สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

ประชุมหารือเรื่องการทำแผนและโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่สุขภาวะภูเก็ตเมืองต้นแบบเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย

by Yuttipong Kaewtong @21 เม.ย. 66 12:45 ( IP : 10...202 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์ PA-Phuket
  • photo  , 1000x750 pixel , 112,890 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 148,103 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 115,836 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 117,393 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 120,865 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 108,662 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 120,531 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 136,592 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 149,765 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 117,836 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 133,055 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 70,062 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 82,759 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 76,676 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 83,351 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 127,994 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 124,116 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 89,857 bytes.

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมเก็ตโฮ่ ชั้น 5 อาคาร 7 (อาคารสำนักงานอธิการบดี) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต คณะทำงานได้จัดประชุมหารือเรื่องการทำแผนและโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่สุขภาวะภูเก็ตเมืองต้นแบบเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย โดยมี วัตถุประสงค์ 1. เพื่อประสานความร่วมมือกับเครือข่ายและกลไกทางสังคมในการขับเคลื่อนเมืองภูเก็ตสู่เมืองต้นแบบในการส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย 2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการทำแผนและโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเมืองต้นแบบเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกาย

ซึ่งมีคณะผู้เข้าร่วม จำนวน 52 คน ประกอบด้วย
1) คณะผู้บริหารเทศบาลนครภูเก็ต และกองการแพทย์
2) คณะผู้บริหารเทศบาลเมืองป่าตอง และผู้อำนวยการกองฯ 3) คณะผู้บริหารเทศบาลเมืองกะทู้ และผู้อำนวยการกองฯ 4) ภาคประชาสังคมพื้นที่ย่านเมืองเก่า 5) ภาคประชาสังคมพื้นที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
6) ภาคประชาสังคมพื้นที่หาดป่าตอง
7) กลไกสมัชชาสุขภาพจังหวัดภูเก็ต
8 ) อาสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 9) คณะทำงานโครงการ ศูนย์บริการวิชาการ ม.อ.ภูเก็ต, สนส.ม.อ., HSF จุฬาฯ

ที่ประชุมได้สรุปการหารือแนวทางร่วมกัน ดังนี้ กิจกรรมเพื่อการขับเคลื่อน PA "คน Active เมือง Active เพื่อการพัฒนาเมือง" 1. การสำรวจสถานการณ์ PA เพียงพอในกลุ่ม เด็ก/วัยทำงาน/ผู้สูงอายุ     ความต้องการในการเพิ่ม PA ของแต่ละกลุ่ม
1) การสัญจร เดิน/จักรยาน 2) การเรียน / การทำงาน 3) นัทนาการ/ออกกำลังกาย/กีฬา
2. การทำแผนเพิ่ม PA ของกองทุนสุขภาพท้องถิ่น/งบประมาณของท้องถิ่น 3. การพัฒนา/เขียนโครงการ เพื่อขอการสนับสนุนจากท้องถิ่น โดยเป็นโครงการของชุมชน/หน่วยงาน/ท้องถิ่น "สอดคล้องกับสถาปัตย์เมือง" 1) การสัญจร เดิน/จักรยาน 2) การเรียน / การทำงาน 3) นัทนาการ/ออกกำลังกาย/กีฬา
4. การดำเนินงานตามโครงการ
5. การสรุป/ประเมินผลสถานการณ์ PA ในชุมชน