สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

sulaiman เมื่อ 7 พ.ค. 2567
หารือการขยับพื้นที่ทำงานกับทีมพี่เลี้ยงโครงการเดิม พื้นที่นำร่อง 4 อำเภอ 3 จังหวัด
ผลลัพท์: สรุปสาระสำคัญผลการดำเนินงาน (รายงานทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ)ประชุมทีมพี่เลี้ยงโครงการเดิมของเฟสที่ 1 มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 14 คน โดยมีประเด็นพูดคุยดังนี้

- สรุปการประชุมการกำทิศ วันนที่ 29 ตุลาคม 2564

- แผนการดำเนินงานของโครงการในระยะที่ 2

- การขยับการทำงานของพื้นที่นำร่อง 4 อำเภอ เดิม

- การดำเนินงานของทีมสื่อ

รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม

1. ดร.ซอฟียะห์ นิมะ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2. นางสาวฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

3. นายสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

4. นายอิลฟาน ตอแลมา สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข

5. วรรณาพร บัวสุวรรณ โรงพยาบาลยะหริ่ง

6. นางสาวฝาตีเม๊าะ เจ๊ะอุบง สมาคมศิษเก่าบัณฑิตอาสา ม.อ.

7. ธีรพจน์ บัวสุวรรณ โรงพยาบาลยะหริ่ง

8. นายสมมาตร์ ปิยายีไทย สสอ.รามัน

9. นายอิสมาแอล สิเดะ สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

10. นางสาวซูไฮลา แวแยนา สสอ.เมืองปัตตานี

11. นางสาวมีรา แมดิงแว สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบาเจาะ

12. อุษา เบ็ญจลักษณ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองปัตตานี

13. นายมะยูนัน มามะ ภาคสนามโครงการ

14. นางฐนัชตา นันทดุสิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เริ่มประชุมเวลา 9.45 น. อาจารย์ซอฟียะห์ แนะนำโครงการเฟซที่ 2 พูดคุยประเด็นพี่เลี้ยงโครงการ จำนวน 5 ตำบล 4 อำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งโครงการการแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจะขยับในเฟสที่ 2 จะขยายพื้นที่เป็น 19 อำเภอ 20 ตำบล โดยทีมพี่เลี้ยงชุดเดิมเป็นทีมที่มีความสำคัญต่อการกำหนดยุทธศาสตร์การทำงาน โดยกลไก พชอ.นอกจากนายอำเภอ และสาธารณสุขอำเภอแล้ว ทีมพี่เลี้ยงจะมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยในการชงเรื่อง การเอาโมดูลไปขยายต่อกับพื้นที่และสามารถทำแผนการทำโครงการกับพื้นที่ จนออกแผนโครงการมา เพื่อไปต่อยอดในการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยที่ผ่านมาได้เห็นชัดของ อำเภอยะหริ่ง ตำบลตาแกะ สามารถของบประมาณสนับสนุนได้

สรุปการประชุมการกำทิศ วันนที่ 29 ตุลาคม 2564

ในทีมจะมีผู้รับผิดชอบโครงการประกอบด้วย ทีมประสานงานในพื้น ทีมออฟฟิศ ทีมภาคสนาม และก็มีทีมพี่เลี้ยงจาก 4 อำเภอ 5 ตำบล ก็จะขาดในส่วนของพชต.และพชอ.ด้วย มีทีมวัยรุ่นเข้ามาที่จะให้ความเห็นว่าการขับเคลื่อนในเฟสที่ 2 เรื่องของการตั้งครรภ์วัยรุ่นจังหวัดชายแดนใต้จะมีทิศทางอย่างไร ได้ข้อสรุปมากมายจากทีมวิชาการที่ต้องการ ที่ต้องการทราบผลกระทบค่อนข้างเยอะ โดยต้องอาศัยทีมในครั้งนี้ว่าจะมีการออกแบบต่ออย่างไร แต่ละทีมที่ได้มาเสนอค่อนข้างพูดชัดต่อประเด็นของตนเอง และได้มีการสรุปสไลด์ เพื่อให้คณะกรรมการกำกับทิศได้เห็นว่าเฟสที่1 ได้ทำอะไรไปแล้วบ้าง สรุปแล้วเฟสที่ 1 ได้พัฒนาเรื่องของโมดูล ใน 5 หน่วยการเรียนรู้หลัก เฟสที่ 2 จะมีการปรับเปลี่ยนโมดูลใหม่ เพราะของเดิมเนื้อหาค่อนข้างเยอะ เฟสเดิมจะเน้นใน 5 โมดูล คือ เน้นความรู้ เน้นให้พชอ.ทำงานเป็นทีม ฝึกในการทำแผนโครงการ และเน้นการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ ในการประเมินติดตามผลที่ผ่านมาจะอาศัยทีมพี่เลี้ยง แต่ในเฟสนี้จะเพิ่มทีมประเมินจะให้ประเมินแบบ DE เพื่อใช้ในการประเมินเชิงพัฒนาเพื่อให้ผู้รับการประเมินไม่รู้สึกเครียด และโมดูลสุดท้ายเป็นโมดูลของทักษะการปฏิบัติการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับพื้นที่ ที่ผ่านมาได้ลงพื้นที่ไปทั้งหมด 40 ครั้ง จำนวน 4 พื้นที่ พื้นที่ละ 10 ครั้ง ส่วนอำเภอที่ดำเนินงานจะเป็นอำเภอเมืองปัตตานีจะใช้พื้นที่ของตำบลรูสะมิแล อำเภอยะหริ่งจะใช้ตำบลบางปูและตำบลตาแกะ อำเภอรามัน จะใช้ตำบลโกตาบารู อำเภอบาเจาะ จะเป็นตำบลบาเระใต้
ตัวอย่างของการดำเนินการในพื้นที่

มีหน่วยลาดตระเวนเฝ้าระวังของหน่วยชรบ.ของโกตาบารูที่เป็นพื้นที่เด็กแว๊น ตำบลตาแกะจะเป็นพื้นที่ให้คำปรึกษาเชิงรุก โดยจะปกปิดข้อมูลเป็นความลับ อิหม่ามจะมีการดูแลวัยรุ่นโดยตั้งอนุกรรมการอิหม่ามน้อย ทำหน้าที่ดูแลเรื่องศาสนา เรื่องการฝึกกีฬา เด็กผู้หญิงจะดูแลผู้ป่วยติดเตียง ตำบลบางปูจะเป็นการฝึกอาชีพ ศาสนา การท่องเที่ยวชุมชนดำเนินการด้วยเด็กและเยาวชนเอง ตำบลบาเระใต้จะเป็นการร่วมมือกันในตำบลโดยการทำนิกะห์ไกด์ไลน์และต่อยอดโครงการเด็กคลอดออกมาแล้วมีภาวะพิการ
พื้นที่ที่มีการการบรรจุเป็นประเด็นของพชอ.ในปี 64
มีอำเภอเมืองปัตตานี อำเภอรามัน และอำเภอบาเจาะที่ได้รับการบรรจุ ยกเว้นของอำเภอยะหริ่งได้รับบรรจุเป็นของแผนพชต.
ข้อเสนอแนะจาก สสส.และผู้ทรงคุณวุฒิ
เฟสนี้ทางสสส.และผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณาและให้ความคิดเห็นว่าใช้งานง่าย ถ้าอยู่ในส่วนพชอ.ก็จะนึกแผนนึกโครงการออก และถ้าอยู่ในวัยรุ่นก็จะเป็นข้อมูลของอนามัยเจริญพันธ์ ควรจะเข้าถึงข้อมูล แหล่งบริการที่ไหน เพื่อที่จะเข้าถึงได้จะต้องตอบโจทย์ทั้ง 2 โจทย์ โจทย์แรกคือผู้ใช้โมดูล คือ พชอ.หรือ พชต. โจทย์ที่ 2 คือทีมวัยรุ่นในพื้นที่ เพราะที่ผ่านมาได้สะท้อนให้เห็นว่าเขายังนึกภาพไม่ออก เพราะเฟสแรกเป็นการทดลองโมดูล ดูความเป็นไปได้ของโมดูล พอเฟสที่2 ได้ทำจริงจังมากขึ้น เฟสนี้สสส.ได้เสนอให้จัดทำในพื้นที่ 19 อำเภอ โดยเฟสหน้าจะให้ครอบคลุมทั้ง 33 อำเภอ ในเฟสนี้ถ้าพัฒนาโมดูลมาแล้วทั้งพื้นที่เก่า และใหม่จะต้องมาเรียนรู้โมดูลทำหน้าที่อะไรบ้าง ใช้ต่ออย่างไร จะเสริมความเข้มแข็งของพื้นที่ คือ แฟสที่แล้วจุดแข็งคือ ทีมพี่เลี้ยงเป็นปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน สสส.เลยให้มีงบต่อในเฟสนี้เพื่ออบรมทีมพี่เลี้ยงและทีมประเมินที่ยังไม่เคยสร้างในเฟสแรก โดยมีทีมประเมินขึ้นมาในระดับตำบล อาจจะต้องคัดทีมพี่เลี้ยงในพื้นที่มาเป็นทีมประเมินเพื่อที่จะยึดโยงในพื้นที่ต่อไป

แผนการดำเนินเนินงาน

- ทีมวิชาการจะมีการพัฒนาคู่มือออกมา 2 เล่ม สำหรับพี่เลี้ยงและทีมประเมิน สุดท้ายแล้วที่ต้องการคือ Road map จังหวัดและมีแผนงานโครงการพื้นที่ คือในระดับ พชต. และพชอ.และมาทำในส่วนของ MOU มาขับเคลื่อน โดยที่ MOU จะเป็นการเริ่มต้นการขับเคลื่อนในเฟสหน้า สุดท้ายโครงการในเฟสนี้จะมาเล่า แค่ 4-5 ประเด็น เพื่อไปปรับโมดูลที่ทำไว้ หรือไปพัฒนาใหม่โดยไปคุยกันในพื้นที่และก็ค่อยมานำเสนอในเวทีการประชุมความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิอีกครั้ง และมีการจัด Workshop ปรับพื้นที่ทั้งพื้นที่เก่า และพื้นที่ใหม่ให้กับทีมพี่เลี้ยงและทีมประเมิน

- Fieldwork จะเชิญทีมภาคสนามมาเพื่อทำความรู้จักกับทีมเก่าก่อน ให้ทีมพี่เลี้ยงเก่าเล่าว่า ทำอะไร อย่างไร ในส่วนของการประเมินโมดูลที่เราพัฒนาแก้ไขอยู่ในเกณฑ์ดีไหม ประสิทธิผลเป็นอย่างไร ประเมินพี่เลี้ยง ประเมินทีมประเมิน ภาพรวมของจังหวัดจะเป็นการขับเคลื่อนพื้นที่เชิงนโยบายว่าแต่ละพื้นที่ แต่ละจังหวัดจะขับเคลื่อนประเด็นการตั้งครรภ์อย่างไรภายใต้สถานการณ์โควิด

- ก่อนที่จะปิดโครงการจะมีการเชิญทั้ง 19 อำเภอมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่าการดำเนินงานมีลักษณะอย่างไร จุดที่ควรเรียนรู้ จุดที่ควรระวัง จุดที่จะไปต่อยอดกับพื้นที่ เฟสนี้ระยะเวลา 18 เดือน สิ้นสุดเดือนเมษายน ปี 66 มีการถอดบทเรียนและสื่อสาธารณะ

การขยับพื้นที่ของแต่ละพื้นที่

พชอ.เมืองปัตตานี: การดำเนินโครงการได้หยุดไปพักนึง จากสถานการณ์โควิด แต่ในระดับพื้นที่ได้ติดตามและได้ฟังจากไซนัปเพราะว่าไซนัปได้เอาโครงการไปนำเสนอในงานวิชาการซึ่งรับรางวัล และได้นำเสนอระดับเขต แต่ภาพรวมอำเภอปัตตานียังไม่ได้เรียกประชุม เพราะสถานการณ์โควิดและผู้ป่วยค่อนข้างเยอะ ก็อาจจะเป็นหลังจากนี้ที่มีการพูดคุยอีกครั้ง
คุณสมมาตร:ที่โกตาบารูมีหลายฝ่ายที่เข้ามามีบทบาท มีการเข้ามามากที่สุด คือวัยรุ่น นอกจากนี้ยังได้การสนับสนุนจากกลุ่มสตรีเข้ามาบทบาท หลักจากนี้จะมีการสนับสนุนจากเทศบาลโกตาบารูซึ่งตอนนี้ได้เปลี่ยนผู้นำแล้ว และอีกทางคือทางรพสต.โกตาบารูที่เข้ามามีบทบาทและทางอำเภอด้วย สำหรับโกตาบารูไม่น่ามีปัญหา แต่ถ้าจะขยายอาจจะต้องดึงหลายฝ่ายให้มาก หลายขาดีกว่าขาเดียว เพราะฉนั้นต้องใช้ระยะเวลา

คุณมิรา:ในส่วนของอำเภอบาเจาะนายอำเภอได้ย้ายไป อีกท่านคือ ท่านสาธารณสุขอำเภอบาเจาะได้เกษียนไปแล้วเช่นกัน เลยต้องมีการนำเสนอกับท่านนานอำเภอคนใหม่และก็เจ้าหน้าที่สสอ.บาเจาะมาใหม่ ในส่วนอำเภอบาเจาะทุกพื้นที่จะมีปัญหาของโควิด คือลงพื้นที่ฉีดวัคซีนเชิงรุกทุกตำบล ในส่วนของการต่อยอด คือตตอนนี้ต้องหยุดดำเนินการทุกอย่าง แต่ในส่วนพชอ.จะมีการประชุมเกี่ยวกับโควิด แต่การดำเนินงานการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของบาเจาะ ตำบลบาเระใต้ได้หยุดลง รอบนี้น่าจะเปลี่ยนหมู่บ้านใหม่ของบาเระใต้ น่าจะดำเนินการใหม่เชิงรุกของบาเระใต้ ในส่วนของประเด็นที่จะทำพชอ.ใหม่ จะทำในภาวะของการพิการในเด็ก แต่ต้องสอดคล้องกับนายอำเภอคนใหม่จะเห็นด้วยหรือไม่ จะต้องมีการเสนออีกรอบต่อนายอำเภออีกรอบ ในการดำเนินถ้าจะเริ่มยังไงก็จะชี้แจงอีกที
คุณมะยูนัน: เรื่องของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีมานานพอสมควร ในพื้นที่นราธิวาส ก่อนหน้านี้ได้มีการขยับอยู่ช่วงนึง สำหรับองค์กรที่ดูแลโดยตรงนี้ พอหลังๆไม่ค่อยได้เข้ามา ก่อนหน้านั้นได้เข้ามาเล่นในสพม.15 แต่ช่วงหลังได้เงียบหายไป สำหรับเหตุการณ์ที่วัยรุ่นตั้งครรภ์ในพื้นที่ตอนนี้ในเชิงรุกของประชาชนจะมีข้อมูลเยอะโดยสถาบันการศึกษาที่เปิดใหม่โดยเฉพาะมนร.ทำให้การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นมีข้อมูลเยอะขึ้นกับก่อนหน้านั้นที่เรายังไม่มีมหาลัยในพื้นที่ ข้อมูลอาจจะเป็นระดับมัธยมศึกษาแต่ตอนนี้จะเข้าไปสู่ระดับมหาวิทยาลัยด้วย

คุณอิสมาแอ: ประเด็นเรื่องของการตั้งครรภ์ตามที่หลายฝ่ายอยากให้มีการทำงานที่หลากหลายองค์กรที่เข้ามาร่วมกันทำงาน ที่ผ่านมาทุกฝ่ายก็ได้ทำงานอยู่พยามผลักดัน และก็เข้าสู่กระบวนการแต่ละหมู่บ้าน ในการทำงานเชิงนโยบายถือเป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องมาเกี่ยวกัน ถือเป็นการร้อยเรื่องร้อยราวให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกัน ก็จะส่งผลต่อความสำเร็จมากขึ้น ณ วันนี้โดยสถานการณ์โควิดก็อาจจะทำให้การทำงานลดเปอร์เซ็นต์ลงของการพบเจอกัน อาจจะต้องใช้ผู้นำมาคุยกันเป็นหลัก

คุณอานัติ: ตัวแทนในพื้นที่มีศักยภาพเยอะ กระบวนการที่วางไว้ในตัวโครงการค่อนข้างชัด แต่ช่วงนี้เข้าใจและก็เห็นใจว่า งานนี้ไม่ได้เป็นประเด็นหลัก และโควิดก็มาแรงมากในช่วงนี้ สิ่งที่ท้าทายคือ จะขยับงานนี้ยังไง ภายใต้สถานการณ์โควิด อาจจะเป็นโจทย์ที่ต้องมาคิดร่วมกัน อาจจะเป็นประเด็นเดียวที่ต้องมาหารือ หาทางออกแต่ก็ต้องมีการเรียนรู้เข้าไป

ประเด็นที่จะเอาไปในการทำสื่อ ในเรื่องของการพัฒนาโมดูล ร่วมกับทีมวิชาการในการถอดบทเรียน

คุณอิลฟาน: ส่วนที่ได้รับสื่อกับวิชาการจะดำเนินการขั้นแรก คือ โมดูลปีที่ผ่านมาปรับร่างคู่มือให้เรียบร้อย และเนื้อหาให้น่านำไปใช้ เมื่อโมดูลเสร็จก็จะให้ทีมวิชาการมาดูอีกที จะนัดให้ทางวิชาการมารีวิวอีกครั้ง พอเสร็จจะคุยกับทีมวิชาการที่ผ่านมาน่าจะมีประเด็นบ้างอย่างที่สามารถสร้างคอนเท็นต์ในการทำสื่อต่อไป ก็มีทีมงานลงพื้นที่เก็นคอนเท็นต์มา ซึ่งการลงไปเก็บต้องขอความร่วมมมือจากพื้นที่เป้าหมาย หลังจากนั้นได้คอนเท็นต์ออกมาทีมจะทำประเด็นที่เป็นภาพกว้างก่อน จะย่อยแต่ละส่วนไป เพราะว่าสื่อหากทำอะไรที่ยาว ทีมเยาวชนสมันนี้จะเสพสื่อได้ไม่นาน ต้องทำเป็นซีรี่ สิ่งนี้คือแนวคิดการทำสื่อ ในการลงสื่อจะมีทาง Facebook เป็นลักษณะการลงไปเรื่อยๆ Instagram กับ Tiktok ด้วย จะใช้ 3 ช่องทางเป็นหลัก หลังจากนั้นจะตามจากกระบวนการทั้งทางออนไลน์และไปสอบถาม ซึ่งตรงนี้จะมีทีมนักศึกษาลงไปเก็บ เนื่องจากเขาได้ลงพื้นที่แล้วจากกลุ่มเปราะบาง จะใช้กระบวนการเก็บข้อมูลจาก Line อันนี้จะเป็นกระบวนการสื่อออนไลน์ พอได้ส่วนนี้ก็จะส่งต่อให้ทีมวิชาการเพื่อประมวลสิ่งที่ลงไปทำ เพื่อที่จะเอาเนื้อหาไปแทรกในโมดูลอีกครั้ง พอเสร็จก็จะปรับโมดูลที่ใช้ได้แล้ว อย่างน้อยคือ 80% สามารถให้ทางพชอ.ได้เอาเนื้อหาในโมดูลปรับตรงนี้ไป ในส่วนทีมวิชาการจะมี 3 ส่วน คือทีมวิชาการทำเรื่องโมดูล ทำเรื่องของการติดตามประเมิน และสำรวจวิจัย ซึ่งระยะเวลาตามความเหมาะสมของงาน

อาจารย์ซอฟียะห์: ในการทำสื่ออาจต้องคุยกับทีมวิชาการ เพราะต้องการรายละเอียดเยอะ อาจต้องคุยกัน ในการลงเนื้อหาอยากให้มีคอนเท็นต์ มากกว่าการมีแค่รูป เพราะมีแค่รูปไม่รู้ว่ากิจกรรมนั้นทำอะไร เพื่ออะไร อยากให้มีคอนเท็นต์เล็กน้อย


เลิกประชุมเวลา 11.20 น.
sulaiman เมื่อ 7 พ.ค. 2567
วางแผนการทำงานร่วมกันและสรุปผลการประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ ครั้งที่ 1
ผลลัพท์: สรุปประเด็นในการประชุมกากับทิศ ครั้งที่ 1

- เห็นภาพรวม

- เห็นทีม และบทบาทของพี่เลี้ยง

- ได้ไอเดีย และรู้แนวทางเพิ่มเติม เพื่อพัฒนางานอย่างไรต่อไป

- เซ็ต ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ เป็นทุก 3 เดือนครั้ง เพื่อให้ที่ประชุมได้กากับทิศทางการดาเนินงานและชี้แนะในประเด็นการทางานของโครงการที่สำคัญ

- การประชุมวันนี้ ทีมยะหริ่ง ไม่ได้เข้า โดย

o ทีมยะหริ่ง ทำงานกับพื้นที่ได้ดี มีการประสานคุยงานกับทีมในพื้นที่ เน้นตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง และมีชุดกิจกรรม

o มี 9 โครงการ ประเด็นตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ใช้เงินตำบลทั้ง 9 โครงการ

- โครงสร้างทีมทำงาน ใน เฟส 2 มีโครงสร้างทีมงาน 4 ส่วน ดังนี้

▪ ทีม คกก.กำกับทิศ

• มีหน้าที่การกำหนดทิศทางการทางานให้สอดคล้องกับแหล่งทุน และพื้นที่

▪ ทีมวิชาการ

• มีการเปลี่ยนแปลงทีมวิชาการและมีคนเข้ามาใหม่

• หน้าที่ ประเมินและปรับโมดูล

▪ ทีมภาคสนาม

• มีหน้าที่ขับเคลื่อนการประเมิน ในกลุ่ม

o พี่เลี้ยงแต่ละชุมชน

o ทีม พชอ. ทีมนี้จะมีพี่เปิ้ลคอยช่วย เพื่อให้ พชอ. เขียนโครงการโดยใช้งบกองทุนตำบลได้

ทีมสื่อ

• ดูข้อมูลจากทีม คกก. กำกับทิศ และทีมวิชาการ ว่ากำกับทิศอย่างไร จะสร้างเนื้อหาอย่างไร

• จัดทำสื่อ และส่งให้ทีมภาคสนามได้นำไปใช้ เพื่อดูประเด็น เนื้อหาสาระ ก่อนเผยแพร่ต่อไป


เรื่องหาทีมพี่ลี้ยง อีก 15 อำเภอ (ชุดใหม่)

- แจ้งหนังสือถึงนายอำเภอกับ สสอ. เพื่อให้ พชอ. หรือ พชต. สมัครเข้ามา และเราต้องไปทางเลือกด้วย คือหาเครือข่ายภาคประชาสังคมมาร่วมค้นหาพื้นที่

- ส่วน สสจ. และ ผู้ว่า ทำหนังสือเรียนแจ้งเพื่อทราบ (ให้ได้ข้อสรุปจากอำเภอ แล้วค่อยเรียนแจ้งผู้ว่าฯ จากนั้นค่อยทำ MOU ระดับจังหวัดต่อไป)

๑. ทำหนังสือแจ้งให้ทราบและคัดเลือกพื้นที่(อำเภอหรือตำบล)

๒. สำเนาหนังสือถึง สสอ.เพื่อสมัครเข้าร่วมโครงการ (เราคัดให้เหลือเพียง ๑๕ อำเภอ)

๓. หากถึงเวลาแล้วยังไม่ได้พื้นที่เลย เราต้องเข้าไปหาเอง และถามเครือข่าย เพื่อหา อาเภอหรือตาบลมาร่วมโครงการ
sulaiman เมื่อ 7 พ.ค. 2567
- แนะนำคณะทำงานในระยะที่ 2
- เแนะนำและชี้แจงรายละเอียดโครงการในระยะที่ 2
- สรุปภาพรวมการดำเนินโครงการของระยะที่ 1
ผลลัพท์: ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศครั้งที่ 1 มีผู้ร่วมประชุมที่อยู่ในที่ประชุม จำนวน 3 คน และผู้ร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จำนวน 26 คน โดยมีประเด็นพูดคุย ดังนี้
- การชี้แจ้งรายละเอียดโครงการในระยะที่ 2
- แนะนำคณะทำงาน มีคณะทีมงาน ทีมวิชาการ ทีมพี่เลี้ยง
- สรุปภาพรวมการดำเนินการโครงการในระยะที่ 1 โดยอาจารย์ซอฟียะห์
- ผลการการนำโมดูลไปใช้งานในระยะที่ 1
- การนำเสนอผลลัพธ์ที่ได้จากส่วนเฟสที่ 1 ของแต่ละพื้นที่
- แนะนำกลไกการทำงานของพชอ. พชต. โดยนพ.สุวัฒน์
- แนะนำแนวทางการดำเนินงานร่วมกับกองทุนสุขภาพตำบล โดยสมชาย (สปสช เขต 12)
- ร่วมแลกเปลี่ยนและให้ข้อเสนอแนะจากทีมวิชาการ

รายชื่อผู้เข่าร่วมประชุม
1. ดร.ซอฟียะห์ นิมะ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2. นางสาวฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
3. นายสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
4. นายยุสรี สะปาวี สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง)
5. นางสาวมุทริกา จินากุล ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
6. นายพัสสน หนูบวช ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้
7. ผศ.ดร.วรางคณา ชัชเวช คณะพยาบาลศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์
8. นายอิสมาแอล สิเดะ ผู้ประสานงานภาคสนาม
9. นางสาวจิราพร อาวะภาค มูลนิธิภาคใต้สีเขียว
10. นายอิลฟาน ตอแลมา สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข
11. นางสาวมีรา แมดิงแว สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบาเจาะ
12. นางอังสุมาลิณ ประดิษฐ์สุวรรณ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
13. นายสมชาย ละอองพันธุ์ สปสช.เขต 12 สงขลา
14. นางเสาวนีย์ ปาวัล รพ.สต.บ้านบือเระ ตำบลบาเระใต้ อำเภอบาเจาะ จ.นราธิวาส
15. นางนูรีดา เจ๊ะย๊ะ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอบาเจาะ
16. นางธนิษฐา ดิษสุวรรณ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
17. นายมะยูนัน มามะ ผู้ประสานงานภาคสนาม
18. ผศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา คณะแพทยศาสตร์ มอ.
19. วัลภา ฐาน์กาญจน์ ศูนย์อาสาสมัคร ม.อ.
20. ไซนับ อาลี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลรูสะมิแล
21. นายรอซีดี เลิศอริยะพงศ์กุล สมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย
22. นายยะห์ยา บานีอัลมาฮ์มูดี รพ.สต.บ้านสาวอ
23. นายวรานนท์ แอหนิ สมาคมจันทร์เสี้ยวและสมาคมนิสิตนักศึกษาไทยมุสลิม(สนท.)
24. นางสาวกาญจน์สุนภัส บาลทิพย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
25. นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ ผอ.โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชนินีนาถ ณ อำเภอนาทวี
26. นางเพียงกานต์ เด่นดารา โรงพยาบาลจะแนะ จ.นราธิวาส

เริ่มประชุมเวลา 10.00 น. ดร.ซอฟียะห์ นิมะ ชี้แจ้งวัตถุประสงค์การจัดประชุม โครงการการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภIในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ: กรณีจังหวัดชายแดนใต้ ระยะที่ 2

วาระการประชุมครั้งที่ 1
ผลการดำเนินงานการนำโมดูลไปใช้งานในระยะที่ 1 โดย ดร.ซอฟียะห์ นิมะ
- อำเภอเมืองยะหริ่ง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี, อำเภอรามัน จังหวัดยะลา และอำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
การดำเนินโครงการในระยะที่ 2 โดย ดร.ซอฟียะห์ นิมะ
- การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นภายใต้ความร่วมมือของกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอและภาคีเครือข่ายสุขภาพ: กรณีจังหวัดชายแดนใต้ ระยะที่ 2
- การคัดเลือกพื้นที่ 19 อำเภอ 20 ตำบล

การดำเนินงานการนำโมดูลไปใช้งานในระยะที่ 1 โดย ดร.ซอฟียะห์ นิมะ
การดำเนินการในระยะที่ 1 ได้มีการทำในส่วนของ Work Shop และมีการผลิตโมดูลขึ้นมาและกระจายโมดูลให้กับอำเภอนำร่องทั้งหมด 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอยะหริ่ง อำเภอบาเจาะ และอำเภอรามัน และได้มีผู้ทรงคุณวุฒิจากสสส.ได้เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนในเรื่องของการตั้งครรภ์ในจังหวัดชายแดนใต้ของกลุ่มวัยรุ่นในครั้งนี้ด้วย ซึ่งวันนี้จะเป็นการหารือในเฟสถัดไปว่าจะมีการทำในลักษณะใดบ้าง วันนี้จะเล่าในส่วนของกิจกรรมในเฟส 1 ที่ผ่านมาที่ได้มีการผลิตโมดูลและได้มีการทดลองนำร่องใน 4 อำเภอ 5 ตำบลของจังหวัดชายแดนใต้เป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งจะเป็นการเล่าในเฟสที่ 1 ก่อนแล้วจะมีการหารือกันในส่วนของเฟสที่ 2 ว่าต้องการมีอะไรเพิ่มหรือมีข้อเสนอตรงไหนบ้าง เรามากำหนดทิศทางกันว่าในหน่วยงานที่เชิญมาวันนี้จะมีส่วนร่วมในงานขั้นตอนไหนได้บ้าง แล้วนำมาสรุปไทม์ไลน์
ในส่วนของทีมงานที่ได้รับผิดชอบกิจกรรม ได้แก่
1. ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ เป็นที่ปรึกษา
2. นายแพทย์ สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ
3. ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย
4. คุณซอฟียะห์ นิมะ
ส่วนทีมงานสำนักงาน ได้แก่
1. คุณสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ เป็นเจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ
2. คุณฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
3.คุณจิราพร อาวะภาค
4.คุณฐนัชตา นันทดุสิต

ทีมงานภาคสนาม ได้แก่
1.คุณอานัติ หวังกุหลำ

ในด้านพี่เลี้ยงเพิ่มเติมในเฟสแรก ได้แก่
1. คุณย๊ะห์ยา บานีอัลมาฮ์มูดี พี่เลี้ยงดูแลของอำเภอรามัญ
2. คุณธีรพจน์ บัวสุวรรณ พี่ เลี้ยงดูแลอำเภอยะหริ่ง
3. คุณวรรณาพร บัวสุวรรณ พี่เลี้ยงดูแลอำเภอยะหริ่ง
4. ทพญ.โนรีด้า แวยูโซ๊ พี่เลี้ยงดุแลอำเภอบาเจาะ
5. คุณอุษา เบ็ญจลักษณ์ สาธารณสุขอำเภอปัตตานี

ทีมวิชาการและโมดูล
1. คุณบุษยา สังขชาติ
2. คุณวัลภา ฐานกาญจน์
3. ดร.มุทริกา จินากุล
4. ดร.ธนิษฐา ดิษสุวรรณ์
5. คุณรอซีดี เลิศอริยพงษ์กุล
6. คุณอิลฟาน ตอแลมา

เฟสแรกที่ผ่านมาได้มีทีมงานวัยรุ่นและเยาวชนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนในครั้งนี้ด้วยซึ่งผู้รับผิดชอบหลัก ได้แก่ คุณยุสรี ร่วมงานคู่ขนานกับโครงการนี้ไปด้วย จะทำหน้าที่ดำเนินงานโครงการเยาวชนให้มีความหลากหลาย เพื่อเพิ่มพื้นที่ปลอดภัยให้กับเยาวชนกลุ่มข้างต้น สำหรับส่วนตัวเล่มของโมดูลที่ผ่านมาได้มีการปรับเปลี่ยนหลายเวอร์ชั่น ในเวอร์ชั่นแรกที่ใช้เป็นในส่วนของการจัด Workshop หลังจากที่ขับเคลื่อนในพื้นที่และท่านผู้ทรงคุณวุฒิจากสสส.ได้ลงเยี่ยมพื้นที่ได้ร่วมอ่านโมดูลแล้ว ได้มีข้อเสนอแนะในการปรับเนื้อหา ประกอบไปด้วยทั้งหมด 5 หน่วยเรียนรู้ คือ
หน่วยที่ 1 เพิ่มสมรรถนะให้กับพชอ.ด้านความรู้และด้านการจัดความรู้ต่อประเด็นการตั้งครรภ์วัยรุ่น
หน่วยที่ 2 เน้นในส่วนที่พชอ.สามารถดำเนินงานเป็นทีมนำทางด้านการจัดการสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์วัยรุ่นในจังหวัดชายแดนใต้
หน่วยที่ 3 ให้พชอ.สามารถทำแผนทำโครงการและประสานพลังในเครือข่ายได้ ทั้งหมดนี้จำไปสู่การรณรงค์นโยบายได้
หน่วยที่ 4 เน้นของการติดตามประมวลผล และการติดตามความก้าวหน้า
หน่วยที่ 5 เรื่องทักษะปฏิบัติการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ได้มีการเชิญทีมพชอ.และก็พชต.ลงพื้นที่ร่วมกันประมาณ 40 ครั้ง ที่จะไปเรียนรู้ปัญหาในพื้นที่ ว่ามีปัญหาตรงไหน ด้านใดบ้างแล้วก็มีการจัดทำแผนโครงการและนำเสนอขอทุนจากกองทุนตำบลได้อย่างไร ตรงนี้ก็ได้มีการหารือและลงมือทำในเฟสที่แล้ว ในระหว่างที่ลงพื้นที่ ได้มีการคุยในเรื่องของสถานการณ์ปัญหาที่ผ่านมาในทุกวันนี้ไม่ว่าหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งทุกคนเองก็จะเห็นปัญหาที่พ้นเหนือน้ำมาแล้วเราแก้กันแบบเฉพาะหน้า และในเรื่องของกรอบวิธีคิดของพื้นที่ต่อการตั้งครรภ์ไม่เคยได้ค้นพบตรงนี้เราพยายามชวนพื้นที่เข้าไปดูในเรื่องนี้ ถึงที่มาที่ไปของการตั้งครรภ์วัยรุ่นในพื้นที่เกิดจากอะไร ดูถึงเรื่องของปัจจัยสุขภาพที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในพื้นที่ได้มีการใช้ Iceberg Model มาพูดคุยกัน

ในส่วนของการสรุปเฟสที่ 1 นั้นที่ได้มีการพัฒนาโมดูลมาทั้ง 5 หน่วยการเรียนรู้ ได้มาสู่การปฏิบัติในพื้นที่ ได้แก่ อำเภอเมือง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี อำเภอรามัญ จังหวัดยะลา อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส โดยของจังหวัดปัตตานี จะด้วยกัน 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลรูสะมิแล ตำบลบางปู และตำบลตาแกะ อำเภอรามัน ได้แก่ ตำบลโกตาบารู ซึ่งได้มีตำบลบาโงยเข้ามาในช่วงแรก ช่วงหลังได้ออกไป และอำเภอบาเจาะ ได้แก่ ตำบลบาเระใต้ ตอนนั้นระยะเวลา 18 เดือนแต่อาจจะมีติดช่วงโควิดไปด้วย เลยมีการเลื่อนหลังจากกันยายน 2563 เริ่มขยับในส่วนของ Workshop ในเรื่องของการปฏิบัติงานในพื้นที่

ผลลัพธ์ที่ได้จากส่วนเฟสที่ 1
- ตำบลรูสะมิแล ได้มีหน่วยให้คำปรึกษาวัยรุ่นที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนแล้วก็ใน
ชุมชน ก็คือ เด็กอยู่ที่ไหนมีหน่วยให้คำปรึกษาไปที่นั้น และรวมทั้งมีหน่วยเฝ้าระวังลาดตระเวนจุดเสี่ยงพื้นที่เสี่ยงที่เด็กจะไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน แบบ 2 ต่อ 2 และมีมาตรการหอพักเข้ามาร่วมให้มาตรการต่างๆ ในการแยก ชายหญิง หรือคอยดูแลสอดส่องอย่างใกล้ชิดแบบญาติ ไม่ให้บุตรหลานที่อยู่ในหอพัก ในอพาทเมนต์ อยู่บ้านเช่าในตำบลรูสะมิแล เพราะเป็นพื้นที่ของการศึกษา หอพักก็จะเข้ามามีส่วนร่วมที่จะดูแลตรงนี้ให้
- ตำบลตาแกะ ก็จะมีหน่วยให้คำปรึกษาด้านอนามัยเจริญพันธ์ในวัยรุ่น ไม่ได้ทำอยู่ในเฉพาะคลีนิคเท่านั้น แต่จะเป็นการออกเชิงรุก ออกนอกพื้นที่มีการโทรศัพท์พูดคุย นัดแนะกันเพื่อที่จะมีการรับคำปรึกษาที่ไหน และมีการปิดข้อมูลอย่างเป็นความลับ แล้วแต่วัยรุ่นด้วยว่าจะนัดเจ้าหน้าที่ ที่ไหนตรงนี้ค่อยข้างที่จะสะดวกเพื่อเอื้อทั้ง 2 ฝ่าย มีการติดต่อในเวลานอกอีกด้วยเพื่อให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น
- ตำบลบางปู เป็นเขตที่ค่อนข้างสังคมซ้ำซ้อนขึ้นมา ตำบลบางปูเยาวชนจะมีความเข้มแข็งในเรื่องศาสนาเป็นหลัก ทางพื้นที่จะมีการป้องกันในเรื่องของการตั้งครรภ์ในช่วงวัยรุ่นและในเรื่องการสร้างรายได้ มีในเรื่องของการนำเที่ยวชุมชนเพื่อสร้างรายได้ ทำให้เด็กสามารถหารายได้เป็นกอบเป็นกำเอาเวลาส่วนนี้ไปดูแลครอบครัว แทนที่จะใช้เวลาไปหมกมุ่นเรื่องอื่น
- ตำบลโกตาบารู ได้มีการเริ่มต้นด้วยจากสภาเด็ก มีการฝึกงานฝึกอาชีพที่เป็นแหล่งพื้นที่ ที่มีอาชีพอยู่ เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวเป็นแหล่งที่เรียนรู้และสร้างรายได้ให้กับเด็ก ตำบลโกตาบารูจะเน้นในเรื่องของชมรมเยาวชนที่ค่อนข้างเข้มแข็ง พี่ดูแลน้อง ดูแลทั้งหมด เช่น ศาสนา ความสัมพันธ์ เป็นระบบที่สร้างขึ้นมาอย่างใกล้ชิด
- ตำบลบาเระใต้ มีนิกะห์ไกด์ไลน์หรือว่าเรื่องของการจะแต่งงาน เพราะต่อยอดจากโครงการเดิมที่คัดกรองเด็กที่คลอดออกมาแล้วมีภาวะพิการ ก็จะมีการคัดกรองก่อน ถ้าอายุต่ำกว่าเกณฑ์ จะมี 3 ฝ่ายที่ไปร่วม ได้แก่ ฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายผู้นำศาสนา ไปร่วมด้วยเพื่อที่จะดูแล

โดยที่ผ่านมาทั้ง 4-5 พื้นที่นี้ ประเด็นการตั้งครรภ์วัยรุ่นไม่เคยเป็นประเด็นหลักของอำเภอมาก่อน การที่พื้นที่เหล่านี้เข้าร่วมโครงการกับเราก็จะสามารถเป็นประเด็นใน ปี 64 ได้ ทั้งอำเภอเมืองปัตตานี อำเภอรามัญ อำเภอบาเจาะ ยกเว้นอำเภอยะหริ่งจะบรรจุอยู่ในแผนของพชต. ใน ปี 64 ทั้งหมดนี้ได้ดำเนินงานมาลักษณะเดียวกันตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ คือ เน้นตั้งแต่การป้องกันและแก้ไข ช่วงกลางน้ำ คือ มีแล้วจะดูแลกันยังไงให้เกิดการตั้งครรภ์คุณภาพ สุขภาพแม่ และสุขภาพทารก ปลายน้ำ คือ ถ้าเคยตั้งครรภ์แล้วต้องรู้จักป้องกันที่จะไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์ซ้ำ มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีทักษะการจัดการตนเองได้ ภาพรวมทั้งหมดในเฟสที่ 1 ของแต่ละพื้นที่พยายามดำเนินการ
ในเฟสที่ 1 ที่ผ่านมามีการเลือกพื้นที่นำร่องขึ้น เหตุผลที่ได้เลือกพื้นที่น้ำร่องตำบลต่างๆขึ้นมา คือ แต่ละพื้นที่มีลักษณะเด่น ที่ได้เลือกอำเภอเมืองปัตตานี ท่านสาธารณสุขอาสาในที่ประชุมว่าอยากเข้าร่วม เพราะว่าทางอำเภอเมืองปัตตานี มีเยาวชนเข้ามาอยู่กันมาก เพราะเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษาเด็กก็มาจากต่างพื้นที่มาอาศัยรวมกันในหอพัก ในบ้านเช่า และเมืองปัตตานีมักเกิดปัญหาหลายๆอย่าง เช่น ปัญหาสุขภาวะวัยทารกเลยนำมาสู่ในเฟสที่1 นี้ ในส่วนของอำเภอยะหริ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ชายทะเลจะมีที่พักรีสอร์ทค่อนข้างมาก ซึ่งทำให้เด็กอาจจะเข้าไปอยู่เลยได้มีการเชิญเจ้าของรีสอร์ทมาพูดคุยให้ความรู้เรื่องนี้ด้วย อำเภอรามันจะมีงานประเพณี งานเทศกาลค่อนข้างเยอะ มีที่ท่องเที่ยว มีเด็กแว๊น สก๊อย เลยได้มาตรการในการควบคุมขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมา ได้มีการจัดตั้งจุดตรวจ จุดคัดกรอง จุดลาดตระเวน เป็นต้น อำเภอบาเจาะจะมีอัตรการหย่าร้างค่อนข้างสูงและแป็นแหล่งระบาดของยาเสพติด มีเด็กแว๊น เด็กสก๊อยค่อนข้างเยอะ ที่นี้จะพบเคสทารกคลอดออกมาแล้วพิการตั้งแต่กำเนิดด้วย ได้มีฟุรุกรโมเดลพยายามจะต่อยอดจากงานเดิมที่ทำอยู่
ทั้งหมดนี้ได้มีการวิเคราะห์ถึงพื้นที่ต่างๆได้มีการทำอะไรขึ้นมาบ้าง ซึ่งได้เห็นถึงความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ปัจเจกชนทุกคนร่วมมือช่วยกันอยู่ เพราะส่วนใหญ่ได้ทำตามบทบาทหน้าที่ตนเอง ต่างคนต่างทำและได้มีการทำที่แยกส่วนอยู่
ในเฟสที่ 1 ที่ผ่านมานั้นน จะเป็นในส่วนของการผลิตโมดูลขึ้นมา 1 โมดูล ที่มี 5 หน่วยการเรียนรู้ย่อยแล้วได้มีการนำมาทดลองใช้กับพื้นที่นำร่อง 4 อำเภอ 5 ตำบล ได้ผลลัพธ์ที่สรุปไว้ตามข้างต้นที่ได้กล่าวมา พอมาถึงเฟสที่ 2 ในส่วนของโมดูลที่ผลิตมาแล้วนั้น อยากจะมีการปรับให้มีความสนิท ใกล้ชิดมากขึ้น มีการเรียนรู้ง่ายสามารถนำไปปฏิบัติได้ง่ายขึ้น เพราะที่ผ่านมาเนื้อหาค่อนข้างเยอะ การมีเนื้อหาเยอะอาจะเป็นอุปสรรคต่อบางคนที่ไม่อยากอ่านเยอะ อยากได้อะไรมีการโฟกัสตรงจุดมากกว่า เห็นถึงขั้นตอน เห็นถึงผลลัพธ์ที่ได้ เป็นต้น ในนเฟสที่ 2 เลยมีการปรับเปลี่ยนอีกครั้งเพื่อให้ง่ายขึ้น ในเฟสที่ 2 ที่จะปรับโมดูลขึ้นมาใหม่นี้เราก็ไม่ทำใน 4 อำเภอ 5 ตำบล แต่มีการเพิ่มพื้นที่ขึ้นมา ในเฟสที่ 2 นี้จะมีทั้งหมด 19 อำเภอ 20 ตำบล ทั้งพื้นที่เก่าและพื้นที่ใหม่จะมีการมาเรียนรู้ร่วมกันอีกครั้ง ได้มีการทบทวน ทำความเข้าใจเห็นภาพด้วยกัน ในการใช้โมดูลเพื่อเกิดการป้องกันแก้ไขปัญหาในวัยรุ่นในพื้นที่อย่างไร ซึ่งเดิมผู้รับผิดชอบและผลิตโมดูลจะเป็นทีมวิชาการ ซึ่งจะมีกาพูดคุยกับทีมวิชาการถึงการดูแลเฟสที่ 2 จะมีการปรึกษาหารือการวางแผนงานในเฟสที่2 กันด้วย และในเฟสที่ 2 นี้จะเน้นการหารือการสร้างความเข็มแข็งต่อในเรื่องของการพัฒนาจุดคัดกรองระดับพื้นที่ ในเฟสที่ผ่านนมานั้นจุดแข็งที่พบ คือ ทีมพี่เลี้ยงช่วยพชต.ช่วยพชอ.ได้เยอะในเรื่องของการเอาโมดูลไปขยายต่อ ไปอธิบาย Workshop ในระยะเวลา 1-2 วัน ไม่พอเลยให้ทีมดังกล่าวไปขยายเวลา อธิบายเพิ่ม และไปติดตาม เฟสนี้จะเน้นในเรื่องความเข้มแข็งจะให้มีทีมพี่เลี้ยงระดับตำบล พร้อมกับทีมประเมิน ในด้านของทีมประเมินจะมีการทำหน้าที่ดูแลการดำเนินงานของพชต.และ พชอ.ในระดับอำเภอหรือระดับตำบล ในการที่จะจัดอบรมพี่เลี้ยงแต่ละครั้งจะมีการพัฒนาคู่มือขึ้นมาก่อนเสมอ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดี ซึ่งจะมีการทำคู่มือขึ้นมาเป็นจำนวน 2 เล่ม เมื่อผลิตโมดูลแล้วจะมีพี่เลี้ยงสามารถคอยดูแลแต่ละพื้นที่อยู่ในส่วนนั้น และจะมีทีมประเมินไปประเมินอยู่ในแต่ละพื้นที่ด้วยเพื่อดูถึงผลลัพธ์ที่ได้ตามมา เลยนำมาสู่การมี Road map ของระดับจังหวัดและมีแผนงานระดับอำเภอหรือตำบล มี MOU ซึ่ง MOU นี้คาดว่าจะให้ลำดับสุดท้าย เพราะอยากให้ 19 อำเภอ 20 ตำบลนี้เห็นภาพตัวเองก่อนและสุดท้ายได้นำมาสู่การทำ MOU ในการผลิตสื่อนี้จะเน้นให้เยาวชนหรือประชาชนทั่วไปได้เข้าถึง เข้าใจกระบวนการต่างๆ เหล่านี้ สุดท้ายจะมีเวทีแลกเปลี่ยนขึ้น เพื่อถอดบทเรียนต่างๆ ที่เกิดขึ้น ถอดตั้งแต่ก่อนดำเนินงาน การดำเนินงาน และหลังดำเนินงาน ด้วย หลักที่สามารถเห็นได้ชัดถึงงานได้แก่ การทำโมดูล Revised การพัฒนาคู่มือ Workshop อบรมพื้นที่เก่าพื้นที่ใหม่ อบรมทีมพี่เลี้ยง อบรมทีมประเมิน ทีมสื่อทีมทำสกู๊ป และเรื่องของการถอดบทเรียน
การทำ Fiedwork นี้จากพื้นที่ 19 อำเภอ 20 ตำบล ได้เรียนรู้โมดูลและก็มีทีมพี่เลี้ยง ทีมประเมินได้ผ่านการเทรนนิ่งมา ได้นำไปช่วยให้พชต. และ พชอ.ทำแผนทำโครงการต่อในเรื่องของการป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น ในสุดท้ายนี้งานจะจบอยู่ที่งานประเมินผล มีการประเมินโมดูล Revised ประเมินพี่เลี้ยง ประเมินทีมประเมินอีกด้วย และนำมีการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทั้ง 19 อำเภอ 20 ตำบล

นพ.สุวัฒน์: กลไกการทำงานพชอ.หรือพชต.เป็นกลไกลที่ผสานพลังในแนวราบ จะเป็นซอฟพาวเวอร์ มากกว่า ฮาร์ดพาวเวอร์ ซึ่งฮาร์ดพาวเวอร์ได้พบเยอะแล้ว แต่การทำงานชีวิตต้องใช้การทำงานด้วยหัวใจ เอาทรัพยากรแต่ละส่วน เช่น ราชการ ท้องถิ่น ภาคประชาสังคม เอาหัวใจมาทำงานร่วมกัน การกำหนดประเด็นของการขับเคลื่อนเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวัง เพราะว่าเราไม่ได้ยัดเยียดเอาประเด็นเหล่านี้ไปให้ แต่ต้องเป็นประเด็นที่ชาวบ้านรู้สึกเป็นเจ้าของ ชุมชนรู้สึกเป็นเจ้าของ ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ถึงความยั่งยืน เมื่อเริ่มต้นแล้วสามารถทำต่อได้เอง โดยไม่ต้องมีอะไรสนับสนุน ชุมชนเขาเห็น เขาสามารถร่วมและรู้สึกได้ เขาก็จะสามารถไปต่อได้เองและจะเป็นตัวละคนตัวหนึ่งที่จะสามารถขับเคลื่อนการทำงานที่จะทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดถึงการต่อยอด การขยายผลในหลายอำเภอ หลายตำบลได้ สืบเนื่องจากปีที่แล้วซึ่งได้ดูแลสำนักศูนย์สุขภาพปฐมภูมิได้ทำงานร่วมกับ สวรส.และอาจารย์จากม.จุฬา ได้จัดทำเรื่องหนึ่งขึ้นมา คือ การวิเคราะห์เพื่อให้เห็นถึงกลไกที่เกิดผลต่อสังคมอย่างไร (SROI) ได้มีการไปดู 4 อำเภอทั้งประเทศไทย ได้ไปดูประเด็นที่พชอ.หนึ่งขับเคลื่อนอุบัติเหตุ ซึ่งอุบัติเหตุจะเห็นได้ชัดเจน Social Refund จะกลับมาภายในเวลาพอดี ถ้าหากลงแรงกับเรื่องอุบัติเหตุ ภายในครึ่งปีหากได้ลงแรงไปจะกลับมาเห็นผล ขณะที่บางเรื่องลงทุนแล้วอาจจะต้องใช้เวลา เช่น ผู้สูงอายุ เป็นต้น เลยได้มีการคิดขึ้นมาได้ว่ามีการชวน สวรส.เข้ามาทำประเด็นที่ได้คุยกันอยู่ ปัญหาในวัยรุ่นนี้ Social Refund จะกลับมาอย่างไร ซึ่งการที่จะไปสื่อสารกับภาคีเครือข่ายเอาข้อมูลต่างๆเหล่านี้ไปคุยทุกคนให้ความสนใจดีมาก และอีกประเด็นหนึ่งคือ ทุกคนอยู่ในสถานการณ์โควิด โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนใต้ อาจจะต้องหยิบยกเรื่องราวเรื่องที่ทุกคนมีความสนใจ ตระหนัก มาเชื่อมโยงสิ่งที่ทำ เช่น การเสียชีวิต แม่และเด็กที่เสียชีวิตมากในประเทศไทยในสถานการณ์โควิท โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ โดยที่จะใช้โอกาสเหล่านี้ที่จะทำให้สังคม ชุมชน เกิดความเข้าใจ ช่วยกันหยิบประเด็นเหล่านี้มาเชื่อมกับงานที่ทำ มันจะทำให้ภาคีเครือข่ายเขาสามารถที่จะหยิบยกสิ่งที่เป็นปัญหามาผนวกกับสิ่งที่กำลังขับเคลื่อนไป

ตัวแทนอำเภอเมืองปัตตานี: ในตำบลรูสะมิแลนั้นในการขับเคลื่อนจะใช้โรงเรียนและชุมชนที่เป็นต้นแบบ ซึ่งได้เลือก โรงเรียนรัฐประชานุเคราะห์ในการขับเคลื่อนของวัยรุ่น เพราะโรงเรียนรัฐประชานุเคราะห์นั้นเป็นโรงเรียนที่รับเด็กต่างถิ่นและเด็กที่ค่อนข้างมีปัญหามาเป็นโรงเรียนต้นแบบ ขับเคลื่อนโดยใช้กลุ่มชมรม TO BE NUMBER ONE ในการขับเคลื่อนของวัยรุ่น และได้เลือกชุมชนบางปลาหมอที่เป็นชุมชนค่อนข้างมีปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น โดยขับเคลื่อนจากกลุ่มอาสาจากน้องๆที่มีจิตอาสา ในส่วนตำบลรูสะมิแลต่อไปจะมีการขับเคลื่อนจากกลุ่มสภาเด็กซึ่งได้มีการหารือกับเทศบาลรูสะมิแลถึงการขับเคลื่อนครั้งต่อไป และในส่วนของชมรม TO BE NUMBER ONE จะเป็นตัวกลางในการขับเคลื่อนให้คนในชุมชนต่อไป

ตัวแทนอำเภอบาเจาะ: สำหรับแนวทางในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นซึ่งได้เลือกตำบลบาเระใต้ ช่วงการดำเนินงานจะใช้เครือข่ายของผู้นำชมชน ผู้นำศาสนา อบต. โรงเรียน ตลอดจนเครือข่ายทั้งหมดเข้ามาแก้ปัญหาในครั้งนี้ ได้มีการมอบนโยบายของวัยรุ่นคุณภาพ โดยใช้หลักการนิก้ะห์โมเดล จะมีนายอำเภอให้ความรู้กับอิหมามในเรื่องของการจัดพื้นที่แต่งงาน และอสม.จะมีการแจ้งให้ทราบถึงการแต่งงานในพื้นที่ว่าจำนวนเท่าไร จำนวนกี่คู่ หลังจากนั้นก่อนเป็นวัยรุ่นจะมีโรงเรียนที่ให้องค์ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพ จะพัฒนาในด้านของทักษะเป็นหลัก ก่อนที่จะเข้าสู่วัยรุ่น กระบวณการของการลด ละ เสี่ยง ของยาเสพติดในรูปแบบของการเข้าค่ายของยาเสพติด และให้ความรู้กับวัยรุ่นในพื้นที่ เพื่อให้มีคุณภาพที่ดี และมีการจัดตั้งโรงเรียนพ่อ แม่ ในชุมชน ซึ่งโรงเรียนพ่อแม่ในชุมชนนั้นจะมีการประเมินความพร้อมของครอบครัว เรื่องจิตวิญญาณของวัยรุ่น และมีการคัดกรองเรื่องความพิการในพื้นที่ด้วย

ตัวแทนอำเภอรามัน: อำเภอรามัญได้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2563 โดยมีการใช้แนวทางของพชอ.ในการขับเคลื่อนในพื้นที่
1. การใช้ยุทธศาตร์ของเครือข่าย ในการจับประเด็น เพื่อที่จะให้เป็นตัวแม่บท โดยมีการนำปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นมาแนะนำในพื้นที่ ซึ่งจะเป็นนโยบายของอำเภอเอง
2. มีการสรุปปัญหาทางยุทธศาตร์ ในประเด็นต่างๆที่ได้มีการเชื่อมโยงกับปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น และมีการสรุปสถิติให้กับภาคีเครือข่ายได้รู้ถึงเรื่องที่สำคัญ
บทบาทของพชอ. ต่อการแก้ไขการตั้งครรภ์คุณภาพในวัยรุ่น
1. กำหนดเป็นวาระ ขับเคลื่อนระดับอำเภอ
2. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการของพชอ. ขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์คุณภาพในวัยรุ่น
3. กำหนดพื้นที่นำร่อง
4. ค้นหาปัญหา กำหนดกิจกรรมในพื้นที่
ในแนวทางของพชอ.จะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ เชิงรุก และเชิงรับ
- เชิงรุกคือ ภาคีระดับพื้นที่สามารถทำเองได้ ซึ่งสภาเด็กเป็นหน่วยงานที่สำคัญ คิดค้นเพื่อแสดงศักยภาพของตนเอง เปิดโอกาสให้แสดงศักยภาพได้เต็มที่
- เชิงรับ คือ คลีนิคการตั้งครรภ์จะจัดตั้งที่โรงพยาบาล หรือรพ.สต.
การตั้งการรับนั้น ต้องมีการวางแผน ระยะเวลา เพื่อให้เกิดความสำเร็จในช่วงสั้นๆ ในกิจกรรมต่างๆจะใช้คำสั่งจากอำเภอเป็นหลัก จะเป็นเครือข่ายที่ใช้เยาวนเป็นแกนนำหลักในการขับเคลื่อนครั้งนี้ ตำบลโกตาบารูจะเป็นพื้นที่รอยต่อทางผ่านของหลายจังหวัดและหลายอำเภอซึ่งส่วนนี้เป็นจุดที่ทำให้เยาวชนมารวมตัวนี้ เลยให้ชุดชรบ.ได้เข้ามาดูแลในส่วนนี้ เพื่อที่จะลดการมั่วสุ่ม

อาจารย์ซอฟียะห์: งานภาคสนาม ถือเป็นจุดสำคัญเนื่องจากจะให้พชต.และพชอ.ทำแผนโครงการเพื่อที่จะขอใช้งบสนับสนุนหลักจากกองทุนสุขภาพระดับท้องถิ่น

สมชาย (สปสช เขต 12): ประเด็นการพูดคุยมี 2 เรื่อง
1. ส่วนของกองทุนท้องถิ่น บทบาทพี่เลี้ยง ในการที่จะทำงานกองทุนท้องถิ่น พชอ.และหน่วยงานควรทำงานกันอย่าไงบ้าง
พชอ. อาจจะป็นกลไกที่อยู่ตรงกลางระดับอำเภอ ถ้าหากจะมีการทำงานเรื่องนี้ขึ้น ต้องมีกลไกระดับพื้นที่ ซึ่งในต้องท้องถิ่นนั้นจะมีกองทุนตำบล กองทุนตำบลนี้เกิดขึ้นมาประมาณ 15 ปีนี้ เป็นการถ่ายโอนเงินสุขภาพไปยังท้องถิ่น ทุกท้องถิ่นในเขตของชายแดนภาคใต้นี้จะมีกองทุนท้องถิ่น 100% ดังนั้นทุกตำบลจะมีกองทุนอยู่แล้ว อาจจะมีงบมากบ้างน้อยแล้วแต่ตำบล ที่ผ่านมาเกิด พชอ.กลไกใหม่ขึ้นมาซึ่งอาจจะเป็นกลไลทางปกครองมีกฎหมายบ้าง มีการรวมตัวกันแบบหลวมๆ ลักษณะการทำงานจะพบปัญหาเรื่องการที่กองทุนท้องถิ่นมีเงินสะสมค้างอยู่เยอะ ซึ่งปีนี้ลดลงเพราะเนื่องจากบางส่วนใช้เงินส่วนนี้ทำโควิดเยอะ และปีนี้ก็จะมีเงินเข้าไปสนับสนุนด้วย ที่ผ่านมากองทุนท้องถิ่นมีการสะสมเงินเยอะ แต่ไม่กล้าใช้เงิน และที่สำคัญบางที่ทำงานแล้ว แต่ไม่มีแผนสุขภาพ โครงการที่ทำไม่ได้คุณภาพและไม่ได้ตอบโจทย์ของพื้นที่ ส่วนนี้ก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ทางสปสช.ก็ได้มีการขับเคลื่อนโดยสร้างกลไกขึ้นมา คือกลไกพี่เลี้ยงกองทุนและมีการเทรนนิ่งขึ้น ซึ่งพี่เลี้ยงจะทำลักษณะของปีต่อปี พี่เลี้ยงจะมีการเทรนนิ่งในเรื่องของการที่จะให้ไปพัฒนากระบวนการทำแผน โดยเน้นประเด็นสุขภาพ แนะนำในส่วนของไกด์ไลน์การทำงานของพี่เลี้ยง โดยพี่เลี้ยงลงไปฝึกการเขียนโครงการ ที่ผ่านมานั้น ใน 3 จังหวัดจะมีการรู้จักกองทุนน้อย โครงการอาจจะไม่ได้คุณภาพรวมถึงการบริหารโครงการด้วย โดยจะให้พี่เลี้ยงเข้าไปดูแลจุดนี้ ในการทำงานกองทุนจะยึดตามปัจจัยกองทุนสุขภาพที่เป็นปัญหาการตายของคนใน 3 จังหวัด จะเอาประเด็นสุขภาพเป็นตัวตั้งแล้วมาขอเงินไปทำโครงการ
กองทุนเปรียบเสมือนกับสสส.ดังนั้นต้องยอมรับว่าพชต.ไม่ได้มีเงินแต่เงินจะอยู่ในตำบล ดังนั้นการทำงานที่จะทำให้พชอ.เชื่อมกับกองทุนต้องให้เครือข่ายไปขอทุนจากกองทุนตำบล ดังนั้นเราจะบอกกับกองทุนถึงการนำเงินไปทำปัญหาที่สำคัญของพื้นที่ ในส่วนพี่เลี้ยงจะมีเงินสนับสนุนให้ ในปี 2565 นี้ระบบพี่เลี้ยงไม่ได้มีขึ้นแล้ว แต่จะมีร่องรอยของพี่เลี้ยงเดิมอยู่ เพราะว่าหน่วยงานรัฐ รวมถึงสปสช. เงินที่ทำตรงนี้มีน้อยมาก ทุกปีจะให้พี่เลี้ยงไปพบกองทุน ทำแผน พัฒนาโครงการ แต่ปีนี้เงินประมาณ 3 แสน ดูแล 600 กว่าทุน ซึ่งคิดไม่ออกว่าจะทำตรงไหนบ้าง ดังนั้นหากจะตกลงกับพี่เลี้ยงสำหรับที่จะทำเรื่องหญิงตั้งครรภ์ก็จะต้องดูการใช้กลไกพี่เลี้ยงในการลงไปทำ สิ่งที่พี่เลี้ยงจะลงไปทำคือพี่เลี้ยงต้องลงไปทำการทำแผน ในการทำแผนนี้ซึ่งเว็บกองทุนที่สร้างขึ้นมา สามารถที่จะทำแผนสุขภาพได้ ในแผนที่กองทุนทำหากมีการที่จะทำกับกองทุนลักษณะแต่ละตำบล พี่เลี้ยงที่ทำงานด้วยอาจจะมีกลไกให้ตัวพี่เลี้ยงไปทำเรื่องแผนเด็กเยาวชนและครอบครัว ซึ่งสิ่งนี้จะมีประเด็นการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นอยู่ ถ้าหากทุกตำบลที่พี่เลี้ยงลงไปทำ เมื่อทำแผนแล้วก็ให้มีโครงการ มีหน่วยงานที่ไปขอโครงการ เวลาทำงานกอทุนนั้นจะมีการเน้นให้เขียนโครงการ เจ้าของโครงการนั้นสามารถที่จะเขียนออนไลน์ได้ ที่สำคัญเมื่อเขียนโครงการออนไลน์แล้วจะมีประเด็นเด็กขึ้นมา เมื่อกองทุนให้เงินสนับสนุนตัวระบบของคนที่ได้ทุนก็จะมีการรายงานผ่านเว็บ ที่สำคัญหากแต่ละตำบลมีการชักนำเรื่องของเด็ก เรื่องของการตั้งครรภ์ได้ต้องมีการกรอกข้อมูลของสถานการณ์เด็กและเยาวชน ตัวนี้สามารถไปนำเสนอข้อมูลของตำบลได้ ที่ผ่านมาการทำแผนนั้นจะมีด้วยกัน 2 แบบคือ ด้านบนสั่งให้ทำ และต้องเอาข้อมูลจากพื้นที่เข้ามาข้อคิดเห็นร่วมกันว่าน่าจะมีแผน ซึ่งเงินมี เครือข่ายมี ระบบการจัดการมี ตัวพชอ.เองอาจจะถูกดันขึ้นมา

อาจารย์ซอฟียะห์: ถึงแม้ว่าในเฟสถัดไปอาจจะไม่มีงบมาสนับสนุนแต่สามารถที่จะมีพี่เลี้ยงเดิมมาคู่กับพี่เลี้ยงที่สร้างใหม่ เพื่อที่จะไปตกลงกับกองทุนตำบลได้ ในเฟสที่แล้วนั้นอำเภอยะหริ่งได้มีการสนับสนุนให้กับตำบลตาแกะ โดยใช้งบของกองทุนตำบลหมดเลยในการจัดการการดำเนินงานการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น ที่ผ่านมาได้มีการเลือกพื้นที่อาสาสมัครเข้ามาร่วมในเฟสที่แล้ว เมื่อดูอุบัติการ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของจังหวัดชายแดนใต้ จะเป็นข้อมูลของปี 62 ในส่วนของจังหวัดยะลาที่ได้เลือกพื้นที่นำร่องจะเป็นอำเภอรามัน จังหวัดปัตตานีจะเลือกยะหริ่ง กับเมืองปัตตานี นราธิวาสจะเลือกอำเภอบาเจาะ สำหรับในเฟสนี้ยังคงยึดถึงปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น คงต้องมีการเสนอใช้อำเภอใกล้เคียง ครั้งนี้จะมีทางศบ.สต.ที่มีการเข้าร่วมในครั้งนี้ ในเฟสนี้อยากจะชวนทุกท่านเข้ามาทำงาน ในด้านของการปรับเปลี่ยนโมดูลและการทำสื่อนั้นสมาคมจันทร์เสี้ยวเคยทำหน้าที่ในเรื่องของการผลิตโมดูล

คุณอิลฟาน: การต่อยอดของงานปีที่แล้ว รวมทั้งสถานการณ์ที่ไม่สามารถร่วมตัวได้จำเป็นต้องใส่สื่อมีเดียในการขับเคลื่อน เมื่อดูกลุ่มเยาวชนเป้าหมายในโครงการนี้ ส่วนใหญ่จะมีช่องทางในการเสพสื่อมาก จะมีวิถีชีวิตอยู่กับสิ่งนี้หมดเลย ดังนั้นเลยทำช่องทางที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น เช่น มีเพจ ทำคลิปสั้นๆ ทำกราฟฟิคที่น่าสนใจ และที่มีการจัดทำแล้วแต่ยังไม่มีการใช้ จะเป็น อินสตราแกรม และ Tiktok เพราะส่วนใหญ่กลุ่มเยาวชนจะมีการใช้ติ๊กต็อกจำนวนมาก ได้มีการนำสมาคมจันทร์เสี้ยวเข้ามานั่งพูดคุยและออกแบบให้มีความน่าสนใจมากขึ้น

คุณวัลภา: ส่วนของโมดูลที่ทำ จะต้องดูถึงภารกิจหลักของเฟส 2 ที่จะใช้โมดูลให้เป็นประโยชน์ เป็นประเด็นหลักที่โมดูลที่จะปรับนั้นตอบโจทย์หรือไม่ และจะมีเกณฑ์การเลือก 19 อำเภออย่างไรบ้าง และระบบติดตามจะอยู่ในรูปแบบเหมือนเดิม หรือมีการปรับเปลี่ยนขึ้นไหม ในงานที่ผ่านมานั้นที่สังเกตเห็นเป็นเรื่องที่ดี เป็นผลสำเร็จด้านบวกที่คนจะสืบต่อ โดยได้มีฐานโรงเรียน และฐานชุมชน แต่ยังไม่มีฐานครอบครัว เข้ามาส่วนร่วม และการมีสภาเยาวชนเข้ามาส่วนร่วมเป็นสิ่งที่ดี เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมาก แต่ที่ยังไม่เห็นคือ ความคิดเห็นของเยาวชนสมัยนี้ ทัศนะคติ มุมมองในเรื่องการมีเพษสัมพันธ์เป็นอย่างไร เพราะสิ่งนี้คือ?
sulaiman เมื่อ 7 พ.ค. 2567
วางแผนการทำงานร่วมกันและจัดเตรียมงานประชุมกำกับทิศ
ผลลัพท์: 1. เตรียมความพร้อม ประชุมคณะกรรมการกำกับทิศ วันที่ 29 ต.ค. เวลา 10.00-12.00 น.
1.1 ได้เชิญและติดต่อประสานแล้ว โดยรวม 23 คน ประกอบด้วย
- ผอ.รพ.นาทวี นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ
- หมอท็อป ติดภารกิจไม่สามารถเข้าร่วมได้
- รอตัวแทนจากพื้นที่ ยืนยัน โดยมีเชิญ สสอ. /พี่เลี้ยง และแจ้งให้เตรียมนำเสนอผลการดำเนินงาน เฟซ 1
- เชิญ 4 อำเภอเข้าร่วม พี่เลี้ยงเดิม และพื้นที่
- ผู้ทรงฯ วิชาการ: อ.นาง/ อ.แคท /อ.โอ /พี่ปุ๊ก สคร.12/พี่แอ๊ด/ศบ.สต
- เชิญตัวแทนทีมสมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) (เชิญแล้ว)
1.2 ทีมเยาวชน (ฝาก อานัติ หาทีมเยาวชนมาเพิ่มได้) เชิญมาอยู่ในกลุ่มได้ เพื่อร่วมออกแบบและให้ความเห็น
(สุขภาวะทางเพศของกลุ่มเด็กวัยรุ่น) มีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการ วางแผน ทำโครงการ ต่อยอดงาน

2. วาระการประชุม
- นำเสนอโครงการเฟส 2
• เล่าโมดูล และการปรับโมดูลและคู่มือ
• การปรับโมดูลและการทำสื่อ ได้ทาบทามทีมงานสมาคมจันทร์เสี้ยว ฯ แล้ว
• การทำสื่อ - สร้างเพจ บอกเล่าว่ามีกิจกรรม และวัตถุประสงค์ ผลเป็นอย่างไร พร้อมภาพประกอบ เพื่อหวังให้คนอื่นเอาไปใช้ต่อได้ ใช้ประโยชน์ได้
- บอกเล่าผลการดำเนินงานเฟซ 1 ว่าทำอะไรมาแล้วบ้าง
- ร่างคำสั่งแต่งตั้ง ให้ดู wording ส่งลิงค์มาเป็น one drive
- หารือในประเด็นต่างๆ
- ในวันนั้นจะทาบทามผู้รับผิดชอบ รับดำเนินงานตามแผนงานที่โครงการกำหนดไว้ ด้วย

3. ใบลงทะเบียน ให้กรอก google เพื่อแจ้งรายชื่อและเลขบัญชี เพื่อจ่ายค่าตอบแทน และยืมเงินสถาบันก่อน

4. ประเด็นการคัดเลือกพื้นที่ใหม่
- ดูข้อมูลสถานการณ์การตั้งครรภ์ในเยาวชน ในแต่ละอำเภอ
- เน้นพื้นที่ใกล้เคียง เป็น baseline
- ตั้งเกณฑ์เบื้องต้นไว้ก่อน และให้ คกก.กำกับทิศ ช่วยดู
การเสริมสมรรถนะของหน่วยงาน
- ทีมวิชาการ จะไหวหรือไม่

5. งานภาคสนาม
- การทำแผนและโครงการของพื้นที่และขอสนับสนุนงบจากกองทุนตำบล
- อยากได้ความเห็นจาก สปสช. ภก.สมชาย ละอองพันธุ์ (พี่เปิ้ล)
- Roadmap และ MOU
- ประเด็นการหาพี่เลี้ยง
• เอาตัวแทนตำบล/อำเภอ
• พี่เลี้ยง กับ ทีมประเมิน แยกกัน เพื่อให้ทีมประเมิน มาประเมินพี่เลี้ยง (งบค่าตอบแทนคนละก้อน) ให้พี่เลี้ยงนำเสนอทีม
• ทีมประเมินจะมาจากส่วนไหน (1-2 คน ต่ออำเภอ แต่ปรับได้ เพื่อให้การดำเนินงานคล่อง) เพื่อโครงการจะอบรมให้กับพี่เลี้ยงในพื้นที่
• ไม่มีค่าตอบแทนให้พี่เลี้ยง (การทำงาน) แต่ จะสนับสนุนการประชุม/การทำงานของทีมพี่เลี้ยง เน้นเอื้ออำนวยในการประชุม (อาหาร ค่าตอบแทนผู้เข้าประชุม วิทยากร) จัดประชุมในพื้นที่
- กระตุ้นทีมพี่เลี้ยงอย่างไรให้ทำแผน ทำโครงการ
- เรื่องการขอทุนจากกองทุนตำบล ต้องมีตัวแทนจากกองทุนฯ นี้
• ต้องรู้จักคนที่ขับเคลื่อนงานในลักษณะนี้ เพื่อทาบทามเข้าร่วมในโครงการ
- ปัตตานี: คนทำงานร่วมด้วย 1 คน อานัติทาบทามแล้ว (อิสมาแอ) ให้ทำงานคู่กับอานัติ
- นราธิวาส : ....
อย่างไรก็ตามประเด็นพี่เลี้ยง รอหารือเรื่องพี่เลี้ยง ในวันที่ 29 ต.ค. นี้

6. การติดตามประเมินผล
- การสร้างแบบฟอร์มการประเมิน
- ทั้งนี้ จะเอาข้อมูลมา matching กัน
- จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยน

7. เสนอการจ่ายค่าตอบแทนส่วนภาคสนาม
- ทำ TOR 1 คน สำหรับ อานัติ แล้วไป sub contact กับทีม
- หรือแบ่งจ่ายตามจังหวัด 3 จังหวัด 3 คน
โดยประเด็นนี้ให้หารือ อ.กุล ต่อไป

ผู้เข้าร่วมประชุม
o ดร.ซอฟียะห์ นิมะ
o นางสาวฮามิด๊ะ หวันนุรัตน์
o นางฐนัชตา นันทดุสิต (พี่แอน)
o นายอานัติ หวังกุหลำ
o นายสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ
sulaiman เมื่อ 7 พ.ค. 2567
- วางแผนการทำงานร่วมกันของคณะทำงาน
- เตรียมงานประชุมคณะกรรมการกำกับทิศครั้งที่ 1/2564
ผลลัพท์: 1. ประชุมเตรียมงานกำกับทิศครั้งที่ 1/2564
- เตรียมจัดประชุมคณะกรรมการกำกับทิศโครงการ ในวันที่ 29 ตุลาคม 2564 เวลา 10:00-12:00 น.
- เชิญหมอสุวัฒน์ หมอวรสิทธิ์ พี่เปิ้ล สปสช.เขต 12 สงขลา เชิญทีมพี่เลี้ยง และพื้นที่นำร่อง

2. เกี่ยวกับคณะทีมงาน
- เปลี่ยนประชุมคณะทีมงานประจำสัปดาห์ทุกวันอาทิตย์เป็นทุกวันศุกร์ เวลา 19:00-20:00 น.
- จัดหาทีมสื่อ
- ทีมถอดบทเรียน
- ทีมพี่เลี้ยงกับทีมประเมินจะเป็นคนละทีมกัน
- ส่งรายงานความก้าวหน้าให้ สสส. ทางอีเมลทุกวันที่ 15 ของเดือน

ผู้เข้าร่วมประชุม

1) ดร.ซอฟียะห์ นิมะ

2) นางสาวฮามิด๊ะ หวันนุรัตน์

3) นางฐนัชตา นันทดุสิต (พี่แอน)

4) นายอานัติ หวังกุหลำ

5) นางสาวจิราพร อาวะภาค (พี่ปู)

6) นายสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ
sulaiman เมื่อ 7 พ.ค. 2567
กิจกรรม ประชุมทีมงานครั้งที่ 1 (ผ่านซูมออนไลน์ วันที่ 10 ตุลาคม 2564)
วัตถุประสงค์
- เพื่อวางแผนการทำงานร่วมกันของคณะทำงาน
ผลลัพท์: 1. ประชุมคณะทำงานโครงการฯการป้องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดชายแดนใต้ เฟซที่ 2

- อาจารย์ซอฟียะห์ เล่าความเป็นมาของโครงการ และผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในระยะที่ 1

พื้นที่เดิม 3 จังหวัด 4 อำเภอ ได้แก่

1) อำเภอเมือง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

2) อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

3) อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

- โครงการฯในระยะที่ 2 จะดำเนินการในพื้นที่ 19 อำเภอ 20 ตำบล

- โครงการจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม 2564 ถึง 30 เมษายน 2566

2. คณะทำงาน

- คณะทำงานประกอบด้วย อ.ซอฟียะห์ พี่แอน พี่ปู พี่ด๊ะ ไล

- ฮามีด๊ะ แจ้งต่อที่ประชุมขณะนี้กำลังรอเอกสารประกอบสัญญาจากสำนักวิจัย

- ที่ประชุมเสนอสุไหลหมาน เป็นผู้ประสานงานโครงการ ดูแลภาพรวมของโครงการ

- อ.ซอฟียะห์กับพี่ด๊ะ จะคุยกับอ.กุลทัต เรื่องตำแหน่งผู้ประสานงานโครงการ

- อานัติ รับผิดชอบงานภาคสนามของโครงการ

- จะให้มีการประชุมคณะทำงานประจำสัปดาห์ทุกวันอาทิตย์ เวลา 17:00 – 18:00 น.

- ทีมวิชาการของเฟซที่ 2 ได้แก่ หมอท็อป หมอสุวัฒน์ สมชาย(พี่เปิ้ล สปสช.) พี่อุษา พี่พร หมอนูรีด้า คุณชาคริต

- จะมีการจัดประชุมคณะกรรมการกำกับทิศโครงการในสิ้นเดือนตุลาคมนี้ ประชุมที่สนส.ม.อ. และผ่านซูม


ผู้เข้าร่วมประชุม

1) ดร.ซอฟียะห์ นิมะ

2) นางสาวฮามิด๊ะ หวันนุรัตน์

3) นางฐนัชตา นันทดุสิต (พี่แอน)

4) นายอานัติ หวังกุหลำ

5) นายสุไหลหมาน เบ็ญดูสะ