สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ ชุมพร ”

จังหวัดชุมพร

หัวหน้าโครงการ
นายทวีวัตร เครือสาย/น.ส หนึ่งฤทัย พันกุ่ม /นางพัลลภา ระสุโส๊ะ

ชื่อโครงการ เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ ชุมพร

ที่อยู่ จังหวัดชุมพร จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึง 30 พฤศจิกายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ ชุมพร จังหวัดชุมพร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดชุมพร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ ชุมพร



บทคัดย่อ

โครงการ " เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ ชุมพร " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดชุมพร รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2563 - 30 พฤศจิกายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 302,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การดำเนินงานประเด็นความมั่นคงอาหาร:ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้  ของคณะทำงานศึกษาและพัฒนาข้อเสนอพัฒนาระบบเกษตร
และอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ และคณะทำงานยุทธศาสตร์ กขป.ภาคใต้ จากเวทีสร้างสุขภาคใต้ ปี 2562 ภายใต้หลักคิดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ อธิปไตยทางอาหาร สร้างหลักประกันในชีวิต จัดความสัมพันธ์ใหม่  โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ ความมั่นคงทางอาหารและชีวิตพลเมืองฅนใต้  มีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ เพื่อนำเข้า การพัฒนาระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ตั้งอยู่ภายใต้หลักคิดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ อธิปไตยทางอาหาร ด้วยการส่งเสริมสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรให้เกิดความสมดุลยั่งยืน มีระบบจัดการผลผลิตที่เกื้อกูลและเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ เพื่อให้มีปริมาณอาหารที่เพียงพอ มีคุณภาพอาหารปลอดภัย สร้างหลักประกันในชีวิต ด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีหลักประกันทางรายได้และสวัสดิการ สวัสดิภาพ มีความมั่นคงทางสุขภาพแก่พลเมืองฅนใต้ จัดความสัมพันธ์ใหม่ ปรับกระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดหรือสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน ระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับหน่วยงานองค์กรภาครัฐและเอกชน ระหว่างกลุ่มองค์กรเครือข่ายด้วยกัน มีความเคารพศักดิ์ครีความเป็นมนุษย์ต่อกันด้วยหลักปฏิบัติ “คิดเอื้อ คิดเผื่อ เพื่อนช่วยเพื่อน พี่ดูแลน้อง ” และแบ่งปันผลประโยชน์ที่เหมาะสม เท่าเทียม เป็นธรรม ด้วยความพึงพอใจร่วมกันของหุ้นส่วนผลประโยชน์ตน ประโยชน์สาธารณะ จากฐานหลักคิดข้างต้นเพื่อให้เกิดหรือบรรลุเป้าหมายร่วมกัน คือ ความมั่นคงทางอาหารและชีวิตพลเมืองฅนใต้ จำเป็นต้องมีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 7 แนวทาง/ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบและกลไกขับเคลื่อนระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ทำหน้าที่ในการติดตาม ผลักดันแผนยุทธศาสตร์และข้อเสนอเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติตามศักยภาพและโอกาสที่เอื้ออำนวย ด้วยยุทธวิธีสำคัญ เช่น การสร้างความรอบรู้ด้านอาหารศึกษาและบริโภคศึกษาแก่ประชาชนพลเมือง ติดตามทบทวนแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ให้เหมาะสมกับภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร และประยุกต์ใช้กระบวนการธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่ ประกาศเขตเกษตรสุขภาพ (พื้นที่คุ้มครองทางเกษตรกรรมสุขภาพ) ในระดับพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ และการสร้างความเข้มแข็งแก่สถาบันเกษตรกรให้เป็นเสาหลักของชุมชนท้องถิ่น พร้อมการเชื่อมโยงประสานเครือข่ายในระดับท้องถิ่น จังหวัดหรือภูมิภาคให้เป็นพลังสร้างการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย 2) การพัฒนาระบบเกษตรสุขภาพที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เกษตรยั่งยืน วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ (mao) ธนาคารต้นไม้ เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ และ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประมงชายฝั่ง) โดยส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานและเพิ่มมูลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานโดยหลักอาชีวอนามัย การส่งเสริมการผลิตเกษตรปลอดสารอาหารปลอดภัย การเฝ้าระวังสารเคมีเกษตรและอาหารปลอดภัย การส่งเสริมสนับสนุนและขยายผลให้ต้นไม้เป็นทรัพย์และหลักประกันในชีวิตเพื่อรองรับสังคมสูงวัย เป็นต้น 3) เสริมสร้างสุขภาวะชาวสวนยางและปาล์มน้ำมัน โดยการส่งเสริมวิจัยและพัฒนา เพิ่มมูลค่าในกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมันและยางพารา ให้แก่กลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการ การส่งเสริมและสนับสนุนสวนยางยั่งยืน ส่งเสริมการปรับวิถีการผลิตปาล์มน้ำมันแบบผสมผสานและเพิ่มประสิทธิการจัดการแปลง การส่งเสริมและขยายผลสวนเกษตรธาตุสี่หรือสวนสมรม สร้างมาตรการส่งเสริมการออมและสวัสดิการเพื่อเป็นหลักประกันในชีวิตแก่ชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน เป็นต้น 4) การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมและพืชอัตลักษณ์ถิ่น โดยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ ให้คงอยู่เป็นฐานทรัพยากรกับชุมชนท้องถิ่น การส่งเสริมธนาคารเมล็ดพันธุ์และพันธุกรรมถิ่น การวิจัยและพัฒนาสมุนไพรเพื่อสุขภาพและการแพทย์ประจำถิ่น เช่น กัญชาเพื่อการแพทย์ กระท่อมชูกำลัง ขมิ้นถิ่นใต้ ฯ การพัฒนาต่อยอดพืชอัตลักษณ์ถิ่นให้เกิดมูลค่าและคุณค่าเพิ่มขึ้น เช่น กล้วยเล็บมือนางชุมพร ข้าวสังข์หยดพัทลุง ข้าวเหลืองปะทิว ส้มโอทับทิมสยาม เป็นต้น 5) การอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมที่สมดุลยั่งยืน โดยการขยายผลการสร้างฝายมีชีวิตและการจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม การอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และสภาพแวดล้อม การพัฒนากลไกเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศแบบมีส่วนร่วม การประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) เป็นต้น 6) สุขภาวะชาวประมง โดยมีแนวทางสำคัญ เช่น มาตรการคุ้มครองพื้นที่สัวต์น้ำและประมงชายฝั่ง ธนาคารอาหารสัตว์น้ำ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าประมง ฯ 7)เพิ่มประสิทธิการบริหารจัดการตลาดให้เกิดการลดช่องว่างระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค โดย เสริมสร้างการเชื่อมโยงการจัดการของกลุ่มผู้ผลิตเกษตรสุขภาพกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวหรือกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการภาคเกษตร (เกษตรกรมืออาชีพ เกษตรกรรุ่นใหม่ ครัวเรือนพอเพียง ผู้ประกอบการครัวเรือน ) สร้างและพัฒนาโอกาสบริหารจัดการตลาดชุมชนท้องถิ่น ตลาดทั่วไป ตลาดออนไลน์แก่ผู้ประกอบการ การยกระดับการตลาดด้วยเชื่อมโยงจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) การค้าการลงทุนหรือการร่วมทุน ระหว่างผู้ประกอบการกับหุ้นส่วนทางธุรกิจ เป็นต้น สำหรับในพื้นที่จังหวัดชุมพรซึ่งได้นำแนวทางระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ มาดำเนินการโดยประยุกต์ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์จังหวัดและเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด ปี 2561-2565 "ชุมพรเมืองน่าอยู่ บนพื้นฐานการเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวคุณภาพ เชื่อมโยงการพัฒนาสองฝั่งทะเล  ประกอบกับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดชุมพรที่ได้ประกาศวาระสุขภาพที่ดำเนินการตั้งแต่ปี 2562 ใน 3 เรื่องได้แก่ การลดละเลิกสารเคมีเกษตร  จัดการโรคเรื้อรัง และสุขภาวะผู้สูงอายุ ในส่วนภาคประชาสังคมและสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร ตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งมีประเด็นยุทธศาสตร์ 3 ประเด็นได้แก่ เกษตรสุขภาวะ:ครัวเรือนพอเพียง เมืองน่าอยู่:จัดการปัจจัยเสี่ยง จัดการทรัพยากรธรรมธรรมชาติ:การจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน ดังนั้นหน่วยประสานจัดการระดับจังหวัด Node Flagship Chumphon หรือสมาคมประชาสังคมชุมพร ได้สนับสนุนพื้นที่การสร้างเสริมสุขภาวะ มาต่อเนื่อง 3 ปีที่ผ่านมาจำนวน 67 พื้นที่/ชุมชน ซึ่งจะเป็นต้นทุนสำคัญต่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดชุมพร หน่วยประสานจัดการจังหวัดชุมพรและภาคียุทธศาสตร์ได้ร่วมกันพิจารณาสถานการณ์และประเด็นสุขภาวะที่สำคัญต่อการคุณภาพชีวิตผู้คนจังหวัดชุมพร และคำนึงถึงความเป็นไปได้ การมีส่วนร่วมของของภาคีเครือข่ายต่อการขับเคลื่อนในอนาคต จึงได้เลือก 2 ประเด็น ได้แก่  1)เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ หรือ เกษตรสุขภาพ จึงมีนิยามความหมาย : การผลิตทางการเกษตร ซึ่งรวมทั้งการเลี้ยงสัตว์และการปลูกป่าที่กำหนดขึ้นให้เหมาะสมกับสุขภาวะ โดยคำนึงถึงการรักษาสภาพแวดล้อมที่ดีและเอื้อต่อสุขภาพ เช่น ดินฟ้าอากาศ แหล่งน้ำ พืชที่ปลูก สัตว์ที่เลี้ยง ฯลฯ รวมความถึงกระบวนการผลิตต่อเนื่องอันนำสู่การเป็นอาหารปลอดภัย    2)การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่:จัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ นิยามความหมายดังนี้ การพัฒนาคุณภาพชีวิต หมายถึง การพัฒนาให้เกิด  ความอยู่ดีมีสุข (well being) ของบุคคลและสังคม  อันประกอบด้วย 4 ด้าน ทั้งร่างกาย จิตใจ ความสัมพันธ์ทางสังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยมีจุดเน้นในการจัดการสุขภาพโรคเรื้อรังแนวใหม่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สถานการณ์เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ 1) ทุนและศักยภาพพื้นที่ ซึ่งเป็นต่อยอดพื้นที่ดำเนินงานผลิตและบริโภคผักผลไม้ปลอดสาร อาหารปลอดภัย โดยมีมติสมัชชาสุขภาพว่าด้วยเกษตรสุขภาวะ และวาระ จังหวัดชุมพร ลด ละเลิกสารเคมีเกษตร /มีเป้าหมายเกษตรอินทรีย์วิถีชุมพร 8000 ไร่  มีการทำเกษตรยั่งยืน 29,457 ไร่ 1500 คร.(1% ของพื้นที่ทำเกษตร 2,945,771) ค่าเฉลี่ย 0.41%  และเป็นประเด็นร่วมภาคใต้-มั่นคงทางอาหาร + สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนชุมพร 2) การเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว 3 ลำดับแรก ยางพารา 12.98 ล้านไร่ ปาล์มน้ำมัน 3.75 ล้านไร่ ทุเรียน 0.3 ล้านไร่ (ใช้สารเคมีมากสุด) ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย 6,075 ราย (ปี 61) ในกลุ่มประชากรที่มีอายุ 15-59 ปี
3)ความเสี่ยงด้านอาชีพของเกษตรกรชุมพร/ภาคใต้ มีการนำเข้าและใช้สารเคมีวัตถุอันตรายทางการเกษตร 3 ลำดับแรก สารกำจัดแมลง 15.23 ล้านบาท สารกำจัดวัชพืช 12.53 ล้านบาท สารกำจัดโรคพืช 1.79 ล้านบาท (สารเคมีอันตราย คลอไพริฟอส พาราควอต อะบาแบ๊กติน จังหวัดชุมพรใช้สูงสุด)
4)จังหวัดชุมพรมีสถิติอัตราการป่วยต่อประชาการแสนคน ปี 2558 : 19.49  ปี 2559: 24.72 ปี 2560:25.51 ปี 2561: 26.16 มีอัตราการเพิ่มขึ้นทุกปี และจำแนกตามปัญหาความไม่ปลอดภัยในอาชีพ สูงสุดคือ ปัญหาสารเคมีเกษตร 64 % เสี่ยงจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช 40.99 % และจากผลการประเมินความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย (ร้อยละ) ด้วย Reactive paper ในชุมพรเทียบเคียบกับ ศคร.11 ตั้งแต่ปี 59 ศคร.11 : 27% ชุมพร 34%  ปี 60  ศคร.11 : 25% ชุมพร 40% ปี 61 ศคร.11 : 23% ชุมพร 38%  (ข้อมูลจาก สสจ.ชุมพร)
5)แนวโน้มภาวะหนี้สินครัวเรือนมีการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยค่าเฉลี่ยหนี้สินครัวเรือน 175,000 บาทต่อครัวเรือน 6)โอกาสหรือปัจจัยเอื้อ คือวาระการพัฒนาจังหวัดชุพร ว่าด้วยการลดลดเลิกสารเคมีเกษตร และการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์วิถีชุมพร และการแบนสารเคมี 7)ภาคียุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเด็น ได้แก่ เครือข่ายสมัชชาสุขภาพ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนจังหวัดชุมพร/บริษัทชุมพรออร์แกนิค จำกัด  ฯ  สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานปฏิรูปที่ดิน  สำนักงานพาณิชย์จังหวัดชุมพร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ วิทยาเขตชุมพร และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นต้น ผลลัพธ์ระยะยาว 1)เกิดสุขภาวะทางสังคมทั้ง 4 ด้าน ด้านสุขภาพ (ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย) ด้านเศรษฐกิจ (ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ มีเงินออม) ด้านสังคม (ชุมชนอุดมสุข) ด้านทรัพยากร (ระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและฐานการผลิตอาหาร) 2)ชุมชนท้องถิ่น มีอธิปไตยทางอาหาร มีหลักประกันในชีวิต และเกิดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ระหว่างชุมชนกับผู้ประกอบการหรือเอกชน และระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาคียุทธศาสตร์ ผลลัพธ์ระยะสั้น 12 เดือน : เพิ่มพื้นที่ผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ปลอดสาร/อาหารปลอดภัย อย่างน้อย 10 %  (2,945 ไร่) จากพื้นที่เกษตรยั่งยืนที่มีอยู่ 1)เกิดการผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ที่ปลอดภัย ตัวชี้วัดที่สำคัญได้แก่ มีการผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ที่ปลอดภัย  มีครัวเรือนต้นแบบและแหล่งเรียนรู้เกษตรสุขภาพ  เกิดความร่วมมือกับภาคีอย่างน้อยหนึ่งกิจกรรม 2)เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเกษตรสุขภาพ ตัวชี้วัดที่สำคัญ มีการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (ขั้นต้นระบบ PGS – GAP-ฯ )  มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย อย่างน้อย 5 รายการต่อพื้นที่  มีการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมและปัจจัยการผลิต  มีแผนจัดการระบบอาหารในชุมชน 3)เกิดการจัดการเชื่อมโยงตลาดอาหารปลอดภัย ตัวชี้วัดที่สำคัญ  มีผู้ประกอบการภาคเกษตรและชมรมผู้ประกอบการ (เกษตรกรมืออาชีพ : ทำน้อยได้มาก)  มีการจัดการตลาดระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคหลากหลายรูปแบบ เช่น ตลาดสีเขียวในท้องถิ่น ตลาดออนไลท์  ตลาดโรงพยาบาล/โรงเรียน/โรงแรม ทั้งนี้หน่วยประสานจัดการ Node Flagship Chumphon ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในจังหวัดชุมพร  ได้สนับสนุนการขับเคลื่อนระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพแก่กลุ่มเครือข่ายในพื้นที่จำนวน 17 โครงการ/กลุ่มเครือข่าย ครอบคลุม 35 ตำบล ทุกอำเภอของจังหวัดชุมพร และจัดกลไกสนับสนุนไว้สามระดับคือ คณะกรรมการอำนวยการ คณะทำงานสนับสนุนวิชาการ และคณะทำงานปฏิบัติการในระดับพื้นที่ โดยมีเป้าหมายให้เกิด แผนงานเกษตรสุขภาพหรือเกษตรปลอดสาร อาหารปลอดภัยระดับท้องถิ่น  และ แผนยุทธศาสตร์ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ภายใน 1 ปี จึงต้องประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนสู่เป้าหมาย ชุมพรมหานครสุขภาวะ หรือชุมพรเมืองน่าอยู่

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

 

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดเวทีปฏิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่/จังหวัดชุมพร (กลุ่มเกษตรกรสุขภาพ)
  2. การประชุมเชิงปฎิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์เกาตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพระดับพื้นที่จังหวัดชุมพร
  3. เวทีปรึกษาหารือการจัดทำยุทธศาสตร์ของคณะทำงานและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
  4. การประชุมจัดทำยุทธศาสตร์อาหารระดับพื้นที่(สมัชชาพลเมืองชุมพร)
  5. คณะทำงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน /ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน
  6. เวทีรับฟังความเห็นจากผู้แทนเกษตรกรและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ร่วมพิจารณา ร่างยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ ในระดับจังหวัด
  7. เวทีปฎิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่จังหวัดชุมพร(แผนธุรกิจชุมชน)
  8. เวทีปฎิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยระดับพื้นที่จังหวัดชุมพร

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) เกิดกลไกหรือเครือข่ายความร่วมมือในการขับเคลื่อนระบบเกษตรและอาหารระดับท้องถิ่น/จังหวัด 2) มีแผนงาน โครงการระบบอาหารระดับท้องถิ่น/กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น บันทึกในเว็บไซด์ 3) กลไกปฏิบัติการได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานโครงการหรืองบประมาณจากภาคียุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง หรือ กปท.


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดเวทีปฏิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่/จังหวัดชุมพร (กลุ่มเกษตรกรสุขภาพ)

วันที่ 13 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

เตรียมนัดหมายกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง ออกแบบกระบวนการ ประสานสถานที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1) การยกระดับการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพจังหวัดชุมพร ให้เกิดการ ผลักดันทางนโยบายระดับจังหวัด โดยเชื่อมโยงกับประเด็นความมั่นคงทางอาหาร :เกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ภายใต้โครงการขับเคลื่อนจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารระดับจังหวัด (พืชร่วมยาง,ตำบลบูรณาการระบบอาหาร,แผนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ) มีจังหวัดนำร่อง ได้แก่จังหวัดชุมพร,ระนอง,นครศรีธรรมราช,นราธิวาส (สุราษฎร์ธานี ) ภายใต้แผนงาน :ศูนย์วิชาการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสร้างเสริมสุขภาพภาคใต้ (ศนส.มอ.) ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก    เพื่อยกระดับและขยายผลกระบวนการทำงานแบบเครือข่ายและเพิ่มการประสานความร่วมมือของภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งภาคีภาครัฐ ท้องถิ่น ภาคประชาชน ภาคเอกชน และสื่อมวลชน
ภายใต้การจัดทำแผนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพระดับจังหวัด มีกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ 1)วงปรึกษาหารือคณะทำงานและเครือข่ายระดับจังหวัด  2)ปฏิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่ (กลุ่ม/เครือข่าย-พื้นที่-ประเด็น) โดยสำรวจและทบทวนข้อมูลความรู้ จัดเวทีแลกเปลี่ยนรับฟังฯ คณะทำงานยกร่างแผนฯ  3)คณะทำงานและเครือข่าย ประชุมติดตามความก้าว  4)เวทีรับฟังจากผู้แทนที่เกี่ยวข้องและพิจารณาร่างแผนฯ  5)ร่วมประชุมติดตามและสรุปผลในระดับภาคใต้ ออกแบบผลักดันยุทธศาสตร์(เวทีร่วมระดับภาค)  ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ :จำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรแบบอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพในพื้นที่เป้าหมายเพิ่มขึ้น 1)เกิดเครือข่าย/คณะทำงานในการขับเคลื่อนงานระบบอาหารในภาคใต้ และ 2)เกิดยุทธศาสตร์ระบบอาหารระดับจังหวัดชุมพร คณะทำงานระดับเขต/ภาคใต้ ได้วางกรอบความเชื่อมโยงของการดำเนินงานโดยให้เกิดความร่วมมือโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งสู่ความมั่นคงอาหารของพื้นที่และจังหวัด จากงานเชิงประเด็นได้แก่พืชร่วมยาง สู่งานเชิงพื้นที่ตำบลบูรณาการอาหารผ่านกลไกกองทุนสุขภาพท้องถิ่น (กปท./พชต.) สู่ประเด็นยุทธศาสตร์ระดับอำเภอ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) สู่ประเด็นด้านเกษตรและอาหารของกลไกสมัชชาสุขภาพระดับจังหวัด และระดับเขต 11  ผ่านกลไก คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.)  เพื่อนำสู่เป้าหมาย ภาคใต้แห่งความสุข: กินอิ่ม นอนอุ่น ทุนมี หนี้หมด
2)แนวทางและกระบวนการดำเนินงานในระดับพื้นที่จังหวัดชุมพร  การดำเนินงานพัฒนาระบบอาหารหรือระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ ดำเนินการควบคู่ไปกับกิจกรรมที่ได้กำหนดไว้ ตั้งแต่ สิงหาคม 63 ถึง พฤษภาคม 64 ตามแผนผังนี้
2.1 ความร่วมมือและเชื่อมโยงแผนงานกิจกรรมโดยใช้ฐานการขับเคลื่อนโดยกลไกคณะทำงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ/คณะกรรมการ  Node flagship สสส.ชุมพร ประสานร่วมมือกับคณะทำงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นจังหวัดชุมพร สมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร โดยมีหลักการสำคัญ ได้ 1)การเลือกกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ดำเนินงานที่มีกลไกหรือการดำเนินงานอยู่แล้วโดยเฉพาะ 25 พื้นที่ Node flagship หรืองานที่กลไกดำเนินการอยู่  2)กลไกต้องสนับสนุนให้เกิดการเชื่อมโยง สานงาน เสริมพลัง ทั้งยกระดับการทำงานของกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่เป้าหมาย  3) จุดเน้นให้การปฏิบัติการควบคู่กับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์/ข้อเสนอเชิงประเด็นและเครือข่าย 4)การประสานความร่วมมือกับกลไกทางนโยบายทั้งในระดับพื้นที่และระดับจังหวัด เพื่อสร้างการรับรู้ ความร่วมมือการหนุนเสริมกลุ่มเป้าหมาย/พื้นที่ในอนาคต รวมทั้งการผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายต่อไป 2.2 การรวบรวมข้อมูลระบบอาหาร ประกอบด้วย 3 ประเด็น ได้แก่ ความมั่นคงทางอาหาร  (การมีอาหารเพียงพอ เข้าถึงและใช้ประโยชน์ มีเสถียรภาพทางอาหาร )อาหารปลอดภัย (กระบวนการผลิต-แปรรูป-มาตรฐาน-บริโภคอาหารที่ปลอดภัย) และโภชนาการสมวัย (โภชนาการตามวัยและช่วงอายุ ร่างกายสมส่วน ภาวะขาดสารอาหาร) o โจทย์การรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ด้านอาหารในพื้นที่จังหวัดชุมพร 1)ข้อมูลยุทธศาสตร์ระบบอาหารในพื้นที่ ผู้ให้ข้อมูล..........................เบอร์โทร................... 2)สถานการณ์ด้านอาหารในพื้นที่ ด้านทุนและศักยภาพการจัดการอาหาร (ระบุกลุ่มองค์กร/ผู้ประกอบการ ที่ตั้ง ที่ดำเนินการหรือแหล่งผลิตอาหารในพื้นที มีจำนวนเท่าไร อย่างไร? ) ด้านปัญหาและสาเหตุ (ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ มีผลกระทบกับใคร ขนาดไหน อย่างไร และสาเหตุเกิดจากอะไร ) 3)ข้อเสนอต่อแนวทาง/วิธีการจัดการอาหารในพื้นที่
3.นัดหมายภารกิจ/กิจกรรมต่อไป -การจัดส่งข้อมูลสถานการณ์อาหารในพื้นที่เพื่อประมวลเป็นภาพรวมของจังหวัด และจะมีเวทีนำเสนอร่างแผนยุทธศาสตร์อาหารต่อไปในปี 64

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo การสร้างความมั่นคงด้านอาหารการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร

 

50 0

2. การประชุมเชิงปฎิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์เกาตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพระดับพื้นที่จังหวัดชุมพร

วันที่ 25 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประสานความร่วมมือ ออกแบบกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สถานการณ์สุขภาวะของจังหวัดชุมพร  ในสี่มิติด้านสุขภาพ:อันเนื่องจากภาวะเจ็บ ป่วย ตาย ใน 3 ลำดับแรกคือโรคหลอดเลือดสมอง  โรคมะเร็ง และโรคเรื้อรัง    สาเหตุการเจ็บป่วยและตายเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัย และภาวะคุกคามสุขภาพจากปัจจัยเสี่ยงด้านอาชีพและสิ่งแวดล้อม    ด้านเศรษฐกิจ: ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพและรายได้หลักจากภาคเกษตรและประมง เมื่อเกิดภาวะราคาผลผลิตตกต่ำทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน กระทบการดำรงชีพของคนในพื้นที่ ขณะเดียวกันผลผลิตไม้ผลโดยเฉพาะทุเรียนและมังคุด จำนวน 207,837 ไร่ จะมีผลผลิตรวม 289,354 ตัน ส่งออกปีกว่าละ 6,000 ล้านบาท แต่ต้องแลกกับการใช้สารเคมียังมากมายซึ่งกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อย่างยิ่งโดยเฉพาะผู้ผลิตคือเกษตรกร อีกทั้งต่อผู้บริโภคในประเทศ  ส่วนการท่องเที่ยวชุมชนเริ่มมีบทบาทและรายได้เสริมต่อหลายชุมชนในพื้นที่ชุมพร    ด้านสังคม: จากกระแสการพัฒนาโลกาภิวัฒน์เพิ่มปัญหาทางสังคมมากขึ้น ความซับซ้อนก็มีเพิ่มขึ้นทั้งปัญหาเด็กเยาวชน  ยาเสพติด โดยเฉพาะปัญหาแม่วัยใสจังหวัดชุมพรมีปัญหาลำดับต้นๆ ของภาคใต้  การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุของชุมพรซึ่งจำนวนผู้สูงอายุ 95,401 คน (18.72% ซึ่งมีอัตรามากกว่าเกณฑ์ค่ากลางของระดับประเทศ 16.05%)      ด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม:  ด้วยเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่สำคัญของภาคใต้จึงเป็นพื้นทีแดงของการใช้สารเคมีเกษตรอย่างรุนแรง อีกทั้งยังได้รับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของรัฐบาล ทั้งท่าเรือน้ำลึก รถไฟรางคู่  ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ SEC  เป็นต้น 1) ทุนและศักยภาพพื้นที่ ซึ่งเป็นต่อยอดพื้นที่ดำเนินงานผลิตและบริโภคผักผลไม้ปลอดสาร  อาหารปลอดภัย -มติสมัชชาสุขภาพว่าด้วยเกษตรสุขภาวะ และวาระ จังหวัดชุมพร ลด ละเลิกสารเคมีเกษตร /มีเป้าหมายเกษตรอินทรีย์วิถีชุมพร 8000 ไร่
-มีการทำเกษตรยั่งยืน  29,457 ไร่  1500 คร.(1% ของพื้นที่ทำเกษตร  2,945,771) ค่าเฉลี่ย 0.41% -เป็นประเด็นร่วมภาคใต้-มั่นคงทางอาหาร + สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนชุมพร 2) การเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว 3 ลำดับแรก ยางพารา 12.98 ล้านไร่  ปาล์มน้ำมัน  3.75  ล้านไร่  ทุเรียน 0.3 ล้านไร่ (ใช้สารเคมีมากสุด)  ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วย 6,075 ราย (ปี 61) ในกลุ่มประชากรที่มีอายุ 15-59 ปี
3)ความเสี่ยงด้านอาชีพของเกษตรกรชุมพร/ภาคใต้ มีการนำเข้าและใช้สารเคมีวัตถุอันตรายทางการเกษตร 3 ลำดับแรก สารกำจัดแมลง 15.23  ล้านบาท สารกำจัดวัชพืช 12.53 ล้านบาท สารกำจัดโรคพืช 1.79 ล้านบาท  (สารเคมีอันตราย คลอไพริฟอส พาราควอต อะบาแบ๊กติน จังหวัดชุมพรใช้สูงสุด)
4)จังหวัดชุมพรมีสถิติอัตราการป่วยต่อประชาการแสนคน  ปี 2558 : 19.49    ปี 2559: 24.72  ปี 2560:25.51  ปี 2561: 26.16  มีอัตราการเพิ่มขึ้นทุกปี และจำแนกตามปัญหาความไม่ปลอดภัยในอาชีพ  สูงสุดคือ ปัญหาสารเคมีเกษตร 64 %  เสี่ยงจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืช 40.99 %  และจากผลการประเมินความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย (ร้อยละ) ด้วย Reactive paper ในชุมพรเทียบเคียบกับ ศคร.11  ตั้งแต่ปี 59 ศคร.11 : 27%  ชุมพร 34%  ปี 60  ศคร.11 : 25%  ชุมพร 40%  ปี 61  ศคร.11 : 23%  ชุมพร 38%  (ข้อมูลจาก สสจ.ชุมพร)
5)แนวโน้มภาวะหนี้สินครัวเรือนมีการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยค่าเฉลี่ยหนี้สินครัวเรือน 175,000  บาทต่อครัวเรือน 6)โอกาสหรือปัจจัยเอื้อ คือวาระการพัฒนาจังหวัดชุพร ว่าด้วยการลดลดเลิกสารเคมีเกษตร และการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์วิถีชุมพร และการแบนสารเคมี 3)แนวทางและกระบวนการ ผลลัพธ์ที่ควรเกิดขึ้น 1)เกิดสุขภาวะทางสังคมทั้ง 4 ด้าน ด้านสุขภาพ (ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย) ด้านเศรษฐกิจ (ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ มีเงินออม)  ด้านสังคม (ชุมชนอุดมสุข) ด้านทรัพยากร (ระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพและฐานการผลิตอาหาร) 2)ชุมชนท้องถิ่น มีอธิปไตยทางอาหาร  มีหลักประกันในชีวิต  และเกิดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค  ระหว่างชุมชนกับผู้ประกอบการหรือเอกชน และระหว่างชุมชนกับหน่วยงานภาคียุทธศาสตร์ ผลลัพธ์ระยะสั้น 12 เดือน : เพิ่มพื้นที่ผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ปลอดสาร/อาหารปลอดภัย  อย่างน้อย 10 %  (2,945 ไร่) จากพื้นที่เกษตรยั่งยืนที่มีอยู่ 1)เกิดการผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ที่ปลอดภัย
-มีการผลิตและบริโภคพืชผักผลไม้ที่ปลอดภัย -มีครัวเรือนต้นแบบและแหล่งเรียนรู้เกษตรสุขภาพ -เกิดความร่วมมือกับภาคีอย่างน้อยหนึ่งกิจกรรม 2)เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเกษตรสุขภาพ - มีการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร (ขั้นต้นระบบ PGS – GAP-ฯ ) -มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย อย่างน้อย 5 รายการต่อพื้นที่ -มีการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมและปัจจัยการผลิต -มีแผนจัดการระบบอาหารในชุมชน 3)เกิดการจัดการเชื่อมโยงตลาดอาหารปลอดภัย
-มีผู้ประกอบการภาคเกษตรและชมรมผู้ประกอบการ (เกษตรกรมืออาชีพ : ทำน้อยได้มาก) -มีการจัดการตลาดระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภคหลากหลายรูปแบบ เช่น ตลาดสีเขียวในท้องถิ่น  ตลาดออนไลท์  ตลาดโรงพยาบาล/โรงเรียน/โรงแรม

  • photo
  • photo

 

35 0

3. เวทีปรึกษาหารือการจัดทำยุทธศาสตร์ของคณะทำงานและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 2 ธันวาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประสานคณะทำงานจัดประชุมเพื่อยกร่างแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดร่างแผนยุทธศาสตร์เพื่อนำเข้าเวทีสมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพรให้กลุ่มเครือข่ายได้รับฟังและเพิ่มเติมข้อมูลด้านระบบอาหารตามรายละเอียด ยุทธศาสตร์ข้อที่ ๑ ผลักดันมาตรฐานสินค้าอาหารปลอดภัย ( GAP) ที่เหมาะสมให้เป็นภาคบังคับทางกฎหมาย และเป็นข้อตกลงของชุมชนโดยเน้นระบบตลาดภายในจังหวัด ตลาดในห้างสรรพสินค้า และตลาดส่งออก ยุทธศาสตร์ข้อที่ ๒ มีการคุ้มครองพื้นที่การเกษตรกรรมยั่งยืน (เกษตรสุขภาพ)
    ๒.๑ ส่งเสริมการปลูกข้าวให้เพียงพอในการบริโภค และสนับสนุนรักษาพันธุกรรมข้าวพื้นบ้าน จัดตั้งธนาคารอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพื้นบ้าน     ๒.๒ ใช้พระราชกำหนดการประมงบังคับใช้ พ.ศ. ๒๕๕๘  และ การทำประมงผิดกฎหมาย (Illegal Unreported and Un-regulated Fishing: IUU)     ๒.๓ สร้างเขตอนุรักษ์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำ จัดทำธนาคารสัตว์น้ำ     ๒.๔ สร้างกติกาหรือธรรมนูญว่าด้วยการอนุรักษ์ฟื้นฟูฐานอาหารครอบครัวและชุมชน รวมถึงการพัฒนารูปแบบที่มีความสมดุลระหว่างการผลิต พืชอาหารและพืชพลังงาน       ๑) สร้างข้อตกลงร่วมของชุมชน ท้องถิ่นและภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาระบบเกษตรยั่งยืน ทั้งการปรับสวนยางพาราและเกษตรเชิงเดี่ยวอื่น ๆ โดยเฉพาะพืชพลังงาน ทั้งนี้เพื่อให้มีพืชพันธุ์ที่หลากหลาย ตอบสนองความจำเป็นขั้นพื้นฐานเพื่อการพึ่งตนเองได้       ๒) สนับสนุนการสร้างข้อตกลงร่วมหรือธรรมนูญชุมชน ว่าด้วยความมั่นคงทางอาหารในระดับพื้นที่ ระดับตำบล       ๓) สร้างพื้นที่ครัวชุมชนในพื้นที่ว่างหรือพื้นที่สาธารณะในชุมชน ยุทธศาสตร์ข้อที่ ๓ ชุมชนพึ่งตนเองด้านอาหารในระดับชุมชน ครอบครัว     ๓.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนมี การอนุรักษ์พันธุกรรมพืชพื้นบ้าน และจัดตั้งธนาคารอาหารชุมชน เช่น พันธุ์ข้าว ธนาคารเมล็ดพันธุ์ผักพื้นบ้านหรือผักสวนครัว พืชสมุนไพร ผลไม้
๑) การรวบรวมพันธุกรรมพื้นบ้าน ๒) สร้างเครือข่ายและพัฒนาทักษะชุมชนในการเพาะพันธุ์ ๓) จัดตั้งธนาคารพันธุ์ข้าวนำร่อง ๔) จัดตั้งธนาคารพันธุกรรม พืชพื้นบ้าน
    ๓.๒ สร้างศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์บกและสัตว์น้ำในชุมชนแบบบูรณาการ           ๑) การรวบรวมพันธุ์พื้นบ้านสัตว์บกและสัตว์น้ำในชุมชน           ๒) สร้างเครือข่ายและพัฒนาทักษะชุมชนในการเพาะพันธุ์           ๓) จัดตั้งศูนย์เพาะพันธุ์สัตว์บก สัตว์น้ำจืด และสัตว์ทะเล           ๔) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ครัวเรือนเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคและการค้าเชิงพาณิชย์     ๓.๓ การจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรอาหารชุมชน เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรอาหารของชุมชน ๑) สำรวจและทำฐานข้อมูลทรัพยากรอาหารที่มีอยู่ในชุมชน นำร่องอำเภอละ 1 ตำบล ๒) สร้างกระบวนการเรียนรู้กับ หน่วยงาน กลุ่ม ภาคีที่เกี่ยวข้องในชุมชน ๓) ผลักดันให้เกิดการจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรอาหารที่มีอยู่ในชุมชน ๔) บูรณาการแผนการจัดการทรัพยากรอาหารกับแผนชุมชน     ๓.๕ การพัฒนาศักยภาพชุมชนในแต่ละอาชีพให้สามารถเพิ่มมูลค่าผลผลิต ลดต้นทุนการผลิต และสร้างนวัตกรรมสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
๑) พัฒนากลุ่มอาชีพ โดยเฉพาะการรวมกลุ่มอาชีพเกษตร
๒) ส่งเสริมการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร
๓) พัฒนาให้เกิดศูนย์เรียนรู้ แหล่งเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง โดยอาจจัดรูปแบบเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ๔) สนับสนุนการศึกษาวิจัยอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในด้านการเพิ่มผลผลิต ๕) พัฒนาศักยภาพชุมชนในการเพิ่งตนเองด้านปัจจัยการผลิตในเรื่องอาหารฯ ยุทธศาสตร์ข้อที่ ๔ การฟื้นฟูภูมิปัญญาด้านอาหารพื้นบ้าน ขนมพื้นบ้าน อาหารและสมุนไพรเป็นยา     ๔.๑ สนับสนุนให้มีการรวบรวมภูมิปัญญาและฝึกอบรมตำรับอาหารพื้นบ้านภาคใต้ฯ
    ๔.๒ ส่งเสริมให้มีแหล่งจำหน่าย ตำรับอาหารพื้นบ้านภาคใต้ในชุมชน ร้านอาหาร และห้างสรรพสินค้า     ๔.๓ ส่งเสริมให้มีการใช้และบริโภคตำรับอาหารพื้นบ้านภาคใต้ ในหน่วยงานราชการ โรงเรียน โรงพยาบาล สถาบันการศึกษา และครัวเรือน     ๔.๔ พัฒนา ยกระดับอาหารพื้นบ้าน ขนมพื้นบ้าน สมุนไพรที่ใช้เป็นยาไปสู่เศรษฐกิจชุมชนฯ ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ยกระดับ เพิ่มมูลค่าอาหารไปสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ     ๕.๑ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีวิสาหกิจชุมชนเพื่อสร้างฐานทรัพยากรทางอาหารในการแปรรูปอาหารของชุมชน     ๕.๓ ส่งเสริมการนำวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม มาใช้ในการยกระดับการแปรรูปอาหาร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ       ๕.๒ ส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนการตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายอาหารพื้นบ้าน สมุนไพรพื้นบ้าน ยุทธศาสตร์ข้อที่ ๖ บูรณาการเรื่องอาหารพื้นบ้าน สมุนไพรพื้นบ้าน ให้อยู่ในแผนการท่องเที่ยวของจังหวัดและแผนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์/แผนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชน     ๖.๑ ปรับปรุง ทบทวน แผนการท่องเที่ยวของจังหวัดและแผนการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ/แผนการท่องเที่ยวเชิงเกษตร     ๖.๒ สร้างกระแสเรื่องความมั่นคงทางอาหารในเทศกาลอาหารของจังหวัด     ๖.๓ สร้างความร่วมมือกับร้านอาหาร ในการจัดทำร้านอาหารต้นแบบที่มีคุณภาพและถูกหลักโภชนาการ
ยุทธศาสตร์ข้อที่ ๗ จัดตั้งเป็น “ศูนย์การจัดการฐานทรัพยากรเพื่อความมั่นคงทางอาหารและอาหารปลอดภัย” ขึ้นทั้งในระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น     ๗.๑ ให้จังหวัดดำเนินการจัดตั้งระบบสารสนเทศการจัดการฐานทรัพยากรเรื่องความมั่นคงทางอาหารในระดับจังหวัด     ๗.๒ ให้ท้องถิ่นทุกแห่งมีระบบสารสนเทศฐานทรัพยากรอาหารในชุมชน     ๗.๓ ส่งเสริมศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)     ๗.๔ ส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
    ๗.๕ พัฒนาเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในทุกด้าน (coaching) ยุทธศาสตร์ข้อที่ ๘ จัดระบบเพื่อรองรับความมั่นคงด้านอาหารในภาวะวิกฤต     ๘.๑ พัฒนาแนวทางและกลไกในการบริหารจัดการความมั่นคงด้านอาหารในภาวะวิกฤติ เช่น ภาวะอุทกภัย ภาวะภัยแล้ง     ๘.๒ วางแผนป้องกันการขาดแคลนวัตถุดิบอาหารและอาหารสัตว์ที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าสูงอย่างเหมาะสม     ๘.๓ มีการจัดการทางด้านสายพันธุ์ด้านพืช สัตว์ ประมง และคลังอาหารชุมชน     ๘.๔ จัดทำธนาคารอาหาร จัดทำโครงการการแปรรูปอาหาร การถนอมอาหาร เพื่อเป็นอาหารสำรองในยามเกิดภัยพิบัติ

ยุทธศาสตร์ข้อที่ ๙ จัดระบบการสื่อสารสาธารณะทั้งภายในและภายนอกในการรณรงค์และขยายผลความมั่นคงทางอาหาร     ๙.๑ พัฒนาแผนการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผ่านสื่อในทุกช่องทาง     ๙.๒ การให้ความรู้เรื่องความมั่นคงทางอาหาร และการสร้างค่านิยมการบริโภคอาหาร     ๙.๓ สนับสนุนการพัฒนาการจัดทำสื่อและการเผยแพร่โดยชุมชนในทุกรูปแบบ

  • photo
  • photo

 

40 0

4. การประชุมจัดทำยุทธศาสตร์อาหารระดับพื้นที่(สมัชชาพลเมืองชุมพร)

วันที่ 9 ธันวาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

จัดเวทีสมัชชาพลเมืองชุมพร อันประกอบด้วย
1. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ :สมาคมประชาสังคมชุมพร (Node Flagship Chumphon)
2. สมัชชาสุขภาพจังหวัดชุมพร ซึ่งได้ร่วมกันดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะที่สนับสนุนวิสัยทัศน์จังหวัด “ชุมพรเมืองน่าอยู่ บนพื้นฐานการเกษตรกรรมและการท่องเที่ยวคุณภาพ เชื่อมโยงการพัฒนาสองฝั่งทะเล” ในสอง ประเด็นได้แก่ การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่:จัดการโรคเรื้อรัง และ ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ 3. ขบวนสภาองค์กรชุมชนจังหวัดชุมพร ซึ่งได้ดำเนินการในประเด็นที่ดิน ที่อยู่อาศัย สวัสดิการชุมชน
4. ชมรมวุฒิอาสาธนาคารสมองจังหวัดชุมพร และกลุ่มเครือ ภาคีการพัฒนาทั้ง ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคราชการ การเมือง  ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปรึกษาหารือ ออกแบบความร่วมมือการพัฒนาโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง เพื่อผลักดันชุมพรเมืองน่าอยู่ โดยการขยายผลจากพื้นที่รูปธรรม สร้างการมีส่วนร่วมของพลเมือง สร้างเสริมสุขภาวะให้ชุมพรเมืองน่าอยู่และได้ทำข้อเสนอเชิงนโยบายระดับจังหวัดชุมพรต่อผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • เกิดการรับรู้และร่วมให้ความเห็นต่อร่างแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร
  • มีข้อเสนอการสร้างความมั่นคงทางอาหารเพื่อความมั่นคงในชีวิตแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพรและองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพรในยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหาร คือ
  • ขอให้จังหวัดชุมพรและองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร ให้ความสำคัญสนับสนุนให้เแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดชุมพร  (พรบ.คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ปี 2551
    มียุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารฉบับที่ 2 (2561-2579 )  มุ่งสู่วิสัยทัศน์ที่ว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคงด้าน อาหารและโภชนาการ เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อชาวไทยและชาวโลกอย่างยั่งยืน” )  ประกอบด้วยความมั่นคงอาหาร อาหารปลอดภัย โภชนาการสมวัย การสร้างความเข้มแข็งแก่สถาบันเกษตรกรให้เป็นเสาหลักของชุมชนท้องถิ่น พร้อมการเชื่อมโยงประสานเครือข่ายในระดับท้องถิ่น จังหวัดหรือภูมิภาคให้เป็นพลังสร้างการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย
  • ขอให้จังหวัดชุมพรและองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร สนับสนุนการพัฒนาระบบเกษตรสุขภาพ หรือเกษตรกรรมยั่งยืน ในรูปแบบ 5 รูปแบบ ได้แก่ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร/ธนาคารต้นไม้ เกษตรธรรมชาติ  และ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประมงชายฝั่ง) โดยส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานและเพิ่มมูลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบโดยหลักอาชีวอนามัย ให้บรรลุผลลัพธ์ ผู้ผลิตปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย
  • ขอให้จังหวัดชุมพรและองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร สนับสนุนการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมและพืชอัตลักษณ์ถิ่น โดยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ ให้คงอยู่เป็นฐานทรัพยากรกับชุมชนท้องถิ่น การส่งเสริมธนาคารเมล็ดพันธุ์และพันธุกรรมถิ่น การวิจัยและพัฒนาสมุนไพรเพื่อสุขภาพและการแพทย์ประจำถิ่น เช่น กัญชาเพื่อการแพทย์ กระท่อมชูกำลัง ขมิ้นถิ่นใต้ ฯ การพัฒนาต่อยอดพืชอัตลักษณ์ถิ่นให้เกิดมูลค่าและคุณค่าเพิ่มขึ้น เช่น กล้วยเล็บมือนางชุมพร ข้าวไร่ชุมพร ข้าวเหลืองปะทิว
  • photo
  • photo
  • photo

 

66 0

5. เวทีปฎิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยระดับพื้นที่จังหวัดชุมพร

วันที่ 4 ตุลาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

-  การคัดเลือกเกษตรกรต้นแบบหลังจากการจัดกิจกรรมอบรมทึ้ง 8 อำเภอในจังหวัดชุมพร
    -  การเสวนาเรื่อง “แนวทางการพัฒนาผู้นำต้นแบบ เกษตรกรฯ สู่ความยั่งยืน”     -  การเสวนาเรื่อง “การสร้างเครือข่ายเพื่อขยายความ ร่วมมือเกษตรกรต้นแบบฯ โดยคณะวิทยากรฯ
        จังหวัดชุมพร     -  การวางแผนจัดทำยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยของเครือข่ายเกษตรและอาหารสุขภาพสู่ ระดับอำเภอ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-  เกิดเกษตรกรต้นแบบที่ได้รับคัดเลือกเป็นต้นแบบ ในพื้นที่ 8 อำเภอ ของจังหวัดชุมพรในการ
ขับเคลื่อน เกษตรและอาหารปลอดภัยต่อไปในพื้นที่ทั้ง 8 อำเภอในจังหวัดชุมพรและ เกษตรกรต้นแบบ
ได้มีการ ติดต่อสื่อสารและ ประชาสัมพันธ์ ในกลุ่มไลน์ของเกษตรต้นแบบ ที่มีชื่อกลุ่มไลน์ ว่า เกษตรกรต้นแบบ YOU MODEL -  เกิดแนวทางการพัฒนาผู้นำต้นแบบ เกษตรกรฯ สู่ความยั่งยืน โดยการนำเสวนาได้รับความอนุเคราะห์ จาก  ท่าน ธีระศักดิ์ ยมสวัสดิ์ เกษตรจังหวัดชุมพร ได้มาเป็นประธารเปิดการเสวนาและได้กล่าวให้แนวทางการพัฒนาผู้นำต้นแบบ เกษตรกรฯ สู่ความยั่งยืน แก่เกษตรกรต้นแบบ และ ได้รับความอนุเคราะห์นาย สุภวิทย์ สง่าวงค์  นาย กิตติพงษ์ ปานสวี  นาย สมใจแสง  แสงขำ และ มาลัย เรืองชาตรี ที่ มากประสบการณ์ซึ่งวิทยากรทุกท่านล้วนแล้วแต่ได้รับมาตฐาน Organic แห่งประเทศไทยเพื่อเป็นการ  ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างแรงจูงใจหรือแรงกระตุ้นให้เกษตรกรต้นแบบ มีแรงจูงใจ และ แรงผลักดันใน การการขับเคลื่อนเกษตรและอาหารปลอดภัยต่อไปในพื้นที่ทั้ง 8 อำเภอในจังหวัดชุมพร -  เกิดการสร้างเครือข่ายเพื่อขยายความ ร่วมมือเกษตรกรต้นแบบฯ ได้รับความอนุเคราะห์
นาย สุภวิทย์ สง่าวงค์  นาย กิตติพงษ์ ปานสวี  นาย สมใจแสง  แสงขำ และ มาลัย เรืองชาตรี ที่ มากประสบการณ์ซึ่งวิทยากรทุกท่านล้วนแล้วแต่ได้รับมาตฐาน Organic แห่งประเทศไทย เกิดกลุ่มเครือข่ากลุ่มย่อยได้แก่ กลุ่มเครือข่ายผลไม้ กลุ่มเครือข่ายผักปลอดภัย และกลุ่มเครือข่ายโกโก้

-  เกิดการวางแผนการพัฒนาเครือข่ายเกษตรและอาหารสุขภาพสู่ ระดับอำเภอ ในจังหวัดชุมพรโดยได้รับความอนุเคราะห์นาย สุภวิทย์ สง่าวงค์  นาย กิตติพงษ์ ปานสวี  นาย สมใจ  แสงขำ และ มาลัย เรืองชาตรี ที่ มากประสบการณ์ซึ่งวิทยากรทุกท่านล้วนแล้วแต่ได้รับมาตฐาน Organic แห่งประเทศไทย ในการให้คำแนะนำในการขอมาตรฐานเพื่อช่วยในการการันตีและเป็นเครื่องหมายมาตรฐานรองรับคุณภาพของเกษตรกรต้นแบบ ให้แรงจูงใจและเตรียมพร้อมที่จะขอมาตรฐานเพื่อช่วยในการการันตีและเป็นเครื่องหมายมาตรฐานรองรับคุณภาพ โดยจะดำเนินการเข้าการปรับเปลี่ยนและขอมาตรฐานต่อไปในอนาคต

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

35 0

6. เวทีปฎิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่จังหวัดชุมพร(แผนธุรกิจชุมชน)

วันที่ 6 ตุลาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

การจัดทำแผนธุรกิจชุมชน  1) กระบวนทัศน์ใหม่สำหรับผู้ประกอบการ  2)กระบวนการตัดสินใจเพื่อการเข้าสู่การประกอบการ  3)กลุ่มย่อยฝึกปฏิบัติ วิเคราะห์ข้อมูลการผลิตตามประเภทสินค้าและบริการ  3)จัดทำแผนธุรกิจของสถาบันเกษตรกร และนำเสนอเพื่อให้ความเห็น 4)ทบทวนแผนธุรกิจชุมชนของสถาบันเกษตรกร/วิสาหกิจชุมชน  5)ขั้นตอนและวิธีการจัดทำแผนการผลิตรายครัวสมาชิก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1)ผู้เข้าร่วมเข้าใจกระบวนการจัดทำแผนธุรกิจชุมชนที่ตั้งอยู่ฐานข้อมูลศักยภาพขององค์กรและมวลสมาชิก
2)ได้ร่างแผนธุรกิจชุมชน ของสถาบันเกษตรกร 15 สถาบันเกษตรกร 3) ได้แผนงานโครงการระดับองค์กร/พื้นที่  เพื่อนำมาบรรจุในแผนยุทธศาสตร์เกาตรและอาหารจังหวัดชุมพร

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

20 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดเวทีปฏิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่/จังหวัดชุมพร (กลุ่มเกษตรกรสุขภาพ) (2) การประชุมเชิงปฎิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์เกาตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพระดับพื้นที่จังหวัดชุมพร (3) เวทีปรึกษาหารือการจัดทำยุทธศาสตร์ของคณะทำงานและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง (4) การประชุมจัดทำยุทธศาสตร์อาหารระดับพื้นที่(สมัชชาพลเมืองชุมพร) (5) คณะทำงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน /ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน (6) เวทีรับฟังความเห็นจากผู้แทนเกษตรกรและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ร่วมพิจารณา ร่างยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ  ในระดับจังหวัด (7) เวทีปฎิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่จังหวัดชุมพร(แผนธุรกิจชุมชน) (8) เวทีปฎิบัติการจัดทำยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยระดับพื้นที่จังหวัดชุมพร

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพ ชุมพร จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายทวีวัตร เครือสาย/น.ส หนึ่งฤทัย พันกุ่ม /นางพัลลภา ระสุโส๊ะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด