โครงการยกระดับการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ปี 2564 เขต 1
การประชุมทีมพี่เลี้ยงระดับจังหวัดและพื้นที่
วันที่ 28 มกราคม 2565 เวลา 09.00-16.00 น.
ณ ห้องประชุมสมาคมภาคีพัฒนาจังหวัดแพร่ ตำบลป่าแมต อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ และ
ประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Zoom meeting
……………………………………………………………
เวลา 09.00 – 09.15 น. ลงทะเบียน/เตรียมระบบ
เวลา 09.15- 11.00 น. ชี้แจงการดำเนินงานโครงการยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายในระดับพื้นที่ ติดตามความก้าวหน้าการบันทึกแผนงานโครงการ เกณฑ์การประเมินผล
โดย นายสุวิทย์ สมบัติ
เวลา 11.00 -11.15 น. แจ้งเรื่องกองทุน กปท. ทุกแห่งในการเปิดใช้โปรแกรมใหม่
โดย นางสาวมนัสชนก ณ มงคล
เวลา 11.15 – 12.00 น. แจ้งเรื่องผลการประชุมจากทีมกลาง /
การทดลองใช้แบบการประเมินตนเองด้านกิจกรรมทางกาย และสุขภาวะประกอบด้วยการประเมิน 3 ส่วน ดังนี้
1) การประเมินด้านกิจกรรมทางกาย (Physical Activity; PA)
2) การประเมินพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Behavior; SB)
3) การประเมินพฤติกรรมหน้าจอ (Screen Time; ST)
โดย นางสาวเพชรรุ่ง เชาวกรวัชร์
เวลา 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 – 15.30 น. - ทวนสอบการบันทึกแผนงานโครงการออนไลน์ของพื้นที่
- กำหนดพื้นที่การติดตามกองทุนของพี่เลี้ยง (แห่งละ 3-4 กองทุนต่อคน)
- จัดทำแผนปฏิบัติการการติดตาม หนุนเสริมพื้นที่ใน 2 ระดับคือ
1. พื้นที่เดิม 2 แห่ง คือ อำเภอสูงเม่น จ.แพร่ และอ.เวียงสา จ.น่าน (จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนนำ)
2. พื้นที่ 2 แห่ง คือ อ.เมือง พะเยา และอ.ร้องกวาง (จัดทำแผนการติดตามในพื้นที่)
โดยนางสาวเพชรรุ่ง เชาวกรวัชร์ และ ทีมพี่เลี้ยง
เวลา 15.30 – 16.00 น. สรุป/แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
โดยนายสุวิทย์ สมบัติ,นางสาวเพชรรุ่ง เชาวกรวัชร์และ ทีมพี่เลี้ยง
หมายเหตุ: 10.30 น. และ 14.30 น. รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
เวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
ทีมพี่เลี้ยงเข้าประชุมครอบคลุม 100% คือ
ทีมประสานงานประชุม onsite 4 คน
ทีมพี่เลี้ยงระดับเขตเขต ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ จำนวน 15 คน
มีแผนปฏิบัติการการจัดกิจกรรมใน 2 ระดับ คือ
1. พื้นที่เดิม 2 แห่ง คือ อ.สูงเม่น จ.แพร่ และอ.เวียงสา จ.น่าน จำนวน 29 กองทุน (จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนนำ)
2. พื้นที่ 2 แห่ง คือ อ.เมือง จ.พะเยา และอ.ร้องกวาง จ.แพร่ จำนวน 24 กองทุน (จัดทำแผนการติดตามในพื้นที่)
มอบหมายพี่เลี้ยงจังหวัดและพื้นที่จำนวน 14 คนๆละ 3-4 กองทุน(53 กองทุน)
จากการตรวจสอบการบันทึกข้อมูลออนไลน์ พบ การบันทึกสถานการณ์ และการบันทึกโครงการยังงไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ บันทึกเพียง 24/53 กองทุน
เกณฑ์การตรวจสอบพื้นที่เรียนรู้หรือพื้นที่ต้นแบบประกอบด้วย กรบันมทึกสถานการณ์ ครอบคลุมทั้ง 8 สถานการณ์ การกำหนดเป้าหมายสอดคล้องกับปัญหาของพื้นที่ โครงการที่ควรดำเนินการสอดคล้องกับเป้าหมายที่เป็นปัญหาของพื้นที่ และมีการพัฒนาโครงกาารอย่างน้อย พื้นที่ละ 1 โครงการ
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานมีความรู้ความเข้าใจและสามารถถ่ายทอดการบันทึกหรือจัดทำแผงานโครงการกิจกรรมทางกายได้