PSU UNDP

directions_run

(UNPD) ปฏิบัติการณ์ความมั่นคงทางอาหาร อบต.ยะรัง ต.ยะรัง จ.นราธิวาส

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (UNPD) ปฏิบัติการณ์ความมั่นคงทางอาหาร อบต.ยะรัง ต.ยะรัง จ.นราธิวาส
ภายใต้โครงการ (UNDP)โครงการพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องถิ่น ฯ
ภายใต้องค์กร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
รหัสโครงการ 00127817
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 31 ธันวาคม 2564
แหล่งทุน
ไม่ระบุ
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลยะรัง อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอิมรอน หะยีสามะ 080-1381286
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ 1. ดร.เพ็ญ สุขมาก 2. นางสาววรรณา สุวรรณชาตรี
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.762263,101.322086place
stars
2. พื้นที่เป้าหมาย
จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
นราธิวาส place directions
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ระบบอาหาร ประกอบด้วย ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย ซึ่งสามารถอธิบายความหมายดังต่อไปนี้ ความมั่นคงทางอาหาร หมายถึง คนทุกคนมีความสามารถในการเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการได้ตลอดเวลา (พรรณภัทร ปลั่งศรีเจริญสุข, 2560) อาหารปลอดภัย คือ อาหารที่ครัวเรือนผลิตได้หรือซื้อมาจากภายนอกจะต้องปลอดสารพิษ ย่าฆ่าแมลง และสารปนเปื้อน ทั้งที่อยู่ในรูปของเชื้อโรค และสารเคมีที่เป็นพิษต่าง ๆ รวมทั้งสามารถถนอมอาหารไว้บริโภคไว้ในเมื่อยามจำเป็น (อภิญญา ตันทวีวงศ์, 2556) โภชนาการสมวัย หมายถึง อาหารที่เข้าสู่ร่างกายมนุษย์แล้วร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเจริญเติบโต การค้ำจุน และซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ดังนั้น การได้รับประทานอาหารที่เพียงพอและถูกสัดส่วน จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับมนุษย์ เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง (สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2557)
      องค์การบริหารส่วนตำบลยะรังมีพื้นที่ความรับผิดชอบทั้งหมด 6.46 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 6 หมู่ มีประชากรทั้งหมด 6,560 คน แบ่งเป็นเพศชาย 3,298 คน เพศหญิง 3,262 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร รองลงมาอาชีพรับจ้าง จากอาชีพหลักของประชากรในพื้นที่ตำบลยะรัง จะเห็นได้ว่า วิถีชีวิตแบบชาวเกษตรกร ยังเป็นวิถีชีวิตหลักของคนในพื้นที่ ซึ่งสามารถต่อยอดกระบวนปลูก การผลิต รวมถึงการจัดจำหน่ายที่มีคุณภาพ แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และการประกอบอาชีพประจำวันของชาวเกษตรกรในพื้นที่ ในด้านการส่งออกผลผลิตทางการเกษตร การใช้วัตถุดิบทางการเกษตร เช่น ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช อาหารสัตรสำเร็จรูปแบบอัดเม็ดซึ่งมีส่วนผสมของยาหรือสารเคมีอื่นๆ       จากสถานการณ์ภาวะโภชนาการ ในเด็กอายุ 0-12 ปี ในพื้นที่ตำบลยะรัง มีจำนวนเด็กประมาณ 1,585 คน ซึ่งมีภาวะสูงดีสมส่วน 713 คน คิดเป็นร้อยละ 44.98 (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยะรัง,2564) ซึ่งจะเห็นได้ว่ายังมีเด็กที่ขาดภาวะโภชนาการที่สมส่วนอีกมากมาย ทั้งนี้จึงจำเป็นที่จะดำเนินการจัดกระบวนการเกี่ยวกับเรื่องอาหาร ที่ต้นน้ำ (การปลูกพืชผักที่ปลอดภัย การเลี้ยงสัตว์ ไร้สารเคมี ยาฆ่าแมลง ฯลฯ ) กลางน้ำ (การนำพืชผัก ไปปรุงให้ครบหลักโภชนาการ 5 หมู่) ปลายน้ำ (การเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ) จึงจะเกิดการจัดการระบบอหารที่ครอบคลุม ทั้ง ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย
      องค์การบริหารส่วนตำบลยะรัง จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ตำบลยะรัง ในเรื่องของระบบอาหาร ประกอบด้วย ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัยและโภชนาการสมวัย จึงได้จัดโครงการส่งเสริมศักยภาพชุมชนในการขับเคลื่อนระบบอาหารตำบลยะรัง ขึ้น

stars
6. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
7. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ตำบลยะรัง

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมแหล่งอาหารประเภทปศุสัตว์เลี้ยงไก่ไข่ เป็ดไข่

 

0.00
3 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนในการขับเคลื่อนงานระบบอาหารในพื้นที่ตำบลยะรัง

 

0.00
4 เพื่อส่งเสริมการขับเคลื่อนระบบอาหารในพื้นที่ ประกอบด้วย ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย

 

0.00
stars
8. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
9. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 40 80,000.00 2 60,900.00
1 ก.ค. 64 - 31 ธ.ค. 64 กิจกรรมส่งเสริมศักยภาพระบบอาหารปลอดภัย 20 19,100.00 -
1 ก.ค. 64 - 31 ธ.ค. 64 กิจกรรมส่งเสริมศักยภาพชุมชน ครัวเรือนต้นแบบในการจัดการระบบอาหาร 0 60,900.00 60,900.00
1 - 31 ธ.ค. 64 กิจกรรมถอดบทเรียน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 20 0.00 0.00

 

stars
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดการส่งเสริมอาชีพกลุ่มเกษตรกร ปศุสัตว์ ประชาชนผู้ว่างงานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
  2. เกิดแผนงานการขับเคลื่อนระบบอาหาร ที่ประกอบด้วย ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย ทีได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่ตำบลยะรัง
  3. ชุมชนมีพื้นที่ผลิตอาหารทั้งการเกษตร ปศุสัตว์ ที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้คนในชุมชนสามารถเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ มีอาหารที่บริโภคตลอด แม้อยู่ในภาวะวิกฤต
  4. โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีการจัดการเรื่องอาหารกลางวันโดยมีการเชื่อมโยงกับแหล่งผลิตอาหารที่ปลอดภัยถูกหลักโภชนาการ
stars
11. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2564 12:32 น.