สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.)


“ พืชร่วมยาง นครศรีธรรมราช ”

จังหวัดนครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นายวรวิชญ์ กฐินหอม

ชื่อโครงการ พืชร่วมยาง นครศรีธรรมราช

ที่อยู่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2563 ถึง 30 พฤศจิกายน 2564


กิตติกรรมประกาศ

"พืชร่วมยาง นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
พืชร่วมยาง นครศรีธรรมราช



บทคัดย่อ

โครงการ " พืชร่วมยาง นครศรีธรรมราช " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดนครศรีธรรมราช รหัสโครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2563 - 30 พฤศจิกายน 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 200,000.00 บาท จาก สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การดำเนินงานประเด็นความมั่นคงอาหาร:ระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้  ของคณะทำงานศึกษาและพัฒนาข้อเสนอพัฒนาระบบเกษตร
และอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ และคณะทำงานยุทธศาสตร์ กขป.ภาคใต้ จากเวทีสร้างสุขภาคใต้ ปี 2562 ภายใต้หลักคิดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ อธิปไตยทางอาหาร สร้างหลักประกันในชีวิต จัดความสัมพันธ์ใหม่  โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ ความมั่นคงทางอาหารและชีวิตพลเมืองฅนใต้  มีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 6 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ เพื่อนำเข้า การพัฒนาระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ตั้งอยู่ภายใต้หลักคิดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ อธิปไตยทางอาหาร ด้วยการส่งเสริมสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรให้เกิดความสมดุลยั่งยืน มีระบบจัดการผลผลิตที่เกื้อกูลและเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ เพื่อให้มีปริมาณอาหารที่เพียงพอ มีคุณภาพอาหารปลอดภัย สร้างหลักประกันในชีวิต ด้วยการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ มีหลักประกันทางรายได้และสวัสดิการ สวัสดิภาพ มีความมั่นคงทางสุขภาพแก่พลเมืองฅนใต้ จัดความสัมพันธ์ใหม่ ปรับกระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดหรือสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน ระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับหน่วยงานองค์กรภาครัฐและเอกชน ระหว่างกลุ่มองค์กรเครือข่ายด้วยกัน มีความเคารพศักดิ์ครีความเป็นมนุษย์ต่อกันด้วยหลักปฏิบัติ “คิดเอื้อ คิดเผื่อ เพื่อนช่วยเพื่อน พี่ดูแลน้อง ” และแบ่งปันผลประโยชน์ที่เหมาะสม เท่าเทียม เป็นธรรม ด้วยความพึงพอใจร่วมกันของหุ้นส่วนผลประโยชน์ตน ประโยชน์สาธารณะ


ภาพที่ ผังกรอบความคิด ระบบการเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ จากฐานหลักคิดข้างต้นเพื่อให้เกิดหรือบรรลุเป้าหมายร่วมกัน คือ ความมั่นคงทางอาหารและชีวิตพลเมืองฅนใต้ จำเป็นต้องมีประเด็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ 7 แนวทาง/ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบและกลไกขับเคลื่อนระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ ทำหน้าที่ในการติดตาม ผลักดันแผนยุทธศาสตร์และข้อเสนอเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติตามศักยภาพและโอกาสที่เอื้ออำนวย ด้วยยุทธวิธีสำคัญ เช่น การสร้างความรอบรู้ด้านอาหารศึกษาและบริโภคศึกษาแก่ประชาชนพลเมือง ติดตามทบทวนแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพภาคใต้ให้เหมาะสมกับภาวการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหาร และประยุกต์ใช้กระบวนการธรรมนูญสุขภาพระดับพื้นที่ ประกาศเขตเกษตรสุขภาพ (พื้นที่คุ้มครองทางเกษตรกรรมสุขภาพ) ในระดับพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นต่าง ๆ และการสร้างความเข้มแข็งแก่สถาบันเกษตรกรให้เป็นเสาหลักของชุมชนท้องถิ่น พร้อมการเชื่อมโยงประสานเครือข่ายในระดับท้องถิ่น จังหวัดหรือภูมิภาคให้เป็นพลังสร้างการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย 2) การพัฒนาระบบเกษตรสุขภาพที่สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เกษตรยั่งยืน วนเกษตร เกษตรธรรมชาติ (mao) ธนาคารต้นไม้ เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ และ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประมงชายฝั่ง) โดยส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการ การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานและเพิ่มมูลผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานโดยหลักอาชีวอนามัย การส่งเสริมการผลิตเกษตรปลอดสารอาหารปลอดภัย การเฝ้าระวังสารเคมีเกษตรและอาหารปลอดภัย การส่งเสริมสนับสนุนและขยายผลให้ต้นไม้เป็นทรัพย์และหลักประกันในชีวิตเพื่อรองรับสังคมสูงวัย เป็นต้น 3) เสริมสร้างสุขภาวะชาวสวนยางและปาล์มน้ำมัน โดยการส่งเสริมวิจัยและพัฒนา เพิ่มมูลค่าในกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมันและยางพารา ให้แก่กลุ่มเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และผู้ประกอบการ การส่งเสริมและสนับสนุนสวนยางยั่งยืน ส่งเสริมการปรับวิถีการผลิตปาล์มน้ำมันแบบผสมผสานและเพิ่มประสิทธิการจัดการแปลง การส่งเสริมและขยายผลสวนเกษตรธาตุสี่หรือสวนสมรม สร้างมาตรการส่งเสริมการออมและสวัสดิการเพื่อเป็นหลักประกันในชีวิตแก่ชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน เป็นต้น 4) การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุกรรมและพืชอัตลักษณ์ถิ่น โดยการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาพันธุ์พืชและสัตว์ ให้คงอยู่เป็นฐานทรัพยากรกับชุมชนท้องถิ่น การส่งเสริมธนาคารเมล็ดพันธุ์และพันธุกรรมถิ่น การวิจัยและพัฒนาสมุนไพรเพื่อสุขภาพและการแพทย์ประจำถิ่น เช่น กัญชาเพื่อการแพทย์ กระท่อมชูกำลัง ขมิ้นถิ่นใต้ ฯ การพัฒนาต่อยอดพืชอัตลักษณ์ถิ่นให้เกิดมูลค่าและคุณค่าเพิ่มขึ้น เช่น กล้วยเล็บมือนางชุมพร ข้าวสังข์หยดพัทลุง ข้าวเหลืองปะทิว ส้มโอทับทิมสยาม เป็นต้น 5) การอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมที่สมดุลยั่งยืน โดยการขยายผลการสร้างฝายมีชีวิตและการจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วม การอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาทรัพยากรดิน น้ำ ป่า และสภาพแวดล้อม การพัฒนากลไกเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและภูมิอากาศแบบมีส่วนร่วม การประเมินผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ และการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) เป็นต้น 6) สุขภาวะชาวประมง โดยมีแนวทางสำคัญ เช่น มาตรการคุ้มครองพื้นที่สัวต์น้ำและประมงชายฝั่ง ธนาคารอาหารสัตว์น้ำ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าประมง ฯ 7)เพิ่มประสิทธิการบริหารจัดการตลาดให้เกิดการลดช่องว่างระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค โดย เสริมสร้างการเชื่อมโยงการจัดการของกลุ่มผู้ผลิตเกษตรสุขภาพกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวหรือกลุ่มท่องเที่ยวชุมชน การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการภาคเกษตร (เกษตรกรมืออาชีพ เกษตรกรรุ่นใหม่ ครัวเรือนพอเพียง ผู้ประกอบการครัวเรือน ) สร้างและพัฒนาโอกาสบริหารจัดการตลาดชุมชนท้องถิ่น ตลาดทั่วไป ตลาดออนไลน์แก่ผู้ประกอบการ การยกระดับการตลาดด้วยเชื่อมโยงจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) การค้าการลงทุนหรือการร่วมทุน ระหว่างผู้ประกอบการกับหุ้นส่วนทางธุรกิจ สำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราช...................................

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสร้างความร่วมมือกับภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ในการขยายผลเกษตรผสมผสานหรือวนเกษตรในพื้นที่
  2. เพื่อติดตาม สนับสนุนและสังเคราะห์ความรู้พร้อมข้อเสนอต่อการทำสวนยางยั่งยืนในพื้นที่

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโดยทีมวิชาการเชื่อมโยงเครือข่าย กับเกษตรต้นแบบ และหรือ สถาบันเกษตรที่สังกัด
  2. การประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรเพื่อสร้างแปลงต้นแบบการทำเกษตรผสมผสาน วนเกษตร พืชร่วมยาง เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในจังหวัดนครศรีธรรมราช
  3. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา
  4. เวทีเครือข่ายร่วมกับ กยท.จัดทำพัฒนาข้อเสนอแนวทางการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยาง และสร้างความร่วมมือขับเคลื่อนและผลักดันทางนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. ประชุมปรึกษาหารือวางแผนการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร พืชร่วมยาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
  6. ติดตามการดำเนินงานและถอดบทเรียนเกษตรเป้าหมาย 5 ราย โดย กยท. นาบอน
  7. พัฒนาศักยภาพเกษตรกรสวนยาง 3 รายร่วมกับ กยท. ฉวาง
  8. พัฒนาศักยภาพเกษตรกรสวนยาง 5 รายร่วมกับ กยท. ร่อนพิบูลย์

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการขยายผลการทำสวนยางยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดชุมพร
  2. เกษตรชาวสวนยางรายย่อยเป้าหมาย ทำเกษตรผสานผสาน/วนเกษตร (พืชร่วมยาง)เพิ่มขึ้นร้อยละ90
  3. ครัวเรือนเกษตรกรเป้าหมายที่ทำพืชร่วมยางมีผลผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อการบริโภคในครัวเรือนร้อยละ90
  4. เกิดชุดความรู้การทำเกษตรผสมผสาน/วนเกษตรและข้อเสนอเชิงนโยบายการทำสวนยางยั่งยืน

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรเพื่อสร้างแปลงต้นแบบการทำเกษตรผสมผสาน วนเกษตร พืชร่วมยาง เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในจังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564

กิจกรรมที่ทำ

  1. ชี้แจงเป้าหมายการดำเนินงาน “การเข้าร่วมของเกษตรกรในการสร้างแปลงต้นแบบการ ทำเกษตรผสมผสาน วนเกษตร พืชร่วมยาง ในจังหวัดนครศรีธรรมราช”
  2. บรรยายให้ความรู้เรื่องการทำวนเกษตรยางพารา การส่งเสริมการสร้างแปลงต้นแบบพืชร่วมยางในจังหวัดสงขลา และแลกเปลี่ยนการทำวนเกษตรร่วมกัน
  3. ลงพื้นที่ร่วมเรียนรู้แปลงต้นแบบการทำเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา และวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. เจ้าหน้าที่ กยท.นาบอน ร่อนพิบูลย์ และฉวาง ร่วมคัดเลือกพื้นที่/กลุ่มเป้าหมายในการทำพืชร่วมยาง (แบบ 2, 3) ได้เกษตรเป้าหมาย 10 ราย/ 10 แปลง แบบ 3 ได้แก่   1.1) นายปรีชา คงสง (ต.แก้วแสน อ.นาบอน)
      1.2) นายสุมิตร ศรีวิสุทธิ์ (ต.คลองเส อ.ถ้ำพรรณรา)   1.3) นายลิขิต บุตรมิตร (ต.กุแหระ อ.ทุ่งใหญ่)   1.4) นายยงยุทธ์ สุขสวัสดิ์ (ต.ครึง อ.ชะอวด)   1.5) นายอมรศักดิ์ หนูสาย (ต.วังอ่าง อ.ชะอวด)   1.6) นายบุญนพ นาคปาน (นาหมอบุญ อ.จุฬาภรณ์)   1.7) นายสุพจน์ นาคปาน (ต.นาหมอบุญ อ.จุฬาภรณ์)   1.8) นางสมคิด สารสุวรรณ (ต.นาหมอบุญ อ.จุฬาภรณ์)   1.9) นางศิราณี น้อยสำลี (ต.ละอาย อ.ฉวาง)   1.10) นายอุดม ปรีชา (ต.ยางค้อม อ.พิปูน)   1.11) นายสาธร ส้องเจริญ (ต.หลักช้าง อ.ช้างกลาง)
  2. เกษตรกร 10 ราย ได้รับการพัฒนาศักยภาพ โดยนักวิชาการจาก คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับกยท.นครศรีธรรมราช และ กยท.สาขา (นาบอน ร่อนพิบูลย์ ฉวาง)
  3. เกษตรกรต้นแบบ (แบบ 3) ถ่ายทอดองค์ความรู้การทำเกษตรผสมผสานให้แก่เกษตรกร 9 ราย
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

30 0

2. ประชุมปรึกษาหารือวางแผนการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร พืชร่วมยาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่ 21 มิถุนายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมปรึกษาหารือวางแผนการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร พืชร่วมยาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมปรึกษาหารือวางแผนการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร พืชร่วมยาง จังหวัดนครศรีธรรมราช

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

14 0

3. ติดตามการดำเนินงานและถอดบทเรียนเกษตรเป้าหมาย 3 ราย โดย กยท. ฉวาง

วันที่ 4 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานและถอดบทเรียน การทำพืชร่วมยางในเกษตร 3 ราย
  • ทำการเก็บข้อมูล ในเรื่อง ชนิดและจำนวนพืชที่ปลูกร่วมในสวนยาง รายได้ที่ได้จากผลผลิตพืช และขนาดพื้นที่
  • นำข้อมูลที่ได้มาออกแบบแปลงเป็นกราฟฟิกของแต่ละแปลง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่ได้จากการลงติดตามแปลงต้นแบบที่ทำพืชร่วมยางและถอดบทเรียน 1. พื้นที่ต้นแบบจำนวน 3 แปลงได้แก่ 1. นายอุดม ปรีชา 2. นางศิราณี น้อยสำลี และ 3. นายสาธร ส่องเจริญ 2. ได้รูปแบบการทำพืชร่วมยาง 3. ชนิดและประเภทพืชที่ปลูกร่วมในสวนยางพารา และรายได้จากผลผลิตพืช

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

3 0

4. ติดตามการดำเนินงานและถอดบทเรียนเกษตรเป้าหมาย 5 ราย โดย กยท. นาบอน

วันที่ 4 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานและถอดบทเรียน การทำพืชร่วมยางในเกษตร 5 ราย
  • ทำการเก็บข้อมูล ในเรื่อง ชนิดและจำนวนพืชที่ปลูกร่วมในสวนยาง รายได้ที่ได้จากผลผลิตพืชที่ปลูกร่วมในสวนยาง ขนาดพื้นที่/ขนาดแปลง
  • นำข้อมูลที่ได้มาออกแบบแปลงเป็นกราฟฟิกของแต่ละแปลง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่ได้จากการลงติดตามแปลงต้นแบบที่ทำพืชร่วมยางและถอดบทเรียน 1. พื้นที่ต้นแบบจำนวน 5 แปลง ได้แก่ 1. คุณปรีชา คงสง 2. คุณลิขิต บุตรมิตร 3. คุณวิมลรัตน์ มีศรี 4. คุณสุชาติ แก้วบัวทอง และ 5.คุณสุมิตร ศรีวิสุทธิ์ 2. ได้รูปแบบการทำพืชร่วมยาง 3. ชนิดและประเภทพืชที่ปลูกร่วมในสวนยางพารา และรายได้จากผลผลิตพืช

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

5 0

5. ติดตามการดำเนินงานและถอดบทเรียนเกษตรเป้าหมาย 5 ราย โดย กยท. ร่อนพิบูลย์

วันที่ 6 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานและถอดบทเรียน การทำพืชร่วมยางในเกษตร 5 ราย
  • ทำการเก็บข้อมูล ในเรื่อง ชนิดและจำนวนพืชที่ปลูกร่วมในสวนยาง รายได้ที่ได้จากผลผลิตพืช และขนาดพื้นที่/ขนาดแปลง
  • นำข้อมูลที่ได้มาออกแบบแปลงเป็นกราฟฟิกของแต่ละแปลง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่ได้จากการลงติดตามแปลงต้นแบบที่ทำพืชร่วมยางและถอดบทเรียน 1. พื้นที่ต้นแบบจำนวน 5 แปลง ได้แก่ 1. นายยงยุทธ์ สุขสวัสดิ์ 2.นายอมรศักดิ์ หนูสาย 3.นายบุญนพ นาคปาน 4.นายสุพจน์ นาคปาน และ 5.นางสมคิด สารสุวรรณ
2. ได้รูปแบบการทำพืชร่วมยาง 3. ชนิดและประเภทพืชที่ปลูกร่วมในสวนยางพารา และรายได้จากผลผลิตพืช

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

5 0

6. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา

 

24 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อสร้างความร่วมมือกับภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ในการขยายผลเกษตรผสมผสานหรือวนเกษตรในพื้นที่
ตัวชี้วัด : 1. เกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเป้าหมาย ทำพืชร่วมยางเพิ่มขึ้น ร้อยละ 90 2. ครัวเรือนเป้าหมายที่ทำพืชร่วมยางมีผลผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อบริโภคในครัวเรือนร้อยละ 90 3. เศรษฐกิจครัวเรือนเป้าหมายดีขึ้น (รายได้เพิ่มขึ้น/รายจ่ายลดลง) 4. จำนวนเกษตรกรที่ทำเกษตรแบบอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยเพื่อสุขภาพในพื้นที่เป้าหมายเพิ่มขึ้นร้อยละ 90
0.00

 

2 เพื่อติดตาม สนับสนุนและสังเคราะห์ความรู้พร้อมข้อเสนอต่อการทำสวนยางยั่งยืนในพื้นที่
ตัวชี้วัด : เกิดเครือข่ายจาก 4 ภาคส่วน คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคมฯ
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างความร่วมมือกับภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน ภาคเอกชน ในการขยายผลเกษตรผสมผสานหรือวนเกษตรในพื้นที่ (2) เพื่อติดตาม สนับสนุนและสังเคราะห์ความรู้พร้อมข้อเสนอต่อการทำสวนยางยั่งยืนในพื้นที่

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ติดตามสนับสนุนการดำเนินงานโดยทีมวิชาการเชื่อมโยงเครือข่าย  กับเกษตรต้นแบบ และหรือ สถาบันเกษตรที่สังกัด (2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรเพื่อสร้างแปลงต้นแบบการทำเกษตรผสมผสาน วนเกษตร พืชร่วมยาง เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในจังหวัดนครศรีธรรมราช (3) ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเกษตรผสมผสานในสวนยางพารา (4) เวทีเครือข่ายร่วมกับ กยท.จัดทำพัฒนาข้อเสนอแนวทางการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยาง และสร้างความร่วมมือขับเคลื่อนและผลักดันทางนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (5) ประชุมปรึกษาหารือวางแผนการพัฒนาศักยภาพเกษตรกร พืชร่วมยาง จังหวัดนครศรีธรรมราช (6) ติดตามการดำเนินงานและถอดบทเรียนเกษตรเป้าหมาย 5 ราย โดย กยท. นาบอน (7) พัฒนาศักยภาพเกษตรกรสวนยาง 3 รายร่วมกับ กยท. ฉวาง (8) พัฒนาศักยภาพเกษตรกรสวนยาง 5 รายร่วมกับ กยท. ร่อนพิบูลย์

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


พืชร่วมยาง นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายวรวิชญ์ กฐินหอม )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด