สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี ”

จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
อ.ดร.เพ็ญ สุขมาก

ชื่อโครงการ การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี

ที่อยู่ จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 66-00459 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 31 ตุลาคม 2567


กิตติกรรมประกาศ

"การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี



บทคัดย่อ

โครงการ " การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 66-00459 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤศจิกายน 2566 - 31 ตุลาคม 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 0.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

  1. พื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ของภาคใต้ เน้นการทำเกษตรเชิงเดี่ยวได้แก่ ยางพาราและปาล์มนํ้ามัน จำนวนถึง 18,691,482 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 85.94 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด ในขณะที่การปลูกพืชอาหาร เช่น ข้าวนาปี และนาปรังมีเพียง 883,326 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.06 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด ส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์คิดเป็นร้อยละ 3.07 สำหรับผลผลิตต่อไร่ของพืชหลักเกือบทุกชนิดตํ่ากว่าค่าเฉลี่ยของภาคใต้และประเทศ ปี 2563 จำนวนปศุสัตว์ในภาพรวมมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย ส่วนปริมาณสัตว์นํ้า ณ ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี มีจำนวน 84,762 ล้านตัน หดตัวจากปีก่อนร้อยละ 15.5 ด้านการปรับใช้ระบบเกษตรผสมผสานหรือพืชร่วมยางอยู่ในระดับการปรับใช้ไม่เกินระดับ 4 นั้นคือ เกษตรกรเพิ่งเริ่มต้นมีความสนใจ ทดลอง และกำลังปรับใช้ระบบเกษตรผสมผสานหรือพืชร่วมยาง แต่ข้อจำกัดที่สำคัญของการปรับใช้ระบบเกษตร คือ ความเพียงพอของแหล่งนํ้า การระบาดของโรคและศัตรูพืช/สัตว์ และขาดความรู้ทักษะทางการเกษตร และข้อจำกัดอื่น ๆ เช่น ที่ตั้งไม่เหมาะสม ดินเสื่อมโทรม ขาดพันธุ์พืช/พันธุ์สัตว์ที่เหมาะสม ที่ดินขนาดเล็ก ขาดแคลนเงินทุน ขาดตลาดรองรับ ขาดแคลนแรงงาน และนโยบายสนับสนุนไม่แน่นอน
    1. ภาคใต้ประสบปัญหาความยากจนรุนแรงที่สุด โดยมีสัดส่วนคนจนสูงสุดที่ร้อยละ 10.94 ซึ่งจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสยังเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุด 10 อันดับแรกของประเทศไทย ในปี 2564 จังหวัดปัตตานีมีสัดส่วนคนจนติดในอันดับสูงสุด 10 อันดับแรกมาตั้งแต่ปี 2549 และต่อเนื่องมาจนถึงปี 2564 รวมระยะเวลา 16 ปีติดต่อกัน โดยพบว่าภาคเกษตรกรรมเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีปัญหาความยากจนสูงที่สุด โดยสัดส่วนแรงงานยากจนในภาคเกษตรกรรมปี 2564 สูงถึงร้อยละ 11.43 สำหรับการว่างงานโดยปี 2558-2562 อัตราการว่างงานกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานการณ์ความยากจนของประชากรยังอยู่ในระดับสูงมาก เนื่องมาจากผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกตํ่า โดยเฉพาะยางพาราและปาล์มนํ้ามัน โดยพบว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนรวมมูลค่า 139,173 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.82 ของประเทศและร้อยละ 9.44 ของภาคใต้ โดยในปี 2562 มูลค่าผลิตภัณฑ์รวมมวลภาคการเกษตรมีสัดส่วนร้อยละ 29.00
    2. สถานการณ์เชิงลบด้านโภชนาการของเด็กในชายแดนภาคใต้ยังมีหลายด้านที่ควรเร่งแก้ปัญหา คือ พื้นที่ชายแดนใต้นับเป็นกลุ่มที่มีปัญหาทุพโภชนาการมากที่สุดในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กในระยะยาว ผลสำรวจพบว่า ประมาณร้อยละ 23 ของเด็กที่มีอายุตํ่ากว่า 5 ปีในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส กำลังเผชิญกับภาวะเตี้ยแคระแกร็น (มีส่วนสูงตํ่ากว่าเกณฑ์อายุ) ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่ร้อยละ 13 เกือบสองเท่า โดยจังหวัดนราธิวาสมีเด็กอายุตํ่ากว่า 5 ปีที่มีภาวะผอมแห้งสูงสุดใน 17 จังหวัดที่ทำการสำรวจแบบเจาะลึก โดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยประเทศที่ไม่ถึงร้อยละ 8 ขณะเดียวกัน ภาวะผอมแห้งของเด็กอายุตํ่ากว่า 5 ปีในจังหวัดปัตตานีก็เป็นที่น่ากังวลเช่นกัน โดยอยู่ที่ร้อยละ 10
      ต้นทุน องค์ความรู้ ผลงานที่ผ่านมาของสถาบันนโยบายสาธารณะ ระยะที่ 1 ตัวอย่างเกษตรผสมผสานในสวนยางพาราของอำเภอควนเนียง 12 ราย และแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์บ้านเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ ในรูปแบบเกษตร 1 ไร่ 1 แสน การยกระดับตลาดเกษตร ม.อ. เป็นอุทยานอาหารปลอดภัย โดยพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค เกิดข้อมูลสุขภาวะเด็ก 6-14 ปี นำไปสู่แผนบูรณาการความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยตำบลชะแล้ และตำบลควนรู และเกิดยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา ระยะที่ 2 รูปแบบเกษตรผสมผสานในสวนยาง 10 แบบ องค์ความรู้การทำ 1 ไร่ 1 แสนในพื้นที่ทำนา เกิดรูปแบบการเชื่อมโยงผลผลิตระหว่างเกษตรกรตลาดเกษตร ม.อ.ไปสู่ร้านอาหาร และผู้บริโภค การขยายผลและตำบลบูรณาการความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยไปสู่ตำบลรัตภูมิ เชิงแส และเทศบาลสิงหนคร การผลักดันยุทธศาสตร์ระบบอาหารสู่แผนปฏิบัติราชการจังหวัดสงขลา ได้แก่ โครงการแก้ปัญหาโภชนาการ โดย วพบ.สงขลา และสถาบันนโยบายสาธารณะ
      ระยะที่ 3 รูปแบบเกษตรผสมผสานไปส่งเสริมเกษตรกรใน 5 อำเภอของจังหวัดสงขลา จำนวน 44 แปลง และประเมินมูลค่าด้านเศรษฐศาสตร์จำนวน 20 แปลงคัดเลือกเป็นแหล่งเรียนรู้จำนวน 8 แปลง จัดทำคู่มือ หลักสูตรการทำสวนยางยั่งยืน ยกระดับชุมชนบ้านคูวาเป็นรูปแบบ 1 ไร่หลายแสน โดยมีแหล่งเรียนรู้ย่อยของชุมชนจำนวน 10 แห่ง การขยายผลรูปแบบตลาดอาหารปลอดภัยไปสู่ห้างสรรพสินค้า ตลาดเอกชน และตลาดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนอาหารและโภชนาการจำนวน 79 แห่งเพื่อใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล การบูรณาการแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลาเข้าสู่แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา ระยะที่ 4 แหล่งเรียนรู้จำนวน 8 แปลงของจังหวัดสงขลา ขยายผลรูปแบบเกษตรผสมผสาน 4 รูปแบบ คือ 1) ระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลง 2) ระบบเกษตรหลากหลายแบบร่วมยาง 3) ระบบเกษตรผสมผสาน 4) ระบบวนเกษตร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลาขยายผล 1 ไร่หลายแสนอย่างต่อเนื่องโดยใช้รูปแบบบ้านคูวา ส่วนสามจังหวัดภาคใต้ชายแดนไม่สามารถขยายผลได้เพราะเป็นนาร้าง โรงพยาบาลจำนวน 8 แห่งของจังหวัดสงขลาเกิดการเชื่อมโยงผลผลิตอาหารชุมชน การเกิดพื้นที่ตลาดอาหารปลอดภัยในตลาดจะบังติกอ เทศบาลเมืองปัตตานี เกิดแผนงานระบบอาหารและโภชนาการรวมทั้งโครงการส่งเสริมโภชนาการ จำนวน 11โครงการโดยใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลนครยะลา เกิดแผนระบบอาหารจังหวัดนราธิวาส ระยะที่ 5 ได้รูปแบบเกษตรกรรมในสวนยางพาราจำนวน 3 รูปแบบที่เหมาะสมกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1) ระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลง (ยางพารา ทุเรียน ปาล์มนํ้ามัน สละ กล้วย เป็นต้น) 2) ระบบการปลูกพืชร่วมยาง (ยางพาราร่วมกับผักกูด ผักเหรียง ไม้เศรษฐกิจ กาแฟ) 3) ระบบเกษตรผสมผสาน (ยางพารา ไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ ผักกินใบแพะ วัว หมู เป็ด ไก่ ปลา) ถอดบทเรียนและประเมินมูลค่าด้านเศรษฐศาสตร์จำนวน 16 ราย ได้ Best practice จำนวน 5 ราย ซึ่งมีศักยภาพพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ เกิดการเชื่อมโยงผลผลิต (Matching Model) อาหารชุมชนไปยัง รพ. 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลบางกลํ่า และโรงพยาบาลควนเนียง ในจังหวัดสงขลา และโรงเรียน 3 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านดอนรัก โรงเรียนบ้านปะกาจินอ ในจังหวัดปัตตานี โรงเรียนบ้านแขยง จังหวัดนราธิวาส และร้านอาหาร 1 แห่ง คือ โรงแรม CS ปัตตานี จ.ปัตตานี และการสื่อสารเรื่องอาหารปลอดภัยจังหวัดปัตตานี โดยแนวคิดเรื่อง ความสะอาดเป็นส่วนนึงของความศรัทธา แนวคิดอาหารฮาลาล ตอยยีบัน(การนำสิ่งดีๆสู่ชีวิต ความบารอกัตในชีวิต) เผยแพร่สู่สาธารณะ 10 ช่องทาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 17 แห่งของจังหวัดยะลา มีโครงการระบบอาหารและโภชนาการปีงบประมาณ 2565 จำนวน 14 โครงการ ปีงบประมาณ 2566 จำนวน 16 โครงการโครงการเกี่ยวกับฟัน ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 2 โครงการ และปีงบประมาณ 2566 จำนวน 2 โครงการ เกิดตำบลต้นแบบการจัดการระบบอาหารอย่างครบวงจรให้กับกลุ่มเปราะบาง ในระดับ อปท. (COVID-19) จังหวัดปัตตานี 5 แห่ง จังหวัดยะลา 1 แห่ง และระดับ รพ.สต.ในจังหวัดนราธิวาส 6 แห่ง แผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ ปีงบประมาณ 2566- 2567 มีการดำเนินงานเรื่องระบบอาหารและโภชนาการที่ครบวงจร ปีพ.ศ. 2566 มีโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารในครัวเรื่อนยากจน 3 จังหวัด จำนวน 1 โครงการ ปีพ.ศ. 2567 จำนวน 5 โครงการ คือ 1) โครงการยกระดับไม้ผลที่มีประสิทธิภาพในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน งบ 20 ล้าน กิจกรรมสำคัญ ขยายผลทักษะการผลิตไม้ผลตามมาตรฐาน GAP การผลิตไม้ผลตามอัตลักษณ์ 2) พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูป งบ 2.4 ล้านบาท 3) ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์นํ้าเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร งบ 10 ล้านบาท 4) ยกระดับการเลี้ยงปศุสัตว์เพื่อสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้เศรษฐกิจฐานราก เพื่อความมั่นคง มั่นคั่ง งบ 49 ล้านบาท 5) โครงการยกระดับการแก้ไขปัญหาความยากจนและเสริมสร้างสุขภาวะครัวเรือนชายแดนใต้อย่างยั่งยืน ระยะที่ 2 งบ 10.2 ล้านบาท

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.พัฒนายกระดับต้นแบบการทําเกษตรกรรมยั่งยืนใน พื้นที่เป้าหมายและขับเคลื่อนให้เกิดการขยายผล (Model for Scaling up)
  2. 2.ขับเคลื่อนและยกระดับ โมเดล (good practice) ใน การกระจาย เชื่อมโยง ผลผลิต อาหารเพื่อสุข ภาวะให้กับ ประชาชนใน ชุมชน ผ่าน กลไกต่างๆ ไปสู่การขยาย ผล (Model for Scaling up)
  3. 3.พัฒนา ต้นแบบการ ส่งเสริมความ รอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุข ภาวะ (ความ มั่นคงอาหาร/ อาหาร ปลอดภัย/ โภชนาการ) ให้กับ ประชาชนใน พื้นที่เพื่อปรับ พฤติกรรม การบริโภค และร่วมพลัง เป็นพลเมือง อาหาร
  4. 4.พัฒนา ระบบ/กลไก เฝhาระวัง ผลผลิต ปลอดภัย เทศบาลนคร ยะลา จ.ยะลา
  5. 5.พัฒนา ต้นแบบ ระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ ตลอดห่วงโซ่ ที่แก้ปัญหา ภาวะ โภชนาการใน กลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และกลุ่ม เปราะบาง
  6. 6.พัฒนาและ ขับเคลื่อน นโยบาย สาธารณะ เพื่อส่งเสริม บริโภค อาหารเพื่อสุข ภาวะ/ระบบ อาหารที่ ยั่งยืน
  7. 7.พัฒนาฐาน ข้อมูลและ แผนภาพ เพื่อใช้ขับ เคลื่อนและ บูรณาการทํา งานระบบ อาหารตลอด ห่วงโซ่

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 1. ขับเคลื่อนรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนให้เกิด การขยายผลในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ชายแดนเพื่อนําไปสู้การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ
  2. 2. พัฒนาต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ที่แก้ปัญหาภาวะ โภชนาการในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และกลุ่มเปราะบาง โดยกลไก รพ.สต.ที่ ถ่ายโอนภารกิจมายัง อบจ.ปัตตานี โดยส่งเสริมความรอบรู้และสร้างปฏิบัติการ ด้านอาหาร (ความมั่นคงอาหาร/อาหารปลอดภัย/ โภชนาการ)
  3. 1.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความร่วมมือการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
  4. 1.2 ทีมนักวิชาการออกแบบหลักสูตรเกษตรกรรมยั่งยืนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ จากเกษตรกร 10 แห่ง และออกแบบเครื่องมือประเมินความมั่นคงทางอาหาร ระดับครัวเรือน (นำไปใช้ประเมินกลุ่มเป้าหมาย 200 คน)
  5. 2.1 เตรียมความพร้อมการทำงานตำบลต้นแบบบูรณาการระบบอาหาร ประสานรพ.สต.ถ่ายโอน จำนวน 40 ตำบล และอบจ.คัดลือกแกนนำตำบล ตำบลละ 5 คน
  6. 3. พัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมบริโภคอาหารเพื่อสุข ภาวะ/ระบบอาหารที่ยั่งยืน โดยกลไกกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (จังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) กลไกผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กลไกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
  7. 4. กิจกรรมการสื่อสารสาธารณะและการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย
  8. 5. การติดตามประเมินผลภายนอก
  9. 1.3 สนส. และทีมวิชาการสร้างปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่งให้มีความพร้อมเป็นจุดถ่ายทอดการทำเกษตรกรรมยั่งยืน การเป็นทีมวิทยากร
  10. 2.2 ทีมนักวิชาการ จาก Thailand Policy lab, ม.อ.ปัตตานี, วสส.ยะลา ดำเนินการ Training แกนนำตำบล มีขีดความสามารถใช้แครื่องมือ CHIA ประเมินระบบอาหารตลอดห่วงโซ่, การวิเคราะห์ข้อมูล, การจัดทำแผนที่ต้นทุนระบบอาหารชุมชน, การจัดทำแผนงานโครงการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่
  11. 3.1 ประชุมทีมคณะเศรษฐศาสตร์มอ. เพื่อวางแผนประเมินโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนากลุ่มจังหวักภาคใต้ชายแดน และแผนของอบจ. แผนปี 65และ66 เพื่อประเมินถึงความคุ้มค่าในมิติทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
  12. 3.4 การประชุมกำหนดวาระนโยบายเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร นโยบายการแก้ปัญหาโภชนาการเด็ก ให้อยู่ในแผนของกลุ่มจังหวัดและอบจ. ปัตตานี
  13. 4.1 ประสานกับวิทยุมอ.88 หาดใหญ่ มอ.ปัตตานี เอามาออกแบบการพัฒนาประเด็นสื่อสาร ข้อเสนอเชิงนโยบายความมั่นคงทางอาหาร การทำเกษตรกรรมยั่งยืน ตลาดสีเขียวในชุมชน อาหารปลอดภัย นโยบายแก้ปัญหาด้านโภชนาการ เช่นเด็กเตี้ย เด็กผอม
  14. 5.1 ติดตามประเมินผลภายในโครงการ เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามตัวชี้วัดและให้ข้อเสนอแนะต่อผู้รับผิดชอบโครงการรวมทั้งช่วยประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เช่นค่าใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลประโยชน์
  15. 6. ติดตามผลความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุขภาวะ รวมทั้งจัดทําแผนยุทธศาสตร์ ท้องถิ่น ขับเคลื่อนแผนไปสู้การปฏิบัติโดยรพ.สต.ที่ถ่ายโอนภารกิจมายัง อบจ.ปัตตานี
  16. 1.4 จัด workshop ให้เกษตรกร 200 คน ในพื้นที่แปลงเรียนรู้ของเกษตรกรต้นแบบ พร้อมกับประเมินความมั่นคงทางอาหาร ของกลุ่มเป้าหมาย 200 คน
  17. 2.3 แกนนำตำบล ดำเนินการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล
  18. 2.7 อบจ. สปสช. โหนด สสส. ทีมวิชาการ ประชุมพิจารณาโครงการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ จัดกลุ่มชุดโครงการที่ใช้งบประมาณจาก สปสช., ชุดโครงการที่ใช้งบประมาณจากแผนงานร่วมทุน สสสและ อบจ.,ชุดโครงการที่ใช้งบประมาณกับสำนักอื่นๆของ สสส.
  19. 2.8 โครงการสร้างปฏิบัติการในพื้นที่ (มี งบ สสส. นำร่อง 5 ตำบล และ อบจ. 40 ตำบล)
  20. 2.9 จัดหลักสูตรพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาหารให้มีความสามารถดำเนินงานการจัดการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ (หลักสูตร non degree)
  21. 3.2 ทีมนักวิชาการลงพื้นที่ประเมินโครงการ
  22. 6.1 ทีมวิชาการ ม.อ. ปัตตานี ,วสส.ยะลา ,ติดตามประเมินผลแบบเสริมพลังให้กับตำบลทั้ง 40 แห่ง โดยประเมินผลผลัพธ์ เรื่อง ความสามารถของคน ความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ความรู้ที่เกิดขั้นจากการทำงาน มาตรนโยบาย
  23. 5. ระบบติดตามสนับสนุนให้คำปรึกษาการทำเกษตรกรรมยั่งยืน (กลุ่มไลน์) ให้กับแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่ง และแกนนำเกษตรกร 200 คน
  24. 2.4 นักวิชาการ แกนนำตำบลจัดทำแผนที่ต้นทุนระบบอาหารชุมชน
  25. 2.5 นักวิชาการ แกนนำตำบล workshop การเขียนแผนงาน โครงการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่
  26. 2.6 ทีมนักวิชาการ แกนนำตำบล อสม. ออกแบบการทำกลไกติดตามด้านโภชนาการในพื้นที่
  27. 3.3 นักวิชาการนำผลการประเมินคืนให้กับส่วนราชการที่ดำเนินโครงการ พร้อมกับworkshop การยกระดับการทำแผนงานโครงการที่ตอบความคุ้มค่าในมิติเศรษฐกิจและสังคม
  28. 4.2 จัดเวทีนโยบายในพื้นที่(คลายๆ Thai pbs)
  29. 1.6 เดือน ก.ค.ประเมินความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน เกษตรกร 200 คน (ประเมินหลังการเข้าร่วมกิจกรรม)
  30. 7. การพัฒนาชุดความรู้ แนวทางปฏิบัติ และคู่มือ Model เกษตรกรรมยั่งยืนใน สวนยางพารา ขยายผลกับการยางแห่งประเทศไทยสามจังหวัดภาคใต้ชายแดน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  31. 6.2 นักวิชาการ แกนนำตำบล สรุปบทเรียน และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารตลอดห่วงโซ่
  32. 7.1. นักวิชาการลงพื้นที่ ประเมินแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่ง ถอดบทเรียนการเป็นแหล่งเรียนรู้ และจัดทำ model แหล่งเรียนรู้ฯ จัดทำเป็นแนวทางปฏิบัติการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางพารา
  33. 7.2 จัดประชุมแลกเปลี่ยนการทำเกษตรกรรมยั่งยืน ในรูปแบบการจัดประชุมวิชาการ หรือการจัดสมัชชาเรื่องสวนยางยั่งยืน ทั้ง onsite และ online
  34. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์และจัดทำเครื่องมือส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหาร
  35. การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความร่วมมือการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
  36. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานพัฒนาต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอด ห่วงโซ่ที่แก้ปัญหาภาวะโภชนาการระดับชุมชน
  37. การประชุมสร้างความร่วมมือพัฒนาตำบลต้นแบบจัดการระบบอาหารเพื่อสุขภาวะที่แก้ปัญหาโภชนาการระดับชุมชน
  38. การประชุมพัฒนาโครงการฉบับบย่อประเด็นอาหารและโภชนาการทรพ.สต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์
  39. สรุปการประชุมรพ.สต.บางโกรก
  40. สรุปการประชุม รพ.สต.ควน
  41. สรุปการประชุม รพ.สต.คลองใหม่
  42. สรุปกิจกรรมการประชุม รพ.สต.สะดาวา
  43. นาเกตุ
  44. ทรายขาว
  45. สุคิริน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์และจัดทำเครื่องมือส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหาร โดยทีมวิชาการ

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สถาบันนโยบายสาธารณะ ได้จัดประชุมกับทีมวิชาการ ประกอบด้วย ดร.เพ็ญ สุขมาก น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี, ผศ.ดร.ลักษณา ไชยมงคล, ผศ.ดร.ธัญญรัตน์ อุทัยพันธ์,อาจารย์ศรีลา สะเตาะ อ.ซูวารี มอซู , อ.ชัญณยา หมันการ , อ.วีณาพร วงศ์สถาพรพัฒน์ , ผศ.ดร.วุฒิชัย ศรีช่วย, ดร.มุมตาส มีระมาน และนางสาวมัสกะห์ นาแว เพื่อรวมรวบเครื่องมือเรื่องความรอบรู้ด้านอาหาร ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือ 1) แบบสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร (เครื่องมือ SEA ปรับจากเวที HIA) 2) การประเมินความรอบรู้ระบบการจัดการอาหารกลุ่มครู 3) แบบประเมินการดำเนินงานส่งเสริมโภชนาการตามตัวชี้วัดของ ศพด. 4) แบบประเมินความรอบรู้ทางด้านอาหาร สำหรับบุคคลทั่วไปวัยผู้ใหญ่ 5) แบบประเมินความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัย แม่ครัวร้านอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทาน และแม่ค้าแผงลอย โดยเครื่องมือทั้งหมดจะถูกนำไปใช้การประเมินตำบลนำร่อง 41 ตำบลในจังหวัดปัตตานี และตำบลสุคิริน จังหวัดนราธิวาส โดยข้อมูลที่ได้ไปใช้จัดทำแผนที่ระบบอาหารชุมชน กิจกรรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อแก้ปัญหาโภชนาการ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารระดับท้องถิ่น รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพชุมชนให้สามารถเกิดการจัดการตนเองระบบระบบอาหารตลอดห่วงโซ่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกิดร่างเครื่องมือความรอบรู้ด้านอาหาร จำนวน 5 ชิ้น 1) แบบสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร (เครื่องมือ SEA ปรับจากเวที HIA) 2) การประเมินความรอบรู้ระบบการจัดการอาหารกลุ่มครู 3) แบบประเมินการดำเนินงานส่งเสริมโภชนาการตามตัวชี้วัดของ ศพด. 4) แบบประเมินความรอบรู้ทางด้านอาหาร สำหรับบุคคลทั่วไปวัยผู้ใหญ่ 5) แบบประเมินความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัย แม่ครัวร้านอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทาน และแม่ค้าแผงลอย

  • photo S__60801059_0.jpgS__60801059_0.jpg
  • photo S__60801061_0.jpgS__60801061_0.jpg
  • photo S__60268572_0.jpgS__60268572_0.jpg
  • photo S__60268574_0.jpgS__60268574_0.jpg
  • photo S__60268575_0.jpgS__60268575_0.jpg
  • photo S__60268587_0.jpgS__60268587_0.jpg
  • photo S__60268588_0.jpgS__60268588_0.jpg
  • photo S__60268589_0.jpgS__60268589_0.jpg
  • photo S__60268568_0.jpgS__60268568_0.jpg
  • photo S__60268573_0.jpgS__60268573_0.jpg
  • photo S__60268570_0.jpgS__60268570_0.jpg
  • photo S__60268575_0.jpgS__60268575_0.jpg

 

0 0

2. การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความร่วมมือการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

วันที่ 6 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ชี้แจงวัตถุการประชุมสร้างความร่วมมือการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส : ภายใต้โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ
  2. การคืนข้อมูลการวิจัย : การศึกษาการปรับใช้ระบบเกษตรผสมผสานและการวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ของระบบการผลิต จังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
      และข้อเสนอแนวทางการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดย ดร.ไชยยะ คงมณี, ผศ.ดร.อริศรา ร่มเย็น เณรานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ ม.อ.หาดใหญ่
  3. การมอบนโยบาย แผนปฏิบัติการของการยางแห่งประเทศไทยเพื่อสนับสนุนการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางพารา โดย นายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านปฏิบัติการ และนายวิวรรธน์ สงประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี  สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
  4. การชี้แจงแผนงาน กิจกรรม และกรอบระยะเวลาเพื่อขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี สถาบันนโยบายสาธารณะ ม.อ.
  5. แบ่งกลุ่มย่อย 2 กลุ่มตามรายจังหวัด (จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) เพื่อจัดทำแผนการสนับสนุนขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน กลุ่มที่ 1 จังหวัดปัตตานี วิทยากรกลุ่ม ดร.ไชยยะ คงมณี
    กลุ่มที่ 2 จังหวัดยะลา วิทยากรกลุ่ม น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี กลุ่มที่ 3 จังหวัดนราธิวาส วิทยากรกลุ่ม ดร.เพ็ญ สุขมาก โจทย์กิจกรรมกลุ่มย่อย
  6. วิเคราะห์แปลงต้นแบบเกษตรกร จำนวน 10 แห่ง และข้อเสนอแนะในการยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรกรรมยั่งยืน (ตามเอกสารแนบท้าย 1)
  7. การกำหนดกลุ่มเป้าหมายเพื่อเป็นกลุ่มขยายผลการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวมจำนวน 200 ราย (ครูยาง,โควต้า กยท.) (เกษตรกร โควต้า สปก.) (ตามเอกสารแนบท้าย 2)
  8. การร่วมวางกลไกพี่เลี้ยงซึ่งประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ กยท., สปก. ทีมนักวิชาการ เพื่อสนับสนุนการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (ตามเอกสารแนบท้าย 2)
  9. ข้อเสนอแนะ ต่อแผนงาน กิจกรรม และกรอบระยะเวลาเพื่อขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืน ภายใต้โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) (ตามเอกสารแนบท้าย 3)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้เกษตรกรที่จะเป็นกลุ่มเป้าหมายเพื่อการขยายผลเรื่องการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางพารา โดยจะเป็นแปลงต้นแบบในการถ่ายทอดความรู้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1. กลุ่ม 1 จังหวัดปัตตานี
1.1 กลุ่มเกษตรกร บ้านคลองปอม ต.โคกโพธิ์ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี เกษตรกร จำนวน 20 คน หน่วยงานรับผิดชอบ: สำนักงานเกษตร จ.ปัตตานี ติดต่อ: คุณกัญญาภัค นวลศิลป (พี่อร) โทร.0862942019 การประสานงาน: ทำหนังสือประสานเกษตรจังหวัดปัตตานี 1.2 วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรยิ้มแป้น ต.แป้น อ.สายบุรี จ.ปัตตานี สมาชิก 21 คน หน่วยงานรับผิดชอบ: สำนักงานปฏิรูปที่ดิน จ.ปัตตานี ติดต่อ: ประธาน คุณนเรศ อินทร์ทองเอียด โทร.0870993498 การประสานงาน: ทำหนังสือประสานปฏิรูปที่ดินจังหวัดปัตตานี 1.3 ครูยาง, เกษตรกรต้นแบบ, อาสาสมัครเกษตรกร, เกษตรกรแปลงใหญ่, smart farmer ที่ขึ้นทะเบียนกับกยท. ใน ต.ตะโละแมะนะ อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี จำนวน 30 คน หน่วยงานรับผิดชอบ: การยางแห่งประเทศไทย จ.ปัตตานี ติดต่อ: คุณนูรอด๊ะ ดะมิ โทร.0622349360 การประสานงาน: ทำหนังสือประสานการยางแห่งประเทศไทยจังหวัดปัตตานี 1.4 เกษตรกร อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี ติดต่อ: คุณอดุล ดือราแม 2. กลุ่ม 2 จังหวัดยะลา 2.1 คุณตอยฮีเราะ อยู่อำเภอยะหา เป็นคนรวบรวมผลิตในชุมชน และทำการตลาดออนไลน์ สำหรับสวนยางยังไม่สามารถเป็นแหล่งถ่ายทอดได้ 2.2 คุณทศพล รุ่งเรืองใบหยก (อยู่อำเภอเบตง) กยท.เบตงกำลังยกเป็นแหล่งเรียนรู้ ภายในแปลงมีการเลี้ยงปลาพวงชมพู เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชผัก และไม้ผล และกำลังยกระดับเป็นเกษตรท่องเที่ยว (ติดต่อ กยท คุณเสะอุเซ็ง สาแมง 086-9561729) 2.3 คุณอิสมาแอ ล่าแต๊ะ (ตำบลลำใหม่)เป็นเครือข่าย กยท. (ติดต่อ กยท. คุณภาสกร ปาละวัล 0982802495) 2.4 คุณชาลี ฉัตรทัน ม.1 ต.ท่าธง อ.รามัน มีโซล่าเซลล์ที่ กยท.สนับสนุน ในสวนจะมีการปลูกยาง ทุเรียน กล้วย กระท่อม พืชผักสวนครัว เนื้อที่ 15 ไร่ (ติดต่อ กยท. คุณบุคอรี เจ๊ะแว 084-3130403) 2.5 คุณรอยาลี ดอเลาะ ม.3 ต.ตลิ่งชัน อ.บันนังสตา(อำเภอบันนังสตา) (ติดต่อ กยท. คุณมารีกัน มะมิง 098-1853588) 3. กลุ่ม 3 จังหวัดนราธิวาส 3.1 คุณชมสิทธิ์
3.2 มีแนวคิดพัฒนาเกษตรกรต้นแบบ อำเภอละ 1 แปลง รวม 11 แปลง (กยท………….) 3.3 กลุ่มเป้าหมายที่จะร่วมอบรม จำนวน 80 คน แบ่งเป็น กยท. (ติดต่อสุบันดริโอ มะเก๊ะ 064-1804740) สปก. (ติดต่อ ซุลกิฟลี เจะและ 089-4844433) เกษตรจังหวัด (ติดต่อ ณัฐพัฒน์ เสาะสมบูรณ์ 085-5792426) กยท.รือเสาะ นาราวี ดือเระ 086-9684241 3.4 กลไกติดตาม เกษตรอำเภอ กยท. ประมง ปศุสัตว์ สหกรณ์ พัฒนาที่ดิน

  • photo 37604_0.jpg37604_0.jpg
  • photo 37600_0.jpg37600_0.jpg
  • photo 37602_0.jpg37602_0.jpg
  • photo 37616_0.jpg37616_0.jpg
  • photo 37596_0.jpg37596_0.jpg
  • photo 37572_0.jpg37572_0.jpg

 

0 0

3. การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานพัฒนาต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอด ห่วงโซ่ที่แก้ปัญหาภาวะโภชนาการระดับชุมชน ให้กับ รพ.สต. ถ่ายโอนมายัง อบจ.ปัตตานี

วันที่ 7 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมฯ และแนวทางการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)
    โดย ดร.เพ็ญ  สุขมาก  ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ
  2. ระดมความคิดเห็นกับผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ที่แก้ปัญหาภาวะโภชนาการระดับชุมชน โดยกลไก รพ.สต.ที่ถ่ายโอนภารกิจมายัง อบจ.ปัตตานี โดยส่งเสริมความรอบรู้และสร้างปฏิบัติการด้านอาหาร (ความมั่นคงอาหาร/อาหารปลอดภัย/ โภชนาการ)  โดย น.ส.วรรณา  สุวรรณชาตรี  สถาบันนโยบายสาธารณะ 3.แบ่งกลุ่มย่อย ให้แต่ละ รพ.สต.
    • กำหนดกลุ่มเป้าหมายภาคี เครือข่ายที่จะร่วมขับเคลื่อนพัฒนาต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ที่แก้ปัญหาภาวะโภชนาการระดับชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รพ.สต.ที่จะเข้าร่วมดำเนินงานมีความเข้าใจในโครงการฯมากขึ้น แต่มีข้อเสนอแนะให้มีการประชุมกับผู้บริหาร อปท, ที่ รพ.สต.อยู่ในเขตรับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • photo project_2193_action_0d65857de3.jpgproject_2193_action_0d65857de3.jpg
  • photo project_2193_action_080ad130b3.jpgproject_2193_action_080ad130b3.jpg
  • photo project_2193_action_0108078d4b.jpgproject_2193_action_0108078d4b.jpg
  • photo project_2193_action_049e6dbd1a.jpgproject_2193_action_049e6dbd1a.jpg
  • photo S__60620810_0.jpgS__60620810_0.jpg
  • photo S__60620813_0.jpgS__60620813_0.jpg
  • photo 7616EC91-80BB-4AB7-B3D5-D6D6A3337DDF.jpg7616EC91-80BB-4AB7-B3D5-D6D6A3337DDF.jpg
  • photo 11.jpg11.jpg
  • photo 6.jpg6.jpg
  • photo 9.jpg9.jpg
  • photo 4.jpg4.jpg
  • photo 3.jpg3.jpg

 

0 0

4. การประชุมสร้างความร่วมมือพัฒนาตำบลต้นแบบจัดการระบบอาหารเพื่อสุขภาวะที่แก้ปัญหาโภชนาการระดับชุมชน

วันที่ 27 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมฯ และทิศทางความร่วมมือการขับเคลื่อนโครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)
  2. เสวนาและร่วมแลกเปลี่ยน : พื้นที่ตัวอย่างที่มีการจัดการระบบอาหารในระดับชุมชนท้องถิ่น
        • เทศบาลตำบลชะแล้ จังหวัดสงขลา นโยบายท้องถิ่นความยั่งยืนบูรณาการระบบเกษตรอาหาร (ความมั่นคงทางอาหาร) ยกระดับโภชนาการเด็กนักเรียนและคุณภาพชีวิตกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง โดย นายถาวร ไชยมะโณ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลชะแล้ และนางจิตรา  เขาไข่แก้ว  ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลชะแล้     • ตำบลนาท่อม จังหวัดพัทลุง การจัดการอาหารปลอดภัยชุมชนนำสู่การจัดการระบบเศรษฐกิจอาหารชุมชนแบบครบวงจรโดย นายถาวร คงศรี และกำนันอนุชา  เฉลาชัย
  3. สรุปรูปแบบการขับเคลื่อนงานการจัดการระบบอาหารในระดับชุมชนท้องถิ่น
        • เทศบาลตำบลชะแล้ จังหวัดสงขลา     • ตำบลนาท่อม จังหวัดพัทลุง
  4. กลไกความร่วมมือยกระดับโครงการ กิจกรรมระบบเกษตรและอาหารที่เชื่อมโยงการแก้ปัญหาโภชนาการ โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
  5. Work Shop ผู้เข้าร่วมประชุม :
        • แนวทางความร่วมมือการขับเคลื่อนนโยบายท้องถิ่นให้เกิดการจัดการระบบเกษตรและอาหารตลอดห่วงโซ่
        • การขับเคลื่อนศักยภาพชุมชน ท้องถิ่น  ให้เกิดการจัดการระบบเกษตรและอาหารที่ยั่งยืน เพื่อยกระดับโภชนาการชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. รพ.สต. และอปท. พื้นที่เป้าหหมายการดำเนินโครงการฯ มีความเข้าใจในการทำงาน และมีความต้องการพัฒนาศักยภาพชุมชนเรื่องการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ แผนสุขภาพ ตลอดจนการการสร้างปฏิบัติการเพื่อการแก้ปัญหาโภชนาการในพื้นที่
  2. รพ.สต. มีความต้องการฝึกอบรมด้านการจัดการเมนูอาหารกลางวัน โดยใช้โปรแกรม thai school lunch
  • photo S__61046796_0.jpgS__61046796_0.jpg
  • photo S__61046819_0.jpgS__61046819_0.jpg
  • photo S__61046818_0.jpgS__61046818_0.jpg
  • photo S__61046817_0.jpgS__61046817_0.jpg
  • photo S__61046816_0.jpgS__61046816_0.jpg
  • photo S__61046815_0.jpgS__61046815_0.jpg
  • photo S__61046814_0.jpgS__61046814_0.jpg
  • photo S__61046813_0.jpgS__61046813_0.jpg
  • photo S__61046811_0.jpgS__61046811_0.jpg
  • photo S__61046810_0.jpgS__61046810_0.jpg
  • photo S__61046809_0.jpgS__61046809_0.jpg
  • photo S__61046808_0.jpgS__61046808_0.jpg
  • photo S__61046807_0.jpgS__61046807_0.jpg
  • photo S__61046810_0.jpgS__61046810_0.jpg
  • photo S__61046809_0.jpgS__61046809_0.jpg
  • photo S__61046808_0.jpgS__61046808_0.jpg
  • photo S__61046807_0.jpgS__61046807_0.jpg
  • photo S__4563011_0.jpgS__4563011_0.jpg
  • photo S__4563010_0.jpgS__4563010_0.jpg
  • photo S__4563009_0.jpgS__4563009_0.jpg
  • photo S__4563007_0.jpgS__4563007_0.jpg
  • photo S__61046791_0.jpgS__61046791_0.jpg
  • photo S__61046789_0.jpgS__61046789_0.jpg

 

0 0

5. การประชุมพัฒนาโครงการฉบับบย่อประเด็นอาหารและโภชนาการทรพ.สต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์

วันที่ 17 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เอกสารประกอบการประชุมพัฒนาโครงการฉบับย่อประเด็นอาหารและโภชนาการ

รพ.สต. ทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

วันที่ 15 พฤษภาคม 2567

ความเป็นมา สืบเนื่องเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2566 องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพเขต 12 สงขลา และสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ลงนามความร่วมมือการขับเคลื่อนต้นแบบตำบลบูรณาการระบบอาหารและโภชนาการจังหวัดปัตตานี โดยใช้ศักยภาพตามภารกิจ ต้นทุนของทั้งสี่หน่วยงานเพื่อบูรณาการและหนุนเสริมการทำงานร่วมกัน สถาบันนโยบายสาธารณะฯ จึงได้จัดทำโครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลา และสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ระยะเวลาตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2566 – 31 ตุลาคม 2567 งบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำร่องพัฒนาตำบลต้นแบบระบบอาหารในจังหวัดปัตตานีจำนวน 39 แห่ง และ ตำบลสุคิริน จังหวัดนราธิวาสจำนวน 1 แห่ง สำหรับกระบวนการทำงานสถาบันนโยบายสาธารณะฯมีการพัฒนาศักยภาพทีมวิชาการ และแกนนำชุมชนตำบลละ 5 คนซึ่งประกอบไปด้วย บุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ใหญ่บ้าน อสม. และแกนนำที่เกี่ยวข้อง มีศักยภาพเป็นวิทยากรกลุ่ม และการใช้เครื่องมือนโยบายสาธารณะ 8 ขั้นตอน เมื่อผ่านการอบรมแล้วทีมนักวิชาการและแกนนำตำบลจะนำไปใช้ระดมความคิดเห็นกับชุมชนพัฒนาแผนงาน โครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบอาหารและโภชนาการต่อไป การดำเนินงานที่ผ่านมาสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับสถาบันวิชาการในพื้นที่ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาเขตปัตตานี วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดยะลา มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ และมหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่เป้าหมายทั้ง 38 แห่งในจังหวัดปัตตานี ได้เก็บข้อมูลเก็บข้อมูลชุมชนในด้าน 1) สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารระดับชุมชน 2) แบบประเมินความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของแม่ครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและผู้ประกอบอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทานสำหรับจำหน่าย 3) แบบประเมินการดำเนินงานส่งเสริมโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงเรียน และการประเมินความรอบรู้ของคุณครูต่อการจัดการระบบอาหารกลางวันเพื่อการบริโภคอาหารอย่างมีสุขภาวะของนักเรียน ขณะนี้ได้ผลการวิเคราะห์เบื้องต้น พบข้อมูลสำคัญ ดังนี้ 1. สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือน (กลุ่มตัวอย่าง 218 คน) 1.1 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ร้อยละ 87.2 1.2 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ อยู่ในช่วงมัธยมศึกษา/ปวช.ร้อยละ 41.9
และประถมศึกษาร้อยละ 31.8
1.3 รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน 5001 – 10000 บาท ร้อยละ 47.2 1.4 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (คน) รับจ้างร้อยละ 29.8 เกษตรกรรมร้อยละ 25.7 1.5 วิธีการได้มาซึ่งอาหารของครัวเรือน เหตุผลที่ไม่ได้ผลิตอาหารเอง
- ไม่มีปัจจัยการผลิต ร้อยละ 92.9
- ไม่มีองค์ความรู้ ร้อยละ 20.0 - ดิน น้ำไม่เหมาะกับการผลิต ร้อยละ 5.8
- ร้อยละ 99 ของการเพาะปลูกเป็นการปลูกพืชผักเพื่อการบริโภค
- รูปแบบการเกษตร แบบอินทรีย์ ร้อยละ 33.3 ,แบบปลอดภัย ร้อยละ 18.4
  และแบบอื่น ๆ ร้อยละ 48.2 1.6 สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
- ร้อยละ 36.4 ไม่เคยมีอาหารครบ 5 หมู่ ได้แก่ (ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน) 2. ความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของแม่ครัวในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและผู้ประกอบอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทานสำหรับจำหน่าย (กลุ่มตัวอย่าง 23 คน) 2.1 การใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร ปฎิบัติบางครั้ง
  ร้อยละ 39.1 ปฏิบัติประจำร้อยละ 13.0 2.2 การใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร ปฎิบัติบางครั้ง ร้อยละ 47.6
  ปฏิบัติประจำร้อยละ 4.8 2.3 การให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย
  ปฎิบัติบางครั้ง ร้อยละ 4.3 ข้อมูลที่ได้นำเข้าสู่การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนให้มีความสามารถใช้เครื่องมือแบบใหม่ 8 ขั้นตอนเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะระบบอาหารและโภชนาการระดับตำบล ระหว่างวันที่ 22-25 เมษายน และ 29-30 เมษายน 2567 โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมฯ ได้แก่บุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาสาสมัครสาธารณสุขฯ ครู และแกนนำชุมชน จำนวน 200 คน ซึ่งมาจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจำนวน 38 แห่งในจังหวัดปัตตานี และตำบลสุคิริน จังหวัดนราธิวาส โดยมีวิทยากรจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP Thailand) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ,Thailand Policy Lab นำเครื่องมือ Systems Map, Problem Statement, How might we?, Ideation – Idea flower ซึ่งทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมฯ สามารถมองภาพเชิงระบบอาหารและโภชนาการ และสามารถระดมไอเดียเพื่อแก้ปัญหาระบบอาหารและโภชนาการในแต่ละตำบล หลังจากนี้ทีมนักวิชาการและผู้เข้าอบรมฯจะนำไอเดียที่ได้จากการอบรมฯ กลับไประดมความคิดเห็นเพิ่มเติมจากชุมชน และร่วมกันออกแบบโครงการฉบับย่อฯต่อไป ผลการทำกิจกรรมเพื่อค้นหาไอเดียการแก้ปัญหาระบบอาหารและโภชนาการ มีรายละเอียด ดังนี้ 1. การวิเคราะห์ภาพเชิงระบบอาหารและโภชนาการ (Systems Map) 1.1 ห่วงโซ่อุปทานอาหาร - ร้อยละ 41.9 สามารถหาอาหารจากแหล่งธรรมชาติ - มีแหล่งที่มีประโยชนืในชุมชนแต่ไม่มีกระบวนการจัดการในการนำไปใช้ประโยชน์ - มีอ่างเก็บน้ำ 2 แหล่ง
- มีน้ำตก - มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 1051 ไร่ ทั้งตำบล - มีพื้นที่ปลูกทุเรียน 355 ไร่ (พื้นที่ ม.4,5) - ชุมชนมีแหล่งบ่อปลาน้ำจืด - อาหารทะเลมาจากรถเร่ขายที่รับจากสะพายปลา - ปลูกข้าวแบบใช้สารเคมี - ครัวเรือนมีการปลูกผักกินเอง - มีการแปรรูปอาหารหลากหลาย เช่น ไข่เค็ม, ปลาส้ม) 1.2.ปัจจัยแวดล้อม - ร้อยละ 92.9 ไม่มีปัจจัยการผลิต - ร้อยละ 71.5 รายได้น้อยกว่า 10,000/เดือน - ร้อยละ 68 ครัวเรือนผลิตอาหารเอง - ร้อยละ 28 ที่ผลิตอาหารไม่เพียงพอ - หาซื้อวัตถุดิบได้ง่าย เนื่องจากมีตลาดนัดใกล้บ้าน - ราคาวัตถุดิบเข้าสามารถถึงได้ เนื่องจากร้านค้าเยอะมีการแข่งขันกัน - มีอาหารที่อยู่คู่กับชุมชน - ผัก/เครื่องปรุง รับจากร้านขายของชำที่นำเข้าจากต่างถิ่น - สื่อ/โฆษณาชวนเชื่อ 1.3.ปัจจัยระดับครัวเรือน/ชุมชน/โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - กังวลไม่มีอาหารกิน - ร้อยละ 43 ไม่สามารถหาอาหารที่ครบ 5 หมู่ - ร้อยละ 44 กินอาหารซ้ำๆ - ร้อยละ 53 ยังใช้น้ำมันทอดซ้ำ - การดูแลอุปกรณ์ใช้ในการประกอบอาหาร - ผู้ปกครองไม่มีความรู้เพียงพอในเรื่องอาหารที่ส่งผลต่อโภชนาการ - ความตระหนักของผู้ปกครอง เน้นตามความสะดวก - ยังปฏิบัติในด้านสุขลักษณะไม่ถูกต้อง
- ร้านค้า/ผู้ผลิต ผลิตตามความนิยมของผู้ซื้อ - ประมาณร้อยละ 40 คนในชุมชนไม่มีความมั่นคงทางอาหาร - ผู้ปกครองทำงานมาเลย์ ลูกอยู่กับยาย - ครัวเรือน มีการปลูกผักริมรั้ว เพื่อจะได้สะดวกเอามาปรุงเอง - อาหารต้องมีฮาลาล เพื่อความเหมาะสม 1.4.พฤติกรรมการจัดการอาหารของครู/แม่ครัว/ผู้ปกครอง - ร้อยละ 36.4 ชาวบ้านกินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ - ศพด.มีวัตถุดิบ/ร้านค้าชุมชนใกล้เคียง/จ้างแม่ครัวปรุงอาหารเมนูที่กำหนดให้เด็ก - พ่อแม่ซื้ออาหารตามร้านค้าชุมชน เป็นอาหารสำเร็จรูป - พ่อแม่ปรุงอาหารเอง จากการซื้อวัตถุดิบจากรถเร่ ที่มีสารอาหารไม่ครบ - โรงเรียนมีการกำหนดเมนูอาหารแต่ละวันในรอบสัปดาห์ 1.5.อาหารที่รับประทานของนักเรียน - มื้อเช้า บางคนไม่ทาน บางคนทานเป็นข้าวต้ม/โจ๊ก โรตี ข้าวหมกไก่ ข้าวแกงราด นม - มื้อกลางวัน ก๋วยเตี๋ยว เมนูตามร.ร.กำหนด ข้าวต้ม มาม่าลวก
- มื้อเย็น พ่อแม่ ปรุงเองที่บ้านเอง อาหารปรุงสำเร็จ(แกงถุง) ข้าวต้มไข่เจียว/ไข่ดาว ข้าวเหนียวไก่ทอด ข้าวหมกไก่ - มื้ออาหารว่าง ลูกชิ้น ขนมกรุบกรอบ ลูกอม นม   2. การระบุปัญหาด้านระบบอาหารและโภชนาการ (Problem Statement เพื่อระบุประเด็นใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights) 2.1. เด็ก 0-5 ปี
- ทานอาหารตามความชอบ เพราะผู้ปกครองซื้ออาหารตามความสะดวกให้ลูกทานเป็นประจำ - ไม่ได้รับประทานหารครบ 5 หมู่ เพราะเด็กไม่รับประทานอาหารครบทุกมื้อ พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ซื้อกินเอง - ภาวะโภชนาการเกิน/ทุพโภชนาการ เพราะซื้ออาหารตามความสะดวกของพ่อแม่และให้ลูกเลือกซื้อกินเอง 2.2. พ่อแม่ – ผู้ปกครอง
- ไม่มีเวลาเตรียมอาหารทำให้เด็กขาดโภชนาการ เพราะต้องรีบไปทำงานและมีร้านขายอาหารที่ซื้อง่าย - ขาดความรู้ ความตระหนักในการสรรหาและปรุงอาหาร เพราะกังวลไม่มีอาหารกินและไม่สามารถหาอาหารครบ 5 หมู่ได้ - ไม่ได้เตรียมอาหารให้ลูก เพราะไม่มีเวลาเจอกัน¬ ขาดวัตถุดิบในการเตรียมอาหารและรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย 2.3. ครู
- แหล่งที่มาของวัตถุดิบในการผลิตอาหารรายละเอียด เพราะซื้อวัตถุดิบและเครื่องปรุงจากร้านชำ
2.4. โรงเรียน (แม่ครัว) - ได้รับอาหารไม่ครบตามกำหนดของเด็ก เพราะการทำอาหารไม่ตรงกับเมนู เพราะไม่เข้าใจสูตรอาหารสำหรับเด็กอย่างแท้จริง - รสชาติอาหารที่ไม่เหมาะกับเด็ก เพราะปรุงรสชาติไม่คำนึงถึงเด็ก 2.5. ร้านค้าในชุมชน
- อาหารที่จำหน่ายไม่ครบ 5 หมู่ คุณภาพอาหาร เพราะแหล่งที่มาของวัตถุดิบและความสะอาดของแม่ ครัว 3. การตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา(How might we? ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ) 3.1. กลุ่มเด็ก - เราจะทำยังไงให้เด็กทานอาหารครบ 3 มื้อ - เราจะทำยังไงให้เด็กสามารถซื้ออาหารเองได้โดยที่เป็นอาหารที่มีประโยชน์ - เราจะทำยังไงให้เด็กได้รับประทานที่มีคุณภาพ ครบ 5 หมู่ 3.2. กลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครองเด็ก - เราจะทำอย่างไรเพื่อให้ผู้ปกครองหันมาสนใจเรื่องโภชนาการให้กับเด็ก - เราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่ ผู้ปกครองสามารถเตรียมอาหารที่มีคุณภาพให้เด็ก - จะทำอย่างไรให้พ่อแม่สามารถบริหารเวลาในการเตรียมอาหารให้ลูก - เราจะทำยังไรให้พ่อแม่ มีปกครองมีความรู้และเวลาในการเตรียมอาหาร - เราจะทำยังไง ผู้ปกครองมีเวลาเพียงพอและอยู่กับช่วงเวลาที่สำคัญ - จะถ้ายังไงให้แม่หรือเด็ก เลือกอาหารที่มีความเหมาะสมและรสชาติที่เหมาะสมกับช่วงวัย - เราจะทำยังไงให้ผู้ปกครองประกอบอาหารได้ถูกต้องสะอาดครบ 5 หมู่ และน่ารับประทาน - จะทำอย่างไรให้วัตถุดิบในการเตรียมอาหารเพียงพอในครัวเรือน - จะทำยังไง ผู้ปกครองมีเงินเพียงพอต่อการประกอบอาหารแต่ละมื้อ - จะทำยังไงให้พ่อแม่สามารถใช้นวัตกรรมการสร้างสรรอาหารมีความน่ากินและรวมทำกับทำอาหารพร้อมๆกัน - จะทำยังไงให้พ่อแม่ให้ความสำคัญอาหารมื้อเช้าต่อลูก 3.3. ชุมชน - เราจะทำยังไงให้ชุมชนมีอาหารที่มีอาหารทีมีคุณภาพโดยที่เด็กและผู้ปกครองไม่ต้องมีความรู้ - จะทำยังไงให้ ตลาดนัดมีซองกินอร่อย ถูกสุขลักษณะและมีโภชนาการ - เราจะทำยังไงให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตอาหารที่ดีคุณภาพ ถูกหลักโภชนาการ - เราจะทำยังไงให้เทคโนโลยีมีผลต่อโภชนาการเด็ก 4. การระดมไอเดียเพื่อแก้ปัญหาระบบอาหารและโภชนาการ (Ideation – Idea flower) เลือกปัญหา
- เราจะทำยังไงให้นำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาประกอบอาหารให้ถูกตามหลักโภชนาการ - เราจะทำยังไงให้นำความนำความเชื่อและวิถีชีวิตของคนในชุมชนมาเปลี่ยนแปลงความเชื่อในการกินอาหารที่ถูกต้อง 4.1. ไอเดียทำได้เลย การทำปลาดดุกร้า,ปลาส้มน้ำจืด 4.2. ไอเดียไม่ใช้งบประมาณ
- ส่งเสริมให้ชุมชนปลูกผักที่เป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหาร - คิดเมนูโดยใช้วัตถุดิบในครัวเรือนแต่ละบ้านตอบโดยตอบโจทย์โภชนาการ - ใช้วัตถุดิบในพื้นที่ประกอบอาหาร 4.3. ไอเดียปกติทั่วไป - เรื่องหลักสูตรอาหารในยูทูป - จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเกี่ยวกับโภชนาการ - คืนข้อมูลโภชนาการเด็กในชุมชนให้ผู้ปกครองและผู้นำชุมชนทราบ 4.4. ไอเดียผู้สูงอายุ - หาวัตถุดิบริมรั่วและทำเมนูที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ - กำหนดวันให้ผู้อายุเข้าครัวเพื่อเด็กๆ(เป็นกิจกรรมครอบครับ)
4.5. ไอเดียสำหรับเด็ก - ชวนน้องทำอาหารพร้อมกัน - จัดมนูอาหารที่ดูน่ากินสำหรับเด็ก - จัดอาหารตามตัวการ์ตูนที่เด้กชอบ 4.6. ไอเดีย AI - ใช้ AI ประมวล BMT และโภชนาการ - ใช้ AI ช่วยตอบอาหารนี้มีประโยชน์ 4.7. ไอเดียอุตสาหกรรม - ใช้ระบบสะสมแต้ม ลูกใครกินอาหารครบ 5 หมู่จะได้แต้ม - นำอาหารที่เข้าถึงง่ายในชุมชนมาถนอมอาหาร 4.8. ไอเดียกระแสออนไลน์ - แม่ตัวอย่างในการทำเมนูอาหารให้ลูกที่ส่งผลต่อโภชนาการที่ดี – ทำประเพณีชุมชนลาซังลง tiktok - เอาคนดังในชุมชนมาปรุงอาหารลงโซเซียล 4.9. ไอเดียที่มี Story - เล่านิทาน /เพลง ที่นำวัตถุดิบในชุมชนมาทำเป็นเมนูอาหารและข้อดีในการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ - เล่าที่มาของอาหาร เช่นสินค้า OTOP ไก่กอและ ให้ผู้ใหญ่เล่าที่มาโดยสอดแทรกโภชนาการ 4.10. ไอเดียชุมชนมีส่วนร่วม - ปิ่นโตสุขภาพ - ทำอาหารแลกเปลี่ยนระหว่างบ้าน 4.11. ไอเดียจากเกมส์ - เกมณ์ที่เด็กชอบเปลี่ยนแปลงเป็นอาหาร - สร้างเกมส์ให้เด็กลองปรุงอาหารเอง โดยใส่วัตถุดิบ





1. การวิเคราะห์ภาพเชิงระบบอาหารและโภชนาการ (Systems Map) ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ 1.1.สิ่งที่เกิดขึ้น - คลอดที่บ้านจากความเชื่อ - ไม่พึ่งพอใจในระบบบริการ - ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ - ขาดการประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ - ขาดความรู้ความเข้าใจในการรับประทาน - อายุของการตั้งครรภ์มาก 1.2 ปัจจัยส่วนบุคคล - ยากจน - ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง - รับประทานอาหารที่ไม่ส่งเสริมสุขภาพครรภ์ - ไม่กินยาเสริมธาตุเหล็ก 1.3.ปัจจัยแวดล้อม - การเข้าถึงบริการของ รพ.สต. เพราะกลัวและอาย - ไม่รู้ว่าควรฝากครรภ์ เวลาไหน - การประชาสัมพันธ์กระจ่ายความรู้ให้กับชุมชน - คนในชุมชนยังมีความเชื่อเรื่องการคลอดกับโตะปีแด/ทำให้ไม่ได้ฝากครรภ์ในสถานบริการ - ระบบการให้บริการรอนาน 1.4.ปัจจัยภายนอก/ระดับครัวเรือน - ขาดความรู้/ความเข้าใจ/ความตระหนักในการกินอาหาร - ไม่ให้ความสำคัญกับการกิน - ขาดความรู้การดูแลครรภ์ - ส่วนใหญ่ต้องทำงาน ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง - รายได้ไม่เพียงพอ 1.5 พฤติกรรม - ไม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ - การไม่ฝากท้องอย่างสม่ำเสมอ - การไม่รับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก - ทานยาไม่ครบมื้อตามที่หมอสั่ง - ตั้งครรภ์ที่แม่อายุมาก - รับประทานอาหารตามใจปาก - ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ - ทานน้อยและทานแต่ของไม่มีประโยชน์ - รู้ตัวเองช้าว่าตัวเองตั้งครรภ์ 2. การระบุปัญหาด้านระบบอาหารและโภชนาการ (Problem Statement เพื่อระบุประเด็นใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights) 2.1 หญิงตั้งครรภ์
- ไม่กินยาเสริมธาตุเหล็ก เนื่องจากกินแล้วอาเจียนและขาดความตระหนัก - ไม่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ เนื่องจากไม่มีเวลาและไม่ทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์ - ไม่ฝากครรภ์/ฝากครรภ์ช้า เนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์เรื่องระบบการบริการ 2.2 หน่วยงานเจ้าหน้าที่
- ประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง เนื่องจากมีการลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการตั้งครรภ์น้อยมาก          และมีจำนวนเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ 2.3 หน่วยบริการ
- การให้บริการล่าช้า เนื่องจากยังขาดระบบบริการจัดการ 2.4 สามี
- ขาดความรู้ในการดูแลภรรยา เนื่องจากไม่ได้รับการอบรม 3. การตั้งคำถามเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา (How might we? ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ) - เราจะทำอย่างไรให้คนท้องกินยาแล้วไม่มีอาการข้างเคียง - ทำอย่างไรให้คนท้องได้รับธาตุเหล็กพอเพียง - จะทำอย่างไรให้หญิงตั้งครรภ์ไปพบหน่วยบริการตามนัด - จะทำอย่างไรให้คนท้องรับสารอาหารยาที่แพทย์สั่งครบมื้อและมีความเพียงพอ - จะทำอย่างไรให้หญิงตั้งครรภ์กินยาเสริมเหล็กสม่ำเสมอ - ทำอย่างไรให้คนท้องสนใจกับการดูแลสุขภาพของครรภ์ - ทำอย่างไรให้หญิงตั้งครรภ์ รู้และป้องกันเกี่ยวกับโรคต่างๆที่มีผลต่การตั้งครรภ์ - ทำอย่างไรให้สามีมาสนับสนุนการดูแดสุขภาพของคนท้อง 4. การระดมไอเดียเพื่อแก้ปัญหาระบบอาหารและโภชนาการ (Ideation – Idea flower) เลือกปัญหา เราจะทำอย่างไรให้คนท้องและครองครัวทราบปัญหาช่วงภาวะตั้งครรภ์มีความสำคัญที่สุด 4.1. ไอเดียทั่วไป - รณรงค์ตั้งครรภ์คุณภาพ - ทำโพสต์ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนรับรู้ถึงปัญหาหารตั้งครรภ์ - จนท.ลงพื้นที่ให้ความรู้และความสำคัญช่วงระยะตั้งครรภ์ - โรงเรียนพ่อแม่ 4.2. ไอเดียไม่ใช้งบประมาณ - ประชาสัมพันธ์ช่วงทำเวทีประชาคมของชุมชน - การประชาสัมพันธ์ - เสียงตามสายสื่อความรู้ 4.3. ไอเดียอุตสาหกรรม - หญิงตั้งครรภ์ไม่ซีด/กินยาครบได้รับกิ๊ฟวอชเชอร์ - ให้บริการคำปรึกษา 24 ชม. (ได้ทุกครั้งที่ต้องการเหมือน 7-11) 4.4. ไอเดียที่มีชุมชนมาเป็นส่วนร่วม - ชุมชนมีส่วนร่วมในกการประชาสัมพันธ์ให้กับหญิงตั้งครรภ์มาฝากผ่านประเพณีลาซัง (สอดแทรกกิจกรรม) - บ้านสีชมพู สำหรับหญิงตั้งครรภ์(ปรึกษากับเจ้าหน้าที่โดยตรง) - สร้างวัฒนธรรมลูกของฉัน = ลูกของโลก ร่วมด้วยช่วยกันดูแล 4.5. ไอเดียทางศาสนา - วายับ(จำเป็น)ที่สามีจะต้องดูแลภรรยาในขณะตั้งครรภ์ - การดูแลหญิงตั้งครรภ์สามารถเพิ่มพูนริสกี้ 4.6.ไอเดียกระแสออนไลน์ - ตั้งไลน์กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ในชุมชน - ทำTik Tok บ้านชมพู (หญิงตั้งครรภ์) - แอปเช็ค-เตือน กินยาเม็ดเหล็ก - ตั้งไลน์สื่อสาร ปรึกษา จนท-เพื่อนช่วยเพื่อน - คลิปแชร์ประสบการณ์ความสำเร็จในทานยาสม่ำเสมอในการตั้งครรภ์คุณภาพ 4.7. ไอเดียที่มี Story - อ่านหนังสือสั้น เพื่อสร้างสรรด์ให้เด็กในครรภ์และหญิงตั้งครรภ์อารมณ์ดี - ทำหนังสั้นแชร์ประสบการณ์หญิงตั้งครรภ์ตัวอย่าง - บันทึกประสบการณ์การตั้งครรภ์เป็นความภาคภูมิใจของฉันเมื่อฉันตั้งครรภ์ 4.8. ไอเดียแปลกๆ - ส่งพ่อเข้าครอสเรียนดูแลแม่ตั้งครรภ์ - คุยไป บ่นไป เรื่องคนท้องที่ร้านน้ำชา - ชวนพ่อๆคุยที่ร้านน้ำชา ประเด็นดูแลเมียอย่างไร







สรุปกิจกรรมประชุมตำบลทุ่งพลา วันที่15 พฤษภาคม 2567

สถานที่ รพ.สต.ทุ่งพลา

เนื่องจากทางทุ่งพลาได้เห็นความสำคัญของเด็กในเรื่องโภชนาการอาหารที่เด็กยังขาดอยู่จึงคิดทำโครงการเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและเหมาะสมกับเด็กขึ้น โดยการการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทนรพ.สต ผู้ใหญ่บ้าน ครู อสม

มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน

• ให้พระสงฆ์หรือผู้สูงอายุในชุมชนมาให้ความรู้เรื่องอาหารสมัยโบราณที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่

• จัดกางบประมาณให้เพียงพอต่อโรงเรียนเพื่อให้เด็กได้รับอาหารที่เพียงพอและมีสุขภาพร่างกายที่สมส่วน

• คิดวิธีฝึกให้เด็กกินผัก

• ให้คุณพ่อช่วยคุณแม่ประกอบอาหารที่บ้าน

• ชวนน้องทำอาหารตามธาตุเจ้าเรือน

• ให้เด็กทำอาหารกับพ่อแม่และคนในครอบครัว

• แจกนมและไข่สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักน้อย

• ประกวดหนูน้อยฟันสวย

• ประกวดหนูน้อยสมส่วน

• ให้เด็กทำอาหารกินเองให้ดูน่ากิน

• จัดอาหารเช้าสำหรับเด็กที่มรภาวะทุพโภชนาการ

• จัดตลาดสุขภาพเด็กน้อยในชุมชน

• เปลี่ยนเมนูผักให้เป็นขนมทานเล่น

• จัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องการทำอาหารให้กับลูกน้อย

• ประกวดเด็กน้อยโภชนาการดีในชุมชน

• จัดตลาดเด็กน้อยเด็กดีทำอาหารที่มีประโยชน์มาขาย

• สร้างเซเว่นหนูน้อย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การออกแบบโครงการฉบับย่อ กิจกรรมที่จะดำเนินการ • ชวนหนูน้อยมาปลูกผักกินกันเอง • ทำโรงเรือนให้กับกลุ่มไก่กอและข้าวหลามให้ถูกหลักอนามัย • ประกวดเด็กดีมีร่างกายตามเกณฑ์มาตรฐาน • จัดตลาดครอบครัวในชุมชนแลกเปลี่ยนความคิดในเรื่องอาหารที่แต่ละครอบครัวทำมาขาย • ตั้งกลุ่มแม่บ้านแปรรูปอาหารให้ถูกหลักโภชนาการโดยเฉพาะ • จัดให้มีชุมชนสำหรับขายอาหารที่ถูกหลักโภชนาการในตลาดนัดชุมชน • สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ให้ความรู้กับครัวเรือนในการปลูกผักประจำบ้านกินเองเหลือให้นำมาขายในตลาดนัดชุมชน • ปลูกผักไร้สารพิษและ 1 ครัวเรือนต้องมี 1 อย่าง • อบรมแปรรูปข้าวไรซ์เบอรี่เป็นไอศครีมเพื่อขายในตลาดนัดชุมชน • แลกเปลี่ยนผักระหว่างครัวเรือน • จัดกิจกรรมกลุ่มเด็กไปขายอาหารที่ตลาด • จัดประชาสัมพันธ์ในชุมชนว่ามีอาหารเพื่อสุขภาพจากเด็กมาขาย • ทำหนังสือขอความร่วมมือจากยุวเกษตรเพื่อมาให้ความรู้ • ขอความร่วมมือระดับตำบลจากทุกโรงเรียนเพื่อเป็นการนำร่อง ขั้นตอนการดำเนินงาน • เพิ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการโดยการรับสมัคร • จัดอบรมเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ • จัดอบรมให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนคิดเมนูใหม่ๆเพื่อมาขายในตลาด • ขอการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์จากอบตและมาให้ความรู้เรื่องการปลูกการดูแลพืชผักให้กับเด็กๆ • ให้เด็กฝึกทำอาหารเมนูเพื่อสุขภาพในโรงเรียน • เพิ่มหลักสูตรอาหารเพื่อสุขภาพในโรงเรียนสู่ชุมชน กลุ่มเป้าหมาย • เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านเกาะตา • เด็กนักเรียนโรงเรียนซอลีฮียะ • แกนนำครัวเรือนในชุมชน

ระดมความคิดชื่อโครงการ • โครงการอาหารเช้าเพื่อน้องอิ่มท้องสมองดี • อาหารดีมีประโยชน์ • หนูน้อยสุขภาพดีได้รับอาหารครบ 5 หมู่ • เด็กสมวัยจิตใจร่าเริง • ตลาดนัดอาหารหนูน้อยโภชนาการสมวัย • อาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ • หนูน้อยสุภาพดี จากชื่อจากๆที่ระดมมาจึงเกินเป็นชื่อโครงการ โครงการยกระดับตลาดนัดเกาะตาใส่ใจสุขภาพและโภชนาการ ปัจจุบันมีตลาดนัดเกาะตาซึ่งเปิดขายทุกเย็นวันพฤหัสบดีภายในตลาดเป็นของเอกชนร้านค้าที่ขายเป็นประจำอยู่แล้วขายทั้งอาหารสดและอาหารสำเร็จดังนี้มีแผงขายผัก 4-5 ร้านมีปลาสดผลไม้ผักอาหารสำเร็จมีข้าวหมกไก่ข้าวหลามไก่กอและของทอดต่างๆลูกชิ้นทอดโดยทางโครงการจะประสานงานเจ้าของตลาดเพื่อขอเข้าไปขายอาหารเพื่อสุขภาพผักปลอดภัยอาหารปรุงเพื่อสุขภาพซึ่งอาจจะต้องมีการจัดโซนโดยมีกลุ่มนักเรียนและผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการเป็นผู้ขาย ต้นทุนในพื้นที่ในพื้นที่ได้มีการปลูกตะไคร้จำนวนมากเพื่อส่งปัตตานีและยะลา โรงเรียนซอลีฮียะห์มีการฝึกให้เด็กนักเรียนปลูกผักเช่นผักบุ้งผักกาดขาวผักสลัดมีการเลี้ยงปลาดุกปลาสลิดดอนนาเลี้ยงไก่ไข่ทั้งหมดนี้ไม่ใช้สารเคมีโดยใช้ปุ๋ยคอกและมีการให้นักเรียนนำปุ๋ยมาเองจากบ้านเพื่อมีส่วนร่วมในการปลูกผักของโรงเรียนในอนาคตกำลังจะมีการขอพันธุ์ไก่ดำมาเลี้ยงที่โรงเรียนด้วยผลผลิตจากการปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์จะนำมาใช้ในการทำอาหารภายในโรงเรียนใช้ระบบโรงเรียนซื้อของโรงเรียนเพื่อเป็นเงินหมุนเวียนและนำไปซื้อเมล็ดพันธุ์และพันธุ์สัตว์ต่อไปเหลือจากการนำมาใช้ในโรงเรียนจะมีการขายให้ครูในโรงเรียนและแจกเด็กนักเรียนให้กลับบ้านด้วย

ได้อะไรจากการมาประชุมครั้งนี้ • ตัวแทนอบตได้ความรู้วิสัยทัศน์ในการนำไปพัฒนาอบตนำไปใช้ในการทำแผนตำบลต่อไป • ได้นำไปปฏิบัติในโรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อหลวงพ่อทวดวัดช้างให้ซึ่งในโรงเรียนมีการปลูกอยู่แล้วแต่ไม่ได้นำมาขายภายนอกโรงเรียนยินดีเข้าร่วมกับโครงการเพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ • อยากให้โครงการนี้เกิดขึ้นจริงและจะสู้ไปด้วยกันเด็กๆจะได้มีรายได้และปลูกฝังในเรื่องอาหารสุขภาพให้กับเด็กๆและผู้ปกครองผู้ปกครองจะได้มีส่วนร่วมและเห็นถึงความสำคัญของอาหารของเด็ก • ตัวแทนอสมเป็นโครงการที่ดีได้ปลูกฝังเด็กให้กินผักและปลูกฝังให้มีพัฒนาการยินดีที่จะช่วยเหลือเต็มที่ • ตัวแทนโรงเรียนซอลีฮียะห์นักเรียนที่อยู่ในหอพักจะได้ทำกิจกรรมที่มีประโยชน์มีอาชีพรองรับลดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง • ตัวแทนรพ. สตมีความภูมิใจที่ได้เข้าร่วมโครงการและและได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนจากชุมชนอยากสร้างสหวิชาชีพจากทุกส่วนเพราะทุกคนมีศักยภาพที่จะช่วยกันได้อยากให้เยาวชนทั้งตำบลมีโอกาสที่ดีขึ้นได้รับความรู้มากขึ้นและดีใจที่ทุกคนที่มามีความหลากหลายอยากให้เด็กมีการพัฒนาการด้านการศึกษาให้ดีที่สุด

  • photo 1715734137397.jpg1715734137397.jpg
  • photo 1715764711117.jpg1715764711117.jpg
  • photo IMG_20240515_103308.jpgIMG_20240515_103308.jpg
  • photo IMG_20240515_105004.jpgIMG_20240515_105004.jpg
  • photo 1715764770868.jpg1715764770868.jpg
  • photo 1715767182922.jpg1715767182922.jpg
  • photo 1715767183986.jpg1715767183986.jpg
  • photo 1715782601295.jpg1715782601295.jpg
  • photo 1715782601162.jpg1715782601162.jpg
  • photo 1715782602187.jpg1715782602187.jpg
  • photo 1715782610388.jpg1715782610388.jpg
  • photo 1715782615170.jpg1715782615170.jpg
  • photo 1715767181703.jpg1715767181703.jpg

 

0 0

6. การประชุมพัฒนาโครงการฉบับบย่อประเด็นอาหารและโภชนาการ รพ.สต.บางโกระ

วันที่ 23 พฤษภาคม 2567 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

.ผลการสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของครัวเรือน
ในพื้นที่ ตำบล  บางโกระ  อำเภอ โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ตารางที่ 1 คุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (n = 146) คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 10 6.8 หญิง 132 90.4 อายุ (ปี) (mean+SD) 44.6+13.5 ระดับการศึกษา ไม่ได้ศึกษา 4 2.8 ประถมศึกษา 61 42.1 มัธยมศึกษา/ปวช. 37 25.5 อนุปริญญา/ปวส. 13 9.0 ปริญญาตรี 24 16.6 สูงกว่าปริญญาตรี 6 4.1 รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน
น้อยกว่า 5000 บาท 12 8.3 5001 – 10000 บาท 35 24.1 10001 – 15000 บาท 57 39.3 15001 – 20000 บาท 27 18.6 20001 – 25000 บาท 6 4.1 25001 – 30000 บาท 4 2.8 มากกว่า 30000 บาท 4 2.8 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (คน)  (mean+SD) 5.5+2.4 อาชีพ รับจ้าง 34 23.9 รับราชการ 7 4.9 เกษตรกรรม 15 10.6 ธุรกิจส่วนตัว 7 4.9 ทำอาชีพมากว่า 1 อาชีพ 74 52.1 อื่น ๆ 11 7.7 วิธีการได้มาซึ่งอาหารของครัวเรือน ตารางที่ 2 รูปแบบการได้มาซึ่งอาหารในครัวเรือน (n = 142) รูปแบบการได้มาซึ่งอาหาร จำนวนครัวเรือน (ร้อยละ) หมายเหตุ ผลิตอาหารเอง 91(64.1) เหตุผลที่ไม่ได้ผลิตอาหารเอง 1.ไม่มีปัจจัยการผลิต ร้อยละ 67.6 2.ไม่มีองค์ความรู้ ร้อยละ 8.1 3.ดิน น้ำไม่เหมาะกับการผลิต  ร้อยละ 16.2 รูปแบบการเกษตร 1. แบบอินทรีย์  ร้อยละ 7.9 2.แบบปลอดภัย ร้อยละ 51.7 3.แบบอื่น ๆ  ร้อยละ 40.4 - การเพาะปลูก
- ปศุสัตว์ 37 (38.9)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 4 (4.3) - เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม 0 (0)
ความพอเพียงของอาหารที่ผลิตในครัวเรือน
- พอเพียง 80 (83.3)
- ไม่พอ 16 (16.7)
หาจากธรรมชาติ 58 (42.3) หาจากแหล่ง ….

  สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตารางที่ 3 ร้อยละของครัวเรือนจำแนกตามระดับความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นใน 1 เดือนที่ผ่านมา (n = ) เหตุการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร ไม่เคยเกิดขึ้น น้อยครั้ง (1-2 ครั้ง) บางครั้ง (3-10 ครั้ง) บ่อยมาก (>10ครั้ง) เฉลี่ยคะแนน 1 ท่านกังวล ว่าจะไม่มีเงินซื้ออาหารกินอย่างเพียงพอ 77.5 12.3 7.2 2.9 1.4+0.7 2 ท่านไม่สามารถหาอาหารที่ครบ 5 หมู่ (ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน/ไขมัน) เพียงพอสำหรับการบริโภคเพราะมีเงินหรือทรัพยากรไม่พอ 80.7 10.3 7.6 1.4 1.3+0.7 3 ท่านกินอาหารเพียงไม่กี่ชนิด (มีกิน แต่กินซ้ำๆ เดิม ๆ ไม่มีคุณภาพ) เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 84.2 12.3 2.7 0.7 1.2+0.5 4 ท่านต้องอดอาหารบางมื้อหรือกินบางมื้อน้อยลง เพราะเงินไม่พอหรือขาดทรัพยากรอื่นๆ ที่จะได้รับอาหาร (อดมื้อกินมื้อเพราะเงินไม่พอ) ไม่นับการถือศีลอด 93.2 4.8 2.1 0 1.1+0.4 5 ท่านรู้สึกหิวแต่ไม่ได้กิน เพราะเงินไม่พอ หรือขาดทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับอาหาร 95.2 2.7 2.1 0 1.1+0.3 6 เคยมีช่วงเวลาที่ท่าน ไม่ได้กินอาหารเลยทั้งวันเพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 97.3 2.7 0 0 1.0+0.2 7 ท่านได้รับการบริจาค การช่วยเหลือด้านอาหารจากหน่วยงาน เพื่อนบ้าน หรือองค์กร 80.8 15.1 3.4 0.7 1.2+0.5 8 ครัวเรือนของท่าน ขาดแคลนอาหารหรือไม่มีอาหารที่จะกินเลย เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่น ๆ 95.9 2.1 2.1 0 1.1+0.3 9 ครัวเรือนของท่านมีอาหารกินไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในครอบครัวครบ ทั้ง 3 มื้อ 95.2 2.7 2.1 0 1.1+0.3 10 อาหารที่มีในครัวเรือน ของท่านเป็นอาหารที่มีครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน) 70.1 5.6 11.1 13.2 3.3+1.1

  ตารางที่ 4 การเตรียมความพร้อมของครัวเรือนเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติที่ผ่านมา การเตรียมพร้อม จำนวน (ครัวเรือน) ร้อยละ มีการเตรียมการ 53 39.0 ไม่มีการเตรียมการ 83 61.0

ความรอบรู้ทางอาหารของครัวเรือน ตารางที่ 5 จำนวน และ ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรอบรู้ในแต่ละประเด็น ประเด็นความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ จำนวน ร้อยละ ด้านการวางแผนและจัดการ
1 ท่านจะเอาเงินไว้สำหรับซื้ออาหารให้เพียงพอก่อนการใช้จ่ายซื้อสิ่งอื่น เช่น เครื่องประดับ เสื้อผ้า ของเล่นให้ลูก 139 95.2 2 ท่านจะคิดรายการอาหารที่จะกินไว้ล่วงหน้าเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจะหาอาหารได้เพียงพอตามต้องการ แม้ในสภาวะที่สถานการณ์อาหารเปลี่ยนไป 99 67.8 3 ท่านตัดสินใจเลือกอาหารโดยดูจากความคุ้มค่า (มีประโยชน์ต่อร่างกาย) คุ้มราคา (เหมาะกับเงินที่มี) หรือ สะดวกในการจัดเตรียมหรือปรุง 145 99.3 ด้านการเลือกอาหาร
4 ท่านหาอาหารได้จากแหล่งต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ซื้อจากตลาด เพื่อนบ้าน ปลูก/หาได้เอง 145 99.3 5 ท่านจะอ่านฉลากเพื่อดูว่าอาหารประกอบด้วยอะไร เก็บรักษาแบบไหน และจะกินอย่างไร 141 97.2 6 ท่านจะสอบถามข้อมูลจากผู้ขายถึงแหล่งที่มา วิธีการกิน การเก็บรักษาเพื่อให้จัดการให้เหมาะสม 134 91.8 7 ท่านบอกได้ว่า อาหารชนิดใดดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพ เมื่อทราบแหล่งที่มา หรือแหล่งผลิตอาหาร หรือองค์ประกอบ หรือจากการอ่านฉลากอาหาร 136 93.2 ด้านการเตรียมอาหาร
8 ท่านทำอาหารทานได้ไม่ว่าวัตถุดิบที่มีจะเป็นอะไร ด้วยอุปกรณ์เครื่องครัวเท่าที่มี 109 74.7 9 ท่านล้างมือทุกครั้งก่อนเตรียมอาหาร 144 99.3 10 ท่านล้างผักและเนื้อสัตว์โดยใช้น้ำไหลผ่านอย่างทั่วถึง 143 99.3 11 ท่านเก็บอาหารที่ทานไม่หมดไว้ในที่มิดชิด เช่น ตู้กับข้าว ครอบฝาชี หรือใส่ภาชนะที่มีฝาปิด 142 100 12 เมื่อกินอาหารกระป๋อง ท่านจะอุ่นทั้งกระป๋อง 121 82.9 ด้านการรับประทานอาหาร
13 ท่านรู้ว่าเด็กที่เตี้ยเป็นผลจากการกินอาหารไม่ครบถ้วน หรือกินอาหารไม่พอ 88 60.3 14 ท่านจะกินอาหารที่มีรสหวาน หรือมัน หรือเค็ม เป็นประจำ 97 66.4 15 ท่านคุมปริมาณอาหารเพื่อรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนหรือผอมจนเกินไป 81 55.9 16 ท่านใส่ใจกับการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน 136 93.2

ตารางที่ 6 คะแนนระดับความรอบรู้ทางอาหารในแต่ละด้าน ของครัวเรือน (n =  ) องค์ประกอบความรอบรู้ด้านอาหาร คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวางแผนและจัดการ 3 2.6 0.6 การเลือกอาหาร 4 3.8 0.5 การเตรียมอาหาร 5 4.5 0.7 การรับประทานอาหาร 4 2.8 0.8 คะแนนรวม 16 13.7 1.7

ผลการสำรวจความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ในพื้นที่ ตำบลบางโกระ    อำเภอโคกโพธิ์      จ.ปัตตานี ตารางที่ 1 คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา (n =21) คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 4 19.0 หญิง 17 81.0 อายุ (ปี) (mean + SD) 52.2+15.8 ศาสนา อิสลาม 11 52.4 พุทธ 12 47.6 ระดับการศึกษา ประถมศึกษา 10 47.6 มัธยมศึกษา/ปวช. 8 38.1 อนุปริญญา/ ปวส. 2 9.5 ปริญญาตรี 1 4.8 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน น้อยกว่า 5000 บาท 2 9.5 5001 – 10000 บาท 11 52.4 10001 – 15000 บาท 6 28.6 15001 – 20000 บาท 2 9.5 ลักษณะสถานบริการอาหาร โรงอาหารในโรงเรียน 1 5.0 โรงอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 5.0 ร้านอาหารที่มีอาคาร สถานที่แน่นอน 5 25.0 แผงลอย/เพิงขายอาหาร (ประกอบอาหารที่แผงร้านค้า) 6 30.0 แผงลอย/เพิงขายอาหารปรุงสำเร็จ (ประกอบอาหารจากที่อื่น) 6 30.0 อื่น ๆ 1 5.0 บทบาทในการประกอบอาหาร ผู้จัดหาวัตถุดิบ/เครื่องปรุง 8 38.1 แม่ครัว/ผู้ประกอบอาหาร 19 90.5 ผู้กำหนดเมนู/รายการอาหาร 5 23.8 ประสบการณ์การทำงาน (ปี) (mean + SD) 5.2+4.2

การจัดหาวัตถุดิบและเครื่องปรุง ตารางที่ 2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร แหล่งที่มาของวัตถุดิบ จำนวน ร้อยละ ประเภทของวัตถุดิบที่ซื้อ ตลาด 18 85.7
ร้านค้าในชุมชน 11 52.4
รถเร่/รถพุ่มพวง 1 4.8 ผู้ผลิต (เกษตรกร) 4 19.0
อื่น ๆ 1 4.8

พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหารของผู้ประกอบการอาหาร ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้ปรุงอาหารจำแนกตามความถี่ของการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยของอาหาร พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหาร ร้อยละของผู้ตอบ หมายเหตุ ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติบางครั้ง ประจำปฏิบัติ
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 1 ท่านเลือกซื้อวัตถุดิบอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ในการประกอบอาหาร สดใหม่ (ประกอบอาหารหมดภายใน 1-2 วัน) 14.3 4.8 81.0
2 ท่านซื้อวัตถุดิบประเภทผักสด ผลไม้ จากร้านที่ได้รับมาตรฐานอาหารปลอดภัย เช่น แหล่งการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (Q Organic) คุณภาพทางการเกษตร GAP ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น (PGS) 47.6 14.3 38.1
3 ท่านซื้อวัตถุดิบอาหารสดประเภทผัก ผลไม้ จากเกษตรกรโดยตรง 19.0 38.1 42.9
4 ท่านซื้ออาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก จากผู้ขายที่มั่นใจว่าไม่มีการใส่สารปนเปื้อนในอาหารทะเล 14.3 9.5 76.2
5 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในตู้เย็นตามอุณหภูมิที่เหมาะสมแต่ละประเภทของวัตถุดิบ 0 0 100 6 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในถังน้ำแข็ง/ ภาชนะอื่นๆ 0 4.8 95.2
7 ท่านดูวันหมดอายุที่ฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์)
8 ท่านรักษาความสะอาด (ไม่มีคราบเศษอาหารหรือคราบสกปรก) สถานที่ในการปรุงอาหาร ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน 0 0 100 9 ท่านปรุงอาหารในสถานที่ที่มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอ เช่น มีปล่องระบายควัน หรือพัดลมระบายอากาศ 0 4.8 95.2
10 ท่านทำความสะอาดสถานที่ประกอบอาหารด้วยวิธีการ กวาด ถู เช็ด ทุกวันก่อนหรือหลังที่จะทำอาหาร 0 0 100 11 ท่านมีการจัดวัสดุอุปกรณ์ ของใช้ในครัวเป็นระเบียบ เรียบร้อย และจัดเป็นสัดส่วน 0 9.5 90.5
12 ท่านใช้น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดภาชนะและล้างด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง 0 0 100 การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 13 ท่านเตรียมวัตถุดิบอาหารหรือวางภาชนะที่ใส่อาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. 0 0 100 14 ท่านมีการแยกวัตถุดิบระหว่างอาหารสด อาหารแห้งและอาหารปรุงสำเร็จเพื่อเตรียมปรุงอาหาร 0 5.0 95.0
15 ท่านทำความสะอาดผัก ผลไม้ ด้วยวิธีการ ปลอดภัย เช่น ล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร/การใช้เบคกิ้งโซดา 0 0 100 16 ท่านล้างวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้รวมกันในครั้งเดียว 85.7 0 14.3
17 ท่านใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร 57.1 9.5 33.3
18 ท่านใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร 95.2 0 4.8 19 ท่านดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าสะอาด สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ หมวก และผ้ากันเปื้อนที่สะอาด 0 0 100 20 ท่านมีการล้างมือด้วยสบู่/ เจลแอลกอฮอล์ ก่อนสัมผัสอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ในการเตรียม ปรุง จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร 0 0 100 21 ท่านมีการใช้ประโยชน์จากอาหารเหลือทิ้งด้วยการเป็นอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก 0 14.3 85.7
22 ท่านจัดการของเสียจากกระบวนการอาหารกลางวัน เช่นน้ำมันทอดซ้ำ น้ำล้างวัตถุดิบ เศษอาหาร ถูกหลักสุขาภิบาล 0 19.0 81.0
การขนส่ง 23 ท่านมีการจัดส่งอาหารไปสู่ผู้บริโภค โดยไม่มีฝาปิดให้มิดชิด 81.0 9.5 9.5 2.24 เมื่อท่านจัดทำอาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค มีการเก็บแยกเป็นสัดส่วน ปกปิดและไม่วางบนพื้น 9.5 0 90.5
25 ท่านให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย 90.5 4.8 4.8 26 ท่านดูแลรักษาความสะอาดของพื้นที่ บริการอาหาร/เสิร์ฟอาหาร ที่ส่งผลต่อการปนเปื้อนสู่อาหารได้ 4.8 4.8 90.5
27 ท่านนำภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุอาหาร เช่น ถังสี/ถังน้ำมัน 95.2 0 4.8 28 ท่านมีการปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล เช่น ตัดเล็บ ความสะอาดของเสื้อผ้า ไม่ไอหรือจามรดอาหาร 0 0 100


ตารางที่ 4 ระดับคะแนนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาหารในด้านต่าง ๆ ของผู้ปรุงประกอบอาหาร ความปลอดภัยในอาหารด้านต่าง ๆ คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 21 18.9 1.7 การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์) 15 14.9 0.4 การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 30 28.4 1.6 การขนส่ง 18 17.1 1.8 รวมทั้งหมด 84 79.3 3.7

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปกิจกรรมประชุมตำบลบางโกระ วันที่23พฤษภาคม 2567
สถานที่ รพ.สต.บางโกระ เนื่องจากทางบางโกระได้เห็นความสำคัญของเด็กในเรื่องโภชนาการอาหารที่เด็กยังขาดอยู่จึงคิดทำโครงการเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและเหมาะสมกับเด็กขึ้น และปัญหาด้านสุขภาพฟันในช่องปากของเด็กส่งผลทำให้เด็กไม่อยากทานอาหารหรือกินอาหารได้น้อยลง โดยการการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทน รพ.สต.บางโกระ -อสม -ผู้ปกครอง -บัณฑิตอาสา -ผู้ใหญ่บ้าน -แพทย์ประจำตำบล -ครูรร.บ้านล้อแตก -ครูศพด.ตำบลบางโกระ -กำนัน ต.บางโกระ -อบต.บางโกระ -รร.วัดสุนทรวารี มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน • ประกวดเด็กสุขภาพดี • กิจกรรมเฝ้าติดตามช่องน้ำหนักส่วนสูงทุกๆ 3 เดือนเพื่อให้เข้าเกณฑ์ตามมาตรฐาน • แนะนำผู้ปกครองให้ทำอาหารท้องถิ่นให้เด็กรับประทานตอนเช้า • ปลูกฝังสร้างวินัยการกินตั้งแต่เด็กเรื่องอาหารทุกประเภทให้ประโยชน์และโทษอย่างไร • กิจกรรมแนะนำมารดาหลังคลอดให้กินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน • กิจกรรมแปรงฟันให้ถูกวิธีโดยไม่ใช้น้ำ • จัดกิจกรรมแนะนำผู้ปกครองเรื่องอาหารและการแปรงฟันที่ถูกวิธี • แนะนำการบริโภคอาหารให้เหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพรวมถึงรสชาติอย่างไรส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย • จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการกินอาหารอย่างไรให้เป็นประโยชน์ต่อร่างกายกินอย่างไรไม่ให้เป็นโรค • ให้ความรู้เรื่องกินหวานมันเค็มมีโทษต่อร่างกายอย่างไร • จัดทำกิจกรรมโดยอาศัยกลุ่มเครือข่ายออกประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับคนในพื้นที่เช่นสถานศึกษาในพื้นที่ตำบล • ส่งเสริมการอุดฟันแบบสมาร์ทเทคนิค • จัดกิจกรรมสนทนาอาหาร 5 หมู่และแอโรบิคเอโรใจเต้นแอโรบิคยามเช้า • จัดอบรมให้ความรู้กับผู้ปกครองเกี่ยวกับการกินที่ถูกหลักโภชนาการ • กิจกรรมออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง • จัดอบรมกลุ่มเป้าหมายเรื่องอาหารถูกหลัก 5 หมู่ • จัดงบประมาณแจกอาหารทุกวันในมื้อเช้า • จัดกิจกรรมแข่งกีฬาในชุมชนให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมกับเด็กๆ • จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในช่องปากเพื่อสุขภาพฟันที่ดี • จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการอาหาร • จัดกิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เดือนละ 1 ครั้งโดยให้ความรู้กับผู้ปกครอง • ให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องอาหารสำหรับลูก • จัดกิจกรรมประกวดเมนูอาหารสำหรับลูกรัก • กิจกรรมแดนซ์แม่ลูกยามเย็น • ประกวดหนูน้อยฟันสวย • แนะนำและให้ความรู้ผู้ปกครองและคนในครอบครัวโดยตรง • จัดอบรมผู้ปกครองหรือคนที่ดูแลเด็กให้เข้าร่วมกิจกรรมการดูแลเด็กในด้านต่างๆ การระดมความคิดชื่อโครงการ • โครงการกินฟรีอยู่ดีมีสุข • โครงการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ • โครงการกินอย่างไรให้ถูกใจคนรักสุขภาพ • โครงการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินเพื่อสุขภาพ • โครงการกินให้ถูกหลักและสอดคล้องกับแหล่งอาหาร • โครงการกินดีสุขภาพดีหนูน้อยปลอดภัย • โครงการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ครอบครัวอบอุ่น • โครงการอาหารดีสุขภาพเลิศ • โครงการกินดีสุขภาพดีหนูน้อยปลอดภัย • โครงการเด็กดีสุขภาพดีกินอาหารดีมีสุข • โครงการกินได้กินดีกินแล้วต้องดีต่อสุขภาพ • โครงการส่งเสริมสุขภาพพลานามัยเด็ก • โครงการวัยรุ่นฟันน้ำนมโภชนาการดีกินอาหารครบ 5 หมู่ • โครงการกินได้กินดีเด็กบางโกระฟันสวยสูงดีสมส่วน • โครงการอาหารดีชีวิตเป็นสุข • โครงการ You are what you eat กินอะไรเป็นอย่างนั้น • โครงการกินดีกินเป็นหนูน้อยสูงดีสมส่วน • โครงการกินถูกหลักโภชนาการเพื่อสุขภาพดี • โครงการเด็ก 0-5 ปีปรับพฤติกรรมการกินเพื่อสุขภาพของเด็กน่ารัก • โครงการสุขภาพดีชีวีมีสุข • โครงการดีพัฒนาการสมวัยถูกหลักโภชนาการ

กลุ่มเป้าหมาย • ผู้ปกครอง • เด็ก 0 ถึง 5 ปี • ผู้นำชุมชน • เจ้าหน้าที่รพ. สต • อสม • คุณครู • องค์กรในชุมชนเครือข่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้อง • สถานศึกษาต่างๆ • คนในชุมชน

ความรู้สึก /ข้อแนะนำ จากการมาประชุมครั้งนี้ • ยินดีที่มีคนเห็นความสำคัญของเด็กปฐมวัย • ได้รับความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของการกินของเด็ก 0-5 ปีและคนในชุมชน • มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานเรื่องอาหารในพื้นที่ตำบลเพื่อนำไปปรับปรุง • ได้รับความรู้และแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็ก 0-5 ปี • ได้มีการระดมความคิดในการพัฒนาเด็กในชุมชนให้มีสุขภาพที่ดี • ได้แลกเปลี่ยนความรู้รับรู้ข่าวสาร • ขอบคุณโครงการดีๆที่ทำให้เกิดความรู้ • ได้รับความรู้ประเด็นเรื่องอาหารและโภชนาการทราบถึงปัญหาแนวทางแก้ไขในการนำไปปฏิบัติ • ได้รับความรู้เกี่ยวกับการกินอาหารของเด็กและสุขภาพการแปรงฟันที่ถูกวิธีช่วยแนะนำผู้ปกครองในการพัฒนาการของเด็ก • แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับตัวแทนในชุมชนเรื่องอาหารและโภชนาการของเด็กเพื่อพัฒนาเด็กในชุมชน • ได้รับความรู้เรื่องอาหารและภาชนะในการใส่อาหารอย่างปลอดภัย • เห็นความสำคัญของผู้ปกครองให้มาดูแลเด็กมากขึ้น • ได้รู้ถึงปัญหาและโครงการที่ผู้เข้าร่วมอบรมนำเสนอ • ได้ทราบปัญหาของเด็กในชุมชนและได้แนวทางแก้ปัญหาดังกล่าวเบื้องต้น • ได้ความรู้เกี่ยวกับโภชนาการอาหารเด็กในชุมชน • ได้รู้ถึงปัญหาโภชนาการของตำบลบางโกระ

  • photo 1716463689763.jpg1716463689763.jpg
  • photo IMG_20240523_145805.jpgIMG_20240523_145805.jpg
  • photo IMG_20240523_143754.jpgIMG_20240523_143754.jpg
  • photo IMG_20240523_135548.jpgIMG_20240523_135548.jpg
  • photo IMG_20240523_132241.jpgIMG_20240523_132241.jpg
  • photo IMG_20240523_131748.jpgIMG_20240523_131748.jpg

 

0 0

7. การประชุมพัฒนาโครงการฉบับบย่อประเด็นอาหารและโภชนาการ รพ.สต.ควน

วันที่ 24 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผลการสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของครัวเรือน
ในพื้นที่ ตำบลควน  อำเภอปะนาเระ จ.ปัตตานี ตารางที่ 1 คุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (n = 202) คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 63 31.2 หญิง 137 67.8 อายุ (ปี) (mean+SD) 52.9+13.0 ระดับการศึกษา
ไม่ได้ศึกษา 5 2.5 ประถมศึกษา 57 28.2 มัธยมศึกษา/ปวช. 65 32.2 อนุปริญญา/ปวส. 31 15.3 ปริญญาตรี 43 21.3 สูงกว่าปริญญาตรี 1 0.5 รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน (บาท) น้อยกว่า 5000 37 18.3 5001 – 10000 110 54.5 10001 – 15000 27 13.4 15001 – 20000 17 8.4 20001 – 25000 6 3.0 25001 – 30000 4 2.0 มากกว่า 30000 1 0.5 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (คน)  (mean+SD) 4.1+2.0 อาชีพ
รับจ้าง 56 27.7 รับราชการ 15 7.4 เกษตรกรรม 50 24.8 ประมง 1 0.5 ธุรกิจส่วนตัว 27 13.4 อื่น ๆ 14 6.9 ประกอบอาชีพ มากกว่า 1 อาชีพ 39 19.3 วิธีการได้มาซึ่งอาหารของครัวเรือน ตารางที่ 2 รูปแบบการได้มาซึ่งอาหารในครัวเรือน (n = 196) รูปแบบการได้มาซึ่งอาหาร จำนวนครัวเรือน (ร้อยละ) หมายเหตุ ผลิตอาหารเอง 99 (50.5) เหตุผลที่ไม่ได้ผลิตอาหารเอง 1.ไม่มีปัจจัยการผลิต ร้อยละ 65.6 2.ไม่มีองค์ความรู้ ร้อยละ 58.3 3.ดิน น้ำไม่เหมาะกับการผลิต ร้อยละ 3.1 รูปแบบการเกษตร 1. แบบอินทรีย์  ร้อยละ 59.7 2.แบบปลอดภัย ร้อยละ 9.1 3.แบบอื่น ๆ  ร้อยละ 31.2 - การเพาะปลูก 92 (93.9)
- ปศุสัตว์ 25 (25.5)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 3 (3.1) - เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม 1 (1.0) ความพอเพียงของอาหารที่ผลิตในครัวเรือน
- ไม่พอ 0 (0.0) - พอเพียง 104 (100.0) หาจากธรรมชาติ 39 (26.4) หาจากแหล่ง


  สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตารางที่ 3 ร้อยละของครัวเรือนจำแนกตามระดับความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นใน 1 เดือนที่ผ่านมา เหตุการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร ไม่เคยเกิดขึ้น น้อยครั้ง (1-2 ครั้ง) บางครั้ง (3-10 ครั้ง) บ่อยมาก (>10ครั้ง) เฉลี่ยคะแนน (mean+SD) 1 ท่านกังวล ว่าจะไม่มีเงินซื้ออาหารกินอย่างเพียงพอ 81.6 13.3 5.1 0.0 1.2+0.5 2 ท่านไม่สามารถหาอาหารที่ครบ 5 หมู่ (ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน/ไขมัน) เพียงพอสำหรับการบริโภคเพราะมีเงินหรือทรัพยากรไม่พอ 86.0 11.5 2.5 0.0 1.2+0.4 3 ท่านกินอาหารเพียงไม่กี่ชนิด (มีกิน แต่กินซ้ำๆ เดิม ๆ ไม่มีคุณภาพ) เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 79.0 17.0 3.0 1.0 1.3+0.6 4 ท่านต้องอดอาหารบางมื้อหรือกินบางมื้อน้อยลง เพราะเงินไม่พอหรือขาดทรัพยากรอื่นๆ ที่จะได้รับอาหาร (อดมื้อกินมื้อเพราะเงินไม่พอ) ไม่นับการถือศีลอด 91.5 8.0 0.5 0.0 1.1+0.3 5 ท่านรู้สึกหิวแต่ไม่ได้กิน เพราะเงินไม่พอ หรือขาดทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับอาหาร 92.5 7.0 0.5 0.0 1.1+0.3 6 เคยมีช่วงเวลาที่ท่าน ไม่ได้กินอาหารเลยทั้งวันเพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 94.5 5.5 0.0 0.0 1.1+0.2 7 ท่านได้รับการบริจาค การช่วยเหลือด้านอาหารจากหน่วยงาน เพื่อนบ้าน หรือองค์กร 85.9 12.6 1.0 0.5 1.2+0.4 8 ครัวเรือนของท่าน ขาดแคลนอาหารหรือไม่มีอาหารที่จะกินเลย เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่น ๆ 96.0 3.5 0.5 0.0 1.0+0.2 9 ครัวเรือนของท่านมีอาหารกินไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในครอบครัวครบ ทั้ง 3 มื้อ 93.0 6.5 0.5 0.0 1.1+0.3 10 อาหารที่มีในครัวเรือน ของท่านเป็นอาหารที่มีครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน) 59.8 4.5 10.6 25.1 3.0+0.3   ตารางที่ 4 การเตรียมความพร้อมของครัวเรือนเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติที่ผ่านมา (n= ) การเตรียมพร้อม จำนวน (ครัวเรือน) ร้อยละ ไม่มีการเตรียมการ 8 4.3 มีการเตรียมการ 177 95.7

ความรอบรู้ทางอาหารของครัวเรือน ตารางที่ 5 จำนวน และ ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรอบรู้ในแต่ละประเด็น
ประเด็นความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ จำนวน ร้อยละ ด้านการวางแผนและจัดการ
1 ท่านจะเอาเงินไว้สำหรับซื้ออาหารให้เพียงพอก่อนการใช้จ่ายซื้อสิ่งอื่น เช่น เครื่องประดับ เสื้อผ้า ของเล่นให้ลูก 196 98.0 2 ท่านจะคิดรายการอาหารที่จะกินไว้ล่วงหน้าเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจะหาอาหารได้เพียงพอตามต้องการ แม้ในสภาวะที่สถานการณ์อาหารเปลี่ยนไป 188 94.0 3 ท่านตัดสินใจเลือกอาหารโดยดูจากความคุ้มค่า (มีประโยชน์ต่อร่างกาย) คุ้มราคา (เหมาะกับเงินที่มี) หรือ สะดวกในการจัดเตรียมหรือปรุง 196 98.0 ด้านการเลือกอาหาร
4 ท่านหาอาหารได้จากแหล่งต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ซื้อจากตลาด เพื่อนบ้าน ปลูก/หาได้เอง 195 97.5 5 ท่านจะอ่านฉลากเพื่อดูว่าอาหารประกอบด้วยอะไร เก็บรักษาแบบไหน และจะกินอย่างไร 189 94.5 6 ท่านจะสอบถามข้อมูลจากผู้ขายถึงแหล่งที่มา วิธีการกิน การเก็บรักษาเพื่อให้จัดการให้เหมาะสม 178 89.0 7 ท่านบอกได้ว่า อาหารชนิดใดดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพ เมื่อทราบแหล่งที่มา หรือแหล่งผลิตอาหาร หรือองค์ประกอบ หรือจากการอ่านฉลากอาหาร 172 86.0 ด้านการเตรียมอาหาร
8 ท่านทำอาหารทานได้ไม่ว่าวัตถุดิบที่มีจะเป็นอะไร ด้วยอุปกรณ์เครื่องครัวเท่าที่มี 193 96.5 9 ท่านล้างมือทุกครั้งก่อนเตรียมอาหาร 194 97.0 10 ท่านล้างผักและเนื้อสัตว์โดยใช้น้ำไหลผ่านอย่างทั่วถึง 196 98.0 11 ท่านเก็บอาหารที่ทานไม่หมดไว้ในที่มิดชิด เช่น ตู้กับข้าว ครอบฝาชี หรือใส่ภาชนะที่มีฝาปิด 198 99.0 12 เมื่อกินอาหารกระป๋อง ท่านจะอุ่นทั้งกระป๋อง 77 38.5 ด้านการรับประทานอาหาร
13 ท่านรู้ว่าเด็กที่เตี้ยเป็นผลจากการกินอาหารไม่ครบถ้วน หรือกินอาหารไม่พอ 96 48.0 14 ท่านจะกินอาหารที่มีรสหวาน หรือมัน หรือเค็ม เป็นประจำ 52 26.0 15 ท่านคุมปริมาณอาหารเพื่อรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนหรือผอมจนเกินไป 93 46.5 16 ท่านใส่ใจกับการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน 149 74.5

ตารางที่ 6 คะแนนระดับความรอบรู้ทางอาหารในแต่ละด้าน ของครัวเรือน (n = 200) องค์ประกอบความรอบรู้ด้านอาหาร คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวางแผนและจัดการ 3 2.9 0.4 การเลือกอาหาร 4 3.7 0.8 การเตรียมอาหาร 5 4.3 0.6 การรับประทานอาหาร 4 2.0 1.2 คะแนนรวม 16 12.8 1.7


ผลการสำรวจความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ในพื้นที่ ตำบลควน    อำเภอปะนาเระ จ.ปัตตานี ตารางที่ 1 คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา (n =19) คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 1 5.3 หญิง 18 94.7 อายุ (ปี) (mean + SD) 53.3+11.8 ศาสนา อิสลาม 13 68.4 พุทธ 6 31.6 ระดับการศึกษา ประถมศึกษา 8 42.1 มัธยมศึกษา/ปวช. 10 52.6 อื่น ๆ 1 5.3 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5001 – 10000 บาท 17 89.5 10001 – 15000 บาท 1 5.3 15001 – 20000 บาท 1 5.3 ลักษณะสถานบริการอาหาร ร้านอาหารที่มีอาคาร สถานที่แน่นอน 9 47.4 แผงลอย/เพิงขายอาหาร (ประกอบอาหารที่แผงร้านค้า) 4 21.1 แผงลอย/เพิงขายอาหารปรุงสำเร็จ (ประกอบอาหารจากที่อื่น) 5 26.3 อื่น ๆ 1 5.3 บทบาทในการประกอบอาหาร ผู้จัดหาวัตถุดิบ/เครื่องปรุง 6 37.5 แม่ครัว/ผู้ประกอบอาหาร 15 93.8 ผู้กำหนดเมนู/รายการอาหาร 5 31.3 ประสบการณ์การทำงาน (ปี) (mean + SD) 6.7+7.2


การจัดหาวัตถุดิบและเครื่องปรุง ตารางที่ 2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร แหล่งที่มาของวัตถุดิบ จำนวน ร้อยละ ประเภทของวัตถุดิบที่ซื้อ ตลาด 18 94.7
ร้านค้าในชุมชน 2 10.5
รถเร่/รถพุ่มพวง 0 0
ผู้ผลิต (เกษตรกร) 1 5.3

พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหารของผู้ประกอบการอาหาร ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้ปรุงอาหารจำแนกตามความถี่ของการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยของอาหาร พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหาร ร้อยละของผู้ตอบ หมายเหตุ ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติบางครั้ง ประจำปฏิบัติ
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 1 ท่านเลือกซื้อวัตถุดิบอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ในการประกอบอาหาร สดใหม่ (ประกอบอาหารหมดภายใน 1-2 วัน) 0 0 100 2 ท่านซื้อวัตถุดิบประเภทผักสด ผลไม้ จากร้านที่ได้รับมาตรฐานอาหารปลอดภัย เช่น แหล่งการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (Q Organic) คุณภาพทางการเกษตร GAP ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น (PGS) 0 5.3 94.7
3 ท่านซื้อวัตถุดิบอาหารสดประเภทผัก ผลไม้ จากเกษตรกรโดยตรง 0 33.3 66.7
4 ท่านซื้ออาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก จากผู้ขายที่มั่นใจว่าไม่มีการใส่สารปนเปื้อนในอาหารทะเล 0 0 100 5 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในตู้เย็นตามอุณหภูมิที่เหมาะสมแต่ละประเภทของวัตถุดิบ 0 0 100 6 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในถังน้ำแข็ง/ ภาชนะอื่นๆ 0 0 100 7 ท่านดูวันหมดอายุที่ฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ 0 0 100 การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์)
8 ท่านรักษาความสะอาด (ไม่มีคราบเศษอาหารหรือคราบสกปรก) สถานที่ในการปรุงอาหาร ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน 0 0 100 9 ท่านปรุงอาหารในสถานที่ที่มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอ เช่น มีปล่องระบายควัน หรือพัดลมระบายอากาศ 0 0 100 10 ท่านทำความสะอาดสถานที่ประกอบอาหารด้วยวิธีการ กวาด ถู เช็ด ทุกวันก่อนหรือหลังที่จะทำอาหาร 0 0 100 11 ท่านมีการจัดวัสดุอุปกรณ์ ของใช้ในครัวเป็นระเบียบ เรียบร้อย และจัดเป็นสัดส่วน 0 0 100 12 ท่านใช้น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดภาชนะและล้างด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง 0 0 100 การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 13 ท่านเตรียมวัตถุดิบอาหารหรือวางภาชนะที่ใส่อาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. 0 0 100 14 ท่านมีการแยกวัตถุดิบระหว่างอาหารสด อาหารแห้งและอาหารปรุงสำเร็จเพื่อเตรียมปรุงอาหาร 0 0 100 15 ท่านทำความสะอาดผัก ผลไม้ ด้วยวิธีการ ปลอดภัย เช่น ล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร/การใช้เบคกิ้งโซดา 0 0 100 16 ท่านล้างวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้รวมกันในครั้งเดียว 100 0 0
17 ท่านใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร 94.7 5.3 0
18 ท่านใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร 100 0 0
19 ท่านดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าสะอาด สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ หมวก และผ้ากันเปื้อนที่สะอาด 0 0 100 20 ท่านมีการล้างมือด้วยสบู่/ เจลแอลกอฮอล์ ก่อนสัมผัสอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ในการเตรียม ปรุง จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร 0 0 100 21 ท่านมีการใช้ประโยชน์จากอาหารเหลือทิ้งด้วยการเป็นอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก 0 26.3 73.7
22 ท่านจัดการของเสียจากกระบวนการอาหารกลางวัน เช่นน้ำมันทอดซ้ำ น้ำล้างวัตถุดิบ เศษอาหาร ถูกหลักสุขาภิบาล 0 5.3 94.7
การขนส่ง 23 ท่านมีการจัดส่งอาหารไปสู่ผู้บริโภค โดยไม่มีฝาปิดให้มิดชิด 100 0 0
2.24 เมื่อท่านจัดทำอาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค มีการเก็บแยกเป็นสัดส่วน ปกปิดและไม่วางบนพื้น 0 0 100 25 ท่านให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย 100 0 0
26 ท่านดูแลรักษาความสะอาดของพื้นที่ บริการอาหาร/เสิร์ฟอาหาร ที่ส่งผลต่อการปนเปื้อนสู่อาหารได้ 0 0 100 27 ท่านนำภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุอาหาร เช่น ถังสี/ถังน้ำมัน 100 0 0
28 ท่านมีการปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล เช่น ตัดเล็บ ความสะอาดของเสื้อผ้า ไม่ไอหรือจามรดอาหาร 0 0 100   ตารางที่ 4 ระดับคะแนนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาหารในด้านต่าง ๆ ของผู้ปรุงประกอบอาหาร ความปลอดภัยในอาหารด้านต่าง ๆ คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 21 20.6 0.6 การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์) 15 15.0 0.0 การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 30 29.6 0.6 การขนส่ง 18 18.0 0.0 รวมทั้งหมด 84 83.2 1.2

สรุปผลกระบวนการเรียนรู้ของแกนนำชุมชนใช้เครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะ
ประเด็นระบบอาหารและโภชนาการ จ.ปัตตานี ตำบลสุคิริน จ.นราธิวาส และเทศบาลตำบลปริก รอบที่ 1 วันที่ 22-23 เมษายน 2567 ณ โรงแรมซีเอส ปัตตานี รพ.สต. ……ควน...… อำเภอ……....…ปะนาเระ……....…จังหวัด………………ปัตตานี…………….

ลำดับที่ ผลการเรียนรู้การใช้เครื่องมือ เครื่องมือ 1: Systems Map เพื่อให้เห็นระบบอาหารของพื้นที่ เครื่องมือ 2: Problem Statement
เพื่อระบุประเด็น (ใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights) เครื่องมือ 3:
How might we?
ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ เครื่องมือ 4:
Ideation – Idea flower ร่างโครงการ วันที่ 1 ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนระบบ 1.ห่วงโซ่อุปทานอาหาร - ตลาดสด/ตลาดนัด - ร้านขายของชำ - รถเร่ขายตามบ้าน - ชาวบ้านมาขายตามบ้าน - มีการผลิตอาหารเอง เช่น ปลูกผัก,เลี้ยงปลา,เลี้ยงไก่ - ซื้อตามห้างบิ๊กซี - การซื้อวัตถุดิบตามยแหล่งผลิต - การหาวัตถุดิบจากแหล่งอาหารธรรมชาติ

2.ปัจจัยแวดล้อม - ซื้อตามโฆษณา/Facebook - ซื้อตามคำบอกเล่าต่างๆของเพื่อนบ้าน/ที่ทำงาน - ตามความสะดวก แม่ค้าสามารถส่งถึงที่ได้ - ความสะอาดของแม้ค้า - วัตถุดิบที่ซื้อมาประกอบอาหาร - ผลิตภัณฑ์/ภาพลักษณ์ของอาหาร - เด็กอยากกินตามเพื่อน - เด็กอยากกินตามสื่อที่เห็น เช่น ทีวี ยูทูป เป็นต้น - ต้องมีความมั่นใจว่าไม่มีสารพิษ ยาฆ่าแมลง

3.ปัจจัยระดับครัวเรือน/ชุมชน/ร.ร./ศพด. - รายได้ในการซื้อ - เลือกอาหารที่ลูกชอบกิน - ต้องมีความสด/ความสะอาด - แหล่งซื้อวัตถุดิบ - ความต้องการของเด็ก - ประโยชน์ของอาหาร - พ่อแม่รีบไปทำงาน - ลูกหลายคน - ซื้ออาหารที่ร้ายค้าปรุงสะอาด/ราคาย่อมเยา

4.พฤติกรรมการจัดการอาหารของครู/แม่ครัว/ผู้ปกครอง - ผู้ปกครองไม่มีเวลา ซื้อแกงถุงตามตลาดนัดใกล้บ้าน - ผู้ปกครองซื้อตามที่ลูกอยากกิน/ลูกชอบ - ผู้ปกครองทำอาหารเองเป็นบ้างครั้งจำพวก ทอด/ผัด - ผู้ปกครองทำอาหารกันเองทุกมื้อ - ครู/แม่ครัวทำอาหารมีความหลากหลาย - ครู/แม่ครัวเน้นทำอาหารที่มีประโยชน์ - ครู/แม่ครัวทำอาหารเมนูที่เด็กต้องการ - ครู/แม่ครัวทำอาหารตามงบประมาร

5.อาหารที่รับประทาน - มื้อเช้า   1.)ข้าว+ไข่ดาว/ไข่ต้ม   2.)โรตี   3.)ซีเรียล+นมสด   4.)ข้าวต้ม/โจ๊ก   5.)ข้าวเหนียวไก่ทอด   6.)ผลไม้   7.)ขนมโตเกียว   8.)นม/น้ำเต้าหู้/โยเกิร์ต   9.)ซาลาเปา   10.)ขนมปัง/แซนวิช
-มื้อกลางวัน   1.)ข้าว   2.)ไข่เจียว/ไข่ดาว   3.)ข้าวแกง   4.)ผลไม้   5.)น้ำหวาน   6.)ขนมขบเคี้ยว -มื้อเย็น   1.)ข้าว+แกงจืด/แกง   2.)ก๋วยเตี๋ยว   3.)มาม่าผัด   4.)ข้าวต้มทรงเครื่อง   5.)ข้าวเหนียวไก่ทอด   6.)ผลไม้   7.)นม/น้ำเต้าหู้/โยเกิร์ต
- มื้ออาหารว่าง   1.)นมกล่อง   2.)ขนมขบเคี้ยว   3.)ไอติม
  4.)โดนัท/เค้ก   5.)เมนูทอด เช่น ลูกชิ้น
  6.)เบอร์เกอร์   7.)ขนมปัง   8.)เยลลี่   9.)ไส้กรอก   10.)นมเปรี้ยว ใคร = เด็ก ปัญหา = ไม่อยากกินอาหารที่พ่อแม่ทำ เพราะอะไร = เด็กอยากกินอาหารกึ่งสำเร็จรูป เช่น ไส้กรอก

ใคร = ผู้ปกครอง ปัญหา = การจัดสรรเวลาในการทำอาหารในเด็ก เพราะอะไร = เนื่องจากเร่งรีบไปทำงาน ทำให้มีการกินอาหารที่หาซื้อได้ง่าย กินง่าย ทำง่าย สะดวกในเวลาเร่งรีบและมีเวลาจำกัด

ใคร = พ่อแม่-คนดูแล ปัญหา = ไม่มีเวลาทำอาหาร เพราะอะไร = มีความรู้และเข้าใจในอาหารเพียงแต่ไม่มีเวลาไม่มาก ไม่สะดวก ต้องรีบไปทำงาน

ใคร = ผู้ปกครอง ปัญหา = มีรายได้น้อยและคิดว่ากินอะไรก็ได้ที่กินแล้วอิ่ม เพราะอะไร = เพราะผู้ปกตรองมีความรู้แต่ไม่สามารถทำตามได้

ใคร = เด็ก ปัญหา = เด็กชอบกินอาหารจุกจิก ทำให้ขาดสารอาหาร กินอาหารไม่ครบ 5 หมู่

เพราะอะไร = เด็กชอบกินอาหารจุกจิก กินของทอด กินขนมขบเคี้ยว กินน้ำหวาน ไม่ชอบกินผัก

- เราจะทำอย่างไรไม่ให้เด็กไปทานอาหารกึ่งสำเร็จรูป

- เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองมีเวลาในการจัดสรรเวลา เตรียมวัตถุดิบในการทำอาหารให้เด็กไว้ตั้งแต่ช่วงกลางคืน - ทำอย่างไรให้ผู้ปกครองมีเวลา - ทำไมไม่มีเวลา   1.)ตื่นสาย   2.)มีลูกเยอะ   3.)เอาเวลาไปปเล่นโทรศัพท์   4.)ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ปกครองเรื่องการบริหารเวลา - บอกข้อเสียของอาหารกึ่งสำเร็จรูป - เราจะนำความรู้ไปใช้กับชุมชนได้อย่างไร

- อยากให้เด็กๆได้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

- ผู้ปกครองสามารถทำอาหารครบ 5 หมู่ ได้หรือไม่ - เราจะนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้อย่างไร - เราควรนำความรู้ที่ได้ไปบอกชาวบ้านในไลน์กลุ่ม

ชุมชน - มีการจัดรูปแบบอาหาร - ทำคลิปสั้นๆสอนทำอาหารให้ครบ 5 หมู่ - ทำเป็นโมเดลการ์ตูนอาหารให้เด็กได้ร่วมทำกิจกรรม - ส่งกลุ่มไลน์ในชุมชนถึงวิธีการทำอาหาร - ให้เด็กมาทำกิจกรรมทำขนม/อาหารร่วมกับผู้ปกครอง - ชุมชนมีการจัดกิจกรรมแข่นขันสุขภาพเด็กดีกับเมนูอาหารครบ 5 หมู่ - การจัดสรรเวลาการเรียนรู้ ไอเดียผู้สูงอายุ -ปลูกผัก,เลี้ยงไก่,เลี้ยงปลาให้เด็ก


ทำได้เลย - เล่าเรื่องการกินผักทำให้ร้างกายแข็งแรง สุขภาพดี - ทำเกมส์เป็นแบบการลงมือทำอาหารให้เด็กๆได้เลือกทำเลือกปรุงได้

วันที่ 2 โภชนาการในเด็ก 0-5 ปี
การเติบโตทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ - มีตลาดใหญ่ - มีความมั่นคงในการซื้อ-ขาย นโยบาล มาตรการ กฎหมาย - มีการปลูกผักเคมี เพื่อบริโภค

การเติบโตของประชากรและการย้ายถิ่น - ไม่มีผลต่อการบริโภคอาหาร

ความเป็นเมือง - มี 7-11 ตั้ง 2 แห่ง บริบททางสังคม-วัฒนธรรม - กินอาหารที่มีรส หวาน มัน เค็ม

ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนระบบ 1.ห่วงโซ่อุปทานอาหาร - ชาวบ้านปลูกผัก,ปลูกข้าว - หาปลากินเองตามหมู่บ้าน - มีการสั่งซื้ออาหารที่ครบ 5 หมู่ - มีการทำอาหารกินเอง - อาหารสำเร็จรูป - สิ่งค้าที่นำมาขายมาจากตลาดกลาง - มีการผลิตอาหารเอง เช่น ปลูกผัก,เลี้ยงปลา,เลี้ยงไก่ เพื่อกินและขาย 2.ปัจจัยแวดล้อม - อาหารบางอย่าง เป็นอาหารแช่แข็ง (ไม่สด) เพราะราคาถูก - หาซื้อง่าย - มีบริการส่งถึงบ้าน - มีรายได้น้อย - ไม่มีเวลาในการทำอาหาร - สะดวกในการซื้อ - โซเซียล/สื่อ ที่ใช้โฆษณาอาหาร - รูปแบบของอาหารเป็นสิ่งล่อให้เด็กอยากกิน - มีตลาดนัดเกือบทุกวันมีแต่อาหารไม่มีประโยชน์ มีขนมที่เด็กๆชอบกิน - มีรถฟาร์มขายผักปลอดกสารพิษในชุมชน

3.ปัจจัยระดับครัวเรือน/ชุมชน/ร.ร./ศพด. - ไม่มีเวลาเตรียมทำอาหาร
- เด็กเรียกร้องสิ่งที่อยากกิน - ความรู้ ความเข้าใจของพ่อแม่ - เวลากับรายได้ที่ไม่สามารถทำได้ - ขี้เกียจ เน้นความสะดวก - รายได้น้อย ไม่สามารถทำอาหารที่ครบ 5 หมู่ได้ - การศึกษา - ความเคยชินของผู้ปกครอง  ความสะดวกสบายของพ่อแม่

4.พฤติกรรมการจัดการอาหารของครู/แม่ครัว - ซื้อตามร้านค้าในชุมชน - สั่งอาหารจากร้านค้าประจำ - เด็กๆชอบทายอาหารจากเซเว่น - พ่อแม่ไม่ได้คำนึงถึงสารอาหารให้ครบ ขอให้เด็กอิ่มก็เพียงพอ - กินอาหารจำเจ - เก็บอาหารที่เหลือใช้กินมื้อต่อไป - ซื้ออาหารจาก 7-11 / ร้านขายของชำ/ ซุปเปอร์มาร์เก็ต - เด็กทานขนมหวาน/น้ำหวาน - เด็กเบื่ออาหารไม่ค่อยทานข้าวเป็นเวลา

5.อาหารที่เด็ก 0-5 ปี - มื้อเช้า   1.)ข้าวต้ม/โจ๊ก   2.)นม   3.)ข้าวเหนี่ยวไก่ทอด   4.)ข้าวหมก   5.)ไข่ตุ๋น   6.)ข้าวยำ   7.)โรตี   8.)ไส้กรอก   9.)ไข่ดาว   10.)ขนมจีบ   11.)ซาลาเปา -มื้อกลางวัน   1.)พ่อแม่ ปรุงเองที่บ้านเอง   2.)พ่อแม่ พาไปซื้อของใน 7-11   3.)เด็กทานอาหารที่ร.ร0.เตรียมให้   4.)ข้าวหมก   5.)ข้าวผัด   6.)ข้าวแกง

-มื้อเย็น   1.)พ่อแม่ ปรุงเองที่บ้านเอง   2.)อาหารปรุงสำเร็จ(แกงถุง)   3.)ข้าวผักไก่/ไข่   4.)ข้าวแกงจืด   5.)ข้าวสวยปลากะพง   6.)ข้าวเหนี่ยวไก่ทอด   7.)ข้าวหมก   8.)ข้าวปลาทอด   9.)ข้าวต้มไข่เจียว/ไข่ดาว   10.)ผัดผักบุ้ง   11.)สุกี้   12.)บะหมี่น้ำ - มื้ออาหารว่าง   1.)ไส้กรอก   2.)ขนมกรุบกรอบ   3.)ลูกอม   4.)โอรีโอ้   5.)นมเปรี้ยว   6.)สาหร่าย   7.)โยเกิร์ต   8.)นักเก็ตไก่
ใคร = เด็ก ปัญหา = ขาดสารอาหารและเจริญเติบโตช้า เพราะอะไร = เด็กไม่ยอมทานอาหารสิ่งที่เตรียมไว้ให้

ใคร = เด็ก ปัญหา = ชอบเล่นเกมส์/ติกมือถือ เพราะอะไร = เด็กไม่ได้รับความสนใจและเด็กไม่ได้อยู่กับพ่อแม่และเด็กบางคนอยู่กับปู่ยาตายาย ทำให้ไม่ได้รับความใส่ใจเท่าที่ควรด้วนเวลาและอายุ


ใคร = ผู้ปกครอง ปัญหา = ไม่มีเวลาทำอาหาร เพราะอะไร = เนื่องจากเร่งรีบไปทำงานประจำ ไม่มีเวลามากพอที่จะทำอาหาร

ใคร = พ่อแม่ ปัญหา = ขาดความรู้ทางด้านโภชนาการและความตะหนักในการดูแลเรื่องอาหารให้ลูก เพราะอะไร = มีเงินแต่ขาดความตระหนักเรื่องอาหาร และเอาแต่ความสะดวกเป้นหลัก

ใคร = สื่อโฆษณา ปัญหา = ทำให้เด็กอยากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ (มาม่า,น้ำอัดลม) เพราะอะไร = เพราะเห็นโฆษณาในทีวี


ใคร = พ่อแม่ ปัญหา = เด็กขาดสารอาหารเพราะกินตามมีตามเกิด เพราะอะไร = เพราะพ่อแม่แยกทางกันทำให้ขาดการดูแล

ใคร = ผู้ปกครอง ปัญหา = เด็กกินอาหารกึ่งสำเร็จรูป ทำให้ขาดสารอาหาร กินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ เพราะอะไร = ผู้ปกครองตื่นสาย ทำให้ไม่มีเวลาในการทำอาหาร

ใคร = พ่อแม่ ปัญหา = มีรายได้ไม่เพียงพอทำให้ได้รับ่ารอาหารไม่ครบ 5 หมู่ เพราะอะไร = รายได้ไม่เพียงพอต่อการซื้ออาหาร - เราจะทำอย่างไรเด็กให้ได้รับอาหารครบ 5 หมู่ - เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองตระหนักถึงเรื่องการทำอาหารของเด็กให้ครบ 5 หมู่ - ทำอย่างไร ทำให้ผู้ปกครอง/พ่อแม่ เห็นถึงโทษหรือปัญหาทางสุขภาพของเด็กที่ขาดสารอาหาร - ทำอย่างไรให้พ่อแม่มีความรับผิดชอบมากขึ้น - ทำอย่างไรให้ผู้ปกครองได้คิดเมนูที่เด็กๆชอบและมีประโยชน์ -จะทำอย่างไรให้พ่อแม่มีจิตสำนึกในการทำอาหารให้ลูกกิน - เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองมีความสุขกับการทำอาหารอยากทำกินเองทุกมื้อ -เราจะทำอย่างไรให้เด็กอยากทานอาหารที่เราทำ - ทำอย่างไรให้เด็กให้ได้รับอาหารครบ 5 หมู่

ทำได้เลย - คิดเมนูอาหารสำหรับเด็ก

ไม่ใช้งบประมาณ - ปลูกผัก/ผลไม้กินเอง - ลงมือทำอาหารเองจากวัตถุดิบในบ้านที่มีอยู่

ไอเดียรักษ์โลก - มีส่วนร่วมในการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์

ที่ทำกันเป็นปกติในการแก้ปัญหานี้ - อบรมให้ความรู้ - จัดหาบุคลากรที่มีความรู้ลงพื้นที่ให้ความรู้

ภาคธระกิจมีส่วนร่วม - การทำแปรรูปอาหารเพิ่มมากขึ้น เช่น ไอติมผลไม้ - ร้านค้าจัดหมวดหมู่เมนูที่เหมาะสมกับเด็กมากขึ้น

มิติทางศาสนา - ความเชื้อด้านอาหารในชุมชน - ให้ผู้นำให้ความรู้ให้กับผู้ปกครองด้านอาหารสำหรับเด็ก

กระแสออนไลน์ - ทำคลิปสั้นๆถึงขั้นตอนการทำอาหารและให้เด็กๆมีส่วนร่วมในการทำอาหาร – คลิปสั้นๆเกี่ยวกับการ์ตูนเชินชวนทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

ไอเดียที่มี Story - เล่านิทาน เช่นเรื่อง ป๊อปอายกินผักขมแล้วแข็งแรง

ชุมชนมีส่วนร่วม - ส่งเสริมให้ทุกบ้านปลูกผักกินเอง - ส่งเสริมให้มีการเลี้ยงไก่,เลี้ยงเป็ด,เลี้ยงปลา

ไอเดียจากเกมส์ - เกมส์จับคู่อาหารที่มีประโยชน์และอาหารที่ไม่มีประโยชน์
ไอเดีย AI - ใช้ AI ทำตัวอย่างกินผักให้เด็กดู

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปกิจกรรมประชุมตำบลควน วันที่24พฤษภาคม 2567
สถานที่ อบต.ควน เนื่องจากทางต.ควน ได้เห็นความสำคัญของเด็กวัย 0-5 ปีที่กินอาหารไม่ครบ 5 หมู่ต่อวันและเด็กไม่รับประทานผักจึงได้คิดทำโครงการต่างๆเกิดขึ้น โดยการการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทน รพ.สต.ควน -นายกอบต.ควน -อสม. -ผู้ใหญ่บ้าน -ผู้ปกครอง -อบต.ควน -โรงเรียนวัดควน มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน • ประกวดหนูน้อยสุขภาพดี 0-5 ปี • กิจกรรมรณรงค์การปลูกผักปลอดสารพิษ • จัดประกวดการประกอบอาหารของผู้ปกครอง • กิจกรรมกินผักดีมีรางวัล • จัดกิจกรรมกลางแจ้งเพื่อเพิ่มศักยภาพให้เด็กปฐมวัย • จัดทำคลิปประกอบอาหารที่ครบ 5 หมู่ให้ผู้ปกครองได้เรียนรู้ • จัดกิจกรรมประกวดอาหารเกี่ยวกับผักให้ผู้ปกครองและเด็กทำร่วมกัน • ให้ความรู้เรื่อง ผักดีๆผักบ้านๆมีประโยชน์ • แปรรูปผักให้เป็นอาหารที่เด็กชอบกิน • จัดทำนิทานเช่นป๊อปอายกินผักโขมแล้วแข็งแรง • จัดฝึกอบรมการทำอาหารของเด็กๆช่วงปิดเทอม • ประชาสัมพันธ์กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ควบคู่กับการออกกำลังกาย • ตรวจเช็คถาดอาหารของเด็กว่าอันไหนเด็กกินหรือไม่กิน กิจกรรมที่เคยจัด ใน ศพด.คือให้ผู้ปกครองและเด็กมาทำอาหารและรับประทานร่วมกัน
โรงเรียนวัดควนไม่ขายอาหารที่ไม่มีประโยชน์ การระดมความคิดชื่อโครงการ • โครงการให้ความรู้กับผู้ปกครองเกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็ก 0-5 ปี • โครงการกินได้อาหารอร่อยปลอดภัย • โครงการพัฒนาเด็กในชุมชนให้ห่างไกลอาหารสำเร็จรูป • โครงการ 5 หมู่สดใสใส่ใจเด็กกำลังโต • โครงการ ซุปเปอร์เชฟ ตำบลควน • โครงการเติบโตสมวัยพัฒนาการเด็ก 0-5 ปี • โครงการกินดีอยู่ดีสุขภาพแข็งแรง • โครงการเสริมสร้างศักยภาพทางด้านอาหารเด็กในวัย 1-5 ปี • โครงการอบรมผู้ปกครองเกี่ยวกับการกินอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ • โครงการอาหารดีมีประโยชน์ • โครงการอาหารดีสุขภาพสมบูรณ์ • โครงการอาหารดีควบครอบครัวดีสู่เด็กวัย 0-5 ปี • โครงการอาหารตามวัย 0-5 ปี • โครงการอาหารสุขใหม่ไม่เกิดพยาธิ • โครงการถูกหลักถูกใจอาหารถูกหลักอนามัยเด็ก 0-5 ปี • โครงการอาหารดีกินผักปลอดสารพิษ กลุ่มเป้าหมาย • ผู้ปกครอง • เด็ก 0 ถึง 5 ปี • ผู้นำชุมชน • คนในชุมชน จากจากการดูวีดีทัศน์ของการจัดการอาหารของเด็กนักเรียนญี่ปุ่นผู้เข้าร่วมอบรมได้ความรู้ดังนี้ • ได้เห็นถึงการรับผิดชอบของเด็ก • เด็กเกิดประสบการณ์เรียนรู้โดยตรงในเรื่องทักษะการใช้ชีวิต • เด็กฝึกช่วยเหลือตนเองในการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่น • ได้รู้ถึงวิถีการดำเนินชีวิตของเด็กช่วงอยู่ในโรงเรียน • ได้เห็นถึงการปรุงอาหารที่สะอาดและอุปกรณ์ในการทำอาหารที่ถูกสุขลักษณะ • มีการจัดรูปแบบอาหารอย่างมีระเบียบเรียบร้อย • มีการจัดการอย่างถูกวิธีถูกหลักอนามัยและเห็นถึงการมีส่วนร่วมความสามัคคี • เด็กได้มีการทำงานที่มีความรับผิดชอบร่วมกับผู้อื่น • ฝึกการอยู่ร่วมกัน • ได้รู้ถึงการมีส่วนร่วมกันในการใช้ชีวิตประจำวันของเด็ก

ความรู้สึก /ข้อแนะนำ จากการมาประชุมครั้งนี้ • ได้รู้ถึงการทำโครงการและการของบประมาณในการช่วยเหลือสนับสนุนในชุมชน • ได้นำความรู้ไปใช้ในชุมชนต่อไปและชาวบ้านได้รับรู้วิธีการทำอาหารอย่างถูกวิธี • อยากให้โครงการนี้มีการพัฒนาในลำดับต่อไป • ได้รับข้อมูลของพื้นที่ • ได้ความรู้ในการหาอาหารให้เด็ก 0-5 ปี • สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นในของคนในชุมชน

  • photo 1716525424536.jpg1716525424536.jpg
  • photo 1716625563859.jpg1716625563859.jpg
  • photo 1716525426427.jpg1716525426427.jpg
  • photo 1716625519054.jpg1716625519054.jpg
  • photo IMG_20240524_104630.jpgIMG_20240524_104630.jpg
  • photo IMG_20240524_091220.jpgIMG_20240524_091220.jpg
  • photo IMG_20240524_085658.jpgIMG_20240524_085658.jpg

 

0 0

8. การประชุมพัฒนาโครงการฉบับบย่อประเด็นอาหารและโภชนาการ รพ.สต.คลองใหม่

วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สรุปผลกระบวนการเรียนรู้ของแกนนำชุมชนใช้เครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะ
ประเด็นระบบอาหารและโภชนาการ จ.ปัตตานี ตำบลสุคิริน จ.นราธิวาส และเทศบาลตำบลปริก รอบที่ 2 วันที่ 24-25  เมษายน 2567 ณ โรงแรมซีเอส ปัตตานี รพ.สต. ……คลองใหม่...… อำเภอ……....…ยะรัง……....…จังหวัด………………ปัตตานี…………….

ลำดับที่ ผลการเรียนรู้การใช้เครื่องมือ เครื่องมือ 1: Systems Map เพื่อให้เห็นระบบอาหารของพื้นที่ เครื่องมือ 2: Problem Statement
เพื่อระบุประเด็น (ใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights) เครื่องมือ 3:
How might we?
ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ เครื่องมือ 4:
Ideation – Idea flower ร่างโครงการ วันที่ 1 โลกาภิวัตน์และการค้าระหว่างประเทศ   -นมกระป๋องราคาถูก(ของมาเล ถูกกว่าไทย)

การเติบโตทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้   -รพ.สต.มาบ่อยไม่ได่เพราะคิดว่าไปจับผิด   -บางรร.ปรุงอาหารที่มีโซเดียม(รพ.สต.ไปตรวจ) การเติบโตของประชากรและการย้ายถิ่น   -พ่อแม่ปล่อยถูกเล่นมือถือจะได้ไม่โกง   -เด็กชอบเล่นมือถือมากกว่ากิน(ไม่กินเลย) เด็กร้องไป7-11(ได้หยิบทุกอย่าง)   -เล่นมากกว่ากิน

นโยบายมาตรการกฎหมาย   -อบต.ทำโครงการโภชนาแลกนม ไข่

ห่วงโซ่อาหาร   -อาหารที่มีประโยชน์เด็กไม่ชอบกินเพราะไม่อร่อยไม่มีรสชาติ


ปัจจัยแวดสิ่งแวดล้อม   -ในชุมชมมีการขายอาหารที่ไม่มีประโยชน์(ขายยำ,น้ำปั่น,ลูกชิ้น ไส้กรอก)   -ร้านเยอะทำให้ล่อตาล่อใจเด็ก   -7-11ขายนมผงแพงมาก   -เทศการรายอเด็กมีเงินเข้า7-11   -มือถือมีส่วนให้เด็กรู้จัก 7-11

ปัจจัยระดับครอยครัว/ชุมชน/ร.ร./ศพด.   -ครอบครัวใหม่ทำอาหารที่ไม่มีประโยชน์(มาม่า)เพราะฐานทางเศรษฐกิจไม่ดี   -น้าอา-ลูกพี่ลูกน้องตามใจ (ไม่มีความตระหนักเรื่องประโยชน์)   -พ่อแม่ไม่มีเงิน   -พี่ไม่อยากให้น้องร้องไห้(คนเลี้ยงโมโห)   -กลับไปเราจะแวะตลาดข้างทาง เพื่อซื้ออาหารให้ลูก

พฤติกรรมการจัดการอาหารของครู/แม่ครัว   -พ่อแม่ไม่มีเวลาทำกับข้าวในมื้อเช้าเพราะต้องรีบไปทำงาน   -พ่อแม่ตั่งเงินบนตู้เย็นให้พี่จัดการซื้อข้าวอาหารเช้าให้น้อง   -แม่ค้าใส่เครื่องปรุงรสให้เด็ก   -การเลี้ยงดูของพ่อแม่เพื่อความสะดวก   -ความตระหนักของพ่อแม่ที่ไม่เห็นค่าของโภชนา   -พ่อแม่ซื้อนมกระป๋อง (นมข้นหวาน) ผสมให้ลูกตั่งแต่ตั่งแต่เกิด(จนชินหวาน)   -พ่อแม่เอานมโรงเรียนมาปรุงใหม่(ผู้ปกครองรุ่นใหม่)พ่อแม่คิดยุ่งยาก(เน้นทำงาน)   -ความเชื่อพ่อแม่ว่ากินแล้วไม่มีปัญหา   -ครูอนุบาลไม่ได้ตระหนัก (ปล่อยให้กินนมในร.ร.บางโรงเรียนไม่เข้มงวดเรื่องขนม   -พ่อแม่พยายามบอก แต่ร.ร.ไม่ห้ามเด็ก/เพื่อนยังกินได้   -ยายทำอาหารที่ไม่มีประโยชน์   -ยายคิดว่าแค่กินก็พอแล้ว

อาหารที่รับประทาน   -เด็กชอบกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป (ชอบกินของที่ไม่มีประโยชน์)   -เด็กชอบซื้อของกินไม่มีประโยชน์เองจากตลาดข้างบ้าน   -ไม่ชอบดื่มนมร.ร.เพราะจืด   -เด็กไม่ยอมกินอาหารเช้า   -ชอบกินอาหารจุกจิก   -ไม่ชอบกินข้าว กินแต่ขนม/ไอศกรีม
สารอาหารและผลต่อสุขภาพโภชนาการ(เด็ก 0-5 ปี)       -คนสมัยก่อนไม่ขาดสารอาหาร(ผลไม้เยอะ)ทำเองปลูกเองไม่มีขาย = ลูกยุคใหม่ทำงานนอกพื้นที่(ส่งเงินให้พ่อแม่)


ใคร = เพื่อนเด็ก

ปัญหา -แลกเปลี่ยนอาหารที่ไม่ถูกต้อง -เพื่อนมีอะไรหลากหลาย -มีการสื่อสารอาหารที่ไม่ถูกโภชนาการ

ใคร = พ่อ-แม่ -ผู้ปกครอง ปัญหา -แม่ไม่ตระหนักถึงการเลี้ยงแบบถูกโภชนาการและมีด้านจำกัดเศรษฐกิจ -ซื้ออาหารที่ไม่มีประโยชน์ให้ลูก -เลี้ยงดูเด็กด้รับสารอาหารที่ไม่มีปประโยชน์ -แม่มีปัญหาไม่มีเวลาเลี้ยงดู เพราะตระหนักแต่เรื่องงาน -คนเลี้ยงดูเด็กไม่เห็นคุณค่าทางโภชนาการ

ใคร = ครู ปัญหา -ไม่ตระหนักเน้นสอนเรื่องการกินอาหารที่มีประโยชน์ -ครูไม่ตระหนักเมนูอาหารให้ถูกตามหลักโภชนาการ -ครูไม่คัดแม่ครัว แต่อาจใช้ระบบเส้นสาย

ใคร = ร้านค้า ปัญหา -ร้านค้า,7-11 ขายของไม่มีประโยชน์ให้เด็ก

ใคร = แม่ครัว ปัญหา -ประกอบอาหารในร.ร.ไม่ดูหลักโภชนาการ


-เราจะทำอย่างไรให้แม่ที่มีลูกหลายคน มีอาหารครบ 5 หมู่ แบบยั่งยืน

-เราจะทำอย่างไรการทำอาหารที่ดีให้ลูกปันความสุข -เราจะทำอย่างไรให้สามีสามารถมาเปลี่ยนโภชนาการภายในบ้าน -เราจะทำอย่างไรให้โภชนาการกลายเป็นสิ่งสวยงาน -เราจะทำอย่างไรกับโภชนาที่เราทำกลายเป็นเกม -เราจะทำอย่างไรให้โภชนาการที่ดีเข้าถึงง่าย -เราจะทำอย่างไรให้การสร้างตระหนักเปลี่ยนเป็นรายได้ -เราจะทำอย่างไรให้การเตรียมอาหารที่ดีกลายเป็นเรื่องสนุก -เราจะทำอย่างไรให้บังคับมาตรการเชิงให้แก่แม่ -เราจะทำอย่างไรให้โภชนาการเป็นสิ่งสำคัญ -เราจะทำอย่างไรให้โภชนาการดีขึ้นภายในครอบครัว -เราจะทำอย่างไรให้สามีตระหนักในเรื่องโภชนา

-เราจะทำอย่างไรให้โภชนาการได้มีการประกวดภายในหมู่บ้าน -เราจะทำอย่างไรให้ลูกได้กินของที่มีประโยชน์โดยไม่มีแม่


เราจะทำอย่างไร ให้โภชนาที่ดีเป็นข้อบังคับ

(ในบ้าน,ในร.ร.)

ไอเดียที่ทำให้เป็นกระแสออนไลน์ -ใช้ช่องFมาสร้างความตระหนัก -ใส่ความรู้ในโซเซียลมีเดีย ที่เค้าสนใจ

ไอเดียที่สนุกสนาน -กิจกรรมไปหาหอย

ไอเดียที่ชุมชนมีส่วนเกี่ยวข้อง -ใช่เสียงตามสายของ อบต.

ไอเดียสำหรับเด็ก -ขายอาหารโภชนาการถูก -ทำกับข้าวเป็นสีสันให้ดูน่ากิน -แลกผักในร.ร.(ก่อนเข้าแถว) -ร่วมปลูกผักกับทางร.ร.

ไอเดียที่ควรทำตั่งแต่ 10 ปีที่แล้ว -บังคับให้ปลูกผัก/กฎเกณฑ์ภายในหมู่บ้าน


ไอเดียที่ไม่ใช้งบประมาณ -เรียนอ่านศาสนา ก่อนละมาดให้แม่ฟัง/ทุกวันเสาร์ -ใช้โต๊ะครูมาสอนที่มัสยิดทุกวันศุกร์ -ทุกวันศุกร์ให้เอาเรื่องนั้นมาพูดใช้วันศุกร์เพิ่มเติม

ไอเดียที่ทำได้ตอนนี้ -ให้รางวัลแก่แม่ที่ทำดี

ไอเดียที่ทำเป็นปกติในการแก้ปัญหา -ให้เงินในการที่สามีไปอบรม -ส่งสามีไปอบรม(ปรับพฤติกรรม) -ให้เงินกับบ้านที่ทำสำเร็จ(รางวัล)

ตัดขั้นตอนอะไรออกจากวิธีนี้ได้ได้บ้าง -ให้ปลุกปักกินเอง -มีรางวัลสามีต้นแบบเรื่องโภชนาการ -ปลูกผักให้กลุ่มแม่บ้าน+ให้ขายผักบางสวนมีไว้กิน -มีพื้นที่ส่วนกลางในการปลูกผัก

ไอเดียที่ใช้AI -ใช้AI ดึง ad (เตือนความจำคุณแม่)











โครงการสามีคนขยันเพื่อโภชนาการที่ดีของลูกน้อย

วิธีการ:1.ใช้หลักศาสนาสอดแทรกความรู้ทางโภชนาการ 2.สร้างกิจกรรมภายในหมู่บ้าน,ตลาดนัดทางโภชนาการ (หอย,ปู,ปลา) 3.ให้รางวัลสามีดีเด่น จะทำให้เปลี่ยนพฤติกรรมภรรยา

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โต๊ะครู,ผู้นำชุมชน,สามี,ผู้นำหมู่บ้าน

สิ่งที่ไม่แน่ใจ/หาข้อมูลเพิ่ม -Demand 4 Supply วันที่ 2 เด็ก1ปีครึ่ง-5ปีถูกเลี้ยงดูด้วยมือถือและจออื่นๆ

ปัจจัยแวดล้อม -เริ่มแรกจากเรียน Online -เศรษฐกิจของพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยมือถือ -พ่อแม่ไม่มีกฎ -ไม่มีสนามเด็กเล่น -มีร้านขายมือถือใกล้บ้าน -พ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วย -มีWi-Fiประชารัฐในหมู่บ้าน

พฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง -แม่ไม่ให้ลูกงอแงเลยให้เล่นมือถือ -แม่ติดความรำคราญ ความขัดแย่ง -ระบบมือถือสะกดจิต -ครูเปิดเรียนออนไลน์ -ชวนน้อง ดู เล่น เกมในมือถือ -ศูนย์เด็กเล็ก/ครูเปิดทีวีให้ดูการ์ตูน -เห็นเพื่อนเล่นก็เลยเล่นด้วย -ตั่งกลุ่มเพื่อนเล่นเกม -ยายคิดว่าให้แล้วลูกจฉลาด -ยายตามใจเกินไปเพราะไม่อยากให้งอแง

ปัจจัยภายนอก -Wi-Fiถูก , ฟรี -มือถือถูก -มีร้านขายมือถือตามหมู่บ้าน -รสนิยม

เศรษฐกิจ -ต้องทำงานนอกบ้าน


สิ่งที่เกิดขึ้น -หงุดหงิดง่าย -อารมณ์โมโหร้าย -เด็กก้าวร้าว -สายตาสั้น -เด็กจะติดเดม -เด็กมีความเครียดโมโหง่าย เมื่อwi-fiหรือเน็ตติดกระทั้งโยนมือถือ -เด็กจะเป็นออทิสติกเทียม -เด็กจะไม่สนใจการเรียน -เด็กจะถูกตามใจจนติดเป็นนิสัย -ลูกจะรอไม่เป็น -เด็กจะสมาธิสั้น -ติดหน้าจอจนไม่ได้กินข้าว,อาหาร,อาบน้ำ ใคร = ยาย ปัญหา -เลือกสื่อให้เด็กไม่เป็น

ใคร = พ่อ-แม่-ผู้ปกครอง ปัญหา -ไม่มีเวลาให้ ไม่อยากให้กวนเวลาทำงานเลยให้ดูจอ -ไม่เห็นข้อเสียระยะยาว -ไม่ตระหนักถึงปัญหา เนื่องจากผลที่เกิดขึ้นในระยะยาว -ผู้ปกครองไม่ชี้แนะในการเลือกเล่นมือถือ -พ่อแม่ปล่อยให้ลูกเล่นมือถือ โดยมไม่ให้กำหนดกิจกรรม

ใคร = พี่สาว ปัญหา -พี่สาวขี้เกียจเลี้ยงเลยให้ดูจอพร้อมกันมือถือ ปัญหา -ไม่จำกัดContent ในการดู -ราคาถูกทำให้ทุกช่วงเข้าถึงทุกช่วงวัย -เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองแก้ไขได้เร็ว -เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองเลี้ยงลูกโดยไม่ต้องใช้จอ -เราจะทำอย่างไรให้เด็กติดจอลดลง -เราจะทำอย่างไรใหผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดูจอกับเด็ก -เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองเน้นโทษ/กลัวในการติดจอ -เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองตระหนักถึงผลเสียของการที่เด็กติดจอ -เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองมรกฎเกณฑ์ในการเล่นมือถือ -เราจะทำอย่างไรให้สนุกมากกว่าติดจอ -เราจะทำอย่างไรให้เด็กมีกิจกรรมอื่นนอกจากจอ ผู้ปกครองตระหนักถึงผลเสีของเด็กติดจอและมีพื้นที่ทางเลือกให้เด็ก

ไอเดียที่ใช้AI -ให้ใช้ AI Scan อายุในการเข้าถึง ไอเดียที่ทำให้เป็นกระแสออนไลน์ -ใส่ความรู้ในโซเชียลเรื่องผลกระทบต่อเด็กติดจอ

ไอเดียที่ไม่ใช้งบประมาณ -กำหนดเวลาเล่นชัดเจน -ผู้ปกครองเพิ่มกิจกรรม วาดรูป ปั้นดินน้ำมัน เล่นเกม -กิจกรมชวนปลูกผักสวนครัว

ไอเดียที่ทำได้เลยตอนนี้ -ส่งผู้ปกครองอบรมเกี่ยวกับผลเสียเด็กติดจอ

ไอเดียสำหรับผู้สูงอายุ -ให้เล่านิทานให้ฟังเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจจากจอ -ผู้ปกครองเพิ่มเวลาอ่านหนังสือให้ฟัง ไอเดียที่ชุมชนมีส่วนเกี่ยวข้อง -กิจกรรมประเพณีในหมู่บ้าน

ไอเดียที่สนุกสนาน -มีสนามเด็กเล่นเฉพาะในชุมชน -แหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ในชุมชน

ไอเดียควรใช้10ปีที่แล้ว -มีป้ายโฆษณาเกี่ยวกับผลเสียของเด็กติดจอการตามจุดแยงของหมู่บ้าน โครงการชวนบ้านไปเล่นนอกบ้าน

วิธีการ/กระบวนการ 1.ชี้แจงเรื่องความสำคัญและสาเหตุของเด็กติดจอ 2.สร้างกิจกรรมและสนามเด็กเล่นหมู่ละ1ที่/แห่ง 3.สร้างแหล่งการเรียนรู้ภายในตำบล เช่นการเลี้ยงสัตว์ ปลูกผัก โดยเน้นให้เด็กมีส่วนร่วม 4.สร้างแรงจูงใจโดยมีการประกวดครอบครัวดีเด่น(เด็กไม่ติดจอ)

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง -ผู้ปกครอง -เด็ก -ผู้นำชุมชน -อปท. -รพ.สต./อสม. สิ่งที่ไม่แน่ใจ -งบประมาณ(สนามเด็กเล่น) -พื้นที่ -รางวัล


ผลการสำรวจความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ในพื้นที่ ตำบลคลองใหม่ อำเภอยะรัง จ.ปัตตานี ตารางที่ 1 คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา (n =22) คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 1 4.5 หญิง 21 95.5 อายุ (ปี) (mean + SD) 42.2+13.7 ศาสนา อิสลาม 22 100 ระดับการศึกษา ประถมศึกษา 10 47.5 มัธยมศึกษา/ปวช. 10 47.6 อนุปริญญา/ปวสซ 1 4.8 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน น้อยกว่า 5000 บาท 12 54.5 5001 – 10000 บาท 6 27.3 10001 – 15000 บาท 2 9.1 15001-20000 บาท 1 4.5 มากกว่า 20000 บาท 1 4.5 ลักษณะสถานบริการอาหาร โรงอาหารในโรงเรียน 3 13.6 โรงอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 4.5 ร้านอาหารที่มีอาคาร สถานที่แน่นอน 5 22.7 แผงลอย/เพิงขายอาหาร (ประกอบอาหารที่แผง) 5 22.7 แผงลอย/เพิงขายอาหารปรุงสำเร็จ (ประกอบอาหารจากที่อื่น) 5 22.7 อื่น ๆ 3 13.6 บทบาทในการประกอบอาหาร ผู้จัดหาวัตถุดิบ/เครื่องปรุง 11 52.4 แม่ครัว/ผู้ประกอบอาหาร 17 81.0 ผู้กำหนดเมนู/รายการอาหาร 10 47.6 ประสบการณ์การทำงาน (ปี) (mean + SD) 7.8+6.7


การจัดหาวัตถุดิบและเครื่องปรุง ตารางที่ 2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร แหล่งที่มาของวัตถุดิบ จำนวน ร้อยละ ประเภทของวัตถุดิบที่ซื้อ ตลาด 12 54.5
ร้านค้าในชุมชน 18 81.8
รถเร่/รถพุ่มพวง 2 9.1 ผู้ผลิต (เกษตรกร) 2 9.1

พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหารของผู้ประกอบการอาหาร ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้ปรุงอาหารจำแนกตามความถี่ของการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยของอาหาร พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหาร ร้อยละของผู้ตอบ หมายเหตุ ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติบางครั้ง ประจำปฏิบัติ
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 1 ท่านเลือกซื้อวัตถุดิบอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ในการประกอบอาหาร สดใหม่ (ประกอบอาหารหมดภายใน 1-2 วัน) 5 15 80
2 ท่านซื้อวัตถุดิบประเภทผักสด ผลไม้ จากร้านที่ได้รับมาตรฐานอาหารปลอดภัย เช่น แหล่งการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (Q Organic) คุณภาพทางการเกษตร GAP ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น (PGS) 30 50 20
3 ท่านซื้อวัตถุดิบอาหารสดประเภทผัก ผลไม้ จากเกษตรกรโดยตรง 25 70 5
4 ท่านซื้ออาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก จากผู้ขายที่มั่นใจว่าไม่มีการใส่สารปนเปื้อนในอาหารทะเล 10.5 36.8 52.6
5 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในตู้เย็นตามอุณหภูมิที่เหมาะสมแต่ละประเภทของวัตถุดิบ 9.5 9.5 81.0
6 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในถังน้ำแข็ง/ ภาชนะอื่นๆ 10.0 10.0 80.0
7 ท่านดูวันหมดอายุที่ฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ 5.3 15.8 78.9
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์)
8 ท่านรักษาความสะอาด (ไม่มีคราบเศษอาหารหรือคราบสกปรก) สถานที่ในการปรุงอาหาร ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน 0 0 100 9 ท่านปรุงอาหารในสถานที่ที่มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอ เช่น มีปล่องระบายควัน หรือพัดลมระบายอากาศ 10.0 20.0 70.0
10 ท่านทำความสะอาดสถานที่ประกอบอาหารด้วยวิธีการ กวาด ถู เช็ด ทุกวันก่อนหรือหลังที่จะทำอาหาร 4.5 9.1 86.4
11 ท่านมีการจัดวัสดุอุปกรณ์ ของใช้ในครัวเป็นระเบียบ เรียบร้อย และจัดเป็นสัดส่วน 4.8 4.8 90.5
12 ท่านใช้น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดภาชนะและล้างด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง 4.5 0 95.5
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 13 ท่านเตรียมวัตถุดิบอาหารหรือวางภาชนะที่ใส่อาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. 13.6 18.2 68.2
14 ท่านมีการแยกวัตถุดิบระหว่างอาหารสด อาหารแห้งและอาหารปรุงสำเร็จเพื่อเตรียมปรุงอาหาร 4.5 13.6 81.8
15 ท่านทำความสะอาดผัก ผลไม้ ด้วยวิธีการ ปลอดภัย เช่น ล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร/การใช้เบคกิ้งโซดา 5.0 40.0 55.0
16 ท่านล้างวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้รวมกันในครั้งเดียว 68.4 15.8 15.8
17 ท่านใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร 44.4 16.7 38.9
18 ท่านใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร 40.0 40.0 20.0
19 ท่านดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าสะอาด สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ หมวก และผ้ากันเปื้อนที่สะอาด 9.5 42.9 47.6
20 ท่านมีการล้างมือด้วยสบู่/ เจลแอลกอฮอล์ ก่อนสัมผัสอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ในการเตรียม ปรุง จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร 0 40.9 59.1
21 ท่านมีการใช้ประโยชน์จากอาหารเหลือทิ้งด้วยการเป็นอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก 13.6 22.7 63.6
22 ท่านจัดการของเสียจากกระบวนการอาหารกลางวัน เช่นน้ำมันทอดซ้ำ น้ำล้างวัตถุดิบ เศษอาหาร ถูกหลักสุขาภิบาล 18.2 50.0 31.8
การขนส่ง 23 ท่านมีการจัดส่งอาหารไปสู่ผู้บริโภค โดยไม่มีฝาปิดให้มิดชิด 55.0 15.0 30.0
2.24 เมื่อท่านจัดทำอาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค มีการเก็บแยกเป็นสัดส่วน ปกปิดและไม่วางบนพื้น 4.5 4.5 90.9
25 ท่านให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย 72.7 22.7 4.5 26 ท่านดูแลรักษาความสะอาดของพื้นที่ บริการอาหาร/เสิร์ฟอาหาร ที่ส่งผลต่อการปนเปื้อนสู่อาหารได้ 9.5 9.5 81.0
27 ท่านนำภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุอาหาร เช่น ถังสี/ถังน้ำมัน 95.5 4.5 0
28 ท่านมีการปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล เช่น ตัดเล็บ ความสะอาดของเสื้อผ้า ไม่ไอหรือจามรดอาหาร 0 4.5 95.5

  ตารางที่ 4 ระดับคะแนนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาหารในด้านต่าง ๆ ของผู้ปรุงประกอบอาหาร ความปลอดภัยในอาหารด้านต่าง ๆ คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 21 16.9 2.7 การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์) 15 14.2 1.4 การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 30 24.2 3.8 การขนส่ง 18 16.3 1.4 รวมทั้งหมด 84 69.8 7.3

ผลการสำรวจความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ในพื้นที่ ตำบลคลองใหม่ อำเภอยะรัง จ.ปัตตานี ตารางที่ 1 คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา (n =22) คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 1 4.5 หญิง 21 95.5 อายุ (ปี) (mean + SD) 42.2+13.7 ศาสนา อิสลาม 22 100 ระดับการศึกษา ประถมศึกษา 10 47.5 มัธยมศึกษา/ปวช. 10 47.6 อนุปริญญา/ปวสซ 1 4.8 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน น้อยกว่า 5000 บาท 12 54.5 5001 – 10000 บาท 6 27.3 10001 – 15000 บาท 2 9.1 15001-20000 บาท 1 4.5 มากกว่า 20000 บาท 1 4.5 ลักษณะสถานบริการอาหาร โรงอาหารในโรงเรียน 3 13.6 โรงอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 4.5 ร้านอาหารที่มีอาคาร สถานที่แน่นอน 5 22.7 แผงลอย/เพิงขายอาหาร (ประกอบอาหารที่แผง) 5 22.7 แผงลอย/เพิงขายอาหารปรุงสำเร็จ (ประกอบอาหารจากที่อื่น) 5 22.7 อื่น ๆ 3 13.6 บทบาทในการประกอบอาหาร ผู้จัดหาวัตถุดิบ/เครื่องปรุง 11 52.4 แม่ครัว/ผู้ประกอบอาหาร 17 81.0 ผู้กำหนดเมนู/รายการอาหาร 10 47.6 ประสบการณ์การทำงาน (ปี) (mean + SD) 7.8+6.7


การจัดหาวัตถุดิบและเครื่องปรุง ตารางที่ 2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร แหล่งที่มาของวัตถุดิบ จำนวน ร้อยละ ประเภทของวัตถุดิบที่ซื้อ ตลาด 12 54.5
ร้านค้าในชุมชน 18 81.8
รถเร่/รถพุ่มพวง 2 9.1 ผู้ผลิต (เกษตรกร) 2 9.1

พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหารของผู้ประกอบการอาหาร ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้ปรุงอาหารจำแนกตามความถี่ของการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยของอาหาร พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหาร ร้อยละของผู้ตอบ หมายเหตุ ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติบางครั้ง ประจำปฏิบัติ
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 1 ท่านเลือกซื้อวัตถุดิบอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ในการประกอบอาหาร สดใหม่ (ประกอบอาหารหมดภายใน 1-2 วัน) 5 15 80
2 ท่านซื้อวัตถุดิบประเภทผักสด ผลไม้ จากร้านที่ได้รับมาตรฐานอาหารปลอดภัย เช่น แหล่งการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (Q Organic) คุณภาพทางการเกษตร GAP ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น (PGS) 30 50 20
3 ท่านซื้อวัตถุดิบอาหารสดประเภทผัก ผลไม้ จากเกษตรกรโดยตรง 25 70 5
4 ท่านซื้ออาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก จากผู้ขายที่มั่นใจว่าไม่มีการใส่สารปนเปื้อนในอาหารทะเล 10.5 36.8 52.6
5 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในตู้เย็นตามอุณหภูมิที่เหมาะสมแต่ละประเภทของวัตถุดิบ 9.5 9.5 81.0
6 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในถังน้ำแข็ง/ ภาชนะอื่นๆ 10.0 10.0 80.0
7 ท่านดูวันหมดอายุที่ฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ 5.3 15.8 78.9
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์)
8 ท่านรักษาความสะอาด (ไม่มีคราบเศษอาหารหรือคราบสกปรก) สถานที่ในการปรุงอาหาร ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน 0 0 100 9 ท่านปรุงอาหารในสถานที่ที่มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอ เช่น มีปล่องระบายควัน หรือพัดลมระบายอากาศ 10.0 20.0 70.0
10 ท่านทำความสะอาดสถานที่ประกอบอาหารด้วยวิธีการ กวาด ถู เช็ด ทุกวันก่อนหรือหลังที่จะทำอาหาร 4.5 9.1 86.4
11 ท่านมีการจัดวัสดุอุปกรณ์ ของใช้ในครัวเป็นระเบียบ เรียบร้อย และจัดเป็นสัดส่วน 4.8 4.8 90.5
12 ท่านใช้น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดภาชนะและล้างด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง 4.5 0 95.5
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 13 ท่านเตรียมวัตถุดิบอาหารหรือวางภาชนะที่ใส่อาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. 13.6 18.2 68.2
14 ท่านมีการแยกวัตถุดิบระหว่างอาหารสด อาหารแห้งและอาหารปรุงสำเร็จเพื่อเตรียมปรุงอาหาร 4.5 13.6 81.8
15 ท่านทำความสะอาดผัก ผลไม้ ด้วยวิธีการ ปลอดภัย เช่น ล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร/การใช้เบคกิ้งโซดา 5.0 40.0 55.0
16 ท่านล้างวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้รวมกันในครั้งเดียว 68.4 15.8 15.8
17 ท่านใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร 44.4 16.7 38.9
18 ท่านใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร 40.0 40.0 20.0
19 ท่านดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าสะอาด สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ หมวก และผ้ากันเปื้อนที่สะอาด 9.5 42.9 47.6
20 ท่านมีการล้างมือด้วยสบู่/ เจลแอลกอฮอล์ ก่อนสัมผัสอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ในการเตรียม ปรุง จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร 0 40.9 59.1
21 ท่านมีการใช้ประโยชน์จากอาหารเหลือทิ้งด้วยการเป็นอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก 13.6 22.7 63.6
22 ท่านจัดการของเสียจากกระบวนการอาหารกลางวัน เช่นน้ำมันทอดซ้ำ น้ำล้างวัตถุดิบ เศษอาหาร ถูกหลักสุขาภิบาล 18.2 50.0 31.8
การขนส่ง 23 ท่านมีการจัดส่งอาหารไปสู่ผู้บริโภค โดยไม่มีฝาปิดให้มิดชิด 55.0 15.0 30.0
2.24 เมื่อท่านจัดทำอาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค มีการเก็บแยกเป็นสัดส่วน ปกปิดและไม่วางบนพื้น 4.5 4.5 90.9
25 ท่านให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย 72.7 22.7 4.5 26 ท่านดูแลรักษาความสะอาดของพื้นที่ บริการอาหาร/เสิร์ฟอาหาร ที่ส่งผลต่อการปนเปื้อนสู่อาหารได้ 9.5 9.5 81.0
27 ท่านนำภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุอาหาร เช่น ถังสี/ถังน้ำมัน 95.5 4.5 0
28 ท่านมีการปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล เช่น ตัดเล็บ ความสะอาดของเสื้อผ้า ไม่ไอหรือจามรดอาหาร 0 4.5 95.5

  ตารางที่ 4 ระดับคะแนนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาหารในด้านต่าง ๆ ของผู้ปรุงประกอบอาหาร ความปลอดภัยในอาหารด้านต่าง ๆ คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 21 16.9 2.7 การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์) 15 14.2 1.4 การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 30 24.2 3.8 การขนส่ง 18 16.3 1.4 รวมทั้งหมด 84 69.8 7.3

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปกิจกรรมประชุมตำบลคลองใหม่ วันที่27พฤษภาคม 2567
สถานที่ รพ.สต.คลองใหม่ เนื่องจากทางตำบลคลองใหม่ได้เห็นความสำคัญของโภชนาการด้านอาหารของเด็กที่ยังไม่ครบ5หมู่และหาวิธีการให้เด็กกินผักให้มากขึ้นจึงคิดทำโครงการดังนี้ โดยการการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทน -รพ.สต.คลองใหม่ -อสม -ผู้ใหญ่บ้าน -ครู -ครูศพด. -อบต. มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน • ให้ความรู้เรื่องอาหารเพื่อสุขภาพและใส่ผักเป็นส่วนมากในทุกๆการปรุง • ประกวดถ่ายคลิปสั้นๆเกี่ยวกับโภชนาการลงโซเชียล • ชักชวนเพื่อนบ้านปลูกผักกินเองเพื่อสุขภาพ • อยากให้เกษตรตำบลแจกพันธุ์ผักและพันธุ์เป็ดไก่แก่คนในตำบล • จัดให้มีวิทยากรให้ความรู้ในการปรุงอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ • จัดตั้งชมรมให้ความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับด้านอาหารหลัก 5 หมู่ • จัดประกวดสำรับอาหารง่ายๆ • ให้ผู้นำชุมชนจัดประกวดปลูกผักสวนครัว • จัดทำภาวะโภชนาการนักเรียนแต่ละห้อง • คัดเลือกนักเรียนน้ำหนักน้อยเพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด • จัดทำเมนูอาหารเช้าในแต่ละวันเพื่อให้นักเรียนได้ทานอาหารเสริม • ตรวจภาวะโภชนาการนักเรียนทุกสิ้นเดือน • สรุปผลและประเมินผลโครงการเพื่อแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง • ตั้งเวลาให้สมาชิกในครอบครัวช่วงเย็นๆรดน้ำผักที่ปลูก • กิจกรรมสามีเตรียมพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัว • รณรงค์ให้มีการปลูกพืชผักสวนครัวเปรียบเสมือนมีตู้เย็นอยู่หน้าบ้าน • สอบถามสมาชิกในบ้านว่าชอบทานผักชนิดไหน • ให้ความรู้กับหัวหน้าครอบครัวที่จัดสรรอาหารเข้าบ้าน • จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการมีผักเป็นอาหารอย่างน้อย 1 ประเภทในแต่ละมื้อ การระดมความคิดชื่อโครงการ • โครงการแก้ปัญหาภาวะทุกโภชนาการนักเรียนอนุบาลถึงป 6 เพื่อแก้ปัญหานักเรียนน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ • โครงการอาหารสุขภาพพ่อแม่ทำกินร่วมกันในครัวเรือน • โครงการสามีคนขยันเพื่อโภชนาการของลูกน้อย • โครงการชวนเด็กปลูกผักสวนครัว • โครงการผักในรั้วย่อมดีกว่าในตู้เย็น • โครงการอบรมให้ความรู้โภชนาการในชุมชน • โครงการอบรมแม่ค้าขายผักปลอดสารพิษ • โครงการสุขภาพดีกินอาหารครบ 5 หมู่ • โครงการคลองใหม่ปลูกผักไร้สารพิษ • โครงการเชฟน้อยทำเองกินเองอร่อยดี • โครงการผักสดเพื่อน้องคลองใหม่ปลอดภัยจากภาวะทุพโภชนาการ • โครงการปลูกเองกินเองสุขภาพแข็งแรง • โครงการตลาดผักยามเช้าในโรงเรียน • โครงการปลูกทุกอย่างที่กินกินทุกอย่างที่ปลูก กลุ่มเป้าหมาย • ผู้ปกครอง • เด็ก 0 ถึง 5 ปี • แม่ค้า • แม่ครัว • คนในชุมชน

ความรู้สึก /ข้อแนะนำ จากการมาประชุมครั้งนี้ • ได้มีความรู้จากการสร้างความตระหนักถึงการแก้ปัญหาด้านโภชนาการที่เราได้รับกันอยู่ • ได้ความรู้และได้มองเห็นแนวทางที่จะปรับใช้ในชีวิตแต่ละวันให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม • พูดง่ายเสนอง่ายแต่ทำยากจะเริ่มอย่างไรการที่จะเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กและคนในชุมชน • เริ่มที่โรงเรียนดีที่สุดให้ความรู้ปฏิบัติแก่ครูและเด็ก • จัดอบรมผู้เกี่ยวข้องเพื่อให้ตระหนักถึงเรื่องโภชนาการอาหาร • ได้รู้การประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะ • ได้รู้ถึงการเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ปลอดภัย • ได้รับความรู้แลกเปลี่ยนจากที่บ้านถึงโรงเรียน • ได้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหารที่ปลอดภัยปลอดสารพิษ • ควรจัดอบรมแม่ครัวให้มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการอาหาร • ได้ทราบรายละเอียดปัญหาภายในตำบล • ได้รู้ถึงปัญหาภาวะโภชนาการของเด็กในชุมชนจากการสำรวจที่ผ่านมา • การจัดอบรมเรียนรู้ในสิ่งที่เรายังไม่รู้เพื่อมาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการปลูกผักไร้สารพิษ • ได้เรียนรู้ในสิ่งที่เรายังไม่รู้เกี่ยวกับโภชนาการเด็กๆในชุมชนให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น หมายเหตุ มี2ครัวเรือนที่มีปัญหาด้านการเลี้ยงดูบุตรและไม่มีอาชีพนี่ชัดเจนทำให้บุตรที่เกิดมาเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร ได้มีการพูดคุยหาวิธีการช่วยเหลือ ดังนี้ -ทางรพ.สต.หาวิธีให้ความรู้เรื่องการคุมกำเนิดที่ปลอดภัย -เข้าแนะนำการปลูกพืชผักให้พอกินและเหลือขายเพื่อสร้างรายได้ระยะยาว

  • photo 1716886896267.jpg1716886896267.jpg
  • photo IMG_20240527_105511.jpgIMG_20240527_105511.jpg
  • photo IMG_20240527_105438.jpgIMG_20240527_105438.jpg
  • photo IMG_20240527_092835.jpgIMG_20240527_092835.jpg
  • photo IMG_20240527_092051.jpgIMG_20240527_092051.jpg
  • photo IMG_20240527_092014.jpgIMG_20240527_092014.jpg
  • photo IMG_20240527_091838.jpgIMG_20240527_091838.jpg

 

0 0

9. การประชุมพัฒนาโครงการฉบับบย่อประเด็นอาหารและโภชนาการ รพ.สต.สะดาวา

วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผลการสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของครัวเรือน
ในพื้นที่ ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จ.ปัตตานี ตารางที่ 1 คุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (n = 297) คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 42 14.1 หญิง 251 84.5 ไม่ระบุเพศ
อายุ (ปี) (mean+SD) 40.3+11.5 ระดับการศึกษา
ไม่ได้ศึกษา 9 3.1 ประถมศึกษา 116 40.6 มัธยมศึกษา/ปวช. 116 40.6 อนุปริญญา/ปวส. 14 4.9 ปริญญาตรี 30 10.5 สูงกว่าปริญญาตรี 1 0.3 รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน (บาท) น้อยกว่า 5000 77 26.1 5001 – 10000 134 45.4 10001 – 15000 45 15.3 15001 – 20000 14 4.7 20001 – 25000 10 3.4 25001 – 30000 8 2.7 มากกว่า 30000 7 2.4 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (คน)  (mean+SD) 6.2+2.1 อาชีพ
รับจ้าง 158 53.4 รับราชการ 5 1.7 เกษตรกรรม 17 5.7 ธุรกิจส่วนตัว 18 6.1 อื่น ๆ 48 16.2 ประกอบอาชีพ มากกว่า 1 อาชีพ 50 16.9 วิธีการได้มาซึ่งอาหารของครัวเรือน ตารางที่ 2 รูปแบบการได้มาซึ่งอาหารในครัวเรือน (n = 297) รูปแบบการได้มาซึ่งอาหาร จำนวนครัวเรือน (ร้อยละ) หมายเหตุ ผลิตอาหารเอง 136 (45.8) เหตุผลที่ไม่ได้ผลิตอาหารเอง 1.ไม่มีปัจจัยการผลิต ร้อยละ 85.6 2.ไม่มีองค์ความรู้ ร้อยละ 26.3 3.ดิน น้ำไม่เหมาะกับการผลิต  ร้อยละ 7.9 รูปแบบการเกษตร 1. แบบอินทรีย์  ร้อยละ 16.1 2.แบบปลอดภัย ร้อยละ 50.8 3.แบบอื่น ๆ  ร้อยละ 25.8 - การเพาะปลูก 39 (93.3)
- ปศุสัตว์ 65 (49.2)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 2 (1.5) - เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม 0 (0.0) ความพอเพียงของอาหารที่ผลิตในครัวเรือน
- ไม่พอ 32 (23.7)
- พอเพียง 103 (76.3)
หาจากธรรมชาติ 60 (21.5) หาจากแหล่ง


  สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตารางที่ 3 ร้อยละของครัวเรือนจำแนกตามระดับความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นใน 1 เดือนที่ผ่านมา เหตุการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร ไม่เคยเกิดขึ้น น้อยครั้ง (1-2 ครั้ง) บางครั้ง (3-10 ครั้ง) บ่อยมาก (>10ครั้ง) เฉลี่ยคะแนน (mean+SD) 1 ท่านกังวล ว่าจะไม่มีเงินซื้ออาหารกินอย่างเพียงพอ 40.1 32.9 21.9 5.1 1.9+0.9 2 ท่านไม่สามารถหาอาหารที่ครบ 5 หมู่ (ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน/ไขมัน) เพียงพอสำหรับการบริโภคเพราะมีเงินหรือทรัพยากรไม่พอ 41.4 33.9 23.1 1.7 1.9+0.8 3 ท่านกินอาหารเพียงไม่กี่ชนิด (มีกิน แต่กินซ้ำๆ เดิม ๆ ไม่มีคุณภาพ) เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 40.4 34.0 21.9 3.7 1.9+0.9 4 ท่านต้องอดอาหารบางมื้อหรือกินบางมื้อน้อยลง เพราะเงินไม่พอหรือขาดทรัพยากรอื่นๆ ที่จะได้รับอาหาร (อดมื้อกินมื้อเพราะเงินไม่พอ) ไม่นับการถือศีลอด 79.3 14.9 5.4 0.3 1.3+0.6 5 ท่านรู้สึกหิวแต่ไม่ได้กิน เพราะเงินไม่พอ หรือขาดทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับอาหาร 77.0 17.2 5.1 0.7 1.3+0.6 6 เคยมีช่วงเวลาที่ท่าน ไม่ได้กินอาหารเลยทั้งวันเพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 90.9 7.1 2.0 0.0 1.1+0.4 7 ท่านได้รับการบริจาค การช่วยเหลือด้านอาหารจากหน่วยงาน เพื่อนบ้าน หรือองค์กร 43.8 38.7 14.8 2.7 1.8+0.8 8 ครัวเรือนของท่าน ขาดแคลนอาหารหรือไม่มีอาหารที่จะกินเลย เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่น ๆ 83.5 12.5 3.4 0.7 1.2+0.5 9 ครัวเรือนของท่านมีอาหารกินไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในครอบครัวครบ ทั้ง 3 มื้อ 72.3 22.3 4.7 0.7 1.3+0.6 10 อาหารที่มีในครัวเรือน ของท่านเป็นอาหารที่มีครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน) 8.8 29.1 39.5 22.6 2.2+0.9   ตารางที่ 4 การเตรียมความพร้อมของครัวเรือนเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติที่ผ่านมา (n= 256) การเตรียมพร้อม จำนวน (ครัวเรือน) ร้อยละ ไม่มีการเตรียมการ 102 39.8 มีการเตรียมการ 154 60.2

ความรอบรู้ทางอาหารของครัวเรือน ตารางที่ 5 จำนวน และ ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรอบรู้ในแต่ละประเด็น
ประเด็นความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ จำนวน ร้อยละ ด้านการวางแผนและจัดการ
1 ท่านจะเอาเงินไว้สำหรับซื้ออาหารให้เพียงพอก่อนการใช้จ่ายซื้อสิ่งอื่น เช่น เครื่องประดับ เสื้อผ้า ของเล่นให้ลูก 277 93.9 2 ท่านจะคิดรายการอาหารที่จะกินไว้ล่วงหน้าเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจะหาอาหารได้เพียงพอตามต้องการ แม้ในสภาวะที่สถานการณ์อาหารเปลี่ยนไป 251 85.1 3 ท่านตัดสินใจเลือกอาหารโดยดูจากความคุ้มค่า (มีประโยชน์ต่อร่างกาย) คุ้มราคา (เหมาะกับเงินที่มี) หรือ สะดวกในการจัดเตรียมหรือปรุง 272 92.5 ด้านการเลือกอาหาร
4 ท่านหาอาหารได้จากแหล่งต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ซื้อจากตลาด เพื่อนบ้าน ปลูก/หาได้เอง 276 94.2 5 ท่านจะอ่านฉลากเพื่อดูว่าอาหารประกอบด้วยอะไร เก็บรักษาแบบไหน และจะกินอย่างไร 195 66.6 6 ท่านจะสอบถามข้อมูลจากผู้ขายถึงแหล่งที่มา วิธีการกิน การเก็บรักษาเพื่อให้จัดการให้เหมาะสม 149 51.0 7 ท่านบอกได้ว่า อาหารชนิดใดดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพ เมื่อทราบแหล่งที่มา หรือแหล่งผลิตอาหาร หรือองค์ประกอบ หรือจากการอ่านฉลากอาหาร 191 64.7 ด้านการเตรียมอาหาร
8 ท่านทำอาหารทานได้ไม่ว่าวัตถุดิบที่มีจะเป็นอะไร ด้วยอุปกรณ์เครื่องครัวเท่าที่มี 277 94.2 9 ท่านล้างมือทุกครั้งก่อนเตรียมอาหาร 293 99.7 10 ท่านล้างผักและเนื้อสัตว์โดยใช้น้ำไหลผ่านอย่างทั่วถึง
11 ท่านเก็บอาหารที่ทานไม่หมดไว้ในที่มิดชิด เช่น ตู้กับข้าว ครอบฝาชี หรือใส่ภาชนะที่มีฝาปิด 292 99.7 12 เมื่อกินอาหารกระป๋อง ท่านจะอุ่นทั้งกระป๋อง 286 97.3 ด้านการรับประทานอาหาร
13 ท่านรู้ว่าเด็กที่เตี้ยเป็นผลจากการกินอาหารไม่ครบถ้วน หรือกินอาหารไม่พอ 135 45.9 14 ท่านจะกินอาหารที่มีรสหวาน หรือมัน หรือเค็ม เป็นประจำ 153 52.4 15 ท่านคุมปริมาณอาหารเพื่อรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนหรือผอมจนเกินไป 101 34.4 16 ท่านใส่ใจกับการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน 162 55.3

ตารางที่ 6 คะแนนระดับความรอบรู้ทางอาหารในแต่ละด้าน ของครัวเรือน (n = 277) องค์ประกอบความรอบรู้ด้านอาหาร คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวางแผนและจัดการ 3 2.7 0.6 การเลือกอาหาร 4 2.8 1.2 การเตรียมอาหาร 5 4.6 0.6 การรับประทานอาหาร 4 1.9 1.2 คะแนนรวม 16 12.0 2.3 ผลการสำรวจความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ในพื้นที่ ตำบลสะดาวา อำเภอยะรัง จ.ปัตตานี ตารางที่ 1 คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา (n =24) คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 6 25 หญิง 18 75 อายุ (ปี) (mean + SD) 47.5+9.7 ศาสนา อิสลาม 23 95.8 อื่นๆ 1 4.2 ระดับการศึกษา ประถมศึกษา 12 50.0 มัธยมศึกษา/ปวช. 9 37.5 อนุปริญญา/ปวสซ 1 4.2 ปริญญาตรี 2 8.3 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน น้อยกว่า 5000 บาท 6 25.0 5001 – 10000 บาท 11 45.8 10001 – 15000 บาท 7 29.2 ลักษณะสถานบริการอาหาร โรงอาหารในโรงเรียน 5 20.8 โรงอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 4.2 ร้านอาหารที่มีอาคาร สถานที่แน่นอน 9 37.5 แผงลอย/เพิงขายอาหาร (ประกอบอาหารที่แผง) 4 16.7 แผงลอย/เพิงขายอาหารปรุงสำเร็จ (ประกอบอาหารจากที่อื่น) 4 16.7 อื่น ๆ 1 4.2 บทบาทในการประกอบอาหาร ผู้จัดหาวัตถุดิบ/เครื่องปรุง 16 66.7 แม่ครัว/ผู้ประกอบอาหาร 23 95.8 ผู้กำหนดเมนู/รายการอาหาร 3 12.5 ประสบการณ์การทำงาน (ปี) (mean + SD) 11.5+6.5

การจัดหาวัตถุดิบและเครื่องปรุง ตารางที่ 2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร แหล่งที่มาของวัตถุดิบ จำนวน ร้อยละ ประเภทของวัตถุดิบที่ซื้อ ตลาด 19 79.2
ร้านค้าในชุมชน 9 37.5
รถเร่/รถพุ่มพวง 1 4.2 ผู้ผลิต (เกษตรกร) 2 8.3

พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหารของผู้ประกอบการอาหาร ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้ปรุงอาหารจำแนกตามความถี่ของการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยของอาหาร พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหาร ร้อยละของผู้ตอบ หมายเหตุ ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติบางครั้ง ประจำปฏิบัติ
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 1 ท่านเลือกซื้อวัตถุดิบอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ในการประกอบอาหาร สดใหม่ (ประกอบอาหารหมดภายใน 1-2 วัน) 0 12.5 87.5
2 ท่านซื้อวัตถุดิบประเภทผักสด ผลไม้ จากร้านที่ได้รับมาตรฐานอาหารปลอดภัย เช่น แหล่งการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (Q Organic) คุณภาพทางการเกษตร GAP ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น (PGS) 0 79.2 20.8
3 ท่านซื้อวัตถุดิบอาหารสดประเภทผัก ผลไม้ จากเกษตรกรโดยตรง 0 87.5 12.5
4 ท่านซื้ออาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก จากผู้ขายที่มั่นใจว่าไม่มีการใส่สารปนเปื้อนในอาหารทะเล 4.2 58.3 37.5
5 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในตู้เย็นตามอุณหภูมิที่เหมาะสมแต่ละประเภทของวัตถุดิบ 0 4.2 95.8
6 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในถังน้ำแข็ง/ ภาชนะอื่นๆ 4.2 4.2 91.7
7 ท่านดูวันหมดอายุที่ฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ 0 4.3 95.7
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์)
8 ท่านรักษาความสะอาด (ไม่มีคราบเศษอาหารหรือคราบสกปรก) สถานที่ในการปรุงอาหาร ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน 0 4.2 95.8
9 ท่านปรุงอาหารในสถานที่ที่มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอ เช่น มีปล่องระบายควัน หรือพัดลมระบายอากาศ 0 4.2 95.8
10 ท่านทำความสะอาดสถานที่ประกอบอาหารด้วยวิธีการ กวาด ถู เช็ด ทุกวันก่อนหรือหลังที่จะทำอาหาร 0 4.2 95.8
11 ท่านมีการจัดวัสดุอุปกรณ์ ของใช้ในครัวเป็นระเบียบ เรียบร้อย และจัดเป็นสัดส่วน 0 25 75
12 ท่านใช้น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดภาชนะและล้างด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง 0 0 100 การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 13 ท่านเตรียมวัตถุดิบอาหารหรือวางภาชนะที่ใส่อาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. 0 25 75
14 ท่านมีการแยกวัตถุดิบระหว่างอาหารสด อาหารแห้งและอาหารปรุงสำเร็จเพื่อเตรียมปรุงอาหาร 0 25 75
15 ท่านทำความสะอาดผัก ผลไม้ ด้วยวิธีการ ปลอดภัย เช่น ล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร/การใช้เบคกิ้งโซดา 0 33.3 66.7
16 ท่านล้างวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้รวมกันในครั้งเดียว 39.1 47.8 13.0
17 ท่านใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร 58.3 33.3 8.3 18 ท่านใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร 62.5 25.0 12.5
19 ท่านดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าสะอาด สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ หมวก และผ้ากันเปื้อนที่สะอาด 0 25 75
20 ท่านมีการล้างมือด้วยสบู่/ เจลแอลกอฮอล์ ก่อนสัมผัสอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ในการเตรียม ปรุง จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร 0 8.3 91.7
21 ท่านมีการใช้ประโยชน์จากอาหารเหลือทิ้งด้วยการเป็นอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก 0 50 50
22 ท่านจัดการของเสียจากกระบวนการอาหารกลางวัน เช่นน้ำมันทอดซ้ำ น้ำล้างวัตถุดิบ เศษอาหาร ถูกหลักสุขาภิบาล 0 54.2 45.8
การขนส่ง 23 ท่านมีการจัดส่งอาหารไปสู่ผู้บริโภค โดยไม่มีฝาปิดให้มิดชิด 54.2 33.3 12.5
2.24 เมื่อท่านจัดทำอาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค มีการเก็บแยกเป็นสัดส่วน ปกปิดและไม่วางบนพื้น 0 4.2 95.8
25 ท่านให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย 83.3 8.3 8.3 26 ท่านดูแลรักษาความสะอาดของพื้นที่ บริการอาหาร/เสิร์ฟอาหาร ที่ส่งผลต่อการปนเปื้อนสู่อาหารได้ 0 41.7 58.3
27 ท่านนำภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุอาหาร เช่น ถังสี/ถังน้ำมัน 83.3 0 16.7
28 ท่านมีการปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล เช่น ตัดเล็บ ความสะอาดของเสื้อผ้า ไม่ไอหรือจามรดอาหาร 4.2 4.2 91.7
  ตารางที่ 4 ระดับคะแนนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาหารในด้านต่าง ๆ ของผู้ปรุงประกอบอาหาร ความปลอดภัยในอาหารด้านต่าง ๆ คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 21 18.3 1.4 การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์) 15 14.6 0.7 การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 30 26.0 2.8 การขนส่ง 18 16.3 1.5 รวมทั้งหมด 84 75.1 4.5

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปกิจกรรมประชุมตำบลสะดาวา วันที่27พฤษภาคม 2567
สถานที่ รพ.สต.สะดาวา เนื่องจากในพื้นที่สะดาวายังมีปัญหาด้านโภชนาการของเด็กที่ไม่ครบ 5 หมู่รวมถึงเด็กที่ไม่กินผักและวิธีการจัดการด้านอาหารของในโรงเรียนจึงได้มีการจัดทำโครงการเกี่ยวกับโภชนาการของเด็กเกิดขึ้น ผู้เข้าร่วมประชุม รพ.สต.สะดาวา -ครู -อสม. -ครูศพด. -ทหาร -ผู้ใหญ่บ้าน -กำนัน -ปลัดอบต. -ผู้ปกครองเด็ก มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน • จัดการประกวดเมนูอาหารที่ครบ 5 หมู่ประจำหมู่บ้าน • ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการคิดค้นเมนูอาหารที่เขาชื่นชอบและอยากกินโดยให้นักเรียนได้มาลงมือทำเองด้วยเมนูง่ายๆเช่นไข่เจียวทรงเครื่อง • จัดกิจกรรมทำอาหารกินเอง • ให้ความรู้แก่เด็กให้รู้จักห่างไกลอาหารที่ก่อโรคร้าย • ให้เด็กร่วมกันทำกิจกรรมกับคุณครูเช่นจัดกิจกรรมทำกับข้าวง่ายๆโดยเพิ่มผักและสารอาหารที่ครบ 5 หมู่เด็กๆจะได้เรียนรู้ไปในตัว • จัดประกวดกิจกรรมหนูน้อยสุขภาพดี • ให้ความรู้กับพ่อแม่ผู้ปกครองเรื่องโภชนาการด้านอาหาร • ประกวดคลิปวีดีโอเมนูสุขภาพ • ส่งเสริมกิจกรรมปลูกผักทั้งที่บ้านและโรงเรียน • อบรมและดูวีดีทัศน์เกี่ยวกับอาหารที่ถูกหลักอนามัย • ส่งเสริมให้มีการปลูกผักสวนครัวโดยให้เด็กครูและผู้ปกครองชุมชนมีส่วนร่วม • รังสรรค์เมนูจากผักที่ปลูก • ประกวดเมนูอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ • คัดเลือกโรงเรียนและศพดให้เป็นต้นแบบของตำบล • จัดให้เด็กและครูร่วมกันทำอาหารเช่นผักชุบไข่ • จัดอบรมให้ความรู้ด้านโภชนาการแก่ผู้ปกครอง • จัดกิจกรรมเมนูจากผู้สูงอายุในท้องถิ่น การระดมความคิดชื่อโครงการ • โครงการปลูกทุกอย่างที่กินกินทุกอย่างที่ปลูก • โครงการส่งเสริมการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ • โครงการพัฒนาอาหารปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ • โครงการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่สะอาดปลอดภัยออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ • โครงการอาหารเช้าเพื่อสุขภาพ • โครงการเด็กไทยสุขภาพแข็งแรง • โครงการส่งเสริมสุขภาพเพื่อเด็กและชุมชน • โครงการอาหารดีมีประโยชน์ • โครงการอาหารถูกหลักอนามัยสุขภาพแข็งแรงตลอดกาล • โครงการอาหารดีถูกหลักอนามัยสบายใจสบายกาย • โครงการนมเปรี้ยวนมหวานอยากให้เด็กทานจริงๆ • โครงการอาหารดีตามโภชนาการ • โครงการอาหารดีมีสุข • โครงการส่งเสริมสุขภาพชุมชนเด็กไทยมีสุขสุขภาพแข็งแรง • โครงการอาหารดีที่เด็กชอบ • โครงการเมนูดีเพื่อสุขภาพของหนูๆ • โครงการโรงเรียน/ศพดต้นแบบอาหารดีมีประโยชน์ • โครงการอาหารดีมีประโยชน์ • โครงการผักหมุนเวียนเพื่อสุขภาพ • โครงการมื้ออาหารที่มีสีสัน กลุ่มเป้าหมาย • ผู้ปกครอง • เด็ก 0 ถึง 5 ปี • ครู • คนในชุมชน • ผู้สูงอายุในชุมชน

ความรู้สึก /ข้อแนะนำ จากการมาประชุมครั้งนี้ • ได้ดูวีดีทัศน์ของประเทศญี่ปุ่นและอบต. ควรรูสามารถนำไปปรับใช้ได้ดังนี้ 1. มีการจัดระบบการจัดการด้านอาหารที่มีความพร้อมนักเรียนมีความพร้อมโรงเรียนจัดการได้อย่างมีระบบ 2. สามารถนำไปปรับใช้ในโรงเรียนและศพดได้แต่ยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่นการจัดทำแปลงเกษตรหรือการเลี้ยงไข่ไก่ไม่มีพื้นที่เพียงพอและต้องใช้เวลางบประมาณและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง • ได้ประโยชน์และรับรู้ถึงโภชนาการของเด็กเพิ่มขึ้น • ได้ความรู้เกี่ยวกับอาหารหลัก 5 หมู่ • ได้รู้วิธีการเด็กๆในเมืองอยากให้ใช้ต้นแบบญี่ปุ่นมาพัฒนาใช้ในโรงเรียน • ได้ความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการสามารถนำไปปรับใช้ที่โรงเรียน • ได้ความรู้มากเกี่ยวกับอาหารที่ถูกหลักอนามัยทางโรงเรียนจะนำไปพัฒนาในเรื่องอาหารและโภชนาการของนักเรียนและจะให้ความรู้กับเด็กและแม่ครัว • ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพของเด็กๆ • อยากให้โครงการดีๆต่อยอดไปถึงโรงเรียน • ได้ความรู้หลักการดูแลโภชนาการอาหาร • ได้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการอาหารที่ดี • จะนำความรู้ไปเป็นต้นแบบในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก • ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโภชนาการที่หลากหลายที่จะนำมาบูรณาการทำให้เด็กได้สารอาหารที่ครบถ้วนตามบริบทของชุมชน • ได้รับความรู้ถึงปัญหาที่มีอยู่ในชุมชนและได้แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นระหว่างผู้เข้าร่วมอบรมรวมถึงสามารถคิดโครงการต่อยอดและสมบูรณ์แบบมากขึ้น

  • photo IMG_20240527_130116.jpgIMG_20240527_130116.jpg
  • photo IMG_20240527_132653.jpgIMG_20240527_132653.jpg
  • photo IMG_20240527_141444.jpgIMG_20240527_141444.jpg
  • photo IMG_20240527_142059.jpgIMG_20240527_142059.jpg
  • photo IMG_20240527_143552.jpgIMG_20240527_143552.jpg
  • photo IMG_20240527_144525.jpgIMG_20240527_144525.jpg
  • photo IMG_20240527_150332.jpgIMG_20240527_150332.jpg
  • photo IMG_20240527_150829.jpgIMG_20240527_150829.jpg
  • photo 1716886916455.jpg1716886916455.jpg

 

0 0

10. การประชุมพัฒนาโครงการฉบับบย่อประเด็นอาหารและโภชนาการ ต.นาเกตุ

วันที่ 30 พฤษภาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผลการสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของครัวเรือน
ในพื้นที่ ตำบล นาเกตุ อำเภอ โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ตารางที่ 1 คุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (n= 282) คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ เพศ
ชาย 58 20.6 หญิง 224 79.4 อายุ (ปี) (mean+SD) 49.6 + 15.2 ระดับการศึกษา
ไม่ได้ศึกษา 32 11.5 ประถมศึกษา 119 42.8 มัธยมศึกษา/ปวช. 83 29.9 อนุปริญญา/ปวส. 19 6.8 ปริญญาตรี 23 8.3 สูงกว่าปริญญาตรี 2 0.7 รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน (บาท) น้อยกว่า 5000 138 49.1 5001 – 10000 86 30.6 10001 – 15000 16 5.7 15001 – 20000 22 7.8 20001 – 25000 9 3.2 25001 – 30000 6 2.1 มากกว่า 30000 4 1.4 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (คน)  (mean+SD) 4.6 + 2.0 อาชีพ
รับจ้าง 128 45.7 รับราชการ 5 1.8 เกษตรกรรม 42 15.0 ประมง 0 0.0 ธุรกิจส่วนตัว 22 7.9 อื่น ๆ 54 19.3 ประกอบอาชีพ มากกว่า 1 อาชีพ 29 10.4 วิธีการได้มาซึ่งอาหารของครัวเรือน ตารางที่ 2 รูปแบบการได้มาซึ่งอาหารในครัวเรือน (n = 272) รูปแบบการได้มาซึ่งอาหาร จำนวนครัวเรือน (ร้อยละ) หมายเหตุ ผลิตอาหารเอง 103 (37.9) เหตุผลที่ไม่ได้ผลิตอาหารเอง 1.ไม่มีปัจจัยการผลิต ร้อยละ 79.6 2.ไม่มีองค์ความรู้ ร้อยละ 28.3 3.ดิน น้ำไม่เหมาะกับการผลิต  ร้อยละ 3.9 รูปแบบการเกษตร 1. แบบอินทรีย์  ร้อยละ 46.8 2.แบบปลอดภัย ร้อยละ 9.1 3.แบบอื่น ๆ  ร้อยละ 44.2 - การเพาะปลูก 50 (97.5)
- ปศุสัตว์ 24 (22.9)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 1 (1.0) - เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม 0 (0.0) ความพอเพียงของอาหารที่ผลิตในครัวเรือน
- ไม่พอ 24 (18.9)
- พอเพียง 103 (81.1)
หาจากธรรมชาติ 78 (37.3) หาจากแหล่ง ….


  สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตารางที่ 3 ร้อยละของครัวเรือนจำแนกตามระดับความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นใน 1 เดือนที่ผ่านมา
เหตุการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร ไม่เคยเกิดขึ้น น้อยครั้ง (1-2 ครั้ง) บางครั้ง (3-10 ครั้ง) บ่อยมาก (>10ครั้ง) เฉลี่ยคะแนน (mean+SD) 1 ท่านกังวล ว่าจะไม่มีเงินซื้ออาหารกินอย่างเพียงพอ 39.4 40.1 17.9 2.6 1.8+0.8 2 ท่านไม่สามารถหาอาหารที่ครบ 5 หมู่ (ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน/ไขมัน) เพียงพอสำหรับการบริโภคเพราะมีเงินหรือทรัพยากรไม่พอ 53.5 29.1 14.5 2.9 1.7+0.8 3 ท่านกินอาหารเพียงไม่กี่ชนิด (มีกิน แต่กินซ้ำๆ เดิม ๆ ไม่มีคุณภาพ) เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 55.4 27.5 14.9 2.2 1.6+0.8 4 ท่านต้องอดอาหารบางมื้อหรือกินบางมื้อน้อยลง เพราะเงินไม่พอหรือขาดทรัพยากรอื่นๆ ที่จะได้รับอาหาร (อดมื้อกินมื้อเพราะเงินไม่พอ) ไม่นับการถือศีลอด 77.1 15.3 6.2 1.5 1.3+0.7 5 ท่านรู้สึกหิวแต่ไม่ได้กิน เพราะเงินไม่พอ หรือขาดทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับอาหาร 71.7 18.5 8.0 1.8 1.4+0.7 6 เคยมีช่วงเวลาที่ท่าน ไม่ได้กินอาหารเลยทั้งวันเพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 83.7 9.8 6.2 0.4 1.2+0.6 7 ท่านได้รับการบริจาค การช่วยเหลือด้านอาหารจากหน่วยงาน เพื่อนบ้าน หรือองค์กร 62.2 23.3 14.2 0.4 1.5+0.7 8 ครัวเรือนของท่าน ขาดแคลนอาหารหรือไม่มีอาหารที่จะกินเลย เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่น ๆ 78.2 14.5 5.5 1.8 1.3+0.7 9 ครัวเรือนของท่านมีอาหารกินไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในครอบครัวครบ ทั้ง 3 มื้อ 74.5 18.2 5.8 1.5 1.3+0.7 10 อาหารที่มีในครัวเรือน ของท่านเป็นอาหารที่มีครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน) 37.3 32.2 15.6 14.9 2.9+1.1   ตารางที่ 4 การเตรียมความพร้อมของครัวเรือนเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติที่ผ่านมา (n= 255) การเตรียมพร้อม จำนวน (ครัวเรือน) ร้อยละ ไม่มีการเตรียมการ 103 40.4 มีการเตรียมการ 152 59.6

ความรอบรู้ทางอาหารของครัวเรือน ตารางที่ 5 จำนวน และ ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรอบรู้ในแต่ละประเด็น
ประเด็นความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ จำนวน ร้อยละ ด้านการวางแผนและจัดการ
1 ท่านจะเอาเงินไว้สำหรับซื้ออาหารให้เพียงพอก่อนการใช้จ่ายซื้อสิ่งอื่น เช่น เครื่องประดับ เสื้อผ้า ของเล่นให้ลูก 234 85.1 2 ท่านจะคิดรายการอาหารที่จะกินไว้ล่วงหน้าเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจะหาอาหารได้เพียงพอตามต้องการ แม้ในสภาวะที่สถานการณ์อาหารเปลี่ยนไป 231 84.0 3 ท่านตัดสินใจเลือกอาหารโดยดูจากความคุ้มค่า (มีประโยชน์ต่อร่างกาย) คุ้มราคา (เหมาะกับเงินที่มี) หรือ สะดวกในการจัดเตรียมหรือปรุง 260 94.5 ด้านการเลือกอาหาร
4 ท่านหาอาหารได้จากแหล่งต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ซื้อจากตลาด เพื่อนบ้าน ปลูก/หาได้เอง 270 98.2 5 ท่านจะอ่านฉลากเพื่อดูว่าอาหารประกอบด้วยอะไร เก็บรักษาแบบไหน และจะกินอย่างไร 244 89.1 6 ท่านจะสอบถามข้อมูลจากผู้ขายถึงแหล่งที่มา วิธีการกิน การเก็บรักษาเพื่อให้จัดการให้เหมาะสม 184 67.4 7 ท่านบอกได้ว่า อาหารชนิดใดดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพ เมื่อทราบแหล่งที่มา หรือแหล่งผลิตอาหาร หรือองค์ประกอบ หรือจากการอ่านฉลากอาหาร 217 79.2 ด้านการเตรียมอาหาร
8 ท่านทำอาหารทานได้ไม่ว่าวัตถุดิบที่มีจะเป็นอะไร ด้วยอุปกรณ์เครื่องครัวเท่าที่มี 264 96.4 9 ท่านล้างมือทุกครั้งก่อนเตรียมอาหาร 267 97.4 10 ท่านล้างผักและเนื้อสัตว์โดยใช้น้ำไหลผ่านอย่างทั่วถึง 270 98.2 11 ท่านเก็บอาหารที่ทานไม่หมดไว้ในที่มิดชิด เช่น ตู้กับข้าว ครอบฝาชี หรือใส่ภาชนะที่มีฝาปิด 247 89.8 12 เมื่อกินอาหารกระป๋อง ท่านจะอุ่นทั้งกระป๋อง 182 66.7 ด้านการรับประทานอาหาร
13 ท่านรู้ว่าเด็กที่เตี้ยเป็นผลจากการกินอาหารไม่ครบถ้วน หรือกินอาหารไม่พอ 107 38.9 14 ท่านจะกินอาหารที่มีรสหวาน หรือมัน หรือเค็ม เป็นประจำ 135 49.3 15 ท่านคุมปริมาณอาหารเพื่อรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนหรือผอมจนเกินไป 118 43.1 16 ท่านใส่ใจกับการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน 225 81.8

ตารางที่ 6 คะแนนระดับความรอบรู้ทางอาหารในแต่ละด้าน ของครัวเรือน (n = 267) องค์ประกอบความรอบรู้ด้านอาหาร คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวางแผนและจัดการ 3 2.6 0.7 การเลือกอาหาร 4 3.3 1.0 การเตรียมอาหาร 5 4.5 0.7 การรับประทานอาหาร 4 2.1 0.9 คะแนนรวม 16 12.6 2.2 ผลการสำรวจความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของผู้ปรุงประกอบอาหาร

ในพื้นที่ ตำบลนาเกตุ    อำเภอโคกโพธิ์      จ.ปัตตานี ตารางที่ 1 คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา (n =26) คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ เพศ หญิง 26 100 อายุ (ปี) (mean + SD) 48.5+9.5 ศาสนา อิสลาม 24 92.3 พุทธ 2 7.7 ระดับการศึกษา ประถมศึกษา 14 58.3 มัธยมศึกษา/ปวช. 9 37.5 ปริญญาตรี 1 4.2 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน น้อยกว่า 5000 บาท 10 38.5 5001 – 10000 บาท 12 46.2 10001 – 15000 บาท 3 11.5 15001 – 20000 บาท 1 3.8 ลักษณะสถานบริการอาหาร โรงอาหารในโรงเรียน 7 29.2 โรงอาหารในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 4.2 ร้านอาหารที่มีอาคาร สถานที่แน่นอน 9 37.5 แผงลอย/เพิงขายอาหาร (ประกอบอาหารที่แผงร้านค้า) 2 8.3 แผงลอย/เพิงขายอาหารปรุงสำเร็จ (ประกอบอาหารจากที่อื่น) 4 16.7 อื่น ๆ 1 4.2 บทบาทในการประกอบอาหาร ผู้จัดหาวัตถุดิบ/เครื่องปรุง 14 56.0 แม่ครัว/ผู้ประกอบอาหาร 23 92.0 ผู้กำหนดเมนู/รายการอาหาร 11 44.0 ประสบการณ์การทำงาน (ปี) (mean + SD) 11.3+10.2


การจัดหาวัตถุดิบและเครื่องปรุง ตารางที่ 2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร แหล่งที่มาของวัตถุดิบ จำนวน ร้อยละ ประเภทของวัตถุดิบที่ซื้อ ตลาด 20 76.9
ร้านค้าในชุมชน 19 73.1
รถเร่/รถพุ่มพวง 3 11.5
ผู้ผลิต (เกษตรกร) 1 3.8

พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหารของผู้ประกอบการอาหาร ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้ปรุงอาหารจำแนกตามความถี่ของการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยของอาหาร พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหาร ร้อยละของผู้ตอบ หมายเหตุ ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติบางครั้ง ประจำปฏิบัติ
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 1 ท่านเลือกซื้อวัตถุดิบอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ในการประกอบอาหาร สดใหม่ (ประกอบอาหารหมดภายใน 1-2 วัน) 0 11.5 88.5
2 ท่านซื้อวัตถุดิบประเภทผักสด ผลไม้ จากร้านที่ได้รับมาตรฐานอาหารปลอดภัย เช่น แหล่งการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (Q Organic) คุณภาพทางการเกษตร GAP ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น (PGS) 42.3 30.8 26.9
3 ท่านซื้อวัตถุดิบอาหารสดประเภทผัก ผลไม้ จากเกษตรกรโดยตรง 50.0 30.8 19.2
4 ท่านซื้ออาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก จากผู้ขายที่มั่นใจว่าไม่มีการใส่สารปนเปื้อนในอาหารทะเล 7.7 23.1 69.2
5 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในตู้เย็นตามอุณหภูมิที่เหมาะสมแต่ละประเภทของวัตถุดิบ 3.8 15.4 80.8
6 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในถังน้ำแข็ง/ ภาชนะอื่นๆ 3.8 19.2 76.9
7 ท่านดูวันหมดอายุที่ฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ 4.2 4.2 91.7
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์)
8 ท่านรักษาความสะอาด (ไม่มีคราบเศษอาหารหรือคราบสกปรก) สถานที่ในการปรุงอาหาร ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน 0 3.8 96.2
9 ท่านปรุงอาหารในสถานที่ที่มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอ เช่น มีปล่องระบายควัน หรือพัดลมระบายอากาศ 3.8 11.5 84.6
10 ท่านทำความสะอาดสถานที่ประกอบอาหารด้วยวิธีการ กวาด ถู เช็ด ทุกวันก่อนหรือหลังที่จะทำอาหาร 0 7.7 92.3
11 ท่านมีการจัดวัสดุอุปกรณ์ ของใช้ในครัวเป็นระเบียบ เรียบร้อย และจัดเป็นสัดส่วน 0 11.5 88.5
12 ท่านใช้น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดภาชนะและล้างด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง 0 3.8 96.2
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 13 ท่านเตรียมวัตถุดิบอาหารหรือวางภาชนะที่ใส่อาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. 3.8 3.8 92.3
14 ท่านมีการแยกวัตถุดิบระหว่างอาหารสด อาหารแห้งและอาหารปรุงสำเร็จเพื่อเตรียมปรุงอาหาร 0 7.7 92.3
15 ท่านทำความสะอาดผัก ผลไม้ ด้วยวิธีการ ปลอดภัย เช่น ล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร/การใช้เบคกิ้งโซดา 0 11.5 88.5
16 ท่านล้างวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้รวมกันในครั้งเดียว 46.2 0 53.8
17 ท่านใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร 42.3 11.5 46.2
18 ท่านใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร 57.7 7.7 34.6
19 ท่านดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าสะอาด สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ หมวก และผ้ากันเปื้อนที่สะอาด 7.7 7.7 84.6
20 ท่านมีการล้างมือด้วยสบู่/ เจลแอลกอฮอล์ ก่อนสัมผัสอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ในการเตรียม ปรุง จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร 0 3.8 96.2
21 ท่านมีการใช้ประโยชน์จากอาหารเหลือทิ้งด้วยการเป็นอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก 0 19.2 80.8
22 ท่านจัดการของเสียจากกระบวนการอาหารกลางวัน เช่นน้ำมันทอดซ้ำ น้ำล้างวัตถุดิบ เศษอาหาร ถูกหลักสุขาภิบาล 19.2 7.7 73.1
การขนส่ง 23 ท่านมีการจัดส่งอาหารไปสู่ผู้บริโภค โดยไม่มีฝาปิดให้มิดชิด 69.2 0 30.8
2.24 เมื่อท่านจัดทำอาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค มีการเก็บแยกเป็นสัดส่วน ปกปิดและไม่วางบนพื้น 0 0 100 25 ท่านให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย 88.5 0 11.5
26 ท่านดูแลรักษาความสะอาดของพื้นที่ บริการอาหาร/เสิร์ฟอาหาร ที่ส่งผลต่อการปนเปื้อนสู่อาหารได้ 7.7 3.8 88.5
27 ท่านนำภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุอาหาร เช่น ถังสี/ถังน้ำมัน 81.6 3.8 11.5
28 ท่านมีการปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล เช่น ตัดเล็บ ความสะอาดของเสื้อผ้า ไม่ไอหรือจามรดอาหาร 0 3.8 96.2
  ตารางที่ 4 ระดับคะแนนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาหารในด้านต่าง ๆ ของผู้ปรุงประกอบอาหาร ความปลอดภัยในอาหารด้านต่าง ๆ คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 21 17.4 2.5 การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์) 15 14.5 0.9 การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 30 25.9 3.7 การขนส่ง 18 16.7 2.1 รวมทั้งหมด 84 74.3 6.7

สรุปผลกระบวนการเรียนรู้ของแกนนำชุมชนใช้เครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะ

ประเด็นระบบอาหารและโภชนาการ จ.ปัตตานี ตำบลสุคิริน จ.นราธิวาส และเทศบาลตำบลปริก รอบที่ 1 วันที่ 22-23 เมษายน 2567 ณ โรงแรมซีเอสปัตตานี รพ.สต. ……นาเกตุ...… อำเภอ……....…โคกโพธิ์……....…จังหวัด………………ปัตตานี…………….

ลำดับที่ ผลการเรียนรู้การใช้เครื่องมือ เครื่องมือ 1: Systems Map เพื่อให้เห็นระบบอาหารของพื้นที่ เครื่องมือ 2: Problem Statement
เพื่อระบุประเด็น (ใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights) เครื่องมือ 3:
How might we?
ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ เครื่องมือ 4:
Ideation – Idea flower ร่างโครงการ วันที่ 1 การเติบของประชากรและการย้ายถิ่น - มีการไปทำงาน กทม.,มาเลย์ ให้ลูกอยู่กับย่ายาย=10% ความเป็นเมือง - ถนนสายหลักมีรถใหญ่ผ่านเยอะ ทำให้มีร้านค้าเพิ่มมากขึ้น บริบททางสังคม-วัฒนธรรม - พหุวัฒนธรรม - 50:50 กลมเกลียว สามัคคี - เดือน 10 ไทยพุทธ แบ่งปันอาหารให้มุสลิม ขนมเดือน 10 - ตุป้ะ/ตาแป จากมุสลิมแบ่งปันไทยพุทธ

นโยบาล มาตรการ กฎหมาย - อบต. ส่งเสริม (เลี้ยงไก่ไข่,ผัก Hydro)

ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนระบบ 1.ห่วงโซ่อุปทานอาหาร - ดิน+น้ำ เหมาะสมปลูกข้าว ผัก - อยู่ใกล้เมือง - อยู่ใกล้สะพานปลา(จ. เมือง)เข้าถึงแหล่งง่าย - คมนาคมสะดวกในการขนส่ง ปัจจัยแวดล้อม - ตลาดมะกรูด (ทุกวัน) - สะพานปลาปัตตานี (ทุกวัน) - ราคาอาหารไม่แพง - มีตลาดในชุมชน 1 สัปดาห์ มี 5 วัน - ร้านค้าขายของชำ - ร้านค้าขายผัก - ร้านขายอาหาร - ตลาดนัดในชุมชน - ตลาด สว. - ปลาสลิดแดดเดียว (กลุ่มเกษตรกร) - ผลิตอาหารในพื้นที่ - กลุ่มปลูกผัก

ปัจจัยระดับครัวเรือน/ชุมชน/รร./ศพด. - มีร้านค้าใกล้บ้าน - มีร้านค้าแผงลอยขายเช้าๆ - มีร้านสะดวกซื้อในชุมชน - ทำเองที่บ้าน ไม่อยากซื้อร้าน (ใส่ผงชูรส/ได้คุณค่าน้อย) - ร้อยละ 49% มีรายได้น้อย < 5000/เดือน (จากแบบสอบถาม) - มีทำนาปีปลูกข้าวพันเมือง (บริจาค ศพด.) - มีรายได้ปานกลาง - เวลา เน้นความสะดวก - 10% อยู่กับย่า ยาย พ่อแม่ไปทำงานที่มาเลย์ กทม. - คนที่อยู่กับปู่ย่าตายาย ไม่ได้กินตามมื้อ - กรีดยางเป็นหลัก รับจ้างทั่วไป (45%) + รับจ้างกรีดยาง - พ่อแม่ซื้อ ลูกกินตาม (ชาเย็น,น้ำหวาน) - กินไม่ครบ 5 หมู่ - อยากกินแค่บางอย่าง - ผู้ปกครองแค่ให้เด็กกินอิ่ม โดยไม่นึกถึงประโยชน์ของอาหาร

พฤติกรรมการจัดการอาหารของครู/แม่ครัว - ความเชื่อของพ่อแม่ เรื่องพันธุกรรม - ทำตามแผนงานใน 1 เดือน - ครู ศพด. ใส่ใจในเรื่องโภชนาการ - มีอาหารเช้า-เที่ยง มีผลไม้

อาหารที่รับประทาน - มื้อเช้า   1.)ข้าวต้ม/โจ๊ก   2.)โรตี   3.)ข้าวเหนียวไก่ทอด   4.)ไข่ต้ม   5.)นม   6.)ข้าวผัดไข่   7.)ข้าวมันไก่   8.)ข้าวหมก   9.)ข้าวเหนียวปิ้ง

-มื้อกลางวัน   1.)ใช้โปรแกรมหมุนเวียนอาหารใน 1 เดือน ไม่ซ้ำหลากหลาย   2.)ต้มจืด   3.)ก๋วยเตี๋ยว   4.)ไข่เจียว   5.)ขนมหวาน   6.)พะโล้   7.)ผลไม้ (ตามฤดูกาล)   8.)นมเปรี้ยว   9.)ขนมขบเคี้ยว   10.)ขนมไข่ -มื้อเย็น   1.)ข้าวไข่เจียว   2.)ข้าวปลาทอด   3.)ข้าวไข่ดาวทรงเครื่อง -มื้ออาหารว่าง   1.)ลูกชื้นทอด   2.)ขนมกรุบกรอบ (เลย์,เทสโต)   3.)น้ำอัดลม/น้ำหวาน   4.)ลูกอม   5.)ยำไก่แซ่บ   6.)ยำมาม่า   7.)ชาเย็น   8.)ขนมยุโร่   9.)คุกกี้   10.)ไก่ชุบแป้งทอด   11.)ไส้กรอก,ลูกชิ้น - ปัญหา = เด็ก / คนสร้างปัญหา = พ่อแม่ / เหตุผล = พ่อแม่ทำงานจนไม่มีเวลาและไม่ได้ใส่ใจในเรื่องอาหารที่มีคุณค่าให้กับลูก - พ่อแม่ไม่มีเวลาในการเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ให้ลูกทาน - พ่อแม่ไม่มีเวลา เด็กไม่ได้กินครบ 5 หมู่
- พ่อแม่ทำอาหารตามใจเด็ก - พ่อแม่รีบทำงาน - ผู้ดูแล(ไม่ใช่พ่อแม่) ตามใจเด็กมากเกินไป กินอะไรก็ได้ให้อิ่มโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ของอาหาร - ตามใจจากคนรอบๆข้าง - พ่อแม่ไม่มีเวลาในการเตรียมอาหารให้ลูก เนื่องจากต้องรีบไปทำงาน ทำให้ลูกได้อาหารที่ไม่ครบ 5 หมู่
- เด็กกินอาหารไม่ครบ - เด็ก 0-5 ปี เด็กไม่ยอมกินอาหาร - อาหารไม่ถูกปาก/ชอบกินขนมจุกจิก - เด็กเลือกกินเฉพาะที่ตัวเองชอบ - เนื่องจากเด็กสมัยนี้จะกินอาหารขยะมากกว่าอาหารที่มีประโยขน์ เช่น KFC เบอร์เกอร์ ฯลฯ - เด็กชอบดูยูทูเบอร์การรีวิวอาหาร

- ให้พ่อแม่มีเวลาในการเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ให้ลูกทาน

- ให้เด็กไม่เลือกกินหรือเลือกกินเฉพาะที่ชอบ - จะให้ผู้ปกครองให้ความสำคัญกับเวลาลูกมากขึ้น - ให้ผู้ปกครองทำอาหารให้เด็กๆได้ทานเองที่บ้าน - ให้เด็กเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ - ให้พ่อแม่รักในการเตรียมอาหาร - ให้เด็กชอบอาหารที่พ่อแม่เตรียมให้ - ให้การทำอาหารให้ลูกสนุก - ให้การทำอาหารประหยัดเวลา - พ่อแม่ให้เวลาลูกในวันหยุด เช่น ทำกิจกรรมถายในครอบครัว (รดน้ำต้นไม้,ปลูกต้นไม้,ทำอาหารรวมกัน) - พ่อแม่ไม่ซื้อขนมขบเคี้ยวให้ลูกกิน - ให้เด็กได้รับสารอาหารให้ครบ - ให้พ่อแม่ขยันในการทำอาหารที่มีประโยชน์ให้ลูกกิน - จะทำยังไงยูทูบเบอร์รีวิวอาหารที่มีประโยชน์สำหรับเด็ก - ทำอย่างไรให้เด็กๆที่ชอบกินอาหารขยะแล้วได้รับอาหารที่ครบ 5 หมู่ - ทำอย่างไรให้พ่อมีส่วนร่วมในการทำอาหารร่วมกับแม่และลูกๆ - สินค้าใหม่,สดทุกวัน - ทำคลิปรีวิวอาหารสำหรับเด็กลงโซเซียล - มีรางวัลล่อใจจากการเล่นเกมส์กินอาหาร - สอนผู้ปกครองทำอาหาร - ชวนเด็กมาทำอาหาร - ให้ผู้ปกครองนำวัตถุดิบที่มีในชุมชนมาสาธิตการแปรรูปทำอาหาร - มีตลาด สว. - เดลิเวอรี่จากตลาด สว. - จัดเวทีประชาคมสะท้อนปัญหา - มีโปรแกรมคิดเมนูอาหารให้เด็ก
วันที่ 2 ยาเสพติด - ยาบ้า - กัญชา - น้ำท่อม - บุหรี่ - ยาไอผสมน้ำท่อม - บุหรี่ไฟฟ้า - โซแล่ม

1.ปัจจัยส่วนบุคคล - อยากรู้อยากลอง - ความชอบ - ตำเอง ต้มเอง กินเอง - เจอปัญหาในชีวิต เลยหันไปพึ่งยาเสพติด - ความเชื่อแก้โรค (ไอ) - เป็นยาชูกำลัง - เชื่อว่ากินแล้วแก้ปวด ทำงานได้ทนได้นาน - เห็นว่าเป็นเรื่องปกติใครๆก็กิน ใครๆก็สูบ

2.ปัจจัยแวดล้อม - ไม่ทำงาน/ตกงาน - ง่ายต่อการหาซื้อ - มีการขายน้ำกระท่อมแบบสำเร็จพร้อมทาน - มีพ่อค้ารายใหญ่ในหมู่บ้าน - บ้านไหนที่ไม่มีคนแก่ มักจะมารวมตัวกันกิน - ราคาถูก - ปัญหาครอบครัว - เข้าถึงง่าย มีต้นปลูก - ครอบครัวยากจน/ไม่เรียนหนังสือ

3.ปัจจัยภายนอก - เพื่อน - ผู้นำชุมชนไม่แข็งแรง - ครอบครัว - กฎหมายเปิดโอกาศ - ผู้ปกครองไม่เชื่อว่าลูกตัวเองติดยา เพราะลูกบอกว่าตัวเองไม่ได้เล่น

4.ผลกระทบ - ลักขโมย - ส่งผลกระทบด้านจิตใจ - ทำร้ายข้าวของภายในบ้าน - มีคนติดยาเป็นโรคจิตเวช - ชิงทรัพย์
- ทำร้ายร่างกาย - ทำร้ายร่างกายบุคคลใกล้ตัว (พ่อแม่) - ขาดสติ - จนลงๆ - คนในครอบครัวไม่มีความสุข - พูดจาหยาบคาย - ก้าวร้าวกับพ่อแม่และคนรอบข้าง

    ใคร = วัยรุ่นชายอายุ 15-30 ปี + ทำอะไร = ติดยาเสพติด + ลายละเอียด = เนื่องจากเข้าถึงได้ง่ายและมีราคาถูก

- ทำอย่างไรให้ชุมชนน่าอยู่ - ทำอย่างไรให้ผู้ค้ายาเสพติดไม่มีในหมู่บ้าน - ทำอย่างไรให้วัยรุ่นไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด(ใบท่อม) - ให้วัยรู้จักโทษของกระท่อม - ให้มีการส่งเสริมกิจกรรมให้วัยรุ่นห่างไกลยาเสพติด - ทำอย่างไรให้เยาวชนหันมาเล่นกีฬา - ทำอย่างไรให้วัยรุ่นชักชวนกันไปดื่มน้ำกระท่อม - เราสามารถห้ามไม่ให้มีการค้าขายน้ำกระท่อมในพื้นที่ได้ไม่ - ผู้นำศาสนาส่งเสริมการอบรมทางด้านศาสนาให้ลดการเสพยาเสพติด - ให้ผุ้ปกครองให้คำปรึกษาแก่ลูกๆในเรื่องโทษและภัยของยาเสพติด ไอเดียที่ทำกันปกติ - ไม่ต้องให้เงิน - ส่งเสริมให้ขายอย่างอื่นที่ไม่ใช้กระท่อม - กิจกรรม To be number - ห้ามคนในหมู่บ้านปลูกต้นกระท่อม - จัดอบรมให้ความรู้วัยรุ่นในชุมชน ไอเดียชุมชนมีส่วนร่วม - มัสยิดสีขาว/ชุมชนสีขาว - สร้างกลุ่ม Line เลิกน้ำกระท่อม - ติดป้านสัญลักษณ์ ไม่ซื้อ ไม่ปลูก ไม่ต้มเอง - เรื่องเล่าเร้าพลัง(ติดได้ เลิกได้ คืนความสุขให้ครอบครัว) - จ้างงานให้คนที่เลิกน้ำท่อมได้ - สร้างพื้นที่ขายจัดโซนนิ่ง - สายด่วนปรึกษาปัญหา - ส่งเสริมการจัดแข่งขันกีฬา - ไม่ซื้อ ไม่กิน ไม่ปลูก กระท่อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน - สอดส่องดูแลให้ตำรวจมาจับ - บอกถึงโทษที่มีผลต่อสุขภาพ ( เป็นมะเร็ง,โรคไต,หูรูดอุจจาระเสื่อม)

ไอเดียที่ไม่ใช่งบประมาณ - ให้คนในชุมชนตัดต้นกระท่อมทิ้ง - คนในชุมชนร่วมมือกันค้านคนขาย - เพื่อนชวนเพื่อน ( ชวนเลิกยาเสพติด)

ไอเดียที่ทำได้เลยตอนนี้ - รณรงด์ไม่ให้ปลูกต้นกระท่อมหมู่บ้าน - บ้านไหนปลูกกระท่อมไม่ให้เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน - ผู้นำตั้งกฎกติกาหมู่บ้านให้เด็ดขาด - พ่อแม่ให้ความสำคัญในเรื่องของยาเสพติด - ผู้นำศาสนาให้ความรู้เรื่องศาสนาในเรื่องโทษของน้ำกระท่อม - อบรมให้ผู้ขายให้เห็นถึงอันตราย

ไอเดียสนุกสนาน - ให้รางวัลกับคนที่สามารถเลิกน้ำกระท่อมได้ -บัตรสะสมแต้มเข้าร่วมกิจกรรม ไอเดียกระแสออนไลน์ - ทำคลิปเกี่ยวกับโทษของการกินน้ำกระท่อม - ทำหนังสั้น - ทำเพลง -เปิดเพลงมาร์คในหมู่บ้านทุกวัน - เปลี่ยนมาขายสมุนไพรอื่น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปกิจกรรมประชุมตำบลนาเกตุ วันที่30 พฤษภาคม 2567
สถานที่ รพ.สต.นาเกตุ เนื่องจากทางตำบลนาเกตุได้เห็นความสำคัญของโภชนาการด้านอาหารของเด็กที่ยังไม่ครบ5หมู่และหาวิธีการให้เด็กกินผักให้มากขึ้นจึงคิดทำโครงการดังนี้ โดยการการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทน รพ.สต.นาเกตุ -ครูโรงเรียนบ้่นนาเกตุ -อสม. -บัณฑิตอาสา -ผู้ใหญ่บ้าน -โรงเรียนคลองช้าง มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน • เปิดตลาดให้เด็กๆมาทำร่วมมาทำอาหารร่วมกันขายและแลกเปลี่ยนอาหาร • ถ่ายคลิปวีดีโอการทำอาหารกับเด็กๆ • จัดกิจกรรมให้เด็กๆมาทำอาหารร่วมกัน • ดัดแปลงเมนูไข่ให้มีประโยชน์และหลากหลาย • จัดอบรมผู้ปกครองและกลุ่มเป้าหมายในเรื่องของการทำอาหารสำหรับเด็กโดยตรง • จัดทำนิทรรศการให้ความรู้เรื่องอาหารเกี่ยวกับเด็กให้ผู้ปกครองในโรงเรียน • สร้างเกมเสริมทักษะเกี่ยวกับอาหารครบ 5 หมู่ • จัดกิจกรรมสอนเด็กอ่านฉลากโภชนาการ • แปรรูปอาหารให้เด็กทุกอย่างให้ง่ายต่อการกิน • ให้ความรู้ผู้ปกครองเรื่องการปลูกฝังการกินผักและอาหารที่มีประโยชน์ • จัดครัวจิ๋วในการทำอาหารสำหรับเด็กๆในโรงเรียน • ส่งเสริมการออกกำลังกายในเด็กและผู้ปกครองร่วมกัน • จัดทำลานกีฬาประจำหมู่บ้าน • จัดกิจกรรมโภชนาการสัญจรถ่ายทอดความรู้สู่ครัวเรือน • สาธิตอาหารลูกกับแม่ • กิจกรรมแม่ลูกจูงมือเดินตลาด • นำเสนอเมนูอาหารที่มีประโยชน์ที่สามารถทำเองได้ • จัดกิจกรรมพ่อแม่ลูกร่วมกันทำร่วมกันกิน • จัดการเข้าค่ายอาหารเรียนรู้เรื่องอาหารและผักปลอดสารพิษ • ทำตลาดนัดเหรียญบาทโดยให้ผู้ปกครองกับลูกได้มีส่วนร่วมในการทำอาหารสุขภาพมาขายในตลาดของนักเรียน • จัดกิจกรรมโภชนาการในโรงเรียน • ให้ผู้ปกครองแบ่งเวลาให้กับลูกในการทานอาหาร • จัดกิจกรรมปลูกฝังให้เด็กกินนม • ดัดแปลงนมโรงเรียนให้น่ากิน

การระดมความคิดชื่อโครงการ • โครงการเล่นให้ชินกินให้เป็นเล่นให้สนุก • โครงการอาหารมหัศจรรย์พลังแห่งการเจริญเติบโต • โครงการปลูกผักที่ชอบ • โครงการอาหารเป็นยาวิเศษ • โครงการบูรณาการอาหารขยะสู่อาหารยุคใหม่ • โครงการสร้างสุขนิสัยการกินที่ดีเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก • โครงการอาหารเช้าเป็นยาวิเศษ • โครงการอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพเสริมสร้างคุณภาพชีวิต • โครงการตลาดเล็กๆเพื่อเด็กนาเกด • โครงการอาหารดีอยู่ดีเพื่อน้อง • โครงการบูรณาการความรู้โภชนาการเพื่อสมองอันสดใสสู่อนาคตที่ดี • โครงการอาหารอร่อยเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ • โครงการอาหารสร้างสุข • โครงการผักและผลไม้ตามฤดูกาล • โครงการตลาดเด็กยุคใหม่ • โครงการกินเป็นสุขรสชาติถูกปาก • โครงการเลือกอาหารอย่างไรให้เกิดประโยชน์ • โครงการกินเกลี้ยงกินง่ายได้ประโยชน์เพื่อสุขภาพ • โครงการอาหารอร่อยเพื่อเด็กๆในชุมชน • โครงการกิจกรรมน้องกับพี่ทำคลิปอาหารอร่อยมีประโยชน์ • โครงการจานนี้ฉันรังสรรค์อร่อยและดีต่อสุขภาพ • โครงการส่งเสริมการกินสู่เด็กพัฒนา • โครงการอาหารเพื่อน้องกินผักปรับโภชนาการ • โครงการเลือกกินอะไรเพื่อไม่ให้เกิดโรค • โครงการทำอะไรดีให้นาเกดปลอดภัยจากสารพิษจากอาหารการกิน • โครงการทำอาหารกินเองกิจกรรมไม่ซื้ออาหารถุง • โครงการเด็กนาเกดยืน 1 อาหารของหนู

ความรู้สึก /ข้อแนะนำ จากการมาประชุมครั้งนี้ • ได้เห็นความร่วมมือในการแก้ปัญหาของชุมชน • สามารถนำไปปรับใช้กับที่บ้านและบอกต่อกับคนอื่นได้ • ได้รู้ถึงปัญหาที่พบในเด็กและภาวะเด็กเตี้ยที่พบได้ในไตรมาสนี้ • ส่งเสริมใส่ใจในโรงเรียนและผู้ปกครอง • สร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและโรงเรียน • ทำให้รู้ว่าคนในพื้นที่นาเกดไม่นิยมปลูกเน้นซื้อตามความสะดวกควรเน้นสร้างที่เพาะปลูกจะได้กินผักปลอดสารพิษ • ได้รู้เรื่องโภชนาการเด็กเพิ่มขึ้น • ชุมชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา • ทำให้เกิดความสามัคคีในชุมชน • ได้เรียนรู้ว่าเด็กจะเติบโตอย่างมีคุณภาพต้องเริ่มที่ผู้ปกครอง • ได้แนวทางในการปรับปรุงและส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือของคนในชุมชน • โภชนาการที่ดีเริ่มต้นที่พ่อแม่

สิ่งที่ได้จากการดูคลิปวีดีโอการจัดโภชนาการอาหารในประเทศญี่ปุ่น • ได้เห็นถึงการมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมของเด็กในชุมชน • การเอาวัตถุดิบในชุมชนมาทำอาหารส่งเสริมให้โรงเรียนมีกิจกรรมการปลูกผักเลี้ยงสัตว์ที่ปลอดสารพิษ • สร้างอาชีพให้ชุมชน • การนำ thai school lunch มาใช้ในโรงเรียน • เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม • ความเอาใจใส่ในการเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพมาประกอบอาหาร • ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพและพัฒนาการของเด็ก • ได้เรียนรู้การอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง • ร่วมด้วยช่วยกันของนักเรียนที่สามารถนำมาปรับใช้ในโรงเรียน • จะนำกิจกรรมที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในโรงเรียน • สามารถนำไปพัฒนาชุมชนให้เกิดการบูรณาการมากขึ้น • ได้เห็นรอยยิ้มของเด็กๆที่ได้กินของอร่อยและมีประโยชน์ • เห็นถึงการแก้ปัญหาที่ตรงจุดของโรงเรียนและชุมชนทำให้เด็กโตมาแบบมีคุณภาพ • สร้างจิตสำนึกให้เด็กมีความรับผิดชอบ • ช่วยสร้างให้เด็กมีวินัยและความรับผิดชอบมากขึ้น • เด็กใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์เพื่อลดปัญหายาเสพติด

  • photo 1717119117087.jpg1717119117087.jpg
  • photo IMG_20240530_114946.jpgIMG_20240530_114946.jpg
  • photo IMG_20240530_100513.jpgIMG_20240530_100513.jpg
  • photo IMG_20240530_092822.jpgIMG_20240530_092822.jpg
  • photo IMG_20240530_091654.jpgIMG_20240530_091654.jpg
  • photo IMG_20240530_091033.jpgIMG_20240530_091033.jpg
  • photo IMG_20240530_091643.jpgIMG_20240530_091643.jpg
  • photo IMG_20240530_091654.jpgIMG_20240530_091654.jpg
  • photo IMG_20240530_090844.jpgIMG_20240530_090844.jpg

 

0 0

11. การประชุมพัฒนาโครงการฉบับบย่อประเด็นอาหารและโภชนาการ ต.ทรายขาว

วันที่ 30 พฤษภาคม 2567 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผลการสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของครัวเรือน
ในพื้นที่ ตำบล ทรายขาว อำเภอ โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ตารางที่ 1 คุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (n = 207) คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 26 12.6 หญิง 108 87.0 อายุ (ปี) (mean+SD) 51.2+12.1 ระดับการศึกษา ไม่ได้ศึกษา 1 0.5 ประถมศึกษา 47 22.7 มัธยมศึกษา/ปวช. 100 48.3 อนุปริญญา/ปวส. 19 9.2 ปริญญาตรี 37 17.9 สูงกว่าปริญญาตรี 3 1.4 รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน
น้อยกว่า 5000 บาท 62 30.1 5001 – 10000 บาท 71 34.5 10001 – 15000 บาท 33 16.0 15001 – 20000 บาท 20 9.7 20001 – 25000 บาท 4 1.9 25001 – 30000 บาท 5 2.4 มากกว่า 30000 บาท 11 5.3 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (คน)  (mean+SD) 3.9+1.8 อาชีพ รับจ้าง 46 22.2 รับราชการ 12 5.8 เกษตรกรรม 89 43.0 ประมง 1 0.5 ธุรกิจส่วนตัว 11 5.3 ประกอบอาชีพมากกว่า 1 อาชีพ 17 8.2 อื่น ๆ 30 14.5

วิธีการได้มาซึ่งอาหารของครัวเรือน
ตารางที่ 2 รูปแบบการได้มาซึ่งอาหารในครัวเรือน (n = 201) รูปแบบการได้มาซึ่งอาหาร จำนวนครัวเรือน (ร้อยละ) หมายเหตุ ผลิตอาหารเอง 127(63.2) เหตุผลที่ไม่ได้ผลิตอาหารเอง 1.ไม่มีปัจจัยการผลิต ร้อยละ 67.5 2.ไม่มีองค์ความรู้ ร้อยละ 42.0 3.ดิน น้ำไม่เหมาะกับการผลิต  ร้อยละ 15.4 รูปแบบการเกษตร 1. แบบอินทรีย์  ร้อยละ 23.6 2.แบบปลอดภัย ร้อยละ 19.3 3.แบบอื่น ๆ  ร้อยละ 56.4 - การเพาะปลูก 143 (92.9)
- ปศุสัตว์ 28 (21.2)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 12 (5.8)
- เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม 0 (0)
ความพอเพียงของอาหารที่ผลิตในครัวเรือน
- พอเพียง 117 (74.1)
- ไม่พอ 41 (25.9)
หาจากธรรมชาติ 76 (39.6) หาจากแหล่ง ….


  สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตารางที่ 3 ร้อยละของครัวเรือนจำแนกตามระดับความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นใน 1 เดือนที่ผ่านมา (n = ) เหตุการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร ไม่เคยเกิดขึ้น น้อยครั้ง (1-2 ครั้ง) บางครั้ง (3-10 ครั้ง) บ่อยมาก (>10ครั้ง) เฉลี่ยคะแนน 1 ท่านกังวล ว่าจะไม่มีเงินซื้ออาหารกินอย่างเพียงพอ 47.5 25.0 25.5 2.0 2.0+0.9 2 ท่านไม่สามารถหาอาหารที่ครบ 5 หมู่ (ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน/ไขมัน) เพียงพอสำหรับการบริโภคเพราะมีเงินหรือทรัพยากรไม่พอ 49.8 26.8 18.5 4.9 2.0+0.9 3 ท่านกินอาหารเพียงไม่กี่ชนิด (มีกิน แต่กินซ้ำๆ เดิม ๆ ไม่มีคุณภาพ) เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 54.4 28.2 13.6 3.9 1.0+0.9 4 ท่านต้องอดอาหารบางมื้อหรือกินบางมื้อน้อยลง เพราะเงินไม่พอหรือขาดทรัพยากรอื่นๆ ที่จะได้รับอาหาร (อดมื้อกินมื้อเพราะเงินไม่พอ) ไม่นับการถือศีลอด 76.7 17.0 5.8 0.5 1.0+0.6 5 ท่านรู้สึกหิวแต่ไม่ได้กิน เพราะเงินไม่พอ หรือขาดทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับอาหาร 76.7 14.1 9.2 0 1.0+0.6 6 เคยมีช่วงเวลาที่ท่าน ไม่ได้กินอาหารเลยทั้งวันเพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 82.9 11.2 5.4 0.5 1.0+0.6 7 ท่านได้รับการบริจาค การช่วยเหลือด้านอาหารจากหน่วยงาน เพื่อนบ้าน หรือองค์กร 52.5 31.9 14.7 1.0 1.0+0.8 8 ครัวเรือนของท่าน ขาดแคลนอาหารหรือไม่มีอาหารที่จะกินเลย เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่น ๆ 85.9 12.1 1.9 0 1.0+0.6 9 ครัวเรือนของท่านมีอาหารกินไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในครอบครัวครบ ทั้ง 3 มื้อ 85.4 8.8 4.9 1.0 1.0+0.6 10 อาหารที่มีในครัวเรือน ของท่านเป็นอาหารที่มีครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน) 33.2 14.1 20.0 32.7 2.0+1.3

  ตารางที่ 4 การเตรียมความพร้อมของครัวเรือนเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติที่ผ่านมา การเตรียมพร้อม จำนวน (ครัวเรือน) ร้อยละ มีการเตรียมการ 110 68.3 ไม่มีการเตรียมการ 51 31.7

ความรอบรู้ทางอาหารของครัวเรือน ตารางที่ 5 จำนวน และ ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรอบรู้ในแต่ละประเด็น ประเด็นความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ จำนวน ร้อยละ ด้านการวางแผนและจัดการ
1 ท่านจะเอาเงินไว้สำหรับซื้ออาหารให้เพียงพอก่อนการใช้จ่ายซื้อสิ่งอื่น เช่น เครื่องประดับ เสื้อผ้า ของเล่นให้ลูก 170 83.3 2 ท่านจะคิดรายการอาหารที่จะกินไว้ล่วงหน้าเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจะหาอาหารได้เพียงพอตามต้องการ แม้ในสภาวะที่สถานการณ์อาหารเปลี่ยนไป 158 77.5 3 ท่านตัดสินใจเลือกอาหารโดยดูจากความคุ้มค่า (มีประโยชน์ต่อร่างกาย) คุ้มราคา (เหมาะกับเงินที่มี) หรือ สะดวกในการจัดเตรียมหรือปรุง 190 93.1 ด้านการเลือกอาหาร
4 ท่านหาอาหารได้จากแหล่งต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ซื้อจากตลาด เพื่อนบ้าน ปลูก/หาได้เอง 197 96.6 5 ท่านจะอ่านฉลากเพื่อดูว่าอาหารประกอบด้วยอะไร เก็บรักษาแบบไหน และจะกินอย่างไร 173 85.2 6 ท่านจะสอบถามข้อมูลจากผู้ขายถึงแหล่งที่มา วิธีการกิน การเก็บรักษาเพื่อให้จัดการให้เหมาะสม 160 78.4 7 ท่านบอกได้ว่า อาหารชนิดใดดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพ เมื่อทราบแหล่งที่มา หรือแหล่งผลิตอาหาร หรือองค์ประกอบ หรือจากการอ่านฉลากอาหาร 159 78.3 ด้านการเตรียมอาหาร
8 ท่านทำอาหารทานได้ไม่ว่าวัตถุดิบที่มีจะเป็นอะไร ด้วยอุปกรณ์เครื่องครัวเท่าที่มี 175 86.2 9 ท่านล้างมือทุกครั้งก่อนเตรียมอาหาร 191 92.3 10 ท่านล้างผักและเนื้อสัตว์โดยใช้น้ำไหลผ่านอย่างทั่วถึง 196 96.6 11 ท่านเก็บอาหารที่ทานไม่หมดไว้ในที่มิดชิด เช่น ตู้กับข้าว ครอบฝาชี หรือใส่ภาชนะที่มีฝาปิด 194 96.5 12 เมื่อกินอาหารกระป๋อง ท่านจะอุ่นทั้งกระป๋อง 143 71.5 ด้านการรับประทานอาหาร
13 ท่านรู้ว่าเด็กที่เตี้ยเป็นผลจากการกินอาหารไม่ครบถ้วน หรือกินอาหารไม่พอ 115 56.7 14 ท่านจะกินอาหารที่มีรสหวาน หรือมัน หรือเค็ม เป็นประจำ 126 62.1 15 ท่านคุมปริมาณอาหารเพื่อรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนหรือผอมจนเกินไป 122 60.1 16 ท่านใส่ใจกับการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน 153 75.0

ตารางที่ 6 คะแนนระดับความรอบรู้ทางอาหารในแต่ละด้าน ของครัวเรือน (n =  ) องค์ประกอบความรอบรู้ด้านอาหาร คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวางแผนและจัดการ 3 2.5 0.7 การเลือกอาหาร 4 3.4 0.9 การเตรียมอาหาร 5 4.4 0.9 การรับประทานอาหาร 4 2.5 1.2 คะแนนรวม 16 13.0 2.5

ผลการสำรวจความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ในพื้นที่ ตำบลทรายขาว    อำเภอโคกโพธิ์      จ.ปัตตานี ตารางที่ 1 คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา (n =23) คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 0 0 หญิง 23 100 อายุ (ปี) (mean + SD) 46.95+12.3 ศาสนา อิสลาม 17 73.9 พุทธ 6 26.1 ระดับการศึกษา ประถมศึกษา 4 18.2 มัธยมศึกษา/ปวช. 11 50.0 อนุปริญญา/ ปวส. 5 22.7 ปริญญาตรี 2 9.1 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน น้อยกว่า 5000 บาท 5 21.7 5001 – 10000 บาท 14 60.9 10001 – 15000 บาท 3 13.0 15001 – 20000 บาท 1 4.3 ลักษณะสถานบริการอาหาร โรงอาหารในโรงเรียน 4 18.2 ร้านอาหารที่มีอาคาร สถานที่แน่นอน 1 4.5 แผงลอย/เพิงขายอาหาร (ประกอบอาหารที่แผงร้านค้า) 2 9.1 แผงลอย/เพิงขายอาหารปรุงสำเร็จ (ประกอบอาหารจากที่อื่น) 10 45.5 อื่น ๆ 5 22.7 บทบาทในการประกอบอาหาร ผู้จัดหาวัตถุดิบ/เครื่องปรุง 9 40.9 แม่ครัว/ผู้ประกอบอาหาร 17 77.3 ผู้กำหนดเมนู/รายการอาหาร 4 18.2 ประสบการณ์การทำงาน (ปี) (mean + SD) 9.1+7.7

การจัดหาวัตถุดิบและเครื่องปรุง ตารางที่ 2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร แหล่งที่มาของวัตถุดิบ จำนวน ร้อยละ ประเภทของวัตถุดิบที่ซื้อ ตลาด 18 78.3
ร้านค้าในชุมชน 15 65.2
รถเร่/รถพุ่มพวง 23 100 ผู้ผลิต (เกษตรกร) 1 4.3

พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหารของผู้ประกอบการอาหาร ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้ปรุงอาหารจำแนกตามความถี่ของการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยของอาหาร พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหาร ร้อยละของผู้ตอบ หมายเหตุ ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติบางครั้ง ประจำปฏิบัติ
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 1 ท่านเลือกซื้อวัตถุดิบอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ในการประกอบอาหาร สดใหม่ (ประกอบอาหารหมดภายใน 1-2 วัน) 0 13.0 87.0
2 ท่านซื้อวัตถุดิบประเภทผักสด ผลไม้ จากร้านที่ได้รับมาตรฐานอาหารปลอดภัย เช่น แหล่งการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (Q Organic) คุณภาพทางการเกษตร GAP ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น (PGS) 0 26.1 73.9
3 ท่านซื้อวัตถุดิบอาหารสดประเภทผัก ผลไม้ จากเกษตรกรโดยตรง 4.3 52.2 43.5
4 ท่านซื้ออาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก จากผู้ขายที่มั่นใจว่าไม่มีการใส่สารปนเปื้อนในอาหารทะเล 9.1 40.9 50.0
5 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในตู้เย็นตามอุณหภูมิที่เหมาะสมแต่ละประเภทของวัตถุดิบ 4.3 4.3 91.3
6 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในถังน้ำแข็ง/ ภาชนะอื่นๆ 4.3 13.0 82.6
7 ท่านดูวันหมดอายุที่ฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ 4.8 9.5 85.7
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์)
8 ท่านรักษาความสะอาด (ไม่มีคราบเศษอาหารหรือคราบสกปรก) สถานที่ในการปรุงอาหาร ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน 0 8.7 91.3
9 ท่านปรุงอาหารในสถานที่ที่มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอ เช่น มีปล่องระบายควัน หรือพัดลมระบายอากาศ 0 17.4 82.6
10 ท่านทำความสะอาดสถานที่ประกอบอาหารด้วยวิธีการ กวาด ถู เช็ด ทุกวันก่อนหรือหลังที่จะทำอาหาร 0 13.0 87.0
11 ท่านมีการจัดวัสดุอุปกรณ์ ของใช้ในครัวเป็นระเบียบ เรียบร้อย และจัดเป็นสัดส่วน 0 8.7 91.3
12 ท่านใช้น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดภาชนะและล้างด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง 0 4.3 95.7
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 13 ท่านเตรียมวัตถุดิบอาหารหรือวางภาชนะที่ใส่อาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. 4.8 14.3 81.0
14 ท่านมีการแยกวัตถุดิบระหว่างอาหารสด อาหารแห้งและอาหารปรุงสำเร็จเพื่อเตรียมปรุงอาหาร 0 4.3 95.7
15 ท่านทำความสะอาดผัก ผลไม้ ด้วยวิธีการ ปลอดภัย เช่น ล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร/การใช้เบคกิ้งโซดา 0 8.7 91.3
16 ท่านล้างวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้รวมกันในครั้งเดียว 56.5 4.3 39.1
17 ท่านใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร 45.5 18.2 36.4
18 ท่านใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร 56.5 26.1 17.4
19 ท่านดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าสะอาด สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ หมวก และผ้ากันเปื้อนที่สะอาด 4.3 13.0 82.6
20 ท่านมีการล้างมือด้วยสบู่/ เจลแอลกอฮอล์ ก่อนสัมผัสอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ในการเตรียม ปรุง จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร 0 17.4 82.6
21 ท่านมีการใช้ประโยชน์จากอาหารเหลือทิ้งด้วยการเป็นอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก 9.1 18.2 72.7
22 ท่านจัดการของเสียจากกระบวนการอาหารกลางวัน เช่นน้ำมันทอดซ้ำ น้ำล้างวัตถุดิบ เศษอาหาร ถูกหลักสุขาภิบาล 4.3 21.7 73.9
การขนส่ง 23 ท่านมีการจัดส่งอาหารไปสู่ผู้บริโภค โดยไม่มีฝาปิดให้มิดชิด 73.9 13.0 13.0
2.24 เมื่อท่านจัดทำอาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค มีการเก็บแยกเป็นสัดส่วน ปกปิดและไม่วางบนพื้น 4.3 4.3 91.3
25 ท่านให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย 69.6 8.7 21.7
26 ท่านดูแลรักษาความสะอาดของพื้นที่ บริการอาหาร/เสิร์ฟอาหาร ที่ส่งผลต่อการปนเปื้อนสู่อาหารได้ 4.3 8.7 87.0
27 ท่านนำภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุอาหาร เช่น ถังสี/ถังน้ำมัน 73.9 8.7 17.4
28 ท่านมีการปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล เช่น ตัดเล็บ ความสะอาดของเสื้อผ้า ไม่ไอหรือจามรดอาหาร 8.7 4.3 87.0

ตารางที่ 4 ระดับคะแนนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาหารในด้านต่าง ๆ ของผู้ปรุงประกอบอาหาร ความปลอดภัยในอาหารด้านต่าง ๆ คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 21 19.0 1.6 การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์) 15 14.5 1.2 การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 30 26.2 2.7 การขนส่ง 18 16.1 2.1 รวมทั้งหมด 84 75.7 6.0

ผลการสำรวจความรอบรู้ด้านอาหารปลอดภัยของผู้ปรุงประกอบอาหาร
ในพื้นที่ ตำบลทรายขาว    อำเภอโคกโพธิ์      จ.ปัตตานี ตารางที่ 1 คุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา (n =23) คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 0 0 หญิง 23 100 อายุ (ปี) (mean + SD) 46.95+12.3 ศาสนา อิสลาม 17 73.9 พุทธ 6 26.1 ระดับการศึกษา ประถมศึกษา 4 18.2 มัธยมศึกษา/ปวช. 11 50.0 อนุปริญญา/ ปวส. 5 22.7 ปริญญาตรี 2 9.1 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน น้อยกว่า 5000 บาท 5 21.7 5001 – 10000 บาท 14 60.9 10001 – 15000 บาท 3 13.0 15001 – 20000 บาท 1 4.3 ลักษณะสถานบริการอาหาร โรงอาหารในโรงเรียน 4 18.2 ร้านอาหารที่มีอาคาร สถานที่แน่นอน 1 4.5 แผงลอย/เพิงขายอาหาร (ประกอบอาหารที่แผงร้านค้า) 2 9.1 แผงลอย/เพิงขายอาหารปรุงสำเร็จ (ประกอบอาหารจากที่อื่น) 10 45.5 อื่น ๆ 5 22.7 บทบาทในการประกอบอาหาร ผู้จัดหาวัตถุดิบ/เครื่องปรุง 9 40.9 แม่ครัว/ผู้ประกอบอาหาร 17 77.3 ผู้กำหนดเมนู/รายการอาหาร 4 18.2 ประสบการณ์การทำงาน (ปี) (mean + SD) 9.1+7.7

การจัดหาวัตถุดิบและเครื่องปรุง ตารางที่ 2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงประกอบอาหาร แหล่งที่มาของวัตถุดิบ จำนวน ร้อยละ ประเภทของวัตถุดิบที่ซื้อ ตลาด 18 78.3
ร้านค้าในชุมชน 15 65.2
รถเร่/รถพุ่มพวง 23 100 ผู้ผลิต (เกษตรกร) 1 4.3

พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหารของผู้ประกอบการอาหาร ตารางที่ 3 ร้อยละของผู้ปรุงอาหารจำแนกตามความถี่ของการปฏิบัติด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยของอาหาร พฤติกรรมความปลอดภัยด้านอาหาร ร้อยละของผู้ตอบ หมายเหตุ ไม่ปฏิบัติ ปฏิบัติบางครั้ง ประจำปฏิบัติ
การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 1 ท่านเลือกซื้อวัตถุดิบอาหารสดจำพวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ในการประกอบอาหาร สดใหม่ (ประกอบอาหารหมดภายใน 1-2 วัน) 0 13.0 87.0
2 ท่านซื้อวัตถุดิบประเภทผักสด ผลไม้ จากร้านที่ได้รับมาตรฐานอาหารปลอดภัย เช่น แหล่งการผลิตหรือผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ (Organic Thailand) มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (Q Organic) คุณภาพทางการเกษตร GAP ระบบประกันคุณภาพในระดับท้องถิ่น (PGS) 0 26.1 73.9
3 ท่านซื้อวัตถุดิบอาหารสดประเภทผัก ผลไม้ จากเกษตรกรโดยตรง 4.3 52.2 43.5
4 ท่านซื้ออาหารทะเล เช่น ปลา กุ้ง หอย ปลาหมึก จากผู้ขายที่มั่นใจว่าไม่มีการใส่สารปนเปื้อนในอาหารทะเล 9.1 40.9 50.0
5 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในตู้เย็นตามอุณหภูมิที่เหมาะสมแต่ละประเภทของวัตถุดิบ 4.3 4.3 91.3
6 ท่านมีการดูแลความสะอาดและคงความสดใหม่ของวัตถุดิบ ด้วยการเก็บรักษาในถังน้ำแข็ง/ ภาชนะอื่นๆ 4.3 13.0 82.6
7 ท่านดูวันหมดอายุที่ฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ 4.8 9.5 85.7
การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์)
8 ท่านรักษาความสะอาด (ไม่มีคราบเศษอาหารหรือคราบสกปรก) สถานที่ในการปรุงอาหาร ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน 0 8.7 91.3
9 ท่านปรุงอาหารในสถานที่ที่มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอ เช่น มีปล่องระบายควัน หรือพัดลมระบายอากาศ 0 17.4 82.6
10 ท่านทำความสะอาดสถานที่ประกอบอาหารด้วยวิธีการ กวาด ถู เช็ด ทุกวันก่อนหรือหลังที่จะทำอาหาร 0 13.0 87.0
11 ท่านมีการจัดวัสดุอุปกรณ์ ของใช้ในครัวเป็นระเบียบ เรียบร้อย และจัดเป็นสัดส่วน 0 8.7 91.3
12 ท่านใช้น้ำยาล้างจานในการทำความสะอาดภาชนะและล้างด้วยน้ำเปล่า 2 ครั้ง 0 4.3 95.7
การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 13 ท่านเตรียมวัตถุดิบอาหารหรือวางภาชนะที่ใส่อาหารบนโต๊ะที่สูงจากพื้นอย่างน้อย 60 ซม. 4.8 14.3 81.0
14 ท่านมีการแยกวัตถุดิบระหว่างอาหารสด อาหารแห้งและอาหารปรุงสำเร็จเพื่อเตรียมปรุงอาหาร 0 4.3 95.7
15 ท่านทำความสะอาดผัก ผลไม้ ด้วยวิธีการ ปลอดภัย เช่น ล้างด้วยการเปิดน้ำไหลผ่านก่อนที่จะนำมาปรุงอาหาร/การใช้เบคกิ้งโซดา 0 8.7 91.3
16 ท่านล้างวัตถุดิบ เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้รวมกันในครั้งเดียว 56.5 4.3 39.1
17 ท่านใช้เขียงอาหารดิบและอาหารสุกร่วมกันในการประกอบอาหาร 45.5 18.2 36.4
18 ท่านใช้น้ำมันเก่าผสมกับน้ำมันใหม่ในการปรุงอาหาร 56.5 26.1 17.4
19 ท่านดูแลความสะอาดของร่างกาย เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าสะอาด สวมหน้ากากอนามัย สวมถุงมือ หมวก และผ้ากันเปื้อนที่สะอาด 4.3 13.0 82.6
20 ท่านมีการล้างมือด้วยสบู่/ เจลแอลกอฮอล์ ก่อนสัมผัสอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ในการเตรียม ปรุง จำหน่ายและเสิร์ฟอาหาร 0 17.4 82.6
21 ท่านมีการใช้ประโยชน์จากอาหารเหลือทิ้งด้วยการเป็นอาหารสัตว์ หรือปุ๋ยหมัก 9.1 18.2 72.7
22 ท่านจัดการของเสียจากกระบวนการอาหารกลางวัน เช่นน้ำมันทอดซ้ำ น้ำล้างวัตถุดิบ เศษอาหาร ถูกหลักสุขาภิบาล 4.3 21.7 73.9
การขนส่ง 23 ท่านมีการจัดส่งอาหารไปสู่ผู้บริโภค โดยไม่มีฝาปิดให้มิดชิด 73.9 13.0 13.0
2.24 เมื่อท่านจัดทำอาหารปรุงสำเร็จพร้อมบริโภค มีการเก็บแยกเป็นสัดส่วน ปกปิดและไม่วางบนพื้น 4.3 4.3 91.3
25 ท่านให้ผู้บริโภคหยิบอาหารได้ตามใจชอบ และสามารถใช้มือหยิบในภาชนะได้เลย 69.6 8.7 21.7
26 ท่านดูแลรักษาความสะอาดของพื้นที่ บริการอาหาร/เสิร์ฟอาหาร ที่ส่งผลต่อการปนเปื้อนสู่อาหารได้ 4.3 8.7 87.0
27 ท่านนำภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมีมาใช้บรรจุอาหาร เช่น ถังสี/ถังน้ำมัน 73.9 8.7 17.4
28 ท่านมีการปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะส่วนบุคคล เช่น ตัดเล็บ ความสะอาดของเสื้อผ้า ไม่ไอหรือจามรดอาหาร 8.7 4.3 87.0

ตารางที่ 4 ระดับคะแนนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในอาหารในด้านต่าง ๆ ของผู้ปรุงประกอบอาหาร ความปลอดภัยในอาหารด้านต่าง ๆ คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดหาวัตถุดิบอาหาร 21 19.0 1.6 การเตรียมปรุง (สถานที่และวัสดุอุปกรณ์) 15 14.5 1.2 การเตรียมปรุง (กระบวนการเตรียมอาหาร) 30 26.2 2.7 การขนส่ง 18 16.1 2.1 รวมทั้งหมด 84 75.7 6.0

สรุปผลกระบวนการเรียนรู้ของแกนนำชุมชนใช้เครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะ
ประเด็นระบบอาหารและโภชนาการ จ.ปัตตานี ตำบลสุคิริน จ.นราธิวาส และเทศบาลตำบลปริก รอบที่ 1 วันที่ 22-23 เมษายน 2567 ณ โรงแรมซีเอส ปัตตานี รพ.สต. ……ทรายขาว...… อำเภอ……....…โคกโพธิ์……....…จังหวัด………………ปัตตานี…………….

ลำดับที่ ผลการเรียนรู้การใช้เครื่องมือ เครื่องมือ 1: Systems Map เพื่อให้เห็นระบบอาหารของพื้นที่ เครื่องมือ 2: Problem Statement
เพื่อระบุประเด็น (ใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights) เครื่องมือ 3:
How might we?
ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ เครื่องมือ 4:
Ideation – Idea flower ร่างโครงการ วันที่ 1 การเติบโตทางเศรษฐกิจและการกระจายราย - เปลี่ยนจากปลูกข้าวไปปลูกทุเรียนแทน ราคาทุเรียนได้มากกว่า

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ - สภาพแห้งแล้ง ทำให้การเพาะปลูกและการเกษตรได้รับผลผลิตน้อยลง

นโยบาย มาตรการ กฎหมาย - ราคายางขึ้น ทำให้มีกำลังในการซื้ออาหารในครัวเรือนมากขึ้น

ความเป็นเมือง - พื้นที่เป็นชุมชนท่องเที่ยว สามารถสร้างรายได้ให้คนในชุมชน

การเติบโตของประชากรและการย้ายถิ่น - ไม่อยากมีลูก เนื่องจากว่างงาน มีรายได้น้อย

บริบททางสังคม-วัฒนธรรม - เป็นพหุวัฒนธรรมมีทั้งศาสนาอิสลาม/พุทธ อยู่ร่วมกัน ไม่แตกแยก - ช่วงเดือนรอมฎอน(ถือศีลอด) เด็กจะงดมื้อและรอรับประทานอาหารช่วงละศีลอด(ค่ำ)

โลกาภิวัฒน์และการค้าระหว่างประเทศ - ทุเรียนส่งไปจีน - ส่งห้าง

ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนระบบ 1.ห่วงโซ่อุปทานอาหาร - พื้นที่อุดมสมบูรณ์
- ดินดี - น้ำเพียงพอ - เป็นสินค้า OTOP - มีการแปรรูปอาหารและส่งจำหน่ายไปยังพื้นที่ต่างๆ - มีการจำหน่ายในพื้นที่และพื้นที่ข้างเคียง เนื่องจากเพียงพอในพื้นที่ - ปลูกพืช,ผลไม้เฉพาะ ทำให้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ - มีการผลิตอาหารเอง เช่น ปลูกผัก,เลี้ยงปลา,เลี้ยงไก่ - มีสภาพแวดล้อมที่ดี - ทุเรียนทรายขาวสร้างชื่อเสียงให้กับพื้นที่ ทำให้ได้รับการรู้จักจากพื้นที่อื่นๆ ในประเทศ

2.ปัจจัยแวดล้อม - อาหารบางอย่าง เป็นอาหารแช่แข็ง (ไม่สด) เพราะราคาถูก - มีตลาดวันอาทิตย์ - มีตลาดวันจันทร์/วันศุกร์ - อาหารในตลาดมีปนเปื้อนสารเคมี - ผลิตอาหารเน้นการสร้างรายได้มากกว่ารับประทาน - เป็นพื้นที่ที่คนรวยกระจุก คนจนกระจาย


3.ปัจจัยระดับครัวเรือน/ชุมชน/ร.ร./ศพด. - พ่อแม่ไม่มีเวลาทำอาหาร เนื่องจากต้องไปทำงาน - เด็กอยู่กับ ปู่-ยา-ตา-ยาย - มีโปรแกรมThai school lunch - หย่าร้าง - ฐานะทางการเงินของครอบครัวไม่ดี หาเช้ากินค่ำ

4.พฤติกรรมการจัดการอาหารของครู/แม่ครัว - คุณแม่ไปทำงานให้ลูกทานนมผสม/นมกล้อง - ซื้อจากร้านขายอาหารเช้า - บางครอบครัวทำเอง - ไม่คำนึงถึงโภชนาการ(ไม่มีเวลา) - ขึ้นอยู่กับความชอบของลูก - ทางร.ร./ครูโภชนาการ ได้รับการอบรมและจัดทำเมนูอาหาร+มีการอบรม - เก็บอาหารที่เหลือใช้กินมื้อต่อไป - ปัญหาจากเด็ก   1.)เด็กไม่ชอบทานนม   2.)เด็กไม่ชอบทานปลา   3.)เด็กไม่ชอบทานผัก - พ่อแม่เร่งรีบไม่มีเวลาจัดเตรียมอาหารให้ - เด็กตื่นสาย - เด็กเบื่อการทานอาหาร แค่นมก็พอ - ปัจจัยที่มีผลต่อการทานอาหารครบ 5 หมู่ ขาดความรู้ ความเข้าใจในความหมายของคำว่า 5 หมู่ ว่ามีอาหารประเภทใดบ้าง

5.อาหารที่รับประทาน - มื้อเช้า   1.)ข้าวต้ม/โจ๊ก   2.)นมกล่อง   3.)ข้าวเหนี่ยวไก่ทอด   4.)ข้าวหมก ไม่ครบโภชนาการ ไม่ครบอาหารหลัก 5 หมู่ ส่วนใหญ่ซื้อจากร้านในชุมชนและทำกินเองส่วนน้อย เด็กบางคนไม่ชอบกินข้าว -มื้อกลางวัน(ร.ร./ศพด.)   1.)ขึ้นอยู่กับอาหารที่ศูนย์เด็กจัดให้/นม   2.)ผลไม้   3.)อาหารว่าง -มื้อกลางวัน(อยู่บ้าน)   1.)ก๋วยเตี๋ยว/ผัด/น้ำ   2.)ข้าวไข่เจียว   3.)มาม่า

-มื้อเย็น   1.)พ่อแม่ ปรุงเองที่บ้านเอง   2.)อาหารปรุงสำเร็จ(แกงถุง) -มื้ออาหารว่าง   1.)นมเปรี้ยว   2.)ขนมกรุบกรอบ/ขนมซอง   3.)ลูกชิ้น   4.)อาหารสำเร็จรูป ใคร = พ่อ-แม่ ปัญหา = ไม่ทันเตรียมอาหารให้ลูก เพราะอะไร = เพราะรีบไปทำงานต่างพื้นที่,ไม่มีเวลาทำอาหารให้ลูกกินในมื้อเช้า

ใคร = คนในครอบครัวที่ดูแล-เลี้ยงดูเด็ก ปัญหา = ไม่มีเวลาจัดเตรียมอาหาร เพราะต้องเร่งรีบในการประกอบอาชีพ ทำอะไร = ต้องให้ความรู้ ความเข้าใจในปัญหาที่จะส่งผลต่อลูกในอนาคต/สมอง เพราะอะไร = ไม่มีความรู้และความเข้าใจถืองผลเสียของการกินอาหารไม่ครบ

ใคร = พ่อแม่-คนดูแล ทำอะไร = ตามใจเด็กในสิ่งที่เด็ก/ลูกต้องการหรือถูกใจ แต่ไม่ถูกต้อง เพราะอะไร = ไม่ดีต้องแก้ไขพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องจะต้องไม่ตามเด็กใจเด็ก

ใคร = พ่อ-แม่ ปัญหา = สภาพปัญหาทางครอบครัว,พ่อแม่อย่าร้างกัน เพราะอะไร = ทำให้เด็กขาดคนดูแล


ใคร = เด็ก ปัญหา = เลือกอาหารที่ชอบ การแก้ = ต้องให้ผู้ปกครอง ทำให้หลากหลายเมนูแต่ละวันไม่ซ้ำ

ใคร = เด็ก ปัญหา = ไม่อยากกินข้าว เพราะอะไร = กินขนม กินนมเป็นส่วนมากเลย ทำให้ไม่อยากกินข้าว

ใคร = ชุมชน/ตลาด ปัญหา = การจำหน่ายอาหาร เพราะอะไร = มีการจำหน่ายอาหารที่มีรสชาติทานได้ไม่เบื่อ ทำให้เด็กเลือกกินแต่อาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดมากกว่าอาหารที่มีประโยชน์ เช่น เฟรนช์ฟราย,ไส้กรอก,ชานม,ชาไข่มุก

ใคร = พ่อ-แม่ ปัญหา = ความรู้ที่ไม่เพียงพอ,ความเชื่อที่ผิด เพราะอะไร = เชื่อว่าเด็กจะโตตามช่วงวัยและไม่มีความรู้เพียงพอต่อประเภทอาหาร จึงความเข้าใจผิดในการดูแลเรื่องอาหารของลูก

ใคร = รัฐบาล ปัญหา = แจกนมจืดที่ไม่อร่อย เด็กไม่ชอบทาน แก้ไข = นำมาแปรรูปอาหาร จากนมเป็นนมอัดเม็ด(รสชาติต่างๆ)

- เราจะทำอย่างไรให้แบ่งเวลาให้กับลูกก่อนทำงาน

- เราจะทำอย่างไรให้รัฐบาลต่อยอด จากอาชีพที่ได้ส่งเสริมหรือให้งบ เพื่อสร้างอาชีพสร้างรายได้ที่ถาวร - เราจะทำยังไง ให้รัฐบาลลดค่าครองชีพลง เพื่อให้ผู้ปกครองมีเวลาดูแล-ใส่ใจลูกได้มาก - แปรรูปอาหารในหน้าดึงดูดและมีสีสัน ทำให้หน้ารับประทานมากขึ้น - จะทำยังไงให้เล่นโทรศัพท์ระหว่างกินอาหาร - ไม่ให้อาหารถุงมาให้เด็กทาน ด้วยเวลาเร่งรีบทีจะต้องออกไปทำงานต่างพื้นที่ เพื่อสร้างรายได้ให้ครอบครัว - เราจะทำอย่างไร มีการจัดกิจกรรมภายในหมู่บ้านในเรื่องอาหารที่มีประโยชน์ - เราจะทำอย่างไร ให้การเตรียมอาหารให้กับลูกเป็นเรื่องสนุกและถูกโภชนาการ - ให้รัฐบาลเปลี่ยนจากเงินส่งเคราะห์บุตร เป็นเงิน เนื้อ-นม-ไข่ (ของอุปโภคบริโภคในครัวเรื่อง) สิ่งที่ทำได้เลย - มีการแสดงจากกลุ่มคนดังในพื้นที่ชุมชนหรือพื้นที่ใกล้เคียง - มีการพบปะพูดคุยในชุมชนและแลกเปลี่ยนความรู้ในเรื่องอาหาร

ไอเดียไม่ใช้งบ - คอนเทนต์ประกอบอาหารลง Tik Tok - เสนอสส.ในชุมชน/เขตรับผิดชอบ เพื่อแก้ปัญหาต่อไป

ไอเดียสำหรับเด็ก - ประกวดเด็กสุขภาพดี - เชฟเด็กน้อย เมนูเด็กๆ - กินอาหารมีประโยชน์ เช่น กินผัก,ผลไม้,นม เก็บแต้ม เพื่อแลกรับของและได้ของมี่อยากได้ ไอเดียสำหรับเด็ก - ปลูกผักปลอดสารพิษกับลูกหลาน - ปลูกผักปลอดสารพิษให้กับคนในครอบครัว

ร้านค้า/7-11 - แปรรูปผัก/ผลไม้อบกรอบ - ซื้อผักในร้านค้า/7-11 ได้แต้ม - การขนส่ง ลดราคาการขนส่งในอาหารที่มีโภชนาการดี


ชุมชนมีส่วนเกี่ยวข้อง - ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการรับบริจาคเผื่อใช้จัดกิจกรรม - จัดกิจกรรมประจำปีในการประกวดเด็กดีโภชนาการเยียม - มีตลาดนัดอาหารเพื่อสุขภาพทุก 1-2 วันของสัปดาห์ - เชฟกระทะเหล็กในกลุ่มเด็กเล็ก

กระแสออนไลน์ - เชิญชวนเน็ตไอดอลในชุมชน/ดาว Tik Tok - มีเพจประจำหมู่บ้าน เช่น Facebook ,Tik Tok,Twitter, IG , Youtube

วันที่ 2 ความรู้ พฤติกรรม การบริโภคอาหารของคนในพื้นที่ “ตำบลทรายขาว” 1.สิ่งที่เกิดขึ้น - ไม่มีอาหารให้บริโภค - รายได้ไม่เพียงพอ - การศึกษา - มีความรู้ไม่เพียงพอ - ดำเนินชีวิตตามความเคยชิน - เวลาที่เร่งรีบ

2.ปัจจัยส่วนบุคคล - ความเชื่อส่วนบุคคล - ในหญิงหลังคลอดจะเลือกบริโภคเฉพาะปลา - หญิงตั้งครรภ์ไม่ค่อยกินอาหารเสริมธาตุเหล็กมีความเชื่อว่ากินแล้วจะทำให้โตในครรภ์ - เน้นกินอาหารที่มีพลังงานสูง เพื่อใช้งานในแต่ละวัน

3.ปัจจัยแวดล้อม - เศรษฐกิจ - อาชีพ - พื้นที่อุดมสมบูรณ์ - เปลี่ยนความคิดการเพาะปลูกจากปลูกข้าวมาปลูกทุเรียน - เน้นปลูกพืชเศรษฐกิจมากกว่าพืชผักสวนครัว - อุทยานน้ำตกทรายขาว - มัสยิด 300 ปี -ทุเรียนพรีเมียม (หมอนทอง)

4.ปัจจัยภายนอก - สื่อโฆษณาชวนเชื่อ - ร้านค้า/ค่าเฟ่ เปิดใหม่มากขึ้น - ร้านค้าออนไลน์และระบบขนส่งสะสวกขึ้น - สื่อจากการเช็คอินร้านค้าเช่น Facebook ,Tik Tok,Twitter, IG , Youtube
5.พฤติกรรม - เลือกกินอาหารที่ชอบ - เลือกซื้ออาหารที่ไม่มีคุณภาพและไม่มีอย. - ไม่อ่านฉลากก่อนเลือกบริโภค - กินอาหารค้างคืน - เลือกซื้ออาหารปรุงสำเร็จ เช่น แกงถุง - กินอาหารสำเร็จรูป - อาหารแช่แข็ง - โรคประจำตัว เช่น  ความดัน,เบาหวาน,เก๊าท์
- สภาพอากาศที่ร้อน ใคร = พ่อ-แม่ ปัญหา = ไม่มีเวลาในการหาวัตถุดิบ

ใคร = คนในครอบครัวที่ดูแล-เลี้ยงดูเด็ก ปัญหา = ขาดความตะหนักในการเลือกบริโภคอาหาร

ใคร = คนในครอบครัวที่ดูแล-เลี้ยงดูเด็ก ปัญหา = ความเชื่อในเรื่องอาหารบางชนิด

ใคร = คนในครอบครัวที่ดูแล-เลี้ยงดูเด็ก ปัญหา = ขาดความรู้,ความเข้าใจในเรื่องการเลือกบริโภคอาหาร - เพิ่มบทเรียนในห้องเรียน - ส่งเสริมกิจกรรมการเลือกบริโภคอาหาร - มีตลาดสุขภาพในชุมชน - เพิ่มแหล่งเรียนรู้ในชุมชน - อบรมให้ความรู้ในแต่ละช่วงวัยจากผู้เกี่ยวข้อง - มีการประกวดสุขภาพดีภายในชุมชน - ส่งเสริมรับประทานอาหารที่หลากหลาย - ในชุมชนมีร้านอาหารเพื่อสุขภาพ - เผยแพร่สื่อโซเซียลในช่องทางออนไลน์ Facebook ,TikTok,Twitter, IG , Youtube
- ทำอาหารที่มีประโยชน์และที่ดีต่อเด็กทุกกลุ่มวัย - ส่งเสริมในครัวเรือนปลุกผัก ,เลี้ยงไก่,เลี้ยงปลา ไว้กินเอง - ประเมินภาวะโภชนาการก่อนรับเงินอุกหนุนเพิ่ม-ลดตามสภาพปัญหาของแต่ละคน - เราจะทำอย่างไรให้การกินอาหารสำเร็จรูปลดลง - กลุ่มคนเปราะบาง   1.)ด้อยโอกาส   2.)หญิงตั้งครรภ์   3.)พิการ   4.)สูงอายุ - เราจะทำอย่างไร ให้ประชาชนกินอาหารครบ  5 หมู่

สิ่งที่ทำได้เลย - ให้ความรู้และนะไปใช้ในชีวิตประจำวัน ไอเดียไม่ใช้งบ - ส่งต่อกันในกลุ่มไลน์ ชุมชนมีส่วนเกี่ยวข้อง - เปิดตลาดสุขภาพในชุมชน - จัดกิจกรรมในเรื่องโภชนาการ กระแสออนไลน์ - ทำคลิปลงช่องทางออนไลน์ เช่นFacebook ,Tik Tok,Twitter, IG , Youtube

ไอเดียประชาชน - ลบความเชื่อในด้านที่ผิดเกี่ยวกับโภชนาการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปกิจกรรมประชุมตำบลทรายขาว วันที่30 พฤษภาคม 2567
สถานที่ รพ.สต.ทรายขาว เนื่องจากทางตำบลทรายขาวได้เห็นความสำคัญของโภชนาการด้านอาหารของเด็กที่ยังไม่ครบ5หมู่และหาวิธีการให้เด็กกินผักให้มากขึ้น รวมถึงความสำคัญของอาหารเช้า จึงคิดทำโครงการดังนี้ โดยการการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทน รพ.สต.ทรายขาว -อสม. -ครูศพด.ทรายขาว -ผู้ใหญ่บ้าน -ปลัด -ผู้ใหญ่บ้าน มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน • ตลาดนัดวิชาการด้านโภชนาการ • ส่งเสริมการเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียนสนับสนุนและเมล็ดพันธุ์พืช • ปลูกผักปลอดสารในโรงเรียนและชุมชน • อบรมให้ความรู้และโทษของอาหารแต่ละประเภทโดยเฉพาะอาหารที่จำหน่ายในพื้นที่ • จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนวิธีการปรุงอาหารของแม่ครัวแต่ละโรงเรียน • จัดกิจกรรมทำอาหารครบ 5 หมู่สำหรับเด็กนักเรียนในวัดเสาร์อาทิตย์ • จัดกิจกรรมแผงลอยเมนูอาหารสำหรับเด็ก • ให้เด็กกินไข่ต้มก่อนมาโรงเรียนวันละ 1 ฟอง • ปลูกผักแลกตังค์เลี้ยงไก่ได้กินไข่ • ชุมชนเลี้ยงไก่ส่งไข่ให้โรงเรียน • ประกวดหนูน้อยฟันดี • จัดเวทีพูดคุยกิจกรรมร่วมกันระหว่างวัดบ้านพ่อแม่โรงเรียนครูและนักเรียน • ปลูกผักข้างรั้วบ้านรั้วโรงเรียน • จัดเมนูอาหารที่เด็กชอบโดยไม่กินซ้ำกันในแต่ละวัน • แลกเปลี่ยนพันธุ์ผักแต่ละฤดูกาล • ให้นักเรียนทำกิจกรรมการทำอาหารโดยเอาผักปลอดสารพิษที่ปลูกเองคนละอย่างมาทำร่วมกันและรับประทานร่วมกัน • จัดอาหารเช้าในโรงเรียนทุกวัน • เลี้ยงไก่ไว้ในโรงเรียน • ประกวดเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ การระดมความคิดชื่อโครงการ • โครงการเยาวชนพ้นภัยผอมเตี้ย • โครงการปลอดสารพิษชีวิตปลอดภัย • โครงการอาหารหลัก 5 หมู่เพื่อหนูน้อย • โครงการส่งเสริมโภชนาการเด็กในโรงเรียน • โครงการเด็กสมบูรณ์พ่อแม่สุขใจ • โครงการพัฒนาเด็กปฐมวัยใส่ใจสุขอนามัย • โครงการชีวิตหนูจะปลอดภัยต้องอาศัยฝีมือแม่ครัว • โครงการอาหารเช้าอิ่มท้องสมองดี • โครงการอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค • โครงการอาหารถูกหลักลูกหลานถูกใจสุขภาพเด็กสมวัย • โครงการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ปกครอง • โครงการเด็กทรายขาวสุขภาพดีแข็งแรงอาหารอร่อย • โครงการตลาดสุขภาพชุมชนปลอดภัยเพื่อเด็กและครอบครัว • โครงการเยาวชนเข้าใจรู้ภัยโภชนาการ • โครงการคุณยายเข้าใจรู้ภัยโภชนาการ • โครงการอาหารปลอดภัยจากใจผู้ประกอบการ • โครงการผู้ปกครองใส่ใจตระหนักภัยโภชนาการ • โครงการตอบรับแผนสุขภาพเด็กตำบลทรายขาวโดยผู้ปกครอง • โครงการอาหารดีมีประโยชน์สุขภาพแข็งแรงปลอดภัยใส่ใจลูกหลาน • โครงการอาหารมื้อนี้ดีจังผู้ปกครองไม่ควักตังค์สักบาท • โครงการอบรมให้ความรู้ผู้ปกครองเพื่อเตรียมพร้อมเด็กก่อนวัยเรียนด้านโภชนาการ • โครงการงบประมาณที่ให้ต้องเพียงพอกับอาหารหลัก 5 หมู่ • โครงการสร้างเสริมสุขภาพเด็กด้วยอาหารเช้าของโรงเรียน ข้อแนะนำ จากการมาประชุมครั้งนี้ • ได้รับความรู้มากขึ้น • จะนำความรู้ที่ได้ไปใช้กับเด็กๆในศูนย์เด็กเล็กทรายขาว • ได้รับความรู้ทั้งจากดูวีดีโอเด็กที่มีความรับผิดชอบมีความเป็นระเบียบและความรู้ที่ได้จากการคืนข้อมูล • จะนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ในชุมชน • ได้รับความรู้ความเข้าใจกับสิ่งที่ได้รับฟัง • ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เข้าร่วมอบรมเป็นความรู้ที่ใกล้ตัวและจะนำแนวคิดมาใช้กับเด็กในโรงเรียน • เป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน • จะนำความรู้ที่ได้ไปจัดกิจกรรมที่โรงเรียน • เป็นกิจกรรมที่ดีเพื่อพัฒนาเด็กครูแม่ครัวในการจัดกิจกรรมโภชนาการเราจะได้เดินทางไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้เด็กมีสุขภาพที่ดีกินอาหารที่มีประโยชน์ • ได้ทราบภาวะปัญหาจากแบบสำรวจที่แท้จริงเพื่อคิดกิจกรรมและโครงการในลำดับต่อไป • อยากให้กิจกรรมในวันนี้มีการต่อยอดให้เด็กในพื้นที่ทรายขาวได้ผ่านเกณฑ์ 100% • ได้รับความรู้และความภูมิใจที่จะนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก • ถือเป็นการระดมความคิดจากทุกฝ่ายในพื้นที่เด็กๆจะต้องมีสุขภาพดีขึ้นในอนาคต • ได้รับความรู้มากๆเกี่ยวกับหลักโภชนาการและจะนำมาใช้กับตนเองเพื่อเน้นการกินอาหารให้ถูกหลักอนามัยสะอาดและปลอดภัยใส่ใจต่อสุขภาพ

  • photo 1717119136686.jpg1717119136686.jpg
  • photo IMG_20240530_154606.jpgIMG_20240530_154606.jpg
  • photo IMG_20240530_151855.jpgIMG_20240530_151855.jpg
  • photo IMG_20240530_151746.jpgIMG_20240530_151746.jpg
  • photo IMG_20240530_144947.jpgIMG_20240530_144947.jpg
  • photo IMG_20240530_135817.jpgIMG_20240530_135817.jpg
  • photo IMG_20240530_132636.jpgIMG_20240530_132636.jpg

 

0 0

12. การประชุมพัฒนาโครงการฉบับบย่อประเด็นอาหารและโภชนาการ ต.สุคิริน

วันที่ 6 มิถุนายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สรุปผลกระบวนการเรียนรู้ของแกนนำชุมชนใช้เครื่องมือพัฒนานโยบายสาธารณะ
ประเด็นระบบอาหารและโภชนาการ จ.ปัตตานี ตำบลสุคิริน จ.นราธิวาส และเทศบาลตำบลปริก รอบที่ 3 วันที่ 29-30 เมษายน 2567 ณ โรงแรมซีเอสปัตตานี รพ.สต. ……สุคิริน…… อำเภอ……………สุคิริน……..จังหวัด……นราธิวาส……

ลำดับที่ ผลการเรียนรู้การใช้เครื่องมือ เครื่องมือ 1: Systems Map เพื่อให้เห็นระบบอาหารของพื้นที่ เครื่องมือ 2: Problem Statement
เพื่อระบุประเด็น (ใคร มีปัญหาอะไร เพราะอะไร หา insights) เครื่องมือ 3:
How might we?
ฝึกตั้งคำถามเพื่อมองโจทย์ในมุมใหม่ ๆ เครื่องมือ 4:
Ideation – Idea flower ร่างโครงการ วันที่ 1 การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ - น้ำท่วม -ดินสไลด์ 1.ปัจจัยแวดล้อม - มีการเพาะปลูกเลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ในครัวเรือน - ประชาชนในชุมชน 40 % รับจ้างกรีดยาง รายได้น้อย - ราคาอาหารที่ดีต่อสุขภาพมีราคาสูง - สินค้าอาหารในชุมชนไม่มีความหลากหลาย - ในชุมชุนมีอาหารสำเร็จรูป เช่น ของทอดต่าง ๆ - ในชุมชนมีอาหารธรรมชาติในพื้นที่ 39 %

2.ปัจจัยระดับครัวเรือน/ชุมชน/ร.ร./ศพด. - สมาชิกในครอบครัวมีจำนวนเยอะ รายได้ไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย - ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกรีดยาง - รูปแบบการปรุงเน้นรสชาติ หวาน มัน เค็ม - ชาวบ้านมีวิถีชุมชนแบ่งปันวัตถุดิบ การช่วยเหลือกัน
- ผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา เข้าถึงชุมชน ครอบครัวเปราะบาง 3.พฤติกรรมการจัดการอาหารของครู/แม่ครัว/ผู้ปกครอง - ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของผู้ปกครองก่อนเพราะมีอิทธิพลต่อลูก - ตลาดนัดชุมชนขายอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพไม่ดี - ราคายางตกต่ำส่งผลต่อรายได้ของผู้ปกครอง - ในชุมชนมีตลาดนัดและรถเร่ขายของ 4.อาหารที่รับประทาน - มื้อเช้า   1.) ส่วนใหญ่ไม่ได้ทานที่บ้าน - มื้อจุกจิก   1.) ในร้านค้าในโรงเรียน 5.สารอาหารและผลต่อสุขภาพ - กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดัน สูงขึ้นทุกปี - มีภาวะทุกโภชนาการ - 90% มีสารเคมีในเลือดจากการสุ่มตรวจ ใคร = พ่อแม่ ปัญหา = ทำอาหารรสชาติที่พ่อแม่กินทำให้เด็กติดรสชาติตามพ่อแม่

ใคร = แม่ค้า ปัญหา = ทำอาหารที่ไม่มีคุณภาพและไม่คำนึงถึงหลักโภชนาการ

ใคร =แม่ครัวในโรงเรียน ปัญหา = เลือกวัตถุดิบที่ต้นทุนต่ำไม่เน้นคุณภาพ

ใคร = คนในชุมชน ปัญหา = ไม่ตระหนักเรื่องโภชนาการ

- เราจะทำอย่างไรให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์

- เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองหวาดกลัวต่อการบริโภคอาหารที่ทำให้ลูกมีภาวะทุกโภชนาการ - เราจะทำอย่างไรให้คนในชุมชนมีความรู้และความตระหนักด้านอาหารเพิ่มมากขึ้น - เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนมีแหล่งอาหารที่ปลอดภัยเพิ่มขึ้น - เราจะทำอย่างไรให้ผู้ปกครองมีมุมมองในเรื่องการบริโภคอาหารที่ดีของตนเองและครอบครัว - เราจะทำอย่างไรให้แม่ค้าขายอาหารที่มีประโยชน์และต้นทุนต่ำ - เราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่รู้จักโน้มน้าวใจให้เด็กกินอาหารที่มีประโยชน์ - เราจะทำอย่างไรให้มีค่านิยมบริโภคอาหารที่มีคุณภาพ

ทำอย่างไรให้อาหารสุขภาพกลายเป็น เทรนของชุมชน

ไอเดียรักษ์โลก - ผลิตบรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติในชุมชน ไอเดียที่ทำกับต่างประเทศ - จัดทำนิทรรศการอาหารนานาชาติจากวัตถุดิบในชุมชน ไอเดียที่ชุมชนมีส่วนร่วม - ให้ผู้นำชุมชนเป็นแบบอย่างในการรักสุขภาพ ไอเดียที่ใช้AI -  ออกแบบตัวการ์ตูนโปรโมทอาหารสุขภาพ ไอเดียสำหรับผู้สูงอายุ - ดัดแปลงอาหารพื้นบ้านให้ทันสมัยตามยุค ไอเดียที่ทำให้เป็นกระแสออนไลน์ - โปรโมทในสื่อสังคมออนไลน์ -สร้าง  content  บนโลกโซเชียล ไอเดียที่ทำกันเป็นปกติในการแก้ปัญหานี้ - สร้างสูตรอาหารที่มีคุณภาพ ดึงดูดและน่าสนใจ - มีตรารับรองมาตรฐานผู้ประกอบการอาหารปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ - จัดเมนูอาหารที่มีประโยชน์ - ปรับอาหารให้มีสีสัน หาวัตถุดิบที่เด็กชอบมาใส่ในอาหาร - ถามเด็กว่าอยากกินอะไรแล้วให้ผู้ปกครองใช้วัตถุดิบที่เด็กอย่างกินร่วมกับวัตถุดิบที่มีประโยชน์ - ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ ไอเดียที่ทำได้เลยตอนนี้ - ทำเมนูอาหารพร้อมทานที่มีประโยชน์

ไอเดียที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน - สร้างชุดความรู้คุณค่าทางโภชนาการของวัตถุดิบในท้องถิ่น


ไอเดียสนุกสนาน - ประกวดเมนูอาหารปลอดภัย - แข่งขันการทำอาหารโดยใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชน ชื่อโครงการ/กิจกรรม :

วิธีการ/กระบวนการ

-

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

-

สิ่งที่ยังไม่แน่ใจ/ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม

-

วันที่ 2 ยาเสพติดในวัยรุ่น 1.ปัจจัยภายนอก - มีพ่อค้าในหมู่บ้าน - มีนโยบาย 5 เม็ดไม่ใช่ผู้ค้า - ราคาถูก 2.ปัจจัยแวดล้อม - เพื่อนชักชวน - หาซื้อได้ง่าย - ภาครัฐปล่อยปะละเลย

  1. .ปัจจัยส่วนบุคคล

- ตามเพื่อน - เด็กมีปัญหาครอบครัว - พ่อกินลูกกินตาม - ไม่เรียนหนังสือ - ไม่ทำงาน 4.พฤติกรรม - ก้าวร้าว - ทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่น - ขี้เกียจทำงาน - นอนทั้งวัน 5.สิ่งที่เกิดขึ้น - ฆ่าตัวตาย - เป็นภาระสังคม - ลักขโมย - จิตเวช - ชาวบ้านต้องอยู่อย่างหวาดระแวง - ขาดทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ - มีปัญหาด้านสุขภาพ ใคร =วัยรุ่น ปัญหา = ไม่เรียนหนังสือ เพราะ =เป็นช่วงคึกคะนอง


ใคร = วัยรุ่น ปัญหา = ว่างงาน เพราะ =ขาดความรู้

ใคร = วัยรุ่น ปัญหา = ไม่มีครอบครัว เพราะ =ขาดคนชักจูงไปในทางที่ดี

ใคร = พ่อแม่ผู้ปกครอง ปัญหา = - ไม่มีเวลา - ขาดจิตวิทยาในการสั่งสอนเด็ก เพราะ = - พ่อแม่ไม่มีความรู้ - พ่อแม่ไม่สั่งสอนไปในทางที่ดี - ขาดความอบอุ่น - พ่อแม่แยกทาง

ใคร = เพื่อน ปัญหา =เพื่อนชักจูงไปในทางที่ผิด เพราะ = เพื่อนติดยาอยู่แล้ว

ใคร =ชุมชน ปัญหา = - ผู้นำไม่เข้มแข็ง
- ขาดมาตรการชุมชน - ผู้นำไม่แก้ปัญหา - ผู้นำเอาแต่ผลประโยชน์ตนเอง เพราะ = ผู้นำกลัวผลกระทบกับผ็มีอิทธิพลและไม่อยากยุ่งกับเรื่องละเอียดอ่อน

- เราจะทำอย่างไรให้ปัญหายาเสพติดหมดไปจากชุมชน

- เราจะทำอย่างไรให้เด็กได้เรียนหนังสือ - เราจะทำอย่างไรให้เด็กทีภูมิคุ้มกันทางด้านความคิด - เราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่เข้าใจเด็ก - เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนปลอดยาเสพติด - เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนมีมาตรการที่เข้มแข็ง - เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนตระหนักถึงปัญหายาเสพติด - เราจะทำอย่างไรให้เด็กมกิจกรรมที่มีประโยชน์ - เราจะทำอย่างไรให้เด็กรู้พิษภัยของยาเสพติด - เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนเป็นเปราะป้องกันสอดส่องไม่ให้เด็กมั่วสุม - เราจะทำอย่างไรเราจะทำอย่างไรให้เด็กมีงานทำ - เราจะทำอย่างไรให้พ่อค้ามีจิตสำนึก - เราจะทำอย่างไรให้เข้าใจวิถีชีวิตของคนติดยา - เราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่เปิดใจยอมรับ - เราจะทำอย่างไรไม่ให้พ่อแม่งมงาย - เราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่เข้าใจถึงความสำคัญของการเรียน - เราจะทำอย่างไรให้วัยรุ่นกลัวตายและกลัวเป็นบ้าจากการติดยา - เราจะทำอย่างไรให้พ่อแม่ดูแลลูกให้มากกว่านี้ - เราจะทำอย่างไรให้สายใยในครอบครัวอบอุ่น - เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนมีมาตรการเป็นเกาะกำบังที่ไม่นำยาเสพติดเข้ามาในชุมชน - เราจะทำอย่างไรให้ผู้นำชุมชนและผู้นำศาสนาเห็นความสำคัญของยาเสพติด - เราจะทำอย่างไรให้ชุมชนตระหนักร่วมกันว่าถ้ามีคนติดยาเยอะวิถีชีวิตตัวเองก็จะไม่ปลอดภัย
ทำอย่างไรให้วัยรุ่นใช้เวลาว่างทำอาชีพเสริม ไอเดียสำหรับผู้หญิง - จัดกิจกรรม TO BE  Number 1 Idol
ไอเดียจากเกม - จัดแข่งขันเล่นเกมฟีไฟล์
ไอเดียที่ไม่ใช้งบประมาณ - นำวัสดุที่มีในชุมชนมาแปรรูปเพื่อส่งเสริมในอาชีพ ไอเดียการสร้าง Story telling - จัดกิจกรรมสร้าง Story โปรโมทชุมชน ไอเดียจากผู้ประกอบการภาคเอกชน - หารูปแบบสินค้าที่เป็นที่นิยม - ส่งเสริมอาชีพที่น่าสนใจ - เยาวชนผลิตสินค้าส่งร้านสะดวกซื้อ

ไอเดียจากกระแสออนไลน์ - ฝึกประสบการณ์ขายสินค้าออนไลน์

ไอเดียสนุกสนาน - จัดแข่งขันกีฬาต้านยาเสพติด -  หากิจกรรมเป้าหมายในชีวิต - จัดประกวดนวัตกรรมที่สามารถขายได้

ไอเดียที่ทำกันเป็นปกติในการแก้ปัญหานี้ - อบรมให้ความรู้ ปรับทัศนคติ ไอเดียที่ชุมชนมีส่วนร่วม - กำจัดแหล่งมั่วสุม - หาแบบอย่างที่น่าเชื่อถือ - ชุมชนต้องสอดส่องดูแล - ให้บุคคลต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในชุมชนมาแชร์ประสบการณ์ให้ฟัง

ชื่อโครงการ/กิจกรรม :<br />

วิธีการ/กระบวนการ

-

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

-

สิ่งที่ยังไม่แน่ใจ/ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม

-

ผลการสำรวจสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร และความรอบรู้ด้านอาหารของครัวเรือน
ในพื้นที่ ตำบลสุคิริน อำเภอ สุคิริน จ.นราธิวาส ตารางที่ 1 คุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง (n = 377) คุณลักษณะ จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 200 53.1 หญิง 176 46.7 ไม่ระบุเพศ 1 0.3 อายุ (ปี) (mean+SD) 53.78±13.05 ระดับการศึกษา ไม่ได้ศึกษา 39 10.3 ประถมศึกษา 203 53.8 มัธยมศึกษา/ปวช. 103 27.3 อนุปริญญา/ปวส. 9 2.4 ปริญญาตรี 18 4.8 สูงกว่าปริญญาตรี 1 0.3 รายได้ของครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือน
น้อยกว่า 5000 บาท 137 36.3 5001 – 10000 บาท 116 30.8 10001 – 15000 บาท 72 19.1 15001 – 20000 บาท 25 6.6 20001 – 25000 บาท 9 2.4 25001 – 30000 บาท 10 2.7 มากกว่า 30000 บาท 5 1.3 จำนวนสมาชิกในครัวเรือน (คน)  (mean+SD) อาชีพ รับจ้าง 88 23.3 รับราชการ 11 2.9 เกษตรกรรม 133 61.9 ประมง 2 0.5 ธุรกิจส่วนตัว 7 1.9 อื่น ๆ 35 9.3 วิธีการได้มาซึ่งอาหารของครัวเรือน ตารางที่ 2 รูปแบบการได้มาซึ่งอาหารในครัวเรือน (n =361 ) รูปแบบการได้มาซึ่งอาหาร จำนวนครัวเรือน (ร้อยละ) หมายเหตุ ผลิตอาหารเอง เหตุผลที่ไม่ได้ผลิตอาหารเอง 1.ไม่มีปัจจัยการผลิต ร้อยละ14.1……. 2.ไม่มีองค์ความรู้ ร้อยละ 4.5...... 3.ดิน น้ำไม่เหมาะกับการผลิต  ร้อยละ 4.5.... ทำไม่ไหว,ไม่มีเวลา,อุทกภัย รูปแบบการเกษตร 1. แบบอินทรีย์  ร้อยละ 3.7...... 2.แบบปลอดภัย ร้อยละ 23.6... 3.แบบอื่น ๆ  ร้อยละ 42.2....... - การเพาะปลูก 260(69.0)
- ปศุสัตว์ 24(6.4) - เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 15(4.0) - เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม -
ความพอเพียงของอาหารที่ผลิตในครัวเรือน
- พอเพียง 208(55.2)
- ไม่พอ 55(14.6)
หาจากธรรมชาติ 150(39.8) หาจากแหล่ง คลอง ป่า เขา


  สถานการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ตารางที่ 3 ร้อยละของครัวเรือนจำแนกตามระดับความไม่มั่นคงทางอาหารที่เกิดขึ้นใน 1 เดือนที่ผ่านมา (n = ) เหตุการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหาร ไม่เคยเกิดขึ้น น้อยครั้ง (1-2 ครั้ง) บางครั้ง (3-10 ครั้ง) บ่อยมาก (>10ครั้ง) 1 ท่านกังวล ว่าจะไม่มีเงินซื้ออาหารกินอย่างเพียงพอ 48.5 40.1 7.4 2.7 2 ท่านไม่สามารถหาอาหารที่ครบ 5 หมู่ (ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน/ไขมัน) เพียงพอสำหรับการบริโภคเพราะมีเงินหรือทรัพยากรไม่พอ 49.9 39.5 9.8 0.3 3 ท่านกินอาหารเพียงไม่กี่ชนิด (มีกิน แต่กินซ้ำๆ เดิม ๆ ไม่มีคุณภาพ) เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 53.1 25.2 18.3 2.9 4 ท่านต้องอดอาหารบางมื้อหรือกินบางมื้อน้อยลง เพราะเงินไม่พอหรือขาดทรัพยากรอื่นๆ ที่จะได้รับอาหาร (อดมื้อกินมื้อเพราะเงินไม่พอ) ไม่นับการถือศีลอด 79.8 19.4 2.1 1.1 5 ท่านรู้สึกหิวแต่ไม่ได้กิน เพราะเงินไม่พอ หรือขาดทรัพยากรอื่น ๆ สำหรับอาหาร 76.9 19.4 2.1 1.1 6 เคยมีช่วงเวลาที่ท่าน ไม่ได้กินอาหารเลยทั้งวันเพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่นๆ 82.5 14.3 1.6 1.3 7 ท่านได้รับการบริจาค การช่วยเหลือด้านอาหารจากหน่วยงาน เพื่อนบ้าน หรือองค์กร 66.6 28.5 3.7 0.8 8 ครัวเรือนของท่าน ขาดแคลนอาหารหรือไม่มีอาหารที่จะกินเลย เพราะขาดเงินหรือทรัพยากรอื่น ๆ 85.7 9.8 3.2 0.8 9 ครัวเรือนของท่านมีอาหารกินไม่เพียงพอสำหรับสมาชิกในครอบครัวครบ ทั้ง 3 มื้อ 69.0 25.2 2.9 2.1 10 อาหารที่มีในครัวเรือน ของท่านเป็นอาหารที่มีครบ 5 หมู่ ได้แก่ ข้าว เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ น้ำมัน) 21.5 35.8 33.4 8.8

ตารางที่ 4 การเตรียมความพร้อมของครัวเรือนเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติที่ผ่านมา การเตรียมพร้อม จำนวน (ครัวเรือน) ร้อยละ มีการเตรียมการ 230 61.0 ไม่มีการเตรียมการ 119 31.6

ความรอบรู้ทางอาหารของครัวเรือน ตารางที่ 5 จำนวน และ ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรอบรู้ในแต่ละประเด็น ประเด็นความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ จำนวน ร้อยละ ด้านการวางแผนและจัดการ
1 ท่านจะเอาเงินไว้สำหรับซื้ออาหารให้เพียงพอก่อนการใช้จ่ายซื้อสิ่งอื่น เช่น เครื่องประดับ เสื้อผ้า ของเล่นให้ลูก 358 95 2 ท่านจะคิดรายการอาหารที่จะกินไว้ล่วงหน้าเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถจะหาอาหารได้เพียงพอตามต้องการ แม้ในสภาวะที่สถานการณ์อาหารเปลี่ยนไป 301 79.8 3 ท่านตัดสินใจเลือกอาหารโดยดูจากความคุ้มค่า (มีประโยชน์ต่อร่างกาย) คุ้มราคา (เหมาะกับเงินที่มี) หรือ สะดวกในการจัดเตรียมหรือปรุง 354 93.9 ด้านการเลือกอาหาร
4 ท่านหาอาหารได้จากแหล่งต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ซื้อจากตลาด เพื่อนบ้าน ปลูก/หาได้เอง 370 98.12 5 ท่านจะอ่านฉลากเพื่อดูว่าอาหารประกอบด้วยอะไร เก็บรักษาแบบไหน และจะกินอย่างไร 348 92.3 6 ท่านจะสอบถามข้อมูลจากผู้ขายถึงแหล่งที่มา วิธีการกิน การเก็บรักษาเพื่อให้จัดการให้เหมาะสม 311 82.5 7 ท่านบอกได้ว่า อาหารชนิดใดดีหรือไม่ดีต่อสุขภาพ เมื่อทราบแหล่งที่มา หรือแหล่งผลิตอาหาร หรือองค์ประกอบ หรือจากการอ่านฉลากอาหาร 333 88.3 ด้านการเตรียมอาหาร
8 ท่านทำอาหารทานได้ไม่ว่าวัตถุดิบที่มีจะเป็นอะไร ด้วยอุปกรณ์เครื่องครัวเท่าที่มี 367 97.3 9 ท่านล้างมือทุกครั้งก่อนเตรียมอาหาร 372 98.7 10 ท่านล้างผักและเนื้อสัตว์โดยใช้น้ำไหลผ่านอย่างทั่วถึง 365 96.8 11 ท่านเก็บอาหารที่ทานไม่หมดไว้ในที่มิดชิด เช่น ตู้กับข้าว ครอบฝาชี หรือใส่ภาชนะที่มีฝาปิด 371 98.4 12 เมื่อกินอาหารกระป๋อง ท่านจะอุ่นทั้งกระป๋อง 335 88.9 ด้านการรับประทานอาหาร
13 ท่านรู้ว่าเด็กที่เตี้ยเป็นผลจากการกินอาหารไม่ครบถ้วน หรือกินอาหารไม่พอ 261 69.2 14 ท่านจะกินอาหารที่มีรสหวาน หรือมัน หรือเค็ม เป็นประจำ 226 59.9 15 ท่านคุมปริมาณอาหารเพื่อรักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนหรือผอมจนเกินไป 145 38.5 16 ท่านใส่ใจกับการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกวัน 212 56.2

ตารางที่ 6 คะแนนระดับความรอบรู้ทางอาหารในแต่ละด้าน ของครัวเรือน (n =  ) องค์ประกอบความรอบรู้ด้านอาหาร คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวางแผนและจัดการ 3 2.69 0.63 การเลือกอาหาร 4 3.61 0.80 การเตรียมอาหาร 5 4.80 0.61 การรับประทานอาหาร 4 2.24 1.07 คะแนนรวม 16 13.35 1.27

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สรุปกิจกรรมประชุมตำบลสุคิริน วันที่ 6 มิถุนายน 2567
สถานที่ อบต.สุคิริน เนื่องจากทางตำบลสุคิรินได้เห็นความสำคัญของโภชนาการด้านอาหารของเด็กที่ยังไม่ครบ5หมู่และหาวิธีการให้เด็กกินผักให้มากขึ้น  จึงคิดทำโครงการดังนี้ โดยการการประชุมมีผู้เข้าร่วมประชุม ตัวแทน รพ.สต.สว.นอก กรมปกครอง โรงเรียนบ้านจุฬาภรณ์ โรงเรียนพัฒนา7 ศพด.สุคิริน สอบต. อสม. ผู้ใหญ่บ้าน อบต.สุคิริน มีการระดมความคิดเพิ่มเติมถึงกิจกรรมที่อยากให้เกิดขึ้นในชุมชน • ส่งเสริมให้แม่ค้าผลิตอาหารที่มีประโยชน์มาจำหน่ายในตลาดชุมชน • นำวัตถุดิบที่มีในชุมชนมาดัดแปลงเป็นเมนูอาหารที่แปลกใหม่น่าสนใจ • อบต.จัดกิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษของตำบลสุคิริน • รณรงค์ให้มีการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวในสพด • จัดกิจกรรมส่งเสริมการเพาะปลูกผักเพื่อออกแบบอาหารให้กับเด็ก • ส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อสุขภาพ • คัดกรองเด็ก 0-5 ปีที่มีภาวะเตี้ยและทุกโภชนาการ • ส่งเสริมโปรตีนธาตุเหล็กและแคลเซียมในเด็ก • ให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารที่ดีอาหารที่มีประโยชน์แก่คนในชุมชน • ร่วมกันประกอบอาหารสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน • รณรงค์ปลูกผักใช้สมุนไพรไล่แมลงและปลูกผักกางมุ้งและให้ความรู้ในชุมชนและโรงเรียน • จัดตลาดปลอดสารพิษในชุมชน • ส่งเสริมการปลูกพืชรั้วกินได้ • ประชุมผู้ปกครองให้ความรู้เรื่องอาหารที่มีประโยชน์และพัฒนาการเจริญเติบโตของเด็ก • จัดสาธิตการทำอาหารดีมีประโยชน์ • ส่งเสริมให้ร้านอาหารหันมาสนใจในโภชนาการอาหารและความปลอดภัยของอาหาร • ส่งเสริมการสร้างแหล่งอาหารเพื่อความยั่งยืนในชุมชน การระดมความคิดชื่อโครงการ • โครงการพัฒนาการเจริญเติบโตของเด็ก • โครงการอาหารดีมีประโยชน์นำสู่สุขภาพที่ดี • โครงการการเกษตรเพื่อโภชนาการที่ดีในเด็กเล็ก • โครงการผักไร้สารชีวิตยั่งยืน • โครงการส่งเสริมโภชนาการเด็ก 0-5 ปี • โครงการเด็กสุคิรินกินดีมีพัฒนาการสมวัยด้วยระบบห่วงโซ่อาหารและโภชนาการ • โครงการเกษตรในครัวเรือนปลอดภัยไร้สารพิษ • โครงการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษเพื่อคนสุคิริน • โครงการแบ่งปันอาหารเด็กสุครินทร์ในพื้นที่ยากไร้ • โครงการอาหารยั่งยืนเพื่อชุมชนสุขภาพดี • โครงการปลูกผักริมรั้วปลอดสารพิษเพื่อชุมชนตำบลสุรินทร์ • โครงการอาหารดีมีประโยชน์นำสู่สุขภาพที่แข็งแรง • โครงการวัยใสสมวัยสุขภาพดีสมส่วนด้วยอาหารครบ 5 หมู่ • โครงการปลูกต้นขี้เหล็กตะไคร้ลดรายจ่ายเพื่อสุขภาพ • โครงการพัฒนาการเจริญเติบโตของเด็กเล็ก • โครงการตลาดดีมีสุขสร้างโภชนาการที่ดีเพื่อชาวสุคิริน • โครงการโภชนาการอาหารพืชผักปลอดสารพิษ • โครงการผักปลอดสารที่ดีเพื่อชีวิตของเด็กๆในโรงเรียน • โครงการกินเป็นสุขภาพดีชีวีมีสุข

กลุ่มเป้าหมาย • ผู้ประกอบการร้านค้า • ผู้ปกครองเด็ก • ประชาชนทั่วไปในชุมชน • โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก • แม่ค้าในตลาด • เด็ก 0 ถึง 5 ปี

ข้อคิดที่ได้จากการชมการจัดการระบบอาหารกลางวันของโรงเรียนประเทศญี่ปุ่น • ได้ความรู้เรื่องการพัฒนาทักษะในการช่วยตนเองของเด็ก • เด็กได้รับโภชนาการที่ดีครบ 5 หมู่จากการจัดการ • รูปแบบแนวทางการดูแลเด็กให้ได้รับอาหารและโภชนาการที่ดีสามารถนำมาปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม • ได้แนวคิดใหม่มาปรับใช้ในพื้นที่ให้เด็กได้รู้จักปลูกจิตสำนึกและได้รับอาหารที่มีประโยชน์ • ได้ความรู้การถนอมอาหารการเก็บรักษาอาหารให้อยู่ได้นาน • ได้เรียนรู้ถึงการปลูกฝังเด็กในเรื่องความสำคัญของอาหารความมีระเบียบวินัยในการใส่ใจในการจัดการขยะ • ได้เห็นถึงความสำคัญของการเลือกรับประทานอาหารมากขึ้น • ได้เรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนให้เด็กเลือกรับประทานอาหารเพื่อโภชนาการที่ดีและสมบูรณ์ • ได้เห็นถึงการปลูกฝังระเบียบวินัยในเด็กและเด็กได้ปฏิบัติได้อย่างดีเยี่ยม • เป็นแนวทางในการจัดการอาหารกลางวันให้เด็กครบ 5 หมู่ • เด็กได้รับอาหารที่ครบถ้วนด้านโภชนาการ • ได้รับความรู้เรื่องการบริโภคอาหารและรับประทานอาหารได้อย่างถูกวิธีและถูกสุขลักษณะ • ได้เห็นถึงความมีระเบียบวินัย • ได้เห็นถึงความรับผิดชอบของเด็กเกี่ยวกับอาหาร • เห็นถึงความใส่ใจเรื่องโภชนาการควบคู่ไปกับการเรียนการสอนในโรงเรียน ข้อแนะนำ จากการมาประชุมครั้งนี้ • ได้รับรู้ถึงผลการวิจัยของข้อมูลในพื้นที่สุรินทร์ในการบริโภคอาหารและการเจริญเติบโตของเด็ก • ได้ความรู้เรื่องอาหารที่ถูกสุขลักษณะ • ได้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น • ได้แลกเปลี่ยนระดมความคิดเรียนรู้การพัฒนาสุขภาพเด็กในพื้นที่สุคิริน • ได้รู้ประโยชน์คุณค่าทางอาหารของแต่ละประเภทเช่นเนื้อสัตว์ไข่ไก่ประโยชน์ของโปรตีนว่าจำเป็นกับเด็กมากน้อยเพียงใด • ได้เรียนรู้ถึงบริบทในชุมชนความสำคัญของอาหารหลัก 5 หมู่ • ได้นำความรู้ไปปรับใช้ในครัวเรือนและหมู่บ้าน • ได้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพและโภชนาการ • ได้รับรู้ถึงการบริโภคอาหารที่ครบถ้วนว่ามีผลต่อโครงสร้างร่างกายและสมองของเด็กเพียงใด • ได้เรียนรู้เกี่ยวกับอาหารดีมีประโยชน์และบริบทในชุมชน • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับในชุมชนและครอบครัว • ได้รับความรู้เรื่องปัญหาการบริโภคของคนในชุมชน • ได้รับรู้ถึงข้อมูลในชุมชนตำบลสุคิรินเรื่องโภชนาการและข้อมูลด้านต่างๆในชุมชน • ได้นำความรู้ที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลและจะดำเนินการในพื้นที่ในลำดับต่อไป

  • photo 1717744686803.jpg1717744686803.jpg
  • photo IMG_20240606_115847.jpgIMG_20240606_115847.jpg
  • photo IMG_20240606_093118.jpgIMG_20240606_093118.jpg
  • photo IMG_20240606_094534.jpgIMG_20240606_094534.jpg
  • photo IMG_20240606_114929.jpgIMG_20240606_114929.jpg
  • photo IMG_20240606_093640.jpgIMG_20240606_093640.jpg
  • photo IMG_20240606_094247.jpgIMG_20240606_094247.jpg
  • photo IMG_20240606_092719.jpgIMG_20240606_092719.jpg

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.พัฒนายกระดับต้นแบบการทําเกษตรกรรมยั่งยืนใน พื้นที่เป้าหมายและขับเคลื่อนให้เกิดการขยายผล (Model for Scaling up)
ตัวชี้วัด : 1. มีต้นแบบที่ยกระดับการทําเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่จํานวน 10 แห่งพร้อมถอดบทเรียนกระบวนการทํางานเป็นเอกสาร สําหรับนําไปใช้เสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการขยายผล (Modelfor Scaling up) ในพื้นที่เป้าหมาย 2. มีชุดความรู้/แนวทางปฏิบัติ/คู่มือ ในการยกระดับการทําเกษตรกรรมยั่งยืนอย่างน้อย 1 เรื่องคือ Model เกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางพารากรณีสามจังหวัดภาคใต้ชายแดน พร้อมทั้งนําไปใช้ขับเคลื่อนการดําเนินงาน และเผยแพร่สู่สาธารณะ

 

2 2.ขับเคลื่อนและยกระดับ โมเดล (good practice) ใน การกระจาย เชื่อมโยง ผลผลิต อาหารเพื่อสุข ภาวะให้กับ ประชาชนใน ชุมชน ผ่าน กลไกต่างๆ ไปสู่การขยาย ผล (Model for Scaling up)
ตัวชี้วัด : 1. เกิดรูปแบบการกระจายเชื่อมโยงผลผลิตอาหารที่เพิ่มการเข้าถึงอาหารเพื่อสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ Model forScaling up (โมเดลที่พร้อมขยายผล) อย่างน้อย 1 กรณีเช่น กลไกหน่วยงาน สหกรณ์การเกษตร ตลาดสีเขียวในชุมชนทั้งในรูปแบบออนไลน์และ onsiteพร้อมทั้งถอดบทเรียนกระบวนการทํางานเป็นเอกสาร และนําบทเรียนกระบวนการทํางานไปใช้ เสนอต่อผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากําหนดเป็นนโยบาย 2. มีชุดความรู้/แนวทางปฏิบัติ/คู่มือ ในการกระจาย เชื่อมโยงผลผลิตอาหารที่เพิ่มการเข้าถึงอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างน้อย 1 เรื่อง คือ Modelตลาดอาหารปลอดภัยในระดับโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา พร้อมทั้งนําไปขับเคลื่อนการดําเนินงานและใช้เผยแพร่สู่สาธารณะ

 

3 3.พัฒนา ต้นแบบการ ส่งเสริมความ รอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุข ภาวะ (ความ มั่นคงอาหาร/ อาหาร ปลอดภัย/ โภชนาการ) ให้กับ ประชาชนใน พื้นที่เพื่อปรับ พฤติกรรม การบริโภค และร่วมพลัง เป็นพลเมือง อาหาร
ตัวชี้วัด : มีต้นแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุขภาวะ (ความมั่นคงอาหาร/อาหารปลอดภัย/โภชนาการ) ในพื้นที่ตําบลสุคิริน จังหวัดนราธิวาส และมีรายงานติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนในพื้นที่เป้าหมายที่เกิดขึ้นจากการสร้างความรอบรู้ด่านอาหารเพื่อสุขภาวะ โดยนําผลไปปรับปรุงการดําเนินงานและจัดทําแผนยุทธศาสตร์ท้องถิ่น พร้อม ทั้งเผยแพร่ความรู้ด้านอาหารเพื่อสุขภาวะสู่สาธารณะ

 

4 4.พัฒนา ระบบ/กลไก เฝhาระวัง ผลผลิต ปลอดภัย เทศบาลนคร ยะลา จ.ยะลา
ตัวชี้วัด : ร่วมกับเครือข่ายพัฒนาระบบ/กลไกเฝ้าระวังการจัดการผลผลิตปลอดภัยอย่างน้อย 1 กรณี คือระบบเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยเทศบาลนครยะลา จ. ยะลา พร้อมทั้งติดตามประเมินผลระบบ/กลไกเฝ้าระวังฯ โดยระบบ/กลไกเฝ้าระวังฯถูกนําไปใช้เสนอต่อผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณากําหนดเป็นนโยบาย

 

5 5.พัฒนา ต้นแบบ ระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ ตลอดห่วงโซ่ ที่แก้ปัญหา ภาวะ โภชนาการใน กลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และกลุ่ม เปราะบาง
ตัวชี้วัด : มีต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในชุมชนอย่างน้อย 6 แห่ง (ใหม่) ได้แก่ ตําบลยะหริ่ง ตําบลปานาแระตําบลสะดาแวะ ตําบลนํ้าดํา ตําบลนาเกตุ ตําบลดอนรัก ที่่แก้ปัญหาภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กเล็กนักเรียน และกลุ่มเปราะบาง โดยมีรายงานการติดตามผลการเชื่อมโยงระบบอาหารตั้งแต่การผลิต (ต้นทาง) การกระจาย/การจําหน่าย(กลางทาง) และการบริโภค (ปลายทาง) พร้อมนําไปใช้สื่อสารสู่สาธารณะ เพื่อให้เกิดการขยายผล

 

6 6.พัฒนาและ ขับเคลื่อน นโยบาย สาธารณะ เพื่อส่งเสริม บริโภค อาหารเพื่อสุข ภาวะ/ระบบ อาหารที่ ยั่งยืน
ตัวชี้วัด : 1. มีข้อเสนอนโยบายสาธารณะที่ส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ โดยผ่านกลไกงบประมาณกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส)อย่างน้อย 1 เรื่อง คือประเด็นความมั่นคงทางอาหาร พร้อมทั้งนํามาใช้สื่อสารสู่สาธารณะเพื่อให้เกิดกระแสสังคมในการขับเคลื่อนนโยบาย และผลักดันต่อผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากําหนดเป็นนโยบาย 2. มีข้อเสนอนโยบายสาธารณะด้านอาหารปลอดภัยในระดับจังหวัดปัตตานี พร้อมทั้งนํามาใช้สื่อสารสู่สาธารณะเพื่อให้เกิดกระแสสังคมในการขับเคลื่อนนโยบาย และผลักดันต่อผู้บริหารหน่วยงานเพื่อพิจารณาการกําหนดเป็นนโยบาย 3. มีข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียนอย่างน้อย 1 เรื่อง คือนโยบายแก้ปัญหาเด็กเตี้ยเด็กผอมจังหวัดปัตตานีพร้อมทั้งนํามาใช้สื่อสารสูสาธารณะเพื่อให้เกิดกระแสสังคมในการขับเคลื่อนนโยบาย และผลักดันต่อผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาการกําหนดเป็นนโยบาย

 

7 7.พัฒนาฐาน ข้อมูลและ แผนภาพ เพื่อใช้ขับ เคลื่อนและ บูรณาการทํา งานระบบ อาหารตลอด ห่วงโซ่
ตัวชี้วัด : เกิด Mapping ที่แสดงให้เห็นต้นทุนการทํางานและการเชื่อมโยงระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ จํานวน 4จังหวัด ได้แก่ สงขลาปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ความรู้ พื้นที่ดําเนินงาน ภาคีเครือข่าการขับเคลื่อนนโยบายการเชื่อมโยงระหว่างการผลิต การกระจาย/ตลาดการบริโภค) เพื่อใช้บูรณาการทํางานและสื่อสารสู่สาธารณะ

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.พัฒนายกระดับต้นแบบการทําเกษตรกรรมยั่งยืนใน พื้นที่เป้าหมายและขับเคลื่อนให้เกิดการขยายผล (Model for Scaling up) (2) 2.ขับเคลื่อนและยกระดับ โมเดล (good practice) ใน การกระจาย เชื่อมโยง ผลผลิต อาหารเพื่อสุข ภาวะให้กับ ประชาชนใน ชุมชน ผ่าน กลไกต่างๆ ไปสู่การขยาย ผล (Model for Scaling up) (3) 3.พัฒนา ต้นแบบการ ส่งเสริมความ รอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุข ภาวะ (ความ มั่นคงอาหาร/ อาหาร ปลอดภัย/ โภชนาการ) ให้กับ ประชาชนใน พื้นที่เพื่อปรับ พฤติกรรม การบริโภค และร่วมพลัง เป็นพลเมือง อาหาร (4) 4.พัฒนา ระบบ/กลไก เฝhาระวัง ผลผลิต ปลอดภัย เทศบาลนคร ยะลา จ.ยะลา (5) 5.พัฒนา ต้นแบบ ระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ ตลอดห่วงโซ่ ที่แก้ปัญหา ภาวะ โภชนาการใน กลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และกลุ่ม เปราะบาง (6) 6.พัฒนาและ ขับเคลื่อน นโยบาย สาธารณะ เพื่อส่งเสริม บริโภค อาหารเพื่อสุข ภาวะ/ระบบ อาหารที่ ยั่งยืน (7) 7.พัฒนาฐาน ข้อมูลและ แผนภาพ เพื่อใช้ขับ เคลื่อนและ บูรณาการทํา งานระบบ อาหารตลอด ห่วงโซ่

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1. ขับเคลื่อนรูปแบบเกษตรกรรมยั่งยืนให้เกิด การขยายผลในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ชายแดนเพื่อนําไปสู้การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ (2) 2. พัฒนาต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ที่แก้ปัญหาภาวะ โภชนาการในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และกลุ่มเปราะบาง โดยกลไก รพ.สต.ที่ ถ่ายโอนภารกิจมายัง อบจ.ปัตตานี โดยส่งเสริมความรอบรู้และสร้างปฏิบัติการ ด้านอาหาร (ความมั่นคงอาหาร/อาหารปลอดภัย/ โภชนาการ) (3) 1.1 การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความร่วมมือการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (4) 1.2 ทีมนักวิชาการออกแบบหลักสูตรเกษตรกรรมยั่งยืนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ จากเกษตรกร 10 แห่ง และออกแบบเครื่องมือประเมินความมั่นคงทางอาหาร ระดับครัวเรือน (นำไปใช้ประเมินกลุ่มเป้าหมาย 200 คน) (5) 2.1 เตรียมความพร้อมการทำงานตำบลต้นแบบบูรณาการระบบอาหาร ประสานรพ.สต.ถ่ายโอน จำนวน 40 ตำบล และอบจ.คัดลือกแกนนำตำบล ตำบลละ 5 คน (6) 3. พัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อส่งเสริมบริโภคอาหารเพื่อสุข ภาวะ/ระบบอาหารที่ยั่งยืน โดยกลไกกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (จังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) กลไกผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กลไกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี (7) 4. กิจกรรมการสื่อสารสาธารณะและการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย (8) 5. การติดตามประเมินผลภายนอก (9) 1.3 สนส. และทีมวิชาการสร้างปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่งให้มีความพร้อมเป็นจุดถ่ายทอดการทำเกษตรกรรมยั่งยืน การเป็นทีมวิทยากร (10) 2.2 ทีมนักวิชาการ จาก Thailand Policy lab, ม.อ.ปัตตานี, วสส.ยะลา ดำเนินการ Training แกนนำตำบล มีขีดความสามารถใช้แครื่องมือ CHIA ประเมินระบบอาหารตลอดห่วงโซ่, การวิเคราะห์ข้อมูล, การจัดทำแผนที่ต้นทุนระบบอาหารชุมชน, การจัดทำแผนงานโครงการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ (11) 3.1 ประชุมทีมคณะเศรษฐศาสตร์มอ. เพื่อวางแผนประเมินโครงการที่อยู่ในแผนพัฒนากลุ่มจังหวักภาคใต้ชายแดน และแผนของอบจ. แผนปี 65และ66 เพื่อประเมินถึงความคุ้มค่าในมิติทางด้านเศรษฐกิจและสังคม (12) 3.4 การประชุมกำหนดวาระนโยบายเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร นโยบายการแก้ปัญหาโภชนาการเด็ก ให้อยู่ในแผนของกลุ่มจังหวัดและอบจ. ปัตตานี (13) 4.1 ประสานกับวิทยุมอ.88 หาดใหญ่ มอ.ปัตตานี เอามาออกแบบการพัฒนาประเด็นสื่อสาร ข้อเสนอเชิงนโยบายความมั่นคงทางอาหาร การทำเกษตรกรรมยั่งยืน ตลาดสีเขียวในชุมชน อาหารปลอดภัย นโยบายแก้ปัญหาด้านโภชนาการ เช่นเด็กเตี้ย เด็กผอม (14) 5.1 ติดตามประเมินผลภายในโครงการ เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามตัวชี้วัดและให้ข้อเสนอแนะต่อผู้รับผิดชอบโครงการรวมทั้งช่วยประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เช่นค่าใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลประโยชน์ (15) 6. ติดตามผลความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุขภาวะ รวมทั้งจัดทําแผนยุทธศาสตร์ ท้องถิ่น ขับเคลื่อนแผนไปสู้การปฏิบัติโดยรพ.สต.ที่ถ่ายโอนภารกิจมายัง อบจ.ปัตตานี (16) 1.4 จัด workshop ให้เกษตรกร 200 คน ในพื้นที่แปลงเรียนรู้ของเกษตรกรต้นแบบ พร้อมกับประเมินความมั่นคงทางอาหาร ของกลุ่มเป้าหมาย 200 คน (17) 2.3 แกนนำตำบล ดำเนินการเก็บข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูล (18) 2.7 อบจ. สปสช. โหนด สสส. ทีมวิชาการ ประชุมพิจารณาโครงการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่  จัดกลุ่มชุดโครงการที่ใช้งบประมาณจาก สปสช., ชุดโครงการที่ใช้งบประมาณจากแผนงานร่วมทุน สสสและ อบจ.,ชุดโครงการที่ใช้งบประมาณกับสำนักอื่นๆของ สสส. (19) 2.8 โครงการสร้างปฏิบัติการในพื้นที่ (มี งบ สสส. นำร่อง 5 ตำบล และ อบจ. 40 ตำบล) (20) 2.9 จัดหลักสูตรพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาหารให้มีความสามารถดำเนินงานการจัดการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ (หลักสูตร non degree) (21) 3.2 ทีมนักวิชาการลงพื้นที่ประเมินโครงการ (22) 6.1 ทีมวิชาการ ม.อ. ปัตตานี ,วสส.ยะลา ,ติดตามประเมินผลแบบเสริมพลังให้กับตำบลทั้ง 40 แห่ง โดยประเมินผลผลัพธ์ เรื่อง ความสามารถของคน  ความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ความรู้ที่เกิดขั้นจากการทำงาน มาตรนโยบาย (23) 5. ระบบติดตามสนับสนุนให้คำปรึกษาการทำเกษตรกรรมยั่งยืน (กลุ่มไลน์) ให้กับแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่ง และแกนนำเกษตรกร 200 คน (24) 2.4 นักวิชาการ แกนนำตำบลจัดทำแผนที่ต้นทุนระบบอาหารชุมชน (25) 2.5 นักวิชาการ แกนนำตำบล workshop การเขียนแผนงาน โครงการระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ (26) 2.6 ทีมนักวิชาการ แกนนำตำบล  อสม. ออกแบบการทำกลไกติดตามด้านโภชนาการในพื้นที่ (27) 3.3 นักวิชาการนำผลการประเมินคืนให้กับส่วนราชการที่ดำเนินโครงการ พร้อมกับworkshop การยกระดับการทำแผนงานโครงการที่ตอบความคุ้มค่าในมิติเศรษฐกิจและสังคม (28) 4.2 จัดเวทีนโยบายในพื้นที่(คลายๆ Thai pbs) (29) 1.6 เดือน ก.ค.ประเมินความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน เกษตรกร 200 คน (ประเมินหลังการเข้าร่วมกิจกรรม) (30) 7. การพัฒนาชุดความรู้ แนวทางปฏิบัติ และคู่มือ Model เกษตรกรรมยั่งยืนใน สวนยางพารา ขยายผลกับการยางแห่งประเทศไทยสามจังหวัดภาคใต้ชายแดน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (31) 6.2 นักวิชาการ แกนนำตำบล สรุปบทเรียน และจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ (32) 7.1. นักวิชาการลงพื้นที่ ประเมินแหล่งเรียนรู้ทั้ง 10 แห่ง ถอดบทเรียนการเป็นแหล่งเรียนรู้ และจัดทำ model แหล่งเรียนรู้ฯ จัดทำเป็นแนวทางปฏิบัติการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางพารา (33) 7.2 จัดประชุมแลกเปลี่ยนการทำเกษตรกรรมยั่งยืน ในรูปแบบการจัดประชุมวิชาการ หรือการจัดสมัชชาเรื่องสวนยางยั่งยืน ทั้ง onsite และ online (34) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์และจัดทำเครื่องมือส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหาร (35) การประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความร่วมมือการยกระดับต้นแบบการทำเกษตรกรรมยั่งยืนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (36) การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานพัฒนาต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอด  ห่วงโซ่ที่แก้ปัญหาภาวะโภชนาการระดับชุมชน (37) การประชุมสร้างความร่วมมือพัฒนาตำบลต้นแบบจัดการระบบอาหารเพื่อสุขภาวะที่แก้ปัญหาโภชนาการระดับชุมชน (38) การประชุมพัฒนาโครงการฉบับบย่อประเด็นอาหารและโภชนาการทรพ.สต.ทุ่งพลา อ.โคกโพธิ์ (39) สรุปการประชุมรพ.สต.บางโกรก (40) สรุปการประชุม รพ.สต.ควน (41) สรุปการประชุม รพ.สต.คลองใหม่ (42) สรุปกิจกรรมการประชุม รพ.สต.สะดาวา (43) นาเกตุ (44) ทรายขาว (45) สุคิริน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


การดำเนินงานขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 66-00459

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( อ.ดร.เพ็ญ สุขมาก )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด