PSU UNDP

directions_run

การผลิตอาหารปลอดภัยสู่การสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขจัดความหิวโหย อบต.แว้ง อ.แว้ง จ.นราธิวาส

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การผลิตอาหารปลอดภัยสู่การสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อขจัดความหิวโหย อบต.แว้ง อ.แว้ง จ.นราธิวาส
ภายใต้โครงการ (UNDP)โครงการพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องถิ่น ฯ
ภายใต้องค์กร สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 31 ธันวาคม 2564
แหล่งทุน
ไม่ระบุ
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลแว้ง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาซีหย๊ะ ไทรทอง โทร 081-0923200
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ 1.ดร.เพ็ญ สุขมาก 2. นางสาววรรณา สุวรรณชาตรี
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. พื้นที่เป้าหมาย
จังหวัดอำเภอตำบลชื่องานในพื้นที่ลักษณะพื้นที่
นราธิวาส place directions
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทรัพยากรมนุษย์ เป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญเมื่อเทียบกับทรัพยากรด้านอื่นๆ เห็นได้จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันมุ่งเน้นในการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลาง และการพัฒนาคนที่ดีควรเริ่มจากวัยเด็ก เพราะเด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ จะต้องมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง มีการศึกษาที่ดีอย่างพอเหมาะ ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพด้านอาหารปลอดภัย มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะผู้ปกครองต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลเรื่องอาหาร เพราะเป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับเด็ก มีเวลาอยู่กับเด็กมากกว่าใครๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติต่อเด็กในการรับประทานอาหารที่ถูกหลักอนามัยมีคุณประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่
องค์การบริหารส่วนตำบลแว้งมีหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะซีด ร้อยละ 22.95 , เด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะผอม ร้อยละ 6.28 , เด็กอายุ 0-5 ที่มีภาวะเตี้ย ร้อยละ 6.90 , เด็ก 6-14 ปีที่มีภาวะนำหนักเกิน ภาวะอ้วน ร้อยละ 3.67 , ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 2 ศูนย์ใช้โปรแกรม Manu Thai School Lunch , เด็กและเยาวชนที่อยู่ในวัยการเรียนรู้ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 1,130 คน ซึ่งศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา) มีนักเรียน 980 คน เด็กไม่มีอาหารเที่ยงรับประทาน เนื่องจากไม่มีงบประมาณสนับสนุน การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการทำเกษตรเพื่อให้มีแหล่งอาหารที่ปลอดภัยสำหรับใช้ประกอบอาหารกลางวันในโรงเรียนตาดีกาและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ส่งเสริมโดยการฝึกเด็กให้ปลูกผักกินเองและมีแหล่งอาหารที่ปลอดภัย หากเด็กในช่วงวัยแห่งการเจริญเติบโตบริโภคอาหารไม่เหมาะสมจะส่งผลทำให้พัฒนาการหยุดชะงักได้
จากปัญหาดังกล่าวทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลแว้งได้ทำโครงการดังกล่าวขึ้นโดยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและมีแหล่งอาหารสำหรับคนในชุมชนอีกทั้งสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับกลุ่มที่สนใจได้อีกทางด้วย

stars
6. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
7. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) นำร่อง 3 ศูนย์ ทำเกษตรเพื่อให้มีแหล่งอาหารที่ปลอดภัยสำหรับใช้ประกอบอาหารกลางวันสำหรับเด็กในโรงเรียนตาดีกา

ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) นำร่อง 3 ศูนย์และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 ศูนย์ มีการทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน และมีผลผลิตเข้าสู่ครัว

0.00
2 เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทั้ง 2 ศูนย์ มีการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำเกษตร เพิ่มพื้นที่อาหารปลอดภัยใน ศพด.และส่งเสริมโดยการฝึกเด็กให้ปลูกผักกินเอง และมีแหล่งอาหารที่ปลอดภัย

เด็กในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) นำร่อง 3 ศูนย์และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 ศูนย์ได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณภาพอีกทั้งรู้จักกินผักและมีวินัยในการช่วยการดูแลต้นไม้

0.00
3 เพื่อให้โรงเรียนชาวนาเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยและมีการกระจายผลผลิตสู่โรงเรียน ร้านอาหาร ตลาดในชุมชน และยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านอาหารปลอดภัยในชุมชน ให้กับกลุ่มที่สนใจ

โรงเรียนชาวนามีอาหารปลอดภัยสำหรับคนครอบครัว ชุมชนและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับกลุ่มที่สนใจ

0.00
stars
8. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
9. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 52 75,200.00 2 0.00
29 มิ.ย. 64 - 9 ก.ค. 64 กิจกรรมอาหารปลอดภัย 40 66,200.00 0.00
15 ก.ค. 64 - 27 ส.ค. 64 ติดตามโครงการและถอดบทเรียนพร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงาน 12 9,000.00 0.00
17 มิ.ย. 64 ประชุมชี้แจงโครงการและคัดเลือกคณะทำงาน 40 4,800.00 0.00
40 4,800.00 1 0.00
  1. ดำเนินการจัดการประชุมชี้แจงโครงการ กิจกรรมอาหารปลอดภัย สอบถามความต้องการที่จะทำกิจกรรม ของกลุ่มเป้าหมายแต่และกลุ่ม จากนั้นคัดเลือกคณะทำงาน และคณะติดตามกิจกรรมผลการดำเนินงาน
  2. ลงพื้นที่กลุ่มเป้าหมายทั้ง 5 กลุ่ม เพื่อสำรวจ สถานที่ ความพร้อม ที่จะดำเนินกิจกรรมอาหารปลอดภัย
  3. ดำเนินการจัดซื้อ และแจกจ่าย พันธุ์ไก่ไข่ พันธุ์เป็ดไข่ พันธุ์ปลาดุก อาหารไก่ อาหารเป็ด อาหารปลาดุก เมล็ดพันธุ์ผัก ก้อนเห็ด รวมถึงอุปกรณ์อื่นๆที่ใช้ในการเพาะปลูก ให้แก่กลุ่มเป้าหมายทั้ง 5 กลุ่ม
  4. ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมอาหารปลอดภัยทั้ง 5 กลุ่มเป้าหมาย
stars
10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) นำร่อง 3 ศูนย์ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 ศูนย์ มีการทำเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน และมีผลผลิตเข้าสู่ครัว
  2. เด็กในศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) นำร่อง 3 ศูนย์ และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2 ศูนย์ได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณภาพอีกทั้งรู้จักกินผักและมีวินัยในการช่วยการดูแลต้นไม้
  3. โรงเรียนชาวนามีอาหารปลอดภัยสำหรับคนครอบครัว ชุมชนและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับกลุ่มที่สนใจ
stars
11. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2564 12:28 น.