สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.ชุมพร ”

ตำบลละแมอำเภอละแมจังหวัดชุมพร

หัวหน้าโครงการ
1.คุณศาสนะกลับดี

ชื่อโครงการ เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.ชุมพร

ที่อยู่ ตำบลละแมอำเภอละแมจังหวัดชุมพร จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง สชต.นศ.004

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ตุลาคม 2561


กิตติกรรมประกาศ

"เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.ชุมพร จังหวัดชุมพร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลละแมอำเภอละแมจังหวัดชุมพร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.ชุมพร



บทคัดย่อ

โครงการ " เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.ชุมพร " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลละแมอำเภอละแมจังหวัดชุมพร รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มกราคม 2561 - 31 ตุลาคม 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. สนับสนุนการผลิตสื่อและจัดรายการเพื่อการสื่อสารสาธารณะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย 2. ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพและรูปแบบการสื่อสารกับประเด็นขับเคลื่อนสุขภาวะทางสังคม 3.กำหนดแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการสื่อสาร กับการขับเคลื่อนสังคม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. Face Book Live ตอน 1 ปี ตลาดใต้เคี่ยม(ท่องเที่ยวโดยชุมชนตลาดใต้เคี่ยม)

    วันที่ 7 มกราคม 2561 เวลา 12:00-13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้ร่วมเสวนา Face  Book  Live  ตอน 1 ปี ตลาดใต้เคี่ยม 2.กำหนดวันเวลา เนื้อหา ที่จะใช้ในเวทีเสวนา 3.เป็นเวทีเสวนาสาธารณะ เรื่อง 1 ปี ตลาดใต้เคี่ยม พร้อมทั้งสัมภาษณ์ พูดคุย กับชาวบ้านที่นำสินค้าในพื้นที่นำมาขายไม่ว่าจะเป็นสินค้าทางการเกษตร สมุนไพร อาหารทะเลสด ๆ ผัก-ผลไม้ปลอดสารพิษ อาหารพื้นเมือง ขนมพื้นบ้านที่หาทานได้ยาก เครื่องดื่ม รวมไปถึงสินค้าแฮนด์เมดหลากหลายแบบ  มาวางจำหน่ายภายในตลาดใต้เคี่ยม ผ่านทางเพจ "ต้นน้ำพลเมืองเปลี่ยนทิศ"

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แรงบันดาลใจที่เริ่มต้นการเกิดตลาดใต้เคี่ยมคือ ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 หลาดใต้เคี่ยมก่อกำเนิดขึ้นมาจากแนวคิดของคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า “กลุ่มตามรอยพ่อเพื่อพอเพียง” ที่มีทั้งเกษตรกรและข้าราชการ(เกษียณอายุ) ที่มีการพบปะนัดหมายกันแบบสภากาแฟ จิบกาแฟ กินขนม พูดคุยกันในยามเช้าตรู่ตามวิถีคนใต้สภากาแฟของคนกลุ่มนี้นอกจากจะพูดคุยกันในเรื่องต่างๆที่หลากหลายแล้ว ยังมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ภูมิปัญญา โดยแต่ละคนต่างได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้ตามความเข้าใจของตัวเอง
    การพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในสภากาแฟของชาวบ้านกลุ่มนี้ไม่ได้สูญเปล่า หากแต่ทางกลุ่มได้มีการนำเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์จากการพูดคุยมาต่อยอดจัดให้มีโครงการ “ตามรอยพ่อ เพื่อพอเพียง”ขึ้น โดยมีการสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปเยี่ยมบ้านสมาชิก เพื่อไปดูผลผลิตจากการปฏิบัติจริงของแต่ละท้องที่ โดยมีเงื่อนไขว่าเจ้าของบ้านให้บริการเพียงน้ำกับสถานที่ ส่วนอาหารการกินสมาชิกแต่ละคนจะนำไปเอง ส่วนใครที่มีต้นไม้หรือของฝากเล็กๆน้อยๆก็จะนำติดมือไปฝากด้วย กลุ่มตามรอยพ่อ เพื่อพอเพียง ได้ทำโครงการนี้จนกลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไป ก่อนที่ทางภาคส่วนราชการในอำเภอละแมจะได้เข้ามาร่วมสบทบเป็นสมาชิกกลุ่มอีกทางหนึ่ง โดยได้เข้ามาร่วมส่งเสริมและปลูกฝังให้ชาวบ้านน้อมนำศาสตร์พระราชา โดยเฉพาะในด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิตจริง จึงจัดให้มีโครงการและมีกิจกรรมต่างๆขึ้น เพื่อเป็นส่วนในการขับเคลื่อน
    ผลจากโครงการดังกล่าวสามารถทำให้เกิดผลเป็นที่ประจักษ์ ทำให้มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น ขณะที่การเดินตามรอยพ่ออย่างพอเพียง นอกจากจะแก้ปัญหาความยากจนได้แล้ว ยังทำให้ผลผลิตของชาวบ้านของชุมชนนั้นเหลือเกินบริโภค ทางกลุ่มจึงหาวิธีจัดจำหน่ายผลผลิตของชาวบ้านชาวชุมชนเพื่อเป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้กับสมาชิก นั่นจึงทำให้เกิดตลาดนัดชุมชนขอคนพอเพียงขึ้นในชื่อว่า“หลาดใต้เคี่ยม”

     

    1,000 1,000

    2. ร่วมเวทีเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ 2561 ห้องย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโซนอันดามัน

    วันที่ 19 มกราคม 2561 เวลา 09:00 - 16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เวทีประชุมนำเสนอสถานการณ์การดำเนินงานท่องเที่ยวโดยชุมชน โซนอันดามัน ร่วมแลกเปลี่ยน  ความคิดเห็นปัญหาอุปสรรคและแนวทางในอนาคต
    2.รับชมการถ่ายทอดสดเวทีสาธารณะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้ข้อมูลการท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่ผ่านการวิเคราะห์กลั่นกรอง  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ได้ 2.เนื้อหาการสื่อสารที่มีความชัดเจนและเห็นถึงบริบทของผู้ทำการขับเคลื่อนประเด็น 3.เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นที่พูดคุย

     

    5 5

    3. เวทีพัฒนาศักยภาพสื่อโซเชียลมีเดีย

    วันที่ 24 มกราคม 2561 เวลา 09:00-17:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.แลกเปลี่ยนทัศนะการใช้สมารท์โฟนและความคาดหวัง 2.เรียนรู้ทักษะอุปกรณ์สมารท์โฟนและการแก้ปัญหาเบื้องต้นของตัวเครื่อง 3.เรียนรู้แอพพลิเคชั่นที่สำคัญ 4.เรียนรู้ทักษะการถ่ายภาพนิ่ง 5.เรียนรู้การถ่ายภาพวีดีโอแบบตัดต่อและไม่ต้องตัดต่อ 6.ทบทวนการเรียนรู้พร้อมทั้งเสนอและแสดงความคิดเห็นต่อผลงาน 7.เรียนรู้ทักษะการเขียนข่าวและการโพสโดยใช้ภาพนิ่งประกอบ 8.เรียนรู้การสร้างเพจในเฟสบุ๊ค 9.เรียนรู้การถ่ายทอดสด,Line,Twitter และ You Tube 10.ให้ผู้เข้าร่วมประชุมผลิตชิ้นงาน  ภาพนิ่ง+การเขียน,วีดีโอ เพื่อโพสในโซเชียล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ทักษะการใช้อุปกรณ์สมารท์โฟนสามารถเรียนรู้ได้ครอบคลมและนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การแก้ปัญหาอุปกรณ์ไม่เสถียร รวมถึงการช่วยเหลือคนใกล้ตัวและคนในครอบครัวได้ 2.ทักษะการใช้ช่องทางสื่อโซเชียลและการเข้าถึงข้อมูลสามารถเรียนรู้ได้ครอบคลุมนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และการเข้าถึงข้อมูลเพิ่มไปยังกลุ่มเครือข่ายได้ 3.ทักษะการเขียนข่าวประกอบภาพนิ่งสามารถเรียนรู้ได้ครึ่งนึงของผู้เข้าร่วมสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ใช้ในเครือข่ายประชาสัมพันธ์ นอกจากนั้นมีการฝึกฝนผ่านทางไลน์หลังจากจบเวทีพัฒนาศักยภาพสื่อโซเชียลมีเดีย 4.ทักษะการถ่าย VDO ตัดต่อทำสกู๊ปสั้น สามารถเรียนรู้ได้ 1 ใน 4 ของผู้เข้าร่วม  และสามารถนำไปใช้ในเครือข่ายชุมชนเกษตรกรผลิตอาหารปลอดภัยรวมถึงขยายความรู้ในกลุ่มเครือข่ายของตนเอง

     

    15 23

    4. จัดทำสื่อสื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่น “ฐานชุมพร”และจัดทำสื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ปะทิวนิวส์

    วันที่ 31 มกราคม 2561

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประสานงานกับบุคคลในพื้นที่ ที่จะลงไปทำข่าว 2.เข้าเยี่ยมชมสถานที่ 3.สัมภาษณ์พร้อมทั้งถ่ายภาพ 4.เขียนบทความเพื่อตีพิมพ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ตีพิมพ์ หนังสือพิมพ์ในสำนักพิมพ์ ฐานชุมพรและออนไลน์ ปะทิวนิวส์

    รายได้งาม! เกษตรกรชาวชุมพร ปลูกเมล่อนข้างบ้าน ทำเงินเดือนละกว่า 5 หมื่น ชุมพร - เกษตรกรชุมพรจบแค่ ป.4 ส่งลูกชายเรียนจบวิศวกรรมสถาบันดัง 3 คน ไม่สนใจปาล์มน้ำมัน ยางพารา หันมาปลูกเมล่อน พืชหมุนเวียนสร้างรายได้เดือนละกว่า 5 หมื่นบาท           ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่พบกับ นายถาวร รอดพยันต์ อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 32/4 หมู่ที่ 1 ตำบลสะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร เกษตรกรผู้มีความคิดไม่หยุดอยู่กับที่ประสบความสำเร็จในอาชีพเกษตรกรสมกับเป็นแบบอย่างในการประกอบอาชีพยุคใหม่กับคนทั่วไป

              นายถาวรใช้พื้นที่ทั้งหมดเพียงน้อยนิดจำนวน 400 ตารางวา จัดสรรเป็นบ้านพักอาศัย 200 ตารางวา ส่วนที่เหลืออีก 200 ตารางวา ข้างบ้านได้ปรับสภาพเป็นโรงเรือนเกษตรขนาด 6x15 เมตร จำนวน 3 หลัง โครงสร้างทำด้วยเหล็กมุงด้วยพลาสติกสีขาวกันแสงยูวี ปลูกพืชตระกูลแตงที่เรียกว่า “เมล่อน” สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวเป็นกอบเป็นกำเดือนละประมาณ 50,000 บาท เป็นอาชีพที่อยู่กับบ้านอยู่กับครอบครัวคอยดูแลโรงเรือนเมล่อนข้างบ้านเป็นประจำทุกวัน

            นายถาวร เล่าว่า อดีตที่ผ่านมาประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านบริเวณอ่าวสะพลี อำเภอปะทิว จ.ชุมพร เป็นเรือประมงชายฝั่งขนาดเล็กออกทำการประมงคนเดียวโดยไม่มีลูกน้อง ตกเบ็ด วางอวนจับปลาเลี้ยงครอบครัวไปวันๆ รายได้จากการประมงในช่วงนั้นสามารถส่งลูกชาย 3 คน เรียนหนังสือจนจบปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ทั้ง 3 คน ปัจจุบันลูกๆ ทำงานเป็นวิศวกรอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ส่วนตนจบการศึกษาเพียงชั้น ป.4 หลังจากที่ส่งลูกๆ เรียนจบและทำงานเป็นหลักแหล่งกันหมดแล้ว ตนจึงคิดว่าน่าจะหยุดอาชีพประมงได้แล้วเพราะสภาพร่างกายไม่อำนวย ส่วนภรรยามีอาชีพเป็นแม่ครัวอยู่ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในตัวเมืองชุมพร

            นายถาวร กล่าวต่อว่า จากนั้นได้หันมาคิดทำการเกษตรข้างบ้านด้วยพื้นที่ซึ่งมีเพียงน้อยนิดจะสร้างสวนยางพาราหรือสวนปาล์มก็คงไม่พอปลูก เพราะต้องใช้พื้นที่เยอะ ประกอบกับราคาผลผลิตไม่แน่นอน จึงศึกษาหาความรู้ทางด้านการเกษตรก่อนจะทำจริงจัง ประกอบกับลูกชายได้นำความรู้ใหม่ๆ ด้านการเกษตรยุคใหม่มาให้ศึกษา จึงคิดทดลองปลูกเมล่อนดู เนื่องจากในจังหวัดไม่มีใครปลูกจะได้ไม่เหมือนใคร

            ขณะนั้นตนยังไม่คิดถึงรายได้และการตลาด แค่ทดลองปลูกเพื่ออยากรู้อยากลองเท่านั้น พร้อมกับศึกษาเรียนรู้หาข้อมูลจากทางอินเทอร์เน็ต ทำให้ทดลองปลูกลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ จนสามารถค้นพบวิธีการที่ดีที่สุดของการปลูกเมล่อนให้ได้ผลดี จนขยายพื้นที่ข้างที่เหลืออยู่ 200 ตาราวา บ้านสร้างเป็นโรงเรือนปลูกเมล่อนจำนวน 3 หลัง จนประสบความสำเร็จ

            ส่วนลูกชายได้ช่วยเรื่องการเปิดตลาดทางสื่อออนไลน์เฟซบุ๊กใช้ชื่อเพจชื่อว่า Green Field ทำให้ผู้คนรู้จักมากมายและติดต่อซื้อขายทางเพจบ้างและมารับซื้อเองที่บ้านบ้าง สั่งจองคิวกันยาวเหยียด จนปัจจุบันผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ถือเป็นอาชีพที่ไม่ต้องดิ้นรนอยู่กับบ้านดูแลแปลงเมล่อนให้รับน้ำอย่างเพียงพอ คอยป้องกันแมลงไม่เข้าไปในแปลง เพราะตนไม่มีใช้สารเคมีในการกำจัดแมลง เป็นแปลงเกษตรอินทรีย์ 100%

            นายถาวร บอกว่า ปัจจุบันตนมีรายได้เดือนละกว่า 50,000 บาท จากการทำเกษตรข้างบ้านดังกล่าวและยังใช้เวลาว่างในการทำเกษตรข้างบ้านอีกหลายอย่าง เช่น เลี้ยงหอยขม ปลูกผักสวนครัวหลากหลายชนิด ปลูกกระเจี๊ยบเพื่อส่งให้กับร้านค้าในชุมชน และขายให้พี่ชายซึ่งผลิตน้ำกระเจี๊ยบจำหน่าย และยังมีการทดลองปลูกพืชใหม่อีกหลายชนิดเพื่อใช้หมุนเวียนออกสู่ตลาดอีกด้วย

     

    100 0

    5. Face Book Live ตอน เปิดเมือง กินฟรี ล่องแพ พะโต๊ะ

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 17:00:18:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประสานงานกับหน่วยงานและผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 2.ดำเนินรายการในพื้นที่ ผ่านช่องทาง เพจเฟสบุ๊ค "ต้นน้ำพลเมืองเปลี่ยนทิศ" และ ผ่านช่องทาง เพจเฟสบุ๊ค สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 3.เผยแพร่ประเด็นผ่านการดำเนินรายการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต 1.การเผยแพร่ผ่านโซเชียลมีเดีย และการใช้เทคโนโลยี เชื่อมสัญญาณการออกอากาศเป็นเครือข่ายสื่อวิทยุของภาคใต้

    ผลลัพธ์
    1.เกิดองค์ความรู้จากประเด็นปัญหาในแต่ละพื้นที่  โดยใช้การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ คือ องค์ความรู้จากชุมชนท่องเที่ยว 2.การเกิดความร่วมมือ ในการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาในการดำเนินการด้านท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีการยกระดับ มาตรฐาน สู่การท่องเที่ยวโดยชุมชน ที่มีเป้าหมายสู่สังคมสุขภาวะ โดยเป็นผลจากการรับรู้ข้อมูล เป็นแรงกระตุ้นจากการสื่อสารสาธารณะ

     

    1,500 1,044

    6. Face Book Live ตอน เวทีสนับสนุนการดำเนินการพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น พื้นที่จังหวัดชุมพร

    วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 11:30:12:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประสานงานกับหน่วยงานและผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 2.ดำเนินรายการในพื้นที่ ผ่านช่องทาง เพจเฟสบุ๊ค "ต้นน้ำพลเมืองเปลี่ยนทิศ"
    3.เผยแพร่ประเด็นผ่านการดำเนินรายการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาในระดับท้องถิ่น 2.เกิดความรู้ ความเข้าใจในกลไกของกองทุนท้องถิ่นหลักประกันสุขภาพมากขึ้น 3.สามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาเพื่อยกระดับในท้องถิ่นและให้เกิดเป็นรูปธรรมที่แท้จริง 

     

    60 60

    7. Face Book Live ตอน เวทีสนับสนุนวิชาการโครงการพัฒนาศักยภาพเพื่อนำไปพัฒนาชุมชนจังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 09:00:15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวทีเสวนาพูดคุยโดยมีผู้เข้าร่วมคือ ผู้นำชุมชน ตัวแทน อบต.ตัวแทนสภาผู้นำชุมชน กลุ่มเกษตรกร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. การสื่อสารโดยผ่านช่่องทางเฟสบุ๊คไลฟ์และบันทึกภาพ วีดิโอ สำหรับการสื่อสารย้อนหลังผ่านช่องทางอื่นๆ
    2. แลกเปลี่ยนทางความคิดและทัศนคติเกี่ยวกับการสร้างชุมชนน่าอยู่ควรจะเป็นอย่างไร
    3. เนื้อหาโดยสรุปคือการสร้างความรักและความสามัคคีให้เกิดในชุมชนก่อน แล้วการจะทำกิจกรรมอื่นๆก็จะสามารถประสบความสำเร็จได้ การมีภาพมุมมองต่อชุมชนที่เห็นร่วมกันว่าจะทำเรื่องอะไรก่อนเรื่องอะไรหลัง
    4. การที่มีตัวแทนจากท้องถิ่นในวงเสวนาทำให้เกิดการแลกเปลี่ยน และการมองเห็นการจัดการร่วมระหว่างชุมชนกับท้องถิ่นภายใต้ข้อจำกัดของแต่ละฝ่าย
    5. เกิดการตื่นรู้จากการสื่อสารในรูปแบบใหม่ของชุมชน ประชาชนทั่วไปมีโอกาสในการรับรู้ความเคลื่อนไหวของชุมชนได้ง่ายขึ้นและมีความสะดวกมากขึ้น เพราะส่วนใหญ่จะมีโทรศัพท์สมาร์ทโฟน

     

    60 100

    8. Face Book Live ตอน ขับเคลื่อนแผนแม่บทสมุนไพรในเขตปฏิรูปที่ดิน

    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 10:00-11:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ....

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลผลิต ผลลัพธ์

     

    50 70

    9. จัดทำสื่อสื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่น “ฐานชุมพร”และจัดทำสื่อหนังสือพิมพ์ออนไลน์ ปะทิวนิวส์

    วันที่ 1 มีนาคม 2561 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชุมชนระดับจังหวัดชุมพรผ่านสื่อหนังสือพิมพ์หลักเมือง และฐานชุมพร และผ่านสื่อออนไลน์ปะทิวนิวส์ออนไลน์ โดยสืบค้นเรื่องราวต่าง ๆ ในชุมชนที่เป็นประโยชน์ด้านบวก และสื่อถึงสุขภาพและวิถีการดำเนินชีวิตที่สามารถเป็นแบบอย่างให้กับชุมชนสังคม เพื่อสื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารอันเป็นประโยชน์อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีผลงานผ่านสื่อหนังสือพิมพ์จำนวน 2 ฉบับ คือ หนังสือพิมพ์หลักเมือง และหนังสือพิมพ์ฐานชุมพร ,ผ่านสื่อออนไลน์ ปะทิวนิวส์ออนไลน์ และ ไทยรัฐออนไลน์ 2.เกิดเรื่องราวที่หลากหลายจากชุมชน โดยที่กิจกรรมต่าง ๆ ที่นำเสนอผ่านสื่อต่าง ๆ เมื่อผู้บริโภคสื่อได้รับรู้และเห็นทำให้เกิดแนวทางการใช้ชีวิต และเห็นคุณค่าของสิ่งที่ดีงามที่เกิดขึ้นในชุมชน และส่งผลต่อสุขภาพและการดำเนินชีวิตทางอ้อม และเกิดแบบอย่างที่ดีต่อชุมชนสังคม 3.ประชาชนในจังหวัดชุมพรได้รับข้อมูลข่าวสารของจังหวัดชุมพรผ่านสื่อหนังสือพิมพ์หลักเมือง และหนังสือพิมพ์ฐานชุมพร เดือนละ 1 ครั้ง  ,ผ่านสื่อออนไลน์ อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือตามโอกาสที่มีเรื่องราวที่สามารถนำเสนอได้อาจมากกว่าเดือนละ 1 ครั้ง

     

    1,000 1,000

    10. Face Book Live งานอาสาสมัครสาธารณะสุขประจำหมู่บ้านแห่งชาติอำเภอสวี

    วันที่ 21 มีนาคม 2561 เวลา 09:00-16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประสานงานกับหน่วยงานและผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง 2.ดำเนินรายการในพื้นที่ ผ่านช่องทาง เพจเฟสบุ๊ค "ต้นน้ำพลเมืองเปลี่ยนทิศ"
    3.เผยแพร่ประเด็นผ่านการดำเนินรายการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้เผยแพร่และส่งเสริมสนับสนุนการทำงานของอาสาสมัครสาธารณะสุขหมู่บ้าน 2.เกิดความสามัคคีในหมู่คณะในการร่วมมือของคนในพื้นที่ 3.สร้างความสัมพันธ์กับเครือข่าย อสม. สาธารณะสุข  และ รพสต. ได้แน่นแฟ้นมากขึ้น

     

    50 500

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1. สนับสนุนการผลิตสื่อและจัดรายการเพื่อการสื่อสารสาธารณะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย 2. ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพและรูปแบบการสื่อสารกับประเด็นขับเคลื่อนสุขภาวะทางสังคม 3.กำหนดแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการสื่อสาร กับการขับเคลื่อนสังคม
    ตัวชี้วัด : 1. อธิบายกระบวนการสื่อสารและเนื้อหาในการสื่อสารสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างไร 2. ได้รูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสมกับประเด็นที่ขับเคลื่อนในพื้นที่ 3. มีแนวปฏิบัติเรื่องจริยธรรมของนักสื่อสารชุมชน

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. สนับสนุนการผลิตสื่อและจัดรายการเพื่อการสื่อสารสาธารณะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย 2. ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสื่อที่มีคุณภาพและรูปแบบการสื่อสารกับประเด็นขับเคลื่อนสุขภาวะทางสังคม 3.กำหนดแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมการสื่อสาร กับการขับเคลื่อนสังคม

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    เครือข่ายสื่อสร้างสุข จ.ชุมพร จังหวัด ชุมพร

    รหัสโครงการ

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( 1.คุณศาสนะกลับดี )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด