(UNPD) โครงการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ชื่อโครงการ | (UNPD) โครงการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา |
ภายใต้โครงการ | (UNDP)โครงการพัฒนาแผนป้องกันและฟื้นฟูหลังวิกฤตระดับท้องถิ่น ฯ |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 มิถุนายน 2564 - 31 ธันวาคม 2564 |
แหล่งทุน |
ไม่ระบุ
|
งบประมาณ | 80,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหร |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
จังหวัด | อำเภอ | ตำบล | ชื่องานในพื้นที่ | ลักษณะพื้นที่ | |
---|---|---|---|---|---|
ยะลา | place directions |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้นจำนวน 68 ราย และมีคำสั่งปิดหมู่บ้านจากผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาจำนวน 4 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่ที่ 1,3,4 และหมู่ที่ 8 ตำบลบ้านแหร อำเภอธารโต จังหวัดยะลา ส่งผลให้มีผู้ได้รับผลกระทบจำนวน 1,026 ครัวเรือน เพศหญิง 1,865 และเพศชาย 1,854 รวมทั้งสิ้น 3,648 ราย จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบ ไม่สามารถที่จะประกอบอาชีพได้และมีความจำเป็นต้องพึ่งพิงอาหารจากแหล่งอื่นๆนอกพื้นที่ หากสถานการณ์การระบาดยังไม่คลี่คลายจะส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาอย่างมากมาย เช่น ปัญหาการว่างงานในกลุ่มเยาวชน ปัญหาด้านอาหารที่ไม่เพียงพอ ปลอดภัย เป็นต้น
จากข้อมูลที่สำรวจในพื้นที่โดยองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแหร พบว่ามีจำนวนประชากรในพื้นที่ที่มีอายุ 19-40 ปี จำนวน 2,649 คน และอย่างน้อยร้อยละ 12 คิดเป็นจำนวนโดยเฉลี่ย 300 คน ไม่มีรายได้ที่เพียงพอและมั่นคง ประกอบกับในพื้นที่ตำบลบ้านแหร ประชาชน ร้านค้าในพื้นที่ มีการนำเข้าวัตถุดิบ อาหาร จากแหล่งอื่นที่ไม่ได้มาจากชุมชน ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มเยาวชน ผู้ว่างงานมีรายได้ที่เพียงพอ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงระบบตลาดที่มีอยู่ในพื้นที่ให้มีศักยภาพในการกระจายวัตถุดิบที่เป็นอาหารผลิตโดยคนในชุมชนเองและซื้อในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดทั่วไป จะทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้บริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์ปลอดภัยและเพียงพอต่อความต้องการของชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 39 | 80,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 ก.ค. 64 | กลุ่มยุวเกษตรเลี้ยงปลาดุกเพื่อการพัฒนา | 10 | 40,000.00 | - | ||
19 ก.ค. 64 | เครือข่ายประมงปลาน้ำจืดเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต | 12 | 20,000.00 | - | ||
19 ก.ค. 64 | เครือข่ายเกษตรกรปลูกอ้อยเพื่อการส่งเสริมอาชีพ | 12 | 15,000.00 | - | ||
19 ก.ค. 64 | กิจกรรมประชุมเตรียมงานและประเมินผลโครงการ | 5 | 5,000.00 | - |
1 ประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านแหร ร้อยละ 50 ได้บริโภคอาหารที่ดี ปลอดภัย มีโภชนาการ ส่งผลให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น 2 เกิดแหล่งผลิตวัตถุดิบอาหารปลอดภัยทางการเกษตรในพื้นที่ โดยมีการปลูกอ้อย การเลี้ยงปลาดุก การเลี้ยงปลาจีน เพื่อการบริโภคและจำหน่ายในพื้นที่ตำบลบ้านแหรและพื้นที่ใกล้เคียง, 3 กลุ่มเยาวชน ผู้ว่างงานในพื้นที่ตำบลบ้านแหร อย่างน้อยร้อยละ 10 มีรายได้ที่เพียงพอและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2564 12:26 น.