การพัฒนาเครือข่ายนักประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพในเขตพื้นที่ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง
ชื่อโครงการ | การพัฒนาเครือข่ายนักประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพในเขตพื้นที่ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง |
ภายใต้โครงการ | แผนงาน สนส. |
ภายใต้องค์กร | สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สนส. ม.อ.) |
รหัสโครงการ | |
วันที่อนุมัติ | 1 พฤศจิกายน 2562 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563 |
งบประมาณ | 3,000,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ดร.เพ็ญ สุขมาก |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | เยาวลักษณ์ ศรีสุกใส |
พื้นที่ดำเนินการ | 4 ภาค |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 พ.ย. 2562 | 29 ก.พ. 2563 | 10.00 | |||
รวมงบประมาณ | 10.00 |
คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (10.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (3,000,000.00 บาท)
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นองค์กรที่มีภารกิจในการที่ริเริ่ม ผลักดัน กระตุ้น สนับสนุน และร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในสังคม ในการขับเคลื่อนกระบวนการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้คนไทยมีสุขภาพดี โดยมีการจัดสรรทุนให้กับภาคีผู้รับทุนในรูปแบบของโครงการต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ประมาณปีละ 2,000–3,000 โครงการ ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า พันธกิจของ สสส. จะสำเร็จได้ต้องอาศัยผลงานของโครงการทั้งหมดที่ภาคีดำเนินการ ดังนั้น การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการจึงมีความสำคัญอย่างสูง เพราะข้อมูลที่ได้จากการติดตามประเมินผลที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือจะสามารถใช้แสดงต่อสาธารณชนถึงความสำเร็จ ความรับผิดชอบ ตลอดจนความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจและการใช้จ่ายงบประมาณในการสนับสนุนแผนงาน/โครงการต่าง ๆ อีกทั้ง ข้อมูลที่น่าเชื่อถือเท่านั้นที่จะสามารถใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นและการนำไปขยายผลต่อไปได้
ฝ่ายติดตามและประเมินผลซึ่งมีหน้าที่สนับสนุนการพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลของสำนักงาน จึงจัดให้มีโครงการพัฒนาเครือข่ายนักประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการติดตามและประเมินผลโครงการในระดับพื้นที่ เช่น ระดับภาค หรือ ระดับเขตสุขภาพ โดยการพัฒนาทักษะและเพิ่มขีดความสามารถของนักประเมินในด้านการติดตามและประเมินผลโครงการของ สสส. ให้ตระหนักและเข้าใจวิธีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของโครงการ ทั้งในระดับผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ เพื่อทำให้โครงการเหล่านั้นสามารถบรรลุผลสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตลอดจนพัฒนาทักษะในการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกิดจากแผนงาน/โครงการ เพื่อให้เกิดเป็นข้อมูล/องค์ความรู้/ข้อเสนอแนะที่สามารถนำมาแลกเปลี่ยน/ขยายผลกับนักประเมินผลในภาคอื่น ๆ ต่อไปได้
ในปี 2561–2562 ฝ่ายติดตามและประเมินผล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ร่วมมือกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (สจรส.ม.อ.) ดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพนักติดตามและประเมินผลพื้นที่ภาคใต้และภาคเหนือ ระยะแรก มีผู้ผ่านการอบรม จำนวน 59 คน แยกเป็นภาคเหนือ 30 คน และภาคใต้ 29 คน
ทั้งนี้โครงการนี้ได้เสริมศักยภาพภาคีเครือข่ายในการกำกับ ติดตามและประเมินผลโครงการสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อภาคีเครือข่ายผ่านกระบวนการเพิ่มศักยภาพทำให้ 1. ได้นักติดตามและประเมินผลที่มีความสามารถ/สมรรถนะ (Competency) ออกแบบการติดตามประเมินผลโครงการและแผนงานสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้งการติดตามและประเมินผลในระดับโครงการ (Project level) รวมถึงมีศักยภาพ (Potential) ในการติดตามและประเมินผลในระดับแผนงาน (Program level) สำหรับงานสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. 2. มีทักษะในการทำงานการติดตามประเมินผลโครงการและแผนงานสร้างเสริมสุขภาพ 3. นักติดตามประเมินผลสามารถเป็นที่ปรึกษาและเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้รับผิดชอบโครงการในพื้นที่ได้สามารถติดตามประเมินผลโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. สามารถสร้างทีมนักการติดตามประเมินผลในพื้นที่ และสามารถจัดการพัฒนาศักยภาพเรื่องการติดตามประเมินผลให้กับเครือข่ายในพื้นที่ 5.สามารถใช้ระบบฐานข้อมูลการติดตามประเมินผลออนไลน์
กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์ ได้นำหลักการและแนวคิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความสามารถ/สมรรถนะ (Competency) ในการติดตามและประเมินผลในระดับโครงการ (Project level) และศักยภาพ (Potential) ในการติดตามและประเมินผลในระดับแผนงาน (Program level) นำมาออกแบบหลักสูตร โดยมีหลักการและแนวคิด ดังนี้
- หลักการสร้างเสริมสุขภาพในระบบสุขภาพ
- การติดตามประเมินผลเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจ (Empowerment Evaluation)
- การติดตามประเมินผลใช้แนวคิดการประเมินผลโมเดลซิปในการประเมินของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam’s CIPP Model)
- แนวคิด Balanced Scorecard (BSC)
- การประเมินแบบแผนที่ผลลัพธ์ (Outcome Mapping) 6) การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสร้างหลักสูตรที่มีมาตรฐานในการพัฒนาสมรรถนะนักติดตามและประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ หลักสูตรระดับ 2 สำหรับพัฒนาผู้ผ่านการอบรมระยะที่ 1 ในพื้นที่ภาคใต้ ภาคเหนือ และหลักสูตรระดับ 1 สำหรับผู้เรียนใหม่ที่ขยายในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
|
0.00 | |
2 | เพื่อพัฒนาเครือข่ายนักติดตามและประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพที่มีความสามารถ /สมรรถนะ(Competency) ในการติดตามและประเมินผลในระดับโครงการ (Project level) ให้มีความเป็นมาตรฐานในระดับเดียวกัน รวมถึงมีศักยภาพ (Potential) ในการติดตามและประเมินผลในระดับแผนงาน (Program level) โดยการยกระดับนักประเมินในภาคใต้ ภาคเหนือ และขยายพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง รวมทั้งสิ้น ปีละ 70 คน
|
70.00 | |
3 | เพื่อสร้างฐานข้อมูลเครือข่ายนักติดตามและประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพในเขตพื้นที่ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
|
0.00 |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
1 ประชุมคณะกรรรมการ/ทีมทำงาน (กลุ่มกิจกรรมหลัก) | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 10 | 3,000.00 | 2 | 0.00 | |
7 - 8 ธ.ค. 62 | ประชุมคณะทำงานหลักสูตร พัฒนาเครือข่ายนักประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ ครั้งที่ 1 | 10 | 1,000.00 | ✔ | 0.00 | |
9 ม.ค. 63 | ประชุมคณะทำงานหลักสูตร พัฒนาเครือข่ายนักประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่ ครั้งที่ 2 | 0 | 1,000.00 | ✔ | 0.00 | |
11 - 12 ก.พ. 63 | ประชุมรับฟังความเห็นหลักสูตรนักประเมิน | 0 | 1,000.00 | - | ||
2 ประชุมเชิงปฏิบัติการ (กลุ่มกิจกรรมหลัก) | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 20 | 2,000.00 | 0 | 0.00 | |
23 - 25 ก.พ. 63 | ประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาเครือข่ายนักติดตามประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพในเขตพื้นที่ภาคใต้ ครั้งที่ 1 | 20 | 1,000.00 | - | ||
29 ก.พ. 63 - 2 มี.ค. 63 | ประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาเครือข่ายนักติดตามประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพในเขตพื้นที่ภาคกลาง ครั้งที่ 1 | 0 | 0.00 | - | ||
8 ธ.ค. 63 | ประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาเครือข่ายนักติดตามประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพในเขตพื้นที่ภาคใต้ ครั้งที่ 2 | 0 | 1,000.00 | - | ||
3 ติดตามงาน/ลงพื้นที่ (กลุ่มกิจกรรมหลัก) | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 10 | 1,000.00 | 0 | 0.00 | |
8 มี.ค. 63 | ติดตามความก้าวหน้านักประเมินภาคใต้ | 10 | 1,000.00 | - | ||
ประเด็น ขอบเขตการปฏิบัติงาน หรือรูปแบบงาน หรือลักษณะงาน
1) สำรวจ จัดทำฐานข้อมูลอิเลคโทรนิค และการคัดเลือกนักติดตามและประเมินผลในเขตพื้นที่ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง
1.1) การจัดทำฐานข้อมูลจะพัฒนาปรับปรุงระบบเว็บไซต์ http://mehealthpromotion.com เป็นระบบสารสนเทศข้อมูลสมาชิกและจัดการองค์ความรู้ของเครือข่าย ระบบข้อมูลและระบบสนับสนุนการทำงานของเครือข่าย นอกจากนี้ยังใช้เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ข่าวสาร ซึ่งกันและกันอย่างต่อเนื่อง เน้นการสื่อสารสองทาง (Two Way Communication) และสร้างการมีส่วนร่วม นอกจากนี้ยังเป็นฐานข้อมูลสำหรับหน่วยงานอื่น ๆ ที่จะสามารถติดต่อกับเครือข่ายนักติดตามประเมินผล เพื่อสร้างความร่วมมือในการติดตามประเมินผลโครงการอื่น ๆ ในพื้นที่
1.2) การคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ ดังนี้
• ภาคใต้ คัดเลือกจากผู้เข้าร่วมการอบรมระยะที่ 1 จำนวน 15 คน
• ภาคเหนือ คัดเลือกจากผู้เข้าร่วมการอบรมระยะที่ 1 จำนวน 15 คน
• ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขยายพื้นที่และมีผู้เข้ารับการอบรมใหม่ จำนวน 20 คน
• ภาคกลาง ซึ่งขยายพื้นที่และมีผู้เข้ารับการอบรมใหม่ จำนวน 20 คน
นักติดตามและประเมินผลที่เข้าร่วมโครงการ ควรมีคุณสมบัติ ได้แก่
ภาคใต้ และภาคเหนือ ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) มีความรู้ความเข้าใจและมีประสบการณ์ในการติดตามและประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพของ สสส. และผ่านการอบรมระยะที่ 1
(2) ระหว่างเข้าร่วมโครงการ ต้องไม่เป็นผู้รับทุนในการประเมินโครงการของ สสส. เพื่อลดความทับซ้อนของการรับเงินสนับสนุน
(3) มีความเต็มใจ (Willingness) และมีศักยภาพ (Potential) ที่จะได้รับการพัฒนาทักษะการติดตามและประเมินผลให้กลายเป็นนักติดตามและประเมินผลที่มีความสามารถ/สมรรถนะ (Competency) ในการติดตามและประเมินผลในระดับโครงการ (Project level) รวมถึงมีศักยภาพ (Potential) ในการติดตามและประเมินผลในระดับแผนงาน (Program level) สำหรับงานสร้างเสริมสุขภาพของ สสส.
วิธีการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ (ภาคใต้ และภาคเหนือ) คัดเลือกจากนักประเมินที่เข้าร่วมในการอบรมระยะที่ 1 กรณีภาคใต้โดยพิจารณาจากความตั้งใจและผลการประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมายในระยะที่ 1 และคัดเลือกเพิ่มเติมจากภาคีเครือข่ายวิชาการ ภาครัฐ จากฐานข้อมูลเครือข่ายในพื้นที่ โดย สจรส.จะเป็นผู้ทาบทามเข้าร่วมอบรม สำหรับภาคเหนือ สจรส.จะมอบหมายให้ทางทีมวิทยากรของภาคเหนือเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติข้างต้น โดยให้คัดเลือกจากผู้ที่ผ่านการอบรมในระยะที่ 1
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
(1) มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นในงานสร้างเสริมสุขภาพของ สสส.
(2) ระหว่างเข้าร่วมโครงการ ต้องไม่เป็นผู้รับทุนในการประเมินโครงการของ สสส. เพื่อลดความทับซ้อนของการรับเงินสนับสนุน
(3) มีความเต็มใจ (Willingness) และมีศักยภาพ (Potential) ที่จะได้รับการพัฒนาทักษะการติดตามและประเมินผลให้กลายเป็นนักติดตามและประเมินผลที่มีความสามารถ/สมรรถนะ (Competency) ในการติดตามและประเมินผลในระดับโครงการ (Project level) รวมถึงมีศักยภาพ (Potential) ในการติดตามและประเมินผลในระดับแผนงาน (Program level) สำหรับงานสร้างเสริมสุขภาพของ สสส.
สำหรับการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง) จะมอบหมายให้ทีมวิทยากรของพื้นที่เป็นผู้ทาบทาม/ประกาศรับสมัครผู้สนใจทัวไป โดยมีกระบวนการคัดเลือกผู้ที่ถูกทาบทาม/ผู้สนใจทั่วไป โดยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพ และแลกเปลี่ยนผลงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ จากนั้นพิจารณาคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวเข้าร่วมพัฒนาศักยภาพต่อไป
2) ทบทวนองค์ความรู้ด้านการติดตามและประเมินผล เช่น แนวคิด ทฤษฎี การกำหนดประเด็นการประเมิน เกณฑ์การประเมิน การประเมินผลลัพธ์ต่อสุขภาพ (Health outcome/impact) จริยธรรมของนักประเมินผล กรอบแนวคิดและขอบเขต การพัฒนาเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำรายงานผลการประเมิน ฯ
3) การประชุมปฏิบัติการ เพื่อเตรียมความพร้อมของทีมวิทยากร ในการดำเนินงานระยะที่ 2 จะมีการเตรียมความพร้อมของทีมวิทยากร ทั้ง 4 ภาคและมีการพัฒนาตัวเนื้อหาหลักการออกแบบรูปแบบกระบวนการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับกรอบแนวคิดหลักที่ใช้ในการประเมิน ซึ่งในการประเมินครั้งนี้จะใช้กรอบแนวคิดการประเมินผลกระทบทางสุขภาพเป็นเนื้อหาหลัก แต่อย่างไรก็ตามยังมีการเติมเนื้อหาหลักการแนวคิดการประเมินแบบอื่น ๆ ด้วย
4) จัดทำหลักสูตรหลักการติดตาม สนับสนุนและประเมินผลโครงการ โดยมีสาระสำคัญในเรื่องการเขียนกรอบแนวคิดเชิงระบบเพื่อการติดตามและประเมินผลโครงการ การรวบรวมข้อมูลโดยเครื่องมือทั้งแบบมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างเพื่อการติดตามและประเมินผลการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ผลการติดตามและประเมินผลโครงการ การประเมินคุณค่าของโครงการ การจัดทำรายงานผลการประเมิน
4.1 การทดลองหลักสูตร หลักสูตรที่ใช้ในการอบรมครั้งนี้ เป็นหลักสูตรที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยนำประสบการณ์และบทเรียนจากการดำเนินงานในระยะที่ 1 มาปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบ กระบวนการเรียนรู้ และบริบทของงานที่จะประเมิน แต่ทั้งนี้ในขั้นตอนการออกแบบหลักสูตรจะเชิญผู้ทรงคุณวุฒิของ สสส. และฝ่ายติดตามและประเมินผล มาร่วมวิพากษ์ ให้ความเห็น และอาจปรับหลักสูตรบางเรื่องที่ส่วนกลางได้ดำเนินการแล้วมาใช้ด้วย และมีการวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จในการนำหลักสูตรไปปรับใช้ในการทำงานระดับพื้นที่ โดยวัดระดับหน่วยวิเคราะห์ (Unit of Analysis) เป็นบุคคล กลุ่ม พื้นที่ องค์กร หน่วยงาน โดยวัดผลกระบวนการเรียนรู้ และการเปลี่ยนแปลงในการนำบทเรียนไปปรับใช้
4.2 การประเมินหลักสูตร ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ทาง สจรส.ม.อ ร่วมกับทีมวิทยากรทั้ง 4 ภาค จะประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดการประเมินผลทางสุขภาพประเมินโครงการภาพรวม
4.3 การทดสอบความถูกต้องและความใช้ได้ของหลักสูตร เมื่อได้หลักสูตรจากขั้นตอนข้างต้นแล้ว นำหลักสูตรดังกล่าวส่งให้ทางผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาให้ข้อเสนอแนะปรับปรุง และทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 30 คน ได้ทดลองเรียนและให้ข้อเสนอแนะปรับปรุงแก้ไข จนได้หลักสูตรที่สมบูรณ์พร้อมนำไปใช้ต่อไป
5) การจัดทำคู่มือและเครื่องมือเพื่อใช้ในการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักติดตามและประเมินผลงาน
6) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักติดตามและประเมินผล และประเมินแบบความพึงพอใจ ความรู้ความเข้าใจและทักษะ (ก่อนเรียนหลักสูตร) ได้แก่ เครือข่ายนักประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพในเขตพื้นที่ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ครั้งที่ 1 จำนวน 70 คน
7) การฝึกปฏิบัติการภาคสนาม โดยผู้เข้าร่วมอบรมลงพื้นที่ติดตาม และประเมินผลโครงการของ สสส. ในพื้นที่ของตนเองภาคละ 3 โครงการ (รวม 4 ภาค ทั้งหมด 12 โครงการ)
8) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักติดตามและประเมินผล ได้แก่ เครือข่ายนักประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพในเขตพื้นที่ภาคใต้ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ครั้งที่ 2 เพื่อเป็นการสรุปบทเรียน ทบทวน และต่อยอด จำนวนรวมประมาณ 70 คน
9) การติดตามความก้าวหน้า (Follow up) และประเมินผลการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายนักติดตามและประเมินผล โดยดูจากบทบาทและกิจกรรมของผู้เข้าร่วมโครงการที่เกี่ยวข้องกับการติดตามและประเมินผล
10) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการประเมินผลโครงการพัฒนาศักยภาพนักประเมิน โดยประยุกต์ใช้กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ
9.1) การประชุมเพื่อกลั่นกรองและกำหนดของเขตการประเมิน
9.2) การประชุมเพื่อทบทวนร่างรายงานการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยสาธารณะ
11) ประชุมเชิงปฏิบัติการถอดบทเรียนการพัฒนาศักยภาพนักประเมิน ระยะที่ 2 และประเมินแบบความพึงพอใจ ความรู้ความเข้าใจและทักษะ (หลังเรียนหลักสูตร) /ประเมินผลวิเคราะห์เชิงคุณภาพ /และวิเคราะห์ช่องว่างสาเหตุ ปัจจัยอุปสรรค ปัจจัยเอื้อหนุนต่อความสำเร็จ จากรุ่น 1 และ 2 เพื่อนำมาปรับใช้ในรุ่นต่อไป
12) จัดทำรายงานสรุปผลการพัฒนาเครือข่ายนักประเมินผลงานสร้างเสริมสุขภาพ
- ได้นักติดตามและประเมินผลที่มีความสามารถ/สมรรถนะ (Competency) ออกแบบการติดตามประเมินผลโครงการและแผนงานสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้งการติดตามและประเมินผลในระดับโครงการ (Project level) รวมถึงมีศักยภาพ (Potential) ในการติดตามและประเมินผลในระดับแผนงาน (Program level) สำหรับงานสร้างเสริมสุขภาพของ สสส.
- มีทักษะในการทำงานการติดตามประเมินผลโครงการและแผนงานสร้างเสริมสุขภาพ
- นักติดตามประเมินผลสามารถเป็นที่ปรึกษาและเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้รับผิดชอบโครงการในพื้นที่ได้สามารถติดตามประเมินผลโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถสร้างทีมนักติดตามประเมินผลในพื้นที่ และสามารถจัดการพัฒนาศักยภาพเรื่องการติดตามประเมินผลให้กับเครือข่ายในพื้นที่
- สามารถใช้ระบบฐานข้อมูลการติดตามประเมินผลออนไลน์
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2562 14:16 น.