สถาบันนโยบายสาธารณะ (สนส. ม.อ.)

โครงการบูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอ เขต 10

พัฒนาทักษะพี่เลี้ยงกองทุนในการจัดทำแผน พัฒนาโครงการและเสนอโครงการ การติดตามประเมินผลโครงการ ในระบบเว็บไซต์31 กรกฎาคม 2566
31
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย ประชาสังคม-10
  • พี่เลี้ยงระดับตำบลนำเสนอผลการดำเนินการการพัฒนากองทุน
  • พี่เลี้ยงระดับตำบลนำเสนอผลการดำเนินการการพัฒนากองทุน
  • พี่เลี้ยงระดับตำบลนำเสนอผลการดำเนินการการพัฒนากองทุน
  • 310766-สรุปกิจกรรมพัฒนาพี่เลี้ยงฯ ครั้งที่ 2.pdf
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ประชุมเขิงปฏิบัติการ : พัฒนาพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบลเพื่อเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์ ครั้งที่ 2 โครงการ “บูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน” ในพื้นที่เขต10

วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรม
1. เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน  โครงการ “บูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน” ในพื้นที่เขต 10 ที่ผ่านมา 2. เพื่อแลกเปลี่ยนบทเรียนในการดำเนินการพัฒนาการเขียนแผนงานและการเขียนโครงการในระบบเว็บไซต์ 3. เพื่อวางแผนการดำเนินโครงการและติดตามและสนับสนุนการจัดทำโครงการคุณภาพ การเสนอโครงการขอรับงบกองทุนฯ และการรายงานผลการดำเนินงานในระบบเว็บไซต์ กิจกรรมนี้เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ : ข้อที่  1 และข้อที่ 2 และตัวชี้วัดผลงานของโครงการ : ข้อที่ 1 และ 4
• กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการประชุมเชิงปฏิบัติการ โดย นายวินัย วงษ์อาสา (คณะทำงานกองทุนสุขภาพตำบล เขต 10) • แนะนำคณะทำงาน คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบล • รายงานผลภาพรวมของการดำเนินงานโครงการ ฯ ที่ผ่านมา โดย คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอ (นำเสนออำเภอละ 5-7 นาที) o อำเภอกันทรลักษ์ ได้แก่ ตำบลโนนสำราญ  ตำบลตระกาจ o อำเภอม่วงสามสิบ ได้แก่ ตำบลหนองเหล่า ตำบลเหล่าบก o อำเภอเขื่องใน ได้แก่ ตำบลสร้างถ่อ ตำบลหัวดอน o อำเภอโนนคูณ ได้แก่ ตำบลบก ตำบลโนนค้อ o อำเภอคำเขื่อนแก้ว ได้แก่ ตำบลสงเปือย ตำบลกู่จาน เป็นการนำเสนอการดำเนินโครงการ ฯ ภาพรวมระดับอำเภอ โดย คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอ โดยมีรายละเอียดในการนำเสนอ คือ จำนวนโครงการที่ดำเนินการและบันทึกข้อมูลในระบบเว็บไซต์ การพัฒนาการเขียนแผนงาน/โครงการ และการนำไปปฏิบัติงาน เพื่อให้เห็นความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงของแผนงาน/โครงการ กะบประเด็นสุขภาวะทั้ง 8 ด้าน
• นำเสนและแลกเปลี่ยนบทเรียนการพัฒนาโครงการที่ดี และแผนที่ดีของกองทุนฯ โดย คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับตำบล (นำเสนอตำบลละ 5-7 นาที) o ตำบลโนนสำราญ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ o ตำบลตระกาจ อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ o ตำบลหนองเหล่า  อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี o ตำบลเหล่าบก  อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี o ตำบลสร้างถ่อ  อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี o ตำบลหัวดอน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี o ตำบลบก อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ o ตำบลโนนค้อ อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี o ตำบลสงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร o ตำบลกู่จาน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร • เป็นการนำเสนอการดำเนินโครงการ ฯ รายตำบล โดยให้พี่เลี้ยงระดับตำบลเป็นผู้นำเสนอผลการดำเนินงานการพัฒนาแผนงาน/โครงการ  โดยนำเสนอเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับพื้นที่อื่นๆ ตั้งแต่สถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ บริบทประเด็นปัญหาที่มีความสอดคล้องกับขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ 8 ประเด็น ได้แก่ ยาสูบ สุราและสิ่งเสพติด อาหาร กิจกรรมทาง กาย ความปลอดภัยทางถนน สุขภาพจิต มลพิษจากสิ่งแวดล้อม และปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ และความเชื่อมโยงของการดำเนินการบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานท้องถิ่น เช่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมีจำนวนแผนงาน/โครงการที่มีการดำเนินการไปแล้วจำนวนเท่าใด หรืออยู่ในระหว่างการดำเนินโครงการ หรือเป็นโครงการบูรณาการร่วมกับท้องถิ่น เช่น การได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก อบต. เทศบาล เพื่อขับเคลื่อนโครงการตามที่ได้มีการขอสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสุขภาพระดับตำบล ความคาดหวังต่อการดำเนินโครงการในช่วง 1 ปี รวมถึงการแลกเปลี่ยนบทเรียนการพัฒนาโครงการที่ดี และแผนที่ดีของแต่ละตำบล เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำไปปรับใช้ตามความเหมาะสมกับพื้นที่ • ร่วมแลกเปลี่ยน / ข้อเสนอแนะ การพัฒนาโครงการและแผนงาน โดย คณะทำงานโครงการฯ จาก สถาบันนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ o จากการนำเสนอของพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบล ทางคณะทำงานโครงการฯ มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เรื่องความถูกต้องสมบูรณ์ของการเก็บข้อมูลที่นำมาลงในระบบเว็บไซต์ ก่อนที่จะมีการพัฒนาแผนงาน/โครงการ เนื่องจาก ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากการทำแบบสอบถาม ซึ่งอาจมีปู้ตอบแบบสอบถามไม่ครอบคลุมทั้งหมดของพื้นที่แต่ละตำบล จึงมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลและการนำมาเขียนแผนงาน/โครงการ เช่น การอ้างอิงข้อมูลจากหน่วยงานสาธารณสุขในระดับอำเภอ ระดับจังหวัด หรือข้อมูลจากหน่วนงานภาครัฐที่มีการจับเก็บอย่างต่อเนื่อง เพื่อมาประกอบกับการเขียนแผรงาน/โครงการ ให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ และสอดคล้องกับบริบทพื้นที่ • มอบหมายการติดตามแผนงาน/โครงการ โดย การจับคู่ (BUDDY) พี่เลี้ยงในพื้นที่ใกล้เคียง o เพื่อการติดตามแผนงาน/โครงการที่มีคุณภาพ พื้นที่เขต 10 มีความเห็นร่วมกันในการเสนอและนำรูปแบบการจับคู่พี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบลในพื้นที่ที่มีความใกล้เคียงกัน เนื่องจากแต่ละพื้นที่จะมีบทเรียนของการพัฒนาแผนงาน/โครงการที่แตกต่างกัน หากเป็นพื้นที่ที่มีรูปแบบการบูรณาการ หรือการเขียนแผนงาน/โครงการ ในประเด็นใกล้เคียงกัน ก็สามารถที่จะมีการปรึกษาหารือและให้คำแนะนำร่วมกันได้ จึงมีการจับคู่พื้นที่และมอบหมายการติดตามการพัฒนาแผนงาน/โครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• ผลลัพธ์เชิงปริมาณ ผู้เข้าร่วมจำนวน 100 คน ประกอบด้วย พี่เลี้ยงกองทุนสุขภาพตำบลระดับอำเภอและระดับตำบลจากพื้นที่ 5 อำเภอ 3 จังหวัด
• ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ จากการประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมการประชุมเขิงปฏิบัติการ : พัฒนาพี่เลี้ยงระดับอำเภอและตำบลเพื่อเขียนแผนและโครงการในระบบเว็บไซต์ ครั้งที่ 2 โครงการ “บูรณาการกลไกสร้างเสริมสุขภาวะระดับตำบลและอำเภอเพื่อการจัดการระบบสุขภาพชุมชน” ในพื้นที่เขต10 พบว่า พื้นที่ดำเนินการพื้นที่เขต 10 จำนวน 5 อำเภอ 3 จังหวัด • มีความคืบหน้าในการเขียนแผนงาน/โครงการในระบบเว็บไซต์ และได้จำนวนแผนงาน/โครงการที่สามารถขออนุมัติจากกองทุนพัฒนุขภาพระดับตำบลได้ แต่ยังมีปัญหาอุปสรรค เช่น การสลับเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลในระบบเว็บไซต์ การบันทึกข้อมูลในระบบเว็บไซต์ การพัฒนาศักยภาพคณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบ เกิดรูปแบบการติดตามการพัฒนาศักยภาพ คณะทำงานพี่เลี้ยงระดับอำเภอและระดับตำบลในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการจับคู่ (BUDDY) และการเขียนแผนงาน/โครงการ มีการบูรณาการกับหน่วยงานท้องถิ่น เช่น เช่น การได้รับงบประมาณสนับสนุนเพื่อขับเคลื่อนโครงการตามที่ได้มีการขอสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสุขภาพระดับตำบล หรือนำแผนงาน/โครงการของพื้นที่ตำบลที่มีอยู่แล้วมาปรับให้เข้ากับสถกานการณ์ประเด็นปัญหาของพื้นที่