สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

ประเมินผลภายใน การจัดบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรม

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
Screening 1 20 เม.ย. 2564 20 เม.ย. 2564

 

การสัมภาษณ์ประเมินสถานการณ์ก่อนนำคู่มือแนวปฏิบัติฯ ลงสู่การปฏิบัติงานจริง

 

บทสัมภาษณ์ นางสาวหทัยรัตน์ ชัยดวง  เวลาสัมภาษณ์ 20-4-2564 เวลา 13:13น. ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ รพ.เทพา จ.สงขลา -ทางโรงพยาบาลมีโครงการชื่อมิติสร้างสุข หรือ มหกรรมสร้างสุข ทางโรงพยาบาลได้วางแผนจะขยายออกไปในชุมชนของชุมชน จะขยายโครงการเป็นเฟส 2 พื้นที่ปฏิบัติงานเดิม แต่จะขยายลงไปที่ รพ.สต. ที่เลือกไว้แล้ว 2 รพ.สต ได้มีการดำเนินการวางแผนไว้แล้ว แต่ติดเพราะมีโควิด-19 จึงไม่ได้เริ่มดำเนินการ  มีการจัดการไประดับหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่มีงบประมาณ ยังไม่มีงบเข้ามา เลยไม่ได้จัดการอะไร มีการจัดการแค่ประสานงาน เพราะมีโควิด-19 แบบต่อเนื่อง ส่วนตัวโครงการนั้นยังไม่ได้ทำ แค่คุยกันเฉยๆ แค่ถามว่าจะทำอะไรกัน -สรุปคือกำหนดกลุ่มเป้าหมายแล้ว แต่โครงการยังไม่ได้ทำเป็นรูปแบบของโครงการขึ้นมา การทำงานจะทำในรูปแบบลักษณะของการทำงานประจำที่ขยายเครือข่ายโดยวิธีธรรมชาติ คือให้ทีมงานที่รับผิดชอบหลักดำเนินการทีมรพ.เทพาเป็นพี่เลี้ยงสนับสนุน หมายเหตุ รอคู่มือปฏิบัติและงบประมาณ

 

Screening 3 20 เม.ย. 2564 20 เม.ย. 2564

 

การติดตามหนุนเสริมการนำแนวทางปฏิบัติการแบบพหุวัฒนธรรม สู่ระบบสุขภาพ 5 จวต. บทสัมภาษณ์ นางอุบลรัตน์ โยมเมือง วันที่สัมภาษณ์  20-4-2564 เวลา14:12น.  ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.สตูล -นางอุบลรัตน์  โยมเมือง เป็นผู้รับผิดชอบคนใหม่ที่เข้ามารับผิดชอบแทนคนเก่าที่เกษียณไป โครงการที่ทำ -มีการตักบาตรทุกวันศุกร์แรกของเดือน -มีการรองรับในเชิงพหุวัฒนธรรม มีการจัดทำ ห้องทำสมาธิ ห้องสวดมนต์ ห้องละหมาด -มีโครงการสุนัตหมู่ แต่เพราะโควิท เลยไม่ได้ทำ -ช่วงโควิท จะมีการจัดทำตู้ละศีลอดให้ มีผู้มาบริจาคอาหารละศีลอดให้ทีม -มีการเปิดรับบริจาคเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาให้เด็กในพื้นที่กันดาร ปีนี้ได้ทุนทั้งหมด ประมาณ 53 ทุน ทุนละ 500 บาท ซึ่งให้ในที่กันดารในจังหวัดสตูล  ทั้งหมด 3 โรงเรียน -มีกิจกรรมเรื่องเล่าความดีทุกวันพฤหัสบดีของทุกสัปดาห์ครบตลอดทั้งปี -รณรงค์ปลูกป่าชายเลนในจังหวัด -ช่วยกันเก็บขยะตามเกาะ -ทุกวันอังคารกับวันพฤหัสบดีของแต่ละสัปดาห์จะมีการแต่งกายตามวัฒนธรรมของจังหวัด นัดหมายการประชุมครั้งหน้า -จะมีการประชุมครั้งหน้า ในเดือนมิถุนายน-เดือนกรกฎาคม

 

กิจกรรมเดิมยังคงมีอยู่ รอคู่มือเอกสาร และขยายผลกิจกรรมระดับรพ.สต.

 

Screening 4 21 เม.ย. 2564 21 เม.ย. 2564

 

บทสัมภาษณ์ นางวรรณาพร บัวสุวรรณ วันที่สัมภาษณ์ 21-4-2564 เวลา11:39 น.ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ รพ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ถ้าได้คู่มือมา ทาง รพ.จะมีการขับเคลื่อนอย่างไร? -แนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของพหุวัฒนธรรม ของ รพ.ยะหริ่ง จะเน้นอยู่ที่งานการติดตามหนุนเสริมการนำแนวทางปฏิบัติการแบบพหุวัฒนธรรม สู่ระบบสุขภาพ 5 จวต. กลุ่มเป้าหมายคือใคร? -กลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้คือแม่และเด็ก วิธีการ? -มีการปรับการทำงานให้สอดรับกับพหุวัฒนธรรม ในกรณีถ้าเป็น ANC ที่มาฝากครรภ์ ให้ได้มีโอกาสเลือกที่จะพบหมอผู้หญิงได้ -มีการประยุกต์ของเสื้อให้นมบุตร พื้นที่ที่ดำเนินการ? -พื้นที่ดำเนินการคือ อำเภอ ยะหริ่ง เหตุที่สนใจ? -มีโอกาสได้พุดคุยกับทีมงาน รพ.สต.ให้โอกาสทางโรงพยาบาลยะหริ่งเป็นพื้นที่นำร่องในเรื่องของการทำพหุวัฒนธรรม ในประเด็นแม่และเด็กของโรงพยาบาลยะหริ่งมีอัตราการคลอดสูงเป็นอันดับที่ 3 ของจังหวัดปัตตานี การทำงาน? -ในการขับเคลื่อนที่ผ่านมา เป็นเหมือนงานประจำ เพราะมีการขับเคลื่อนตั้งแต่ปี 62,63,64 ดังนั้นการทำงานจึงแฝงอยู่ในการทำงานประจำของโรงพยาบาลไปแล้ว -การพูดคุยส่วนใหญ่จะเข้าสู่เวทีของทีมงานแม่และเด็ก อ.ยะหริ่ง

 

ประเด็นที่ดำเนินการคือ ประเด็นแม่และเด็ก การตั้งครรภ์วัยรุ่น

 

screening 2 24 เม.ย. 2564 24 เม.ย. 2564

 

การบทสัมภาษณ์ นายสุไลมาน งอปูแล  วันที่สัมภาษณ์ 24-4-2564 เวลา11:14น. ตำแหน่งนักวิชาการสธารณสุขชำนาญการ รพ.ธารโต จ.ยะลา โครงการนี้เริ่มทำเมื่อประมาณ 2-3ปีที่แล้ว ช่วงโควิทระบาดจึงได้หยุด เฟสแรกคือการสร้างการรับรู้ในพื้นที่ อาจจะต้องเจาะตรงไปเลย จะเป็นทางโซเชียลทางสื่อเป็นหลัก เน้นในกลุ่มของการแก้ปัญหาพัฒนาในพื้นที่ โดยพัฒนาในพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่ ที่มีส่วนสัมภาษณ์ โดยพัฒนาในรูปแบบของพหุวัฒนธรรม
-การดึงทุกภาคส่วน อาสาสมัคร ทั้งในศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม มาช่วยในการจัดระบบ สร้างระบบ แก้ปัญหาการพัฒนาการเด็กในพื้นที่ หลักๆคือ ผู้ที่ขับเคลื่อนในส่วนของเจ้าหน้าที่ ในภาคเครือข่าย สังคมเดินหน้า และองค์กรในพื้นที่ และตัวของแม่และเด็กที่เป็นผู้ปกครองของเด็ก -สร้างการรับรู้ร่วมกัน ให้ทั้ง2ฝ่าย มีการสนทนากันได้สนิทใกล้ชิดกันมากขึ้นมันจะเริ่มเกิดความศรัทธาสามารถที่จะสร้างความร่วมมือได้มากขึ้น ในโครงการนี้คุณสุไลมานมีหน้าที่อย่างไรบ้าง? -หน้าที่หลักคือมีหน้าที่บริหารจัดการในภาพรวม เวลาทำงานเราจะทำงานกันเป็นทีมในโรงพยาบาลก็เป็นสหวิชาชีพ แต่ว่าหลักๆเลยคือ ความสำคัญอยู่ที่ผู้บริหารโรงพยาบาลธารโต นพ.มะสุวรรณ สะเระ  เป็นคนที่มีไอเดียและเป็นผู้ริเริ่มโครงการนี้ และมาถ่ายทอดให้กับทีมงานว่าเราจะทำในเรื่องไหน ส่วนผมหลักๆคือบริหารจัดการ วางแผน ควบคุมกำกับและติดตามให้เป็นไปตามที่ได้วางไว้ กลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้คือ? -กลุ่มเป้าหมายที่เป็นผลลัพธ์ของเราคือเด็ก 0-5ปีในเรื่องของพัฒนาการ แต่กลุ่มกิจกรรมในเรื่องของกระบวนการที่เราแอคเข้าไป ในเรื่องของผู้นำศาสนา ครูอนามัยแม่และเด็ก ครูสอนศาสนาในพื้นที่และจะเป็นในส่วนของพ่อแม่ อสม. ภาคีเครือข่ายอื่นๆที่มาร่วมในการสร้างความเข้าใจร่วมกัน -เด็กนักเรียนที่จะเข้าสู่ในวัยเจริญพันธ์ ให้ได้รู้เรื่องพัฒนาการต่างๆ และได้รับรู้ในเรื่องของความสำคัญของพัฒนาการในตัวเด็ก ซึ่งจะมีผลต่ออนาคตในการเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า มีกิจกรรมให้ความสำคัญในการสร้างครอบครัวอย่างมีคุณภาพ -การตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ -ส่วนใหญ่คนในพื้นที่จะเป็นอิสลาม จะใช้หลักพื้นฐานของศาสนาอิสลามมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ในปีนี้มีแผนโครงการอะไรบ้าง -มีแผนไว้หลายอย่าง เป็นการดำเนินการในเฟส2 ถ้าเรามีการดำเนินการ การปฏิบัติได้จริง เราจะดำเนินการได้อย่างไร(เพราะติดโควิด-19 เลยหยุดดำเนินการชั่วคราว) ปลายปีที่แล้วแทบจะไม่ได้ดำเนินการอะไร -ส่วนที่ดำเนินการต่อคือการติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เราได้ให้ความรู้ไป เค้าได้ดำเนินการตามเนื้อหาที่เราได้แลกเปลี่ยน ที่ได้ถ่ายทอดไปมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะตัวครู ครูมี2สาย คือ ครูสายสามัญ ครูสอนศาสนา พื้นที่ในการขับเคลื่อน? -พื้นที่ครอบคลุมในอำเภอ ธารโต ไม่ได้เลือกพื้นที่ทั้งหมด คัดเลือกพื้นที่ที่ให้ความพร้อม และให้ความร่วมมือจริงๆ การประชุม? -ประชุมปีล่าสุด ปลายปี 63 กลุ่มเป้าหมายเข้ามาน้อย(ช่วงโควิทระบาดพอดี) -มีการติดตามแต่ไม่เข้มข้น(เพราะโควิท) -มีแค่การสอบถามจากผู้ปกครองที่เคยเข้าร่วม -แผนประชุมคราวหน้ายังไม่กำหนด -ปกติแล้วทางโรงพยาบาลจะมีการประชุมทุกเดือน ปี 62-63ก่อนมีการระบาดยังมีการดำเนินทิศทางได้อยู่ แต่พอโควิด-ๅต ระบาดจึงต้องจบขั้นตอนในการทำงาน ที่จริงเป้าหมายของผู้บริหารคืออีกเรื่องหนึ่ง คือเรื่องในพื้นที่ รพ.สต. ซึ่งจะให้ รพ.สต.เป็นโมเดล โดยดึงโมเดลใหญ่ที่เราเคยทำ เจาะลงในพื้นที่ที่เซตไว้ เป็น รพ.สต.บ้านซาไก ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.บ้านแหร อ.ธารโต จ.ยะลา อีกพื้นที่นึงคือ ต.บันนังกะแจะ
2พื้นที่นี้มีความต่าง พื้นที่หนึ่งคือ มุสลิม อีกพื้นที่หนึ่ง ไทยพุทธ เราจะมาลองดูเรื่องแอ็คชั่นที่ใช้อยู่ จะดูในส่วนของพหุวัฒนธรรม ซึ่งจริงๆเรื่องพหุวัฒนธรรม เราไม่ได้แยกเรื่องศาสนา แต่เราจะลองดูว่าในบริบทที่มันมีความแตกต่างในเรื่องของความเชื่อ แอ็คชั่นที่เราใส่ลงไปจะมีผลแตกต่างกันไหม เราก็จะพยายามเติมในส่วนที่เท่ากัน

 

หมายเหตุ รอคู่มือ รองบประมาณ ให้สถานการณ์โควิดคลี่คลาย ขยายประเด็นเดิมคือ การพัฒนาเด็กธารโต

 

Screening 5 สัมภาษณ์ถอดเทป วิเคราะห์ 5 รพ 30 เม.ย. 2564 26 เม.ย. 2564

 

การติดตามหนุนเสริมการนำแนวปฏิบัติการดูแบบพหุวัฒนธรรมสู่ระบบสุขภาพ 5 จวต.                     บทสัมภาษณ์นางนูรฮายาตี นิมาซา ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลรือเสาะ จ.นราธิวาส สัมภาษณ์เมื่อ26-4-64(13:42น.) ในปีที่แล้วมีโครงการทำอะไรบ้าง? • สำหรับโรงพยาบาลรือเสาะ จริงๆ แล้วเรามีการ ดำเนินการ เป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยอยู่แล้วเจาะจงส่วนใหญ่จะเป็นของมุสลิมเยอะกว่าไทยพุทธ เพราะว่าที่โรงพยาบาลรือเสาะจะมีชุมชนมุสลิมอยู่ 97% ไทยพุท 3% และจะมีพม่าเข้ามา ในส่วนของพหุวัฒนธรรมจะเป็นการดูแลมุสลิม ซะส่วนใหญ่ จะเป็นแนวทาง การดูแล คนไข้ที่เป็นมุสลิม คู่มือที่ใช้มาจะเป็นคู่มือที่ที่จะจัดขึ้นโดยเจ้าหน้าที่พยาบาลของเราเพื่อให้สอดคล้องตามวิถีชุมชนในชุมชนนั้นๆไม่ว่าจะเป็นจากสู้ตีห้องคลอดผู้ป่วยในจะมีแนวทางในการดูแลคนไข้เพื่อตอบสนองของชุมชนนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ภาษาการสื่อสารจะเชื่อมโยงหมดกับคู่มือ ล่าสุดที่ได้ทำโครงการการพัฒนาศักยภาพแกนนำในพื้นที่พหุวัฒนธรรมของชายแดนใต้ โรงพยาบาลรือเสาะเราได้มีการพัฒนาศักยภาพแกนนำในพื้นที่ ของพหุวัฒนธรรมโดยเรามีการอบรมแกนนำพหุวัฒนธรรม ในโรงพยาบาล ในสสอ.และก็ไปยังชุมชนทั้งหมด ในโรงพยาบาลเราจะมีคู่มือประกอบที่ทาง สจรส.ให้มา เกี่ยวกับการสัมผัสการถูกต้องผิวของเพศตรงข้าม มีเกี่ยวกับกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพชุมชนในท้องถิ่น และมีเกี่ยวกับเรื่องอาหาร มีการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งแต่ละหัวข้อ เป็นคู่มือทีสจรส.เอามาให้เราดู เพื่อดูว่าพหุวัฒนธรรมของโรงพยาบาลมีคู่มือนั้นดูแลรึเปล่าแต่บางอย่างทางโรงพยาบาลจะมีมากกว่าทางสจรส. ให้เราให้เรา  อย่างน้อย  คู่มือสามารถเป็นไกด์ให้เราได้คู่มือที่อาจารย์จัดมาสามารถปรับปรุงทางโรงพยาบาลได้มากขึ้นมาตรฐานในคู่มือ ในเรื่องเกี่ยวกับวิชาการ  ที่สอดคล้องกับบริบทในชุมชนที่สอดคล้องกับบริบทในชุมชน ถ้าได้คู่มือมาทางโรงพยาบาลจะมีการขับเคลื่อนอย่างไร? • มีการใช้คู่มือ ร่วมกับสธและไปสู่ชุมชนด้วยเหมือนที่ผ่านมาโครงการที่ทำเราได้มีการพัฒนาแกนนำที่อยู่ในโรงพยาบาล เป็นแกนนำหลักเพื่อกระจายไปยังทุกจุดโอพีดีแอลอาร์พีอาร์คนไข้ที่มาหาในการดูแล ตามพหุวัฒนธรรม เราต้องดูแลอย่างไรเพื่อให้เขาเกิดความพึงพอใจไม่เกิดการร้องเรียนขึ้นมาเพื่อที่จะรักษาสิทธิที่เขาควรจะได้รับจากเราได้ดีที่สุด • ในการขับเคลื่อนเราเริ่มจากโรงพยาบาลก่อนแล้วไปยังรพ.สต.ต่อ โรงพยาบาลจะมีการใช้คู่มือที่คิดว่าจะเอาคู่มือมาใช้ทุกจุดที่มีที่เกี่ยวข้องกับจุดนั้นๆไม่ว่าจะเป็นโอพีดีพีที่เราจะต้องตอบโจทย์ว่าเราจะมีเรื่องอะไรบ้างในเรื่องคู่มือเหล่านี้ที่ทำ ในปีที่แล้วจะมีการพัฒนาแกนนำที่อยู่ในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน และก็จะเป็นอสมเข้ามาร่วมในกิจกรรมของเราด้วย โดยเราจะมีการ พูดคุยในชุมชนของเขาเขาอยากให้เกิดอะไรขึ้น ที่นี่มันจะไปตอบโจทย์ในเรื่องธรรมนูญสุขภาวะเกิดขึ้นโดยใช้หลักสุขภาพดีวิถีเอามาใช้ของกระทรวงสาธารณสุข 3ส. 3อ. 1น. มาใช้ในชุมชนที่เป็นวัด มัสยิด ซึ่งก่อนนี้ที่ทำเป็นชุมชนที่เป็นวัด1ที่ และเป็นชุมชน ต.ลาโละที่เป็นมัสยิด 5ที่

จะมีการขับเคลื่อนในพื้นที่ไหน? • พื้นที่ตำบลลาโละโดยใช้พื้นที่ที่มีชุมชนวัด1ที่มัสยิดทั้งหมด5ที่ที่อยู่ในตำบลลาโละทั้งหมดเลย เพราะเหตุใดทำไม ถึงสนใจเลือกโครงการนี้? • เมื่อก่อนโรงพยาบาลจะมีข้อร้องเรียนเยอะมากมีความพึงพอใจน้อยมากประมาณ60% มีประชาชนอีกหลายคน โดยเฉพาะชุมชนมุสลิม เพราะว่าเราไม่ได้ตอบสนองวิถีชุมชน ของเขาบางท่านไม่ยอมนอนโรงพยาบาลเพราะไม่สามารถปฏิบัติศาสนกิจ หากบังคับ ได้อย่างเช่น การละหมาด เป็นต้น เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราคิดว่า การดูแลพหุวัฒนธรรมจำเป็นแล้วที่เราต้องเข้าถึงและเข้าใจชุมชนตรงนี้ มีใคร ต้องการอะไรจากเรา ทำไมถึงไม่พอใจเรา สิ่งนี้เป็นสิ่งหนึ่ง ที่จุดประกายให้เราต้องมาคุยกับชุมชน ให้รู้สึกลึกซึ้ง ว่าพื้นที่ตรงนี้เขามีความต้องการอะไรมาก ซึ่งเป็นที่มาของการเกิด การบูรณาการในโรงพยาบาล รือเสาะ ไม่ว่าการดูแลคนไข้ ที่ต้องการละหมาด เรามีรถอาบน้ำละหมาดเคลื่อนที่ให้คุณ เรามีผงดิน ที่คุณจะเอาชัยอาบน้ำละหมาด เรามีมุมมีทิศทางที่จะบอกจุละหมาดได้ ส่วนไทยพุทธ คุณสามารถจะพาพระมาสวดในระยะสุดท้ายในบั้นปลายชีวิต จะมีการดูแลคนไข้ระยะสุดท้ายการดูแลคนไข้ประกอบศาสนกิจ การดูแลมารดาหลังคลอด ที่อาบน้ำภาคบังคับก็จะมีคำสอน ให้ พอเริ่มมีสิ่งนี้เกิดขึ้น มา ทำให้ ความพอใจเพิ่มขึ้น83-90%  มีคำชมมากมาย ขอร้องเรียนลดลง เรามีการทำงานแบบภาคีเครือข่ายคือร่วมกับผู้นำศาสนาเรื่องอยากได้อะไรจากเราและเราก็ได้ตอบสนองเขา กลุ่มเป้าหมายของโครงการนี้คือใคร? • เมนหลักคือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลในองค์กร คือต้องรู้ว่าทำอะไร เพื่ออะไร ทำแล้วได้ อะไร     แล้วส่งต่อเจ้าหน้าที่รพสต  ที่อยู่ในเครือข่าย ต้องรู้ว่าพหุวัฒนธรรมการดูแลพหุวัฒนธรรมมีความสำคัญอย่างไร ต้องทำอย่างไรให้บุคลากรของเรามีความรู้เกี่ยวกับพหุวัฒนธรรมมากขึ้น หลังจากเรามีการพัฒนาเจ้าหน้าที่รพสตแล้ว อีกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มชุมชนที่จะเริ่ม คือ เริ่มที่วัด มัสยิดโดยใช้ศาสนสถานที่เป็นวัดมัสยิดเป็นแกนที่จะใช้มาขับเคลื่อน การพูดคุยของทีมงานได้เกิดขึ้นบ้างหรือยัง • ที่ผ่านมามีการคุยตลอดทีมงานนี้ไม่ใช่เฉพาะหมอที่เป็นประธาน และคุณระยะห้าปีที่เป็นเลขาแต่จะมีแกนนำที่เป็นหัวหน้า ที่เป็นผู้นำศาสนาในชุมชน เป็นเจ้าอาวาสที่อยู่ที่วัดโต๊ะอีหม่าม เพื่อที่จะมีการขับเคลื่อนโครงการนี้เพื่อที่จะมีการขับเคลื่อนโครงการนี้ กำหนดการประชุมครั้งหน้าเมื่อไหร่ถ้าอาจารย์ต้องการเข้าร่วมประชุมด้วยได้ไหม • โครงการที่คุณนูรฮายาตีรับผิดชอบเป็นโครงการที่ทำไปแล้วทำเมื่อปี60-61
หน้าที่ของคุณนูรฮายาตี คือ? • หน้าที่คือเป็นเลขาเก็บรวบรวมข้อมูลส่ง

 

การบูรณาการพหุวัฒนธรรมในชุมชน ธรรมนูญสุขภาพ

 

Public Scoping พค,ตค 1 พ.ค. 2564 5 ธ.ค. 2564

 

การทำมี 2 ระยะ ได้แก่ 1. ระยะกำหนดขอบเขตคู่มือ ซึ่งทางทีมผู้ประเมินภายในทำควบคู่กับทีมพัฒนาคู่มือแนวปฏิบัติระบบบริการสุขภาพในพหุวัฒนธรรมในหน่วยบริการสุขภาพและชุมชนท้องถิ่น ผ่านกิจกรรมการวิพากษ์ให้ข้อคิดเห็นคู่มือฯ และ 2 . การกำหนดขอบเขตการประเมินเพื่่อถอดบทเรียนรู้การนำคู่มือแนวปฏิบัติระบบบริการสุขภาพในพหุวัฒนธรรมในหน่วยงานบริการสุขภาพและชุมชนท้องถิ่นลงสู่การปฏิบัติ

 

ผลผลิต 1. ระยะกำหนดขอบเขตคู่มือแนวปฏิบัติระบบบริการสุขภาพในพหุวัฒนธรรมในหน่วยบริการสุขภาพและชุมชนท้องถิ่น ได้ข้อคิดเห็นการกำหนดขอบเขตคู่มือและปรับแก้คู่มือด้านการออกแบบคู่มือ รายละเอียดเนื้อหาร้อมใช้จำนวน 1 คู่มือ
2. ถอดบทเรียนการนำคู่มือแนวปฏิบัติพื้นที่นำร่อง 2 พื้นที่ในบริบทโรงพยาบาลเทพา และโรงพยาบาลสตูล ที่มีการขยายงานสู่ชุมชนระดับตำบล ผลลัพธ์ 1.เกิดคู่มือพร้อมใช้งานสำหรับพี่เลี้ยงและประชาชน แนวปฏิบัติสำหรับผู้ให้บริการทางสุขภาพ และแนวปฏิบัติสำหรับอปท./ผู้นำศาสนา
2.มีกรอบการประเมินการถอดบทเรียนตามรอบการทำงานของสสส.ได้แก่ ประเด็นความรู้หรือนวตกรรมชุมชน  คุณค่าการเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ  การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ กระบวนการชุมชน ผลกระทบเชิงบวกด้านนโยบายสาธารณทีเอื้ออำนวยต่อการสร้างสุขภาวะ คุณค่าในมิติสุขภาวะทางปัญญาจิตวิญญาณ ต่อผู้ปฏิบัติงานและชุมชน

 

Assessing 1 (วันที่ 1 4/ธันวาคม 2564) รพ.สต.วังใหญ่ ชื่ือโครงการ คัดกรองไว ดูแลไว ปลอดภัยตามวิถี 4 ธ.ค. 2564 5 ธ.ค. 2564

 

ลงพื้นที่ รพ.สต.วังใหญ่ สัมภาษณ์ติดตามการนำแนวปฏิบัติระบบบริการสุขภาพในหน่วยบริการสุขภาพและชุมชนท้องถิ่นลงสู่การปฏิบัติ จำนวนผู้ถูกสัมภาษณ์ 2 ท่าน คือ หัวหน้าสถานนีอนามัยวังใหญ่ และพยาบาลวิชาชีพ พื้นที่นำร่องต.วังใหญ่มีปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด จากจำนวน 8 หมู่บ้าน (ไทยพุทธ 7 หมู่บ้าน อิสลาม 1 หมู่บ้าน) มีประชาชนจากพื้นที่ไทยอิสลามที่มีการติดไวรัสโควิด -19 แต่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงปฏิเสธการคัดกรองโรค การรักษาในสถานกกักกัน การรับวัคซีนโควิด-19 (พบเพียงร้อยละ 30) มีโอกาสแพร่ระบาดของโควิดเพิ่มขึ้น และปัญหาในพื้นที่เชื่อมโยงไปถึงกลุ่มอพยพเข้าจากสถานการณ์ความไม่สงบจากพื้นที่ชายแดนใต้มาพักพิงกับเครือญาติในพื้นที่ ทางหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่จึงนำแนวปฏิบัติลงสู่การปฏิบัติ ดำเนินการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์และสังเกตการณ์ดำเนินการรพ.สต.วังใหญ่

 

  1. ความรู้หรือนวัตกรรมชุมชน ผลผลิต/สิ่งประดิษฐ์ใหม่   - จากการให้ข้อมูลพบว่า เกิดผลลัพธ์ในกระบวนการแนวคิดที่จะต่อยอดการพัฒนากระบวนการในเรื่องการลงพื้นที่แบบเชิงรุกของชุมชนที่มีปัญหา คือ หมู่ 8 ที่เป็นชุมชนมุสลิม และของหมู่ที่ 1-7 ที่มีผู้ป่วยติดเตียงและกลุ่มเปราะบาง ที่ไม่สามารถเข้าถึงการรับบริการของ รพ.สต.วังใหญ่

    วิธีการทำงานหรือการจัดการใหม่
    • จากการให้ข้อมูลพบว่า เกิดผลลัพธ์ในกระบวนการแนวคิดที่จะต่อยอดการพัฒนากระบวนการในเรื่องการลงพื้นที่แบบเชิงรุกของชุมชนที่มีปัญหา คือ หมู่ 8 ที่เป็นชุมชนมุสลิม และของหมู่ที่ 1-7 ที่มีผู้ป่วยติดเตียงและกลุ่มเปราะบาง ที่ไม่สามารถเข้าถึงการรับบริการของ รพ.สต.วังใหญ่

เกิดกลุ่มใหม่หรือโครงสร้างใหม่ - จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา รพ.สต วังใหญ่ได้มีการขับเคลื่อนงานร่วมกับชุมชนมากขึ้นโดยการสร้างเครือข่ายในการลงพื้นที่ร่วมกับ อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชนไทยพุทธ มุสลิม เพื่อผลักดันให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อนงานในชุมชน

แหล่งเรียนรู้ใหม่ - กระบวนการการดำเนินงานจากผู้ให้บริการในการศึกษาคู่มือสามารถถ่ายทอดกระบวนการคิด วิเคราะห์ สรุปเป็นแนวทางให้เพื่อนร่วมงานได้มีแนวทางในการดำเนินงาน และสามารถสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกันกับภายนอกองค์กร คือ โรงพยาบาลเทพา

  1. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพส่วนบุคคล - ผู้ให้บริการมีสมรรถนะเชิงวัฒนธรรม มีความเป็นห่วงเป็นใยผู้เข้ารับบริการที่ไม่สามารถเข้าถึงการให้บริการของ รพ.สต เทพาได้ มีการรณรงค์ให้ผู้เข้ารับบริการ และชุมชน ได้มีการสวมใส่แมสก์ ล้างมือ และผลักดันให้มีการตรวจ ATK เชิงรุก

การลดพฤติกรรมเสี่ยง - ในชุมชนมีการตระหนักถึงโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น จากการพูดคุยปรับความเข้าใจในการดำเนินชีวิตของประชาชนในชุมชน ให้ได้ตระหนักถึงอันตรายจากการการสัมผัสผู้ติดเชื้อ กลุ่มเสี่ยง ได้มีแนวทางป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

การลดลงความเครียด ความขัดแย้ง - ผู้ให้บริการได้สร้างความร่วมมือกับผู้นำชุมชน และเครือข่ายในชุมชน ได้หาแนวทางร่วมกันในกรณีที่มีชาวบ้านในชุมชนติดเชื้อโควิด-19 แต่ไม่กล้าทิ้งบ้านไว้เพื่อไปกักตัว หรือรักษา จึงได้มีแนวทางร่วมกันในการอาสาเป็นตัวแทนดูแลบ้านและทรัพย์สินให้ในช่วงการรักษา และในกรณีการไม่เข้าใจกันในการใช้สถานที่กักตัวที่เป็นพื้นที่ต่างศาสนา เพื่อลดความขัดแย้ง ทางผู้ให้บริการและผู้นำชุมชนได้หารือร่วมกันถึงสถานที่ที่จะทำศูนย์กักตัว ณ จุดบริการแห่งใหม่ เพื่อให้ผู้รับบริการได้สามารถใช้สถานที่ในการรักษาแบบเป็นพหุวัฒนธรรมร่วมกันได้

พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน - มีส่วนร่วมของชุมชนและผู้ให้บริการของ รพ.สต วังใหญ่ ในการตั้งด่านจุดคัดกรอง เข้า-ออก ชุมชน

  1. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ

สังคม วัฒนธรรม ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็กเยาวชน กลุ่มเปราะบาง - ผู้ให้บริการได้ตระหนักถึงการเข้ารับบริการของกลุ่มเปราะบาง เยาวชน และผู้สูงอายุที่ไม่สามารถเข้าถึงการรับบริการของ รพ.สต วังใหญ่ และได้มีการร่วมมือในการดำเนินงานเชิงรุกเพื่อให้กลุ่มเปราะบางและเยาวชนได้เข้ารับการบริการอย่างทั่วถึง

บริการสุขภาพ การใช้บริการ แพทย์ทางเลือก บริการทางเลือก - มีการปรับโครงสร้างในการเข้ารับบริการสวอป การรับวัคซีน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เข้ารับบริการโดยไม่มีการแบ่งแยก และให้บริการด้วยความเต็มใจ เข้าใจในบริบทของชุมชน

  1. กระบวนการชุมชน

การเชื่อมประสานระหว่างกลุ่ม เครือข่าย(ในรพ./ชุมชน) - รพ.สต วังใหญ่ ได้มีการเชื่อมประสานงานกับชุมชน เครือข่ายภายนอก ได้แก่ รพ.เทพา และการร่วมมือกับผู้นำชุมชนในการสร้างความเข้าใจให้กับสมาชิกในชุมชนที่ยังไม่เข้าใจในถึงข้อมูลของโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ได้ตระหนักถึงแนวทางป้องกันตัวเอง และการอยู่ร่วมกันในสังคมเมื่อเกิดโรคระบาด

กระบวนการเรียนรู้ การแก้ปัญหาเป็นระบบ - รพ.สต วังใหญ่มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชน ถึงแนวทางแก้ปัญหาร่วมกันจากความไม่เข้าใจถึงข้อมูล และมีแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบร่วมกันกับผู้นำชุมชน ชาวบ้าน และเครือข่ายภายนอก

การใช้ทุนมนุษย์ (โรงพยาบาล/ชุมชน) - ผู้ให้บริการได้มีการผลัดเปลี่ยนกำลังการทำงานโดยการแบ่งหน้าที่ในการให้บริการแก่ประชาชนที่เข้ามารับบริการ และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ ได้แก่ งบประมาณอย่างคุ้มค่า เพื่อสร้างแรงจูงใจและกำลังใจให้กับผู้ดำเนินงาน

การขับเคลื่อนงานมีความต่อเนื่อง/ยั่งยืน - รพ.สต. วังใหญ่ มีการขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่องในการให้บริการแก่ชุมชนอย่างทั่วถึง และเข้าถึงการให้บริการเชิงรุกแก่พื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการของ รพ.สต. วังใหญ่ได้

มีทักษะการทำโครงการ/การใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจ - การดำเนินงานของผู้ทำโครงการมีทักษะในการให้บริการแบบพหุวัฒนธรรม มีความเข้าใจในบริบทของพื้นที่ สามารถปรับแนวคิดและการปฏิบัติตลอดจนการตัดสินใจที่เป็นกลาง โดยไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา และมีการต่อยอดการดำเนินโครงการในอนาคต เพื่อพัฒนาให้ชุมชนเกิดความยั่งยืนในการเข้ารับบริการที่ประทับใจของ รพ.สต วังใหญ่

  1. ผลกระทบเชิงบวกด้านนโยบายสาธารณะที่เอื้ออำนวยต่อการสร้างสุขภาวะ

มีการสร้างแนวปฏิบัติ (ย่อย) กฎ กติกาของกลุ่ม - มีการดำเนินงานภายใต้กรอบปฏิบัติของชุมชน เพื่อลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากการเข้าให้บริการของ รพ.สต วังใหญ่ อันเกิดจากความไม่เข้าใจกันในการทำหน้าที่ จึงต้องมีการดำเนินงานภายใต้กฎกติกาของชุมชนและสังคม

  1. มิติสุขภาวะทางปัญญา/จิตวิญญาณ

ความภาคภูมิใจในตนเอง กลุ่ม ชุมชน
- ผู้ให้บริการมีความภาคภูมิใจในการให้บริการกับชุมชน โดยเฉพาะชุมชนที่ไม่สามารถเข้ารับบริการของ รพ.สต วังใหญ่ได้ และผู้ให้บริการได้มีการลงพื้นที่เข้าถึงชุมชน ทำให้ชุมชนนั้นได้รับบริการและเกิดความประทับใจ ตลอดจนหันมาให้ความสนใจกับสุขภาวะของตนเองมากขึ้น

ชุมชนเอื้ออาทร แบ่งปัน
- จากเหตุการณ์พบการติดเชื้อในชุมชนทำให้ชุมชนตลอดจน รพ.สต วังใหญ่ได้มีการร่วมมือกันในการรับมือกับโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ภายในชุมชนมีการแบ่งปันสิ่งของให้กับผู้ติดเชื้อ ส่งข้าว อาหารแห้ง และการลงพื้นที่ของ รพ.สต วังใหญ่ ในการให้บริการสวอป ตรวจ ATK กับชุมชนที่มีความเสี่ยง

การตัดสินใจโดยฐานปัญญา - ผู้ให้บริการมีการตระหนักถึงการให้บริการภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพของการรักษาที่เป็นมาตรฐานแบบสากลและได้มีการศึกษาคู่มือเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ถึงการดำเนินงานตลอดจนกระบวนการตัดสินใจที่เกิดโดยสัญชาตญาณบนความถูกต้องภายใต้กรอบของการเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรม

 

Assessing II รพ.สตูล 7 ธ.ค. 2564 7 ธ.ค. 2564

 

1.รับฟังผลการดำเนินงานจากตัวแทนโรงพยาบาล ประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบโครงการ 2.สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมบริบทปัญหา
3.สนทนากลุ่มตามแนวคำถามติดตามประเมิน ชื่นชมผลงาน แสวงหาการขับเคลื่อนในระยะต่อไป วิเคราะห์ผลการดำเนินการถอดบทเรียน

 

ผลผลิต การอบรมเชิงปฏิบัติการการดูแลผู้ป่วย ญาติ/ศพผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 จำนวน 2 ครั้ง ผลผลิต เกิกกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดการศพจำนวน 2 ครั้ง ผลผลิต 1.เกิดการประชุมเชิงเชิงปฏิบัติการ การจัดการศพจำนวน 2 ครั้ง 2. เกิดนวตกรรมการดูแลการสื่ือสารในภาวะวิกฤตสำหรับผู้ป่วย/ญาติจากสถานการณ์โ๕วิด

ผลลัพธ์ การดูแลก่อให้เกิด 1) ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ครอบครัว และเครือข่ายชุมชน ที่นับถือศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ ชาวเล และชนเผ่าในพื้นที่ 2) ตัดวงจรความขัดแย้งและความเสี่ยงการเกิดข้อร้องเรียนในประเด็นการจัดการศพที่เสียชีวิตจากโควิด-19 3.รูปแบบการดูแลที่คำนึงถึงความเป็นพหุวัฒนธรรมในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ผลสะเทือน นวตกรรมการดูแลถูกขยายผลผ่านแผนแม่บทองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น

ข้อสังเกต เครือข่ายจิตอาสาในเขตจ.สตูลยังขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์ในการทำงาน เช่น ผ้าขาวห่อศพ อุปกรณ์ป้องกันตนเองเมื่่อจัดการศพในขณะที่สิ่งเหล่านี้มีค่อนข้างมากและอาจเหลือใช้ในพื้นที่ 3 จวชต. เห็นควรกระจายผ่านเครือข่ายจิตอาสาเพ่ือหนุนเสริมการทำงานต่อไป

 

writing report and academic journal 8 ธ.ค. 2564 8 ธ.ค. 2564

 

เขียนรายงานฉบับสมบูรณ์ในรูปแบบเตรียมบทความตีพิมพ์ บันทึกข้อมูลโครงการ สรุปไปปะหน้าการเงิน

 

จำนวนร่างบทความวิชาการเพื่่อเผยแพร่ 1 บทความ ข้อคิดเห็นการขับเคลื่ือนงานในระยะต่อไป