เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ (จริยธรรมสื่อ)
การเสวนา แลกเปลี่ยน ให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ ของประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการเกษตรจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร) นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ และเกษตรกรที่มีประสบการณ์เรียนรู้จากเกษตรพืชร่วมยาง ผลิตอาหารเพื่อการสร้างความเข้มแข็งในครัวเรือนและเป็นต้นแบบของเกษตรกร
ความรู้เป็นเรื่องที่สำคัญประกอบด้วยนวัตกรรม เกษตรเชิงเดี่ยวตอบโจทย์เรื่องรายได้เป็นหลัก ถ้ามองเรื่องสุขภาพ เกษตรร่วมยางเป็นเกษตรที่เอื้อต่อสุขภาพ และความหลากหลายพันธุกรรมที่อยู่ร่วมกัน ถ้าวิถีการผลิตไม่ปลอดภัยแม้รายได้จะดีแต่ก็ไม่ปลอดภัย การสร้างเสริมสุขภาพสามารถทำได้เอง พึ่งตนเองได้จริง มีความรู้จริงในเรื่องสุขภาพ สมาชิกในครัวเรือนเรามีความเข้าใจกันจริงกับความเป็นอยู่ในอนาคตคือ ความมั่นคง สถานการณ์โควิด-19 เราสามารถป้องกันและยับยั้งได้ดี เพราะฉะนั้นการสร้างเสริมสุขภาพอยู่ที่ประชาชนต้องมีความร่วมมือกัน ความมั่นคงทางสุขภาพ และความมั่นคงทางอาหารมีการเชื่อมโยงกับชุมชนอย่างมีนัย
ทางด้านนโยบาย เชื่อมั่นว่าการสร้างเสริมสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญจึงน่าจะมีการสนับสนุนมากกว่านี้ การเผชิญหน้ากับความเจ็บไข้ได้ป่วยต้องได้รับการดูแลเยียวยา มีการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคที่สมดุลกัน
ข้อจำกัด ด้านกระบวนการได้มามีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน กระบวนการขับเคลื่อนที่ผ่านองค์กรรัฐจะเป็นปัญหาหรือไม่
ข้อสรุปสำคัญ
1. เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าสุขภาพที่ดีต้องเริ่มจากครัวเรือน การสร้างเสริมสุขภาพอยู่ที่ประชาชนต้องมีความร่วมมือกัน ความมั่นคงทางสุขภาพ และความมั่นคงทางอาหารมีการเชื่อมโยงกับชุมชนอย่างมีนัย
- ธนาคารต้นไม้ เป็นจุดเริ่มต้นของการถ่ายทอดความรู้ของคนอยู่ป่า สื่อความรู้ให้กับคนภายนอกได้เรียนรู้
- ป่าร่วมยาง ความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชหลายร้อยชนิดที่รวมกันอยู่ในสวนเดียว ทุกอย่างมีมูลค่า กล้าไม้ เมล็ดพันธุ์ กิ่งพันธุ์ สามารถขายได้หมด พืชที่ปลูกต้องสามารถตอบโจทย์ 3 ข้อ คือ กินได้ ขายได้ เป็นยา
- การพัฒนานโยบายสาธารณะจากข้างล่างไปสู่ข้างบน แม้ยังมีข้อจำกัด แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำเพราะเป็นเรื่องที่มาจากกระบวนการมีส่วนร่วม
()