สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

HIA-FORUM-HOME

ความเป็นมา

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) สนับสนุนให้ภาคีเครือข่าย จัดประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 ครั้ง เพื่อเป็นเวทีในการถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรม เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ HIA เพื่อประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในประเด็นต่างๆ ที่หลากหลาย ทันสมัย และเกิดประโยชน์ต่อพื้นที่ รวมทั้งสร้างแรงจูงใจ การยกย่องเชิดชูเกียรติผลงานที่เข้าร่วม ตลอดจนเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิชาการอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสนับสนุนให้บุคคลทั่วไปในการผลิต เผยแพร่ นำเสนอ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์การทำงาน งานวิจัยด้านการประเมินผลกระทบของประเทศไทย
  2. เพื่อพัฒนาศักยภาพ บุคลากร ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาองค์ความรู้ งานวิจัย ด้านการประเมินผลกระทบๆ
  3. เพื่อพัฒนาชุดความรู้สู่การยกระดับความร่วมมือในการขับเคลื่อนงาน HIA ตามประเด็นจุดเน้นของแต่ละเครือข่ายด้านการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Node HIA) ของประเทศไทย

หัวข้อการประชุม

import_contacts การประเมินผลกระทบ (Impact Assessment: IA)
  • การประเมินสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA)
  • การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Environmental Health Impact Assessment: EHIA)
  • การประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA)
  • การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ (Health Impact Assessment: HIA)
  • การประเมินผลกระทบอื่น ๆ
import_contacts วิทยาศาสตร์สุขภาพ การแพทย์ การพยาบาล และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ
import_contacts สาธารณสุข อนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
import_contacts วิทยาศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์ศึกษา
  • วิทยาศาสตร์กายภาพ
  • วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
  • วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  • วิทยาศาสตร์การเกษตร
  • วิทยาศาสตร์การกีฬา
import_contacts สังคมศาสตร์
  • สังคมศึกษา
  • พัฒนาสังคม พัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
  • การท่องเที่ยวและนันทนาการ
  • ประชากรศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • การออกกำลังกาย การมีกิจกรรมทางกาย
import_contacts สาขาอื่นๆ
  • รัฐศาสตร์
  • รัฐประศาสนศาสตร์
  • การบริหารจัดการ
*หมายเหตุ: การนำเสนอผลงานวิชาการของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิต สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการขอสำเร็จการศึกษาได้

กำหนดการ

event24 มีนาคม 2566 เป็นต้นไป
เปิดรับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม
eventขยายเวลาถึง 15 กรกฎาคม 2566 ขยายเวลาถึง 31 กรกฎาคม 2566
เปิดรับบทคัดย่อ/บทความวิจัย
eventขยายเวลาถึง 15 กรกฎาคม 2566 ขยายเวลาถึง 31 กรกฎาคม 2566
วันสุดท้ายของการลงทะเบียนนำเสนอผลงาน
*วันสุดท้ายของการชำระเงินลงทะเบียน
eventขยายเวลาถึง 25 กรกฎาคม 2566 ขยายเวลาถึง 6 สิงหาคม 2566
แจ้งผลการพิจารณาบทความของผู้ทรงคุณวุฒิ
event25 กรกฎาคม 2566 ขยายเวลาถึง 6 สิงหาคม 2566
วันสุดท้ายของการส่งบทคัดย่อ/บทความฉบับแก้ไข
event9 - 10 สิงหาคม 2566
วันประชุมวิชาการ
event5 กันยายน 2566
E-proceedings

เกี่ยวกับสถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ.


สถาบันนโยบายสาธารณะ(สนส.) มีบทบาทสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน มีศักยภาพในการสร้างชุดความรู้ เกิดกลไกการจัดการเชิงระบบ และการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ โดยใช้บริบทพื้นที่เป็นตัวตั้ง ทั้งนี้เพื่อให้สังคมมีการใช้ความรู้ในการแก้ปัญหา สร้างนวัตกรรมเชิงระบบ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตอบสนองยุทธศาสตร์ของประเทศ

เกี่ยวกับสถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ.

สถาบันนโยบายสาธารณะ(สนส.) มีบทบาทสนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน มีศักยภาพในการสร้างชุดความรู้ เกิดกลไกการจัดการเชิงระบบ และการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ โดยใช้บริบทพื้นที่เป็นตัวตั้ง ทั้งนี้เพื่อให้สังคมมีการใช้ความรู้ในการแก้ปัญหา สร้างนวัตกรรมเชิงระบบ ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตอบสนองยุทธศาสตร์ของประเทศ