สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
แผนงานกลาง 20 ก.ค. 2563

 

 

 

 

 

แผนงานปฏิบัติการสื่อ 1 ก.ย. 2563

 

 

 

 

 

ประชุมคณะทำงานประเด็นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพภาคใต้,Mapping เครือข่ายครั้งที่ 1 20 ก.ค. 2563 21 ก.ค. 2563

 

  1. ชี้แจงแผนการดำเนินงานของเครือข่ายสื่อฯ
  2. แนะนำเครือข่าย ความคาดหวังจากผู้เข้าร่วม
  3. แบ่งกลุ่ม ย่อยประเด็นความมั่นคงทางอาหาร สื่อ สมัชชาสุขภาพจังหวัด
    • ใคร ทำอะไร ที่ไหน กับใคร อย่างไร โดยการวิเคราะห์แนวทางการขับเคลื่อนสำหรับงาน สื่อสาร
  4. แลกเปลี่ยน การสื่อสารที่ผ่านมากับประเด็นนโยบายสาธารณะ
  5. ทบทวนเนื้อหา
  6. แบ่งกลุ่มย่อย ร่วมออกแบบงานสื่อสาร ภายใต้สถานการณ์ NEW NORMAL กับความมั่นคงทางด้านอาหาร
  7. กำหนดพื้นที่นำร่องในระดับตำบล
    • นำเสนองานกลุ่ม
    • นำผลงานลงช่องทางการสื่อสาร
  8. สรุปการดำเนินกิจกรรม

 

เกิดแนวคิดเปิดพื้นที่กลางในจังหวัด มองว่า 1. ทุกภาคส่วนมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ มากมายในพื้นที่ แต่ยังขาดการกระจายพื้นที่ ส่วนใหญ่พื้นที่พัฒนาหรือประเด็นพัฒนาจะซ้ำซ้อนกัน
2. ทุกภาคส่วนมีผลงาน และมีจุดแข็งของแต่ละภาคส่วน ทำอย่างไรจึงจะนำจุดแข็งของแต่ละภาคส่วนมาบูรณาการร่วมกัน 3. ทุกภาคส่วนมีแผนพัฒนา แต่แผนงานเป็นแผนงานของแต่ละหน่วยงาน ยังขาดแผนบูรณาการร่วมของทุกภาคส่วน 4. ทุกภาคส่วนมีเป้าหมายการพัฒนาที่ดี แต่ยังขาดเป้าหมายร่วมของการพัฒนาจังหวัด ที่เป็นเป้าหมายร่วมกัน 5. งบประมาณที่ใช้เพื่อการพัฒนาจังหวัดมีอยู่จำนวนมาก แต่การกระจายงบประมาณยังอาจไม่ทั่วถึง หรือไม่สอดคล้องกับความต้องการพัฒนาของพื้นที่ การกำหนดพื้นที่กลางแต่ละจังหวัด - ชุมพร ต.พรทะเลทรัพย์ อ.ปะทิว - ระนอง ต.บางนอน อ.เมือง - สุราษฎร์ ต.ตะกุเหนือ อ.วิภาวดี - นครศรีฯ ต.ขอนหาด อ.อวด
- พัทลุง ต.นาท่อม อ.เมือง - สตูล ต.ท่าแพ อ.ท่าแพ - ตรัง ต.นาข้าวเสีย อ.นาโยง - กระบี่ ต.เกาะกลาง อ.เกาะลันตา - พังงา ต.แม่นางขาว อ.คุระบุรี - ภูเก็ต ต.ป่าครอก - นราธิวาส ต.เกาะเส้ง อ.เมือง - ปัตตานี ต.ละหาน อ.สายบุรี การเปิดพื้นที่กลางเพื่อให้ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห็น สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นที่รวบรวมข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าถึง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้/ลานวัฒนธรรม และเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับการตอบสนองจากภาครัฐอย่างแท้จริง ก้าวข้ามข้อจำกัดของหน่วยงานราชการ เพื่อการพัฒนาที่หลากหลาย ยั่งยืน

 

ประชุมเตรียม Work Shop Matching Network จาก 4 ประเด็นใหญ่ สู่ประเด็นย่อย (ความมั่นคงทางด้านอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางมนุษย์ ) 5 ส.ค. 2563 5 ส.ค. 2563

 

ออกแบบเวที work shop matching network 4 ประเด็นใหญ่ สู่ประเด็นย่อย
(ความมั่นคงทางด้านอาหาร  ความมั่นคงทางสุขภาพ  ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม  ความมั่นคงทางมนุษย์ )

 

  1. ประชุมเตรียมงาน กิจกรรม workshop matching network 4 ประเด็น

    • การประสานงานกับพื้นที่ ตำบลไสหร้า วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรบ้านพรุพลูหนัง พื้นที่ประเด็นความมั่นคงด้านอาหารจังหวัดนครศรีธรรมราช
    • เชิญกลุ่มเป้าหมาย ตัวแทน ประเด็น ความมั่นคงทางอาหาร ประเด็นสุขภาพ ประเด็นความมั่นคงมนุษย์ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม มีตัวแทนประเด็นยืนยันการเข้าร่วม
    • กลุ่มเครือข่าย/ภาคที่ ที่มีความสัมพันธ์กับการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ เช่น แรงงานจังหวัด นายอำเภอฉวาง ตัวแทนจากองค์กรท้องถิ่น พัฒนาการอำเภอ กอ.รมน. ภาค 4 กขป.11 สปสช.เขต 11 ประชาชนในพื้นที่
    • กิจกรรมภาคเช้า ในพื้นที่อำเภอเมือง จัดที่โรงแรมลิกอร์ เพื่อเป็นการ matching เครือข่ายด้านแรงงานซึ่งมีความสำคัญกับประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ เป็นการศึกษา กระบวนการทำงาน เกี่ยวกับการค้ามนุษย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มุมมองทางการสื่อสารเพื่อให้เกิดเนื้อหาที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อการเคลื่อนงานประเด็น
  2. กำหนดขั้นตอนลำดับกิจกรรมในการทำปฏิบัติการในพื้นที่ โดยการประสานกับกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรบ้านพรุพลูหนัง ในการเตรียมพื้นที่กิจกรรม การขยายเครือข่ายเพื่อการใช้สื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะสู่ความมั่นคงทางสุขภาวะ การสื่อสารเพื่อป้องกันและการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และเตรียมความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบตำบลนำร่องจังหวัดนครศรีธรรมราช

  3. การให้ข้อมูลการจัดงาน ความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงของการขับเคลื่อนงานทั้ง 4 ประเด็น มีความสัมพันธ์ และสามารถสนับสนุนให้งานก้าวไปข้างหน้าร่วมกัน โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งจากนั้นแต่ละประเด็นจะมีการอภิปรายแลกเปลี่ยน การทำงานในประเด็น หรือ งานที่หน่วยงานมีบทบาทในพื้นที่ จะนำมา matching โดยการใช้กระบวนการสื่อสาร กับเครือข่ายสื่อในภาคใต้
  4. นัดสรุปผลการดำเนินงานหลังการจัดกิจกรรมอีกครั้งต่อไป

 

ประชุม Work Shop Matching Network จาก 4 ประเด็นใหญ่สู่ประเด็นย่อย ความมั่นคงทางด้านอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางมนุษย์ 6 ส.ค. 2563 7 ส.ค. 2563

 

  1. กิจกรรมแนะนำตัวและเครือข่าย
  2. บรรยาย “แนวทางการสื่อสารเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน”
    โดย สำนักงานแรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราช และ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  3. รู้เท่าทันสื่อ ยุค New Normal และ Fake News
  4. กล่าววัตถุประสงค์แนะนำเครือข่าย

- บรรยาย“ชุมชนจัดการตนเอง สู่สังคมสุขภาวะ” แลเตรียมความพร้อมจัดตั้งศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบระดับตำบล นำร่อง”
5. บรรยาย “ชุมชนจัดการตนเอง ฐานของความมั่นคงทางสุขภาวะ”
6. นำเสนอแผนการดำเนินงานเครือข่ายสื่อเพื่อสุขภาวะ - เครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร
- เครือข่ายความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม
- ความมั่นคงทางสุขภาพ
7. เสวนา ผ่านรายการลิกอร์ล้อมวงคุย “ชุมชนจัดการตนเอง สู่สังคมสุขภาวะ
ใคร? ต้องทำอะไร? กับใคร? ที่ไหน? อย่างไร?” 8. แบ่งกลุ่มย่อยเรียนรู้กระบวนการสื่อสาร เพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ 9. ฝึกการใช้สื่อเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ร่วมกำหนดรูปแบบ
ที่เป็นนวัตกรรม ของการสื่อสาร นำเสนอ

 

  1. ความมั่นคงทางมนุษย์ ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายการค้ามนุษย์การทำงานของแรงงานจังหวัด
  2. ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม เกิดความรู้ความเข้าใจการชับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อม(หลักการ๓ขาโดยฝายมีชีวิต เกิดครูฝาย ได้น้ำ ได้ความสมบูรณ์) สาธารณสุขทางทะเล เรื่องการค้นหาขยะทางทะเล พื้นที่ต้นแบบคือ อบต.อ่าวนาง มีการเชิญหลายๆภาคส่วนเข้ามาร่วมขับเคลื่อน
  3. ความมั่นคงทางสุขภาพ เกิดข้อคิดทำอย่างไรให้คนในพื้นที่เข้าถึงบริการได้จริง เกิดความร่วมมือในทุกภาคส่วน /
  4. ความมั่นคงทางด้านอาหาร พื้นที่ตัวอย่าง : การปลูกพืฃร่วมยางที่ตำบลไสหร้า(ม.5 บ้านพรุพลูหนัง) ที่มีต้นทุน ศักยภาพ หนุนเสริมให้การขับเคลื่อนเกิดผลลัพธ์ที่ดี และสามารถขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆได้ เป็นการนำวิธีการมาคุยกัน และสร้างผู้นำ นักปฏิบัติ นักพัฒนา นักกิจกรรม ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ก็คือ New Normal มองว่าการขยับสุขภาวะตอนนี้อยู่ที่การ “ดับ” สายชั้น(ปิ่นโต) คือ จัดให้เป็นระเบียบเข้าที่เข้าทาง หวังว่ากระบวนการสื่อสารจะช่วยให้การดับเข้าที่เข้าทางมากขึ้น

 

การปฏิบัติงานสื่อ (ประเด็นความมั่นคงทางด้านอาหาร ประเด็นความมั่นคงทางสุขภาพ ประเด็นความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ประเด็นความมั่นคงทางมนุษย์ ) 8 ส.ค. 2563 8 ส.ค. 2563

 

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ one page
1. เรื่องราวที่จะสื่อถึงคนดู วัตถุประสงค์ที่จะสื่อสาร 2. กลุ่มเป้าหมายที่จะฟังแล้วนำมาจับประเด็น ต้องฟังและจับใจความสำคัญให้ดี มีใจความ 3. การถ่ายภาพกริยาบท เลือกภาพที่ผู้นำเสนอในขณะที่มีบาทบาทของเรื่องที่จะทำ one page
4. การไดคัท ตัดต่อภาพ นำวัตถุดิบที่ได้มาทั้งภาพและข้อความที่มีใจความมาตัดต่อเพื่อเตรียมนำเผยแพร่ต่อไป

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการผลิตหนังสือพิมพ์ออนไลน์ 1. หาข้อมูล โดยการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลและสัมภาษณ์ ว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ 2. วางแผนการเขียนศึกษากลุ่มเป้าหมายและนโยบายของประเด็นงานที่จะส่งเผยแพร่
3. ร่างเนื้อหา รูปแบบ ภาษา ทบทวน 4. ประเมินผล โดยการอ่านทบทวนด้วยตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยอ่าน

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการผลิตคลิปวีดีโอ 1. การวางแผน เป็นการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เรื่องราวที่จะถ่ายทำ วัตถุประสงค์ และระยะเวลา ของเรื่อง
2. เขียนบทโทรทัศน์ (Script) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการเปลี่ยนข้อความเป็นภาพและเสียง กำหนดมุมกล้อง เวลาที่ใช้ในแต่ละช็อต 3. องค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้ในการถ่ายทำ เช่น อุปกรณ์ในการถ่ายทำ อุปกรณ์ประกอบฉาก สถานที่ในการถ่ายทำ นักแสดง
4. การถ่ายทำ เป็นการบันทึกภาพตามบทโทรทัศน์
5. แคปเจอร์ (Capture) เป็นการนำวีดีโอที่ได้ถ่ายทำไว้ มาบันทึกลงในฮาร์ดดิส
6. การตัดต่อ เป็นการนำภาพที่ได้จากการแคปเชอร์มาเรียงร้อยต่อกันตามลำดับของบทโทรทัศน์
7. ใส่เอ็ฟเฟ็กต์/ตัดต่อใส่เสียง เมื่อได้ภาพตามต้องการแล้ว จึงทำการใส่เอ็ฟเฟ็กต์ ภาพนิ่ง
ข้อความ และเสียง เป็นต้น เพื่อให้งานวิดีโอเกิดความสมบูรณ์ สวยงาม น่าสนใจ
8. แปลงวิดีโอ สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเป็น VCD, DVD เพื่อนำไปใช้งานได้ตามต้องการ

 

  1. สื่อประชาสัมพันธ์ one page
    • ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
    • Link : https://www.facebook.com/scmanews/photos/a.711318922228143/3923822307644439/?type=3&theater
    • Link : https://www.facebook.com/scmanews/photos/a.711318922228143/3919973841362619/?type=3&theater
  2. หนังสือพิมพ์ออนไลน์
    • ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
  3. คลิปวีดีโอ
    • ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
    • Link : https://www.facebook.com/scmanews/posts/3948584398501563

 

ประชุมคณะทำงานประเด็นร่วมกับเครือข่ายสุขภาพภาคใต้เพื่อ mapping เครือข่าย ครั้งที่ 2 11 ส.ค. 2563 11 ส.ค. 2563

 

  1. ชี้แจงวัตถุประสงค์ รายงานเวที ที่ 1 แนะนำเครือข่าย
  2. ชี้แจงแผนการดำเนินงานของเครือข่ายสื่อฯ
  3. นำเสนอแผนการดำเนินงานเครือข่ายย่อยในระดับพื้นที่
    • ความมั่นคงทางอาหาร
    • พืชร่วมยาง
    • การท่องเที่ยว
    • ภัยพิบัติ
  4. ออกแบบงานสื่อสารเพื่อการสนับสนุนประเด็นการขับเคลื่อน
  5. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนัดแนะการเคลื่อนงานร่วมกัน

 

  1. เกิดการเชื่อมประสานกับเครือข่ายใหม่ (มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ/การท่องเที่ยวโดยชุมชน(บ้านห้วยทรายขาว)/กอ.รมน./ตำบลวิถีพอเพียง
  2. เห็นกระบวนการทำงานแต่ละเครือข่าย

- มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ เป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์ของเอกชน ในการทำงานเป้าหมายหลัก คือ เป็นการช่วยเหลือแนะนำ ให้คำปรึกษา การใช้ชีวิตประจำวันให้กับเด็กพิการ - การท่องเที่ยวโดยชุมชนปลอดภัย วัฒนธรรมสร้างสุขปลอดภัย 35 พื้นที่ทั่วประเทศ /การจัดการขยะ เชื่อมกับสิ่งแวดล้อม ได้รับการสนับจากเชฟรอนการขับเคลื่อน เน้นให้ชุมชนใช้วัสดุที่เกิดจากธรรมชาติ สามารถทำให้นักท่องเที่ยวมั่นใจถึงความปลอดภัยมากขึ้น เน้นนักท่องเที่ยวที่เป็นคนไทยทำให้การท่องเที่ยวฟื้นตัวได้เร็ว - กอ.รมน. มีการทำในเรื่องของฝาย กระบวนการสร้างฝายด้วยหลักการ 3 ขา ธรรมนูญของชุมชน จัดการทรัพยากรของชุมชนที่มีน้ำอย่างไร ขับเคลื่อนจากฝายพี่สู่ฝายน้อง จากนครไปสู่ภาคอื่น จากชุมชนสู่ชุมชน ครูฝายจากนครไปสู่ภาคอื่น / ประเด็นขยะร่วมกับมวล.(ขยะทางทะเล)
- ตำบลวิถีพอเพียง มีเครือข่าย 30 ตำบล มีประเด็นขับเคลื่อน 7 ประเด็นหลัก ความมั่นคงอาหาหาร พลังงานทางเลือก ทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการภัยพิบัติ ศก.ชุมชน สังคมและวิถีวัฒนธรรมทชุมชน ด้านการจัดความสัมพันธ์องค์กร/ชุมชน ใช้ฐานข้อมูลในการขับเคลื่อนสู่การระเบิดจากข้างใน เป้าประสงค์ เน้นที่ครัวเรือน - เครือข่ายความมั่นคงทางด้านอาหาร มีการขับเคลื่อนตั้งแต่ 60-61 มีการขับเคลื่อนในเชิงวิชาการกับมอ. มีตำบลต้นแบบ 4 ตำบล จันดี ไสหร้า เขาแก้ว หูล่อง สามารถทำเป็นยุทธศาสตร์อาหารระดับจังหวัด มีหลายๆภาคส่วนที่เข้ามาร่วม ปี 63 เราได้บูรณาการระดับตำบลเพื่อให้ได้ชุดความรู้ในระดับตำบลเพื่อให้ระบบอาหารระดับตำบลสร้างคุณภาพให้คนได้ พอเพียง ปลอดภัย โภชนาการอาหารที่ดี  จะขยายไปในระดับอำเภอ - เครือข่ายสื่อฯ มีรูปแบบดังนี้ Onair Online Onground โดยการอบรมให้ผู้แทนประเด็นทำสื่อเป็น เสริมสร้างทักษะให้สามารถทำสื่อเองได้ ร่วมกันทำ มี 2 ส่วน คือเจ้าของเรื่องราว ประเด็น หรือข้อมูล ร่วมทำกับทีมสื่อฯสนับสนุนช่องทาง เครื่องมือ และทำให้ ทางทีมสื่อเข้าไปศึกษาข้อมูลจากพื้นที่แล้วทำให้

 

ประชุมเตรียมคณะทำงานเพื่อ Work Shop Matching Network ครั้งที่ 1 (ความมั่นคงทางอาหาร , ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม , ความมั่นคงทางมนุษย์) 15 ส.ค. 2563 15 ส.ค. 2563

 

  1. กำหนดปฎิทินดำเนินงาน/แผนงานสื่อสารสาธารณะ เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้
  2. ออกแบบเวที work shop matching network ครั้งที่1 เครือข่ายสุขภาพภาคใต้เพื่อการออกแบบการสื่อสารสุขภาพ วันที่ 20-21 สิงหาคม 2563

 

  1. กำหนดปฎิทินดำเนินงาน/แผนงานสื่อสารสาธารณะ เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้
  2. ออกแบบเวที work shop matching network ครั้งที่ 1 เครือข่ายสุขภาพภาคใต้เพื่อการออกแบบการสื่อสารสุขภาพ วันที่ 20-21 สิงหาคม 2563
    • กำหนดหัวข้อเสวนา “ความมั่นคงทางสุขภาวะทั้ง 4 ด้าน อาหาร สิ่งแวดล้อม มนุษย์ สุขภาพ ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะและจะใช้พลังสื่อเพื่อการขับเคลื่อนได้อย่างไร”
    • กระบวนการสื่อสารเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ รู้เท่าทันสื่อออนไลน์ จริยธรรม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง / ฝึกปฏิบัติการเขียนข่าวอย่างง่าย /ฝึกปฏิบัติการใช้ช่องทาง CANVA โดยทีมลิกอร์มีเดีย / การใช้ช่องทางการประชุม ออนไลน์ ผ่านระบบ ZOOM

 

ประชุม Work Shop Matching Network ครั้งที่ 1 (ความมั่นคงทางอาหาร , ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม , ความมั่นคงทางมนุษย์) (ขยายเครือข่ายเพิ่ม) 20 ส.ค. 2563 21 ส.ค. 2563

 

  1. ชี้แจงแผนการดำเนินงานของเครือข่ายสื่อฯ และแนะนำเครือข่าย ความคาดหวังจากผู้เข้าร่วม
  2. เสวนานำเข้าข้อมูลหัวข้อ “ความมั่นคงทางสุขภาวะทั้ง 4 ด้าน อาหาร สิ่งแวดล้อม มนุษย์ สุขภาพ ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะและจะใช้พลังสื่อเพื่อการขับเคลื่อนได้อย่างไร”
    ผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย

- กขป.เขต 11 - ผู้ประสานประเด็นความมั่นคงสิ่งแวดล้อม - สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.นครศรีธรรมราช - ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร 3. กระบวนการสื่อสารเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ
- รู้เท่าทันสื่อออนไลน์ จริยธรรม กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- การเขียนข่าวอย่างง่าย
- การใช้ช่องทาง CANVA
- การใช้ช่องทางการประชุม ออนไลน์ ผ่านระบบ ZOOM
4. ฝึกปฏิบัติ ให้โจทย์เพื่อการฝึกเขียน เล่าเรื่องกับประเด็นของตนเองและสรุปเนื้อหา 5. ทบทวนเนื้อหาและฝึกปฏิบัติการ(ต่อ) 6. นำเสนอผ่านระบบ C-Site Report
7. นำเสนอผลงาน งานบุคคล 8. ฝึกปฏิบัติงานกลุ่ม เขียนข่าวโดยใช้ CANVA - นำเสนองานกลุ่ม
- นำผลงานลงช่องทางการสื่อสาร - เฟสสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช - C-Site 9. สรุปการดำเนินกิจกรรม พร้อมมอบเกียรติบัตร

 

  1. ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจในการขับเคลื่อนความมั่นคงทางสุขภาพทั้ง 4 ด้าน ที่ประกอบด้วย อาหาร สิ่งแวดล้อม มนุษย์ สุขภาพ ใช้เป็นแนวทางการพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะ และมีความเข้าใจที่จะใช้พลังสื่อเพื่อการขับเคลื่อน
  2. ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้ด้านการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้วยกระบวนการสื่อสาร การใช้กระบวนการทุกกระบวนการต้องใช้ภาคีร่วม
  3. เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการสื่อสาร รูปแบบของการสื่อสาร การรู้เท่าทันสื่อในปัจจุบัน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย5W1H ตลอดจนวิธีปฏิบัติให้เกิดการสื่อสารที่ถูกต้อง
  4. เกิดความรู้ความเข้าใจจากการปฏิบัติและทดลองทำจริง ประกอบด้วย

- การเชียนข่าวอย่างง่าย - การใช้ช่องทาง Canva - เทคนิคการถ่ายภาพโดยใช้ Kinemaster โปรแกรมการตัดต่อผ่าน Smartphone

ผลการตอบแบบประเมิน 1. รู้สึกอย่างไรกับกระบวนการ - เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการที่ได้ลงมือปฏิบัติจริง - กระบวนการอบรมแบบกลุ่มทำให้ผู้เข้าอบรมสามารถคิดงานภายใต้ความคิดที่หลากหลาย - นำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดและพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับตนเองและชุมชน - การอบรมมีกระบวนการที่เข้าใจง่ายทำให้ผู้เข้าร่วมเกิดความรู้สึกที่ดี - ประทับใจกับทีมวิทยากรที่พร้อมถ่ายทอดความรู้ให้โดยไม่ปิดบัง - เปิดโอกาสให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ เท่าทันการสื่อสารในยุคโซเชียล - ได้เพื่อน ได้งาน ได้พัฒนาตนเอง - ภูมิใจที่ได้เข้าร่วมอบรม - วิทยากรให้ความรู้ได้ตรงประเด็น 2. สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ประโยชน์ - ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถเข้าใจในเครื่องมือและวิธีการสร้างสื่อที่ดี - ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถสร้างผลงานได้ และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
- ได้เรียนรู้การเขียนข่าวอย่างไรให้มีความน่าสนใจได้ใจความกระชับ - เข้าใจเรื่องจริยธรรมในการสื่อสารว่าควรนำเสนอข่าวสารอย่างไร - ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์กับตัวเองและชุมชน
- การนำเครื่องมือ Canva มาใช้ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านเทคนิค ฝึกทักษะการใช้โปรแกรม - ได้เรียนรู้วิธีการใช้กล้องจากมือถืออย่างถูกต้อง การตัดต่อภาพ การไลฟ์สดอย่างไรให้มีผู้ชมหรือผู้ติดตามมากขึ้น - สามารถนำไปใช้พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสทางด้านการขายหรือบริการ - การใช้ตาราง 12 ช่องช่วยให้มีการจัดการข้อมูลได้ง่าย - สามารถนำสิ่งที่ได้จากการอบรมไปใช้เป็นช่องทางและเป็นเครื่องมือถ่ายทอดสิ่งดีๆที่มีในชุมชนให้ภายนอกได้รับรู้ได้ 3. ข้อเสนอแนะ - ระยะเวลาอบรมน้อยไป อยากให้เพิ่มเวลาเรียนรู้ให้มากกว่านี้ บางคนยังตามไม่ทัน เช่น 2 คืน 3 วัน หรือ 4 คืน  5 วัน เพื่อความชำนาญในการใช้เครื่องมือ - ให้มีการจัดอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพ - อยากให้ลงรายละเอียดของโปรแกรมมากกว่าเดิม - เพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีให้มากกว่าเดิม - ควรมีเอกสารประกอบในทุกเรื่องที่อบรม - วิทยากรผู้ช่วยน้อยไป ควรเพิ่มให้มากกว่านี้ - ควรเพิ่มรุ่นในการอบรม เพื่อเปิดโอกาสให้คนอื่นๆ หรือกลุ่มอื่นได้เข้าถึงด้วย

 

ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปเวที Work Shop Matching Network ครั้งที่ 1 (ความมั่นคงทางอาหาร , ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม , ความมั่นคงทางมนุษย์) 22 ส.ค. 2563 22 ส.ค. 2563

 

สรุปผลการจัดเวที Work Shop Matching Network  ครั้งที่ 1 (ความมั่นคงอาหาร ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางมนุษย์)

 

  1. จากเวที Work Shop Matching Network ครั้งที่ 1 เป็นปฏิบัติการการสื่อสาร โดยใช้ประเด็นขับเคลื่อนทางสังคม ทั้งด้านความมั่นคงทางอาหาร ความมันคงทางสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางมนุษย์ ซึ่งคณะทำงานได้เชิญแกนนำเครือข่ายในการขับเคลื่อนประเด็น รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ คือแรงงานจังหวัด กอ.รมน. ภาค 4 ได้นำเรื่องราวการดำเนินงาน ปัจจัยความสำเร็จ และสิ่งที่เป็นจุดร่วมสำคัญในการสร้างความตระหนักต่อสังคมเพื่อขับเคลื่อนไปด้วยกัน โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารยุคใหม่ ช่องทางที่หลากหลาย ในยุคที่ทกคนสามารถเป็นสื่อได้ และสื่อสารเรื่องราวของตัวเองสู่สังคม เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดความมั่นคงต่อสุขภาพและความเป็นมนุษย์ที่เจริญแล้ว
  2. ด้วยสถานการณ์ที่เทคโนโลยี มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โลกของการสื่อสารมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต การขับเคลื่อนสังคมที่เต็มไปด้วยข่าวสารที่ยากจะแยกแยะว่าอันไหนคือข่าวจริงอันไหนคือข่าวปลอม การให้ความรู้ เสริมทักษะ พัฒนาศักยภาพ ให้กับกลุ่มเป้าหมายเพื่อการรู้เท่าทันสื่อและใช้สื่อเป็น และสามารถเป็นเครือข่ายสื่อในชุมชน เป็นพลังของสื่อดีที่จะช่วยสื่อสารเรื่องราวของชุมชน
  3. การให้ความรู้ และพัฒนาศักยภาพ ทั้งด้านวิชาการ และเทคนิค ในการเป็นนักสื่อสารที่ดี มีคุณธรรม มีจริยธรรมในการสื่อสาร ไม่ล่วงละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น การสื่อสารและข้อมูลเป็นปัจจัยบวก ผลสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นเครื่องมือสามารถสร้างและทำลายได้ การแชร์ข้อมูลในโลกโซเชียลต้องคำนึงข้อเท็จจริงที่มาที่ไปของข่าว มีเทคนิคในการตรวจสอบข่าวจริงข่าวปลอม เพื่อไม่ให้กลุ่มเครือข่ายสื่อของเราเป็นส่วนหนึ่งในการทำร้ายสังคมด้วยความไม่รู้ สื่อเพื่อสร้างสรรค์ สื่อเพื่อสังคม สื่อเพื่อสุขภาวะ ที่สำคัญทุกสื่อต้องมีจริยธรรมสื่อ
  4. กระบวนการกลุ่มให้เกิดการคิดเนื้อหา เขียนข่าว โดยการนำเข้าข้อมูลจากภาคีเครือข่ายต่างๆ เช่น ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางมนุษย์ เสริมทักษะให้กลุ่มเป้าหมายได้เกิดวิธีคิดในการนำเรื่องราวเด่นๆ และเนื้อหาที่จะทำการสื่อสาร โดยนำความรู้ในการสื่อสารที่ได้รับในห้องเรียน เช่น การจับประเด็นเขียนข่าว การถ่ายทำเป็นคลิ้ปสั้น การไลฟ์สดผ่านเฟสบุ๊ค
  5. ความสำเร็จเกิดขึ้นเนื่องจากเรามีโอกาสได้สร้างกระบวนการเรียนรู้ เรื่องราวในทุกชุมชนมีความน่าสนใจแต่ไม่สามารถนำมาเป็นประเด็นได้เพราะเรามองเห็นเรื่องปกติ จากการเสวนาทำให้เราได้มองเห็นประเด็นและสามารถหยิบยกประเด็นมานำเสนอได้อย่างน่าสนใจ ทำอย่างไรที่จะสื่อสารให้ภายนอกได้เรียนรู้ ให้สิ่งที่เราทำสื่อสารไปไกลกว่าเฉพาะกลุ่มเพื่อนและทรงพลังมากยิ่งขึ้น ส่งผลในวงกว้างมากขึ้น เมื่อเรานำกลับไปสานต่อ และส่งผลต่อนโยบายต่อไป

 

การปฏิบัติงานสื่อ (ประเด็นความมั่นคงทางด้านอาหาร ประเด็นความมั่นคงทางสุขภาพ ประเด็นความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ประเด็นความมั่นคงทางมนุษย์ ) 22 ส.ค. 2563 22 ส.ค. 2563

 

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ one page
1. เรื่องราวที่จะสื่อถึงคนดู วัตถุประสงค์ที่จะสื่อสาร 2. กลุ่มเป้าหมายที่จะฟังแล้วนำมาจับประเด็น ต้องฟังและจับใจความสำคัญให้ดี มีใจความ 3. การถ่ายภาพกริยาบท เลือกภาพที่ผู้นำเสนอในขณะที่มีบาทบาทของเรื่องที่จะทำ one page
4. การไดคัท ตัดต่อภาพ นำวัตถุดิบที่ได้มาทั้งภาพและข้อความที่มีใจความมาตัดต่อเพื่อเตรียมนำเผยแพร่ต่อไป

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการผลิตหนังสือพิมพ์ออนไลน์ 1. หาข้อมูล โดยการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลและสัมภาษณ์ ว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ 2. วางแผนการเขียนศึกษากลุ่มเป้าหมายและนโยบายของประเด็นงานที่จะส่งเผยแพร่
3. ร่างเนื้อหา รูปแบบ ภาษา ทบทวน 4. ประเมินผล โดยการอ่านทบทวนด้วยตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยอ่าน

 

  1. สื่อประชาสัมพันธ์ one page
      - ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช   - Link : https://www.facebook.com/scmanews/posts/3967501479943188?tn=-R
  2. หนังสือพิมพ์ออนไลน์ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช

 

การปฏิบัติการสื่อ 4 ประเด็นภายใต้รายการลิกอร์ล้อมวงคุย (ประเด็นสื่อสุขภาวะ ในยุคปัจจุบัน) 25 ส.ค. 2563 25 ส.ค. 2563

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

  1. เกิดรายการวิทยุโดยนำเสนอผ่านรายการ ลิกอร์ล้อมวงคุย ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
  2. การดำเนินรายการ พูดคุย นำไปสู่มุมมองและการมองเห็นภาพของการนำเสนอข่าวในยุค New Normal
  3. การนำเสนอข่าวบนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่บิดเบือน นำเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา

 

ประชุมเตรียมคณะทำงานเพื่อ Work Shop Matching Network (ความมั่นคงทางสุขภาพ) ครั้งที่ 1 27 ส.ค. 2563 27 ส.ค. 2563

 

ประชุมเพื่อออกแบบเวที วันที่ 1- 2 กันยายน 2563 Work Shop Matching Network (ความมั่นคงทางสุขภาพ) ครั้งที่ 2

 

  1. สถานการณ์โควิด-19 สิ่งที่มหาวิทยาลัยในพื้นที่ชุมชนมีส่วนร่วมอย่างไร ทางด้านความมั่นคงทางสุขภาพและเกษตรในพื้นที่
  2. การศึกษา ภูมิปัญญาพื้นบ้าน การสอน การหนุนเสริมองค์ความรู้ด้านความมั่นคงทางสุขภาพไปถ่ายทอดให้กับชุมชน และทำอย่างไรให้ชุมชนมีการปรับตัวและหนุนเสริมความรู้ซึ่งกันและกันได้
  3. การเสวนา แลกเปลี่ยน ให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ ของประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการเกษตรจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร) นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ และเกษตรกรที่มีประสบการณ์เรียนรู้จากเกษตรพืชร่วมยาง ผลิตอาหารเพื่อการสร้างความเข้มแข็งในครัวเรือนและเป็นต้นแบบของเกษตรกร
  4. ได้รูปแบบการสื่อสารในงาน ทั้งแบบ onair onground

 

Live สด : รายการ “แกะรอยวิถีอันดามัน” เรื่อง แนวความคิดจากรุ่นแม่สู่รุ่นลูก กับขนมถิ่นเมืองพังงา 27 ส.ค. 2563 27 ส.ค. 2563

 

วางสคริปโดยให้ครูบอล พูดถึงที่มาของการทำขนมถิ่นพิ้นบ้านพังงา และการเปิดคอร์สอบรมให้กับผู้ที่สนใจ

 

  1. เปิดคอร์สสอนการทำอาหารไทยและการทำขนมพื้นถิ่นพังงาให้กับวิทยาลัยชุมชน และหน่วยงานที่ต้องการสร้างงานสร้างอาชีพให้ชาวบ้าน   - ยอดขายสินค้า/ขนมของครูบอลมากขึ้นและมีคนรู้จักขนมถิ่นพังงามากขึ้น
  2. Live สด : รายการ “แกะรอยวิถีอันดามัน” ผ่านช่องทาง : เพจ PACTV สมาคมสื่อวิทยุโทรทัศน์พังงา อันดามัน (ผู้ชมและผู้ฟังเข้าถึง 4,243 คน)

 

Live สด : รายการ “แกะรอยวิถีอันดามัน” การท่องเที่ยวชุมชนวิถีใหม่ เรื่องฟาร์มแพะ เดือนล้อมดาว 30 ส.ค. 2563 30 ส.ค. 2563

 

  1. นำเสนอการท่องเที่ยวชุมชนวิถีใหม่ เรื่องฟาร์มแพะ เดือนล้อมดาว
  2. พูดคุยประเด็นความเป็นมาของการเปิดศูนย์เรียนรู้วิชาแพะ ให้เด็กๆและเยาวชนได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงแพะแบบพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์นำเข้า

 

  1. แหล่งที่มา :  วัตถุดิบในการทำอาหารเชื่อมโยงเครือข่าย
  2. แหล่งผลิตอาหาร : วิธีการเข้าถึงแหล่งผลิตอาหารแบบอินทรีย์ของคนพังงา
  3. Live สด : รายการ “แกะรอยวิถีอันดามัน” ผ่านช่องทาง : เพจ PACTV สมาคมสื่อวิทยุโทรทัศน์พังงา อันดามัน (ผู้ชมและผู้ฟังเข้าถึง 4,764 คน)
  4. เชื่อมโยงกับหย่วยงานภาครัฐ เครือข่ายเกษตรกร และเครือข่ายการท่องเที่ยวในชุมชน

 

ประชุมเตรียมคณะทำงานเพื่อ Work Shop Matching Network (ความมั่นคงทางสุขภาพ) ครั้งที่ 2 31 ส.ค. 2563 31 ส.ค. 2563

 

ประชุมออกแบบเวที วันที่ 1-2 กันยายน 63 Work Shop Matching Network (ความมั่นคงทางสุขภาพ) ครั้งที่2

 

  1. ได้รูปแบบการจัดเวทีเพื่อปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อให้เห็นถึงสภาวะวิกฤตซ้อนวิกฤตที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งเป็นประเด็น สำคัญที่จะช่วยทำให้เห็นถึงจุดแข็ง ข้ออ่อนและข้อจำกัด จากบทเรียนการขับเคลื่อนที่ผ่านมาของสังคม รวมทั้งบทเรียนในมิติ นโยบายสาธารณะและมาตรการหนุนเสริมต่าง ๆ ของรัฐ อันจะนำมาซึ่งข้อเสนอเชิงนโยบายและบทเรียนที่ดีสำหรับการขับเคลื่อน ร่วมกันเพื่อรับมือกับวิฤตความมั่นคงทางอาหารในอนาคต
  2. ได้กำหนดการเวทีแสดงความเห็นต่อเอกสารข้อถกแถลง เรื่อง ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต วิกฤติซ้อนวิกฤต จากโควิด-๑๙

 

ประชุม Work Shop Matching Network ครั้งที่ 2 (ความมั่นคงทางสุขภาพ)(ขยายเครือข่ายเพิ่ม) 1 ก.ย. 2563 2 ก.ย. 2563

 

การเสวนา แลกเปลี่ยน ให้เห็นถึง ความสัมพันธ์ ของประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการเกษตรจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร) นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ และเกษตรกรที่มีประสบการณ์เรียนรู้จากเกษตรพืชร่วมยาง ผลิตอาหารเพื่อการสร้างความเข้มแข็งในครัวเรือนและเป็นต้นแบบของเกษตรกร

 

ความรู้เป็นเรื่องที่สำคัญประกอบด้วยนวัตกรรม เกษตรเชิงเดี่ยวตอบโจทย์เรื่องรายได้เป็นหลัก  ถ้ามองเรื่องสุขภาพ เกษตรร่วมยางเป็นเกษตรที่เอื้อต่อสุขภาพ และความหลากหลายพันธุกรรมที่อยู่ร่วมกัน  ถ้าวิถีการผลิตไม่ปลอดภัยแม้รายได้จะดีแต่ก็ไม่ปลอดภัย  การสร้างเสริมสุขภาพสามารถทำได้เอง  พึ่งตนเองได้จริง มีความรู้จริงในเรื่องสุขภาพ  สมาชิกในครัวเรือนเรามีความเข้าใจกันจริงกับความเป็นอยู่ในอนาคตคือ ความมั่นคง  สถานการณ์โควิด-19 เราสามารถป้องกันและยับยั้งได้ดี เพราะฉะนั้นการสร้างเสริมสุขภาพอยู่ที่ประชาชนต้องมีความร่วมมือกัน ความมั่นคงทางสุขภาพ และความมั่นคงทางอาหารมีการเชื่อมโยงกับชุมชนอย่างมีนัย ทางด้านนโยบาย เชื่อมั่นว่าการสร้างเสริมสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญจึงน่าจะมีการสนับสนุนมากกว่านี้  การเผชิญหน้ากับความเจ็บไข้ได้ป่วยต้องได้รับการดูแลเยียวยา มีการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคที่สมดุลกัน
ข้อจำกัด ด้านกระบวนการได้มามีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน กระบวนการขับเคลื่อนที่ผ่านองค์กรรัฐจะเป็นปัญหาหรือไม่

ข้อสรุปสำคัญ
1. เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ ว่าสุขภาพที่ดีต้องเริ่มจากครัวเรือน  การสร้างเสริมสุขภาพอยู่ที่ประชาชนต้องมีความร่วมมือกัน  ความมั่นคงทางสุขภาพ และความมั่นคงทางอาหารมีการเชื่อมโยงกับชุมชนอย่างมีนัย - ธนาคารต้นไม้  เป็นจุดเริ่มต้นของการถ่ายทอดความรู้ของคนอยู่ป่า สื่อความรู้ให้กับคนภายนอกได้เรียนรู้
- ป่าร่วมยาง  ความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชหลายร้อยชนิดที่รวมกันอยู่ในสวนเดียว  ทุกอย่างมีมูลค่า กล้าไม้ เมล็ดพันธุ์ กิ่งพันธุ์ สามารถขายได้หมด  พืชที่ปลูกต้องสามารถตอบโจทย์ 3 ข้อ คือ กินได้ ขายได้ เป็นยา - การพัฒนานโยบายสาธารณะจากข้างล่างไปสู่ข้างบน  แม้ยังมีข้อจำกัด  แต่เป็นเรื่องที่ต้องทำเพราะเป็นเรื่องที่มาจากกระบวนการมีส่วนร่วม

 

การปฏิบัติงานสื่อ (ประเด็นความมั่นคงทางสุขภาพ ) 3 ก.ย. 2563 3 ก.ย. 2563

 

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ one page
1. เรื่องราวที่จะสื่อถึงคนดู วัตถุประสงค์ที่จะสื่อสาร 2. กลุ่มเป้าหมายที่จะฟังแล้วนำมาจับประเด็น ต้องฟังและจับใจความสำคัญให้ดี มีใจความ 3. การถ่ายภาพกริยาบท เลือกภาพที่ผู้นำเสนอในขณะที่มีบาทบาทของเรื่องที่จะทำ one page
4. การไดคัท ตัดต่อภาพ นำวัตถุดิบที่ได้มาทั้งภาพและข้อความที่มีใจความมาตัดต่อเพื่อเตรียมนำเผยแพร่ต่อไป

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการผลิตหนังสือพิมพ์ออนไลน์ 1. หาข้อมูล โดยการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลและสัมภาษณ์ ว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ 2. วางแผนการเขียนศึกษากลุ่มเป้าหมายและนโยบายของประเด็นงานที่จะส่งเผยแพร่
3. ร่างเนื้อหา รูปแบบ ภาษา ทบทวน 4. ประเมินผล โดยการอ่านทบทวนด้วยตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยอ่าน

 

  1. สื่อประชาสัมพันธ์ one page
    • ผ่านช่องทาง : Page Facebook สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
    • Link : https://web.facebook.com/scmanews/photos/a.711318922228143/4005786212781381/?type=3
    • Link : https://web.facebook.com/scmanews/photos/a.711318922228143/4009922505701085/?type=3
    • Link : https://web.facebook.com/scmanews/photos/a.711318922228143/4022566551103347/?type=3&eid=ARCbGCJUHeQl5tiBGd53fjOE-RRMCTq7WPMpoEOLK9Fk8C2g2wbTnXOfMJQrcY5m9VZLOahErgNJvp3&xts%5B0%5D=68.ARDwgjgUPasv0-x2phfUayfcpXJjXOc-UeM4ZXWv9iCNAzoOHIsJadFEXJ9G-i9AFr4eZoWNIke5ZEPE9sSlzg7H2wlcoHiPVvDcrbNrsgNYwo99GtnoifEFErKIGY1JrRYKMC4B2GelRY-1snPE0TwUF4RtCbqjSfWZ-2lEVStWTegiKTZG9exoijYYWbxh5o8IZ7D6zvsspvaswGgJZqdsX86j4nYguyxQtnVi4KsD7Wf2SmYSazkeUumofw7ApUD0_PWPlY8gvR9HZMjMd4GJWlumMo0GQXNOY0HIa4Y3X93nEnhhNdTHJS2caIIEWFr5MzrXxgeFzcSorfKSw&tn=EHH-R
  2. หนังสือพิมพ์ออนไลน์
    • ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช

 

ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปเวที Work Shop Matching Network ครั้งที่ 2 (ความมั่นคงทางสุขภาพ) 4 ก.ย. 2563 4 ก.ย. 2563

 

สรุปผลการจัดเวที Work Shop Matching Network ครั้งที่ 2 (ความมั่นคงทางสุขภาพ)

 

จากเวที Work Shop Matching Network ครั้งที่ 2 (ความมั่นคงทางสุขภาพ) เป็นการจัดกลุ่ม ประเด็นเครือข่ายที่ขับเคลื่อนงานที่ส่งผลต่อสุขภาพในพื้นที่ภาคใต้เพื่อแลกเปลี่ยนด้วยรูปแบบการเสวนา  ว่าด้วย ความมั่นคงทางสุขภาพ พันธุกรรมพืช สัตว์พื้นถิ่นกับการดำรงวิถีชีวิตชุมชน ในเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนทำให้เห็นว่า ตัวแทนทั้ง 3 ด้าน พูดคุยในทิศทางร่วมกันคือมองถึงสุขภาพโดยรวมของประชาชน โดยในส่วนของเกษตรกรจะเน้นถึงความ “ความยั่งยืน” คือ การที่เราสามารถพึ่งตนเองได้ และสามารถนำพาคนอื่นให้ยืนได้เหมือนเรามีความเป็นผู้นำทางธรรมชาติ มีความเชื่อและความคิดเป็นของตนเอง และใช้เวลาเรียนรู้กับการจัดการในแปลงเกษตร เกิดข้อค้นพบเช่น - สวนเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพ “ป่าร่วมยาง” การที่เมื่อก่อนเรามีความรู้และเครือข่ายเป็นทุนอยู่แล้ว แต่เป็นการปลูกพืชที่สวนกระแสไม่สนใจเรื่องพืชเศรษฐกิจ มาวันนี้เวลาผ่านมา 12 ปี องค์ความรู้ที่มีถูกนำมาใช้ คิดว่าป่าร่วมยางสามารถโยงเข้าหาได้ทุกเรื่องตอบโจทย์ได้หมดทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ป่าร่วมยาง พืชที่ปลูกต้องสามารถตอบโจทย์ 3 ข้อ คือ กินได้ ขายได้ เป็นยา ถ้ามองเรื่องสุขภาพ เกษตรร่วมยางเป็นเกษตรที่เอื้อต่อสุขภาพ - มีแนวคิดเรื่องธนาคารต้นไม้เป็นจุดเริ่มต้นของการถ่ายทอดความรู้ของคนอยู่ป่า สื่อความรู้ให้กับคนภายนอกได้เรียนรู้
- นวัตกรรมเกษตรเชิงเดี่ยว เป็นการตอบโจทย์เรื่องรายได้เป็นหลัก
- การสร้างเสริมสุขภาพเราสามารถทำได้เองพึ่งตนเองได้จริง มีความรู้จริงในเรื่องสุขภาพ
  ทั้งนี้ทั้งนั้นภาคการเกษตรก็ยังมีความจำเป็นที่จะได้รับความรู้และการบริการวสาธารณะสุขที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต นโยบายทางสาธารสุขที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพทางการเกษตร การเจ็บป่วยที่เกิดจากอาชีวอนามัย รายได้เกษตรกรที่ไม่เพียงพอต่อการดูแลสุขภาพ ระบบอาหารที่มีความมั่นคงปลอดภัย ในขณะที่งานวิชาการ ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจยากสำหรับเกษตรกร แต่มหาวิทยาลัยยังต้องเป็นพี่เลี้ยงด้านวิชาการ รวมทั้งงานวิจัยต่างๆเพื่อให้มีนวัตกรรมใหม่ๆให้กับเกษตรกรด้วย ผลที่ได้รับ 1. เกิดเครือข่ายด้านสุขภาพเพิ่มขึ้น - สวนเรียนรู้ความหลากหลายทางชีวภาพ : ป่าร่วมยาง - มทร.ศรีวิชัยนครศรีธรรมราช (ไสใหญ่) - ศูนย์อนามัยที่ 11 - สหทัยมูลนิธิ 2. เกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพจากเครือข่ายสุขภาพ 3. ความมั่นคงทางสุขภาพ และความมั่นคงทางอาหารมีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับชุมชนอย่างมีนัย 4. การพัฒนานโยบายสาธารณะจากข้างล่างไปสู่ข้างบน และมาจากกระบวนการมีส่วนร่วม

 

Live สด : รายการ แกะรอยวิถีอันดามัน (เรื่องการท่องเที่ยวอันดามัน – ภูเก็ต หลังวิกฤติโควิด 19) 15 ก.ย. 2563 15 ก.ย. 2563

 

ลงพื้นที่เพื่อ พูดคุย นัดหมายกับผู้จัดการของบริษัทนิกรมารีนจำกัด เพื่อรับทราบข้อมูลและปัญหาด้านการท่องเที่ยวของภูเก็ต

 

  1. ประชาสัมพันธ์ “ เกาะเฮ” ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของภูเก็ต เดินทางสะดวก ใช้เวลาแค่ 20 นาทีจากท่าเรืออ่าวฉลอง ก่อนเกิดวิกฤติการการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 มีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเข้ามาจำนวนไม่ต่ำกว่า 3,000 คน/วันแต่ช่วงนี้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่สถานประกอบการในเกาะเริ่มทยอยเปิด ทำให้เกิดการจ้างงาน เกิดการขายอาหาร แต่ยังมีคนจำนวนมากที่เข้าใจไม่ถูกต้องเรื่องค่าใช้จ่าย
      - พี่น้องประชาชนเข้าใจเรื่องการเดินทาง การใช้จ่าย ในการมาเที่ยวภูเก็ตมากขึ้นว่า มีโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมการบริการด้านต่าง ๆ ให้กับคนไทย และราคาถูกมาก
  2. Live สด : รายการ “แกะรอยวิถีอันดามัน” ผ่านช่องทาง : เพจ PACTV สมาคมสื่อวิทยุโทรทัศน์พังงา อันดามัน (ผู้ชมและผู้ฟังเข้าถึง 3,612 คน)

 

Live สด : รายการ แกะรอยวิถีอันดามัน (เรื่องแกะรอยอาหารทะเลและอาหารพื้นบ้านพังงา) 28 ก.ย. 2563 28 ก.ย. 2563

 

  1. ถ่ายภาพนิ่ง
  2. เขียนข่าวประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้คนมาเที่ยวพังงา

 

  1. หลังจากวิกฤติการการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 จังหวัดพังงาประสบปัญหาเรื่องของอาหารทะเลและอาหารแปรรูปต่าง ๆ ล้นตลาด  “งานFood & Fish @ พังงา”  เป็นนโยบายของกระทรวงพาณิชย์  ที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการขายและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายให้ผู้ประกอบการ และนายจุลินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี  ได้เข้าร่วมพิธีเปิดงานพร้อมให้การสนับสนุนผู้ประกอบการท้องถิ่นพังงา
  2. การเขียนข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์ภายในงาน

 

Live สด : รายการ แกะรอยวิถีอันดามัน (เรื่องพื้นที่เรียนรู้ สู่วิถีพังงาแห่งความสุข) 29 ก.ย. 2563 29 ก.ย. 2563

 

ออกแบบเวทีเสวนา “บทเรียนรวมคนสร้างเมืองตามวิถีพังงาแห่งความสุข

 

  1. กิจกรรม รวมคนสร้างเมืองตามแนวคิดพังงาแห่งความสุข ในพื้นที่เรียนรู้ของพังงา เกิดขึ้นจากพลังของประชาสังคม และบูรณาการกับภาคส่วนอื่น กำหนดอนาคตชุมชนด้วยตัวเอง มีประชาชนร่วมกิจกรรมจำนวนไม่ต่ำกว่า 300 คน
  2. Live สด : รายการ “แกะรอยวิถีอันดามัน” ผ่านช่องทาง : เพจ PACTV สมาคมสื่อวิทยุโทรทัศน์พังงา อันดามัน (ผู้ชมและผู้ฟังเข้าถึง 11,914 คน)

 

ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมเวทีถอดบทเรียนการใช้สื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ 30 ก.ย. 2563 30 ก.ย. 2563

 

  1. การจัดเตรียมความพร้อม เพื่อจัดกิจกรรมในวันที่ 11 ตุลาคม 2563 ถอดบทเรียนการใช้สื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ
  2. ถอดบทเรียน การดำเนินงานเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ กับการขับเคลื่อนสังคมผ่านประเด็นสร้างสุข
  3. ทบทวนกระบวนการสื่อสารและรูปแบบที่เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ทำการสื่อสารต่อสาธารณะ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อผู้รับรับสื่อได้หรือไม่อย่างไรสรุปการประชุม

 

  1. ถอดบทเรียน การดำเนินงานเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ กับการขับเคลื่อนสังคมผ่านประเด็นสร้างสุข
  2. ทบทวนกระบวนการสื่อสารและรูปแบบที่เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ทำการสื่อสารต่อสาธารณะ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงและส่งผลกระทบต่อผู้รับรับสื่อได้หรือไม่อย่างไร
  3. ได้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมและสถานที่ในการจัดกิจกรรม พร้อมทั้ง รูปแบบในการจัดเวที โดยมีการเตรียมเนื้อหาเพื่อให้ผู้เข้าประชุมได้ร่วมกันทบทวนกระบวนการสื่อสาร เนื้อหาที่ผลิตเพื่อการสื่อสารและแนวทาง ทิศทางของสื่อที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและส่งผลต่อการขับเคลื่อนสังคมเป็นอย่างมาก จึงเชิญ ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ให้ความรู้เรื่องการใช้สื่อขับเคลื่อนสังคมโดยใช้นโยบายสาธารณะ และเปิดให้มีการซักถามแลกเปลี่ยน หลังการบรรยาย
  4. เนื่องจากการทำงานในรูปแบบเครือข่ายสื่อในช่วงระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา ได้มีการประเมินโครงการและและกระบวนการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ วิธีการสื่อสาร เนื้อหาการสื่อสาร ประเด็นงาน บริบทของชุมชนรวมถึงการสื่อสารไปถึงผู้รับสารได้ตามที่เราคาดหวังหรือไม่ จึงเชิญ  ดร.ดุริยางค์ วาสนา ซึ่งเป็นผู้ทำการประเมินและติดตามงานมาโดยใกล้ชิด ได้นำผลการประเมินมานำเสนอเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้รับทราบและสะท้อนให้เห็นถึง กระบวนการสื่อสารและสิ่งที่เราได้คิดทำการสื่อสารในรูปแบบเครือข่ายมี ผลดี มีข้อจำกัด และมีแนวคิดในการพัฒนาต่อไปอย่างไร
  5. ได้ข้อมูลกับสื่อในการสร้างเนื้อหาเพื่อการสื่อสารได้ตรงกับที่ประเด็นต้องการจะให้เกิดผลลัพธ์ต่อสาธารณะ
  6. การชวนคุยตั้งคำถามให้เกิดการแลกเปลี่ยนถกเถียง เกิดข้อสรุปให้กับเครือข่ายสื่อถึงกระบวนการทำงานที่ผ่านมา และเกิดแนวคิดสร้างสรรค์พัฒนาทั้งศักยภาพนักสื่อสาร การผลิตเนื้อหา รูปแบบในการสื่อสาร คำนึงถึงการสื่อไปถึงให้ผู้รับเกิดความตระหนักต่อเนื้อหาและเห็นความสำคัญต่อสิ่งที่เราต้องการสื่อสารออกไป และที่สำคัญการเป็นสื่อที่มีคุณภาพมีจริยธรรมสื่อ มีความน่าเชื่อถือต่อสังคม

 

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ความมั่นคงทางอาหารตามแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน” 3 ต.ค. 2563 3 ต.ค. 2563

 

  1. ประสานงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อเชิญร่วมเสวนา
  2. ประสานงานสถานที่     - จัดเวทีเสวนา     - เสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้     - ศึกษาดูงานการจัดการตลาด     - ไลฟ์สดในงาน     - รวบรวมข้อเสนอเชิงนโยบายที่น่าสนใจ
  3. เขียนบทความเผยแพร่

 

  1. เกิดไลฟ์สด 2 ชิ้น
    • https://www.facebook.com/southsook/videos/292588681870324
    • https://www.facebook.com/southsook/videos/332535471362462
  2. เกิดบทความประชาสัมพันธ์
  3. เกิดร่างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อเตรียมนำไปใช้เข้าเวทีใหญ่

 

เวทีถอดบทเรียนการใช้สื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ 11 ต.ค. 2563 11 ต.ค. 2563

 

  1. ชี้แจงวัตถุประสงค์ การใช้สื่อเพื่อการขับเคลื่อนสังคม โดยใช้นโยบายสาธารณะ
  2. นำเข้าข้อมูลผลการประเมินโครงการที่ผ่านมา
  3. กระบวนการถอดบทเรียน กับการใช้สื่อขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายจากงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 11
  4. วางแผนการขับเคลื่อนและแนวทางการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายสู่งานสร้างสุขภาคใต้ครั้งที่ 13 ร่วมกับประเด็นสุขภาพทั้ง 4ประเด็น

 

  1. ชุดข้อมูลที่ใช้ ประกอบกระบวนการถอดบทเรียนการทำงาน

- ข้อเสนอที่เครือข่ายสื่อนำเสนอต่อหน่วยงานองค์กรต่างๆ เมื่องานสร้างสุขภาคใต้ปี 2562
- ข้อมูลจากการประเมินโครงการ ดำเนินงานการสื่อสารชุมชนขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะที่คณะประเมินทำการประเมินระหว่างดำเนินโครงการจนสิ้นสุดโครงการในปีแรกต่อมาถึงปีที่ 2
- การให้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์สถานการณ์การสื่อสารในยุคใหม่ รวมทั้งการเกิดภาวะวิกฤติโควิด – 19 ที่เป็นตัวกระตุ้นให้กระบวนการสื่อสารเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างชัดเจน 2. วิเคราะห์สถานการณ์ของเครือข่ายสื่อตอบสนองต่อความคาดหวัง มีปัจจัยอะไรที่ทำได้ อะไรที่ทำไม่ได้ มองอนาคตแนวโน้มทางสังคม เป็นปัจจัยกำหนดให้เครือข่ายสื่อจะขับเคลื่อนอย่างไร มีเป้าหมาย และวิธีการที่จะไปสู่เป้าหมาย
3. เนื้อหาโดยสรุป - แพลทฟอร์มในการสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสื่อสารในยุคปัจจุบันเนื่องจากคนรุ่นใหม่สนใจ นิยมความแปลกใหม่ และความรวดเร็วทำให้ เนื้อหาที่เป็นเฟคนิวส์ เข้าถึงและดึงดูดความสนใจจากผู้รับสื่อและสร้างกระแสได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามสื่อที่เป็นสื่อกระแสหลัก ยังคงได้รับความน่าเชื่อถือจากสังคมมากกว่า
- New normal รูปแบบของสื่อ ปัจจุบันระบบสตรีมมิ่งจะเข้ามามีอิทธิพลกับผู้บริโภคมากขึ้นและอาชีพสตรีมเมอร์เป็นที่สนใจของคนรุ่นใหม่ สื่อใหญ่หันมาจัดกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์มากขึ้นผู้คนติดตามข่าวสารบ้านเมืองผ่านระบบออนไลน์ในสมาร์ทโฟนมากขึ้นกว่าเดิมมาก ผู้ชมต้องการคอนเทนส์ How To มากกว่า What is สิ่งที่ต้องคำนึงคือสื่ออย่างไรให้เห็นว่าเพราะอะไรถึงเกิดความสำเร็จมากว่าการนำเรื่องราวมาเล่าต่อ - แนวทางการทำสื่อ.การสร้างเนื้อหาจะเป็นความรอยู่รอดของสื่อในอนาคต ซึ่งสื่อจะต้องมีความรู้วิเคราะห์สังเคราะห์ข่าว แค่ทำข่าวแบบเดิมอย่างเดียวไม่ได้แล้ว เนื่องจากมีความรุนแรงของการแข่งขันสูงมาก ภายใต้ข้อจำกัด ต้องมีความรวดเร็ว มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ความนิยมของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไป ดังนั้นสื่อต้องมีความแม่นยำสูงมาก .ในขณะที่ระบบความปลอดภัย ความถูกต้องค่อนข้างต่ำ ส่งผลต่อจริยธรรม ความรับผิดชอบของนักสื่อสารที่อาจจะมีน้อยลง สิงที่ต้องคิดคือทำอย่างไรให้ผู้บริโภคมีความรู้และเท่าทันในเรื่องเหล่านี้
- ยุทธศาสตร์การสื่อสาร การสื่อสารสำหรับโลกยุคใหม่ ต้องผลิตเนื้อหา(content) ที่ เข้าใจถึงความสนใจของผู้บริโภค เนื่องจากทางเลือกของผู้รับสื่อมีความหลากหลาย การสื่อสารที่ต้องตระหนักในเชิงคุณค่าต่อสังคม ข้อมูลที่ถูกต้องในการสร้างเนื้อหาและการแบ่งปันภายใต้การแข่งขันสูง การจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลก่อนที่จะส่งถึงคนในสังคมเกิดความเข้าใจได้อย่างไร ต้องใช้ความรู้ (รวบรวม ค้นหา) มากกว่าความเห็น ให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่า 4. การทำงานของทีมสื่อทั้ง 3 โซน ในไตรมาสที่ 2 ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2563 - มกราคม 2564 ทีมใต้ล่าง โดยนายนิพนธ์ รัตนาคม ความมั่นคงทางอาหาร การแพทย์พหุวัฒนธรรม ทำงานร่วมกับเครือข่ายสื่อ จังหวัดพัทลุง , จังหวัด ตรัง จังหวัดสงขลา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทีมใต้อันดามัน คุณทวีศักดิ์ วิสุทธิกุล ทำงานร่วมกับเครือข่ายสื่อ จังหวัดภูเก็ต , พังงา , กระบี่ , ระนอง ทีมใต้บน นครศรีธรรมราช , ชุมพร ,  สุราษฎร์ธานี และจะมีงานเขียนเป็น หนังสือพิมพ์ออนไลน์ กับทุกประเด็นงาน

ข้อสังเกต/ข้อแลกเปลี่ยนจากที่ประชุม 1. จากสถานการณ์งานสร้างสุขปี 62 ทุกจังหวัดทำหน้าที่และช่วยเสริมพลังการขับเคลื่อนสังคมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. มีการสร้างนักสื่อสารมวลชนเพิ่มขึ้น 3. มีการเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อการขยายภาคี 4. มีการอบรมเยาวชนเพื่อการเท่าทันสื่อ 5. การจัดเวทีสาธารณะระดับจังหวัด   Social movement เมื่อเราใช้สื่อในการขับเคลื่อนสังคม เกิดผลในทางที่ดีพบว่าภาคีความร่วมมือขยายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ กอ.รมน ภาค 4 ,มีส่วนสำคัญในการเชื่อมต่อกับกลุ่มคนและองค์กรให้เกิดการมีส่วนร่วมและช่วยกันสื่อสารเรื่องราวดีๆ .เกิดแกนนำเยาวชนกระจายอยู่ตามพื้นที่ เกิดสื่อดีๆที่ผลิตโดยเยาวชน มีเครือข่ายผู้สูงอายุเข้ามาเสริม การท่องเที่ยวชุมชนฟื้นคืน ตัวอย่างเกษตรกรต้นแบบ ตัวอย่างเกษตรอินทรีย์ เข้าสู่กลไกระดับจังหวัด นโยบายยาสูบระดับจังหวัด ขับเคลื่อนร่วมกับโรงเรียนเรื่องปัจจัยเสี่ยง แม้ว่าข้อเสนอเชิงนโยบายของเรายังไม่รับการตอบสนองมากนักก็ตาม แต่เราก็พบว่าการเชื่อมประสานกับหน่วยงานที่เรามีต่อหน่วยงานยังขาดความต่อเนื่องจริงจัง
  ความสำเร็จของเครือข่ายส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของวัตถุดิบ 4 M และศักยภาพของบุคคลที่มีความเฉพาะมีความเด่นชัดในตัวของบุคคลที่มาขับเคลื่อน โดยมีสมาคมสื่อฯเป็นตัวเชื่อมประสาน ความยาก คือ ประเด็นการขับเคลื่อนในพื้นที่ ต้องใช้เวลา ทำให้เป็นข้อจำกัดของการขับเคลื่อน การตอบรับของผู้รับสื่อ จากผลผลิต การรับรู้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าใช่สิ่งที่เราต้องการหรือไม้ สามารถสร้างการรับรู้ถึงขั้นที่เราคาดหวังหรือไม่ ขั้นตอนต่อไปในการขับเคลื่อนและพัฒนาสื่อ ให้ไปถึงผู้รับสารและส่งผลกระทบจริง การคิดวิเคราะห์ไม่เป็นแบบชี้นำ แต่ต้องรอบด้านเรารับรู้ได้อย่างไรในช่องทางการนำเสนอ เช่น มีการลงพื้นที่ไปประเมินสถานการณ์ตลอดเวลาที่มีการขับเคลื่อนหรือไม่

แผนกิจกรรมเครือข่ายสื่อในช่วงไตรมาสสุดท้ายก่อนถึงงานสร้างสุขครั้งที่ 12 พื้นที่ทั้ง 4 ประเด็นหลักเพื่อสนับสนุนงานสื่อสารและการมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ทั้งเวที Onair , Online Ongroundและจัดเวทีสมัชชาออนไลน์

 

การปฏิบัติงานสื่อ (ลงพื้นที่การปฏิบัติงานสื่อ เพื่อถอดบทเรียนการใช้สื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ) 12 ต.ค. 2563 12 ต.ค. 2563

 

  1. หาข้อมูล โดยการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลและสัมภาษณ์ ว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่
  2. วางแผนการเขียนศึกษากลุ่มเป้าหมายและนโยบายของประเด็นงานที่จะส่งเผยแพร่
  3. ร่างเนื้อหา รูปแบบ ภาษา ทบทวน
  4. ประเมินผล โดยการอ่านทบทวนด้วยตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยอ่าน

 

  1. หนังสือพิมพ์ออนไลน์ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช

 

ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปเวทีถอดบทเรียนการใช้สื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ 15 ต.ค. 2563 15 ต.ค. 2563

 

สรุปเวทีถอดบทเรียนการใช้สื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ

 

  1. ผู้เข้าร่วม เป็นไปตามที่ตั้งเป้าหมาย คือ มีกลุ่มเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ ตัวแทนขับเคลื่อนประเด็นสร้างสุข ทั้ง 4 ประเด็น นักวิชาการ
  2. ชุดข้อมูลที่ใช้ ประกอบกระบวนการถอดบทเรียนการทำงาน

- ข้อเสนอที่เครือข่ายสื่อนำเสนอต่อหน่วยงานองค์กรต่างๆ เมื่องานสร้างสุขภาคใต้ปี 2562
- ข้อมูลจากการประเมินโครงการ ดำเนินงานการสื่อสารชุมชนขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะที่คณะประเมินทำการประเมินระหว่างดำเนินโครงการจนสิ้นสุดโครงการในปีแรกต่อมาถึงปีที่ 2
- การให้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์สถานการณ์การสื่อสารในยุคใหม่ รวมทั้งการเกิดภาวะวิกฤติโควิด – 19 ที่เป็นตัวกระตุ้นให้กระบวนการสื่อสารเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างชัดเจน 3. วิเคราะห์สถานการณ์ของเครือข่ายสื่อตอบสนองต่อความคาดหวัง มีปัจจัยอะไรที่ทำได้ อะไรที่ทำไม่ได้ มองอนาคตแนวโน้มทางสังคม เป็นปัจจัยกำหนดให้เครือข่ายสื่อจะขับเคลื่อนอย่างไร มีเป้าหมาย และวิธีการที่จะไปสู่เป้าหมาย
4. เนื้อหาโดยสรุป - แพลทฟอร์มในการสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญต่อการสื่อสารในยุคปัจจุบันเนื่องจากคนรุ่นใหม่สนใจ นิยมความแปลกใหม่ และความรวดเร็วทำให้ เนื้อหาที่เป็นเฟคนิวส์ เข้าถึงและดึงดูดความสนใจจากผู้รับสื่อและสร้างกระแสได้อย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตามสื่อที่เป็นสื่อกระแสหลัก ยังคงได้รับความน่าเชื่อถือจากสังคมมากกว่า
- New normal รูปแบบของสื่อ ปัจจุบันระบบสตรีมมิ่งจะเข้ามามีอิทธิพลกับผู้บริโภคมากขึ้นและอาชีพสตรีมเมอร์เป็นที่สนใจของคนรุ่นใหม่ สื่อใหญ่หันมาจัดกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์มากขึ้นผู้คนติดตามข่าวสารบ้านเมืองผ่านระบบออนไลน์ในสมาร์ทโฟนมากขึ้นกว่าเดิมมาก ผู้ชมต้องการคอนเทนส์ How To มากกว่า What is สิ่งที่ต้องคำนึงคือสื่ออย่างไรให้เห็นว่าเพราะอะไรถึงเกิดความสำเร็จมากว่าการนำเรื่องราวมาเล่าต่อ - แนวทางการทำสื่อ.การสร้างเนื้อหาจะเป็นความรอยู่รอดของสื่อในอนาคต ซึ่งสื่อจะต้องมีความรู้วิเคราะห์สังเคราะห์ข่าว แค่ทำข่าวแบบเดิมอย่างเดียวไม่ได้แล้ว เนื่องจากมีความรุนแรงของการแข่งขันสูงมาก ภายใต้ข้อจำกัด ต้องมีความรวดเร็ว มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ความนิยมของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนไป ดังนั้นสื่อต้องมีความแม่นยำสูงมาก .ในขณะที่ระบบความปลอดภัย ความถูกต้องค่อนข้างต่ำ ส่งผลต่อจริยธรรม ความรับผิดชอบของนักสื่อสารที่อาจจะมีน้อยลง สิงที่ต้องคิดคือทำอย่างไรให้ผู้บริโภคมีความรู้และเท่าทันในเรื่องเหล่านี้
- ยุทธศาสตร์การสื่อสาร การสื่อสารสำหรับโลกยุคใหม่ ต้องผลิตเนื้อหา(content) ที่ เข้าใจถึงความสนใจของผู้บริโภค เนื่องจากทางเลือกของผู้รับสื่อมีความหลากหลาย การสื่อสารที่ต้องตระหนักในเชิงคุณค่าต่อสังคม ข้อมูลที่ถูกต้องในการสร้างเนื้อหาและการแบ่งปันภายใต้การแข่งขันสูง การจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลก่อนที่จะส่งถึงคนในสังคมเกิดความเข้าใจได้อย่างไร ต้องใช้ความรู้ (รวบรวม ค้นหา) มากกว่าความเห็น ให้เกิดประโยชน์และมีคุณค่า 5. การทำงานของทีมสื่อทั้ง 3 โซน ในไตรมาสที่ 2 ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2563 - มกราคม 2564 ทีมใต้ล่าง โดยนายนิพนธ์ รัตนาคม ความมั่นคงทางอาหาร การแพทย์พหุวัฒนธรรม ทำงานร่วมกับเครือข่ายสื่อ จังหวัดพัทลุง , จังหวัด ตรัง จังหวัดสงขลา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ทีมใต้อันดามัน คุณทวีศักดิ์ วิสุทธิกุล ทำงานร่วมกับเครือข่ายสื่อ จังหวัดภูเก็ต , พังงา , กระบี่ , ระนอง ทีมใต้บน นครศรีธรรมราช , ชุมพร ,  สุราษฎร์ธานี และจะมีงานเขียนเป็น หนังสือพิมพ์ออนไลน์ กับทุกประเด็นงาน

 

Live สด : รายการ แกะรอยวิถีอันดามัน (เรื่องบทบาทของอาสาสมัครในพื้นที่เพื่อก้าวข้ามวิกฤติโควิด 19) 16 ต.ค. 2563 16 ต.ค. 2563

 

  1. ลงพื้นที่ ต.สองแพรก เพื่อดูสถานที่ เตรียมความพร้อมกิจกรรม และแนวทางการนำเสนอผลงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงสุขภาพของคนในชุมชน
  2. เปิดเวทีถอดบทเรียน/คืนข้อมูลสู่หน่วยงาน ด้านการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน ภายใต้การทำงานของอสม.โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกิจกรรมดังนี้     - องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น     - ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล     - นักวิชาการชำนาญการสาธารณสุข ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ว่าราชการจังหวัด     - ตัวแทนของอสม.

 

  1. คนในชุมชนทราบบทบาทและให้ความร่วมมือกับการทำงานลงพื้นที่ของอสม.มากขึ้น
  2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมให้การสนับสนุน
  3. Live สด : รายการ “แกะรอยวิถีอันดามัน” ผ่านช่องทาง : เพจ PACTV สมาคมสื่อวิทยุโทรทัศน์พังงา อันดามัน (ผู้ชมและผู้ฟังเข้าถึง 8,415 คน)

 

ประชุมเตรียมคณะทำงานเพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในโครงการ ศวนส. 27 พ.ย. 2563 27 พ.ย. 2563

 

เพื่อติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในโครงการ ศวนส. สรุปผลการดำเนินงานการสื่อสารการขับเคลื่อนสุขภาวะ 4 ประเด็นและจัดทำแผนงานปฏิบัติการสื่อสาร กับ 4 ประเด็นงานสร้างสุขภาคใต้

 

  1. สามารถทำการสื่อสารงานประเด็นโดยการแบ่งโซนรับผิดชอบ งานสื่อสารโดย ใช้เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ แบ่งเป็น 3 โซน  อันดามัน ใต้บน ใต้ล่าง รับผิดชอบงานสื่อสารตามประเด็นที่แต่ละพื้นที่ขับเคลื่อนอยู่ เช่น อันดามัน มีประเด็นภัยพิบัติ และ การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นประเด็น สุขภาวะด้านสิ่งแวดล้อม จะได้เครือข่ายสื่อพังงา คุณ ทวีศักดิ์ และคุณนิตยา เป็นผู้ผลิตคอนเทนต์การสื่อสาร ส่วนใต้บน คือชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง มีประเด็นความมั่นคงทางอาหาร รับผิดชอบ โดยเครือข่ายสื่อชุมพร คุณศาสนะ กลับดี และคุณศิลาพร มะหมัดเหม โซนใต้ตอนล่าง เช่นสงขลา ยะลา นราธิวาส ขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะชายแดนใต้ การแพทย์พหุวัฒนธรรม และความมั่นคงทางอาหาร รับผิดชอบโดยเครือข่ายสื่อสงขลาคุณนิพนธ์ รัตนาคม ส่วนภาคใต้ตอนกลาง พื้นที่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานีบางส่วน รับผิดชอบโดย สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช
  2. การดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา งานสื่อสารปฏิบัติตามแผนงาน ได้ตามเป้าหมายในส่วน  ที่เรากำหนดแผนงานเองได้ แต่สำหรับงานผลิตเนื้อหาการสื่อสารประเด็นต้องรอแผนการขับเคลื่อนงาน ของประเด็น เนื่องจากแต่ละพื้นที่ มีความพร้อมในการขับเคลื่อนงานที่ไม่เท่ากัน  ซึ่งได้จัดเวทีเพื่อการ  แมชชิ่งประเด็นการขับเคลื่อนไปแล้ว และเอาเนื้อหาจากเวทีมาประกอบการวางแผนงาน สร้างสรรค์การสื่อสารให้สอดคล้องกับความต้องการวัตถุประสงค์ของแต่ละประเด็น ให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างกัน  และสามารถสื่อสารสร้างการรับรู้และเกิดความรู้ในการขยายผลสู่วงกว้าง
  3. ในวันที่ 14-15 ธ.ค. 63 จะต้องเตรียมเนื้อหาที่ได้จากการสื่อสาร และรูปแบบการสื่อสารที่ได้แลกเปลี่ยนกันในช่วงที่ผ่านมาไปนำเสนอผลการดำเนินงานกับคณะทำงาน ของ สนส.เพื่อประเมินผลร่วมกัน และร่วมกันออกแบบงานสื่อสารกับ ทีมขับเคลื่อนประเด็นของแต่ละจังหวัด
  4. การเตรียมงานสำหรับวันที่14-15 ธันวาคม 2563 จะต้องเชิญเครือข่ายสื่อ ที่ปฏิบัติงาน ทั้ง 3 โซน คือ สื่อพังงา ชุมพร สงขลา รวมทั้ง ทีมกลางจากสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช    ทีมปฏิบัติการสื่อ
  5. ทีมสื่อทั้งหมดจะต้องเป็นพี่เลี้ยงในกิจกรรมปฏิบัติการกลุ่มย่อย เพื่อออกแบบงานสื่อสารของแต่ละประเด็นร่วมกัน โดยทีมประเด็นบอกความต้องการของประเด็น ต้องการที่จะสื่อสาร และทำความเข้าใจเพื่อกำหนดแผนงานของแต่ละโซน และเป็นแนวทางในการคิดคอนเทนต์การสื่อสาร
  6. หน้าที่ของเครือข่ายสื่อในวันที่ 14-15 ธันวาคม 2563 จะมีการบรรยายของ          ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ เกี่ยวกับการสื่อสารยุคใหม่ สื่ออย่างไรให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และให้ความเห็นข้อเสนอแนะกับการสื่อสารของเครือข่ายสื่อสร้างสุข ซึ่งทีมสื่อจะต้องศึกษาและเรียนรู้ เพื่อนำมาปรับใช้กับการแผนงานสื่อสาร

 

ประชุมติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในโครงการ ศวนส. 14 ธ.ค. 2563 15 ธ.ค. 2563

 

  1. ชี้แจงเป้าหมายและตัวชี้วัดโครงการ ศวนส.
  2. นำเสนอความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการในระยะที่ 1

- ประเด็นความมั่นงทางสุขภาพ - ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร - ประเด็นความมั่นคงทางมนุษย์ - ประเด็นความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - การจัดการระบบสร้างเสริมสุขภาพแบบพหุวัฒนธรรม - ประเด็นสื่อสาธารณะเพื่อสุขภาวะ 3. แบ่งกลุ่มตามราบประเด็นเพื่อวางแผนการขับเคลื่อนงานระยะที่ 2
4. นำเสนอรูปแบบ การสื่อสารเพื่อการผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายไปสู่การปฏิบัติทั้ง 6 ประเด็น 5. นำเสนอแผนการดำเนินงานระยะที่ 2 ทั้ง 4 ประเด็น 6. การายงานกิจกรรม และรายงานการเงินแบบออนไลน์ และการบริหารจัดการโครงการ

 

  1. มีพื้นที่เป้าหมายการทำงานจะครอบคลุมตามประเด็น

- ความมั่นคงทางอาหาร ระนอง ชุมพร นครศรีธรรมราช นราธิวาส - ความมั่นคงทางมนุษย์ ที่มีกลไก 8 พื้นที่ มีชุมพร ระนอง พังงา ตรัง พัทลุง นราธิวาส - การท่องเที่ยวโดยชุมชน อยู่ฝั่งอันดามัน สตูล ตรัง กระบี่ ภูเก็ต พังงา ระนอง - การแพทย์พหุวัฒนธรรม 3 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง และ 4 อำเภอของสงขลา สตูลบางส่วน - การจัดการภัยพิบัติ คือ 6 จังหวัดอันดามัน และนราธิวาส 2. ได้ชี้แจงการดำเนินงานเรื่องการสื่อสารการขับเคลื่อนประเด็นหลัก4ประเด็นโดยใช้เครือข่ายสื่อ 14 จังหวัด ทั้งเครือข่ายสื่อเดิมและเครือข่ายใหม่ ทำงาน 2 ระดับ กับประเด็นที่ขับเคลื่อนมองถึงวิธีการทำงานร่วมกันโดยจัดรูปแบบเป็นกองบก.ย่อย
3. การถอดบทเรียนการทำงานของเครือข่ายสื่อ ที่ผ่านมาทั้งเฟส 1 และเฟส 2 โดยมีทีมติดตามประเมินผลมาช่วยให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะต่างๆ สำหรับสิ่งที่ต้องทำเพื่อการขับเคลื่อนไปข้างหน้าจำเป็นต้องเชิญเครือข่าย 4. ประเด็นงานที่ขับเคลื่อนโดยแบ่งตามโซนจังหวัด  3 โซน  อันดามัน ใต้บน ใต้ล่าง รับผิดชอบงานสื่อสารตามประเด็นที่แต่ละพื้นที่ขับเคลื่อนอยู่ เช่น อันดามัน มีประเด็นภัยพิบัติ และ การท่องเที่ยว ซึ่งเป็นประเด็น สุขภาวะด้านสิ่งแวดล้อม จับคู่กับเครือข่ายสื่อพังงา คุณ ทวีศักดิ์ และคุณนิตยา เป็นผู้ผลิตคอนเทนต์การสื่อสาร โซนใต้บน คือชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง มีประเด็นความมั่นคงทางอาหาร รับผิดชอบ โดยเครือข่ายสื่อชุมพร คุณศาสนะ กลับดี และคุณศิลาพร มะหมัดเหม โซนจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง พัทลุง สงขลา ยะลา นราธิวาส ขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะชายแดนใต้ การแพทย์พหุวัฒนธรรม และความมั่นคงทางอาหาร รับผิดชอบโดยเครือข่ายสื่อสงขลาคุณนิพนธ์ รัตนาคม ส่วนภาคจังหวัดภาคใต้ตอนกลาง พื้นที่ นครศรีธรรมราช  สุราษฎร์ธานีบางส่วน รับผิดชอบโดย สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช โดยเครือข่ายสื่อแต่ละโซนนำข้อมูลจากการปฏิบัติการกลุ่มไปทำแผนการสื่อสารและคิดคอนเทนต์ ให้ตรงสอดคล้องกับความต้องการของประเด็นงาน 5. การประชุมเน้นให้แต่ละเครือข่ายชี้แจงและยืนยันแผนงานให้มีความเข้าใจตรงกันอีกครั้งเนื่องจากวัตถุประสงค์ของการสื่อสารเพื่อให้เกิดการรับรู้และเรียนรู้กระบวนการทำงานของการขับเคลื่อนงาน จะต้องมี เนื้อหา รูปแบบ และช่องทางการสื่อสาร ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับแผนการขับเคลื่อนประเด็นงานในแต่ละช่วงเวลา
6. ทีมสื่อจะต้อง ใช้เครื่องมือการสื่อสาร เป็นทั้งการแจ้งข้อมูลและการกระจายข้อมูล เราชูเรื่องของการสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลง ออกแบบเพื่อสื่อให้เห็นว่ากระบวนการขับเคลื่อนที่สำเร็จเป็นอย่างไร สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานได้จริง
7. การคิดคอนเทนต์ต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายที่เราจะสื่อสารว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องในระดับใด ข้อมูลที่ได้รับจากการสื่อสารไปแล้วนั้นสามารถกระตุ้น ผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติที่ในส่วนของภาคีหลัก และภาคียุทธศาสตร์ หรือแม้แต่กลุ่มองค์กร ประชาชนเกษตรกร

 

ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปเวทีติดตามประเมินผลการดำเนินงานในโครงการ ศวนส.และจัดทำแผนงานปฏิบัติการสื่อสาร 4ประเด็น 18 ธ.ค. 2563 18 ธ.ค. 2563

 

ทบทวนแผนการสื่อสารเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ขับเคลื่อนสุขภาวะ 4  ประเด็นและทำความเข้าใจกับเครือข่ายสื่อเพื่อปฏิบัติการสื่อสาร กับ 4 ประเด็น

 

  1. ทีมสื่อได้นำเสนอผลการปฏิบัติงานพร้อมกับแผนงานการสื่อสาร โดยปฏิบัติการกลุ่มร่วมกับประเด็นงานที่ขับเคลื่อนภายใต้การสนับสนุนของ สสส.ผ่านสถาบันนโยบายสาธารณะ มอ. โดยแบ่งตามโซนจังหวัด 3 โซน อันดามัน ใต้บน ใต้ล่าง รับผิดชอบงานสื่อสารตามประเด็นที่แต่ละพื้นที่ขับเคลื่อนอยู่ เช่น

- โซนอันดามัน มีประเด็นภัยพิบัติ และการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นประเด็น สุขภาวะด้านสิ่งแวดล้อม จับคู่กับเครือข่ายสื่อพังงา คุณทวีศักดิ์ ปิยะวิสุทธิกุล และคุณนิตยา ราชานา เป็นผู้ผลิตคอนเทนต์การสื่อสาร
- โซนใต้บน คือชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง มีประเด็นความมั่นคงทางอาหาร รับผิดชอบ โดยเครือข่ายสื่อชุมพร คุณศาสนะ กลับดี และคุณศิลาพร มะหมัดเหม
- โซนจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง พัทลุง สงขลา ยะลา นราธิวาส ขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะชายแดนใต้ การแพทย์พหุวัฒนธรรม และความมั่นคงทางอาหาร รับผิดชอบโดยเครือข่ายสื่อสงขลาคุณนิพนธ์ รัตนาคม
- โซนจังหวัดภาคใต้ตอนกลาง พื้นที่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานีบางส่วน รับผิดชอบโดย สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช โดยเครือข่ายสื่อแต่ละโซนนำข้อมูลจากการปฏิบัติการกลุ่มไปทำแผนการสื่อสารและคิดคอนเทนต์ ให้ตรงสอดคล้องกับความต้องการของประเด็นงาน 2. การประชุมเน้นให้แต่ละเครือข่ายชี้แจงและยืนยันแผนงานให้มีความเข้าใจตรงกันอีกครั้งเนื่องจากวัตถุประสงค์ของการสื่อสารเพื่อให้เกิดการรับรู้และเรียนรู้กระบวนการทำงานของการขับเคลื่อนงาน จะต้องมี เนื้อหา รูปแบบ และช่องทางการสื่อสาร ที่ชัดเจนและสอดคล้องกับแผนการขับเคลื่อนประเด็นงานในแต่ละช่วงเวลา สามารถสื่อสารสร้างการรับรู้และเกิดความรู้ในการขยายผลสู่วงกว้าง
3. ได้แผนการสื่อสารของแต่ละโซน ดังนี้ - โซนอันดามัน จังหวัด พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรัง แบ่งการการรับผิดชอบงานเป็น 2 ทีม คือ ทีมที่1 เครือข่ายสื่อ จ.พังงา โดย คุณทวีศักดิ์ ปิยะวิสุทธิกุล และคุณนิตยา ราชานา
ประเด็นที่รับผิดชอบ : ภัยพิบัติ และความมั่นคงด้านอาหาร ทีมที่ 2 เครือข่ายสื่อ จ.กระบี่ โดย คุณธรรมดิวิชย์ ศรีรุ้ง
ประเด็นที่รับผิดชอบ : ชุมชนท่องเที่ยวอันดามัน กับการจัดการสิ่งแวดล้อมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน - โซนใต้บน เครือข่ายสื่อ จ.ชุมพร โดยคุณศาสนะ กลับดีและ คุณศิลาพร มะหมัดเหม ประเด็นที่รับผิดชอบ : ความมั่นคงทางอาหาร - โซนใต้ล่าง เครือข่ายสื่อ จ.สงขลา โดยคุณนิพนธ์ รัตนาคม
ประเด็นที่รับผิดชอบ : ความมั่นคงทางอาหาร / ภัยพิบัติ - โซนใต้กลาง เครือข่ายสื่อ จ.นครศรีธรรมราช โดย สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ประเด็นที่รับผิดชอบ : ความมั่นคงทางอาหาร , มนุษย์ , สุขภาพ , สิ่งแวดล้อม

 

ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 1 23 ธ.ค. 2563 23 ธ.ค. 2563

 

  1. สร้างความเข้าใจแผนการดำเนินกิจกรรมในระยะที่ 2
  2. นำเสนอร่างแผนปฎิบัติการสื่อสารในระดับพื้นที่

 

  1. ผลงานหรือชิ้นงาน ผู้ชมผู้ติดตาม ความคิดเห็นต่อประเด็นที่นำเสนอ
  2. แผนการปฏิบัติการสื่อสาร รูปแบบเนื้อหาและช่องทางแบ่งการทำงานเป็น 4 โซน
      -  ใต้ล่าง ประเด็นการแพทย์พหุวัฒนธรรม ความมั่นคงทางอาหาร การจัดการภัยพิบัติ มีพื้นที่ พัทลุง สงขลา ยะลา นราธิวาส ปัตตานี ผู้รับผิดชอบหลัก คือ คุณนิพนธ์ รัตนาคม
      -  ใต้อันดามัน การท่องเที่ยวโดยชุมชน การจัดการภัยพิบัติอันดามัน มีพื้นที่ พังงา กระบี่ ตรัง และภูเก็ต ผู้รับผิดชอบ คุณทวีศักดิ์ ปิยะวิสุทธิกุล คุณธรรมดิวิชย์ ศรีรุ้ง
      -  ใต้บน ความมั่นคงทางอาหาร เขตสุขภาพ การลดปัจจัยเสี่ยง มีพื้นที่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และระนอง    คุณศาสนะ กลับดี
      -  ใต้กลาง ความมั่นคงทางอาหาร เขตสุขภาพ มีพื้นที่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และทีมกลางที่ทีหน้าที่  สนับสนุนด้านเทคนิคและการผลิตเนื้อหาหลักและประเด็นหลักในรูปแบบ คลิป สารคดี ผู้รับผิดชอบ ทีมสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้นครศรีธรรมราช

 

ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 2 28 ธ.ค. 2563 28 ธ.ค. 2563

 

  1. สร้างความเข้าใจแผนการดำเนินกิจกรรมในระยะที่ 2
  2. นำเสนอร่างแผนปฎิบัติการสื่อสารในระดับพื้นที่
  3. การแบ่งจ่ายงบประมาณในแต่ละงวด

 

  1. แผนการปฏิบัติการสื่อสาร รูปแบบเนื้อหา ผลผลิตระหว่างทาง และเป้าหมายเชิงผลลัพธ์ของแต่ละพื้นที่
  2. ค่าใช้จ่าย/งบประมาณ การจัดการด้านการเงินจ่ายแบ่งงบประมาณออกเป็น 3 งวด งวดสุดท้ายเป็นของงานสร้างสุข

- การประชุมคณะทำงาน - กิจกรรมประเด็น - งานสร้างสุข

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร (รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวานเพื่อผลิตข่าว ตอน การฟื้นฟูหลังน้ำท่วม นครศรีธรรมราช) 4 ม.ค. 2564 4 ม.ค. 2564

 

  1. ประชุมทีมสื่อร่วมกับพื้นที่ เพื่อการวางแผน และ หารือการขับเคลื่อนประเด็น
  2. ออกแบบเนื้อหา และกำหนดรูปแบบงานสื่อสาร
  3. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทำ
  4. เขียนสคริปและตัดต่อคลิปวีดีโอ
  5. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. คลิปวีดีโอในรูปแบบข่าว : รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวาน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช และ Youtube channel ลิกอร์ มีเดีย Link : https://youtu.be/7-hVCv_4DKk

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร (รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวานเพื่อผลิตข่าว ตอน สวนยางยั่งยืน ทางเลือกทางรอดเกษตรกรชาวสวนยาง ) 6 ม.ค. 2564 6 ม.ค. 2564

 

  1. ประชุมทีมสื่อร่วมกับพื้นที่ เพื่อการวางแผน และ หารือการขับเคลื่อนประเด็น
  2. ออกแบบเนื้อหา และกำหนดรูปแบบงานสื่อสาร
  3. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทำ
  4. เขียนสคริปและตัดต่อคลิปวีดีโอ
  5. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. คลิปวีดีโอในรูปแบบข่าว : รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวาน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช และ Youtube channel ลิกอร์ มีเดีย Link : https://youtu.be/L18SB5jD53w

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร (รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวานเพื่อผลิตข่าว ตอน ความมั่นคงทางอาหารในช่วงสถานการณ์ โควิด - 19 ) 7 ม.ค. 2564 7 ม.ค. 2564

 

  1. ประชุมทีมสื่อร่วมกับพื้นที่ เพื่อการวางแผน และ หารือการขับเคลื่อนประเด็น
  2. ออกแบบเนื้อหา และกำหนดรูปแบบงานสื่อสาร
  3. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทำ
  4. เขียนสคริปและตัดต่อคลิปวีดีโอ
  5. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. คลิปวีดีโอในรูปแบบข่าว : รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวาน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช และ  Youtube  channel  ลิกอร์ มีเดีย Link : https://youtu.be/oGnUoeEugTY

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร (รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวานเพื่อผลิตข่าว ตอน การฟื้นฟูหลังน้ำท่วมพื้นที่ อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช 8 ม.ค. 2564 8 ม.ค. 2564

 

  1. ประชุมทีมสื่อร่วมกับพื้นที่ เพื่อการวางแผน และ หารือการขับเคลื่อนประเด็น
  2. ออกแบบเนื้อหา และกำหนดรูปแบบงานสื่อสาร
  3. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทำ
  4. เขียนสคริปและตัดต่อคลิปวีดีโอ
  5. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. คลิปวีดีโอในรูปแบบข่าว : รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวาน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช และ  Youtube  channel  ลิกอร์ มีเดีย Link : https://youtu.be/zg0JD20AFTo

 

ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการจัดทำคลิปวีดีโอ จ.ตรัง 8 ม.ค. 2564 8 ม.ค. 2564

 

สรุปพื้นที่และขั้นตอนการถ่ายทำคลิปวีดีโอ

 

  1. ได้พื้นที่ถ่ายทำคลิปและรายละเอียดแนวทางการนำเสนอของพื้นที่ จ.ตรัง

 

สัมภาษณ์โมเดลความมั่นคงทางอาหาร (รวมสินค้าเกษตรสู่ครัวโรงพยาบาล เปิดประตูสู่โมเดิร์นเทรด) 9 ม.ค. 2564 9 ม.ค. 2564

 

  1. ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย
  2. ลงพื้นที่สัมภาษณ์
  3. เขียนบทความ จัดหน้า
  4. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ และออฟไลน์

 

  1. งานเขียน จำนวน 1 ชิ้น เรื่อง “รวมสินค้าเกษตรสู่ครัวโรงพยาบาล เปิดประตูสู่โมเดิร์นเทรด”
  2. ผู้สนใจได้แนวทางด้านการจัดการสินค้าเกษตรเพื่อนำไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง

 

สัมภาษณ์โมเดลความมั่นคงทางอาหาร(พลิกฟื้นภูมิปัญญา เพิ่มมูลค่าผลผลิตให้ชุมชน) 10 ม.ค. 2564 10 ม.ค. 2564

 

  1. ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย
  2. ลงพื้นที่สัมภาษณ์
  3. เขียนบทความ จัดหน้า
  4. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ และออฟไลน์

 

  1. งานเขียน จำนวน 1 ชิ้น เรื่อง “พลิกฟื้นภูมิปัญญา เพิ่มมูลค่าผลผลิตให้ชุมชน”
  2. ผู้สนใจได้แนวทางด้านการจัดการสินค้าเกษตรเพื่อนำไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร (รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวานเพื่อผลิตข่าว ตอน เกษตรอินทรีที่ปากพูน) 13 ม.ค. 2564 13 ม.ค. 2564

 

  1. ประชุมทีมสื่อร่วมกับพื้นที่ เพื่อการวางแผน และ หารือการขับเคลื่อนประเด็น
  2. ออกแบบเนื้อหา และกำหนดรูปแบบงานสื่อสาร
  3. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทำ
  4. เขียนสคริปและตัดต่อคลิปวีดีโอ
  5. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. คลิปวีดีโอในรูปแบบข่าว : รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวาน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช และ  Youtube  channel  ลิกอร์ มีเดีย Link : https://youtu.be/EIw4Xi7EMDI

 

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลถ่ายทำคลิปวีดีโอ จ.พังงา 14 ม.ค. 2564 14 ม.ค. 2564

 

  1. สรุปพื้นที่และขั้นตอนการถ่ายทำคลิปวีดีโอ
  2. ถ่ายทำวีดีโอ สัมภาษณ์แกนนำและเส้นทางกิจกรรมท่องเที่ยว
  3. ผลิตคลิปเพื่อประชาสัมพันธ์

 

  1. ได้พื้นที่ถ่ายทำคลิปและรายละเอียดแนวทางการนำเสนอของพื้นที่ จ.พังงา
  2. คลิปวีดีโอเพื่อประชาสัมพันธ์ 1 คลิป

- ผ่านช่องทาง : www.คิดถึงกระบี่.com และเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ในเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ - Link : https://fb.watch/3VyskkAl3Z/ 3. คลิปวีดีโอการท่องเที่ยว 1 คลิป - ผ่านช่องทาง : www.คิดถึงกระบี่.com Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราชและเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ในเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ - Link : https://fb.watch/3VC3PLQMh9/

 

สัมภาษณ์โมเดลความมั่นคงทางอาหาร (ศูนย์เรียนรู้บ้านภูลิตา มุ่งสู่ ‘สงขลามหานครอินทรีย์’) 16 ม.ค. 2564 16 ม.ค. 2564

 

  1. ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย
  2. ลงพื้นที่สัมภาษณ์
  3. เขียนบทความ จัดหน้า
  4. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ และออฟไลน์

 

  1. งานเขียน จำนวน 1 ชิ้น เรื่อง “ศูนย์เรียนรู้ฯ บ้านภูลิตา มุ่งสู่ ‘สงขลามหานครอินทรีย์’
  2. ผู้สนใจได้แนวทางด้านการจัดการสินค้าเกษตรเพื่อนำไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง

 

สัมภาษณ์โมเดลความมั่นคงทางอาหาร (ตลาดรถเขียว ส่งตรงสินค้าเกษตรถึงมือคนเมือง) 17 ม.ค. 2564 17 ม.ค. 2564

 

  1. ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย
  2. ลงพื้นที่สัมภาษณ์
  3. เขียนบทความ จัดหน้า
  4. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ และออฟไลน์

 

  1. งานเขียน จำนวน 1 ชิ้น เรื่อง “ตลาดรถเขียว ส่งตรงสินค้าเกษตร ถึงมือคนเมือง”
  2. ผู้สนใจได้แนวทางด้านการจัดการสินค้าเกษตรเพื่อนำไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง

 

ลงพื้นที่เพื่อจัดทำคลิปวีดีโอ และไลฟ์สด เรื่องสวนยางยั่งยืน(ความมั่นคงทางอาหาร) 20 ม.ค. 2564 20 ม.ค. 2564

 

  1. ประชุมทีม เพื่อวางแผน กำหนดกลุ่มเป้าหมายในประเด็นที่ขับเคลื่อน
  2. กำหนดรูปแบบสื่อสาร
  3. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทำ
  4. ตัดต่อคลิปวีดีโอ
  5. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. ผู้นำชุมชนยุคแรก. สปก. ของชุมชนที่มุ่งมั่นศึกษาทดลองทำการเกษตรหลากหลายรูปแบบท้ายสุดมาจบที่เกษตรกรรมธรรมชาติ มีบทเรียนจากความสำเร็จ และล้มเหลวหลานประการ ควรค่าแก่การสื่อสารต่อสังคม มาครานี้ช่วยจัดการระบบข้อมูล องค์ความรู้เกษตรกรรมยั่งยืนโดยเฉพาะสวนยางยั่งยืน-พืชร่วมยางแบบวนเกษตร เพื่อใช้ในการสื่อสารต่อสังคมและเป็นข้อเสนอ ประกอบโมเดลการส่งเสริม/ขอใช้ทุนสงเคราะห์จากการยางแห่งประเทศไทยที่เหมาะต่อพื้นที่กับเกษตรกรชาวสวนยาง
  2. คลิปวีดีโอ 1 คลิป ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมประชาสังคมชุมพร Link : https://fb.watch/3VJJag3Lft/
  3. Live สด : ผ่านช่องทาง Facebook page สมาคมประชาสังคมชุมพร

 

ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ จ.สงขลา 20 ม.ค. 2564 20 ม.ค. 2564

 

ประชุมหารือทบทวนแผนงานที่ได้รับมอบหมาย และวางแผน แบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานในระยะต่อไป

 

  1. ได้แผนการทำงานในระยะต่อไปที่สอดคล้องกับประเด็นที่ขับเคลื่อน
  2. สามารถเผยแพร่ผลงานได้

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร (รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวานเพื่อผลิตข่าว ตอน สมุนไพรอาหาร สุขภาพคนเมือง ) 22 ม.ค. 2564 22 ม.ค. 2564

 

  1. ประชุมทีมสื่อร่วมกับพื้นที่ เพื่อการวางแผน และ หารือการขับเคลื่อนประเด็น
  2. ออกแบบเนื้อหา และกำหนดรูปแบบงานสื่อสาร
  3. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทำ
  4. เขียนสคริปและตัดต่อคลิปวีดีโอ
  5. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. คลิปวีดีโอในรูปแบบข่าว : รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวาน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช และ Youtube channel ลิกอร์ มีเดีย Link : https://youtu.be/ytG5QIKhpM8

 

ลงพื้นที่เพื่อไลฟ์สด เรื่องสวนยางยั่งยืน ปลูกพืชร่วมยาง (ความมั่นคงทางอาหาร) 22 ม.ค. 2564 22 ม.ค. 2564

 

  1. ประชุมทีม เพื่อวางแผน กำหนดกลุ่มเป้าหมายและรูปแบบการสื่อสารในประเด็นที่ขับเคลื่อน
  2. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทอดสด
  3. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. การจัดการพื้นที่ตนเอง ในเนื้อที่ประมาณ 9 ไร่ ปลูกยางพารา เลี้ยงผึ้งโพรง เลี้ยงไก่พื้นเมือง ปลูกผักในสวนยาง ไม้ใช้สอย เช่น กฐินเทพา สะเดาเทียม จำปาทอง จิก เมื่อมีการจัดการที่มีความเข้าใจในพื้นที่ตนเอง ทำให้มีความมั่นคงทางอาหารและนำไปสู่การเกิดรายได้มาหล่อเลี้ยงครอบครัว
  2. Live สด : ผ่านช่องทาง Facebook page สมาคมประชาสังคมชุมพร

 

สัมภาษณ์โมเดลความมั่นคงทางอาหาร (สถานีเกษตรฯ ลุยตลาดออนไลน์ ยอดขายปังฝ่ามรสุมโควิด 19) 23 ม.ค. 2564 23 ม.ค. 2564

 

  1. ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย
  2. ลงพื้นที่สัมภาษณ์
  3. เขียนบทความ จัดหน้า
  4. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ และออฟไลน์

 

  1. งานเขียน จำนวน 1 ชิ้น เรื่อง “สถานีเกษตรฯ ลุยตลาดออนไลน์ ยอดขายปัง ฝ่ามรสุมโควิด-19”
  2. ผู้สนใจได้แนวทางด้านการจัดการสินค้าเกษตรเพื่อนำไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร (รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวานเพื่อผลิตข่าว ตอน เกษตรปันสุข สุขคนเมือง ) 24 ม.ค. 2564 24 ม.ค. 2564

 

  1. ประชุมทีมสื่อร่วมกับพื้นที่ เพื่อการวางแผน และ หารือการขับเคลื่อนประเด็น
  2. ออกแบบเนื้อหา และกำหนดรูปแบบงานสื่อสาร
  3. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทำ
  4. เขียนสคริปและตัดต่อคลิปวีดีโอ
  5. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. คลิปวีดีโอในรูปแบบข่าว : รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวาน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช และ Youtube channel ลิกอร์ มีเดีย Link : https://youtu.be/Cyx9YuF9DeY

 

สัมภาษณ์โมเดลความมั่นคงทางอาหาร (หุ่นไล่กา กรุ๊ป จุดประสานตลาดสุขภาพ เขา นา เล) 24 ม.ค. 2564 24 ม.ค. 2564

 

  1. ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย
  2. ลงพื้นที่สัมภาษณ์
  3. เขียนบทความ จัดหน้า
  4. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ และออฟไลน์

 

  1. งานเขียน จำนวน 1 ชิ้น เรื่อง “หุ่นไล่กา กรุ๊ป จุดประสานตลาดสุขภาพ เขา นา เล”
  2. ผู้สนใจได้แนวทางด้านการจัดการสินค้าเกษตรเพื่อนำไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง

 

ลงพื้นที่เพื่อจัดทำคลิปวีดีโอ เรื่องเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ จ.ชุมพร 25 ม.ค. 2564 25 ม.ค. 2564

 

  1. ประชุมทีม เพื่อวางแผน กำหนดกลุ่มเป้าหมายในประเด็นที่ขับเคลื่อน
  2. กำหนดรูปแบบสื่อสาร
  3. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทำ
  4. เขียนสคริปและตัดต่อคลิปวีดีโอ
  5. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. เครือข่ายเครือข่ายพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติชุมพรและจิตอาสาหนองใหญ่ร่วมกันฟื้นฟูและพัฒนาแก้มลิงหนองใหญ่ชุมพร จากเดิมที่เกะกะ รกร้าง คืนมาให้สมพระเกียรติคุณในหลวง ร. ๙ เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้กับกลุ่มคนที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตร ปลูกผัก ปลูกข้าว และการทำสารชีวภัณฑ์ เป็นพลังสร้างความมั่นคงทางอาหาร×สุขภาพ
  2. คลิปวีดีโอเพื่อประชาสัมพันธ์
    ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมประชาสังคมชุมพร Link 1 : https://fb.watch/3VSEj9XR2Z/ Link 2 : https://fb.watch/3VSkZqV82X/ Link 3 : https://fb.watch/3VSlNsWwf8/
  3. คลิปวีดีโอ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมประชาสังคมชุมพร Link : https://youtu.be/Syhn9UIYj-A

 

Live สด : รายการ แกะรอยวิถีอันดามัน (เรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร “แปรรูปอาหารทะเล”) 27 ม.ค. 2564 27 ม.ค. 2564

 

ลงพื้นที่เพื่อดูสถานที่ เตรียมความพร้อมและวัตถุดิบเพื่อเป็นตัวอย่างในการ Live สด

 

  1. การสร้างอาชีพของกลุ่มแปรรูปสตว์น้ำบ้านอ่าวมะขาม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถส่งขายและสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับคนในชุมชน
  2. Live สด : รายการ “แกะรอยวิถีอันดามัน” ผ่านช่องทาง : เพจ PACTV สมาคมสื่อวิทยุโทรทัศน์พังงา อันดามัน (ผู้ชมและผู้ฟังเข้าถึง 8,415 คน)

 

เวทีสาธารณะประเด็นนโยบายพืชร่วมยาง 27 ม.ค. 2564 27 ม.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

  1. เกิดรายการวิทยุโดยนำเสนอผ่านรายการ ลิกอร์  News Update ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช

 

ลงพื้นที่เพื่อจัดทำคลิปวีดีโอ และไลฟ์สด เรื่องการผลิตสารชีวภัณฑ์ในสวนยาง พืชร่วมยาง สวนยางยั่งยืน 27 ม.ค. 2564 27 ม.ค. 2564

 

  1. ประชุมทีม เพื่อวางแผน กำหนดกลุ่มเป้าหมายในประเด็นที่ขับเคลื่อน
  2. กำหนดรูปแบบสื่อสาร
  3. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทำ
  4. ตัดต่อคลิปวีดีโอ
  5. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. การผลิตเชื้อไตรโคเดอร์ม่าเพื่อใช้เองและแบ่งปันไตรโคเดอร์ม่าหรือราเขียวมีคุณสมบัติกำจัดเชื้อราขาวหรือโรคโคนเน่ารักเน่าของต้นยางรากเน่าต้นทุเรียน ไตรโคเดอร์ม่าสามารถใช้รักษาโรคของพืชได้ดีกว่ายาเคมีภัณฑ์ และราคาถูกกว่าปลอดภัยกับสิ่งมีชีวิตรวมถึงสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่รู้จักไตรโคเดอร์ม่ารวมถึงวิธีการขยายเชื้อเพื่อนำไปใช้และวิธีการใช้ในครั้งนี้เกษตรกรสามารถเข้าถึงหัวเชื้อไตรโคเดอร์ม่า มีความรู้ในคุณสมบัติครบถ้วน ตลอดจนวิธีการขยายหัวเชื้อที่ถูกวิธีและนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
  2. คลิปวีดีโอ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมประชาสังคมชุมพร Link : https://fb.watch/3VRxKKDMlK/
  3. Live สด : ผ่านช่องทาง Facebook page สมาคมประชาสังคมชุมพร

 

เวทีขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ (โคกหนองนาโมเดล) 29 ม.ค. 2564 29 ม.ค. 2564

 

  1. ประชุมทีมสื่อร่วมกับพื้นที่ เพื่อการวางแผน และ หารือการขับเคลื่อนประเด็น
  2. ออกแบบเนื้อหา และกำหนดรูปแบบงานสื่อสาร
  3. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทำ
  4. เขียนสคริปและตัดต่อคลิปวีดีโอ
  5. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. คลิปวีดีโอในรูปแบบข่าว : รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวาน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช และ  Youtube  channel  ลิกอร์ มีเดีย Link : https://youtu.be/EuvfzB16-xY

 

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลถ่ายทำคลิปวีดีโอ จ.กระบี่ 30 ม.ค. 2564 30 ม.ค. 2564

 

  1. สรุปพื้นที่และขั้นตอนการถ่ายทำคลิปวีดีโอ
  2. ถ่ายทำวีดีโอเส้นทางกิจกรรมท่องเที่ยว
  3. ผลิตคลิปเพื่อประชาสัมพันธ์

 

  1. ได้พื้นที่ถ่ายทำคลิปและรายละเอียดแนวทางการนำเสนอของพื้นที่ จ.กระบี่
  2. คลิปวีดีโอ 1 คลิป ผ่านช่องทาง : www.คิดถึงกระบี่.com Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราชและเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ในเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ Link : https://fb.watch/3VC32izqNw/

 

สัมภาษณ์โมเดลความมั่นคงทางอาหาร (ผู้ผลิตรายเล็กเจาะลูกค้ารายย่อย โมเดลปลูกน้อย ขายเอง เพิ่มมูลค่าสินค้า) 30 ม.ค. 2564 30 ม.ค. 2564

 

  1. ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย
  2. ลงพื้นที่สัมภาษณ์
  3. เขียนบทความ จัดหน้า
  4. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ และออฟไลน์

 

  1. งานเขียน จำนวน 1 ชิ้น เรื่อง "ผู้ผลิตรายเล็กเจาะลูกค้ารายย่อย โมเดลปลูกน้อย ขายเอง  เพิ่มมูลค่าสินค้า"
  2. ผู้สนใจได้แนวทางด้านการจัดการสินค้าเกษตรเพื่อนำไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง

 

เสวนา “หลาดลองแล เป็นแค่ทางเลือกหรือทางรอด” 31 ม.ค. 2564 31 ม.ค. 2564

 

ลงพื้นที่เพื่อดูสถานที่  เตรียมความพร้อมด้านสถานที่และระบบเครื่องเสียง

 

  1. เสวนา ความมั่นคงของอาหารในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 -ของเกษตรกรในชุมชนบ้านบางนุ ซึ่งมีรายได้หลักจากการขายผลผลิตในตลาดลองแล เมื่อมีการปิดด่านรอยต่อระหว่างจังหวัด ทำให้กลุ่มลูกค้่าส่วนใหญ่กว่า 80% มาจากภูเก็ต ไม่สะดวกในการเข้ามาทำให้จำนวนลูกค้าลดลงในช่วงปกติวันละ 4,000 - 5,000 คน เหลือเพียงแค่ไม่ถึงหลักพัน ทำให้ผลผลิตล้นตลาด เกษตรไม่มีรายได้จากทางอื่น จึงได้รวมตัวกันเพื่อหาทางแก้ไขโดยมีตัวแทนของลูกค้าปรจำที่มาจากภูเก็ต ตัวแทนแม่ค้า ตัวแทนจาก สสจ.พังงา(ที่มีส่วนในการการออกมาตรการ) และตัวแทนหน่วยงานรัฐที่ขับเคลื่อน
  2. Live สด : รายการ “แกะรอยวิถีอันดามัน” ผ่านช่องทาง : เพจ PACTV สมาคมสื่อวิทยุโทรทัศน์พังงา อันดามัน (ผู้ชมและผู้ฟังเข้าถึง 11,255 คน)
  3. สื่อ CG ประชาสัมพันธ์
    • ผ่านช่องทาง : เพจ PACTV สมาคมสื่อวิทยุโทรทัศน์พังงา อันดามัน

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร (รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวานเพื่อผลิตข่าว ตอน ฟ็อกเทล ไม้มหัศจรรย์ สร้างรายได้) 4 ก.พ. 2564 4 ก.พ. 2564

 

  1. ประชุมทีมสื่อร่วมกับพื้นที่ เพื่อการวางแผน และ หารือการขับเคลื่อนประเด็น
  2. ออกแบบเนื้อหา และกำหนดรูปแบบงานสื่อสาร
  3. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทำ
  4. ตัดต่อคลิปวีดีโอ
  5. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. คลิปวีดีโอในรูปแบบข่าว : รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวาน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช และ  Youtube  channel  ลิกอร์ มีเดีย Link : https://youtu.be/6hur_i0k6ng

 

ลงพื้นที่เพื่อจัดทำเฟสบุ๊คไลฟ์ เรื่อง โซล่าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ กับเกษตรกร 7 ก.พ. 2564 7 ก.พ. 2564

 

  1. ประชุมทีม เพื่อวางแผน กำหนดกลุ่มเป้าหมายและรูปแบบการสื่อสารในประเด็นที่ขับเคลื่อน
  2. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทอดสด
  3. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. การสอนการติดตั้งและการบำรุงรักษาดูแลโซล่าเซลล์อย่างเต็มระบบเน้นใช้ในภาคเกษตร กิจกรรมโซล่าเซลล์เบื้องต้น สำหรับเด็กนอกระบบการศึกษา              คุณสมบัติของโซล่าเซลล์ เป็นพลังงานทางเลือกหรือพลังงานแสงอาทิตย์ ใช้ทดแทนพลังงานไฟฟ้าจากการไฟฟ้า สามารถใช้ได้ในสถานที่ที่การไฟฟ้าไม่สามารถส่งขายไฟฟ้าได้ โดยเฉพาะเกษตรกรพื้นที่ห่างไกล ลดค่าใช้จ่ายและมลพิษที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานฟอสซิล การเป็นอิสระภาพจากการใช้พลังงานของตัวเอง ในครั้งนี้สามารถเข้าถึงตัวแทนจำหน่ายสินค้ามาตรฐาน มีความรู้พื้นฐานด้านคุณภาพของอุปกรณ์ หลักสำคัญการทำงานของอุปกรณ์แต่ละชิ้น และการติดตั้งชุดโซล่าเซลล์
  2. Live สด : ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมประชาสังคมชุมพร Link : https://fb.watch/4BnTJdhooN/

 

ลงพื้นที่เพื่อจัดทำเฟสบุ๊คไลฟ์ ประชุมประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง 10 ก.พ. 2564 11 ก.พ. 2564

 

  1. ประชุมทีม เพื่อวางแผน กำหนดกลุ่มเป้าหมายและรูปแบบการสื่อสารในประเด็นที่ขับเคลื่อน
  2. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทอดสด
  3. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางบ้านฝ่ายคลองน้ำจืด จ.ระนอง ทำสวนยางแก้จน พึ่งพาตนเอง ลดความเสี่ยงเรื่องราคายางพาราตกต่ำ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ไม่เพียงพอ หันมาปรับเปลี่ยนอาชีพจากการปลูกยางเป็นปลูกพืชร่วมยางเพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น
  2. Live สด : ผ่านช่องทาง Facebook page สมาคมประชาสังคมชุมพร
    Link : https://fb.watch/4BoMQHDGKz/

 

ลงพื้นที่เพื่อจัดทำเฟสบุ๊คไลฟ์ เรื่อง ทำอย่างไรให้หลุดพ้นจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว(ความมั่นคงทางอาหาร) 12 ก.พ. 2564 12 ก.พ. 2564

 

  1. ประชุมทีม เพื่อวางแผน กำหนดกลุ่มเป้าหมายและรูปแบบการสื่อสารในประเด็นที่ขับเคลื่อน
  2. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทอดสด
  3. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. ทำอย่างไรให้หลุดพ้นจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำอย่างไรให้มีความมั่นคงยั่งยืนในการดำรงค์ชีพ มะพร้าวร่วมยางโดยสวน คุณมาลิณี วงศ์สุวัฒน์ ในเนื้อที่ 30 ไร่ การเก็บผลผลิต 45 วันเก็บผลผลิตครั้ง รายได้เฉลี่ย 25,000 บาทต่อครั้ง และในเนื้อที่ 30 ไร่ยังสามารถปลูกไม้ยืนต้นชนิดอื่นได้อีก เช่น ลองกอง ขนุน เงาะ และไม้เศรษฐกิจ นำไปสู่การสร้างรายได้ที่มีความมั่นคงเลี้ยงครอบครัวได้
  2. Live สด : ผ่านช่องทาง Facebook page สมาคมประชาสังคมชุมพร
    Link : https://fb.watch/4Bps1h94Kc/

 

การปฏิบัติงานสื่อ (หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564) 13 ก.พ. 2564 13 ก.พ. 2564

 

  1. ประสานบุคคลที่จะให้สัมภาษณ์และลงพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูลที่จะสัมภาษณ์ ว่าใครทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไหร่
  2. วางแผนการเขียนศึกษากลุ่มเป้าหมายและนโยบายของประเด็นงานที่จะส่งเผยแพร่
  3. ร่างเนื้อหา  รูปแบบ  ภาษา  ทบทวน
  4. ประเมินผล โดยการอ่านทบทวนด้วยตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยอ่าน
  5. ส่งตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่

 

หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2564

 

ลงพื้นที่เพื่อจัดทำเฟสบุ๊คไลฟ์ เรื่อง 12 ไร่พอเพียง (ความมั่นคงทางอาหาร) 13 ก.พ. 2564 13 ก.พ. 2564

 

  1. ประชุมทีม เพื่อวางแผน กำหนดกลุ่มเป้าหมายและรูปแบบการสื่อสารในประเด็นที่ขับเคลื่อน
  2. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทอดสด
  3. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. 12 ไร่พอเพียง ในยุคที่ราคายางตกต่ำทำอย่างไรให้สามารถดำรงค์ชีพได้ด้วยตนเอง เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา แต่ในสวนยางพาราไม่ได้มีแค่ต้นยาง  ปลูกผักเหลียงในร่องยางปลูกผลไม้พื้นถิ่นไว้บริโภคและปลูกไม้เศรษฐกิจจำนวนพันกว่าต้นในร่องยางรวมถึงการเลี้ยงผึ้งด้วย #สวนยางยั่งยืน# ปลูกพืชร่วมยาง รายได้เฉลี่ย 15000 บาทต่อเดือน
  2. Live สด : ผ่านช่องทาง Facebook page สมาคมประชาสังคมชุมพร
    Link : https://fb.watch/4BrgLFUKMZ/

 

ลงพื้นที่เพื่อจัดทำเฟสบุ๊คไลฟ์ เรื่อง โครงสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ทำแผนการผลิตและปฏิทินการเพาะปลูกพืชผัก 15 ก.พ. 2564 15 ก.พ. 2564

 

  1. ประชุมทีม เพื่อวางแผน กำหนดกลุ่มเป้าหมายและรูปแบบการสื่อสารในประเด็นที่ขับเคลื่อน
  2. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทอดสด
  3. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. เกิดแนวทางในการจัดทำปฏิทินการเพาะปลูกพืชผักการทำปฏิทิน การผลิตสินค้าเกษตรเป็นรายเดือน เพื่อการบริหารจัดการความมั่นคงทางอาหารในระดับพื้นที่ เป็นการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดตลอดจนการประเมินสถานการณ์เพื่อรับมือปัญหาราคาสินค้าล่วงหน้า รวมถึงการสำรองอาหารในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์วิกฤต ซึ่งเกษตรกรจะสามารถจัดเตรียมปัจจัยการผลิตและการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมได้ล่วงหน้าให้สอดคล้องกับฤดูกาลและสภาพภูมิอากาศ ทั้งยังสามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อใช้สนับสนุนตัวชี้วัดในการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
  2. Live สด : ผ่านช่องทาง Facebook page สมาคมประชาสังคมชุมพร
    Link : https://fb.watch/4BrEF26SuV/

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร (รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวานเพื่อผลิตข่าว ตอน ตลาดต้นไม้ชายคลอง ป่าพะยอม จ.พัทลุง กล้าไม้เพื่อสร้างความมั่นคง) 17 ก.พ. 2564 17 ก.พ. 2564

 

  1. ประชุมทีมสื่อร่วมกับพื้นที่ เพื่อการวางแผน และ หารือการขับเคลื่อนประเด็น
  2. ออกแบบเนื้อหา และกำหนดรูปแบบงานสื่อสาร
  3. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทำ
  4. ตัดต่อคลิปวีดีโอ
  5. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. คลิปวีดีโอในรูปแบบข่าว : รายการเกษตรสัญจร แดนด้ามขวาน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช และ  Youtube  channel  ลิกอร์ มีเดีย Link : https://youtu.be/eN7nnztcUhQ

 

ประชุมการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ประเด็นความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 18 ก.พ. 2564 18 ก.พ. 2564

 

ประชุมร่วมกับเครือข่ายสุขภาพ คือโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช คณะทำงานสมัชชาสุขภาพ จ.นครศรีธรรมราช กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกองทัพภาค 4 เพื่อให้เห็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันในมิติทางสุขภาพ ที่ได้เชื่อมโยงกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.)

 

ประชุมร่วมกับเครือข่ายสุขภาพ คือโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช คณะทำงานสมัชชาสุขภาพ จ.นครศรีธรรมราช กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในกองทัพภาค 4 เพื่อให้เห็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันในมิติทางสุขภาพ ที่ได้เชื่อมโยงกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับตำบล (พชต.) โดยเลือกพื้นที่เป้าหมาย คือ อำภอเมือง จ.นครศรีธรรมราช ได้เน้นที่ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของมนุษย์
วิธีการ ให้มีการฟังสรุปการขับเคลื่อนงานของเครือข่ายสุขภาพนพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช และให้ ผู้แทน พชอ.นำเสนอประเด็นที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตในพื้นที่ อ.เมือง เป็นข้อมูลนำเข้า มีการแบ่งกลุ่ม โดยใช้พื้นที่เป้าหมายทั้ง 16 ตำบล ทบทวนประเด็นที่ใช้เคลื่อนงานพัฒนาคุณภาพชีวิต ว่ามีต้นทุนในพื้นที่ ทั้ง 4 M คือ คน การตลาด ทรัพยากร วัสดุ และมีการดำเนินการที่จะไปสู่เป้าหมายอย่างไร

 

ลงพื้นที่เพื่อถ่ายทำประเด็นความมั่นคงทางอาหาร : พืชร่วมยาง อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส 20 ก.พ. 2564 20 ก.พ. 2564

 

  1. ประสานงานกับแปลงต้นแบบ
  2. ลงพื้นที่ สัมภาษณ์เก็บข้อมูลเพื่อเผยแพร่แนวทางการทำสวนยางยั่งยืนแบบพืชร่วมยางในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส
  3. เขียนบทความ / ตรวจสอบ/จัดหน้า
  4. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. งานเขียน จำนวน 1 ชิ้น เรื่อง “ชาวสวนนราฯ ปลูกพืชร่วมยาง ลดรายจ่าย สร้างรายได้เพิ่ม”
  2. ผู้สนใจเข้าใจแนวทางการทำสวนยางแบบพืชร่วมยาง
  3. นำไปใช้เผยแพร่และขับเคลื่อนในการทำงานในพื้นที่

 

ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อสรุปการปฏิบัติงานสื่อ 22 ก.พ. 2564 22 ก.พ. 2564

 

สรุปการดำเนินงานในระยะที่ 1 เดือนมกราคม 2564 - กุมภาพันธ์ 2564 และวางแผนการดำเนินงานในระยะที่ 2 เดือนมีนาคม 2564 - พฤษภาคม 2564

 

การดำเนินงานในระยะที่ 1และแผนการดำเนินงานในระยะที่ 2 จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 ถึงเดือนพฤษภาคม 2564 ด้วยวิธีการนำเสนอผลงานตามแผนงาน

ใต้ล่าง คุณนิพนธ์ รัตนาคม (ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ การแพทย์พหุวัฒนธรรม เขตสุขภาพ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ ความมั่นคงของมนุษย์) พื้นรับผิดชอบ พัทลุง สงขลา สตูล ปัตตานี นราธิวาส ยะลา ผลผลิตที่ได้ บทความ one page

ใต้กลาง คุณอานนท์ มีศรี (ความมั่นคงทางอาหาร พืชร่วมยาง ตำบลบูรณาการ ความมั่นคงทางสุขภาพ เขตสุขภาพ 11, 12 ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัตินราธิวาส ภัยพิบัติอันดามัน ความมั่นคงทางมนุษย์ ปัจจัยเสี่ยง) พื้นที่รับผิดชอบ นครศรีธรรมราช ชุมพร พังงา ภูเก็ต สตูล สุราษฎร์ธานี ผลงานที่ได้ หนังสือพิมพ์ รายการเวทีสาธารณะข้อเสนอเชิงนโยบายและสารคดีสั้น รายงานสถานการณ์

ใต้บน คุณศาสนะ กลับดี (ความมั่นคงทางอาหาร พืชร่วมยาง ความมั่นคงอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ เขตสุขภาพ 11 ความมั่นคงทางมนุษย์ ปัจจัยเสี่ยง) พื้นที่รับผิดชอบ ชุมพร ระนอง ผลงานที่ได้ คลิปวีดีโอและถ่ายทอดสดผ่านเพจเฟสบุ๊ค

ใต้อันดามัน 1 คุณทวีศักดิ์ ปิยะวิสุทธิกุล (ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติอันดามัน) พื้นที่รับผิดชอบ พังงา ภูเก็ต ผลผลิตที่ได้ ถ่ายทอดสดผ่านเพจเฟสบุ๊ค

ใต้อันดามัน 2 คุณธรรมดิวิชย์ ศรีรุ้ง (ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยวชุมชน) พื้นที่รับผิดชอบ กระบี่ พังงา ตรัง ผลผลิตที่ได้ คลิปสั้นนำเสนอการท่องเที่ยว

ซึ่งในระยะที่ 2 จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 ถึงเดือนพฤษภาคม 2564 ซึ่งตามโจทย์ของโครงการ ศูนย์วิชาการนโยบายสาธารณะ 3 ส่วนงาน

  1. งานสนับสนุนการใช้สื่อเพื่อการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ เพื่อภาคใต้แห่งความสุข 4 ประเด็น   - ความมั่นคงทางอาหาร พืชร่วมยาง ตำบลบูรณาการ   - ความมั่นคงทางสุขภาพ เขตสุขภาพ 11, 12 การแพทย์พหุวัฒนธรรม   - ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัตินราธิวาส ภัยพิบัติอันดามัน การท่องเที่ยวโดยชุมชนในมิติเศรษฐกิจ   - ความมั่นคงทางมนุษย์ ปัจจัยเสี่ยง ผู้สูงอายุ

  2. สนับสนุนงานสร้างสุขภาคใต้ครั้งที่ 12 แบ่งเป็น ก่อนงาน , ระหว่างงาน , หลังงาน

  3. จริยธรรมสื่อเพื่อสุขภาวะทางสังคม เป็นลักษณะของการพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย โดยการถอดบทเรียนทบทวนข้อเสนอเดิมและการพัฒนาข้อเสนอใหม่

 

รายการ ลิกอร์ News Undate ประเด็นความมั่นคงทางอาหารและการจัดการน้ำเพื่อการเกษตร 23 ก.พ. 2564 23 ก.พ. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

  1. เกิดรายการวิทยุโดยนำเสนอผ่านรายการ ลิกอร์ News Update ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช

 

ลงพื้นที่เพื่อถ่ายทำประเด็นความมั่นคงทางอาหาร : พืชร่วมยาง อ.เมือง จ.นราธิวาส 24 ก.พ. 2564 24 ก.พ. 2564

 

  1. ประสานงานกับแปลงต้นแบบ
  2. ลงพื้นที่ สัมภาษณ์เก็บข้อมูลเพื่อเผยแพร่แนวทางการทำสวนยางยั่งยืนแบบพืชร่วมยางในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส
  3. เขียนบทความ / ตรวจสอบ/จัดหน้า
  4. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. งานเขียน จำนวน 1 ชิ้น เรื่อง “ผักสวนครัวแซมร่องยาง รายได้ดี ทางรอดชาวสวนยางพารา”
  2. ผู้สนใจเข้าใจแนวทางการทำสวนยางแบบพืชร่วมยาง
  3. นำไปใช้เผยแพร่และขับเคลื่อนในการทำงานในพื้นที่

 

การปฏิบัติงานสื่อสารเพื่อผลิตข่าว ประเด็นความมั่นคงทางอาหารและการจัดการขยะ 26 ก.พ. 2564 26 ก.พ. 2564

 

  1. ประชุมทีมสื่อร่วมกับพื้นที่ เพื่อการวางแผน และ หารือการขับเคลื่อนประเด็น
  2. ออกแบบเนื้อหา และกำหนดรูปแบบงานสื่อสาร
  3. ประสานงาน ลงพื้นที่ สัมภาษณ์และถ่ายทำ
  4. ตัดต่อคลิปวีดีโอ
  5. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. คลิปวีดีโอในรูปแบบข่าว
    ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
    Link : https://drive.google.com/file/d/1Bl-otsnfDUNhM7iydhT3z2I1VMRE8aC_/view?usp=sharing

 

ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ จ.สงขลา ครั้งที่ 2 27 ก.พ. 2564 27 ก.พ. 2564

 

  1. ประชุมหารือและวางแผนงานในการลงพื้นที่ เพื่อถ่ายทำประเด็นความมั่นคงทางอาหาร : พืชร่วมยาง อ.เมือง จ.นราธิวาส
  2. แบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานและบริบทของแต่ละบุคคล

 

  1. ได้พื้นที่ในการทำงานที่สอดคล้องกับประเด็นที่ขับเคลื่อน
  2. สามารถเผยแพร่ผลงานได้

 

ลงพื้นที่เพื่อถ่ายทำประเด็นความมั่นคงทางอาหาร : พืชร่วมยาง อ.เมือง จ.นราธิวาส 28 ก.พ. 2564 28 ก.พ. 2564

 

  1. ประสานงานกับแปลงต้นแบบ
  2. ลงพื้นที่ สัมภาษณ์เก็บข้อมูลเพื่อเผยแพร่แนวทางการทำสวนยางยั่งยืนแบบพืชร่วมยางในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส
  3. เขียนบทความ / ตรวจสอบ/จัดหน้า
  4. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. งานเขียน จำนวน 1 ชิ้น เรื่อง “สวนยางผสมผสาน เพียงสองไร่สร้างรายได้รายวัน”
  2. ผู้สนใจเข้าใจแนวทางการทำสวนยางแบบพืชร่วมยาง
  3. นำไปใช้เผยแพร่และขับเคลื่อนในการทำงานในพื้นที่

 

ลงพื้นที่เพื่อจัดทำคลิปวีดีโอ เรื่อง การปลูกพืชผสมผสานแยกส่วนในสวนยาง 1 มี.ค. 2564 1 มี.ค. 2564

 

  1. กระบวนการผลิตคลิปวิดีโอการพูดคุย การวางแผนกำหนดเรื่องราวที่จะถ่ายทำ
  2. กำหนดระยะเวลาของคลิป
  3. เขียนสคริปของเนื้อหาเรื่องราวที่จะสื่อสารการเตรียมอุปกรณ์และนักแสดง
  4. ถ่ายทำและบันทึกเรื่องราวเพื่อมาตัดต่อการตัดต่อตามเทคนิคและความถนัดของเทคนิคของแต่ละคน

 

  1. คลิปวีดีโอ ผ่านช่องทาง : Youtube Sanan 07

- Link : https://youtu.be/NYKSK_StLP8 ผู้รับชม 3.7kครั้งและมีผู้เข้า ถึง12.9k ครั้ง

 

ลงพื้นที่เพื่อจัดทำเฟสบุ๊คไลฟ์ เรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงเทคนิคของการผลิตข้าวไร่ ตลอดห่วงโซ่เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมแบบบูรณาการ 4 มี.ค. 2564 4 มี.ค. 2564

 

ประสานงานและประชุมวางแผนเนื้อหาเรื่อง ราวที่จะสื่อสารผ่าน Facebook live

 

  1. Live สด : ผ่านช่องทาง Facebook page สมาคมประชาสังคมชุมพร

- Link : https://fb.watch/4Bu7b9t_D8/ มีผู้รับชม 835 ครั้งมีผู้เข้าถึง 2573 ครั้ง

 

Live สด : รายการ แกะรอยวิถีอันดามัน (เรื่องศาสตร์พระราชา รั้วกินได้) 6 มี.ค. 2564 6 มี.ค. 2564

 

  1. ลงพื้นที่เพื่อดูสถานที่ เตรียมความพร้อมในสัมภาษณ์และถ่ายทอดสด
  2. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. การทำสวนเกษตรผสมผสาน ตามศาสตร์พระราชาและการการปลูกมะนาวท่อบ่อสร้างอาชีพให้กับเกษตรกร ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ไม่มีได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 แต่อย่างใด เพราะใช้ชีวิตตามศาสตร์พระราชา คือ กินทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน
  2. Live สด : รายการ “แกะรอยวิถีอันดามัน” ผ่านช่องทาง : เพจ PACTV สมาคมสื่อวิทยุโทรทัศน์พังงา อันดามัน (ผู้ชมและผู้ฟังเข้าถึง 8,415 คน)

 

ลงพื้นที่เพื่อถ่ายทำคลิปวีดีโอ เรื่อง วิถีชีวิตชุมชนชายหาดละแม 8 มี.ค. 2564 8 มี.ค. 2564

 

  1. ประสานงานนัดแนะกลุ่มคนที่มีความ สนใจวิถีประมงชายฝั่งชี้แจงเนื้อหารายละเอียดในการนำเสนอเรื่องราวมา ทำเป็นคลิปสั้น
  2. วางแผนกำหนดเรื่องราวและกำหนดระยะเวลาของคลิปในการถ่ายทำ
  3. เขียน สคริปของเนื้อหาเรื่องราวที่จะสื่อสาร
  4. เตรียมอุปกรณ์และนักแสดง
  5. ถ่ายทำและบันทึกเรื่องราวเพื่อมาตัดต่อการตัดต่อตามเทคนิคและความ ถนัดของเทคนิคของแต่ละคน

 

  1. คลิปวีดีโอ ผ่านช่องทาง : Youtube Sanan 07

- Link : https://youtu.be/-zE6Pn7-954 มีผู้รับชม 91 ครั้งมีผู้เข้าถึง 141 ครั้ง

 

ลงพื้นที่เพื่อถ่ายทอดสดเฟสบุ๊คไลฟ์ เรื่องการทำสารชีวภัณฑ์เพื่อทดแทนสารเคมี สู่ความมั่นคงทางด้านอาหารของคนชุมพร 9 มี.ค. 2564 9 มี.ค. 2564

 

ประสานงานและประชุมวางแผนเนื้อหาเรื่อง ราวที่จะสื่อสารผ่าน Facebook live

 

  1. Live สด : ผ่านช่องทาง Facebook page สมาคมประชาสังคมชุมพร

- Link : https://fb.watch/4BuublMhgt/ มีผู้รับชม 3200 ครั้งมีผู้เข้าถึง 8564 ครั้ง

 

เวทีสาธารณะประเด็นความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยเรื่องภัยพิบัติ 10 มี.ค. 2564 10 มี.ค. 2564

 

  1. กล่าวรายงานพิธีเปิดโดย พันเอกภัทรชัย แทนขำ รองผู้อำนวยการกองกิจการมวลชนและสารนิเทศ
  2. เสวนา "ภัยพิบัติกับบทบาทของทุกหน่วยงานในมิติจิตอาสา" เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ นำไปสู่การจัดตั้งศูนย์ตอบโต้ภัยพิบัติ ระดับภาค ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล ในมิติของจิตอาสา

 

  1. การดำเนินงานพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มีขั้นตอน/กระบวนการ และแนวทางในการปฏิบัติงานเป็นมาตรฐานเดียวกันด้นการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  2. เกิดการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติอย่างยั่งยืน โดยมีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อสนับสนุนและแก้ไขปัญหาอย่างทั่วถึง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  3. เกิดการรับมือภัยพิบัติในเชิงรุก ของพี่น้องประชาชนแบบมีส่วนร่วม ด้วยการจัดทำแผนงานจิตอาสาพัฒนาในการแก้ปัญหาภัยพิบัติ

 

Live สด : รายการ แกะรอยวิถีอันดามัน (เรื่องแกะสูตรเด็ดอาหารพื้นถิ่นพังงา : แกงกะทิหอยจุ๊บแจง) 12 มี.ค. 2564 12 มี.ค. 2564

 

  1. ลงพื้นที่เพื่อดูสถานที่  เตรียมความพร้อมในสัมภาษณ์และถ่ายทอดสด
  2. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. สร้างรายได้ สร้างชื่อเสียงให้กับชาวบ้านในพื้นที่บ้านสามช่องเหนือและสามช่องใต้ และแกงกะทิหอยจุ๊บแจงยังเป็นเมนูที่นิยมทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ
  2. Live สด : รายการ “แกะรอยวิถีอันดามัน” ผ่านช่องทาง : เพจ PACTV สมาคมสื่อวิทยุโทรทัศน์พังงา อันดามัน (ผู้ชมและผู้ฟังเข้าถึง 1,512 คน)

 

ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 3 19 มี.ค. 2564 19 มี.ค. 2564

 

รายงานผลการปฏิบัติการสื่อสารตามแผนการดำเนินงานและชี้แจงการจัดการงบประมาณระยะที่ 1

 

เกิดผลการปฏิบัติการสื่อสารตามแผนการดำเนินงาน พื้นที่เครือข่ายและการสนับสนุนงบประมาณแบ่งออกเป็น 5 เครือข่าย คือ

  1. ใต้บน จ.ชุมพร ระนอง ผู้ประสาน คุณศาสนะ กลับดี คุณศิลาพร มะหมัดเหม ประเด็นรับผิดชอบ ความมั่นคงทางอาหาร , ความมั่นคงทางสุขภาพ(กลไกเขตสุขภาพ) งบประมาณ 30,000 บาท เพิ่มประเด็นเขตสุขภาพ อ.เมือง จ.ชุมพร และเพิ่มงบประมาณจำนวน 10,000 บาท ผลงานที่ได้ : คลิปวีดีโและถ่ายทอดสดผ่านเพจเฟสบุ๊ค

  2. ใต้ล่าง จ.สงขลา จ.พัทลุง จ.นราธิวาส จ.ยะลา จ.ปัตตานี ผู้ประสาน คุณนิพนธ์ รัตนาคม ประเด็นรับผิดชอบ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพ งบประมาณ 30,000 บาท ผลงานที่ได้ : บทความ one page

  3. ใต้อันดามัน/1 จ. พังงา จ.ภูเก็ต ผู้ประสาน คุณทวีศักดิ์ ปิยะวิสุทธิกุล คุณนิตยา ราชานา ประเด็นรับผิดชอบ การจัดการภัยพิบัติอันดามัน ความมั่นคงทางอาหาร งบประมาณ 30,000 บาท ผลงานที่ได้ : ถ่ายทอดสดผ่านเพจเฟสบุ๊ค

  4. ใต้อันดามัน/2 จ.กระบี่ จ.ตรัง ผู้ประสาน คุณธรรมดิวิชย์ ศรีรุ้ง ดร.ฐิติชญาณ์ บุญโสม ประเด็นรับผิดชอบ การท่องเที่ยวโดยชุมชน ในมิติเศรษฐกิจ
    งบประมาณ 30,000 บาท ผลงานที่ได้ : คลิปสั้นนำเสนอการท่องเที่ยว

  5. ใต้กลาง จ.นครศรีธรรมราช(ทีมพื้นที่และทีมกลาง) จ.สุราษฎร์ธานี จ.นราธิวาส จ.สตูล จ.พังงา
    ประเด็นรับผิดชอบ ความมั่นคงทางอาหาร(พืชร่วมยาง ตำบลบูรณาการ) ความมั่นคงสิ่งแวดล้อม(ภัยพิบัติ) ความมั่นคงทางสุขภาพ(การแพทย์พหุวัฒนธรรม กลไกเขตสุขภาพ 11 , 12) งบประมาณ 80,000 บาท ผลงานที่ได้ : หนังสือพิมพ์ รายการเวทีสาธารณะข้อเสนอเชิงนโยบายและสารคดีสั้น รายงานสถานการณ์

6.งานบริหารจัดการกลาง 50,000 บาท

 

Live สด : รายการ แกะรอยวิถีอันดามัน (เรื่องโครงการพัฒนาพื้นที่ตามแนวพระราชดำริและเศรษฐกิจพอเพียง) 25 มี.ค. 2564 25 มี.ค. 2564

 

  1. ลงพื้นที่เพื่อดูสถานที่  เตรียมความพร้อมในสัมภาษณ์และถ่ายทอดสด
  2. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. โครงการพัฒนาพื้นที่แนวพระราชดำริและเศรษฐกิจพอเพียงของชาวบ้าน ที่ใช้พืชกระเจี๊ยบเขียวในการสร้างคุณค่า ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น โลชั่น เซรั่ม แชมพู เจลอาบน้ำ หรือแม้กระทั่งผ้ามดย้อมจากสีธรรมชาติ
  2. โครงการพัฒนาพื้นที่แนวพระราชดำริและเศรษฐกิจพอเพียง ยังปลูกผักสวนครัวซึ่งใช้ปุ๋ยอินทรีย์ขี้วัว เลี้ยงปลา ผลิตปุ๋ย
    มูลไส้เดือน สร้างรายได้เสริมให้สมาชิก รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยว ศึกษาดูงานของคณะนักเรียน นักศึกษา และกลุ่มองค์กรต่างจากทั่วประเทศ
  3. โครงการพัฒนาพื้นที่แนวพระราชดำริและเศรษฐกิจพอเพียงบ้านม่าหนิก ปัจจุบันเป็นชุมชนต้นแบบของภูเก็ต ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ต่อยอดรายได้ เสริมและเพิ่มอาชีพให้กับกลุ่มสมาชิกได้เป็นอย่างดี
  4. Live สด : รายการ “แกะรอยวิถีอันดามัน” ผ่านช่องทาง : เพจ PACTV สมาคมสื่อวิทยุโทรทัศน์พังงา อันดามัน (ผู้ชมและผู้ฟังเข้าถึง 3,521 คน)

 

Live สด : รายการ แกะรอยวิถีอันดามัน (เรื่องที่ว่างสร้างอาหารปลูกผัก ภัยพิบัติสร้างสุข) 29 มี.ค. 2564 29 มี.ค. 2564

 

  1. ลงพื้นที่เพื่อดูสถานที่  เตรียมความพร้อมในสัมภาษณ์และถ่ายทอดสด
  2. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. สวนผักผสมผสานของชาวบ้านทับปุดที่ประสบภัยจากสถานการณ์โควิด19 ก่อนหน้านี้เคยทำงานฝนเมือง เปิดร้านเสริมสวย มีลูกค้ามาก รายได้ดี แต่เมื่อมีโรคระบาดต้องปิดร้าน กลับมาอยู่กับครอบครัวซึ่งที่บ้านมีอาชีพเป็นเกษตรกรก็หันมาศึกษาอย่างจริงจัง ขยายพื้นที่แปลงผัก ปลูกผักปลอดสารด้วยการปรับปรุงดิน ทำดิน ทำปุ๋ยด้วยการหมักปุ๋ยอินทรีย์แล้วนำผลผลิตมาวางจำหน่าย ทำจุดเช็คอิน สร้างรายได้ที่พอเพียง
  2. Live สด : รายการ “แกะรอยวิถีอันดามัน” ผ่านช่องทาง : เพจ PACTV สมาคมสื่อวิทยุโทรทัศน์พังงา อันดามัน (ผู้ชมและผู้ฟังเข้าถึง 2,971 คน)

 

Live สด : รายการ "แกะรอยวิถีอันดามัน" ตอน แกะรอยวิถีพังงา : ความมั่นคงทางอาหาร 10 เม.ย. 2564 10 เม.ย. 2564

 

  1. ลงพื้นที่ "เกาะเคียมใต้" อ.เมือง จ.พังงา นำเสนอความมั่นคงทางด้านอาหาร และอาชีพ
  2. เตรียมความพร้อมในสัมภาษณ์และถ่ายทอดสด
  3. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. "เกาะเคี่ยมใต้" ซึ่งตั้งอยูใน อำเภอเมืองพังงา เพื่อเป็นการส่งเสริมอาชีพพื้นถิ่นชุมชน ชาวบ้านที่นี่มีอาชีพประมง ที่นี่เป็นแหล่งผลิตอาหารทะเลที่สำคัญของพังงาอีกแห่งหนึ่ง ทั้งเลี้ยงหอยนางรม ปลาในกระชัง หาปู หาหอย และมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์ที่เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเล ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขายส่งให้กับร้านอาหาร โรงแรม หรือบางส่วนจะมีพ่อค้าคนกลางรับไปขายอีกที ในสถานการณ์โควิด ทำให้การขายอาหารทะเล ได้ไม่ดีเหมือนก่อน ลูกหลานที่เคยทำงานโรงแรมกลับมา ทำให้ชุมชนเกิดแนวคิดเพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้น จึงเปิดตลาดชุมชน เกาะเคี่ยมใต้ ซึ่งเป็นสตรีทฟู้ดที่อยากให้นักท่องเที่ยวได้แวะไปสัมผัส และสื่อมวลชนยังได้เข้าไปสนับสนุนพื้นที่ชุมชนที่ สร้างการมีส่วนร่วมในการเข้าไปส่งเสริมอาชีพพื้นถิ่นชุมชน สร้างความมั่นคงทั้งด้านอาหารและเศรษฐกิจ
  2. Live สด : รายการ “แกะรอยวิถีอันดามัน” ผ่านช่องทาง : เพจ PACTV สมาคมสื่อวิทยุโทรทัศน์พังงา อันดามัน (ผู้ชมและผู้ฟังเข้าถึง 25,000 คน) Link : https://fb.watch/9JbL7CRj9C/

 

ลงพื้นที่เพื่อจัดทำคลิปวีดีโอ เรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์กับความมั่นคงทางอาหารบนฐานทรัพยากร 11 เม.ย. 2564 11 เม.ย. 2564

 

  1. ประสานงานเครือข่าย
  2. เขียนสคริป
  3. เตรียมอุปกรณ์และตัวละคร
  4. ถ่ายทำและบันทึกเรื่องราวเพื่อนำมาตัดต่อ
  5. ตัดต่อคลิปตามความถนัดและเทคนิคของแต่ละบุคคล

 

  1. พื้นที่ความมั่นคงทางอาหารเชื่อมโยงสู่ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ บนหลักคิดและเป้าหมายอธิปไตยทางอาหาร มีหลักประกันในชีวิต และจัดความสัมพันธ์ใหม่ การดำเนินงานเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพระดับหมู่บ้านของบ้านบกไฟ ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร เพื่อเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน การศึกษาพื้นที่ต้นแบบเพื่อเพิ่มพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารในชุมชน บนฐานทรัพยากร คน-ดิน-น้ำ-ป่า การใช้ประโยชน์ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากร การส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน ป่าสามอย่างประโยชน์สี่อย่าง โดยเริ่มจากครัวเรือนพอเพียงและส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่เกิดความตระหนักรู้เรื่องเกษตรและอาหารปลอดภัย การปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการผลิตคือผักผลไม้ การเรียนรู้วิถีพอเพียงในแบบของตนเอง เกิดการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และการเชื่อมโยงตลาดระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคจากชุมชนสู่โฮมสเตย์ทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่ การท่องเที่ยวโดยชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงานในพื้นที่และยกระดับครัวเรือนพอเพียงสู่การเป็นผู้ประกอบการชุมชน
  2. คลิปวีดีโอ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมประชาสังคมชุมพร

- Link : https://fb.watch/8UzLr7n_ie/ มีผู้รับชม 1.8k. มีผู้เข้าถึง 4460 คน

 

ลงพื้นที่เพื่อจัดทำคลิปวีดีโอ เรื่องข้าวไร่ชุมพร 15 เม.ย. 2564 15 เม.ย. 2564

 

  1. ประสานงานเครือข่าย
  2. เขียนสคริป
  3. เตรียมอุปกรณ์และตัวละคร
  4. ถ่ายทำและบันทึกเรื่องราวเพื่อนำมาตัดต่อ
  5. ตัดต่อคลิปตามความถนัดและเทคนิคของแต่ละบุคคล

 

  1. กลุ่มเกษตรกรข้าวไร่ชุมโค ตำบลบางสน อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร กลุ่มเกษตรกรข้าวไร่นาชะอัง (นายวิสูตร กาลพัฒน์) อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร กลุ่มข้าวไร่นาพญา (นายนิพนธ์ ฤทธิชัย) อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบังวิทยาเขตชุมพร (รศ.ดร.ร่วมจิตร นกเขา) ภายใต้การดำเนินงานเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพระดับเครือข่ายเครือข่ายข้าวไร่ชุมพร โดยเน้นเรื่องพันธุ์ข้าวไร่ 12 สายพันธุ์ มีเครือข่ายและสมาชิกข้าวไร่ 73 ราย มีพื้นที่ปลูก 1,100ไร่ มีรายได้จากการขายพันธุ์ข้าวได้ตันละ 100,000 บาทข้าวสารตันละ 65,000 บาทตามสโลแกน “กินแล้วดีต่อสุขภาพ” ภายในปี 2564 โดยมีเวทีเรียนรู้และขยายฐานสมาชิก การจัดตั้งกลุ่มและสถาบันเกษตรกร การพัฒนาแกนนำเกษตรกรและพันธุ์ข้าวไร่ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ การเพิ่มคุณค่าและมูลละค่าข้าวไร่ ผลิตภัณฑ์ข้าวไร่ ตลาดท้องถิ่น เรียนรู้การแปรรูปข้าวไร่ และเวทีสาธารณะ
  2. คลิปวีดีโอ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมประชาสังคมชุมพร

- Link : https://fb.watch/8UzWmzcOTa/ มีผู้รับชม  199 มีผู้เข้าถึง 529 คน

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ลิกอร์ News Update ประเด็น "อยู่รอด ปลอดภัย ในวิกฤติ COVID - 19" 17 เม.ย. 2564 17 เม.ย. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ติดตามการการขับเคลื่อนการดำเนินงานของเครือข่าย ประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ ด้านเด็กและเยาวชนผ่านเครือข่ายองค์กรงดเหล้า 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ผลผลิต 1. เกิดการหารือในระดับสาธารณะเพื่อให้เห็นถึงการดำเนินกิจกรรมของเครือข่ายในช่วงวิกฤติโควิด – 2019
2. การขับเคลื่อนงานของเครือข่ายร่วมกับภาคีอื่นๆ เพื่อการรู้เท่าทัน เพื่อการรับมือกับวิกฤติโควิด – 2019 3. เกิดรายการวิทยุโดยนำเสนอผ่านรายการ ลิกอร์ News Update ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. การขยายผลและเห็นรูปแบบการทำงานโดยใช้ช่วงของกลุ่มวัย โดยเป็นบริบทของพื้นที่ 2. เขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต พื้นที่ 11 นำไปเป็นแนวยุทธศาสตร์ รายประเด็น

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ลิกอร์ News Update ประเด็น "อยู่รอด ปลอดภัย ในวิกฤติ COVID - 19" 30 เม.ย. 2564 30 เม.ย. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. เกิดการแลกเปลี่ยนการทำงานระหว่างพื้นที่ โดยใช้การสื่อสาร ในช่วงวิกฤติโควิด 2. ประสบการณ์ทำงานในระบบการจัดการสุขภาพ ในพื้นที่โรงพยาบาลศูนย์ กับการจัดการระบบสุขภาพ ของเครือข่ายประชาสังคมกับเครือข่ายภาครัฐ 3. เกิดรายการวิทยุโดยนำเสนอผ่านรายการ ลิกอร์ News Update ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. เกิดการรับรู้และเห็นวิธีการทำงาน ของเครือข่าย สื่อ และเครือข่ายสุขภาพ ต่อการรับมือสถานการณ์ โควิด – 2019 2. เป็นแนวทางของเพื่อพัฒนาการสื่อสารของเครือข่าย

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ลิกอร์ News Update ประเด็น "อยู่รอด ปลอดภัย ในวิกฤติ COVID - 19" 3 พ.ค. 2564 3 พ.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. ประเด็นความมั่นคงทางอาหารได้มีการอธิบายถึงวิธีการเข้าถึงแหล่งอาหารปลอดภัย และเพียงพอต่อผู้บริโภค ในช่วงวิกฤติโควิด – 2019 2. เกิดการเชื่อมโยงและรูปแบบการผลิตอาหารให้เพียงพอในชุมชน 3. แนวทางการใช้ตลาด ออนไลน์ เพื่อการจำหน่ายสินค้าในชุมชน 4. เกิดรายการวิทยุโดยนำเสนอผ่านรายการ ลิกอร์ News Update ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. การขยายเครือข่ายผู้ผลิตอาหารปลอดภัย ระหว่างชุมชน 2. ขยายเครือข่ายสินค้าชุมชนสู่สหกรณ์ร้านค้าในโรงพยาบาล

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ลิกอร์ News Update ประเด็น "อยู่รอด ปลอดภัย ในวิกฤติ COVID - 19" 7 พ.ค. 2564 7 พ.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. เวทีหารือ การใช้การสื่อสารกับการขับเคลื่อนงาน ของ กขป. ในประเด็น การสานงานเสริมพลัง ในวิกฤติโควิด 2019 2. เกิดแนวความคิด ที่จะจัดเวทีร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัย เขต 11 3. เกิดรายการวิทยุโดยนำเสนอผ่านรายการ ลิกอร์ News Update ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 4. สื่อประชาสัมพันธ์ poster - ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 5. สื่อประชาสัมพันธ์ one page - ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. แนวทางการจัดการระบบโรงพยาบาลสนาม ที่ดำเนินการโดย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ 2. แนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์ ของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 11

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ลิกอร์ News Update ประเด็น "อยู่รอด ปลอดภัย ในวิกฤติ COVID - 19" 8 พ.ค. 2564 8 พ.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. การประชาสัมพันธ์ ด้านสิทธิการเข้าถึงระบบหลักประกันสุขภาพ
2. เพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ 3. เกิดรายการวิทยุโดยนำเสนอผ่านรายการ ลิกอร์ News Update ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 4. สื่อประชาสัมพันธ์ poster - ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. ประชาชนรับทราบและรู้ช่องทาเพื่อการเข้าถึงสิทธิ์ 2. สถานีวิทยุแห่งประเทศไทย นครศรีธรรมราช สัมภาษณ์ ผอ.สปสช.

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ลิกอร์ News Update ประเด็น "อยู่รอด ปลอดภัย ในวิกฤติ COVID - 19" 9 พ.ค. 2564 9 พ.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. รับรู้บทบาทของคณะกรรมการควบคุมโรคในระดับอำเภอ 2. การใช้การสื่อสารผ่านช่องทางการสื่อสาร ของเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ 3. เกิดรายการวิทยุโดยนำเสนอผ่านรายการ ลิกอร์ News Update ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 4. สื่อประชาสัมพันธ์ poster - ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. มาตรการที่กำหนอโดยราชการถูกนำมาปฏิบัติใช้อย่างถูกต้อง 2. ลดการแพร่กระจายของ fake news ที่เกี่ยวกับมาตรการจากภาครัฐ

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ลิกอร์ News Update ประเด็น "อยู่รอด ปลอดภัย ในวิกฤติ COVID - 19" 10 พ.ค. 2564 10 พ.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. รูปแบบการดำเนินการมาตรการ LQ ในระดับท้องถิ่นที่จัดการร่วม 2. ความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อการลดการแพร่ระบาด 3. เกิดรายการวิทยุโดยนำเสนอผ่านรายการ ลิกอร์ News Update ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 4. สื่อประชาสัมพันธ์ poster - ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. ต้นแบบของการใช้มารตาการรักษาผู้ป่วย โดยใช้ LQ 2. ใช้ช่องทางการสื่อสารเพื่อการขยายผลถึงความสำเร็จของพื้นที่

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ลิกอร์ News Update ประเด็น "อยู่รอด ปลอดภัย ในวิกฤติ COVID - 19" 13 พ.ค. 2564 13 พ.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆกับการสื่อสารข้อมูลจากภาครัฐ 2. ระบบการทำงานของการจัดการข้อมูลของภาครัฐ 3. เกิดรายการวิทยุโดยนำเสนอผ่านรายการ ลิกอร์ News Update ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 4. สื่อประชาสัมพันธ์ poster - ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 5. สื่อประชาสัมพันธ์ one page
- ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. ประชาชนผู้รับสื่อ เข้าใจ รับรู้ กับการจัดการ ด้านการแก้ปัญหาของภาครัฐ 2. ประชาชนเข้าถึงช่องทางการติดต่อที่ชัดเจนและรวดเร็ว

 

ลงพื้นที่เพื่อจัดทำคลิปวีดีโอ เรื่อง เกลอเขา-เกลอเล การแลกเปลี่ยนอาหารระหว่างคนเขากับคนเลในยุคโควิด-19 16 พ.ค. 2564 16 พ.ค. 2564

 

  1. ประสานงานเครือข่าย
  2. เขียนสคริป
  3. เตรียมอุปกรณ์และตัวละคร
  4. ถ่ายทำและบันทึกเรื่องราวเพื่อนำมาตัดต่อ
  5. ตัดต่อคลิปตามความถนัดและเทคนิคของแต่ละบุคคล

 

  1. กิจกรรมเกลอเขา-เกลอเล การเอื้อเฟื้อ แบ่งปัน แลกเปลี่ยนอาหาร ระหว่างเกษตรกรต้นน้ำ(เกลอเขา) และเกษตรกรปลายน้ำ(เกลอเล) จนกลายเป็นวัฒนธรรมใหม่ของชุมชน ที่ยึดถือเป็นประเพณีปฏิบัติที่ต้องทำกันทุกปี  อันสืบเนื่องมาจากกิจกรรมเกลอเขา-เกลอเล ระหว่างชุมชนบกไฟ ตำบลปากทรง อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร และชุมชนเกาะพิทักษ์ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยครั้งนี้เป็นครั้งแรกในการร่วมแลกเปลี่ยนพืชผักผลไม้กับอาหารทะเล ระหว่างชุมชนบ้านสระขาว (นางสาวเสาวนีย์ นวลรอด) ตำบลละแม อำเภอละแมจังหวัดชุมพร โดยสถาบันการเงินบ้านสระขาว กับชุมชนปากตะโกโฮมสเตย์ (นางสาวสุกัญญา ปางวิรุฬรักษ์) ตำบลปากตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเอาชนะวิกฤตอาหารในสถานการณ์ โควิด-19 จากเดิมที่เกษตรกรมุ่งเน้นการผลิตอาหารเพื่อนำไปจำหน่ายกลับตลาดในชุมชน และภายนอกชุมชนเปลี่ยนเป็นการแลกเปลี่ยนแบ่งปันเพื่อให้อยู่รอดปลอดภัยในวิกฤตโควิด 19 ลดการเดินทางไปนอกพื้นที่ เพื่อควบคุมความเสี่ยงจากการติดเชื้อ และลดความเสียหายของสินค้าการเกษตรที่จะนำไปสู่ตลาด โดยมีสมาคมประชาสังคมชุมพรเป็นผู้ประสานงานหลัก
  2. คลิปวีดีโอ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมประชาสังคมชุมพรและช่องทางC-site

- Link : https://fb.watch/9ItP70-k6E/ มีผู้รับชม 6.1k. มีผู้เข้าถึง 25432 คน

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ลิกอร์ News Update ประเด็น "อยู่รอด ปลอดภัย ในวิกฤติ COVID - 19" 17 พ.ค. 2564 17 พ.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆกับการสื่อสารข้อมูลจากภาครัฐ 2. ระบบการทำงานของการจัดการข้อมูลของภาครัฐ 3. เกิดรายการวิทยุโดยนำเสนอผ่านรายการ ลิกอร์  News  Update ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 4. สื่อประชาสัมพันธ์ poster - ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. ประชาชนผู้รับสื่อ เข้าใจ รับรู้ กับการจัดการ ด้านการแก้ปัญหาของภาครัฐ 2. เครือข่ายสื่อเนื้อหา หรือข้อมูล จากการสนทนามาปรับปูปแบบการสื่อสารเพื่อการเข้าใจและสื่อสารต่อโดยเน้นเนื้อหาที่ถูกต้อง กระชับ เข้าใจง่าย

 

ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ เพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินงานแผนงานสื่อ 19 พ.ค. 2564 19 พ.ค. 2564

 

ประชุมเพื่อสรุปความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานของเครือข่ายทั้ง  5 โซนพื้นที่กับการใช้งบประมาณและผลการดำเนินงาน

 

  1. การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ก่อนงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 12  ให้แต่ละเครือข่ายประสานจังหวัดในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อร่วมปฎิบัติการสื่อสาร งานสร้างสุขจังหวัด ออกแบบการทำงานร่วมกันกับทีมสร้างสุขจังหวัดนั้นๆ ด้วยการใช้สื่อเพื่อการขับเคลื่อนสังคมในรูปแบบเนื้อหาและการใช้ช่องทางที่เหมาะสม
  2. การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ระหว่างงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 12

- เกี่ยวสัญญาณเพื่อการถ่ายทอด ผ่านช่องทาง วิทยุ เฟสบุ๊ค และช่องทางอื่นๆ - ร่วมห้องย่อยจริยธรรมสื่อเพื่อสุขภาวะทางสังคม เพื่อ รับฟังความคิดเห็นต่อข้อเสนอเชิงนโยบาย 3. การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้หลังงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 12 ติดตามข้อเสนอเชิงนโยบาย - ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่รับผิดชอบ ในรูปแบบที่หลากหลาย เช่นเวทีถกเถียงสาธารณะ นำเสนอรูปธรรมจากข้อเสนอ - จัดทำบันทึกย้อนหลัง ใน platform ต่างๆ

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ลิกอร์ News Update ประเด็น "อยู่รอด ปลอดภัย ในวิกฤติ COVID - 19" 20 พ.ค. 2564 20 พ.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. สร้างความเข้าใจกับการฉีดวัคซีนกับกลุ่มประชาชน กลุ่มผู้สูงอายุ 2. การการระบบโรงพยาบาลสนาม กับแนวทางใช้มาตรการเพื่อลดการระบาด 3. เกิดรายการวิทยุโดยนำเสนอผ่านรายการ ลิกอร์ News Update ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 4. สื่อประชาสัมพันธ์ poster - ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. ลดการเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับความเสี่ยงของการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม 2. รณรงค์ให้กลุ่มผู้สูงอายุเข้าถึงวัดซีนมากที่สุด

 

เวทีงานสร้างสุขจังหวัดพังงา "พังงาแห่งความสุขสู่สร้างสุขภาคใต้" 25 พ.ค. 2564 25 พ.ค. 2564

 

  1. ซักซ้อมขั้นตอน , ติดตั้งและทดสอบการทำ Zoom Meeting เชื่อมโยงการสื่อสารในรูปแบบเครือข่ายสื่อสร้างสุข
  2. ดำเนินกิจกรรมการประชุมสร้างสุขพังงา ปี 64

- ระบบZoom Meeting
- Live สด

 

  1. รูปแบบการสื่อสารออนไลน์ที่สามารถเชื่อมโยงเครือข่าย
  2. กลุ่มเครือข่ายในจังหวัดได้มีโอกาสใช้ช่องทางการสื่อสารร่วมกัน
  3. Live สด : ผ่านทาง เพจ PACTV สมาคมสื่อวิทยุโทรทัศน์พังงา อันดามัน(ผู้ชมและผู้ฟังเข้าถึง 20,000 คน)

- Link : https://fb.watch/9JdtJKNL_8/ - Link : https://fb.watch/9JdxxLiNEP/

 

เวทีงานสร้างสุขจังหวัดพังงา "พังงาแห่งความสุขขับเคลื่อนสู่สร้างสุขภาคใต้" 25 พ.ค. 2564 25 พ.ค. 2564

 

  1. รูปแบบการดำเนินงานเป็นเวที ทั้ง ออนไลน์และ Onside แบ่งเป็นพื้นที่และเครือข่าย นำเสนอรูปแบบการทำงานร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะมาพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย
  2. รูปแบบ การทำงานด้านการสื่อสาร  ซักซ้อมขั้นตอน , เปิดห้องประชุม Online เชื่อมโยงการสื่อสารในรูปแบบเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้

 

ผลผลิต 1. รูปแบบการสื่อสารออนไลน์ที่สามารถเชื่อมโยงเครือข่าย 2. กลุ่มเครือข่ายในจังหวัดได้มีโอกาสใช้ช่องทางการสื่อสารร่วมกัน 3. ถ่ายทอดสดผ่านระบบ Zoom ออนไลน์ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
- Link : https://www.facebook.com/scmanews/videos/4048799621866742 - Link : https://www.facebook.com/scmanews/videos/820953758626604 ผลลัพธ์ 1. ข้อเสนอเชิงนโยบาย 2. ผลจากการใช้การสื่อสารออนไลน์ได้เนื้อหาที่เป็นข้อเสนอ พร้อมเห็นความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นอย่างดี

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ลิกอร์ News Update ประเด็น "เสวนาหาทางออก การจัดการระบบอาหารในช่วงวิกฤติทุกคนต้องอยู่รอด ปลอดภัยในวิถี New Normal" 27 พ.ค. 2564 27 พ.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. ได้แนวทางการแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรปลอดภัย 2. ช่องการการสื่อสารให้เกิดประโยชน์และเครือข่ายได้เกิดการเรียนรู้ข้ามพื้นที่ 3. เกิดรายการวิทยุโดยนำเสนอผ่านรายการ ลิกอร์ News Update ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 4. สื่อประชาสัมพันธ์ poster - ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. บริษัทประชารัฐสามัคคีเข้ามามีส่วนร่วมในการประสานสินค้าจากเกษตรกรจากภาคอีสานมาภาคใต้ 2. ผู้ผลิตผลไม้ ที่มีคุณภาพ ได้มีรายรับที่เหมาะสม เพื่อการแก้ปัญหาราคาตกต่ำในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 2019

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ลิกอร์ News Update ประเด็น "การขับเคลื่อนกลไกสุขภาพชายแดนใต้ สร้างความมั่นคงทางสุขภาพ และปรับตัวกับสถานการณ์อย่างไร" 28 พ.ค. 2564 28 พ.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. แนวทางการขับเคลื่อนประเด็นสุขภาพ และการใช้ประโยชน์จากกองทุนท้องถิ่น ชายแดนใต้ 2. เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ โซนใต้ล่าง วางแผนงานการสนับสนุนงานสื่อสารสาธารณะ 3. เกิดรายการวิทยุโดยนำเสนอผ่านรายการ ลิกอร์ News Update ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 4. สื่อประชาสัมพันธ์ poster - ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. ความมั่นคงทางสุขภาพ กับการใช้ประโยชน์จากกองทุนตำบล 2. การปรับตัวการขับเคลื่อนงานในประเด็นด้วยการใช้การสื่อสารในรูปแบบ ออนไลน์ ได้คล่องตัวยิ่งขึ้นของเครือข่ายสร้างสุขในสถานการณ์ New Normal

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ลิกอร์ News Update ประเด็น "วัคซีน กับผลข้างเคียง เยียวยากันอย่างไร" 9 มิ.ย. 2564 9 มิ.ย. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. ได้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ได้รับผลกระทบกับ ตัวแทน สปสช. 2. ข้อมูลประกอบเพื่อการขอเยียวยา 3. เกิดรายการวิทยุโดยนำเสนอผ่านรายการ ลิกอร์ News Update ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 4. สื่อประชาสัมพันธ์ poster - ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. ช่องทางและเงื่อนไขของการขอรับเงินทดแทน 2. การตัดสินใจของกลุ่มที่ยังมีข้อกังวลต่อการฉีดวัคซีน

 

Live สด : รายการ "Breaking News" ภัยพิบัติ โรคอุบัติใหม่ มาตรการเร่งด่วนสกัดคลัสเตอร์แพปลา 12 มิ.ย. 2564 12 มิ.ย. 2564

 

  1. ลงพื้นที่ โรงพยาบาลพังงา ในกรณี #คลัสเตอร์แพปลา อำเภอคุระบุรี คลัสเตอร์แพปลา คุระบุรี
  2. เตรียมความพร้อมในสัมภาษณ์และถ่ายทอดสด
  3. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าฯพังงา ณ โรงพยาบาลพังงา ในกรณี #คลัสเตอร์แพปลา อำเภอคุระบุรี คลัสเตอร์แพปลา คุระบุรี อยู่ในการควบคุมระดับเข้มข้นของพื้นที่แล้ว พร้อมมีคำสั่งปิดพื้นที่ ม. 3 บ้านหินลาด เพื่อ SCAN และ CLEAN ได้เตรียมการเรื่องโรงพยาบาลสนาม และ LOCAL QUARANTINE ในพื้นที่ไว้ด้วย จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในทุกคลัสเตอร์ ที่นี่เป็นชุมชนใหญ่กว่า 3,000 คน ทำอาชีพประมงเป็นหลัก และยังมีแรงงานต่างชาติอีกร่วมพันคน ที่ผ่านมาการกำกับดูแลเรือเล็กเข้า-ออกทำได้ไม่ดี ก็ปรับมาตรการใหม่ ล็อคที่หน้าท่าเรือทุกอำเภอ หลักการคือให้ทุกคนหยุดอยู่กับที่ ห้ามเคลื่อนย้าย จนท.จะลงไปสืบค้นข้อมูลเอง เป็นคลัสเตอร์ที่กังวล ทุกตำบลต้องตั้งด่านตรวจตราคนเข้า-ออก เรียกร้องให้ผู้ประกอบการดูแลลูกน้องให้ดี การ์ดอย่าตก
  2. Live สด : รายการ “Breaking News” ผ่านช่องทาง เพจ PACTV สมาคมสื่อวิทยุโทรทัศน์พังงา อันดามัน(ผู้ชมและผู้ฟังเข้าถึง 3,900 คน) Link : https://fb.watch/9JdOURyjtp/

 

เวทีงานสร้างสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี สู่งานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 12 "สุราษฎร์ธานี ฝ่าวิกฤติ สู่ชีวิตวิถีใหม่" 13 มิ.ย. 2564 13 มิ.ย. 2564

 

  1. ซักซ้อมการใช้ระบบซูมร่วมกับการจัดระบบถ่ายทอดสด
  2. ร่วมออกแบบ ประชาสัมพันธ์
  3. ปฏิบัติการสื่อสารในวันงานจริง ลิงค์สัญญาณถ่ายทอด

 

ผลผลิต 1. การสื่อสารผ่านสู่สาธารณะ 2. เกิดการแลกเปลี่ยนผ่านระบบ ออนไลน์ 3. ถ่ายทอดสดผ่านระบบ Zoom ออนไลน์ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
- Link : https://www.facebook.com/scmanews/videos/912912199557416 ผลลัพธ์ 1. การบันทึกเพื่อการรับชมย้อนหลัง 2. เป็นข้อมูลที่สามารถเข้ามาตรวจสอบได้

 

การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ก่อนการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 12 15 มิ.ย. 2564 15 มิ.ย. 2564

 

  1. การสื่อสารจัดรายการทางสถานีวิทยุท้องถิ่น FM 96 ยูนิตี้ เรดิโอ
  2. การสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ Page Facebook,Line กลุ่มต่างๆ
  3. การนำเรื่องราวการจัดกิจกรรมสื่อสร้างสุขระดับจังหวัดกระบี่มาสื่อสาร

 

  1. สร้างการรับรู้ในจังหวัดกระบี่ผ่านวิทยุและช่องทางออนไลน์
  2. สื่อประชาสัมพันธ์ สปอตวิทยุ ผ่านสถานีวิทยุท้องถิ่น FM 96 ยูนิตี้ เรดิโอ

 

เวทีถอดบทเรียนโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่าง 16 มิ.ย. 2564 16 มิ.ย. 2564

 

เป็นการถอดบทเรียนโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่าง รับมือโควิด-19

 

ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับสมาชิกโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริทุกแห่งให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ จึงเกิดการผลักดันและส่งเสริม พร้อมทั้งพัฒนาให้เป็นโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ เพื่อต้องการให้ประชาชนทุกคนในพื้นที่ รู้จักการสะสมอาหาร อยู่ดีกินดี รวมถึงเข้ามาศึกษาเรียนรู้ จนพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ สร้างงาน สร้างอาชีพ ขยายผลไปยังชุมชน จนสามารถต่อยอดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยโครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่างฯ บ้านไอร์บือแต มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ โอบล้อมด้วยภูเขาและลำธาร มีพื้นที่ 1,718 ไร่ ซึ่งประกอบด้วย หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มตัวอย่าง ซึ่งมีการจัดสรรที่ดินพร้อมที่พักอาศัยให้แก่สมาชิกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงในทุกครัวเรือน พร้อมทั้งมีระบบการป้องกันหมู่บ้าน ระบบสาธารณูปโภค และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก โดยสามารถพัฒนาต่อยอด เป็นต้นแบบของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ   สำหรับการถอดบทเรียนในครั้งนี้ จะสามารถพัฒนาองค์ความรู้และสร้างการมีส่วนร่วมของสมาชิก และเจ้าหน้าที่ให้มีความร่วมมือ ร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนา ขีดความสามารถอย่างเต็มที่ ให้โครงการหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และฟาร์มตัวอย่างต้นแบบ ที่มีความพร้อมทางด้านความรู้ มีผลผลิตทั้งภาคการเกษตร ภาคปศุสัตว์ ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งกระจายด้านการผลิต การตลาดตลอดจนใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดมูลค่าสูงสุด พร้อมที่จะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างความสุข ก่อเกิดการสร้างรายที่มั่นคง มีความความมั่งคั่งและยั่งยืน โดยเฉพาะในห้วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของประชาชนทุกภาคส่วน

 

เวทีงานสร้างสงขลาสู่งานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2564 "สร้างสุขสงขลาในวิถีใหม่ Songkhla New Normal" 17 มิ.ย. 2564 17 มิ.ย. 2564

 

  1. ซักซ้อมก่อนวันปฏิบัติจริง
  2. เป็นแม่ข่ายในการถ่ายทอดสดผ่าน เฟสบุ๊ค
  3. ร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการในเวที
  4. การออกแบบประชาสัมพันธ์

 

ผลผลิต 1. การเชื่อมโยงการสื่อสาร 2. การปฏิบัติการถ่ายทอดสด 3. ถ่ายทอดสดผ่านระบบ Zoom ออนไลน์ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
- Link : https://www.facebook.com/scmanews/videos/864170507521012 4. ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ poster
- ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. การบันทึกเพื่อการเข้ารับชมย้อนหลัง 2. การปรับรูปแบบการสื่อสารที่เหมาะสม

 

เวทีงานสร้างสุขนครศรีธรรมราช สุข ขับเคลื่อน "นครศรี ฯ อยู่ดี มีสุข" ในสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง (New Normal) 18 มิ.ย. 2564 18 มิ.ย. 2564

 

  1. ซักซ้อมก่อนถึงงาน
  2. เตรียมอุปกรณ์ ออกแบบเพื่อการประชาสัมพันธ์งาน
  3. ในเวทีมีการถ่ายทอดสดจากระบบ ZOOM เชื่อมลิงค์ผ่าน face book live
  4. ร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการ

 

ผลผลิต 1. รูปแบบรายการผ่านสื่อที่สร้างความน่าสนใจ 2. ผู้ติดตามรับชมผ่านการถ่ายทอดสด 3. ถ่ายทอดสดผ่านระบบ Zoom ออนไลน์ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
- Link : https://www.facebook.com/scmanews/videos/210590560885781 - Link : https://www.facebook.com/scmanews/videos/2607941082844225 4. สื่อประชาสัมพันธ์ poster - ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. การนำบันทึกมาชมย้อนหลัง 2. เป็นการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการนำมาถอดบทเรียน

 

ลงพื้นที่ถ่ายทำคลิปบริจาคอย่างไร ให้ถูกใจโรงพยาบาลสนาม 19 มิ.ย. 2564 19 มิ.ย. 2564

 

  1. ประชุมทีม วางแผน กำหนดกลุ่มเป้าหมายและรูปแบบการสื่อสารในประเด็นที่ขับเคลื่อน
  2. ประสานงานและพื้นที่สัมภาษณ์
  3. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. คลิปวีดีโอ ผ่านช่องทาง : Facebook page ศูนย์อาสาสร้างสุข-ภาคใต้ Link : https://www.facebook.com/arsa.society/videos/2106246802850890
  2. นำไปใช้เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

เวทีสาธารณะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 3 ชุมชนท้องถิ่นกับการปรับสภาพแวดล้อมรองรับสังคมสูงวัย 29 มิ.ย. 2564 29 มิ.ย. 2564

 

เป็นการร่วมมือกับเครือข่ายสมาคมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย เพื่อการสื่อสาร โดยการเชื่อมสัญญาณถ่ายทอดสด จาก ระบบ Zoom ลิงค์ผ่านช่องทาง face book live

 

ผลผลิต 1. กลุ่มคนเพิ่มจำนวนมากขึ้นจากการชมผ่านเครือข่ายสื่อ 2. การแลกเปลี่ยนผ่านสื่อที่เกิดประโยชน์ต่อการกำหนดเป็นข้อเสนอ ผลลัพธ์ 1. การรับรู้ข้ามเครือข่ายเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาเครือข่ายผู้สูงอายุอื่นๆ 2. ผู้ชมผ่านสื่อจะมีพื้นที่ต้นแบบที่ดีเพื่อมาพัฒนา หรือ นำมาประยุกต์ใช้กับพื้นที่ตนเอง

 

เวทีสมัชชาสร้างสุขตรัง "สานพลังไตรภาคีสู่ตรังเมืองแห่งความสุข เมืองคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนแบบ New Normal" 30 มิ.ย. 2564 30 มิ.ย. 2564

 

  1. การซักซ้อม ก่อนการปฏิบัติการจริง
  2. เชื่อมโยงเครือข่าย วิทยุชุมชนเครือข่ายสื่อสร้างสุข
  3. ออกแบบ ประชาสัมพันธ์
  4. ลิงค์สัญญาณการถ่ายทอด จากระบบ ZOOM เชื่อมกับ face book live
  5. จัดระบบการถ่ายทอดสด และ ร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการ

 

ผลผลิต 1. ทีมสื่อสารสร้างสุขภาคใต้สร้างปฏิบัติการร่วม 2. รูปแบบการสื่อสาร ออนไลน์ 3. จำนวนผู้เข้าชมการถ่ายทอดสดและการแสดงความคิดเห็น 4. ถ่ายทอดสดผ่านระบบ Zoom ออนไลน์ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
- Link : https://www.facebook.com/scmanews/videos/399186434764394 ผลลัพธ์ 1. การบันทึกเพื่อการรับชมย้อนหลัง 2. เป็นการจัดเก็ยข้อมูลเพื่อการนำมาถอดบทเรียน

 

เวทีงานสร้างสุขจังหวัดชุมพร "สานพลังสร้างสุขชุมพรสู่เมืองน่าอยู่" 2 ก.ค. 2564 2 ก.ค. 2564

 

  1. การซักซ้อม ก่อนการปฏิบัติการจริง
  2. เชื่อมโยงเครือข่าย วิทยุชุมชนเครือข่ายสื่อสร้างสุข
  3. ออกแบบ ประชาสัมพันธ์
  4. ลิงค์สัญญาณ การถ่ายทอด จากระบบ ZOOM เชื่อมกับ face book live
  5. จัดระบบการถ่ายทอดสด และ ร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการ

 

ผลผลิต 1. ทีมสื่อสารสร้างสุขภาคใต้สร้างปฏิบัติการร่วม 2. รูปแบบการสื่อสาร ออนไลน์ 3. จำนวนผู้เข้าชมการถ่ายทอดสดและการแสดงความคิดเห็น 4. ถ่ายทอดสดผ่านระบบ Zoom ออนไลน์ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
- Link : https://www.facebook.com/scmanews/videos/327368949106847 ผลลัพธ์ 1. การบันทึกเพื่อการรับชมย้อนหลัง 2. เป็นการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการนำมาถอดบทเรียน

 

Live สด : รายการ "Breaking News" ภัยพิบัติ โรคอุบัติใหม่ ตลาดนัดท้ายรถตำบลโคกกลอย 5 ก.ค. 2564 5 ก.ค. 2564

 

  1. ลงพื้นที่ ตลาดนัดท้ายรถโคกกลอย
  2. เตรียมความพร้อมในสัมภาษณ์และถ่ายทอดสด
  3. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. นายกเทศมนตรี ทีมบริหาร และผู้เกี่ยวข้อง สร้างความมั่นใจให้กับผู้มาใช้บริการ และผู้ค้า เพื่อสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจของคนในชุมชน ด้วยการทำงานเชิงรุก ของหน่วยงานรัฐ สกัดข่าวลือว่ามีแม่ค้าเป็นผู้ป่วยติดเชื้อโควิด19 สรุป: กระแสข่าวลือ .. ไม่เป็นความจริง!
  2. นายสุทธิพงศ์ โกยสกุล นายกเทศมนตรีโคกกลอย ทีมบริหาร กองสธ. และผู้บริหารตลาด ได้ให้ความชัดเจนเรื่องนี้ ว่าพ่อค้าแม่ค้าในตลาดท้ายรถโคกกลอยที่นี่ส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่โคกกลอย พื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงบางส่วนแม่ค้ามาจากภูเก็ต ซึ่งได้ฉีดวัคซีนครบแล้วประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ส่วนที่เหลือได้ทำการลงทะเบียนเพื่อรอนัดฉีดไปบ้างแล้วและทางตลาดก็มีมาตรการที่เข้มงวด ต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา สแกนอุณหภูมิ แต่ละร้านจะมีฉากพลาสติกกั้นระหว่างร้าน พร้อมมีเจล/แอลกอฮอล์ วางไว้ให้บริการตามจุดต่าง ๆ
  3. Live สด : รายการ “Breaking News” ผ่านช่องทาง : เพจ PACTV สมาคมสื่อวิทยุโทรทัศน์พังงา อันดามัน (ผู้ชมและผู้ฟังเข้าถึง 5,300 คน) Link : https://fb.watch/9JbEfdb5uP/

 

เวทีงานสร้างสุขภาคใต้จังหวัดสตูล ครั้งที่ 12 "นครแห่งความผาสุก" 6 ก.ค. 2564 6 ก.ค. 2564

 

  1. การซักซ้อม ก่อนการปฏิบัติการจริง
  2. เชื่อมโยงเครือข่าย วิทยุชุมชนเครือข่ายสื่อสร้างสุข
  3. ออกแบบ ประชาสัมพันธ์
  4. ลิงค์สัญญาณ การถ่ายทอด จากระบบ ZOOM เชื่อมกับ face book live
  5. จัดระบบการถ่ายทอดสด และ ร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการ

 

  1. ทีมสื่อสารสร้างสุขภาคใต้สร้างปฏิบัติการร่วม
  2. รูปแบบการสื่อสาร ออนไลน์
  3. จำนวนผู้เข้าชมการถ่ายทอดสดและการแสดงความคิดเห็น
  4. ถ่ายทอดสดผ่านระบบ Zoom ออนไลน์ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช

- Link : https://www.facebook.com/scmanews/videos/281975123682675 ผลลัพธ์ 1. การบันทึกเพื่อการรับชมย้อนหลัง 2. เป็นการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการนำมาถอดบทเรียน

 

เวทีงานสร้างสุขจังหวัดยะลา "ํYALA : สานพลังสร้างสุข สู่ยุค NEW LIFE" และเวที "ภูเก็ตสร้างสุข" 7 ก.ค. 2564 7 ก.ค. 2564

 

  1. การซักซ้อม ก่อนการปฏิบัติการจริง
  2. เชื่อมโยงเครือข่าย วิทยุชุมชนเครือข่ายสื่อสร้างสุข
  3. ออกแบบ ประชาสัมพันธ์
  4. ลิงค์สัญญาณ การถ่ายทอด จากระบบ ZOOM เชื่อมกับ face book live
  5. จัดระบบการถ่ายทอดสด และ ร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการ

 

ผลผลิต 1. ทีมสื่อสารสร้างสุขภาคใต้สร้างปฏิบัติการร่วม 2. รูปแบบการสื่อสาร ออนไลน์ 3. จำนวนผู้เข้าชมการถ่ายทอดสดและการแสดงความคิดเห็น 4. ถ่ายทอดสดผ่านระบบ Zoom ออนไลน์ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
- Link : https://www.facebook.com/scmanews/videos/338233321220119 - Link : https://www.facebook.com/scmanews/videos/1992325140905915 ผลลัพธ์ 1. การบันทึกเพื่อการรับชมย้อนหลัง 2. เป็นการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการนำมาถอดบทเรียน

 

เวทีงานสร้างสุขจังหวัดปัตตานีสู่งานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2564 "ปัตตานีก้าวข้ามโควิด - 19 สู่ New Normal" 8 ก.ค. 2564 8 ก.ค. 2564

 

  1. การซักซ้อม ก่อนการปฏิบัติการจริง
  2. เชื่อมโยงเครือข่าย วิทยุชุมชนเครือข่ายสื่อสร้างสุข
  3. ออกแบบ ประชาสัมพันธ์
  4. ลิงค์สัญญาณ การถ่ายทอด จากระบบ ZOOM เชื่อมกับ face book live
  5. จัดระบบการถ่ายทอดสด และ ร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการ

 

ผลผลิต 1. ทีมสื่อสารสร้างสุขภาคใต้สร้างปฏิบัติการร่วม 2. รูปแบบการสื่อสาร ออนไลน์ 3. จำนวนผู้เข้าชมการถ่ายทอดสดและการแสดงความคิดเห็น 4. ถ่ายทอดสดผ่านระบบ Zoom ออนไลน์ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
- Link : https://www.facebook.com/scmanews/videos/250446303121875 ผลลัพธ์ 1. การบันทึกเพื่อการรับชมย้อนหลัง 2. เป็นการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการนำมาถอดบทเรียน

 

เวทีงานสร้างสุขจังหวัดระนอง "เชื่อมร้อยเครือข่ายสุขภาพ สู่ระนองแห่งความสุข" 9 ก.ค. 2564 9 ก.ค. 2564

 

  1. การซักซ้อม ก่อนการปฏิบัติการจริง
  2. เชื่อมโยงเครือข่าย วิทยุชุมชนเครือข่ายสื่อสร้างสุข
  3. ออกแบบ ประชาสัมพันธ์
  4. ลิงค์สัญญาณ การถ่ายทอด จากระบบ ZOOM เชื่อมกับ face book live
  5. จัดระบบการถ่ายทอดสด และ ร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการ

 

ผลผลิต 1. ทีมสื่อสารสร้างสุขภาคใต้สร้างปฏิบัติการร่วม 2. รูปแบบการสื่อสาร ออนไลน์ 3. จำนวนผู้เข้าชมการถ่ายทอดสดและการแสดงความคิดเห็น 4. ถ่ายทอดสดผ่านระบบ Zoom ออนไลน์ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
- Link : https://www.facebook.com/scmanews/videos/139291308230561 ผลลัพธ์ 1. การบันทึกเพื่อการรับชมย้อนหลัง 2. เป็นการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการนำมาถอดบทเรียน

 

เวทีงานสร้างสุขจังหวัดนราธิวาสครั้งที่ 12 "สานพลังชาวนรา ก้าวข้ามโควิด-19" 10 ก.ค. 2564 10 ก.ค. 2564

 

  1. การซักซ้อม ก่อนการปฏิบัติการจริง
  2. เชื่อมโยงเครือข่าย วิทยุชุมชนเครือข่ายสื่อสร้างสุข
  3. ออกแบบ ประชาสัมพันธ์
  4. ลิงค์สัญญาณ การถ่ายทอด จากระบบ ZOOM เชื่อมกับ face book live
  5. จัดระบบการถ่ายทอดสด และ ร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการ

 

ผลผลิต 1. ทีมสื่อสารสร้างสุขภาคใต้สร้างปฏิบัติการร่วม 2. รูปแบบการสื่อสาร ออนไลน์ 3. จำนวนผู้เข้าชมการถ่ายทอดสดและการแสดงความคิดเห็น 4. ถ่ายทอดสดผ่านระบบ Zoom ออนไลน์ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
- Link : https://www.facebook.com/scmanews/videos/184922913596692 ผลลัพธ์ 1. การบันทึกเพื่อการรับชมย้อนหลัง 2. เป็นการจัดเก็บข้อมูลเพื่อการนำมาถอดบทเรียน

 

การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ระหว่างการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 12 13 ก.ค. 2564 13 ก.ค. 2564

 

  1. เชื่อมต่อสัญญาณถ่ายทอดสดการจัดการงานสร้างสุขภาคใต้ ผ่านทางสถานีวิทยุท้องถิ่น FM 96 ยูนิตี้ เรดิโอ จ.กระบี่
  2. การสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ Page Facebook,Line กลุ่มต่างๆ

 

สร้างการรับรู้ในจังหวัดกระบี่ผ่านวิทยุและช่องทางออนไลน์

 

เวทีงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2564 "สานงาน เสริมพลัง ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ภาคใต้แห่งความสุขในวิถี New Normal" 13 ก.ค. 2564 13 ก.ค. 2564

 

  1. เรื่องราวที่จะสื่อถึงคนดู วัตถุประสงค์ที่จะสื่อสาร
  2. จับประเด็นใจความสำคัญที่จะนำเสนอ
  3. การถ่ายภาพกริยาบท เลือกภาพที่ผู้นำเสนอในขณะที่มีบาทบาทของเรื่องที่จะทำ Info graphic
  4. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. Info graphic จำนวน 7 ชิ้น  ผ่านช่องทาง : Facebook page ศูนย์อาสาสร้างสุข-ภาคใต้
  2. นำไปเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

เวทีงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2564 "สานงาน เสริมพลัง ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ภาคใต้แห่งความสุขในวิถี New Normal" 13 ก.ค. 2564 13 ก.ค. 2564

 

แบ่งออกเป็น 3  ระยะ ก่อนงาน ระหว่างงาน หลังงาน 1. ประชุมซักซ้อมการดำเนินงาน 2. ออกแบบการประชาสัมพันธ์ 3. ร่วมปฎิบัติการกับเครือข่ายเพื่อการถ่ายทอดสด 4. จัดระบบ การถ่ายทอดร่วมกับเครือข่าย 5. จัดเตรียมระบบ

 

ผลผลิต 1. รูปแบบการสื่อสารที่น่าสนใจ มีคนเข้าชมนอกเหนือจากกลุ่มเป้าหมายหลัก 2. การรวมตัวเพื่อการถ่ายทอดสด 3. ศักยภาพของการทำงานเป็นทีม 4. ถ่ายทอดสดผ่านระบบ Zoom ออนไลน์ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
- Link : https://www.facebook.com/scmanews/videos/1615780585452456 - Link : https://www.facebook.com/scmanews/videos/493378211959299 5. สื่อประชาสัมพันธ์ poster - ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 6. สื่อประชาสัมพันธ์(คลิปวีดีโอ) ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช และ Youtube ลิกอร์ มีเดีย - Link : https://www.youtube.com/watch?v=KMZZzIKdkXQ - Link : https://www.facebook.com/100000101145983/posts/4652910491388943/?d=n 7. สื่อประชาสัมพันธ์ (Web Design) ผลลัพธ์ 1. การเข้าถึงและการติดตามชมงานสร้างสุขภาคใต้ 2. เกิดเป็นต้นแบบของการสื่อสารสาธารณะ 3. ลดต้นทุนการจัดจ้างบุคคลภายนอก

 

การสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้หลังการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 12 15 ก.ค. 2564 15 ก.ค. 2564

 

  1. การสื่อสารจัดรายการทางสถานีวิทยุท้องถิ่น FM 96 ยูนิตี้ เรดิโอ
  2. การสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ Page Facebook,Line กลุ่มต่างๆ

 

  1. สร้างการรับรู้ในจังหวัดกระบี่ผ่านวิทยุและช่องทางออนไลน์
  2. สื่อประชาสัมพันธ์ สปอตวิทยุ ผ่านสถานีวิทยุท้องถิ่น FM 96 ยูนิตี้ เรดิโอ

 

ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ จ.นครศรีธรรมราช เพื่อสรุปการปฏิบัติงานสื่อ 20 ก.ค. 2564 20 ก.ค. 2564

 

สรุปการปฏิบัติงานสื่อความก้าวหน้าการดำเนินงานทีมผลิตและทีมงานกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

สื่อสารงานประเด็นนโยบาย นครศรีธรรมราช รับผิดชอบประเด็นความมั่นคงทางอาหาร พืชร่วมยาง  ตำบลบูรณาการ  กลไกสุขภาพ จังหวัดนครศรีธรรมราช  จังหวัดชุมพร  ภัยพิบัติและจังหวัดนราธิวาส ลักษณะงานสื่อสารพื้นที่ 1. งานผลิตคลิปรณรงค์ และพื้นที่รูปธรรม เกษตรสัญจร
2. เวทีสาธารณะ หรือ สร้างสุขออนไลน์ กับต้นแบบพื้นที่ รายการฟังเสียงประชาชน
- ประเด็นสาธารณะ  กลไกสุขภาพ กองทุนตำบลเทศบาลตำบลนาชะอัง , สปสช.กับการสนับสนุน ATK , สปสช.กับการบริการด้านผู้ป่วยโควิด , กลไกสุขภาพ กองทุนตำบล เขต 12 , เขตสุขภาพกับการรับมือโควิด – 19 , โรงพยาบาลสนาม เขต 11 , การรับมือผู้ป่วยกับทีมพยาบาลพร้อม มวล. 3. หนังสือพิมพ์ “หาดใหญ่เจอนัล” สร้างสุขภาคใต้

งานสื่อสารกับงานสร้างสุข แบ่งเป็น 1. ก่อนงาน ร่วมกับทีมสร้างสุขจังหวัดออกแบบการจัดงานและการสื่อสาร ร่วมจัดงานสร้างสุขจังหวัด 2. ระหว่างงาน ร่วมเป็นทีมกลางปฎิบัติการสื่อสาร 3. หลังงาน สื่อสารเพื่อการติดตามนโยบาย , บันทึกเพื่อการติดตามย้อนหลัง - เวทีสาธารณะเพื่อการติดตามนโยบาย

งานสื่อสารกลาง 1. ผลิตหนังสือพิมพ์ 2. ผลิตคลิปรูปธรรมความสำเร็จจากประเด็น 3. ร่วมงานสื่อสารสร้างสุขภาคใต้ และสร้างสุข 14 จังหวัด 4. จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายนำเสนอในงานสร้างสุขใต้

งานบริหารจัดการ 1. ประสานงานพื้นที่ 2. จัดทำรายงานด้านการเงินและรวบรวมผลงาน 3. รายงานความก้าวหน้าต่อ สถาบันนโนบายสาธารณะ

 

Live สด : รายการ "Breaking News" ภัยพิบัติ โรคอุบัติใหม่ คลัสเตอร์บางคลี 23 ก.ค. 2564 23 ก.ค. 2564

 

  1. ลงพื้นที่ บ้านบางคลี ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา
  2. เตรียมความพร้อมในสัมภาษณ์และถ่ายทอดสด
  3. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. ตัวแทน อสม.ในพื้นที่ขอให้ทีมข่าว ลงไปติดตามข้อเท็จจริง สยบข่าวลือ ที่บอกว่าคนบางคลีติดโควิดเป็นร้อย สร้างความตระหนกให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก และได้ติดต่อทีมงานของคุณกานต์ เพ็ชรบูรณ์ ให้เข้าไปฉีดพ่นฆ่าเชื้อ ในบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ได้ประสานงานกับเอกชน คือบริษัทอีซูซุอันดามันเซลล์ สาขาโคกกลอย กับศูนย์อาหารจณิภาโคกกลอย ขอบริจาคน้ำดื่มให้กับเจ้าหน้าที่ประจำด่าน ซึ่งทางศบค.อ.ท้ายเหมือง ได้มีมติร่วมกัน ให้ตั้งด่านปิดทางเข้า-ออกชุมชนพรุวังช้างโดยเด็ดขาดตลอด 24 ชม. ผลจากการถ่ายทอดสดครั้งนี้ สร้างความเข้าใจให้กับชาวบ้านในพื้นที่ และใกล้เคียง ลดปัจจัยเสี่ยงทั้งเรื่องของFake News ถึงมาตรการต่าง ๆ ที่ต้องปฏิบัติ สยบข่าวลือได้ และมีผู้เข้าไปให้การช่วยเหลืออนุเคราะห์ทั้งเจ้าหน้าที่ประจำด่าน ทั้งผู้ที่ถูกกักตัว อย่างล้นหลาม
  2. Live สด : รายการ “Breaking News” ผ่านช่องทาง : เพจ PACTV สมาคมสื่อวิทยุโทรทัศน์พังงา อันดามัน (ผู้ชมและผู้ฟังเข้าถึง 20,000 คน) Link : https://fb.watch/9JbwTaJfPJ/

 

เวทีชวนคุย การบริหารจัดการงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อสนับสนุนการเฝ้าระวัง การป้องกันและการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID- 19) 29 ก.ค. 2564 29 ก.ค. 2564

 

  1. ซักซ้อมความเข้าใจ ระหว่างผู้ดำเนินรายการและวิทยากร
  2. ซักซ้อมการใช้ระบบ ZOOM
  3. ออกแบบการประชาสัมพันธ์
  4. ปฏิบัติการจริงถ่ายทอดสด

 

ผลผลิต 1. เครือข่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมงานเสวนา ผ่านการชมจากการถ่ายทอดสด 2. เครือข่ายสื่อสร้างสุขเป็นที่รู้จักของเครือข่ายและภาคีอื่นๆ ผลลัพธ์ 1. การขยายผลสู่การเข้าถึงระบบสุขภาพ โดยกองทุนท้องถิ่น 2. เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ ได้เชื่อมโยงกับภาคีอื่นๆเพื่อการทำหน้าที่สื่อสารสาธารณะ

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ฟังเสียงประชาชน ประเด็น การเข้าถึงสวัสดิการเด็กแบบถ้วนหน้า เป็นจริงได้หรือไม่ 8 ส.ค. 2564 8 ส.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. เกิดการสื่อสาร นำเสนอผ่านรายการ ฟังเสียงประชาชน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช เพจ เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ 2. เนื้อหาที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ สิทธิเด็ก เพื่อเป็นแนวทาง ของการนำเสนอเพื่อให้สังคมได้รับรู้ 3. สื่อประชาสัมพันธ์ poster ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. เครือข่ายที่ทำงานด้านเด็กได้มีการรวมพลังเพื่อการเสนอต่อรัฐบาลเพื่อการทวงถาม 2. เครือข่ายสร้างสุขภาคใต้ เชื่อมโยงการสื่อสารกับเครือข่ายอื่นๆเพื่อการดำเนินงานต่อให้เห็นเป็นรูปธรรมในทุกระดับ

 

ลงพื้นที่ถ่ายทำคลิปผู้สูงอายุแม่ทอม สร้างแหล่งอาหารปลอดภัย 11 ส.ค. 2564 11 ส.ค. 2564

 

  1. ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย
  2. ลงพื้นที่สัมภาษณ์
  3. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

โครงการส่งเสริมทักษะอาชีพทางการเกษตร ผลิตอาหารปลอดภัย โดยกลุ่มผู้สูงอายุ แม่ทอมและคนบางกล่ำ จ.สงขลา เป็นการปลูกผักแบบ “สวนสมรม” หรือการปลูกผักหลายชนิด เพื่อจะได้มีผักให้เก็บกินในช่วงโควิด-19 อยู่เรื่อย หากเหลือสามารถขายสร้างรายได้ และแนะนำวิธีการจดบันทึกรายรับรายจ่าย ที่ได้จากการขายผักให้กับทางกลุ่มผู้สูงอายุ นอกจากจะได้กินทั้งผักที่ปลอดภัยและได้สุขภาพดีกันถ้วนหน้า

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ฟังเสียงประชาชน ประเด็น แพทย์แผนไทยกับตำรับยาแพทย์แผนไทย เป็นทางเลือกสำหรับการรักษาควบคู่กับแพทย์แผนปัจจุบันได้หรือไม่ 24 ส.ค. 2564 24 ส.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. เกิดรายการวิทยุสื่อสารสาธารณะ โดยนำเสนอผ่านรายการ ฟังเสียงประชาชน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช เพจ เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ 2. สื่อประชาสัมพันธ์ poster ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. การเปลี่ยนแปลงหลังจากการสื่อสารในครั้งนี้ ทางคณะทำงานเครือข่ายแพทย์แผนไทย ได้นำข้อมูลเนื้อหาจากเวทีสนทนาหารือต่อ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช 2. เป็นแนวทางเพื่อการยอมรับเครือข่ายแพทย์แผนไทย ร่วมรักษา ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด – 2019 HQ

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ฟังเสียงประชาชน ประเด็น ตำรับยาแพทย์แผนไทยมีความสำคัญอย่างไรกับโรคอุบัติใหม่ โควิด-19 25 ส.ค. 2564 25 ส.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. เกิดการสื่อสารนำเสนอผ่านรายการ ฟังเสียงประชาชน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 2. ข้อมูลตำรับยาและยาเดี่ยว ของแพทย์แผนไทย ได้มีโอกาสได้สื่อสารสู่สาธารณะ 3. สื่อประชาสัมพันธ์ poster ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. ตำรับยาแพทย์แผนไทยได้ถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นสำคัญเพื่อการใช้บำบัดรักษาควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน 2. เป็นการยืนยันผ่านการสื่อสารสาธารณะ ของสมุนไพรไทย

 

ลงพื้นที่ถ่ายทำคลิปอาสาสมัครประจำจุดฉีดวัคซีน อบจ.สงขลา 27 ส.ค. 2564 27 ส.ค. 2564

 

  1. ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย
  2. ลงพื้นที่สัมภาษณ์
  3. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

สมาคมอาสาสร้างสุขได้ร่วมกับอบจ.สงขลา พาอาสาสมัครมาประจำจุดฉีดวัคซีน เพื่อช่วยประสานงาน และจัดคิดผู้ที่มารับบริการให้มีความสะดวกและรวดเร็ว  เป้าหมายการฉีดวัคซีนที่ตั้งไว้ 7,000 คน ตลอด 7  วัน อยู่ประมาณ 1,000 คนต่อวัน สำหรับวันนี้มีคนมาฉีดประมาณ 1,100 คน มากสุดในรอบสามวันนี้     ภาระกิจของอาสาสมัครที่ได้มาช่วยครั้งนี้ แบ่งเป็นสองส่วนด้วยกัน จุดแรกตรวจรับบัตรคิวเช็คลำดับเลขที่ตามที่แต่ละคนลงทะเบียนออนไลน์ให้ตรงกันและกรอกรายละเอียดในเอกสารที่แจกให้ครบ  ส่วนที่สองในห้องประชุม จะแบ่งอาสาสมัครประจำจุดเป็น 4 โซนแต่ละโซนมี 1 คน แต่ละคนมีหน้าที่ช่วยงานตามความถนัดของตัว ตั้งแต่รับเอกสาร เช็คชื่อ ช่วยอำนวยความสะดวกพี่พยาบาลในการฉีดวัคซีน ตลอดสังเกตุอาการหลังฉีดวัคซีน และเป็นทีมหลักในการกระจายงานให้อสม.

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ฟังเสียงประชาชน ประเด็น ตัวยาและตำรับยาแพทย์แผนไทย เพื่อการป้องกันและรักษาคนติดเชื้อโควิด-19 28 ส.ค. 2564 28 ส.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. เกิดการสื่อสารโดยนำเสนอผ่านรายการ ฟังเสียงประชาชน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 2. เปิดโอกาสให้เครือข่ายแพทย์แผนไทยได้สื่อสารข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง ของสมุนไพร หรือตำรับยาไทย 3. สื่อประชาสัมพันธ์ poster ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. เป็นข้อมูลทางวิชาการและเป็นการตัดสินใจการนำตำรับยาแพทย์แผนไทยร่วมบำบัดรักษา ผู้ป่วยติดเชื้อ โควิด 2019 2. ผู้ว่าราชการจังหวัด มาตรการ ในการออกคำสั่งให้นำตำรับยาแพทย์แผนไทยมาใช้ร่วมรักษา ผู้ป่วยติดเชื้อ ในพื้นที่ จ.นครศรีธรรมราช

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ฟังเสียงประชาชน ประเด็น ชุมชนอยู่รอด ปลอดภัย อาหารปลอดภัย การเลี้ยงหอยขม ทำได้ 29 ส.ค. 2564 29 ส.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. เกิดการสื่อสารโดยนำเสนอผ่านรายการ ฟังเสียงประชาชน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช และ เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ 2. สื่อประชาสัมพันธ์ poster ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. การสาธิตการเลี้ยงหอยขมผ่านการสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนจากผู้ชมกับวิทยากร 2. การสนับสนุนอาชีพให้กับคนที่อาศัยในชุมชนเมือง จากการเคหะแห่งชาติ

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ฟังเสียงประชาชน ประเด็น ATK กับการตรวจโควิด-19ด้วยตนเองสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยง ใครบ้างที่เสี่ยง และเข้าถึงการบริการอย่างไร 16 ก.ย. 2564 16 ก.ย. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. เกิดการสื่อสารนำเสนอผ่านรายการ ฟังเสียงประชาชน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 2. ข้อมูลข้อเท็จจริงได้ถูกสื่อสารผ่านช่องทางสื่อสารในระดับสาธารณะ 3. สื่อประชาสัมพันธ์ poster ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. สร้างความเข้าใจถึงหลักเกณฑ์วิธีการใช้ ต่อผู้คนทั่วไป 2. ข้อเท็จจริงและการยืนยันต่อข่าวลวงข่าวปลอม

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ฟังเสียงประชาชน ประเด็น วิกฤติความเสี่ยง มาตรการจัดการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการแก้ปัญหาร่วมกัน 19 ก.ย. 2564 19 ก.ย. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. เกิดการสื่อสารโดยนำเสนอผ่านรายการ ฟังเสียงประชาชน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช เพจเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ 2. ข้อมูลจากพื้นที่ ได้เสนอต่อสาธารณะ 3. สื่อประชาสัมพันธ์ poster ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. ข้อเท็จจริงจากพื้นที่ด้านการเฝ้าระวังและการเข้าถึงการช่วยเหลือถูกนำมาหารือในการประชุมคณะกรรมการควบคุมโรค จังหวัด 2. ข้อมูลจากการแลกเปลี่ยนได้มีการนำเสนอต่อ หน่วยงานที่รับผิดชอบ

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ฟังเสียงประชาชน ประเด็น ต้นแบบแห่งความสุข ที่ "สุขสำราญ" พื้นที่ความสำเร็จ ระบบการจัดการแบบมีส่วนร่วมกับโรคอุบัติใหม่ 22 ก.ย. 2564 22 ก.ย. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. เกิดสื่อสารโดยนำเสนอผ่านรายการ ฟังเสียงประชาชน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 2. ความสำเร็จจากการทำงานร่วมกันเป็นต้นแบบ ได้ถูกสื่อสาร 3. สื่อประชาสัมพันธ์ poster ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. เกิดการขยายผลความสำเร็จจากพื้นที่ 2. เป็นต้นแบบของการทำงานแบบมีส่วนร่วมและได้สื่อสารเพื่อให้เป็นประโยชน์และนำมาปรับใช้กับพื้นที่อื่นๆ

 

เวทีงานเสวนาระบบอาหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ 7 ต.ค. 2564 7 ต.ค. 2564

 

เป็นเวทีเสวนาแบ่งปันประสบการณ์ในระบบอาหารของ 3 จังหวัดชายแดนจากมุมมองคนรุ่นใหม่ที่ทำธุรกิจและสร้างสรรค์คอนเทนต์ด้านอาหาร

 

  1. เกิดเครือข่าย และมุมมองคนรุ่นใหม่ที่ทำธุรกิจและสร้างสรรค์คอนเทนต์ด้านอาหารใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
  2. ได้ประสบการณ์การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ในกลุ่มเครือข่าย ตลาดออนไลน์และกลุ่มเครือข่ายรุ่นใหม่ของพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้

 

ลงพื้นที่ถ่ายทำคลิปอาสาสมัครหาดใหญ่ร่วมกับกลุ่มเส้นด้าย 15 ต.ค. 2564 15 ต.ค. 2564

 

  1. ประชุมทีม วางแผน และรูปแบบการสื่อสารในประเด็นที่ขับเคลื่อน
  2. ลงพื้นที่ถ่ายทำคลิปอาสาสมัครหาดใหญ่ร่วมกับกลุ่มเส้นด้าย
  3. เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์

 

  1. จังหวัดสงขลายังพบผู้ติดเชื้อรายวันจำนวนมาก โดยเฉพาะชุมชนเมือง ใน อ.หาดใหญ่ ที่ยังคงมีผู้ติดเชื้อรายวันสูงขึ้นต่อเนื่อง สมาคมอาสาสร้างสุขระดมอาสาสมัครร่วมกับเทศบาลนครหาดใหญ่ อ.หาดใหญ่ และทีมเส้นด้ายที่มีประการณ์ตรวจคัดกรองเชิงรุกในกรุงเทพฯ เดินทางไปตั้งจุดตรวจคัดกรองเชิงรุกตามชุมชนต่าง ๆ จำนวนผู้ที่มาตรวจ ATK ตลอดทั้งวันจำนวน 980 คน มีผลเป็นบวก 78 คน คนที่มีผลเป็นบวกจะส่งไปยังโรงพยาบาลสนามทันทีและจะให้คนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงมาตรวจ ATK ทันทีเพื่อป้องกันการระบาดในวงกว้าง ทั้งนี้กลุ่มอาสาสมัครและทีมเส้นด้ายจะทำการตรวจแบบเชิงรุกไปจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2564 นี้
  2. คลิปวีดีโอ ผ่านช่องทาง : Facebook page ศูนย์อาสาสร้างสุข-ภาคใต้ และ ช่องทางC-site
    Link : https://fb.watch/8EH_EEyzwC/

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ฟังเสียงประชาชน ตอนพิเศษ ฟังเสียงพ่อค้าแม่ค้า ตลาดบัวตอง นครศรีธรรมราช-BT Market กับการประกาศมาตรการควบคุมสูงสุด โควิด-19 16 ต.ค. 2564 16 ต.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. เกิดรายการสื่อสารโดยนำเสนอผ่านรายการ ฟังเสียงประชาชน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 2. กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าได้มีโอการสื่อสาร บอกเล่าถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริง 3. สื่อประชาสัมพันธ์(คลิปวีดีโอ) ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
- Link : https://fb.watch/aqg0XOhldy/ 4. คลิปวีดีโอ ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
- Link : https://www.facebook.com/696371313722904/posts/5253778647982125/?d=n ผลลัพธ์ 1. มาตรการจากภาครัฐได้รับรู้ถึงกลุ่มผู้ค้า 2. เกิดการเตรียมความพร้อมเพื่อการรับมือ เพื่อให้ได้รับผลกระทบต่ออาชีพน้อยที่สุด

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ฟังเสียงประชาชน ประเด็น 5 จังหวัดภาคใต้กับมาตรการควบคุมสูงสุด "เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร" 18 ต.ค. 2564 18 ต.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต
1. เกิดการสื่อสารโดยนำเสนอผ่านรายการ ฟังเสียงประชาชน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 2. มาตรการโดยภาคประชาชนที่ดำเนินการร่วมกับเครือข่าย ในการเฝ้าระวัง 3. สื่อประชาสัมพันธ์ poster ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. มาตรการที่ภาคประชาสังคมได้ร่วมกันกำหนดและนำมาใช้ ได้ถูกสื่อสารผ่านช้องทางสื่อที่หลากหลาย 2. เป็นแนวทางในการออกแบบการทำงานร่วมระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคม 3. กลไกร่วมอื่นๆในพื้นที่ได้มีโอการสได้แลกเปลี่ยนการทำงาน

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ฟังเสียงประชาชน ประเด็น บทบาท สื่อ ชุมชนในท่ามกลางวิกฤติโควิด-19 20 ต.ค. 2564 20 ต.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. เกิดรายการวิทยุ และรายการทางสื่อออนไลน์ โดยนำเสนอผ่านรายการ ฟังเสียงประชาชน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 2. มิติการทำงานด้านสื่อสารในสถานการณ์โควิดในบริบทของแต่ละพื้นที่ 3. สื่อประชาสัมพันธ์ poster ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. การเชื่อมโดยพื้นที่การสื่อสารระหว่างภาครัฐและภาคสังคม เป็นการรับรู้ข้อมูลที่กว้างและคลอบคลุมมากขึ้น 2. เห็นความเหมือนความต่าง และการปฏิบัติงานของสื่อแต่ละพื้นที่

 

ผลิตคลิปวีดีโอเพื่อการสื่อสารสร้างสังคมสุขภาวะในช่วงเปิดประเทศ 20 ต.ค. 2564 31 ต.ค. 2564

 

สัมภาษณ์เพื่อนำมาผลิตคลิปวีดีโอ การเปิดการท่องเที่ยวรับชาวต่างชาติของจังหวัดกระบี่

 

  1. คลิปวีดีโอ ผ่านช่องทาง : Facebook Mui Boonsom

- Link : https://www.facebook.com/753509061/posts/10161957949164062/?d=n - Link : https://www.facebook.com/753509061/posts/10161960214279062/?d=n
- Link : https://www.facebook.com/753509061/posts/10161962767174062/?d=n 2. สื่อสารสร้างการรับรู้ในจังหวัดกระบี่และผ่านช่องทางสื่อออนไลน์

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ฟังเสียงประชาชน ประเด็น "ผู้ว่าเมืองคอน" ไฟเขียวแพทย์แผนไทย ทำได้แค่ไหน 21 ต.ค. 2564 21 ต.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1.เกิดรายการวิทยุโดยนำเสนอผ่านรายการ ฟังเสียงประชาชน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 2. คำสั่งโดยผู้ว่าราชการจังหวัดได้นำมาสื่อสาร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน 3. สื่อประชาสัมพันธ์ poster ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. คำสั่งถูกนำไปปฏิบัติใช้ หลังจากมีการสื่อสาร 2. การผลิตตำรับยาโดยแพทย์แผนไทย มีความต้องการเพิ่มมากขึ้น 3. การปลูกพืชสมุนไพรเป็นที่ต้องการจำนวนเพิ่มขึ้น

 

ประชุมคณะทำงานเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ เพื่อหารือเกี่ยวกับการดำเนินงานแผนงานสื่อ 22 ต.ค. 2564 22 ต.ค. 2564

 

ประชุมเครือข่ายสื่อสร้างสุขและทีมสื่อทีมกลางประชุมเพื่อร่วมหารือเกี่ยวกับการดำเนินงานแผนงานสื่อ

 

  1. การสิ้นสุดโครงการในเดือน พฤศจิกายน 2564 ซึ่งการขับเคลื่อนงานสื่อสารสาธารณะ ที่ได้แบ่งพื้นที่การดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับ ประเด็นนโยบายสร้างสุขภาคใต้ เนื่องจากที่ผ่านมานั้นอาจจะเจอปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 2019 การดำเนินงานทางด้านการสื่อสารอาจจะไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่และบางประเด็นก็ไม่ได้ขับเคลื่อนงานได้เต็มที่ ดังนั้นงานสื่อสารของเครือข่ายสื่อก็ นำประเด็นข้อเสนอเชิงนโยบาย จากงานสร้างสุขเพื่อการติดตามข้อเสนอและการสนับสนุนประเด็นเนื้อหาเพื่อการสื่อสารที่โซนรับผิดชอบอยู่
  2. ในส่วนที่มีการโอนงบประมาณในระยะที่ผ่านมาจำนวน 20,000 บาท ในแต่ละโซนพื้นที่ซึ่งได้แก่ จังหวัดกระบี่ จังหวัดชุมพร จังหวัดพังงา จังหวัดสงขลา เพื่อให้เป็นไปตามแผนการดำเนินงานและให้เห็นถึงผลผลิต ผลลัพธ์ จากงานสื่อสาร ให้ทุกโซนพื้นที่ ดำเนินการเคลียร์เอกสารการเงินและผลงานที่ดำเนินงานให้แล้วเสร็จ ในเดือนตุลาคม เพื่อทางทีมกลางจะรวบรวมและรายงานให้กับ สนส.ต่อไป
  3. หารือการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม จังหวัดละ 10,000 บาท เพื่อการผลิตหรือการติดตามนโยบายในพื้นที่ของตนเอง เน้นพื้นที่จัดกิจกรรมตามสถานการณ์ของ จังหวัดตัวเอง ข้อเสนอเชิงนโยบาย/จัดเวทีย่อย ซึ่งมีพื้นที่ จังหวัดกระบี่ กับ จังหวัดพังงา รับไปดำเนินการเพิ่มเติม
  4. หารือเรื่องการถอดบทเรียนการขับเคลื่อนงาน การดำเนินงาน เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ เพื่อให้เห็นถึงบทเรียน ข้อดี ข้อด้วย และชุดความรู้เพื่อการพัฒนาต่อ ได้ออกแบบการวางรูปแบบการจัด สถานที่ กลุ่มเป้าหมาย และเนื้อหาที่จะนำเสนอในที่เวที

 

ผลิตคลิปวีดีโอเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว "ฟ้าสางที่ยางค้อม" 25 ต.ค. 2564 27 ต.ค. 2564

 

  1. การวางแผน เป็นการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เรื่องราวที่จะถ่ายทำ วัตถุประสงค์ และระยะเวลา ของเรื่อง
  2. เขียนบทโทรทัศน์ (Script) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการเปลี่ยนข้อความเป็นภาพและเสียง กำหนดมุมกล้อง เวลาที่ใช้ในแต่ละช็อต
  3. องค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้ในการถ่ายทำ เช่น อุปกรณ์ในการถ่ายทำ อุปกรณ์ประกอบฉาก สถานที่ในการถ่ายทำ นักแสดง
  4. การถ่ายทำ เป็นการบันทึกภาพตามบทโทรทัศน์
  5. แคปเจอร์ (Capture) เป็นการนำวีดีโอที่ได้ถ่ายทำไว้ มาบันทึกลงในฮาร์ดดิส
  6. การตัดต่อ เป็นการนำภาพที่ได้จากการแคปเชอร์มาเรียงร้อยต่อกันตามลำดับของบทโทรทัศน์
  7. ใส่เอ็ฟเฟ็กต์/ตัดต่อใส่เสียง เมื่อได้ภาพตามต้องการแล้ว จึงทำการใส่เอ็ฟเฟ็กต์ ภาพนิ่ง
    ข้อความ และเสียง เป็นต้น เพื่อให้งานวิดีโอเกิดความสมบูรณ์ สวยงาม น่าสนใจ
  8. แปลงวิดีโอ สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเป็น VCD, DVD เพื่อนำไปใช้งานได้ตามต้องการ

 

ผลผลิต 1. สื่อประชาสัมพันธ์(คลิปวีดีโอ) ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช และ ลิกอร์มีเดีย - Link : https://drive.google.com/drive/folders/1lScvY7hirUoSHRUan9fPlz9wFCZluLxi?usp=sharing 2. คลิปวีดีโอเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว "ฟ้าสางที่ยางค้อม" ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช และ ลิกอร์มีเดีย - Link : https://drive.google.com/file/d/1wk__wKFTBNUQ8BvFYw3k47eL_2I48K5f/view?usp=sharing ผลลัพธ์ 1. พัฒนาต่อยอดร่วมกับโครงการหนึ่งมหาวิทยาลัย 1 ตำบล 2. เชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน

 

ลงพื้นที่เพื่อจัดทำเฟสบุ๊คไลฟ์ เรื่องสวนยางยั่งยืน 27 ต.ค. 2564 27 ต.ค. 2564

 

ประสานงานนัดแนะเครือข่าย ชี้แจงเนื้อหารายละเอียดกิจกรรมในการถ่ายทอดสด

 

  1. การส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางพารา ทำสวนยางพาราในรูปแบบเกษตรผสมผสาน(ตามแบบ3) ของการยางแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารในสวนยาง ความหลากหลายทางชีวภาพ บนฐานทรัพยากรตามบริบทของแต่ละพื้นที่ และการสนับสนุนจากภาครัฐและองค์ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีก็รณีศึกษาพื้นที่ต้นแบบจากเกษตรกรในภาคใต้ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางในรูปแบบเครือข่ายการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนให้เป็นรูปธรรมการปรับโครงสร้างระบบเกษตรของประเทศสู่เกษตรกรรมยั่งยืนอย่างน้อยร้อยละ 20 ของประเทศ เพื่อก้าวสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติครั้งที่ 12 การติดตามสถานการณ์และกระบวนการส่งเสริมและสนับสนุนสวนยางยั่งยืนประจำปี  สถานการณ์วิกฤติจากสภาวะโลกร้อนวิกฤตการระบาดเชื้อไวรัส โควิด-19 ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตชาวสวนยางที่เป็นภัยคุกคามต่อเนื่อง  การแลกเปลี่ยนบทเรียนองค์ความรู้พัฒนายุทธศาสตร์และข้อเสนอเชิงนโยบายในการขับเคลื่อนสวนยางยั่ง  ความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพวะชาวสวนยาง เพื่อสรุปเป็นเอกสารและสื่อวีดีทัศน์เกี่ยวกับสถานการณ์บทเรียนองค์ความรู้และข้อเสนอเชิงนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมสนับสนุนชาวสวนยางยั่งยืน และข้อเสนอมาตรการนำร่องในพื้นที่ปฏิบัติการและกลไกขับเคลื่อนพื้นที่นำร่องสวนยางยั่งยืนในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
  2. Live สด : ผ่านช่องทาง Facebook page สมาคมประชาสังคมชุมพร

- Link : https://fb.watch/9ofBzJI3SL/ มีผู้รับชม  760  ผู้เข้าถึง 2810

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ฟังเสียงประชาชน ประเด็น เปิดเมือง สื่อ เตรียมความพร้อมอย่างไร 29 ต.ค. 2564 29 ต.ค. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. เกิดรายการวิทยุและการสื่อสารโดยนำเสนอผ่านรายการ ฟังเสียงประชาชน ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 2. รายงานผลการทำงานสื่อสารในประเด็น เฝ้าระวังกับผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา 3. สื่อประชาสัมพันธ์ poster ผ่านช่องทาง : Facebook pageสมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช ผลลัพธ์ 1. ความเชื่อมั่นของผู้ติดตาม 2. แก้ปัญหาข่าวลวงข่าวปลอม

 

เวทีสาธารณะ สร้างการรับรู้ไปการประชาสัมพันธ์สาธารณะ เพื่อการเปิดจังหวัดพังงา “เกาะปันหยี ผ่าทางตัน สู้โควิด “ 30 ต.ค. 2564 31 ต.ค. 2564

 

เป็นเวทีสาธารณะ สร้างการรับรู้ไปการประชาสัมพันธ์สาธารณะ เพื่อการเปิดจังหวัดพังงา “เกาะปันหยี ผ่าทางตัน สู้โควิด “

 

“พังงา”  เป็นหนึ่งในจังหวัดนำร่องเพื่อเปิดการท่องเที่ยว ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 64 ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 จังหวัดพังงา ยังมีตัวเลขของผู้ติดเชื้ออยู่  แต่ก็อยู่ในท้ายตารางของภาคใต้ 14 จังหวัด  สำหรับเรื่องของการท่องเที่ยวนั้น จังหวัดพังงามีการขยับมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา ได้หารือกับภาคเอกชน สถานประกอบการในพื้นที่มาตลอด ทางจังหวัด โดยนายจำเริญ ทิพญ์พงศ์ธาดา ผู้ว่าฯ ก็ได้ประสานส่วนกลางให้พังงาได้รับวัคซีนให้ได้มากที่สุด เป็นลำดับที่ 3 ของประเทศ โดยใช้นโยบาย “สาธารณสุขนำเศรษฐกิจ” เน้นการควบคุมตามมาตรการ D M H T T A         “เกาะปันหยี”  เป็นรูทการท่องเที่ยว ต่อจากพื้นที่เกาะยาว และพื้นที่โคกกลอยไปถึงเขาหลัก ศักยภาพพื้นที่เกาะปันหยี มีความพร้อมแบ่งเป็น เรื่องความปลอดภัย  ประชากรบนเกาะปันหยีได้รับวัคซีน 74-75% แล้ว ความปลอดภัยของอาคารสถานที่ต่าง ๆ ที่ไม่ได้ใช้งานมาเกือบ 2 ปี ได้มีการซ่อมแซมพร้อมรับบริการ  พร้อมเรื่องความสะอาด ของสถานประกอบการ สถานที่ท่องเที่ยว ได้มีการทำความสะอาด เก็บขยะในทะเล ฉีดพ่นฆ่าเชื้อทางเดิน อาคารร้านค้า มัสยิด และสุดท้ายมีความสะดวกสบาย สร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยวได้
        เกาะปันหยี เป็นพื้นที่ “ โควิดฟรีโซน” ผู้ที่ทำงานในร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก คนขับเรือ ต้องได้รับการตรวจATK ทุก 7 วัน อสม.และผู้ปฏิบัติหน้าที่ด่านหน้าต้องได้รับการตรวจ ATK ทุก 7 วัน ผู้ประกอบการ ต้องประเมินความเสี่ยงของพนักงาน โดยสุ่มตรวจ ATK คัดออกมาไม่ต่ำกว่า 10 % มาตรวจทุก 7 วัน พนักงานอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือไม่ หรืออยู่ในพื้นที่ระบาดหรือไม่ พบปะพูดคุยหรือสัมผัสนักท่องเที่ยวมากหรือไม่
        สำหรับแผนเผชิญเหตุระดับจังหวัด กรณีมีนักท่องเที่ยวติดเชื้อหรือเกิดการแพร่ระบาด พังงามีHospitel ในพื้นที่เขาหลัก และเกาะยาว นอกจากนี้ยังมีLQกลาง ที่รร.พังงาเบย์         กรณีมีการติดเชื้อส่วนของชาวบ้าน เรามีโรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม มีCI และ HI ในระดับชุมชน เพราะพื้นที่ต้องอยู่ร่วมกันได้  ให้มีการคอนโทรลพื้นที่โดยศูนย์อำเภอ ให้ผอ.รพ.สต.รับรายงานตัวได้ ต้องยอมรับความเสี่ยง ถ้าเกิดการติดได้ต้องควบคุมได้ ถ้าควบคุมไม่ได้ ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการ “ชะลอ” รับนักท่องเที่ยว และให้พื้นที่ทบทวนมาตรการเหมือนกับจังหวัดในทุก 15 วัน ถ้าสถานการณ์ดีขึ้น มาตรการก็จะผ่อนคลายมากขึ้น         ในส่วนของมัสยิดเกาะปันหยี อนุญาตให้มีการละหมาดวันศุกร์ร่วมกันเฉพาะคนพื้นที่เกาะปันหยีเท่านั้น ส่วนนักท่องเที่ยว ถ้าต้องการละหมาดวันศุกร์ ให้ละหมาดในเวลาอื่น หรือจัดสถานที่เฉพาะไว้ และแยกส่วนจากคนพื้นที่

 

เวทีเสวนาออนไลน์หุ้นส่วนสุขภาพร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัย ในวิกฤต COVID-19 31 ต.ค. 2564 31 ต.ค. 2564

 

เป็นเวทีเสวนาออนไลน์หุ้นส่วนสุขภาพ ร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัย ในวิกฤต COVID-19 เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ ร่วมกับ คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต 11

 

  1. มีพื้นที่ที่ขับเคลื่อนประเด็นในการร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัย ในประเด็น อาหาร สุขภาพ และกลไกร่วมในการดำเนินงาน
  2. เป็นแนวทางเพื่อออกแบบการสื่อสารเพื่อการรับรู้และการเข้าถึงเพื่อให้เห็นการทำงานของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน
  3. เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ เป็นพื้นที่กลางกับการทำหน้าที่สื่อสารสาธารณะ

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ฟังเสียงประชาชน ประเด็น เปิดเมืองเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว 1 พ.ย. 2564 1 พ.ย. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. เกิดรายการวิทยุเพื่อการเข้าถึงในระดับชุมชน และสื่อสารโดยนำเสนอผ่านรายการ ฟังเสียงประชาชน  ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 2. ให้เห็นถึงการทำงานด้านสื่อสารโดยผู้ว่าราชการจังหวัด สื่อสารผ่านเครือข่ายสื่อสร้างสุข ผลลัพธ์ 1. เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ติดตาม 2. มีการเฝ้าติดตามจากผู้ชมทั้งในและนอกพื้นที่

 

เวทีปฏิบัติงานสื่อสาร รายการ ฟังเสียงประชาชน ประเด็น เปิดเมืองเพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ชูการท่องเที่ยว 2 พ.ย. 2564 2 พ.ย. 2564

 

  1. วางแผนเพื่อกำหนดเรื่องราว เนื้อหา ที่ต้องการจะนำเสนอในรายการ
  2. หาข้อมูล เตรียมเนื้อหา บุคคลที่จะเข้าร่วมรายการ แล้วนำมารวบรวม สังเคราะห์ จัดทำและเรียบเรียงเนื้อหา ให้เป็นโครงร่างรายการ
  3. จัดทำสคริปและบทที่จะใช้สัมภาษณ์ในรายการ

 

ผลผลิต 1. เกิดรายการวิทยุและสื่อสารโดยนำเสนอผ่านรายการ ฟังเสียงประชาชน  ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช 2. ขั้นตอนกระบวนการและการเตรียมความพร้อมเปิดจังหวัดเพื่อรับนักท่องเที่ยว ผลลัพธ์ 1. มาตรการร่วมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อการเตรียมความพร้อม 2. จำนวนผู้ประกอบการและเงื่อนไขในการเข้าพื้นที่

 

ผลิตคลิปวีดีโอส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนหลังจากผ่อนคลายมาตรการโควิด -19 ในช่วงเปิดประเทศ 4 พ.ย. 2564 7 พ.ย. 2564

 

สัมภาษณ์เพื่อนำมาผลิตคลิปวีดีโอ การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดระนอง จัดทำคลิปวีดีโอสรุปผลการประชุม

 

  1. คลิปวีดีโอ ผ่านช่องทาง : Facebook Mui Boonsom

- Link : https://www.facebook.com/753509061/posts/10161967355199062/?d=n 2. สื่อสารสร้างการรับรู้ผ่านช่องทางออนไลน์ สถานีวิทยุ และเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้

 

ผลิตคลิปวีดีโอเพื่อประชาสัมพันธ์กลุ่มอาชีพ "ผลิตภัณฑ์ ผ้ามัดย้อม และผลิตภัณฑ์ บ้านลอยเลิศ(ปลาดุกร้า)” 15 พ.ย. 2564 16 พ.ย. 2564

 

  1. การวางแผน เป็นการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เรื่องราวที่จะถ่ายทำ วัตถุประสงค์ และระยะเวลา ของเรื่อง
  2. เขียนบทโทรทัศน์ (Script) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการเปลี่ยนข้อความเป็นภาพและเสียง กำหนดมุมกล้อง เวลาที่ใช้ในแต่ละช็อต 3.  องค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้ในการถ่ายทำ เช่น อุปกรณ์ในการถ่ายทำ อุปกรณ์ประกอบฉาก สถานที่ในการถ่ายทำ นักแสดง
  3. การถ่ายทำ เป็นการบันทึกภาพตามบทโทรทัศน์
  4. แคปเจอร์ (Capture) เป็นการนำวีดีโอที่ได้ถ่ายทำไว้ มาบันทึกลงในฮาร์ดดิส
  5. การตัดต่อ เป็นการนำภาพที่ได้จากการแคปเชอร์มาเรียงร้อยต่อกันตามลำดับของบทโทรทัศน์
    7.  ใส่เอ็ฟเฟ็กต์/ตัดต่อใส่เสียง เมื่อได้ภาพตามต้องการแล้ว จึงทำการใส่เอ็ฟเฟ็กต์ ภาพนิ่ง
    ข้อความ และเสียง เป็นต้น เพื่อให้งานวิดีโอเกิดความสมบูรณ์ สวยงาม น่าสนใจ
  6. แปลงวิดีโอ สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเป็น VCD, DVD เพื่อนำไปใช้งานได้ตามต้องการ

 

  1. คลิปวีดีโอเพื่อประชาสัมพันธ์กลุ่มอาชีพ "ผลิตภัณฑ์ ผ้ามัดย้อม และผลิตภัณฑ์ บ้านลอยเลิศ(ปลาดุกร้า)”  ผ่านช่องทาง : Facebook page ลิกอร์มีเดีย

- Link : https://drive.google.com/drive/folders/1lScvY7hirUoSHRUan9fPlz9wFCZluLxi?usp=sharing 2. เชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน

 

ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมถอดบทเรียนการดำเนินงาน เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ 19 พ.ย. 2564 19 พ.ย. 2564

 

เป็นเวทีประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมถอดบทเรียนการดำเนินงาน เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้  หารือเนื้อหา และ ประสานงานวิทยากร ในการถอดบทเรียน และหารือ การเข้าร่วมประชุมเพื่อการรายงานความก้าวหน้า และ การสรุปการดำเนินงานศูนย์วิชาการนโยบายสาธารณะ วันที่ 24 – 25 พฤศจิกายน 2564 สถานที่ จังหวัดกระบี่

 

  1. วิทยากรนำถอดบทเรียนในวันที่ 20 – 21 พฤศจิกายน 2564สถานที่ประชุม ห้องประชุมเขาหลวงรีสอร์ท อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช
  2. เนื้อหาและเอกสารประกอบการถอดบทเรียน

- แผนการดำเนินงาน
- รายงานผลกิจกรรมที่ผ่านมา - ร่างกำหนดการ

 

ประชุมคณะทำงานเพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงาน เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ 20 พ.ย. 2564 21 พ.ย. 2564

 

  1. ชี้แจงวัตุประสงค์ ของโครงการ
  2. รายงานผลการประเมินโครงการ
  3. กระบวนการถอดบทเรียนและสรุปการถอดบทเรียน

 

  1. การถอดบทเรียน การประชุม เชิญ 2 ส่วน ผู้แทนขับเคลื่อนประเด็น สุขภาพ ความมั่นคงทางอาหาร สิ่งแวดล้อม มนุษย์ เนื่องจากสถานการณ์โควิดทำให้กรขับเคลื่อนงานมีการเปลี่ยนรูปแบบไปบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน วัตถุประสงค์ของการถอดบทเรียนในวันนี้ เพื่อนำเอาข้อสรุปที่ได้จากทีมประเมินมาผนวกกับในส่วนของงานประเด็น การขับเคลื่อนงานที่ผ่านมาภายใต้วัตถุประสงค์ ดังนี้

- การขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะโดยกลไกสื่อสร้างสุขภาคใต้ - จริยธรรมสื่อในสถานการณ์ New Normal - ขยายเครือข่ายสื่อให้ครอบคลุมในทุกระดับ 2. การขับเคลื่อนงานที่ผ่านมา โดยรวมการขับเคลื่อนผ่านออนไซต์เราทำงานได้น้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นงานประเด็น ใช้ระบบซูมเป็น นวัตกรรมในการสื่อสารที่สามารถดูย้อนหลังได้แบบเรียวไทม์ 3. รายงานผลการประเมินของพื้นที่เครือข่ายทั้ง 5 เครือข่าย
4. สิ่งที่ได้ - ยืนยันเป้าหมาย ทิศทาง เห็นแก็บจากการประเมิน
- เห็นจิ๊กซอว์ของภาพใหญ่ และออกแบบเพิ่ม - ออกแบบกระบวนการเพื่อปิดแก็บ และยกระดับการทำงานเพื่อก้าวไปให้ถึงเป้าหมาย - ร่วมกันออกแบบกระบวนการเพื่อปิดแก็บ ยกระดับ เพื่อเห็นเป้าหมายที่ชัดขึ้น 5. สิ่งที่จะเดินต่อ - ตัวชี้วัด - กลไกขับเคลื่อน/การจัดการ
6. สิ่งที่คาดว่าจะเกิด - เกิดโมเดลหลายระดับ
- การใช้สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะ

 

ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปการสังเคราะห์ข้อมูลด้านวิชาการจากเวทีถอดบทเรียนการดำเนินงาน เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้ 22 พ.ย. 2564 22 พ.ย. 2564

 

เป็นการสรุปประชุมการสังเคราะห์ข้อมูลด้านวิชาการ จากเวทีถอดบทเรียนเครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้เพื่อเป็นประสบการทำงานและชุดองค์ความรู้ และได้นำเสนอต่อที่ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาคใต้

 

ผลผลิต 1. ชุดความรู้ที่เป็นเอกสารทางวิชาการ ผลลัพธ์ 2. เป็นผลงานเพื่อการประกอบแผนงานในระยะต่อไป

 

การปฏิบัติงานสื่อ (ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เวทีถอดบทเรียนการดำเนินงาน เครือข่ายสื่อสร้างสุขภาคใต้) 28 พ.ย. 2564 28 พ.ย. 2564

 

  1. หาข้อมูล โดยการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลและสัมภาษณ์ ว่าใครทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไหร่
  2. วางแผนการเขียนศึกษากลุ่มเป้าหมายและนโยบายของประเด็นงานที่จะส่งเผยแพร่
  3. ร่างเนื้อหา  รูปแบบ  ภาษา  ทบทวน
  4. ประเมินผล โดยการอ่านทบทวนด้วยตนเอง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยอ่าน

 

  1. หนังสือพิมพ์ออนไลน์  ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช

 

ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเวที Side Event สานพลังพื้นที่ปลอดภัยต้นแบบในเขตพื้นที่ 11 29 พ.ย. 2564 29 พ.ย. 2564

 

เป็นเวทีร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเวที Side Event สานพลังพื้นที่ปลอดภัยต้นแบบในเขตพื้นที่ 11

 

ผลผลิต 1. ประเด็นการขับเคลื่อนในการร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัย ที่เป็นรูปธรรม เช่น การใช้สมุนไพรรักษาโรค การจัดการอาหาร และมาตรการทางสังคม ผลลัพธ์ 1. ต้นแบบของการทำงานร่วมในการร่วมสร้างพื้นที่ปลอดภัยในภาวะวิกฤติ 2. การใช้การสื่อสารสาธารณะในรูปแบบต่างๆเพื่อให้เห็นการทำงานโดยให้เห็นถึงประเด็นต่างๆในการสร้างพื้นที่ปลอดภัย เพื่อการดำรงชีพในสถานการณ์โควิด - 2019

 

ลงพื้นที่ผลิตคลิปวีดีโอเพื่อประชาสัมพันธ์กลุ่มอาชีพ "ไวน์พ่อเฒ่า" 30 พ.ย. 2564 1 ธ.ค. 2564

 

  1. การวางแผน เป็นการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เรื่องราวที่จะถ่ายทำ วัตถุประสงค์ และระยะเวลา ของเรื่อง
  2. เขียนบทโทรทัศน์ (Script) โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการเปลี่ยนข้อความเป็นภาพและเสียง กำหนดมุมกล้อง เวลาที่ใช้ในแต่ละช็อต
  3. องค์ประกอบต่างๆ ที่ต้องใช้ในการถ่ายทำ เช่น อุปกรณ์ในการถ่ายทำ อุปกรณ์ประกอบฉาก สถานที่ในการถ่ายทำ นักแสดง
  4. การถ่ายทำ เป็นการบันทึกภาพตามบทโทรทัศน์
  5. แคปเจอร์ (Capture) เป็นการนำวีดีโอที่ได้ถ่ายทำไว้ มาบันทึกลงในฮาร์ดดิส
  6. การตัดต่อ เป็นการนำภาพที่ได้จากการแคปเชอร์มาเรียงร้อยต่อกันตามลำดับของบทโทรทัศน์
  7. ใส่เอ็ฟเฟ็กต์/ตัดต่อใส่เสียง เมื่อได้ภาพตามต้องการแล้ว จึงทำการใส่เอ็ฟเฟ็กต์ ภาพนิ่ง ข้อความ และเสียง เป็นต้น เพื่อให้งานวิดีโอเกิดความสมบูรณ์ สวยงาม น่าสนใจ
  8. แปลงวิดีโอ สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น ทำเป็น VCD, DVD เพื่อนำไปใช้งานได้ตามต้องการ

 

  1. คลิปวีดีโอเพื่อประชาสัมพันธ์กลุ่มอาชีพ "ไวน์พ่อเฒ่า"  ผ่านช่องทาง : Facebook page ลิกอร์มีเดีย

- Link : https://drive.google.com/file/d/1dyuRM1iZchGk42TMUEnacBkMzGJhAzSC/view?usp=sharing 2. เชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน

 

เวทีสาธารณะ “การท่องเที่ยววิถีใหม่กับการพัฒนาศักยภาพท่องเที่ยวชุมชนตำบลยางค้อม จ.นครศรีธรรมราช 3 ธ.ค. 2564 3 ธ.ค. 2564

 

เป็นเวทีสาธารณะ “การท่องเที่ยววิถีใหม่กับการพัฒนาศักยภาพท่องเที่ยวชุมชนตำบลยางค้อม จ.นครศรีธรรมราช และสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์

 

ผลผลิต 1. มีนักสื่อสารความหมายในพื้นที่จำนวน 30 คน ประกอบด้วย ผู้ประกอบการ , นักจัดสังคม , คนในชุมชน 2. ถ่ายทอดสด ผ่านช่องทาง : Facebook page สมาคมสื่อชุมชนภาคใต้ นครศรีธรรมราช
ผลลัพธ์ 1. สามารถผลิตชิ้นงานเพื่อการสื่อสารอย่างง่ายใช้ในการโปรโมทสินค้าในช่องทางการสื่อสารของตนเอง 2. การเชื่อมโยงสู่ระดับนโยบายภายในจังหวัดและการเชื่อมสู่ยุทธศาสตร์เพื่อการสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3. การเชื่อมร้อยสู่เครือข่ายสายใยนักวิชาการ และเครือข่ายการท่องเที่ยวภาคใต้ 4. ยกระดับเป็นนโยบายสาธารณะ ด้านการจัดการท่องเที่ยวชุมชน