สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

assignment
บันทึกกิจกรรม
เก็บรวบรวมข้อมูลในเวทีการจัดทำแผนงาน โครงการระบบอาหาร จังหวัดนราธิวาส17 มีนาคม 2564
17
มีนาคม 2564รายงานจากพื้นที่ โดย Aitsara
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบ focus group ด้วยแนวคำถามปลายเปิด ในประเด็นของการทำแผนงาน โครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหาร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้เครือข่ายการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบอาหาร เช่น โรงพยาบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน รพสต.
  2. ได้แผนงาน โครงการด้านระบบอาหารแบบบูรณาการ 3 ประเด็น (ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย)
  3. เกิดการขับเคลื่อนงานระบบอาหารในระดับท้องถิ่น
  4. ทราบข้อคิดเห็น ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากกลุ่มผู้ที่เข้าร่วมประชุมและพี่เลี้ยงกองทุน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
ประชุมปรึกษาหารือเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินแผนงานตำบลบูรณาการระบบอาหารจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้แผนงานประเมินภายในความมั่นคงทางอาหาร ประเด็นตำบลบูรณาการระบบอาหาร27 กุมภาพันธ์ 2564
27
กุมภาพันธ์ 2564รายงานจากพื้นที่ โดย Aitsara
  • บรรยากาศในการประชุมชี้แจง
  • บรรยากาศในการประชุมชี้แจง
  • บรรยากาศในการประชุมชี้แจง
  • บรรยากาศในการประชุมชี้แจง
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ กับหน่วยงานกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องและให้ความสนใจ ได้แก่ อบต. รพสต. กองทุน สปสช. และโรงพยาบาล และให้กลุ่มเป้าหมายแต่ละพื้นที่ที่เข้าร่วมนัดหมายวางกระบวนการทำแผน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม ได้แก่ โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี มูลนิธิป่าทะเลเพื่อชีวิต เทศบาลตำบลพุมเรียง ตำบลบางไทร อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อบต.พ่วงพรมคร รพสต.ตะกุกใต้รพสต.ตะกุกเหนือ อบต.บางไทร ตำบลบางไทร มูลนิธิภาคใต้สีเขียว รพสต.พุมเรีย รพสต.บางไทร อบต.บางไทร หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนกะแดะ ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ รพสต.บ้านน้ำห้า สปสช. เขตสุราษฎร์ธานี รพสต.ตะกุกเหนือ และกองทุนสวัสดิการ ตำบลคันธุรี
  2. ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม   2.1 การของบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพของอบต.ตะกุกใต้ ได้รับการอนุมัติงบประมาณแล้ว และบางส่วนเริ่มใช้งบประมาณแล้ว หากโครงการนี้เข้ามาจะทำให้ไม่สามารถของบกองทุนได้แล้ว และในส่วนของความมั่นคงทางอาหารมีบางกิจกรรมที่คาบเกี่ยวกับพัฒนาชุมชน (โคก หนอง นา โมเดล) และเกษตร ซึ่ง 2 ซึ่งหากไม่ของบกองทุนแล้วยังมีแหล่งทุนไหนที่จะสามารถเขียนของบอีกได้บ้าง   2.2 พื้นที่ตะกุกเหนือและตะกุกใต้ ทำเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่อย่างเต็มระบบ ตั้งแต่การจัดการดินและบริหารจัดการน้ำในแปลงเกษตร มีการจัดทำบัญชีผลผลิต บัญชีมูลค่าจากผลผลิตของการบริโภคและการจำหน่าย ซึ่งผลผลิตการเกษตรจะเป็นสินค้าปลอดภัยทั้งหมด เกิดมุมมองจากกระบวนการทำงานดังกล่าว คือ การบูรณาการหน่วยงานที่จะต้องปรึกษาหารือร่วมกัน พื้นที่ตะกุกเหนือ ตะกุกใต้ บ้านยาง และน้ำหับจะมีการประชุมร่วมกันทุกวันที่ 14 ของเดือน เป็นเวทีในการปรึกษาหารือร่วมกัน และผู้บริโภคที่ต้องการอาหารปลอดภัย เพราะฉะนั้น 2 กลุ่มนี้ต้องรับรู้ร่วมกัน ว่า หน่วยผลิตผลิตอะไร และหน่วยผู้บริโภคต้องการอะไร เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคอาหารปลอดภัยของตัวเอง
    ฉะนั้นในกระบวนการเหล่านี้นอกจากเรื่องผลิตอาหารปลอดภัยในกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ยังมีอีกหนึ่งกลุ่ม คือ กลุ่มประมงพื้นบ้าน ซึ่งประชาชนกำลังรวมกลุ่มทำในเรื่องอาหารปลอดภัยเช่นกัน แล้วจะมีการวางกลไกหรือความเชื่อมโยงอย่างไร เพื่อทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางอาชีพ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย   2.3 ตำบลบางไทร การวางระบบอาหารที่ต้องเริ่มจากต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ซึ่งพื้นที่บางไทรเองเปนพื้นที่ลุ่มน้ำ การเพาะปลูกค่อนข้างจะยาก ดังนั้นพอจะมีวิธีการอย่างไรได้บ้างที่พอจะดำเนินการความมั่นคงทางอาหาร เช่น พืช ผัก หรือผลไม้ที่ปลอดภัย
      2.4 การดำเนินการตำบลบูรณาการระบบอาหารของตำบลบางไทร เดิมทีมีความหลากหลายทางชีวภาพมาก แต่เมื่อมีความเจริญหรือเทคโนโลยีเข้าไปความหลากหลายทางชีวภาพจะลดลง กลไกการดำเนินงานตำบลบูรณาการถึงแม้จะยังดำเนินการยังไม่สู่ผลสำเร็จ จึงมีแนวคิดว่า จะทำอย่างไรให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ โดยมิติของความมั่นคงมีตั้งแต่ความมั่นคงทางสุขภาพ (ตำบลบางไทรมีแพทย์แผนไทย) ความมั่นคงทางด้านอาหาร (ทำอย่างไรให้ประชาชนลดการบริโภคนอกชุมชน แต่หันมาบริโภคภายในชุมชนแทน) ด้านสิ่งแวดล้อม (การจัดการขยะต้นทาง) และด้านคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างครบวงจร ซึ่งทำอย่างไรให้คนในชุมชนหันมาจัดการใน 4 ประเด็นดังกล่าวได้ และในอนาคตมีความมั่นคงชั่วลูกชั่วหลานได้   2.5 การออกกฎระเบียบหรือข้อบังคับ การมีข้อจำกัดของหน่วยงานราชการ และการกระจายงบประมาณที่กระจุกอยู่ที่เดียว   2.6 จุดเริ่มต้นที่ทำได้ง่าย คือ อาหารในศูนย์เด็กเล็ก   2.7 การประเมินศักยภาพตำบลโดยใช้ข้อมูลของพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญในการทำแผน (วิเคราะห์ปัญหา/สถานการณ์ที่สำคัญ จัดลำดับความสำคัญ ดำเนินการ และติดตามประเมินผล)   2.8 อบต.พุมเรียง มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ทางการเกษตร เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินทราย ไม่สามารถเพาะปลูกได้ ประชาชนส่วนใหญ่ทำอาชีพประมงและอาชีพรับจ้าง และมีปัญหาเรื่องการจัดการขยะต้นทาง (ขยะส่วนใหญ่มากกว่า 60% ต้องนำไปทิ้งที่อื่นและนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก) ซึ่งอาจจะต้องให้ชาวบ้านปรับเปลี่ยนวิธีคิดและจะนำผลเลือดจากการเจาะเลือดในกลุ่มเป้าหมายมาขยายผลเพื่อดำเนินการต่อ   2.9 การจัดการฐานทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนร่วมกับการโฆษณาอาหารพื้นถิ่น/อาหารพื้นบ้าน ควบคู่กัน (นำเสนอสิ่งที่ชุมชนมี) และขับเคลื่อนอย่างไรให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนในอาชีพ อาหารที่มั่นคงและปลอดภ้ย   2.10 เทศบาลตำบลย่านดินแดง หากจะเริ่มจากต้นทางการผลิตคือการเพาะปลูกอาจเป็นไปได้ยาก แต่อาจจะเริ่มต้นได้จากศูนย์เด็กเล็กของเทศบาลได้ ซึ่งต้องนำเรื่องเข้าปรึกษาหารือต่อไป   2.11 ตำบลคันธุลี สภาพบริบทพื้นที่ค่อนข้างหลากหลายทั้งทะเล ภูเขา พื้นที่ลาบลุ่ม ซึ่งปัญหาที่เจอคือสภาพการจัดการพื้นที่สวน ไร่นา เน้นพืชเศรษฐกิจเป็นหลัก เช่น สวนปาล์ม สวนยาง ค่อนข้างเยอะ ซึ่งพื้นที่ผสมผสานก็อาจจะมีอยู่บ้างคาดว่าไม่น่าจะเกิน 10% และในส่วนอื่นๆได้ขับเคลื่อนกับศูนย์เด็กเล็กอยู่แล้ว นั่นคือ Thai school lunch และเกษตรกรรมที่เป็นแปลงรวม สินค้าในชุมชนส่งต่อศูนย์เด็กเล็กซึ่งเด็กไม่มีปัญหาเรื่องโภชนาการ แต่กลับกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหา ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน เช่น กรีดยางตอนเช้าไม่ทานอาหารเช้าแต่ทานตอนเที่ยงแทน   2.12 ความมั่นคงทางอาหารอยากให้เน้นในจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้าน   2.13 ต้นทุนของตำบลบางไทร คือ ข้าวไร่อินทรีย์ อาจจะเสริมเรื่องการตลาดและบรรจุภัณฑ์
  3. ทำการสัมภาษณ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ได้แก่ โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี (หัวหน้าโครงการ) เทศบาลตำบลพุมเรียง อบต.พ่วงพรมคร ตำบลบางไทร มูลนิธิภาคใต้สีเขียว หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนกะแดะ รพสต.บ้านน้ำห้า และรพสต.ตะกุกเหนือ ซึ่งผลที่ได้จากการสัมภาษณ์มีรายละเอียดดังนี้ กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ที่ได้มาเข้าร่วมไม่ทราบรายละเอียดของโครงการมาก่อน แต่มีความสนใจที่จะมาเข้าร่วมโครงการ หน่วยงานที่เข้ามาร่วมจะเป็นอบต.และรพสต. รพสต. มาร่วม 1 หน่วยงานและเป็นตัวแทนที่ถูกมอบหมายให้มาเข้าร่วมประชุมซึ่งไม่ทราบบริบทหน้าที่ที่จะมาเกี่ยวข้องกับโครงการ อยากให้มีการชี้แจงรายละเอียดโครงการในหนังสือเชิญประชุมด้วย เป้าหมายหรือความคาดหวังของหน่วยงานที่เข้าร่วม อยากยกระดับงานและพัฒนางานในพื้นที่ของตนเองให้ดีขึ้น ให้สามารถพึ่งพิงตนเองได้ ก่อเกิดชุมชนเข้มแข็งที่ยั่งยืนสู่รุ่นลูกหลานต่อไปในอนาคต
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่