สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
พัฒนาศักยภาพการบูรณาการระบบอาหารตำบล ให้กับทีมพี่เลี้ยงและผู้ที่เกี่ยวข้อง 1 ส.ค. 2563

 

 

 

 

 

ประชุมปรึกษาหารือเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินแผนงานตำบลบูรณาการระบบอาหารจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้แผนงานประเมินภายในความมั่นคงทางอาหาร ประเด็นตำบลบูรณาการระบบอาหาร: Screening 27 ก.พ. 2564 27 ก.พ. 2564

 

ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการ กับหน่วยงานกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องและให้ความสนใจ ได้แก่ อบต. รพสต. กองทุน สปสช. และโรงพยาบาล และให้กลุ่มเป้าหมายแต่ละพื้นที่ที่เข้าร่วมนัดหมายวางกระบวนการทำแผน

 

  1. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม ได้แก่ โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี มูลนิธิป่าทะเลเพื่อชีวิต เทศบาลตำบลพุมเรียง ตำบลบางไทร อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อบต.พ่วงพรมคร รพสต.ตะกุกใต้รพสต.ตะกุกเหนือ อบต.บางไทร ตำบลบางไทร มูลนิธิภาคใต้สีเขียว รพสต.พุมเรีย รพสต.บางไทร อบต.บางไทร หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนกะแดะ ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ ผู้ช่วยเจ้าพนักงานธุรการ รพสต.บ้านน้ำห้า สปสช. เขตสุราษฎร์ธานี รพสต.ตะกุกเหนือ และกองทุนสวัสดิการ ตำบลคันธุรี
  2. ข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม   2.1 การของบประมาณของกองทุนหลักประกันสุขภาพของอบต.ตะกุกใต้ ได้รับการอนุมัติงบประมาณแล้ว และบางส่วนเริ่มใช้งบประมาณแล้ว หากโครงการนี้เข้ามาจะทำให้ไม่สามารถของบกองทุนได้แล้ว และในส่วนของความมั่นคงทางอาหารมีบางกิจกรรมที่คาบเกี่ยวกับพัฒนาชุมชน (โคก หนอง นา โมเดล) และเกษตร ซึ่ง 2 ซึ่งหากไม่ของบกองทุนแล้วยังมีแหล่งทุนไหนที่จะสามารถเขียนของบอีกได้บ้าง   2.2 พื้นที่ตะกุกเหนือและตะกุกใต้ ทำเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่อย่างเต็มระบบ ตั้งแต่การจัดการดินและบริหารจัดการน้ำในแปลงเกษตร มีการจัดทำบัญชีผลผลิต บัญชีมูลค่าจากผลผลิตของการบริโภคและการจำหน่าย ซึ่งผลผลิตการเกษตรจะเป็นสินค้าปลอดภัยทั้งหมด เกิดมุมมองจากกระบวนการทำงานดังกล่าว คือ การบูรณาการหน่วยงานที่จะต้องปรึกษาหารือร่วมกัน พื้นที่ตะกุกเหนือ ตะกุกใต้ บ้านยาง และน้ำหับจะมีการประชุมร่วมกันทุกวันที่ 14 ของเดือน เป็นเวทีในการปรึกษาหารือร่วมกัน และผู้บริโภคที่ต้องการอาหารปลอดภัย เพราะฉะนั้น 2 กลุ่มนี้ต้องรับรู้ร่วมกัน ว่า หน่วยผลิตผลิตอะไร และหน่วยผู้บริโภคต้องการอะไร เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคอาหารปลอดภัยของตัวเอง
    ฉะนั้นในกระบวนการเหล่านี้นอกจากเรื่องผลิตอาหารปลอดภัยในกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ยังมีอีกหนึ่งกลุ่ม คือ กลุ่มประมงพื้นบ้าน ซึ่งประชาชนกำลังรวมกลุ่มทำในเรื่องอาหารปลอดภัยเช่นกัน แล้วจะมีการวางกลไกหรือความเชื่อมโยงอย่างไร เพื่อทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางอาชีพ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้วย   2.3 ตำบลบางไทร การวางระบบอาหารที่ต้องเริ่มจากต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ซึ่งพื้นที่บางไทรเองเปนพื้นที่ลุ่มน้ำ การเพาะปลูกค่อนข้างจะยาก ดังนั้นพอจะมีวิธีการอย่างไรได้บ้างที่พอจะดำเนินการความมั่นคงทางอาหาร เช่น พืช ผัก หรือผลไม้ที่ปลอดภัย
      2.4 การดำเนินการตำบลบูรณาการระบบอาหารของตำบลบางไทร เดิมทีมีความหลากหลายทางชีวภาพมาก แต่เมื่อมีความเจริญหรือเทคโนโลยีเข้าไปความหลากหลายทางชีวภาพจะลดลง กลไกการดำเนินงานตำบลบูรณาการถึงแม้จะยังดำเนินการยังไม่สู่ผลสำเร็จ จึงมีแนวคิดว่า จะทำอย่างไรให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ โดยมิติของความมั่นคงมีตั้งแต่ความมั่นคงทางสุขภาพ (ตำบลบางไทรมีแพทย์แผนไทย) ความมั่นคงทางด้านอาหาร (ทำอย่างไรให้ประชาชนลดการบริโภคนอกชุมชน แต่หันมาบริโภคภายในชุมชนแทน) ด้านสิ่งแวดล้อม (การจัดการขยะต้นทาง) และด้านคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างครบวงจร ซึ่งทำอย่างไรให้คนในชุมชนหันมาจัดการใน 4 ประเด็นดังกล่าวได้ และในอนาคตมีความมั่นคงชั่วลูกชั่วหลานได้   2.5 การออกกฎระเบียบหรือข้อบังคับ การมีข้อจำกัดของหน่วยงานราชการ และการกระจายงบประมาณที่กระจุกอยู่ที่เดียว   2.6 จุดเริ่มต้นที่ทำได้ง่าย คือ อาหารในศูนย์เด็กเล็ก   2.7 การประเมินศักยภาพตำบลโดยใช้ข้อมูลของพื้นที่เป็นสิ่งสำคัญในการทำแผน (วิเคราะห์ปัญหา/สถานการณ์ที่สำคัญ จัดลำดับความสำคัญ ดำเนินการ และติดตามประเมินผล)   2.8 อบต.พุมเรียง มีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ทางการเกษตร เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินทราย ไม่สามารถเพาะปลูกได้ ประชาชนส่วนใหญ่ทำอาชีพประมงและอาชีพรับจ้าง และมีปัญหาเรื่องการจัดการขยะต้นทาง (ขยะส่วนใหญ่มากกว่า 60% ต้องนำไปทิ้งที่อื่นและนำมาทำเป็นปุ๋ยหมัก) ซึ่งอาจจะต้องให้ชาวบ้านปรับเปลี่ยนวิธีคิดและจะนำผลเลือดจากการเจาะเลือดในกลุ่มเป้าหมายมาขยายผลเพื่อดำเนินการต่อ   2.9 การจัดการฐานทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนร่วมกับการโฆษณาอาหารพื้นถิ่น/อาหารพื้นบ้าน ควบคู่กัน (นำเสนอสิ่งที่ชุมชนมี) และขับเคลื่อนอย่างไรให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนในอาชีพ อาหารที่มั่นคงและปลอดภ้ย   2.10 เทศบาลตำบลย่านดินแดง หากจะเริ่มจากต้นทางการผลิตคือการเพาะปลูกอาจเป็นไปได้ยาก แต่อาจจะเริ่มต้นได้จากศูนย์เด็กเล็กของเทศบาลได้ ซึ่งต้องนำเรื่องเข้าปรึกษาหารือต่อไป   2.11 ตำบลคันธุลี สภาพบริบทพื้นที่ค่อนข้างหลากหลายทั้งทะเล ภูเขา พื้นที่ลาบลุ่ม ซึ่งปัญหาที่เจอคือสภาพการจัดการพื้นที่สวน ไร่นา เน้นพืชเศรษฐกิจเป็นหลัก เช่น สวนปาล์ม สวนยาง ค่อนข้างเยอะ ซึ่งพื้นที่ผสมผสานก็อาจจะมีอยู่บ้างคาดว่าไม่น่าจะเกิน 10% และในส่วนอื่นๆได้ขับเคลื่อนกับศูนย์เด็กเล็กอยู่แล้ว นั่นคือ Thai school lunch และเกษตรกรรมที่เป็นแปลงรวม สินค้าในชุมชนส่งต่อศูนย์เด็กเล็กซึ่งเด็กไม่มีปัญหาเรื่องโภชนาการ แต่กลับกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหา ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตของชาวบ้าน เช่น กรีดยางตอนเช้าไม่ทานอาหารเช้าแต่ทานตอนเที่ยงแทน   2.12 ความมั่นคงทางอาหารอยากให้เน้นในจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้าน   2.13 ต้นทุนของตำบลบางไทร คือ ข้าวไร่อินทรีย์ อาจจะเสริมเรื่องการตลาดและบรรจุภัณฑ์
  3. ทำการสัมภาษณ์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม ได้แก่ โรงพยาบาลกาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี (หัวหน้าโครงการ) เทศบาลตำบลพุมเรียง อบต.พ่วงพรมคร ตำบลบางไทร มูลนิธิภาคใต้สีเขียว หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนกะแดะ รพสต.บ้านน้ำห้า และรพสต.ตะกุกเหนือ ซึ่งผลที่ได้จากการสัมภาษณ์มีรายละเอียดดังนี้ กลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่ที่ได้มาเข้าร่วมไม่ทราบรายละเอียดของโครงการมาก่อน แต่มีความสนใจที่จะมาเข้าร่วมโครงการ หน่วยงานที่เข้ามาร่วมจะเป็นอบต.และรพสต. รพสต. มาร่วม 1 หน่วยงานและเป็นตัวแทนที่ถูกมอบหมายให้มาเข้าร่วมประชุมซึ่งไม่ทราบบริบทหน้าที่ที่จะมาเกี่ยวข้องกับโครงการ อยากให้มีการชี้แจงรายละเอียดโครงการในหนังสือเชิญประชุมด้วย เป้าหมายหรือความคาดหวังของหน่วยงานที่เข้าร่วม อยากยกระดับงานและพัฒนางานในพื้นที่ของตนเองให้ดีขึ้น ให้สามารถพึ่งพิงตนเองได้ ก่อเกิดชุมชนเข้มแข็งที่ยั่งยืนสู่รุ่นลูกหลานต่อไปในอนาคต

 

เก็บรวบรวมข้อมูลในเวทีการจัดทำแผนงาน โครงการระบบอาหาร จังหวัดนราธิวาส 17 มี.ค. 2564 17 มี.ค. 2564

 

เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบ focus group ด้วยแนวคำถามปลายเปิด ในประเด็นของการทำแผนงาน โครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหาร

 

  1. ได้เครือข่ายการดำเนินงานเกี่ยวกับระบบอาหาร เช่น โรงพยาบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงเรียน รพสต.
  2. ได้แผนงาน โครงการด้านระบบอาหารแบบบูรณาการ 3 ประเด็น (ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัย)
  3. เกิดการขับเคลื่อนงานระบบอาหารในระดับท้องถิ่น
  4. ทราบข้อคิดเห็น ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากกลุ่มผู้ที่เข้าร่วมประชุมและพี่เลี้ยงกองทุน

 

จัดเวทีนโยบายประเด็นบูรณาการระบบอาหารระดับภาค โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม วิชาการ เพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายระบบอาหารภาคใต้ 1 พ.ค. 2564