สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ชุมชนบ้านกมลา จังหวัดภูเก็ต

การลงพื้นที่ประชุมกลุ่มย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชน26 สิงหาคม 2563
26
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย Syuwari
circle
วัตถุประสงค์

 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมครั้งที่ 3 การลงพื้นที่ประชุมชมกลุ่มย่อยการท่องเที่ยวโดยชุมชน มีการประสานงานกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้เกิดความร่วมมือในการเก็บข้อมูลและสำรวจข้อมูลของชุมชนเพื่อนำมาพัฒนาให้เกิดมูลค่าต่อยอดในการท่องเที่ยวโดยชุมชนในลักษณะของการท่องเที่ยวในรูปแบบวิถีใหม่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่ได้รับ 1. ทีมวิจัยได้รับข้อมูลและช่วยวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค สร้างโอกาสในการส่งเสริมการขายสินค้าและบริการให้กับชุมชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในอนาคต เกิดการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุของชุมชนที่มีอยู่ และผลิตภัณฑ์จากเครือข่าย เช่น การการแปรรูปเมนูอาหารเมี่ยงคำกุ้งมังกรเจ็ดสี และการจัดภูมิทัศน์เพื่อการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศในพื้นที่ตำบลกมลา จากการศึกษาแนวโน้มในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวของประเทศ พบว่า กระแสการท่องเที่ยวยั่งยืนพร้อมทั้งเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนได้รับความนิยมมากขึ้น ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีของชุมชนกมลาที่จะพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สนใจทางธรรมชาติ ท้องถิ่น และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะกมลามีแหล่งท่องเที่ยวที่หลากหลายทั้งทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจ อีกทั้งชุมชนยังคงความเอกลักษณ์ของท้องถิ่นทั้งในด้านการประกอบอาชีพ วิถีชีวิต การปรุงอาหาร และประเพณีวัฒนธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นเสน่ห์ของชุมชนที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ชุมชนกมลายังมีจุดเด่นในเรื่องของภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้กับแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดภูเก็ตทำให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครันทั้งด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ อย่างไรก็ตาม ชุมชนกมลายังคงความสงบของชุมชนไว้ ทำให้เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ที่ต้องการพักผ่อนและสัมผัสวิถีชีวิตชุมชนอย่างแท้จริงเนื่องจากชุมชนกมลาเป็นชุมชนอิสลามที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักสำหรับนักท่องเที่ยวมากนัก ดังนั้นสามารถทำให้นักท่องเที่ยวรู้จักชุมชนมากขึ้น โดยการโปรโมทผ่านด้านอาหารที่มีความหลากหลายจากทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น อาทิเช่น ข้าวยำ ข้าวคลุกกะปิ และ เมี่ยงคำ มาเป็นจุดขายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว 2. บุคลากรในชุมชนยังไม่มีความชำนาญมากพอในการให้ข้อมูลกับนักท่องเที่ยว อีกทั้งขาดแคลนความเข้าใจในภาษาต่างประเทศ แต่บุคลากรเหล่านั้นยังคงมีความชำนาญในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ภายในชุมชน เช่น ผ้าปาเต๊ะ ซึ่งคนในสังคมปัจจุบันมีความนิยมในการแต่งกายชุดไทย และการสวมใส่เครื่องประดับแบบร่วมสมัยเพิ่มมากยิ่งขึ้น ยิ่งทำให้บุคลาการในชุมชนสามารถฝึกฝนและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นสินค้าของชุมชน และขายสู่ท้องตลาด เพื่อจะได้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวได้ นอกนี้ สถานที่ท่องเที่ยวหลักในชุมชนกมลา (ภูเก็ตแฟนตาซี) ซึ่งเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว แต่พบว่านักท่องเที่ยวหันมาสนใจในการท่องเที่ยวชุมชนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นชุมชนกมลาเป็นหนึ่งชุมชนที่สามารถจัดการ และดูแลสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นผู้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวได้โดยตรง ดังนั้นชุมชนสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว ที่ต้องการจะสัมผัสความเป็นท้องถิ่น และต้องการจะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

ข้อสังเกตจากนักวิจัย ศึกษาศักยภาพของชุมชนตำบลกมลา ซึ่งเป็นพื้นที่กลุ่มเป้าหมายเพื่อค้นหาเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ในเชิงพื้นที่และจุดเด่นของพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมาย สำรวจวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ของแต่ละกลุ่มเป้าหมายว่ามีจุดเด่นในการพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่เดิมเป็นอย่างไรเพื่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่เดิมและ/หรือพัฒนาสิ่งใหม่ และออกสำรวจพื้นที่เพื่อพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวโดยชุมชนในแต่ละพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมายเพื่อค้นหาจุดเด่นในการทำท่องเที่ยวโดยชุมชนและกิจกรรมของชุมชนได้มีวางแผนการพัฒนาร่วมกับแกนนำในการพัฒนาร่วมกับทีมวิจัยและร่วมวิเคราะห์ผลการสำรวจข้อมูลชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

()

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่