สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564 เขต 1

4.1.6 ประชุมทีมพี่เลี้ยงเพื่อสรุปการติดตามพัฒนาศักยภาพกองทุนต้นแบบ18 มิถุนายน 2565
18
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย เพชรรุ่งเขต1
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วัตถุประสงค์ 1) เพื่อสรุปการติดตามผลการดำเนินงานพื้นที่ต้นแบบ 2) เพื่อสรุปการดำเนินงานโครงการในพื้นที่ เขต1 เวลา กิจกรรม 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 - 10.20 น. สรุปการดำเนินงานโครงการ และทวนสอบข้อมูลในโปรแกรมของแต่ละพื้นที่ โดย นายสุวิทย์ สมบัติ 10.20 – 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม 10.30 – 12.00 น. ตรวจสอบการบันทึกข้อมูลแผนงานและโครงการในแผนการดำเนินงานโครงการฯ การติดตามในแต่ละพื้นที่ สูงเม่น ร้องกวาง อำเภอเมืองพะเยาและเวียงสา
โดย นางสาวเพชรรุ่ง เชาวกรวัชร์ 12.00  - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 – 14.30 น. แลกเปลี่ยนรูปแบบการติดตาม ผลการติดตามในแต่ละพื้นที่ สูงเม่น ร้องกวางอำเภอเมืองพะเยาและเวียงสา และสรุปผลการติดตามพื้นที่กองทุน ข้อเสนอ
โดย พี่เลี้ยงเขตและจังหวัด 13.00 – 14.30 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม 14.30 – 16. 00 น. สรุปผลและปิดการประชุม โดย คุณสุวิทย์ สมบัติ และนางสาวเพชรรุ่ง เชาวกรวัชร์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยงส่วนกลาง พี่เลี้ยงจังหวัดและพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ เข้าร่วมประชุมครบทุกพื้นที่ กระบวนการดำเนินงาน 1พัฒนากลไกคณะทำงาน ภาคประชาสังคม สธ. สปสช. อปท. และกขป.
2.พัฒนาความร่วมมือกลไกคณะทำงานระดับเขตและพื้นที่ เพื่ออกแบบการทำงานและการกำหนดเป้าหมายของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เชื่อมโยงกับการสร้างเสริมสุขภาพในระดับอำเภอ 3.พัฒนาขีดความสามารถการจัดทำแผน และ คุณภาพของแผนการสร้างเสริมกิจกรรมทางกายของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น สร้างความเข้าใจในกระบวนการจัดทำแผน โครงการ การปฏิบัติตามแผน และ การติดตาม ประเมินผล 4.หนุนเสริมการขัดทำแผน/โครงการ และการติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ ขั้นตอนการดำเนินงาน 1.ทีมวิชาการ พัฒนาคู่มือ เครื่องมือ เพื่อใช้ในการทำแผน การพัฒนาโครงการ การติดตามประเมินผล ประเด็นการสร้างเสริมกิจกรรมทางกาย 2.การประชุมร่วมกับแต่ละพชอ. เพื่อบูรณาการทำงานร่วมกัน 3.การพัฒนากลไกพี่เลี้ยงระดับเขตและพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ เพื่อไปพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบกองทุน กรรมการกองทุน ผู้เสนอ/รับทุนโครงการ 4.การพัฒนาแผนสุขภาพแต่ละกองทุน โดยการช่วยเหลือของพี่เลี้ยง 5.การพัฒนาโครงการตามแผนการสร้างเสริมกิจกรรมทางกาย โดยการช่วยเหลือของพี่เลี้ยง 6.การติดตาม ประเมินผล หลังโครงการได้รับการสนับสนุน เพื่อการจัดทำรายงานผลโครงการ การประเมินผล และการถอดบทเรียนกระบวนการทำแผน จะได้รับรู้ข้อมูลสถานการณ์แต่ละปัญหา และ เป้าหมายของการแก้ปัญหา ทั้งระดับ เขต จังหวัด อำเภอ ตำบล เกิดแผนสุขภาพในประเด็นกิจกรรมทางกายภาพรวมของอำเภอ โดยเป็นแผนที่เกิดจากแผนของกองทุนต่างๆในอำเภอ โครงการที่กองทุนสนับสนุนมีคุณภาพมากขึ้น สามารถแก้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ได้เป็นรูปธรรมมากขึ้น สามารถสังเคราะห์ผลและคุณค่าและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากแผนและการดำเนินโครงการสามารถเป็นศูนย์เรียนรู้และขยายผลได้