สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

directions_run

โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลา

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลา ”

จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
อ.ดร.เพ็ญ สุขมาก

ชื่อโครงการ โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลา

ที่อยู่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 66-00459 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2566 ถึง 31 ตุลาคม 2567


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลา จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลา



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลา " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 66-00459 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤศจิกายน 2566 - 31 ตุลาคม 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 0.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

  1. พื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ของภาคใต้ เน้นการทำเกษตรเชิงเดี่ยวได้แก่ ยางพาราและปาล์มนํ้ามัน จำนวนถึง 18,691,482 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 85.94 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด ในขณะที่การปลูกพืชอาหาร เช่น ข้าวนาปี และนาปรังมีเพียง 883,326 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 4.06 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด ส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์คิดเป็นร้อยละ 3.07 สำหรับผลผลิตต่อไร่ของพืชหลักเกือบทุกชนิดตํ่ากว่าค่าเฉลี่ยของภาคใต้และประเทศ ปี 2563 จำนวนปศุสัตว์ในภาพรวมมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย ส่วนปริมาณสัตว์นํ้า ณ ท่าเทียบเรือประมงปัตตานี มีจำนวน 84,762 ล้านตัน หดตัวจากปีก่อนร้อยละ 15.5 ด้านการปรับใช้ระบบเกษตรผสมผสานหรือพืชร่วมยางอยู่ในระดับการปรับใช้ไม่เกินระดับ 4 นั้นคือ เกษตรกรเพิ่งเริ่มต้นมีความสนใจ ทดลอง และกำลังปรับใช้ระบบเกษตรผสมผสานหรือพืชร่วมยาง แต่ข้อจำกัดที่สำคัญของการปรับใช้ระบบเกษตร คือ ความเพียงพอของแหล่งนํ้า การระบาดของโรคและศัตรูพืช/สัตว์ และขาดความรู้ทักษะทางการเกษตร และข้อจำกัดอื่น ๆ เช่น ที่ตั้งไม่เหมาะสม ดินเสื่อมโทรม ขาดพันธุ์พืช/พันธุ์สัตว์ที่เหมาะสม ที่ดินขนาดเล็ก ขาดแคลนเงินทุน ขาดตลาดรองรับ ขาดแคลนแรงงาน และนโยบายสนับสนุนไม่แน่นอน
    1. ภาคใต้ประสบปัญหาความยากจนรุนแรงที่สุด โดยมีสัดส่วนคนจนสูงสุดที่ร้อยละ 10.94 ซึ่งจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสยังเป็นจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนสูงสุด 10 อันดับแรกของประเทศไทย ในปี 2564 จังหวัดปัตตานีมีสัดส่วนคนจนติดในอันดับสูงสุด 10 อันดับแรกมาตั้งแต่ปี 2549 และต่อเนื่องมาจนถึงปี 2564 รวมระยะเวลา 16 ปีติดต่อกัน โดยพบว่าภาคเกษตรกรรมเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีปัญหาความยากจนสูงที่สุด โดยสัดส่วนแรงงานยากจนในภาคเกษตรกรรมปี 2564 สูงถึงร้อยละ 11.43 สำหรับการว่างงานโดยปี 2558-2562 อัตราการว่างงานกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สถานการณ์ความยากจนของประชากรยังอยู่ในระดับสูงมาก เนื่องมาจากผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกตํ่า โดยเฉพาะยางพาราและปาล์มนํ้ามัน โดยพบว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนรวมมูลค่า 139,173 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.82 ของประเทศและร้อยละ 9.44 ของภาคใต้ โดยในปี 2562 มูลค่าผลิตภัณฑ์รวมมวลภาคการเกษตรมีสัดส่วนร้อยละ 29.00
    2. สถานการณ์เชิงลบด้านโภชนาการของเด็กในชายแดนภาคใต้ยังมีหลายด้านที่ควรเร่งแก้ปัญหา คือ พื้นที่ชายแดนใต้นับเป็นกลุ่มที่มีปัญหาทุพโภชนาการมากที่สุดในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กในระยะยาว ผลสำรวจพบว่า ประมาณร้อยละ 23 ของเด็กที่มีอายุตํ่ากว่า 5 ปีในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส กำลังเผชิญกับภาวะเตี้ยแคระแกร็น (มีส่วนสูงตํ่ากว่าเกณฑ์อายุ) ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศที่ร้อยละ 13 เกือบสองเท่า โดยจังหวัดนราธิวาสมีเด็กอายุตํ่ากว่า 5 ปีที่มีภาวะผอมแห้งสูงสุดใน 17 จังหวัดที่ทำการสำรวจแบบเจาะลึก โดยอยู่ที่ประมาณร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยประเทศที่ไม่ถึงร้อยละ 8 ขณะเดียวกัน ภาวะผอมแห้งของเด็กอายุตํ่ากว่า 5 ปีในจังหวัดปัตตานีก็เป็นที่น่ากังวลเช่นกัน โดยอยู่ที่ร้อยละ 10
      ต้นทุน องค์ความรู้ ผลงานที่ผ่านมาของสถาบันนโยบายสาธารณะ ระยะที่ 1 ตัวอย่างเกษตรผสมผสานในสวนยางพาราของอำเภอควนเนียง 12 ราย และแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์บ้านเชิงแส อำเภอกระแสสินธุ์ ในรูปแบบเกษตร 1 ไร่ 1 แสน การยกระดับตลาดเกษตร ม.อ. เป็นอุทยานอาหารปลอดภัย โดยพัฒนาศักยภาพเกษตรกร ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค เกิดข้อมูลสุขภาวะเด็ก 6-14 ปี นำไปสู่แผนบูรณาการความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยตำบลชะแล้ และตำบลควนรู และเกิดยุทธศาสตร์ระบบอาหารจังหวัดสงขลา ระยะที่ 2 รูปแบบเกษตรผสมผสานในสวนยาง 10 แบบ องค์ความรู้การทำ 1 ไร่ 1 แสนในพื้นที่ทำนา เกิดรูปแบบการเชื่อมโยงผลผลิตระหว่างเกษตรกรตลาดเกษตร ม.อ.ไปสู่ร้านอาหาร และผู้บริโภค การขยายผลและตำบลบูรณาการความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และโภชนาการสมวัยไปสู่ตำบลรัตภูมิ เชิงแส และเทศบาลสิงหนคร การผลักดันยุทธศาสตร์ระบบอาหารสู่แผนปฏิบัติราชการจังหวัดสงขลา ได้แก่ โครงการแก้ปัญหาโภชนาการ โดย วพบ.สงขลา และสถาบันนโยบายสาธารณะ
      ระยะที่ 3 รูปแบบเกษตรผสมผสานไปส่งเสริมเกษตรกรใน 5 อำเภอของจังหวัดสงขลา จำนวน 44 แปลง และประเมินมูลค่าด้านเศรษฐศาสตร์จำนวน 20 แปลงคัดเลือกเป็นแหล่งเรียนรู้จำนวน 8 แปลง จัดทำคู่มือ หลักสูตรการทำสวนยางยั่งยืน ยกระดับชุมชนบ้านคูวาเป็นรูปแบบ 1 ไร่หลายแสน โดยมีแหล่งเรียนรู้ย่อยของชุมชนจำนวน 10 แห่ง การขยายผลรูปแบบตลาดอาหารปลอดภัยไปสู่ห้างสรรพสินค้า ตลาดเอกชน และตลาดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนอาหารและโภชนาการจำนวน 79 แห่งเพื่อใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล การบูรณาการแผนยุทธศาสตร์จังหวัดสงขลาเข้าสู่แผนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จังหวัดสงขลา ระยะที่ 4 แหล่งเรียนรู้จำนวน 8 แปลงของจังหวัดสงขลา ขยายผลรูปแบบเกษตรผสมผสาน 4 รูปแบบ คือ 1) ระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลง 2) ระบบเกษตรหลากหลายแบบร่วมยาง 3) ระบบเกษตรผสมผสาน 4) ระบบวนเกษตร สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสงขลาขยายผล 1 ไร่หลายแสนอย่างต่อเนื่องโดยใช้รูปแบบบ้านคูวา ส่วนสามจังหวัดภาคใต้ชายแดนไม่สามารถขยายผลได้เพราะเป็นนาร้าง โรงพยาบาลจำนวน 8 แห่งของจังหวัดสงขลาเกิดการเชื่อมโยงผลผลิตอาหารชุมชน การเกิดพื้นที่ตลาดอาหารปลอดภัยในตลาดจะบังติกอ เทศบาลเมืองปัตตานี เกิดแผนงานระบบอาหารและโภชนาการรวมทั้งโครงการส่งเสริมโภชนาการ จำนวน 11โครงการโดยใช้งบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเทศบาลนครยะลา เกิดแผนระบบอาหารจังหวัดนราธิวาส ระยะที่ 5 ได้รูปแบบเกษตรกรรมในสวนยางพาราจำนวน 3 รูปแบบที่เหมาะสมกับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 1) ระบบเกษตรหลากหลายแบบแยกแปลง (ยางพารา ทุเรียน ปาล์มนํ้ามัน สละ กล้วย เป็นต้น) 2) ระบบการปลูกพืชร่วมยาง (ยางพาราร่วมกับผักกูด ผักเหรียง ไม้เศรษฐกิจ กาแฟ) 3) ระบบเกษตรผสมผสาน (ยางพารา ไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ ผักกินใบแพะ วัว หมู เป็ด ไก่ ปลา) ถอดบทเรียนและประเมินมูลค่าด้านเศรษฐศาสตร์จำนวน 16 ราย ได้ Best practice จำนวน 5 ราย ซึ่งมีศักยภาพพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ เกิดการเชื่อมโยงผลผลิต (Matching Model) อาหารชุมชนไปยัง รพ. 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลบางกลํ่า และโรงพยาบาลควนเนียง ในจังหวัดสงขลา และโรงเรียน 3 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านดอนรัก โรงเรียนบ้านปะกาจินอ ในจังหวัดปัตตานี โรงเรียนบ้านแขยง จังหวัดนราธิวาส และร้านอาหาร 1 แห่ง คือ โรงแรม CS ปัตตานี จ.ปัตตานี และการสื่อสารเรื่องอาหารปลอดภัยจังหวัดปัตตานี โดยแนวคิดเรื่อง ความสะอาดเป็นส่วนนึงของความศรัทธา แนวคิดอาหารฮาลาล ตอยยีบัน(การนำสิ่งดีๆสู่ชีวิต ความบารอกัตในชีวิต) เผยแพร่สู่สาธารณะ 10 ช่องทาง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 17 แห่งของจังหวัดยะลา มีโครงการระบบอาหารและโภชนาการปีงบประมาณ 2565 จำนวน 14 โครงการ ปีงบประมาณ 2566 จำนวน 16 โครงการโครงการเกี่ยวกับฟัน ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 2 โครงการ และปีงบประมาณ 2566 จำนวน 2 โครงการ เกิดตำบลต้นแบบการจัดการระบบอาหารอย่างครบวงจรให้กับกลุ่มเปราะบาง ในระดับ อปท. (COVID-19) จังหวัดปัตตานี 5 แห่ง จังหวัดยะลา 1 แห่ง และระดับ รพ.สต.ในจังหวัดนราธิวาส 6 แห่ง แผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ ปีงบประมาณ 2566- 2567 มีการดำเนินงานเรื่องระบบอาหารและโภชนาการที่ครบวงจร ปีพ.ศ. 2566 มีโครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารในครัวเรื่อนยากจน 3 จังหวัด จำนวน 1 โครงการ ปีพ.ศ. 2567 จำนวน 5 โครงการ คือ 1) โครงการยกระดับไม้ผลที่มีประสิทธิภาพในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน งบ 20 ล้าน กิจกรรมสำคัญ ขยายผลทักษะการผลิตไม้ผลตามมาตรฐาน GAP การผลิตไม้ผลตามอัตลักษณ์ 2) พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแปรรูป งบ 2.4 ล้านบาท 3) ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์นํ้าเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหาร งบ 10 ล้านบาท 4) ยกระดับการเลี้ยงปศุสัตว์เพื่อสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้เศรษฐกิจฐานราก เพื่อความมั่นคง มั่นคั่ง งบ 49 ล้านบาท 5) โครงการยกระดับการแก้ไขปัญหาความยากจนและเสริมสร้างสุขภาวะครัวเรือนชายแดนใต้อย่างยั่งยืน ระยะที่ 2 งบ 10.2 ล้านบาท

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.พัฒนายกระดับต้นแบบการทําเกษตรกรรมยั่งยืนใน พื้นที่เป้าหมายและขับเคลื่อนให้เกิดการขยายผล (Model for Scaling up)
  2. 2.ขับเคลื่อนและยกระดับ โมเดล (good practice) ใน การกระจาย เชื่อมโยง ผลผลิต อาหารเพื่อสุข ภาวะให้กับ ประชาชนใน ชุมชน ผ่าน กลไกต่างๆ ไปสู่การขยาย ผล (Model for Scaling up)
  3. 3.พัฒนา ต้นแบบการ ส่งเสริมความ รอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุข ภาวะ (ความ มั่นคงอาหาร/ อาหาร ปลอดภัย/ โภชนาการ) ให้กับ ประชาชนใน พื้นที่เพื่อปรับ พฤติกรรม การบริโภค และร่วมพลัง เป็นพลเมือง อาหาร
  4. 4.พัฒนา ระบบ/กลไก เฝhาระวัง ผลผลิต ปลอดภัย เทศบาลนคร ยะลา จ.ยะลา
  5. 5.พัฒนา ต้นแบบ ระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ ตลอดห่วงโซ่ ที่แก้ปัญหา ภาวะ โภชนาการใน กลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และกลุ่ม เปราะบาง
  6. 6.พัฒนาและ ขับเคลื่อน นโยบาย สาธารณะ เพื่อส่งเสริม บริโภค อาหารเพื่อสุข ภาวะ/ระบบ อาหารที่ ยั่งยืน
  7. 7.พัฒนาฐาน ข้อมูลและ แผนภาพ เพื่อใช้ขับ เคลื่อนและ บูรณาการทํา งานระบบ อาหารตลอด ห่วงโซ่

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 1. ขับเคลื่อนและยกระดับโมเดลการเชื่อมโยง และกระจายผลผลิตอาหารเพื่อสุข ภาวะ ในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดสงขลา เพื่อเพิ่มการเข้าถึงอาหารปลอดภัยให้กับ ประชาชนโดยกลไกตลาดเขียวในโรงงานอุตสาหกรรม
  2. 1.1 ประชุมร่วมกับเทศบาล ต.ปริก โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตเทศบาล โรงงานอุตสาหกรรมในเขตอำเภอสะเดา (ที่มีในระบบ โรงงานเซฟสกินกับถาวรอุตสาหกรรมยางพารา) โรงพยาบาลสะเดา โรงพยาบาลปาดังเบซาร์ และเกษตรกรในอำเภอสะเดา เพื่อประเมินแนวทางการการพัฒนาตลาดเขียวในโ
  3. 2.1 ประสานกับวิทยุมอ.88 หาดใหญ่ มอ.ปัตตานี เอามาออกแบบการพัฒนาประเด็นสื่อสาร ข้อเสนอเชิงนโยบายความมั่นคงทางอาหาร การทำเกษตรกรรมยั่งยืน ตลาดสีเขียวในชุมชน อาหารปลอดภัย นโยบายแก้ปัญหาด้านโภชนาการ เช่นเด็กเตี้ย เด็กผอม
  4. 2. กิจกรรมการสื่อสารสาธารณะและการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย
  5. 3. การติดตามประเมินผลภายนอก
  6. 1.2 ทีมนักวิชาการ (เทศบาลปริก กับ สนง.เกษตรอำเภอ พัฒนาชุมชน) โรงงงานอุตสาหกรรม ประเมินพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อจัดตั้งตลาดเขียว
  7. 3.1 ติดตามประเมินผลภายในโครงการ เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามตัวชี้วัดและให้ข้อเสนอแนะต่อผู้รับผิดชอบโครงการรวมทั้งช่วยประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เช่นค่าใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลประโยชน์
  8. 1.3 ปฏิบัติการทำตลาดเขียวกับโรงงานอุตสาหกรรม มีกิจกรรมการซื้อขายในตลาดและระบบการซื้อขายกับศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน กิจกรรมการประชาสัมพันธ์ตลาด กิจกรรมการสร้างความรอบรู้เรื่องอาหารปลอดภัยให้กับผู้ประกอบการ ผู้ผลิตอาหาร(เกษตรกร) และผู้บริโภค
  9. 1.4 นักวิชาการถอดบทเรียนตลาดเขียวในโรงงาน เพื่อทำ model ตลาดอาหารปลอดภัย ในรูปแบบตลาดโรงงานอุตสาหกรรม
  10. ประชุมระดมความคิดเห็นจัดทำแผนพัฒนาตลาดนัดอาหารในโรงงานอุตสาหกรรม
  11. การลงพื้นที่ ดูแหล่งรวบรวมผลผลิตและตลาดเขียวในโรงงานเซฟสกิน
  12. ประชุมวางแผนการพัฒนาตลาดในโรงงานอุตหกรรม
  13. 2.2 จัดเวทีนโยบายในพื้นที่(คลายๆ Thai pbs)
  14. ประชุมคณะกรรมการชุมชนเทศบาลตำบลปริก ประจำเดือนธันวาคม 2566 ครั้งที่ 2/2567
  15. ประชุมปฏิบัติการเชิงออกแบบจุดรวบรวมผลผลิตอาหารชุมชนอย่างมีส่วนร่วมเทศบาลตำบลปริก
  16. กิจกรรมเปิดป้ายจุดรวบรวมและกระจายผลผลิตอาหาร พร้อมมอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการรวบรวม และจำหน่ายผลผลิตให้แก่วิสาหกิจชุมชนคนปริก มีกิน มีใช้ (ผักอินทรีย์)

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะกรรมการชุมชนเทศบาลตำบลปริก ประจำเดือนธันวาคม 2566 ครั้งที่ 2/2567

วันที่ 26 ธันวาคม 2566 เวลา 14:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เจ้าหน้าที่วิจัย โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี ได้นำเสนอโครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและสามจังหวัดชายแดนใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ให้กับผู้บริหารเทศบาลตำบลปริก ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล บุคลากรและคณะกรรมการชุมชน เพื่อสร้างความร่วมมือการทำงานขับเคลื่อนและยกระดับโมเดล (good practice) ในการกระจาย เชื่อมโยงผลผลิตอาหารเพื่อสุขภาวะให้กับประชาชนในชุมชน ผ่านกลไกต่างๆ ไปสู่การขยายผล (Model for Scaling up) โดยเลือกพื้นที่การทำตลาดในเขตพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม โดยเบื้องต้นจากการหารือกับนายกเทศมนตรีตำบลปริก ทางเทศบาลมีการดำเนินงานเรื่องนี้กับโรงงานเซฟสกิน แต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งในขณะนี้เทศบาลตำบลปริกได้มีนโยบายให้คนในชุมชนรวมกลุ่มโดยใช้ชื่อว่า กลุ่มคนปริกมีกินมีใช้ ซึ่งจะพยายามขยายให้เกิดความครอบคลุมทุกชุมชน ให้เกิดรูปแบบชุมชนที่มีการพึ่งพาตนเองด้านอาหาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทางเทศบาลมีข้อเสนอให้เรื่องการทำตลาดในโรงงานอุตสาหกรรมเชื่อมกับงานวิจัยด้านโภชนาการที่ทาง อ.กุลทัต หงส์ชยางกูร ได้ศึกษาไว้ โดยให้กองสวัสดิการสังคม และกองการศึกษาเป็นหน่วยงานประสานการทำงานกับสถาบันนโยบายสาธารณะ

  • photo S__61112368_0.jpgS__61112368_0.jpg
  • photo S__61112359_0.jpgS__61112359_0.jpg
  • photo S__61112372_0.jpgS__61112372_0.jpg
  • photo S__61112371_0.jpgS__61112371_0.jpg
  • photo S__61112370_0.jpgS__61112370_0.jpg
  • photo S__61112368_0.jpgS__61112368_0.jpg
  • photo S__61112367_0.jpgS__61112367_0.jpg
  • photo S__61112366_0.jpgS__61112366_0.jpg
  • photo S__61112365_0.jpgS__61112365_0.jpg
  • photo S__61112364_0.jpgS__61112364_0.jpg
  • photo S__61112363_0.jpgS__61112363_0.jpg
  • photo S__61112362_0.jpgS__61112362_0.jpg

 

0 0

2. ประชุมระดมความคิดเห็นจัดทำแผนพัฒนาตลาดนัดอาหารในโรงงานอุตสาหกรรม

วันที่ 9 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เจ้าหน้าที่วิจัย โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี ได้รับฟังข้อคิดเห็น จากกลุ่มผู้บริหารเทศบาลตำบลปริก ประกอบด้วย รองนายกเทศมนตรี ปลัดเทศบาล บุคลากร คณะกรรมการชุมชนและผู้จัดการโรงงานเซฟสกิน เกี่ยวกับเรื่องการนำผลผลิตการเกษตรไปขายในโรงงานเซฟสกิน ได้มีการนำเสนอเกี่ยวกับจุดรวมรวมผลผลิต จำนวนผู้บริโภคในโรงงาน ผลผลิตที่นำเข้าไปขาย บรรจุภัณฑ์ การวางขายในโรงงาน รายได้จากการขายสินค้า รวมถึงปัญหาและอุปสรรคต่างๆจากการนำผลผลิตไปขายในโรงงงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีแนวทางในการพัฒนาตลาดในโรงงาน ดังนี้ 1) การพัฒนาจุดรวบรวมผลผลิตการเกษตรของชุมชน 2) การพัฒนาศักยภาพเกษตรกรกลุ่มเดิม 15 ราย ให้เพิ่มการผลผลิตอาหาร
3) พัฒนาศักยภาพกลุ่มปลูกผักยกแคร่เดิม 4-5 ราย
4) ขยายกลุ่มเกษตรกร 5) พัฒนามาตรฐานอาหาร ให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค 6) การพัฒนาระบบบันทึกข้อมูลสินค้า การทำแผนตลาด การทำปฏิทินการผลิต 7) การทำตลาดล่วงหน้า หรือตลาดออนไลน์ และจุดรับสินค้า

  • photo S__61423669_0.jpgS__61423669_0.jpg
  • photo S__61423668_0.jpgS__61423668_0.jpg
  • photo S__61423667_0.jpgS__61423667_0.jpg
  • photo S__61423662_0.jpgS__61423662_0.jpg
  • photo S__61423661_0.jpgS__61423661_0.jpg
  • photo S__61423659_0.jpgS__61423659_0.jpg
  • photo S__61423663_0.jpgS__61423663_0.jpg
  • photo S__61423669_0.jpgS__61423669_0.jpg
  • photo S__61423668_0.jpgS__61423668_0.jpg
  • photo S__61423666_0.jpgS__61423666_0.jpg
  • photo S__61423665_0.jpgS__61423665_0.jpg

 

0 0

3. การลงพื้นที่ ดูแหล่งรวบรวมผลผลิตและตลาดเขียวในโรงงานเซฟสกิน

วันที่ 15 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เจ้าหน้าที่วิจัย โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี และอาจารย์ปราโมทย์ แก้ววงศ์ศรี ได้ลงพื้นที่ดูแหล่งรวบรวมผลผลิต แปลงของกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างและจุดวางขายสินค้าในโรงงาน เพื่อหาแนวทางการพัฒนาปัญหาของการทำตลาดในโรงงานอุตสาหกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จุดรับสินค้า
    ข้อค้นพบจากการไปดูตลาด แนวทางการพัฒนา 1.1. ใบส่งสินค้ามีหลายแบบการตรวจทานค่อนข้างยาก

- พัฒนาระบบใบส่งสินค้าให้มีรูปแบบเดียวกันโดยทำเป็นสมุดบันทึก 2 ชุด มีการเขียนชื่อผู้รับและผู้ส่ง แล้วเก็บไว้ฝ่ายละชุด 1.2 การวางสินค้ามีการวางปะปนกัน วางบนพื้นถนน
- จัดจุดวางสินค้าให้สูงจากพื้น เช่น บนแคร่หรือโต๊ะ - แยกประเภทสินค้าออกเป็นหมวด เช่น ผักพื้นบ้าน ผักยอดนิยม ผลไม้ ขนม อาหาร
-พัฒนากล่องสินค้าให้พร้อมขนส่งที่วางท้ายรถกระบะให้ทับซ้อนกันได้โดยไม่หักช้ำ และเมื่อถึงยกตั้งวางขายที่ตลาดโรงงานให้ได้อย่างรวดเร็วตามหมวดหมู่ 1.3 การขนส่งมีการซ้อนสินค้าระหว่างการขนส่ง ไม่มีที่คลุมสินค้าระหว่างขนส่งทำให้ของตกหลนตามทาง สบัดพริ้วทำให้ช้ำเหี่ยวเฉาไว
- เมื่อจัดวางกล่องสินค้าลงท้ายรถกระหมดแล้วให้ใช้สแลนคลุมสินค้าระหว่างการขนส่ง โดยจัดผูกสแลนที่ไว้กับขอบกระบะให้เรียบร้อย ซึ่งจะช่วยลดการช้ำของผักจากแรงลมที่ทำให้เกิดการสบัดได้ 2. ตลาดในโรงงาน ข้อค้นพบจากการไปดูตลาด แนวทางการพัฒนา 2.1 จุดวางสินค้าที่คละกัน
- ตั้งวางโดยแยกประเภทสินค้าให้ได้โดยไวเมื่อมาถึง - สินค้าแสดงราคาให้ชัดเจน โดยให้ติดราคาที่ตำแหน่งเหมือนกัน - แบ่งจุดชำระเงิน เพิ่ม 2 จุด จ่ายเงินสด และจ่ายผ่านอแปฯ 2.2 สินค้าบางอย่างไม่ได้ระบุราคา ตอนขายต้องหาบิลราคาทำให้เกิดความสับสนล่าช้า และคอยดูแลบริการลูกค้าได้ไม่ประทับใจ
- ระบุราคาสินค้าติดไว้ให้ชัดเจนที่ตำแหน่งเดียวกัน 3. กลุ่มเกษตรกร ข้อค้นพบจากการไปดูแปลงของเกษตรกร แนวทางการพัฒนา 3.1 กลุ่มเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในระบบ เพื่อการสร้างคุณค่าผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต เช่น เรื่องเล่ากระบวนการผลิต การใช้วัสดุเหลือทิ้งทางครัวเรือนและการเกษตรมาเป็นปุ๋ย การกินอาหารให้เป็นยา การสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ เป็นต้น
- ทำพื้นที่และระบบการเพาะปลูกให้ได้มาตรฐานสากล เช่น สดาด เป็นกลุ่มหมวดหมู่ วัสดุปลูดและแสงเหมาะสมตามชนิดพืช ให้ปุ๋ยและน้ำตามความต้องการของพืช - จัดทำปฏิทินการเพาะปลูก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของตนเอง ที่สอดคล้องกับชนิดพืชซึ่งต้องการปลูก โดยดูสภาพพื้นที่เป็นหลัก เพาระจะช่วยลดรายจ่ายได้แนวทางหนึ่ง 3.2 สังเกตุพบมีโรคแมลงทุกรายที่ไปเยี่ยมชม เนื่องจากเพราะขาดความอุดมสมบูรณ์ของดินและปุ๋ยปลูกที่ไม่ดีพอหรือเหมาะสม สภาพพื้นที่บางแห่งแสงไม่เพียงพอ
- การจัดการวัสดุปลูกให้เหมาะสมตามชนิดพืช
- วัสดุปลูกเก่าต้องเอามาทำการฟื้นฟูสภาพดินใหม่ โดยนำมาทำการย่อน พักตากแดดกำจัดโรคแมลง แล้วเพิ่มปุ๋ยณาตุอาหารเพื่อนำไปเป็นวัสดุปลูกใหม่ - การจัดการปรับปรุงดิน และการทำปุ๋ยที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูก - การปรับแต่งสภาพพื้นที่ให้มีแสงส่องถึงพอเพียงตามความต้องการของชนิดพืช

  • photo S__61423655_0.jpgS__61423655_0.jpg
  • photo S__61423654_0.jpgS__61423654_0.jpg
  • photo S__61423651_0.jpgS__61423651_0.jpg
  • photo S__61423650_0.jpgS__61423650_0.jpg
  • photo S__61399105.jpgS__61399105.jpg
  • photo S__61399104_0.jpgS__61399104_0.jpg
  • photo S__61399101_0.jpgS__61399101_0.jpg
  • photo S__61399100_0.jpgS__61399100_0.jpg
  • photo S__61423653_0.jpgS__61423653_0.jpg
  • photo S__61423652_0.jpgS__61423652_0.jpg
  • photo S__61423648_0.jpgS__61423648_0.jpg
  • photo S__61399106.jpgS__61399106.jpg
  • photo S__61399103_0.jpgS__61399103_0.jpg
  • photo S__61399102_0.jpgS__61399102_0.jpg
  • photo S__61399099_0.jpgS__61399099_0.jpg
  • photo S__61399097_0.jpgS__61399097_0.jpg
  • photo 8.jpg8.jpg
  • photo 7.jpg7.jpg

 

0 0

4. ประชุมวางแผนการพัฒนาตลาดในโรงงานอุตหกรรม

วันที่ 19 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เจ้าหน้าที่วิจัย โดย น.ส.วรรณา สุวรรณชาตรี  ได้สรุปแนวทางการพัฒนาตลาดในโรงงานเซฟสกิน ให้กับทางประธานกลุ่ม สมาชิกและ ผู้จัดการโรงงานได้นำไปปรับแก่ไข โดยมีละเอียดเกี่ยวกับการพัฒนาจุดรับสินค้าก่อนจะส่งมาขายในโรงงาน การพัฒนาตลาดในโรงงาน และการพัฒนากลุ่มเกษตรกรที่ยังขาดความรู้และความเข้าใจในระบบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จุดรับสินค้า
      1.1 พัฒนาระบบใบส่งสินค้าให้มีรูปแบบเดียวกันโดยทำเป็นสมุดบันทึก 2 ชุด มีการเขียนชื่อผู้รับและผู้ส่ง แล้วเก็บไว้ฝ่ายละชุด
      1.2 การวางสินค้า
        - ปรับพื้นที่บริเวณจุดรับสินค้า ให้ถูกสุขลักษณะ โดยมีเต๊น โต๊ะ เพื่อวางสินค้า ผลผลิตอาหาร     - ประชุมสมาชิกส่งสินค้า เพื่อให้สมาชิกแยกหมวดอาหาร เช่น ผักพื้นบ้าน ผักยอดนิยม ผลไม้ ขนม
          อาหารปรุงสุกพร้อมทาน ใส่ในกระตร้าแยกประเภท เพื่อเตรียมขนส่ง     - กล่องบรรจุสินค้า เพื่อแยกประเภทอาหารที่จำหน่าย   1.3 การขนส่ง     - สแลนกันลม
  2. ตลาดในโรงงาน   2.1 จุดวางสินค้าที่คละกัน     - ป้ายแสดงราคาสินค้า     - จัดโซนประเภทอาหาร   2.2 การจำหน่ายผลผลิตให้กับร้านอาหารในโรงงาน
        - การทำตลาดล่วงหน้า ตลาดออนไลน์กับผู้จำหน่ายอาหารในโรงงาน
  3. กลุ่มเกษตรกร   3.1 กลุ่มเกษตรกรยังขาดความรู้ความเข้าใจในระบบ และพบโรคแมลงทุกราย     - สนับสนุนการทำเกษตรอัจริยะ จำนวน 20 ราย     - พัฒนาระบบการให้คำปรึกษาของทีมนักวิชาการ เรื่องเกษตรผ่านระบบไลน์กลุ่มสมาชิก
        - จัดทำปฏิทินการเพาะปลูก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของตนเอง ที่สอดคล้องกับชนิดพืชซึ่ง
          ต้องการปลูก โดยดูสภาพพื้นที่เป็นหลัก
        - การอบรมให้ความรู้ด้านการเกษตร ตามเนื้อหาที่สมาชิกต้องการ
  • photo S__61661235_0.jpgS__61661235_0.jpg
  • photo S__61661234_0.jpgS__61661234_0.jpg
  • photo S__61661232_0.jpgS__61661232_0.jpg
  • photo S__61661231_0.jpgS__61661231_0.jpg
  • photo S__61661230_0.jpgS__61661230_0.jpg
  • photo S__61661228_0.jpgS__61661228_0.jpg
  • photo S__61661227_0.jpgS__61661227_0.jpg
  • photo S__61661225_0.jpgS__61661225_0.jpg

 

0 0

5. ประชุมปฏิบัติการเชิงออกแบบจุดรวบรวมผลผลิตอาหารชุมชนอย่างมีส่วนร่วมเทศบาลตำบลปริก

วันที่ 10 มิถุนายน 2567 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

กระบวนการการออกแบบจุดรวมผักตลาดเซฟสีเขียวอย่างมีส่วนร่วมภายใต้การขับเคลื่อนและยกระดับโมเดลการเชื่อมโยงและการกระจายผลผลิตอาหารเพื่อสุขภาพในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดสงขลาเพื่อเพิ่มการเข้าถึงอาหารปลอดภัยให้กับประชาชน ขั้นตอนการดำเนิดงาน 10มิ.ย.2567 -ทีมCROSS พร้อมทีมสนส.ลงสำรวจพื้นที่ -รวมพูดคุยกับเจ้าของสถานที่รูปแบบกิจกรรม เสนอภาพรวม วางพื้นที่ใช้สอย -จัดกระบวนการวางผัง(Zoning)รวมกับผู้เข้าร่วมประชุม -แบ่งกลุ่ม word cafe 4 กลุ่ม ดังนี้ 1.การจัดการพื้นที่เก็บผัก 2.การจัดการพื้นที่ห้องประชุม/ห้องปฏิบัติการ 3.เนื้อหางานสื่อสารสำหรับเครือข่าย 4.การใช้สอยจากความเป็นไปได้อื่นๆ จากนั้นมีการรวมกลุ่มออกแบบสร้างหุ่นจำลองศูนย์ผัก เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะส่งผลลัพธ์ให้กับทางชุมชนเพื่อดำเนินการปรับเปลี่ยนโครงสร้างต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กระบวนการการออกแบบจุดรวมผักตลาดเซฟสีเขียวอย่างมีส่วนร่วมภายใต้การขับเคลื่อนและยกระดับโมเดลการเชื่อมโยงและการกระจายผลผลิตอาหารเพื่อสุขภาวะในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดสงขลาเพื่อเพิ่มการเข้าถึงอาหารปลอดภัยให้กับประชาชน จากที่ทีมcrossสำรวจพื้นที่ที่จะที่เป็นจุดรวมผักเพื่อกระจายผักไปตามจุดต่างๆแล้วจึงได้มาทำกิจกรรมเพื่อเสนอภาพรวมและพื้นที่ใช้สอยตามโครงสร้างอาคารเดิมที่มี โดยแบ่งผู้เข้าร่วมประชุมเป็นกลุ่มย่อย 4 กลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยได้ข้อสรุปดังนี้ 1.พื้นที่จัดการผัก -ปัญหาหลักของการรับผักมาแล้วคือการเอาผักมากกองไว้อยู่ทางด้านหน้าของอาคารทำให้ดูไม่ถูกสุขลักษณะและไม่สวยงามจึงเห็นว่าควรจะนำผักที่รับมามาวางไว้ด้านข้างของตัวอาคารและแยกผักเป็นแต่ละประเภทในแต่ละวันจะมีผักมากน้อยไม่เท่ากันจึงต้องเพิ่มชั้นมาวางผักทั้งที่เป็นผักหนักและผักเบา -อยากให้มีการเสริมโต๊ะเก้าอี้ที่เราสามารถนำมาเป็นชั้นวางผักได้เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยที่สมบูรณ์ -มีการออกแบเพิ่มรางเลื่อนขึ้นมาเพื่อช่วยในการขนย้ายผักที่เป็นผักหนักที่อยู่ในตะกร้าเพื่อความเปนระเบียนเรียบร้อย -อยากให้เพิ่มผู้ดูแลพื้นที่ที่อยู่ประจำจัดการในเรื่องมาตรฐานผักบัญชีและสถานที่พร้อมทั้งมีโต๊ะเพื่อให้สะดวกในการจัดเก็บเอกสารและจดรายการ -อยากให้เพิ่มตู้เย็นตู้แช่ถังน้ำแข็งสำหรับผักค้างคืน -เพิ่มระบบจัดการผักระหว่างขนส่งอาจมีการห่อหุ้มกระดาษหรือผ้าพรมน้ำในระหว่างการขนส่งเพื่อผักที่ไปถึงปลายทางจะได้คงสภาพที่สวยงามและสดชื่น

2.ห้องประชุม/ปฏิบัติการสาธิต ในส่วนของห้องประชุมจะมีการใช้อยู่ 1 ถึง 2 ครั้งต่อเดือนหรือ 2-3 เดือนครั้งเป็นอย่างน้อยจึงเห็นว่าน่าจะมีการนำนวัตกรรมโต๊ะที่พับเก็บได้มาใช้เป็นห้องประชุม -เลือกใช้เฟอร์นิเจอร์เก้าอี้ที่ใช้นั่งประชุมควรเป็นเก้าอี้ที่วางผักได้ด้วย -เนื่องจากกลุ่มผู้บริโภคมีความเปลี่ยนแปลงการบริโภคจะกินผักสดก็อยากจะบริโภคเป็นผักที่สำเร็จหรือพร้อมใช้งานเช่นอยากได้ผักที่พร้อมปรุงชุดน้ำพริกกะปิชุดแกงจืดชุดแกงเลียงจึงเห็นว่าควรจะมีส่วนตรงนี้เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า -อยากให้เพิ่มจอมอนิเตอร์สำหรับผู้ที่มาดูงานจะได้เปิดใช้งานได้เลยรวมถึงไมโครโฟนลำโพงเครื่องเสียงเพราะจากเดิมคือขอความอนุเคราะห์จากทางอบต.

3.เนื้อหางานสื่อสาร content -จัดให้มีเอกสารเนื้อหาไว้แจกสำหรับผู้มาเยี่ยมชมและมีคนอธิบาย -ส่งเสริมการทำรูปแบบแพลตฟอร์มออนไลน์เช่น facebook -จัดทำนิทรรศการเล่าเรื่องราวความเป็นมาของกลุ่มเอกลักษณ์และความโดดเด่นของกลุ่มอาทิเช่นการปลูกผักแบบปลอดภัยรวมถึงวัตถุประสงค์ของกลุ่ม -รับสมัครสมาชิกกลุ่มให้ชัดเจนและมีรูปสมาชิก -จัดทำแผนผังคณะกรรมการที่มีส่วนร่วมพร้อมภาพสมาชิก -สร้างกลุ่มไลน์โดยมี admin เป็นตัวเชื่อมระหว่างกลางระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิต -จัดบอร์ดนำเสนอข้อมูลสินค้าขายดี -จัดทำบอร์ดนิทรรศการแบบพับได้เพื่อลดการใช้พื้นที่ -จัดอบรมให้ความรู้เรื่องผักปลอดภัยต่อสมาชิกในกลุ่ม -จัดทำนิทรรศการที่สามารถเคลื่อนย้ายไปออกนอกสถานที่ได้ -จัดทำคนต้นแบบแปลงผักต้นแบบเพื่อเป็นแนวทางให้สมาชิก -ภาพตัวอย่างสินค้า -จัดทำข้อมูลนำเสนอสินค้าขายดีของสมาชิกแต่ละคนในแต่ละเดือน -ผลิตคลิปลง YouTube เพื่อกระจายความรู้ให้คนภายนอก -จัดทำข้อมูลรวบรวมผลผลิตของสมาชิกในแต่ละเดือน -จัดทำข้อมูลวิธีการปลูกผักที่ปลอดสารเคมี -จัดทำข้อมูลสรรพคุณของผักแต่ละชนิดที่นำไปปรุงอาหารว่าได้ประโยชน์อย่างไรหรือควรนำผักชนิดนั้นๆไปใช้ยังไงให้เกิดประโยชน์ด้านคุณค่าทางอาหารสูงสุด -จัดทำ story เชื่อมโยงระบบการขายจากชุมชนไปที่โรงงานเพื่อให้บุคคลภายนอกได้รับรู้ -จัดบอร์ดที่มาของกลุ่มทีมงานและการบริหารกลุ่มโดยละเอียด -อยากให้มีการแนะนำชาวบ้านและคนในชุมชนให้เห็นถึงความสำคัญของการปลูกผักทานเอง -อยากให้มีนิทรรศการที่อัพเดทข้อมูลที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

4.อื่นๆ(จุดขายของ/ห้องน้ำ/เคาน์เตอร์) -จากโครงสร้างเดิมที่มามีอยู่อยากปรับปรุงตัวอาคารตัวหลังคาเพื่อให้มีความแข็งแรงและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น -อยากเพิ่มความเย็นให้กับตัวอาคารมีผู้เสนออยากให้มีสปริงเกอร์เพื่อที่จะเอาน้ำขึ้นไปข้างบนจะได้ลดความร้อนตรงจุดนี้ได้ -ที่สำคัญคือป้ายกลุ่มที่ใหญ่และเห็นชัดเจนติดไว้ด้านหน้า -อยากให้มีการแยกห้องน้ำหญิงชายและเปลี่ยนเป็นชักโครกเนื่องจากมีผู้สูงอายุมาใช้บริการอยู่บ่อยๆ -การดูแลสินค้าเนื่องจากผักผลไม้บางชนิดเป็นประเภทอ่อนไหวต่ออากาศและการขนส่งจึงอยากให้มีกล่องที่ปิดมิดชิดเพื่อความสะอาดและความปลอดภัยในระหว่างการขนส่งด้วย -อยากให้มี packaging ที่เป็นแบรนด์ของกลุ่มจะทำให้ดูน่าเชื่อถือและพัฒนาเป็นของฝากเป็นของที่ระลึกได้ -เรื่องการดูแลการบริหารจัดการ อยากให้เพิ่มจำนวนคนทำบัญชีที่มีระบบที่อยู่เป็นประจำโดยอาจจะมีค่าแรงมอบให้ มีพื้นที่ในการเก็บเงินที่ชัดเจน การทำบิลให้ดูมาตรฐาน เสนอให้มีการลงโปรแกรมดูความต้องการของผู้ซื้อและผู้ขายซึ่งอาจจะมีคนรุ่นใหม่เข้ามาช่วยจัดการในส่วนนี้ หลัวจากนั้นทางทีมCROSSจึงได้ออกแบบโครงสร้างตัวอาคารให้เข้ากับความต้องการของทางกลุ่มเพื่ินำเานอให้ทางกลุ่มคุยกับทางช่างอีกครั้งหนึ่ง

  • photo 1718788018795.jpg1718788018795.jpg
  • photo 1718788006064.jpg1718788006064.jpg
  • photo 1718788006413.jpg1718788006413.jpg
  • photo 1718788012978.jpg1718788012978.jpg
  • photo 1718788013406.jpg1718788013406.jpg
  • photo 1718788012538.jpg1718788012538.jpg
  • photo 1718788012670.jpg1718788012670.jpg
  • photo 1718788005007.jpg1718788005007.jpg
  • photo 1718788005240.jpg1718788005240.jpg
  • photo 1718788005409.jpg1718788005409.jpg
  • photo 1718788005642.jpg1718788005642.jpg
  • photo 1718788004825.jpg1718788004825.jpg
  • photo 1718787998389.jpg1718787998389.jpg
  • photo 1718787997529.jpg1718787997529.jpg
  • photo 1718787997690.jpg1718787997690.jpg
  • photo 1718787997839.jpg1718787997839.jpg
  • photo 1718787990895.jpg1718787990895.jpg
  • photo 1718787990895.jpg1718787990895.jpg
  • photo 1718787990656.jpg1718787990656.jpg
  • photo 1718787990010.jpg1718787990010.jpg
  • photo 1718787989711.jpg1718787989711.jpg
  • photo 1718787989865.jpg1718787989865.jpg
  • photo 1718787988837.jpg1718787988837.jpg
  • photo 1718788018981.jpg1718788018981.jpg

 

0 0

6. กิจกรรมเปิดป้ายจุดรวบรวมและกระจายผลผลิตอาหาร พร้อมมอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการรวบรวม และจำหน่ายผลผลิตให้แก่วิสาหกิจชุมชนคนปริก มีกิน มีใช้ (ผักอินทรีย์)

วันที่ 2 กันยายน 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

“กิจกรรมเปิดป้ายจุดรวบรวมและกระจายผลผลิตอาหาร พร้อมมอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการรวบรวมและจำหน่ายผลผลิตให้แก่วิสาหกิจชุมชนคนปริก มีกิน มีใช้ (ผักอินทรีย์)” - กล่าวรายงานการดำเนินงานการเชื่อมโยงผลผลิตอาหารของชุมชน (การรวมกลุ่ม การจัดตั้งจุดรวบรวม และจุดจำหน่าย (ตลาดเวฟสกินฯ)โดยนายศุภชัย ชูเชิด ประธานวิสาหกิจชุมชนคนปริก มีกิน มีใช้ (ผักอินทรีย์) - นโยบายของเทศบาลในการสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ที่เชื่อมโยงตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ) โดยนายสุริยา ยีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปริก - การสนับสนุนของบริษัท เซฟสกิน เมดิคอล แอนด์ ไซเอนทิฟิก ประเทศไทย จำกัด ในการพัฒนาความร่วมมือด้านการส่งเสริมตลาดชุมชน โดยผู้เทนจากบริษัท เซฟสกินฯ - ความร่วมมือการทำงานยกระดับจุดรวบรวมและกระจายผลผลิตอาหาร ของเทศบาลตำบลปริก โดย ดร.เพ็ญ สุขมาก ผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ -      กล่าวเปิดงาน และให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรแบบหลากหลาย การส่งเสริมอาชีพ เน้นย้ำเรื่องการสร้างอาชีพเสริมโดยท่านนายอำเภอ นายวิเชษต์ สายกี้เส้ง นายอำเภอสะเดา
-      เปิดป้ายจุดรวบรวมและกระจายผลผลิตอาหารของวิสาหกิจชุมชนคนปริก มีกิน มีใช้ (ผักอินทรีย์) โดยนายอำเภอสะเดา นายวิเชษต์ สายกี้เส้ง และตัวแทนจากสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เทศบาลตำบลปริก และบริษัท เซฟสกิน เมดิคอล แอนด์ไซเอนทิฟิก ประเทศไทย จำกัด -      เยี่ยมชมตลาดเซฟสีเขียวของบริษัท เซฟสกิน เมดิคอล แอนด์ ไซเอนทิฟิก ประเทศไทย จำกัด ซึ่งเป็นตลาดจำหน่ายผลผลิตของวิสาหกิจชุมชนคนปริก มีกิน มีใช้ (ผักอินทรีย์)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทางผู้บริหารเทบาลตำบลปริก ได้วางแนวทางในการแก้ปัญหา โดยการแปลงหลักปรัชญาของเศษฐกิจพอเพียงสู่การ

  • photo ew.jpgew.jpg
  • photo ees.jpgees.jpg
  • photo e.jpge.jpg
  • photo dfd.jpgdfd.jpg
  • photo dfa nn.jpgdfa nn.jpg
  • photo dd.jpgdd.jpg
  • photo datu.jpgdatu.jpg
  • photo a.jpga.jpg
  • photo 898.jpg898.jpg
  • photo 086d.jpg086d.jpg
  • photo 77.jpg77.jpg
  • photo 66.jpg66.jpg
  • photo 55.jpg55.jpg
  • photo 9.jpg9.jpg
  • photo 09.jpg09.jpg
  • photo 5.jpg5.jpg
  • photo 4.jpg4.jpg
  • photo 3.jpg3.jpg
  • photo 2.jpg2.jpg
  • photo ;k.jpg;k.jpg
  • photo ย.jpgย.jpg
  • photo ม.jpgม.jpg
  • photo บบ.jpgบบ.jpg
  • photo บนร.jpgบนร.jpg
  • photo น.jpgน.jpg
  • photo yyy.jpgyyy.jpg
  • photo WRE.jpgWRE.jpg
  • photo wee.jpgwee.jpg
  • photo w.jpgw.jpg
  • photo tte.jpgtte.jpg
  • photo sssd.jpgsssd.jpg
  • photo sf.jpgsf.jpg
  • photo sds.jpgsds.jpg
  • photo s.jpgs.jpg

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.พัฒนายกระดับต้นแบบการทําเกษตรกรรมยั่งยืนใน พื้นที่เป้าหมายและขับเคลื่อนให้เกิดการขยายผล (Model for Scaling up)
ตัวชี้วัด : 1. มีต้นแบบที่ยกระดับการทําเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่จํานวน 10 แห่งพร้อมถอดบทเรียนกระบวนการทํางานเป็นเอกสาร สําหรับนําไปใช้เสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดการขยายผล (Modelfor Scaling up) ในพื้นที่เป้าหมาย 2. มีชุดความรู้/แนวทางปฏิบัติ/คู่มือ ในการยกระดับการทําเกษตรกรรมยั่งยืนอย่างน้อย 1 เรื่องคือ Model เกษตรกรรมยั่งยืนในสวนยางพารากรณีสามจังหวัดภาคใต้ชายแดน พร้อมทั้งนําไปใช้ขับเคลื่อนการดําเนินงาน และเผยแพร่สู่สาธารณะ

 

2 2.ขับเคลื่อนและยกระดับ โมเดล (good practice) ใน การกระจาย เชื่อมโยง ผลผลิต อาหารเพื่อสุข ภาวะให้กับ ประชาชนใน ชุมชน ผ่าน กลไกต่างๆ ไปสู่การขยาย ผล (Model for Scaling up)
ตัวชี้วัด : 1. เกิดรูปแบบการกระจายเชื่อมโยงผลผลิตอาหารที่เพิ่มการเข้าถึงอาหารเพื่อสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ Model forScaling up (โมเดลที่พร้อมขยายผล) อย่างน้อย 1 กรณีเช่น กลไกหน่วยงาน สหกรณ์การเกษตร ตลาดสีเขียวในชุมชนทั้งในรูปแบบออนไลน์และ onsiteพร้อมทั้งถอดบทเรียนกระบวนการทํางานเป็นเอกสาร และนําบทเรียนกระบวนการทํางานไปใช้ เสนอต่อผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากําหนดเป็นนโยบาย 2. มีชุดความรู้/แนวทางปฏิบัติ/คู่มือ ในการกระจาย เชื่อมโยงผลผลิตอาหารที่เพิ่มการเข้าถึงอาหารเพื่อสุขภาวะอย่างน้อย 1 เรื่อง คือ Modelตลาดอาหารปลอดภัยในระดับโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา พร้อมทั้งนําไปขับเคลื่อนการดําเนินงานและใช้เผยแพร่สู่สาธารณะ

 

3 3.พัฒนา ต้นแบบการ ส่งเสริมความ รอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุข ภาวะ (ความ มั่นคงอาหาร/ อาหาร ปลอดภัย/ โภชนาการ) ให้กับ ประชาชนใน พื้นที่เพื่อปรับ พฤติกรรม การบริโภค และร่วมพลัง เป็นพลเมือง อาหาร
ตัวชี้วัด : มีต้นแบบการส่งเสริมความรอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุขภาวะ (ความมั่นคงอาหาร/อาหารปลอดภัย/โภชนาการ) ในพื้นที่ตําบลสุคิริน จังหวัดนราธิวาส และมีรายงานติดตามผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนในพื้นที่เป้าหมายที่เกิดขึ้นจากการสร้างความรอบรู้ด่านอาหารเพื่อสุขภาวะ โดยนําผลไปปรับปรุงการดําเนินงานและจัดทําแผนยุทธศาสตร์ท้องถิ่น พร้อม ทั้งเผยแพร่ความรู้ด้านอาหารเพื่อสุขภาวะสู่สาธารณะ

 

4 4.พัฒนา ระบบ/กลไก เฝhาระวัง ผลผลิต ปลอดภัย เทศบาลนคร ยะลา จ.ยะลา
ตัวชี้วัด : ร่วมกับเครือข่ายพัฒนาระบบ/กลไกเฝ้าระวังการจัดการผลผลิตปลอดภัยอย่างน้อย 1 กรณี คือระบบเฝ้าระวังอาหารปลอดภัยเทศบาลนครยะลา จ. ยะลา พร้อมทั้งติดตามประเมินผลระบบ/กลไกเฝ้าระวังฯ โดยระบบ/กลไกเฝ้าระวังฯถูกนําไปใช้เสนอต่อผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณากําหนดเป็นนโยบาย

 

5 5.พัฒนา ต้นแบบ ระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ ตลอดห่วงโซ่ ที่แก้ปัญหา ภาวะ โภชนาการใน กลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และกลุ่ม เปราะบาง
ตัวชี้วัด : มีต้นแบบระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในชุมชนอย่างน้อย 6 แห่ง (ใหม่) ได้แก่ ตําบลยะหริ่ง ตําบลปานาแระตําบลสะดาแวะ ตําบลนํ้าดํา ตําบลนาเกตุ ตําบลดอนรัก ที่่แก้ปัญหาภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กเล็กนักเรียน และกลุ่มเปราะบาง โดยมีรายงานการติดตามผลการเชื่อมโยงระบบอาหารตั้งแต่การผลิต (ต้นทาง) การกระจาย/การจําหน่าย(กลางทาง) และการบริโภค (ปลายทาง) พร้อมนําไปใช้สื่อสารสู่สาธารณะ เพื่อให้เกิดการขยายผล

 

6 6.พัฒนาและ ขับเคลื่อน นโยบาย สาธารณะ เพื่อส่งเสริม บริโภค อาหารเพื่อสุข ภาวะ/ระบบ อาหารที่ ยั่งยืน
ตัวชี้วัด : 1. มีข้อเสนอนโยบายสาธารณะที่ส่งเสริมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาวะ โดยผ่านกลไกงบประมาณกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน (จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส)อย่างน้อย 1 เรื่อง คือประเด็นความมั่นคงทางอาหาร พร้อมทั้งนํามาใช้สื่อสารสู่สาธารณะเพื่อให้เกิดกระแสสังคมในการขับเคลื่อนนโยบาย และผลักดันต่อผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณากําหนดเป็นนโยบาย 2. มีข้อเสนอนโยบายสาธารณะด้านอาหารปลอดภัยในระดับจังหวัดปัตตานี พร้อมทั้งนํามาใช้สื่อสารสู่สาธารณะเพื่อให้เกิดกระแสสังคมในการขับเคลื่อนนโยบาย และผลักดันต่อผู้บริหารหน่วยงานเพื่อพิจารณาการกําหนดเป็นนโยบาย 3. มีข้อเสนอนโยบายสาธารณะเพื่อแก้ปัญหาภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียนอย่างน้อย 1 เรื่อง คือนโยบายแก้ปัญหาเด็กเตี้ยเด็กผอมจังหวัดปัตตานีพร้อมทั้งนํามาใช้สื่อสารสูสาธารณะเพื่อให้เกิดกระแสสังคมในการขับเคลื่อนนโยบาย และผลักดันต่อผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาการกําหนดเป็นนโยบาย

 

7 7.พัฒนาฐาน ข้อมูลและ แผนภาพ เพื่อใช้ขับ เคลื่อนและ บูรณาการทํา งานระบบ อาหารตลอด ห่วงโซ่
ตัวชี้วัด : เกิด Mapping ที่แสดงให้เห็นต้นทุนการทํางานและการเชื่อมโยงระบบอาหารตลอดห่วงโซ่ จํานวน 4จังหวัด ได้แก่ สงขลาปัตตานี ยะลา และนราธิวาส (ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ความรู้ พื้นที่ดําเนินงาน ภาคีเครือข่าการขับเคลื่อนนโยบายการเชื่อมโยงระหว่างการผลิต การกระจาย/ตลาดการบริโภค) เพื่อใช้บูรณาการทํางานและสื่อสารสู่สาธารณะ

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.พัฒนายกระดับต้นแบบการทําเกษตรกรรมยั่งยืนใน พื้นที่เป้าหมายและขับเคลื่อนให้เกิดการขยายผล (Model for Scaling up) (2) 2.ขับเคลื่อนและยกระดับ โมเดล (good practice) ใน การกระจาย เชื่อมโยง ผลผลิต อาหารเพื่อสุข ภาวะให้กับ ประชาชนใน ชุมชน ผ่าน กลไกต่างๆ ไปสู่การขยาย ผล (Model for Scaling up) (3) 3.พัฒนา ต้นแบบการ ส่งเสริมความ รอบรู้ด้านอาหารเพื่อสุข ภาวะ (ความ มั่นคงอาหาร/ อาหาร ปลอดภัย/ โภชนาการ) ให้กับ ประชาชนใน พื้นที่เพื่อปรับ พฤติกรรม การบริโภค และร่วมพลัง เป็นพลเมือง อาหาร (4) 4.พัฒนา ระบบ/กลไก เฝhาระวัง ผลผลิต ปลอดภัย เทศบาลนคร ยะลา จ.ยะลา (5) 5.พัฒนา ต้นแบบ ระบบอาหารเพื่อสุขภาวะ ตลอดห่วงโซ่ ที่แก้ปัญหา ภาวะ โภชนาการใน กลุ่มเด็กเล็ก เด็กนักเรียน และกลุ่ม เปราะบาง (6) 6.พัฒนาและ ขับเคลื่อน นโยบาย สาธารณะ เพื่อส่งเสริม บริโภค อาหารเพื่อสุข ภาวะ/ระบบ อาหารที่ ยั่งยืน (7) 7.พัฒนาฐาน ข้อมูลและ แผนภาพ เพื่อใช้ขับ เคลื่อนและ บูรณาการทํา งานระบบ อาหารตลอด ห่วงโซ่

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1. ขับเคลื่อนและยกระดับโมเดลการเชื่อมโยง และกระจายผลผลิตอาหารเพื่อสุข ภาวะ ในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดสงขลา เพื่อเพิ่มการเข้าถึงอาหารปลอดภัยให้กับ ประชาชนโดยกลไกตลาดเขียวในโรงงานอุตสาหกรรม (2) 1.1 ประชุมร่วมกับเทศบาล ต.ปริก โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตเทศบาล โรงงานอุตสาหกรรมในเขตอำเภอสะเดา (ที่มีในระบบ โรงงานเซฟสกินกับถาวรอุตสาหกรรมยางพารา) โรงพยาบาลสะเดา โรงพยาบาลปาดังเบซาร์ และเกษตรกรในอำเภอสะเดา เพื่อประเมินแนวทางการการพัฒนาตลาดเขียวในโ (3) 2.1 ประสานกับวิทยุมอ.88 หาดใหญ่ มอ.ปัตตานี เอามาออกแบบการพัฒนาประเด็นสื่อสาร ข้อเสนอเชิงนโยบายความมั่นคงทางอาหาร การทำเกษตรกรรมยั่งยืน ตลาดสีเขียวในชุมชน อาหารปลอดภัย นโยบายแก้ปัญหาด้านโภชนาการ เช่นเด็กเตี้ย เด็กผอม (4) 2. กิจกรรมการสื่อสารสาธารณะและการสื่อสารเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย (5) 3. การติดตามประเมินผลภายนอก (6) 1.2 ทีมนักวิชาการ (เทศบาลปริก กับ สนง.เกษตรอำเภอ พัฒนาชุมชน) โรงงงานอุตสาหกรรม ประเมินพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อจัดตั้งตลาดเขียว (7) 3.1 ติดตามประเมินผลภายในโครงการ เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามตัวชี้วัดและให้ข้อเสนอแนะต่อผู้รับผิดชอบโครงการรวมทั้งช่วยประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ เช่นค่าใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลประโยชน์ (8) 1.3 ปฏิบัติการทำตลาดเขียวกับโรงงานอุตสาหกรรม  มีกิจกรรมการซื้อขายในตลาดและระบบการซื้อขายกับศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียน กิจกรรมการประชาสัมพันธ์ตลาด กิจกรรมการสร้างความรอบรู้เรื่องอาหารปลอดภัยให้กับผู้ประกอบการ ผู้ผลิตอาหาร(เกษตรกร) และผู้บริโภค (9) 1.4 นักวิชาการถอดบทเรียนตลาดเขียวในโรงงาน เพื่อทำ model ตลาดอาหารปลอดภัย ในรูปแบบตลาดโรงงานอุตสาหกรรม (10) ประชุมระดมความคิดเห็นจัดทำแผนพัฒนาตลาดนัดอาหารในโรงงานอุตสาหกรรม (11) การลงพื้นที่ ดูแหล่งรวบรวมผลผลิตและตลาดเขียวในโรงงานเซฟสกิน (12) ประชุมวางแผนการพัฒนาตลาดในโรงงานอุตหกรรม (13) 2.2 จัดเวทีนโยบายในพื้นที่(คลายๆ Thai pbs) (14) ประชุมคณะกรรมการชุมชนเทศบาลตำบลปริก ประจำเดือนธันวาคม 2566 ครั้งที่ 2/2567 (15) ประชุมปฏิบัติการเชิงออกแบบจุดรวบรวมผลผลิตอาหารชุมชนอย่างมีส่วนร่วมเทศบาลตำบลปริก (16) กิจกรรมเปิดป้ายจุดรวบรวมและกระจายผลผลิตอาหาร พร้อมมอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการรวบรวม และจำหน่ายผลผลิตให้แก่วิสาหกิจชุมชนคนปริก มีกิน มีใช้ (ผักอินทรีย์)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการขับเคลื่อนและยกระดับระบบอาหารเพื่อสุขภาวะตลอดห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 66-00459

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( อ.ดร.เพ็ญ สุขมาก )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด