชน ‘เกาะใหญ่’ กระแสสินธุ์ รวมพลัง อนุรักษ์ ‘โลมาอิระวดี’ คงอยู่คู่ ‘เลสาบสงขลา ฟังเสียงชุมชน ‘เกาะใหญ่’ กระแสสินธุ์ รวมพลังอนุรักษ์ ‘โลมาอิระวดี’ คงอยู่คู่ ‘เลสาบสงขลา เปิดใจ 3 นักอนุรักษ์แห่งตำบลเกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา รวมพลังสืบต่อลมหายใจ “โลมาอิระวดี” สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมน้ำจืดที่พบเพียง 5 แห่งในโลก หวังให้คงอยู่คู่ทะเลสาบของเราตราบนานเท่านาน
      -1-    นกแก้ว-นายไพฑูรย์ คชเสนีย์ อดีตผู้ใหญ่บ้านผู้ใช้ชีวิตหลังเกษียณทำงานเป็นตัวแทนประชาชนในฐานะสมาชิกสภา อบต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา ในปัจจุบัน และทำงานอนุรักษ์ธรรมชาติร่วมกับชาวบ้านตลอดมา
      ลุงนกแก้ว เล่าถึงความสำคัญของทะเลสาบสงขลาซึ่งเป็นแหล่งผลิตอาหารแห่งคาบสมุทรสทิงพระ ครอบคลุมทั้งจังหวัดสงขลาและจังหวัดพัทลุง เดิมมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยมีปลาหลากหลายชนิดแต่ปัจจุบันลดน้อยลง หลายชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว สาเหตุเกิดจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ทั้งมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ครัวเรือน การผลิตและแปรรูปยางพารา ส่งน้ำเสียสู่ทะเลสาบ สัตว์น้ำที่ขยายพันธุ์ยากจึงสูญพันธุ์ในที่สุด
      เอกลักษณ์โดดเด่นของทะเลสาบสงขลาก็คือ “โลมาอิระวดี” หรือ “โลมาหัวบาตร” สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมน้ำจืดที่พบได้เพียง 5 แห่งในโลก โดยพบครั้งแรกที่แม่น้ำอิระวดี ประเทศอินเดีย ในประเทศไทยพบแห่งเดียว คือ ทะเลสาบสงขลา ถือเป็นสัตว์สงวน หายากและมีความเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์สูงมาก ช่วง 50 ปีที่แล้ว โลมามีมากถึง 100 กว่าตัว ปัจจุบันมีแค่ 20-30 ตัว เพราะแหล่งอาหารลดลง  จากการสอบถามชาวประมงพบว่าโลมาจะรวมตัวกันเป็นฝูง ฝูงใหญ่ 10-15 ตัว ฝูงเล็ก 3-5 ตัว เมื่อก่อนโลมาจะเข้าถึงตลิ่ง แต่ปัจจุบันทะเลสาบตื้นเขิน หากต้องการพบโลมาต้องไปกลางทะเลสาบที่มีความลึก 3 เมตร
      สำหรับทรัพยากรล้ำค่าคู่ทะเลสาบสงขลาอีกอย่าง คือ กุ้งก้ามกราม เป็นอาหารขึ้นชื่อและราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 1 พันกว่าบาท ชาวบ้านนิยมทำประมงและส่งขายสร้างรายได้ดี จนกระทั่งจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว ชุมชนเกาะใหญ่จึงร่วมกันหาทางออกของวิกฤตินี้ด้วยการตั้ง “ธนาคารกุ้ง” เพื่อเพาะพันธุ์กุ้งและขยายจำนวน รวมทั้ง ช่วยเพิ่มปริมาณอาหารให้กับโลมาด้วย ลุงนกแก้ว กล่าวทิ้งท้ายว่า สิ่งที่อยากฝากถึงเยาวชนหรือคนทั่วไป คือ โลมาอิระวดีเป็นสัตว์น่ารัก อยากให้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้นานที่สุด เพื่อให้บ้านเราเป็นแหล่งศึกษาชีวิตของโลมาอิระวดีซึ่งมีเพียงไม่กี่แห่งในโลก อยากให้ทุกภาคส่วน ทั้งราชการและองค์กรเอกชน เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล รวมทั้ง สถาบันการศึกษาทุกระดับ ทั้งโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย บรรจุหลักสูตรพิเศษให้ความรู้แก่นักเรียน นักศึกษาและเยาวชน ได้ศึกษาเรื่องโลมาอิระวดีตลอดไป

    -2-  พระราม-พระปลัดนรุตม์ชัย อภินนฺโท วัดเกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา ในฐานะพระนักอนุรักษ์ผู้ทำงานร่วมกับชุมชนเสมอมา ทั้งการอนุรักษ์ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ระบบนิเวศ วิถีชุมชน รวมทั้ง งานด้านศาสนาในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
    พระราม เล่าว่า เกาะใหญ่ คือ บ้านเกิดแต่ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่ามีโลมาอยู่จนกระทั่งวันหนึ่งเมื่อปี 2551 ได้เห็นข่าวทางทีวีนำเสนอว่าพบโลมาตายที่ทะเลบ้านเรา ตรงนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งคำถามและศึกษาถึงการมีอยู่ของโลมา ทั้งจากการสอบถามจากญาติๆ และชาวบ้านในชุมชน รวมทั้ง ศึกษาข้อมูลจากการสำรวจทางวิชาการ
    ต่อมา เริ่มทำงานอนุรักษ์โลมาตั้งแต่ปี 2555 ตอนนั้นโลมายังมีอยู่ 30 กว่าตัว แต่ด้วยข้อจำกัดทางเครื่องมือในการสำรวจวิถีชีวิตโลมาอย่างจริงจังปีนั้นมีโลมาตายมากถึง 4 ตัว ซึ่งก็ได้ข้อสรุปสาเหตุการตายหลัก 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือประมง คือ อวนปลาบึกเป็นสาเหตุใหญ่สุดที่ทำให้โลมาตาย และ 2) โลมาที่เหลืออยู่ผสมพันธุ์ในวงศ์ตระกูลเดียวกันทำให้สายพันธุ์อ่อนแอ ทางกลุ่มจึงเริ่มแก้ปัญหาที่สามารถทำได้ก็คือ การให้ความรู้ควบคู่กับขอความร่วมมือกับชาวประมงในการเลิกใช้อวนปลาบึก รวมทั้ง ไม่ทำการประมงในแหล่งหากินของโลมาซึ่งก็ได้รับความร่วมมือดีขึ้นตามลำดับ
    ช่วง 2-3 ปีหลังนี้ ทางกลุ่มก็เริ่มมีช่องทางสื่อโซเชียล คือ เฟสบุ๊ก ช่วยกระตุ้นและสร้างความเข้าใจให้เห็นความสำคัญว่าประเทศไทยมีโลมาอิรวะดีที่ทะเลสาบสงขลาที่เดียว เราในฐานะคนในชุมชนทำอย่างไรที่จะช่วยกันรักษาไว้ให้คงอยู่ พลังของสื่อออนไลน์ช่วยประชาสัมพันธ์และดึงสื่อมวลชนเข้ามาร่วมด้วยช่วยกัน รวมทั้ง ความร่วมมือในชุมชน คือ คุณอุทัย ยอดจันทร์ ซึ่งเป็นผู้เสียสละเงินส่วนตัวเพื่อดูแลปลาโลมา ก็เกิดความเขื่อมโยงการทำงานร่วมกัน
    ทางกลุ่มเริ่มทำการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวขึ้น โดยใช้เพจ “ที่นี้เกาะใหญ่ สวยสุดแห่งลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” เป็นช่องทางการนำเสนอวิถีชุมชน ระบบนิเวศ ธรรมชาติ และการท่องเที่ยวตามรอยพระพุทธศาสนา ตามสโลแกน "เที่ยว กิน นอน พักผ่อน ชมธรรมชาติ"  เน้นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ดึงคนภายนอกเข้ามาท่องเที่ยวที่บ้านเราและมาช่วยกันอนุรักษ์เป็นสิ่งที่ดี เป็นพลังที่เข้มแข็งอย่างยิ่ง
    อย่างไรก็ตาม ในฐานะคนทำงานอนุรักษ์ตระหนักดีว่า เราทำงานในฐานะนักอนุรักษ์ นักธรณีวิทยา ชุมชนหรือประชาชนที่ทำงานด้วยจิตอาสา สุดท้ายเกิดผลสำเร็จได้แค่ครึ่งทางเท่านั้น อีกครึ่งเป็นเรื่องของทางราชการหรือฝ่ายกฎหมายที่ต้องร่างกฎหมายขึ้นมาคุ้มครองและบังคับใช้อย่างจริงจัง
    “เราทำให้เต็มที่เพื่อให้ผู้มีอำนาจหันมาเห็นคุณค่าของโลมา เมื่อเขาเห็นคุณค่าเขาต้องออกกฎหมายมาคุ้มครอง ต้องมีการสำรวจอย่างจริงจัง ต้องติดจีพีเอสโลมาทุกตัว เพื่อเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด ว่ามันใช้ชีวิตอย่างไร การอยู่อาศัย หาอาหารที่ไหน เก็บข้อมูลวงจรชีวิต ให้เห็นชัดเจน นำไปสู่การขยายพันธุ์โดยใช้เทคโนโลยีที่ดี ตรงนี้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการต้องเข้ามาร่วมกันทำ” พระราม กล่าว
    ปัจจุบันชุมชนตื่นตัวเรื่องโลมามากขึ้น วิธีที่ช่วยอนุรักษ์ที่ดีที่สุด คือ ต้องกั้นเขตอนุรักษ์โลมา รวมทั้ง ดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ให้ชาวบ้านเห็นคุณค่าการมีอยู่ของโลมาว่าเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตอย่างไร ช่วยสร้างรายได้ สร้างความมั่นคงให้ชุมชนได้อย่างไร ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ ถ้าทำแบบนี้ได้ สถานการณ์ก็คงดีขึ้น
    สุดท้ายอยากฝากถึงคนทั่วไปว่าควรให้ความสำคัญเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หยุดการทำลายและเบียดเบียนชีวิต และขอให้ผู้อำนาจที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์รับฟังข้อเสนอจากนักอนุรักษ์ไปผลักดันให้เกิดผลระดับนโยบาย และเป็นกำลังให้นักอนุรักษ์ทุกคน ที่มีใจเมตตา ช่วยเหลือผู้อื่น ท่านก็จะมีความสุข

    -3-    นวย-อุทัย ยอดจันทร์ ประธานชมรมอนุรักษ์โลมาอิรวดีทะเลสาบสงขลา ม.6 ต.เกาะใหญ่ อ.กระแสสินธุ์        จ.สงขลา ในฐานะตัวแทนชาวบ้านผู้มีจิตอาสาและอุทิศตนเพื่ออนุรักษ์โลมาตลอดเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา ทั้งการสำรวจจำนวนโลมา การเฝ้าระวังป้องกัน ตลอดจน ขับเคลื่อนและขยายความร่วมมือไปยังหน่วยงานราชการต่างๆ
    ลุงนวย เปิดใจว่า ชมรมก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2549 เป็นเวลากว่า 10 ปีในการทำงานร่วมกับนักวิชาการของศูนย์วิจัยฯ ที่ลงพื้นที่สำรวจโลมา ทำให้ชาวบ้านเกิดการรวมกลุ่มกัน จากช่วงแรกมีสมาชิกเพียง 5 คนเท่านั้นเพราะยังไม่เห็นความสำคัญ จนช่วงหลังๆ ที่สื่อมวลชนให้ความสนใจนำเสนอข่าว ชาวบ้านก็ให้ความสนใจเข้าร่วมจนปัจจุบันมีสมาชิกรวม 25 คน
    กิจกรรมของกลุ่มที่ผ่านมา เน้นเรื่องให้ข้อมูลแก่นักเรียนนักศึกษา รวมทั้ง กลุ่ม องค์กรต่างๆ ที่สนใจเข้ามาขอข้อมูลว่าโลมาใช้ชีวิตอย่างไร ได้รับผลกระทบอย่างไร ก็หลักๆ ก็เป็นเรื่องน้ำเสีย อาหารไม่เพียงพอ รวมทั้ง โลมาติดอวนปลาบึก ซึ่งเป็นสาเหตุหลักการตายของโลมา
    สำหรับ ความคาดหวังของการอนุรักษ์หรือแนวทางการทำงานของกลุ่มในอนาคต คือ ต้องการให้มีเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่เข้ามาสานต่อการทำงานมากขึ้น ให้เกิดจิตสำนึกหวงแหนถิ่นฐานบ้านเกิดและของดีที่บ้านตนเอง กระตุ้นความคิดเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติต่อไป

    การทำงานอนุรักษ์จำเป็นต้องใช้เวลากว่าจะเห็นผลชัดเจน นี่เป็นความจริงที่ทุกคนตระหนักดี แต่คำถามกลับกันว่าเวลาที่ใช้ไปในการอนุรักษ์โดยชุมชนเพียงฝ่ายเดียวนั้น เพียงพอและเท่าทันวิกฤติการณ์ “สูญพันธุ์” ของโลมาอิระวดีหรือไม่ หากหน่วยงานภาครัฐไม่ขยับและร่วมขับเคลื่อนอย่างจริงจัง วันหนึ่งข้างหน้าอาจเหลือเพียง “ชื่อ” ให้ลูกหลานได้รู้จักเหมือนเช่นสัตว์อื่นๆ ที่สูญพันธุ์ไปก่อนหน้านี้<br />
    
    1. ธนาคารกุ้งก้ามกราม เพื่อความมั่นคงทางอาหารรอบทะเลสาบสงขลา ธนาคารกุ้งก้ามกราม
      เพื่อความมั่นคงทางอาหารรอบทะเลสาบสงขลา "ตอนนี้กุ้งก้ามกรามในทะเลสาบสงขลากำลังจะสูญพันธ์ ชาวบ้านจับกุ้งก้ามกรามขายกันมากเพราะขายได้ราคาดี  แต่ทุกคนอาจจะคิดไม่ถึงว่าหากจับแม่กุ้งที่มีไข่เต็มท้องไปขาย แม่กุ้งแต่ละตัวอุ้มไข่ถึง 3-6 หมื่นฟองต่อตัว นี่เป็นจุดวิกฤติให้เกิดการสูญพันธุ์ได้ แต่ถ้าเรานำมาเพาะพันธุ์ก็จะได้ลูกกุ้งคืนธรรมชาติมากถึง 3 หมื่นกว่าตัวเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูกุ้งก้ามกรามให้อยู่คู่ทะเลสาบสงขลาตลอดไป" นี่คือแนวคิดการดำเนินโครงการธนาคารกุ้งก้ามกรามของ พี่ จู - นายสุเวทย์  บางพงศ์ ประธานธนาคารกุ้งเพื่อการฟื้นฟูและยั่งยืน หมู่ที่ 6 บ้านแหลมหาด อ.กระแสสินธุ์ จ.สงขลา
      ธนาคารกุ้ง เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 โดยใช้งบประมาณจากโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี โดยตอนแรกดำเนินโครงการแปรรูปสัตว์น้ำกำลังจะหมดโครงการและมีงบประมาณเหลืออยู่ประมาณ 5 หมื่นบาท จึงจัดเวทีประชาคมร่วมกันคิดว่าจะทำอย่างไร จึงเกิดเป็นธนาคารกุ้งขึ้นมา
      กุ้งก้ามกราม เป็นทรัพยากรธรรมชาติในทะเลสาบสงขลา และมีความโดดเด่นมากในพื้นที่อำเภอกระแสสินธุ์ เช่นเดียวกับสัตว์น้ำอื่นๆ ทั้งปลาดุกทะเล ปลาหัวโม่ง ปลากะพง ปลานิล ปลาบึก การเพาะพันธุ์กุ้งจะได้ประโยชน์รวมกันรอบทะเลสาบสงขลาและทั้งหมู่บ้าน ชาวประมงจับเพราะอยากมีรายได้ แต่ไม่คำนึงถึงว่ากุ้งไข่จะต้องขยายพันธุ์ต่อไป ถ้าเราจับมาทั้งหมดก็อาจสูญพันธุ์ ประกอบกับน้ำทะเลมีการเปลี่ยนแปลงสภาพ ทั้งสารเคมีจากนาข้าว น้ำสกปรกลงสู่ทะเล แทนที่กุ้งจะขยายพันธุ์เอง แม้ว่าสลัดไข่แต่อัตราการติดและรอดชีวิตน้อยมาก โดยทางกลุ่มได้ศึกษาจากบ้านหัวเขาแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา โดยที่นั่นเป็นธนาคารปู แต่นำมาปรับประยุกต์ใช้กับกุ้ง
      ความร่วมมือนี้เริ่มจากธนาคารปู บ้านหัวเขาแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา ขอแม่กุ้งก้ามกรามจากที่นี่ไปทดลองเพาะพันธุ์จนประสบความสำเร็จแล้วนำกลับมาปล่อยที่นี่ประมาณ 13 ครั้ง ตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2560 และได้ผลที่ดี
      หลังจากนั้น พี่จูเองก็ศึกษา และพูดคุยร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้านหมู่ต่างๆ ชวนไปดูงานการเพาะพันธุ์กุ้งที่บ้านหัวเขาแดง แล้วกลับมาลองทำเอง ประจวบกับหมู่ที่ 6 มีความพร้อมเรื่องเงินทุนจากโครงการ 9101 อยู่แล้วก็นำไปจัดสร้างโรงเรือน บ่อเพาะเลี้ยง  แต่แม่กุ้งได้รับบริจาคจากชาวบ้านที่บริจาคให้เราเพาะพันธุ์ทั้งหมด ต่อมาเมื่อแม่กุ้งสลัดไข่เรียบร้อยแล้ว ก็นำไปแลกแม่กุ้งไข่จากร้านค้า นำกลับมาเพาะพันธุ์ต่อ หมุนเวียนอยู่อย่างนี้ โดยค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งค่าน้ำค่าไฟ คณะกรรมการธนาคารกุ้งบริหารจัดการร่วมกัน สำหรับ ค่าน้ำที่ต้องจ่าย คือ น้ำเค็มที่ไปบรรทุกมาจากอำเภอสทิงพระ เดือนละครั้ง โดยการผสมน้ำเค็มในบ่อเพาะพันธุ์สามารถช่วยให้อัตราการรอดของไข่สูงถึง 90% เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้านผสมกับวิทยาศาสตร์การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ลงตัว สำหรับวงจรชีวิตกุ้งนั้น แม่กุ้งที่นำไข่มาฟัก คือ แม่กุ้งที่มีไข่ระยะที่ 1 (ไข่อ่อน สีแดง) แล้วไล่มาเป็นสีเหลือง สีเทา และสีดำ รวม 4 ระดับ ดังนี้ ไข่สีดำใช้เวลาในการสลัดไข่หลังปล่อยลงบ่อ 2 วัน ไข่สีเทา 4 วัน ไข่สีเหลือง 7 วัน และไข่แดง 10 วัน โดยธนาคารกุ้งรับบริจาคไข่ทุกระยะ แล้วแยกเพาะพันธุ์ไปแต่ละบ่อ
      หลังจากที่สลัดไข่ออกมาแล้วก็นำลูกกุ้งอายุ 10 วันไปปล่อยในเขตอนุรักษ์ เก็บไว้ในบ่อต่อไม่ได้ เพราะหลังจากนี้กุ้งต้องกินอาหาร มีค่าใช้จ่ายมาก และจะเติบโตในธรรมชาติเร็วกว่าตอนที่อยู่ในบ่อ “เน้นเลี้ยงธรรมชาติ ไม่เน้นกุ้งเลี้ยง” สำหรับ เขตอนุรักษ์ คือ พื้นที่ติดชายฝั่งทั้งหมด กำหนดระยะ 250 เมตรจากชายฝั่ง มีสร้างซั้งบ้านปลา ประมาณ 50 ลูก เพื่อเป็นที่วางไข่ของสัตว์ธรรมชาติ เป็นที่หลบภัย ทั้งนี้ ใน 1 รอบของการปล่อย ลูกกุ้งใช้เวลา 4-5 เดือน ก็จะสามารถจับได้ ขนาด 3 ตัว 2 ขีด ซึ่งถ้าเป็นกุ้งที่ไม่มีไข่ก็นำไปขายตามปกติ
      ถึงวันนี้ธนาคารกุ้งปล่อยแม่กุ้งไข่ไปแล้ว 220 ตัว แต่ละตัวอุ้มไข่ 3 หมื่นฟอง ก็คาดหวังว่าจะปลอดภัยและเพิ่มจำนวนได้
      แนวทางการพัฒนาธนาคารกุ้งในอนาคต คือ มีการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการธนาคารกุ้งและชาวบ้าน เสนอโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์เรียนรู้กุ้งก้ามกราม จากโครงการไทยนิยม หมู่บ้านละ 2 แสนบาท เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่ผู้ที่สนใจต่อไป
      ตอนนี้ชาวบ้านมองเห็นความสำคัญและประโยชน์ของธนาคารกุ้งแล้ว เรามีองค์ความรู้อยู่ กำลังถอดบทเรียนและต่อยอดให้คนที่สนใจเข้ามาดู และไปทำต่อในพื้นที่ของตนเอง โดยหมู่ที่ 6 เป็นต้นแบบ "พี่คิดว่าถ้าพี่ทำอยู่คนเดียวพี่ทำไม่ไหวหรอก คือ พี่ต้องรับผิดชอบทั้งหมดเลย อยากให้หน่วยงานทุกหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือบ่าง แต่ถามว่าทำได้ไหม เราทำได้ เพราะเรามีจิตอาสาที่จะอยู่” พี่จู กล่าวทิ้งท้าย อย่างมีความหวัง

    2. ทริป “พาหัวใจไปล่อง ’เลสาบสงขลา ชมโลมาอิระวดี ที่เกาะใหญ่ กระแสสินธุ์”

     

    10 10

    6. สนับสนุนการลงพื้นที่เพื่อสื่อสารงานสร้างเสริมสุขภาวะ ประเด็นการจัดการปัจจัยเสี่ยง : สุรา

    วันที่ 23 มีนาคม 2561 เวลา 18:00-20:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สัมภาษณ์เชิงลึก ถ่ายภาพนิ่ง และวิดีโอ เพื่อเก็บข้อมูลประเด็นร้านนมสร้างสุข อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • Facebook Live ผ่านเพจ “สงขลาสร้างสุข”
      • บทความ 1 เรื่อง ‘ร้านใส่นม หาดใหญ่’ จุดรวมพลของคนใส่ใจสุขภาพร่วมขบวนโซนนิ่งสถานศึกษาปลอดเหล้า สงขลา "ร้านใส่นม หาดใหญ่" ร้านนมน่ารักๆ ที่ตั้งอยู่ไม่ห่างจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และวิทยาลัยเทคโนโลยีอุดมศึกษาพณิชยการ ร่วมขบวน “ร้านนมสร้างสุขเขตโซนนิ่งรอบสถานศึกษาปลอดเหล้า จังหวัดสงขลา” มุ่งสร้างเทรนด์รักสุขภาพ ห่างไกลแอลกอฮอล์-อบายมุข น้องเมย์ - นางสาวชาริณีย์ ขันทอง ผู้จัดการร้านใส่นม สาขาหาดใหญ่ เล่าถึงแนวคิดของ "ร้านใส่นม หาดใหญ่" ว่าต้องการชูโดดเด่นเรื่อง “จุดรวมพลของคนใส่ใจสุขภาพ” เพราะฉะนั้น ทางร้านจึงมีความใส่ใจทุกๆ เรื่องไม่ว่าจะเป็นเมนูอาหาร ที่มีความแปลกใหม่น่าลิ้มลองกว่าร้านนมทั่วไป ด้านการบริการที่จะมีการพูดคุยกับลูกค้าทุกโต๊ะเพื่อให้ประทับใจ
        สำหรับ ที่มาที่ไปของร้าน ด้วยความที่เป็นคนชอบดื่มนมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และชอบนั่งร้านนมที่ต่างๆ และมีโอกาสได้ไปชิม “ร้านใส่นม” ที่จังหวัดนนทบุรี มีความประทับใจมาก ชอบแนวคิดของร้านที่ตรงกับความตั้งใจส่วนตัวเรื่องการดูแลสุขภาพ อีกทั้ง ได้ทราบว่ามีเฟรนไซน์ด้วย จึงสนใจมาเปิดที่อำเภอหาดใหญ่โดยร่วมทุนกับพี่สาวเปิดร้านนี้ขึ้นมา
        เมนูของร้านใส่นมมีความหลากหลายและแปลกใหม่กว่าร้านนมทั่วไป เพราะไม่ได้จำกัดเฉพาะเครื่องดื่มนมเท่านั้น แต่ปรับประยุกต์เพื่อดึงดูดลูกค้าได้หลากหลายกลุ่มวัย ไม่ว่าจะเป็นเมนูเครื่องดื่มซิกเนเจอร์ ทั้งโคตรช๊อค โคตรสตรอ มะม่วงสมูธตี้ ของทานเล่น เช่น ปังสติก ลาวาขยา ปังทูน่า
        หรือจะลิ้มลอง “เมนูอุ่นใจ” ที่รวมความอร่อยไว้ในจานเดียว ทั้งนมสดร้อน ปังปิ้ง ปังอบไอน้ำ สติ๊กสังขยา ปังทูน่า เครื่องเคียงเป็นโกโก้ครันซ์และคอนเฟล๊กซ์ ความพิเศษของเมนูอุ่นใจ คือ ทานได้ครบและหลากหลาย คู่กับสังขยาสูตรเฉพาะของทางร้านที่ทำใหม่ทุกวัน หอมอร่อยมากๆ
        “เมนูปากเกร็ด” เป็นอีกเมนูซิกเนเจอร์ที่โดนใจวัยรุ่นยุคใหม่ ที่นิยม “บิงซู” เย็นๆ หวานมัน แต่ที่ร้านใส่นมได้ปรับให้เข้ากับความรักสุขภาพโดยใช้นมสดแท้ๆ เพิ่มความอร่อยด้วยท๊อปปิ้งหลากหลาย ทั้งสตรอเบอรี โกโก้ ชาเขียว ฯลฯ
        “ที่สำคัญ คือ ทุกเมนูทางร้านใช้นมสดแท้ร้อยเปอร์เซนต์ไม่ผสมน้ำเลย จึงมีความเข้มข้นและรับคุณประโยชน์เต็มๆ” น้องเมย์การันตีคุณภาพ กลุ่มลูกค้าของทางร้านจะมีทุกเพศทุกวัยทั้งเด็กเล็กจนถึงผู้สูงวัย โดยส่วนใหญ่จะมาเป็นครอบครัว รวมทั้ง กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงานด้วย สามารถดึงดูดคนทุกเพศทุกวัยตามแนวคิดของร้าน “จุดรวมพลคนใส่ใจสุขภาพ”

        เข้าร่วมขบวนโซนนิ่งสถานศึกษาปลอดเหล้า สงขลา “ร้านใส่นม หาดใหญ่” เป็นหนึ่งในร้านนมที่เข้าร่วมโครงการ“ร้านนมสร้างสุขสนุกได้ มันส์ได้ ไร้แอลกอฮอล์” ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) เครือข่ายมหาวิทยาลัยงดเหล้า และภาคีเครือข่าย เพื่อรณรงค์ให้คนไทยดื่มนมมากขึ้น และส่งเสริมให้เขตโซนนิ่งรอบสถานศึกษา ร่วมกับปรับเปลี่ยนพื้นที่เสี่ยง ให้เป็นพื้นที่กิจกรรมสร้างสรรค์ น้องเมย์ เล่าถึงการเข้าร่วมโครงการว่า สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) จังหวัดสงขลา ได้เข้ามาติดต่อและพูดคุยแนวคิดตรงกันกับเจตนารมย์ของทางร้านอยู่แล้ว จึงยินดีเข้าร่วมโครงการและตั้งใจจะทำให้เกิดผลไปในทางที่ดี ให้ร้านเป็นพื้นที่สร้างสรรค์และเป็นจุดรวมพลคนรักสุขภาพจริงๆ ทางร้านจึงได้รับการประกาศเกียรติคุณว่าเป็น “ร้านนมสร้างสุข” และได้จัดกิจกรรม "ดื่มนม ชิลดนตรี อะคูสติก Before Valentines" เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา โดยได้จัดกิจกรรมรับลงทะเบียนลูกค้า 100 ท่านแรก ได้รับบัตรทานนมฟรี 30 บาท มีคอนเสิร์ตอะคูสติก การเล่นเกมต่างๆ กระแสตอบรับจากลูกค้าดีมาก

     

    10 10

    7. สนับสนุนการลงพื้นที่เพื่อสื่อสารงานสร้างเสริมสุขภาวะ ประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน

    วันที่ 25 มีนาคม 2561 เวลา 08:00-20:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สัมภาษณ์เชิงลึก ถ่ายภาพนิ่ง และวิดีโอ เพื่อเก็บข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่ บ้านใบตาลอายุ 100 ปี  ชุมชนรำแดง และยอดหัวเขาแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • Facebook Live ผ่านเพจ “สงขลาสร้างสุข”
    • บทความ 2 เรื่อง
    1. เยือนเรือนร้อยปี ‘เรินใบตาล’ แห่งชุมชน  รำแดง  ยลสถาปัตยกรรม ลุ่มน้ำ  ’เลสาบสงขลา เยือนเรือนร้อยปี ‘เรินใบตาล’ แห่งชุมชนรำแดง ยลสถาปัตยกรรมลุ่มน้ำ ’เลสาบสงขลา “เรินใบตาล” ทำหน้าที่คุ้มกันแดดฝนแก่คนตระกูล “บุญรัตน์” ถึง 4 ชั่วอายุคน ยาวนานกว่า 100 ปีแล้ว ถือเป็นต้นแบบการอนุรักษ์เรือนพื้นถิ่นตามวิถี “โหนด นา ไผ่ คน” ของ ต.รำแดง อ.สิงหนคร จ.สงขลา ด้วยการออกแบบที่โดดเด่น รวมทั้ง สร้างขึ้นด้วยทรัพยากรท้องถิ่นสำคัญของคาบสมุทรสทิงพระ คือ ต้นตาลโตนดทั้งต้นทั้งใบ ผสมผสานกับไม้ไผ่และใบจาก

      เดิมเรินใบตาลตั้งอยู่กลางหมู่บ้านรำแดง จนมาถึงรุ่นปู่ก็มีการย้ายบ้านด้วยวิธีการ “ออกปาก” เพื่อนบ้านให้มาช่วยกันแบกหามเสาบ้าน เป็นการยกบ้านหลังเดิมทั้งหลังมาตั้งบนที่ดินปัจจุบันตามวัฒนธรรมของ “คนแต่แรก” ด้วยเป็นบ้านโบราณที่ยังคงสภาพสมบูรณ์อย่างมาก ดึงความสนใจจากทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โดย ดร.จเร สุวรรณชาต ซึ่งได้เข้ามาทำงานวิจัยในพื้นที่หลายๆ ชิ้น ซึ่งชิ้นที่โดดเด่นที่สุด คืองานวิจัย “บ้านลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา” เพื่อต่อยอดไปยังการวิจัยวิถีความเป็นอยู่ของชาวรำแดงดั้งเดิมที่ใช้ภูมิปัญญาในการดำเนินชีวิต จนได้รูปแบบเรินใบตาลที่สวยงามและสอดคล้องกับวิถีชีวิตคนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เป็นแหล่งเรียนรู้แก่คนรุ่นหลัง “อุบล บุญรัตน์” และ “จวง บุญรัตน์” สองพี่น้องลูกหลานรุ่นที่ 4 ใช้ชีวิตอยู่ในเรินใบตาลในปัจจุบัน โดยมี “จบ บุญรัตน์” อาศัยอยู่ฝั่งตรงข้ามกัน เจ้าของบ้านทั้งสามให้การต้อนรับแขกผู้มาเรือนด้วยมิตรไมตรี และบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ อย่างน่าสนใจ
      อุบล บุญรัตน์ หรือ ป้าต้อย เล่าว่า ของชาวรำแดงต้องมีใต้ถุนสูงไม่ต่ำกว่า 1 เมตร เพราะว่าชุมชนอยู่ติดคลองสทิงหม้อเชื่อมกับทะเลสาบสงขลาพอหน้าฝนน้ำจะท่วม การมีใต้ถุนสูงจะช่วยให้บ้านไม่จมน้ำและยังใช้ประโยชน์ในการทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะใต้ถุนบ้านมีอากาศเย็นสบาย
      สำหรับฝาผนังของบ้านตามแบบภูมิปัญญาเดิมทำตับจากโดยใช้ไม้ไผ่กว้าง 1 ข้อ เป็นแกนกลาง แล้วนำใบโหนดมาสานให้เป็นตับ ความกว้างประมาณ 1 เมตร ต่อมาเมื่อมีการทำงานวิจัยก็เกิดนวัตกรรมฝาผนังใบตาลที่สามารถถอดประกอบได้ และมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าแบบภูมิปัญญาเดิม ถือเป็นการใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนลุ่มน้ำทะเลสาบประยุกต์เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ
      ทางด้าน “จบ บุญรัตน์” ลุงวัย 72 ปี เล่าว่า องค์ประกอบสำคัญของเรือนพื้นถิ่นลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาแต่แรก คือ 1) แม่เริน 2) ระเบียง และ 3) นอกชาน โดยส่วนของหลังคาใช้เบื้องดินเผา ซึ่งแต่เดิมที่เป็นโบราณจริงๆ จะใช้หลังคามุงจาก แต่มาช่วง10-20 ปีให้หลังนี้เปลี่ยนเป็นกระเบื้องดินเผาเพราะมีความเเข็งแรงทนทานกว่า
      ไม้โตนดมีความแข็งแรงมาก โดยอายุไม้ที่เหมาะสมนำมาสร้างบ้าน คือ ไม้แก่ อายุ 20 ปี อายุการใช้งานจริง สามารถอยู่ได้เป็นร้อยปีเลยโดยไม่ให้โดนน้ำ "เขาว่าไม้โหนดคนปลูกไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ปลูก" ไม้โตนดปลวกไม่กิน เพราะเมื่อนำไม้แก่ไปแช่น้ำโคลนตมก็จะทำให้น้ำหวานในไม้ออกไปด้วย ปลวกหรือสัตว์อื่นๆ ก็ไม่เข้าไปกินไม้
      เป็นภูมิปัญญาการยืดอายุการใช้งานของคนสมัยก่อน
      “คนแต่แรกกว่าจะสร้างบ้านสักหลังใช้เวลานานถึงสามปี เพราะต้องเก็บรวบรวมไม้ไว้ทำ แล้วอุปกรณ์ที่ทำก็เป็นขวาน เป็นพร้า ไม่มีเลื่อย และไม่ใช้ตะปู แต่จะเจาะรูใส่เดือยจึงแข็งแรงกว่า” ลุงจบ กล่าว สำหรับ ใต้ทุนตรงส่วนนั่งเล่นเป็นพื้นดินธรรมชาติแบบโบราณ ที่หาไม่ได้อีกแล้วในปัจจุบัน พื้นที่แน่นมีความเย็นในเนื้ออย่างยิ่ง โดยเฉพาะช่วงปลายหน้าฝนจะมีความชุ่มชื่นของน้ำ แล้วยิ่งเดินไปทุกวันๆ พื้นยิ่งแวว เหมือนกระเบื้องขัดมัน แถมยังช่วยนวดเท้าได้อีกด้วย
      รวมทั้งไม้คานต่างๆ ล้วนทำขึ้นจากไม้โหนดโดยทำกับมือล้วนๆ มีตะไคร่น้ำหรือไลเคนเกาะอยู่ บ่งบอกถึงการใช้งาน และความร่มเย็นเป็นสุข อีกทั้ง แคร่ไม้ไผ่สีสุกที่วางไว้พักผ่อนที่ใต้ถุนหรือรับแขกก็แวววันเป็นมัน
      ของแปลกอีกอย่างของเรินใบตาล คือ โอ่งมากมายที่วางเรียงรายอยู่ เป็นโอ่งหินที่รองรับน้ำฝนมากว่าสิบปี น้ำฝนใสกริบ เย็น สดชื่น โดยไม่ต้องพึ่งตู้เย็นเลย ส่วนของรั้วบ้านที่นี่ไม่ใช่อิฐหินดินปูนแต่เป็นกอไม้ไผ่สีสุกหรือไผ่บ้านกอใหญ่
      เดินถัดไปยังสวนหลังบ้านก็จะพบกับต้นโหนดอายุ 30 ปีเรียงรายสุดลูกหูลูกตา ร่มรืนและเย็นสบาย และยังหลงเหลือต้นโหนดโบราณสมัยลุงจบยังขึ้นตาลสมัยหนุ่มๆ แถมยังมีต้นมะม่วงคันอายุร้อยกว่าปีขนาดสามคนโอบ ซึ่งมะม่วงคันนี้ เป็นผลไม้ท้องถิ่นสำคัญและหายากมากในปัจจุบัน ความพิเศษของมะม่วงคัน คือ เมื่อแก่ผลสีเขียว เปรี้ยวมาก เมือสุกแล้ว ผลสีเหลือง หวานปานน้ำผึ้งเดือนห้าเลย และกลิ่นหอมมาก

      นับเป็นความสวยงามที่ลงตัวระหว่างภูมิปัญญาดั้งเดิมผสมผสานกับความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่ “ชุบชีวิต” เรือนพื้นถิ่นภาคใต้ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ให้กลับมามีคุณค่าอีกครั้ง และยังเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญแก่คนรุ่นหลังสืบต่อไป

    2. พิชิตยอดหัวเขาแดง แลเจดีย์องค์ดำองค์ขาว พิชิตยอดหัวเขาแดง แลเจดีย์องค์ดำองค์ขาว
      จุดเชื่อมผสานสามวัฒนธรรม พุทธ จีน มุสลิม
      ทันทีที่ ”เรา” ทีมงาน “สงขลาสร้างสุข” ทั้ง 9 ชีวิตขึ้นมาถึงบริเวณยอดบนสุดของ “หัวเขาแดง” ความเหน็ดเหนื่อยจากการเดินเท้าร่วมชั่วโมงก็มลายหายไป ยอดของเจดีย์องค์ขาวตั้งตระหง่านท่ามกลางแดดบ่าย คือ ภาพแรกที่ดึงดูดสายตาทุกคู่เมื่อก้าวพ้นแนวป่า ปลายเจดีย์แหลมพุ่งพลังท้าทายฟ้าครามกระจ่าง สายลมหอมสดชื่นจากท้องทะเลเบื้องล่างช่วยปัดเป่าความร้อนลุ่มให้เย็นสบาย
      เราเลือกใช้เส้นทางขึ้นเขาจากฝั่งท่าเรือขนานยนต์ โดยมีบันไดสั้นๆ แค่ช่วงแรก จนเมื่อผ่านจุดพักตรงป้อม 8 ก็เข้าสู่เส้นทางเดินธรรมชาติ พื้นดินของหัวเขาแดงเป็น “หินสีแดง” ผสมไปกับซากป้อมและโบราณสถาน มองจากไกลๆ จะเห็นภูเขาเป็นสีแดง สองข้างทางมีต้นไม้นานาชนิดปกคลุมทำให้การเดินไม่ร้อนจนเกินไป ส่วนที่เรียกว่า “หัวเขา” เป็นคำเรียกของคนภาคใต้เรียกภูเขาที่มีลักษณะยื่นไปในทะเลหรือแผ่นดิน ซึ่งลักษณะเดียวกับที่คำภาคกลางเรียกว่า “แหลม” ซึ่งจังหวัดสงขลามีทั้ง “หัวเขาแดง” และ “หัวเขาเขียว” ซึ่งยื่นลงไปในทะเลเหมือนกัน
      ระยะทางราว 2 กิโลเมตรกับการเดินเกือบ 1 ชั่วโมง ก็ถึงยอดหัวเขาแดงที่ตั้งของโบราณสถานสำคัญคู่บ้านคู่เมืองสงขลา “เจดีย์สองพี่น้อง” หรือ “เจดีย์องค์ดำองค์ขาว”
      นายเจริญพงศ์  พรหมศร นักวิจัยผู้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์สิงหนคร กล่าวว่า บนยอดหัวเขาแดงมีเจดีย์ 2 องค์ องค์แรกเป็น “เจดีย์องค์พี่” ลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม ก่อด้วยหินฉาบปูน ยอดปรักหักพังมีสีดำ คนทั่วไปเรียกว่า “เจดีย์องค์ดำ” สร้างเมื่อ พ.ศ.2375 โดยเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ ส่วนเจดีย์องค์ที่สองเป็น “เจดีย์องค์น้อง” มีลักษณะเดียวกันคนทั่วไปเรียกว่า “เจดีย์องค์ขาว” สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2382-2484 โดยพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัด บุนนาค) หรือ สมเด็จเจ้าพระยามหาพิชัยญาติ ผู้เป็นพี่น้องร่วมมารดากับเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) ชาวบ้านจึงเรียกว่า “เจดีย์สองพี่น้อง” ทัศนียภาพจากยอดเขาแดงสามารถมองได้ไกลสุดลูกหูลูกตาทั้ง 360 องศา  เห็นท้องทะเล เกาะหนู เกาะแมว หาดสมิหลา หัวพญานาค ทำให้เข้าใจถึงคำว่า “ชัยภูมิ” สำหรับสังเกตการณ์ข้าศึกในอดีตได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นคำตอบของการก่อสร้างป้อมปืนจากยอดเขาไปจนจรดชายฝั่งทะเลทั้ง 3 ด้าน (คือ ทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก โดยทางทิศใต้มีเขาค่ายม่วงเป็นปราการธรรมชาติอยู่แล้ว) ป้อมปืนที่หลงเหลือในปัจจุบันมีทั้งหมด 14 ป้อม

    เชื่อมผสานวัฒนธรรมพุทธ จีน มุสลิม
    สำหรับโบราณสำคัญอีกอย่างที่ตั้งอยู่ระหว่างเจดีย์องค์ดำองค์ขาว เป็นศาลาเก๋งจีนรูปทรงที่ไม่คุ้นตานัก คือ มีหน้าต่างช่องมองเป็นวงกลมตามศิลปกรรมแบบจีน จึงสามารถมองเห็น 360 องศา ใช้สำหรับบัญชาการสงครามได้อย่างดี คาดว่าก่อสร้างขึ้นในยุคสมัยพระเจ้าตากสิน โดยเมืองสงขลามีเจ้านายฝ่ายจีนเป็นผู้ปกครอง
    “เจดีย์สององค์และศาลาเก๋งจีนนี้ตั้งบนป้อมปราการผืนใหญ่ซึ่งสร้างในสมัยสุลต่าน ตวนกู สุลัยมาน ชาห์ ผู้ปกครองเมืองสงขลาชาวมุสลิม ต้นตระกูล ณ พัทลุง แค่ขึ้นมาที่ยอดหัวเขาแดงที่นี่ที่เดียว ก็ได้เห็นสัญลักษณ์ของทั้งพุทธ จีน มุสลิม ครบอยู่ในพื้นที่เล็กๆ แห่งนี้”
    นี่คือเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับบริบทของพื้นที่และวัฒนธรรมของหลากหลายเชื้อชาติศาสนาที่อาศัยในบริเวณนี้มาแต่อดีต ด้วยความเจริญรุ่งเรืองของอดีตเมืองท่า นี่คือ “เส้นทางสายไหมทางทะเล” เรือสินค้าจากจีนไปยุโรปต้องผ่านทางนี้ แล้วในทะเลสาบสงขลาก็ยังมีรังนกซึ่งเป็นสิ่งล้ำค่า เพราะฉะนั้น คนที่คุมเส้นทางการค้านี้จึงต้อง “ไม่ธรรมดา” อย่างยิ่ง
    เกาะหนู เกาะแมว และสิงหนคร ภูมิประเทศที่เหมือนสัตว์หมอบ หมุดหมายสำคัญของนักเดินเรือ นี่ไม่ใช่คำกล่าวที่เกินความจริงเลย ความพยายามผลักดันให้สงขลาเป็นมรดกโลก ทั้งสงขลา เกาะยอ สทิงพระ มีหลักฐานที่ขุดพบมากว่า 1,000 ปี ล้วนประกาศความยิ่งใหญ่ด้วยตัวเองอยู่แล้ว ไม่ว่าจะได้รับการรับรองจากองค์กรยูเนสโก้หรือไม่ แต่สำหรับคนสงขลา ที่นี่คือ “มรดกโลก” ที่เต็มไปด้วยความภูมิใจและร่วมรักษาสืบต่อไป


     

    10 10

    8. ประชุมสร้างความเข้าใจคณะทำงาน/เครือข่ายครั้งที่ 3

    วันที่ 5 เมษายน 2561 เวลา 17:00-19:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมกลุ่มย่อย ระดมสมอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปประชุม
    - คณะทำงานประชุมร่วมกับคุณวรพล แซมมณี ซึ่งเป็นประชาชนที่สนใจนำเสนอเรื่องการทวงคืนฟุตบาทในเขตหาดใหญ่ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ และเป็นส่วนหนึ่งของอุบัติเหตุในเขตเมือง โดยทางโครงการฯ หวังว่าจะนำสื่อสารเรื่องดังกล่าวเป็นประเด็นที่หวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับปฏิบัติและนโยบาย - ในช่วงกลางเดือนนี้ จะเป็นเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งภาครัฐประกาศเป็นช่วงเจ็ดวันอันตรายเฝ้าระวังอุบัติเหตุ ซึ่งมักเชื่อมโยงกับพฤติกรรมการดื่มเหล้าแล้วขับรถ ดังนั้นจึงจะสื่อสารในประเด็นดังกล่าวร่วมกับองค์กรงดเหล้าจังหวัดสงขลาเพื่อสร้างความตระหนักแก่ประชาชนในช่วงเทศกาลดังกล่าว - ขอให้คุณมารียาวางแผนการพบปะสื่อมวลชนเพื่อนำเสนอประเด็นข่าวที่น่าสนใจ และเชิญชวนสื่อต่างๆ ร่วมนำเสนอข้อมูลร่วมกันมากขึ้น

     

    10 7

    9. สนับสนุนการลงพื้นที่เพื่อสื่อสารงานสร้างเสริมสุขภาวะ ประเด็นสุขภาวะ

    วันที่ 21 เมษายน 2561 เวลา 09:00-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวทีเสวนาข้าวปลูกกับคนปลูกข้าวบ้านเรา  เทศกาลข้าวใหม่บ้านเรา ครั้งที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • Facebook Live ผ่านเพจ “สงขลาสร้างสุข”

     

    10 10

    10. ประชุมสร้างความเข้าใจคณะทำงานโครงการและเครือข่ายครั้งที่ 4

    วันที่ 14 มิถุนายน 2561 เวลา 18:00 : 21.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมกลุ่มย่อย ระดมสมอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดแผนการสื่อสารงานในพื้นที่ทำงาน สรุปประชุม - การประชุมครั้งนี้ ได้เชิญตัวแทนจากสมาคมเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เข้าร่วมประชุมด้วยเพื่อหารือแนวทางการเผยแพร่ในประเด็นการท่องเที่ยวชุมชนและพัฒนาสุขภาวะชุมชนในชุมชนจังหวัดสงขลา มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ การขับเคลื่อนประเด็นความเสี่ยงต่อสุขภาวะ ทั้งเหล้า บุหรี่ และอุบัติเหตุในจังหวัดสงขลาพื้นที่ต่างๆ

     

    10 7

    11. ประชุมสร้างความเข้าใจคณะทำงานโครงการและเครือข่ายครั้งที่ 5

    วันที่ 18 มิถุนายน 2561 เวลา 09:00:21:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมกลุ่มย่อย ระดมสมอง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดแผนการสื่อสารงานของ ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา สรุปประชุม         การประชุมครั้งนี้ ได้เชิญเครือข่ายทำงานมาร่วมประชุมเพื่อวางแผนการลงพื้นที่ ต.หัวเขา อ.สิงหนคร จ.สงขลา ในวันที่ 24 มิถุนายน 2561 โดยหลักๆ เป็นการวางกระบวนการลงเก็บข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่ โดยเฉพาะประเด็นการท่องเที่ยวชุมชน และประเด็นสุขภาวะชุมชน

     

    10 10

    12. สนับสนุนการลงพื้นที่เพื่อสื่อสารงานสร้างเสริมสุขภาวะ ประเด็นการท่องเที่ยวโดยชุมชน และสุขภาวะชุมชน

    วันที่ 24 มิถุนายน 2561 เวลา 07:00:19:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สัมภาษณ์เชิงลึก ถ่ายภาพนิ่ง เพื่อเก็บข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวชุมชนเจ้านคร ต.หัวเขา อ.สิงหนคร  จ.สงขลา รวมทั้ง สัมภาษณ์ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ข้อมูลสำหรับวางแผนสื่อสารสาธารณะประเด็นสุขภาวะชุมชน โดยเฉพาะประเด็นผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ เพื่อขยายผลไปสู่กาสรจัดการขยะโดยชุมชน เพื่อเป็นพื้นฐานการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนต่อไป

     

    10 20

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. สนับสนุนการผลิตสื่อและจัดรายการเพื่อการสื่อสารสาธารณะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย 2. ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพและรูปแบบการสื่อสารกับประเด็นขับเคลื่อนสุขภาวะทางสังคม 3.กำหนดแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการสื่อสาร กับการขับเคลื่อนสังคม
    ตัวชี้วัด : 1. อธิบายกระบวนการสื่อสารและเนื้อหาในการสื่อสารสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างไร 2. ได้รูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมกับประเด็นที่ขับเคลื่อนในพื้นที่ 3. มีแนวปฏิบัติเรื่องจริยธรรมของนักสื่อสารชุมชน

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. สนับสนุนการผลิตสื่อและจัดรายการเพื่อการสื่อสารสาธารณะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย 2. ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพและรูปแบบการสื่อสารกับประเด็นขับเคลื่อนสุขภาวะทางสังคม 3.กำหนดแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการสื่อสาร กับการขับเคลื่อนสังคม

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.สงขลา จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( คุณนิพนธ์ รัตนาคม )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด